วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิแพ่งภาค ๒ อาจารย์สมชัย


คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ภาค ๒  วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น
อาจารย์สมชัย   ฑีฆาอุตมากร
  มาตรา ๑๗๐  ห้ามมิให้ฟ้อง  พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเป็นครั้งแรกในศาลหรือโดยศาลอื่น นอกจากศาลชั้นต้น  เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งเป็นอย่างอื่น
  มาตรา ๑๗๒ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๕๗ ให้โจทก์เสนอข้อหาของตนโดย ทำคำฟ้องเป็น หนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้น 
  คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ  ทั้งข้ออ้างซึ่ง อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น
  ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้  หรือยกเสีย หรือให้คืนไป  ตามที่บัญญัติมาตรา ๑๘

  ฏ.๔๕๙/๓๖ คำร้องสอดชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาเท่านั้น  ส่วนคำขอบังคับมิได้มีคำขอโดย ชัดแจ้งถึงจำนวนเงินที่เรียกร้องหรือมีคำขอบังคับอยู่ในตัวต้องการให้บังคับอย่างไร  จึงเป็น  คำร้องสอดที่ไม่ชอบ
ฏีกาที่๔๓/๓๘_การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้าของ มรดกจึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของเจ้าของมรดกส่วนโจทก์ไม่ใช่ทายาทโดยธรรม ที่มีสิทธิรับมรดกนั้นเป็นการร้องสอดเพราะจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่แม้ท้ายคำร้องระบุว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วมโดยผิดหลงก็ถือได้ว่าเป็นการร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)และคำร้องขอดังกล่าวมีลักษณะเป็นคำขอบังคับอยู่ในตัวประกอบกับผู้ร้องสอดไม่ได้เรียกร้องอะไรเพียงแต่ขอให้ยกฟ้องจึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับโดยแจ้งชัดในคำร้องสอดอีก คดีก่อนโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกคดีนี้พิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกคดีทั้งสองเรื่องเกี่ยวข้องกันแต่มิใช่คดีเดียวกันโจทก์จะยกขึ้นมาเป็นเหตุคัดค้านผู้พิพากษาที่พิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา11(5)หาได้ไม่
-โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า  เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด  จดทะเบียนในประเทศไทย ก็ย่อมเป็นอันเพียงพอที่จะทำให้เห็นว่าโจทก์เป็นบุคคลตามกฎหมายมีอำนาจฟ้องคดีได้  ทั้ง เอกสารการจดทะเบียนนิติบุคคลเป็นเอกสารมหาชนที่บุคคลทั่วไปสามารถตรวจสอบได้อยู่  แล้วว่าใครเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นๆได้
-ฟ้องไม่ได้บรรยายถึงการเป็นตัวแทนตัวการในการทำสัญญา  โจทก์ก็สามารถนำสืบได้ในชั้น พิจารณาไม่ถือว่าเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็น
-“ฟ้องเรื่องอะไร  ก็ต้องพิจารณาในเรื่องนั้นเป็นหลัก”  ----  ระวังให้ดีอาจออกข้อสอบได้   เช่น ฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ ขายฝากที่ดินให้แก่โจทก์  กำหนดไถ่ถอนภายใน ๓ เดือน  ครบกำหนดแล้ว  จำเลยที่ ๑ ไม่ไถ่ถอนและไม่ยอมออกไปจากที่ดิน  ทำให้เสียหาย  ขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสีย หาย   “เป็นฟ้องขอให้ขับไล่ฐานละเมิดและเรียกค่าเสียหายไม่ได้ให้บังคับตามสัญญาขายฝาก  หรือกล่าวหาว่าผิดสัญญาอันจะต้องกล่าวระบุรายละเอียดในข้อสัญญา  โจทก์จึงไม่จำต้อง บรรยายฟ้องเกี่ยวกับราคาขายฝากและสินไถ่   ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่ง ข้อหาและคำขอบังคับตามมาตรา ๑๗๒ วรรคสองแล้ว  จึงไม่เคลือบคลุม  .....

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จิตวิทยานายตำรวจฝ่ายปกครอง

จิตวิทยาสำหรับนายตำรวจฝ่ายปกครอง
การอบรม "การนิเทศงานแก่นายตำรวจฝ่ายปกครอง ๑ ระดับผู่้บังคับหมวด"
ผบก.ปค.ให้นโยบาย
        - การทำงาน
        - เรียนหนังสือ

รอง ผบก.ปค.ให้นโยบายการปฏิบัติ
        - ความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการปฏิบัติต่อนักเรียน
        - การรับคำสั่งและถ่ายทอดคำสั่งของผู้บังคับบัญชา

นายตำรวจปกครอง หรือ นายตำรวจฝ่ายปกครอง (อังกฤษ: Police Cadet Commander) คือกลุ่มข้าราชการตำรวจสัญญาบัตรกลุ่มหนึ่งของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ 
(และรวมถึงนายตำรวจปกครองที่ทำหน้าที่ปกครองในโรงเรียนเตรียมทหาร) นายตำรวจปกครองนั้นไม่ใช่อาจารย์ และไม่ได้มีลักษณะหมือนครูฝ่ายปกครอง ของโรงเรียนทั่วๆไป โดยนายตำรวจปกครอง มีบทบาทในการทำหน้าที่เป็น "เบ้าหลอม" จิตวิญญาณ อุดมการณ์ และคุณลักษณะที่ดีให้แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ , เป็น "ตัวแบบ" (Role Model) ให้นักเรียนนายร้อยตำรวจ ยึดถือเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตน ,เสริมสร้าง ควบคุมระเบียบวินัย และพฤติกรรมของนักเรียน
นายร้อยตำรวจ และ เป็นที่ปรึกษา และให้คำแนะนำแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ ไม่ว่าเรื่องการศึกษา หรือเรื่องส่วนตัว
        โดยสรุป คำว่า "นายตำรวจปกครอง" ไม่ใช่ชื่อของตำแหน่ง แต่เป็นคำจำกัดความของบุคคลที่ทำหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา ปลูกฝังกวดขันระเบียบวินัย อบรมหล่อหล่อมความคิด จิตวิญญาณ อุดมการณ์ให้แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ
"นายตำรวจปกครอง" ที่เป็นผู้อยู่ในฐานะใกล้ชิดนักเรียนนายร้อยตำรวจมากที่สุด คือ นายตำรวจปกครองตำแหน่ง "ผู้บังคับหมวด (ผู้หมวด)" "ผู้บังคับกองร้อย (ผู้กอง)" "รองผู้กำกับการ" และ "ผู้กำกับการ" ของฝ่ายปกครอง 1,2 และ 3
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (Royal Police Cadet Academy : RPCA) เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการให้การศึกษาอบรมนักเรียนนายร้อยตำรวจ และนักเรียนอบรมหลักสูตรต่างๆ เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ในตำแหน่งรองสารวัตรหรือเทียบเท่า ตามความต้องการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โรงเรียนนายร้อยตำรวจประกอบด้วยบุคลากรหลักๆ 3 ฝ่าย ได้แก่
-อาจารย์ ซึ่งให้ความรู้ทางด้านวิชาการ หรือพลศึกษา การต่อสู้ป้องกันตัว
-บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ทางด้านบริหาร หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายอำนวยการ
-นายตำรวจปกครอง (หรือ นายตำรวจฝ่ายปกครอง)
  “นายตำรวจปกครอง” ตามระเบียบโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ว่าด้วยการปกครองบังคับบัญชานักเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2552 หมายความว่า “นายตำรวจชั้นสัญญาบัตรในโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ปกครองนักเรียนนายร้อยตำรวจ” ทั้งนี้ มิได้มีการกำหนดตำแหน่งหรือมีชื่อเรียกตำแหน่งว่า “นายตำรวจปกครอง” โดยเฉพาะแต่อย่างใด แต่เป็นคำเรียกรวมสำหรับนายตำรวจที่ทำหน้าที่ในการปกครองบังคับบัญชา สอดส่องดูแลความประพฤตินักเรียนนายร้อยตำรวจหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ อบรมแบบธรรมเนียมของวิชาชีพตำรวจ และทำหน้าที่ในการอบรมหล่อหลอมความคิด จิตวิญญาณ ปลูกฝังคุณลักษณะที่ดีให้แก่นักเรียนและผู้เข้ารับการอบรม ทั้งนี้นายตำรวจปกครองนั้น หมายความถึงนายตำรวจในสังกัดกองบังคับการปกครองที่ทำหน้าที่ปกครองบังคับบัญชานักเรียนเตรียมทหารด้วย

--------------------------------------------------------------------------------------------------
เทคนิคการปฏิบัติการในเชิงจิตวิทยากับนรต.ที่อยู่ในความปกครองของตนเอง
- ลูกล่อลูกชน
- การหาข้อมูลเชิงลึกในรายละเอียดของ นรต.แต่ละคน การหาข้อมูลจากนรต. โดยการหลอกถามจาก นรต.บางนายที่เราเลี้ยงไว้เป็นสายสืบ
- เป็น "ตัวแบบ" (Role Model) การแสดงตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ นรต.  เช่นการแต่งกาย   ยกตัวอย่าง พ.ต.ต.(ยศขณะนั้น)ณรงค์  ทรัพย์เย็น  ปัจจุปันเป็น ผกก.อก.ภ.๗  สมัยท่านเป็น ผบ.ร้อย ๔  ท่านตื่นก่อนนอนที่หลังมายืนคอยนักเรียน  เวลาเจ็ดโมงเศษท่านมารอที่ด้านหน้ากองร้อยแต่งกายเครื่องแบบกากีแขนยาวมารอที่บริเวณด้านหน้ากองร้อยที่ ๔ เรียบร้อย
- การปกครองบังคับบัญชาด้วยความยุติธรรม
- ความรับผิดชอบงานในหน้าที่   งาน ๒๔ ชั่วโมง
        - การแยกแยะระหว่างงานในหน้าที่
        - การสอนโดยการให้ดูตัวอย่าง นายตำรวจรุ่นพี่ที่มีปัญหา เช่น 
           > นรต.สุทธิรักษ์ ลัคนาลิขิต คลิปทำลายข้าวของในสถานบริการที่ผับที่ห้วยขวาง
           > นรต.ธีระพงษ์ รักษาเวียง คลิปในร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ๑๔ พ.ย.๕๓

- การเล่นบทบาทสองหน้า Two Face   เนื่องจากนายตำรวจปกครอง ต้องมีบทบาทใน ๒ ลักษณะคือ
   ๑.  บทบาทการเป็น "ผู้บังคับบัญชา"
   ๒.  บทบาทการเป็น "ผู้ให้คำแนะนำ / ให้คำปรึกษาปัญหา"
   สองบทบาทนี้อาจขัดแย้งกันในบางกรณี  เนื่องจาก  บทบาทของผู้บังคับบัญชา เป็นในเชิงอำนาจบังคับ  ส่วน บทบาทของ  ผู้ให้คำแนะนำปรึกษาปัญหา   เป็นลักษณะของเชิง
   การชั่งน้ำหนักของ นรต.ที่เข้ามาปรึกษาว่าเป็นลักษณะ  หารือ  หรือ  มีชั้นเชิงที่ต้องการให้ตัวเองสบาย. ต้องระวังไม่ให้ ถูก นรต.หลอกเอาได้

- สภาพปัญหาของ นรต.ชั้นต่ำ
๑. ปัญหาเกี่ยวกับการไม่อยากเรียนหนังสือ
  ๒. ปัญหาเกี่ยวกับการสั่งโทษเกินสมควรกว่าเหตุ
๓. ปัญหาเกี่ยวกับการมายุ่งเกี่ยวของผู้ปกครอง
- สภาพปัญหาของ นรต.ชั้นสูง
๑. ปัญหาการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก  เช่นการกู้ยืมเงินทำธุรกิจกับบุคคลภายนอก
  ๒. ปัญหาเรื่องชู้สาว
๓. ปัญหาเรื่องการพนัน
๔. ปัญหาเรื่องการเที่ยวเตร่มีปัญหากับบุคคลภายนอก
  ๕. ปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด

-------------------------------------------------------------------------------------------------
การให้คำปรึกษา (Counseling)
-ความหมาย-
           กระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ นรต. ผู้มาขอคำปรึกษา เพื่อให้ นรต.ผู้นั้น ได้ใช้ความสามารถที่เขามีอยู่จัดการกับปัญหาของเขาได้ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้กระบวนการให้คำปรึกษาจะเกี่ยวข้องกับสิ่งสำคัญ 3 ประการ
            1. นายตำรวจฝ่ายปกครองผู้ให้คำปรึกษา (Police Officer Counselor)
           2. นรต. ผู้มาขอรับคำปรึกษา (Police  Cadet  Counselee)
           3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Counselor และ Counselee

-จิตวิทยาการให้คำปรึกษา- ต้องพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
     1. การเข้าใจตนเอง (Counselor)
     2. การเข้าใจผู้มาของรับการปรึกษา
     3. การเข้าใจธรรมชาติการแสดงออกของมนุษย์ (Human interaction Model)
     4. เข้าใจธรรมชาติของปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหา
     5. เข้าใจลักษณะการให้คำปรึกษา จรรยาบรรณการให้คำปรึกษา
     6. ขั้นตอนการให้คำปรึกษา
     7. เทคนิคการคำปรึกษา
     8. ฝึกปฏิบัติ (Practicum)

นรต. ที่จะประสบความสำเร็จต้องเก่งอย่างน้อย 3 เก่ง
1. นรต.ที่มีความรอบรู้ในเรื่องานในหน้าที่ตำรวจ เบื้องต้นคือ  งานระดับ รอง สว. (พนักงานสอบสวน สบ.๑) (Task Ability)
คุณสมบัติของ นรต.ที่คาดหวังว่าต้องเก่งงาน
           1.1 ต้องมีความรู้และความชำนาญในงานนั้น
           1.2 ต้องมีความรับผิดชอบสูง
           1.3 รวดเร็ว ถูกต้อง
           1.4 มองการณ์ไกล มี Vision
2. นรต.ที่มีความรอบรู้ในเรื่อง  การบริหารคน (Social Ability)
คุณสมบัติของคนเก่งคน
           2.1 เข้าใจตน เข้าใจคนอื่น
           2.2 ปรับตน ปรับคนอื่น
3. นรต.ที่มีความสามารถทางความคิด  (Conceptual Ability)
- คิดดี  ทำดี
ชนิดของปัญหา (3 Kinds of Problems)
   1. ข้อเท็จจริง    (Factual Problem)     เช่น ปัญหารถสตาร์ทไม่ติด
   2. อารมณ์       (Emotional Problem) เช่น ปัญหาคู่สมรส
   3. ผลประโยชน์ (Beneficial Problem)

ขั้นตอนของการให้คำปรึกษา
   1. สร้างความคุ้นเคย (Rapport)  -  นายตำรวจอาจต้องลดท่าทีที่แข็งกร้าว
   2. เริ่มต้นการให้คำปรึกษา (Opening the Interview)  -  การนำเข้าสู่เรื่องที่จะให้คำปรึกษาแนะนำ
   3. การกำหนดปัญหา (Setting Problems)  - กำหนดประเด็นปํญหาที่ นรต.เข้ามาหารือ
   4. การรวบรวมข้อมูล (Collecting Data)  -  เก็บรายละเอียดจากการซักถามให้ครอบคลุมทั้งหมด
   5. การร่วมแก้ปัญหา (Solving the Problem)  -  เข้าไปหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว
   6. ขั้นให้ข้อเสนอแนะ (Suggestion)  -  กำหนดเป็นแนวทางการปฏิบัติให้กับ นรต.
   7. ขั้นสรุปและปิดการสนทนา (Summarization & Closed Case)  -  สรุปประเด็นแนวทางการแก้ไขปัญหาให้ นรต.ทราบทราบ  ยุติการสนทนา

เทคนิคการให้คำปรึกษา
   1. เทคนิคสร้างความคุ้นเคย (Rapport)
   2. เทคนิคการถาม (Asking)
   3. เทคนิคการฟัง (Listening)
   4. เทคนิคการให้ความกระจ่าง (Clarification)
   5. เทคนิคขั้นให้ข้อเสนอแนะ (Suggestion)
   6. เทคนิคสะท้อนความรู้สึก (Reflection of feeling)
   7. เทคนิคสะท้อนเนื้อหา (Reflection of Content)
   8. เทคนิคการสรุป (Summarization)
   9. เทคนิคการเงียบ (Silence)

จิตวิทยาการให้คำปรึกษา
จิตวิทยา คือ ศาสตร์ (Logos) ที่ศึกษาพฤติกรรม (Behavior) ของมนุษย์และสัตว์ เราศึกษาพฤติกรรม เพื่อรู้พฤติกรรมภายใน (Convert Behavior) หรือจิตศึกษาจิตวิทยาเพื่อ…
   1. ให้เกิดความเข้าใจ
   2. ให้สามารถอธิบายได้
   3. ทำนาย
   4. ควบคุม
                                         หลักการสำคัญของการให้คำปรึกษา
ลักษณะของการให้คำปรึกษาที่ดี
       ธรรมชาติของคนเราโดยทั่วไปเป็นผู้ที่มีอารมณ์มีความรู้สึกนึกคิดมีความเข้าใจมีเหตุผลมีความสามารถ และมีคุณค่าอยู่ในตัวทุกคน พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองให้เจริญเติบโตทางด้านร่างกาย และจิตใจได้อย่างสมบูรณ์เพื่อให้อยู่ร่วมกับคนในครอบครัวและคนในสังคมได้อย่างปกติสุขแต่การที่คนเรา เกิดมีความทุกข์มีปัญหาและไม่สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้นั้น 
  นักจิตวิทยาผู้ให้คำปรึกษาที่มี ชื่อเสียงได้ให้ความเห็นว่า เกิดจากบุคคลนั้นมองตนเองไม่ตรงกับความเป็นจริง ไม่เข้าใจความรู้สึก ความ ต้องการของตนเองอย่างแท้จริง มีความสับสน เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความวิตกกังวลคับข้องใจ หรือเก็บกดอารมณ์ ความรู้สึกเหล่านี้จะไปปิดกั้นความสามารถในการใช้เหตุผลที่มีอยู่ในตนเอง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาทางด้านอารมณ์และความรู้สึกที่เป็นทุกข์วิตกกังวลไปได้ ช่วยให้ผู้รับคำปรึกษา ได้สำรวจ ปัญหา สำรวจตนเอง สำรวจความเป็นจริงต่าง ๆ ช่วยให้เกิดสติและปัญญา มองเห็นทางสว่างในการแก้ไข ปัญหาและได้ใช้ ความสามารถที่มีอยู่ในตนเองตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้วยตนเองต่อไปได้ ดังนั้นการให้คำ 
ปรึกษาหมายถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีความสับสนหรือผู้ที่มีความทุกข์ทางด้านอารมณ์-จิตใจ ด้วยการพูด 
คุยกันอย่างมีขั้นตอนโดยผู้ให้คำปรึกษาจะเป็นผู้ช่วยสร้างบรรยากาศของความสัมพันธ์ที่ดี ทำให้ผู้มีปัญหามี 
ความรู้สึกสบายใจว่าได้รับการยอมรับและเข้าใจจึงพร้อมที่ จะเปิดเผยความรู้สึกหรือปัญหาของตนและเกิดการ 
เรียนรู้สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นจนสามารถตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสม


 2.1 หลักการสำคัญของการให้คำปรึกษา                                                 
      1.  ยึดเอาผู้มีปัญหาเป็นหลัก                                         
      2.  เน้นที่อารมณ์ความรู้สึกของผู้มีปัญหา                                          
      3.  เข้าใจและยอมรับในอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของผู้มีปัญหา 
      4. ไม่ด่วนสรุป หรือตัดสินผู้มีปัญหา            
      5.  เน้นที่ความเป็นจริงตามเหตุการณ์และสถานการณ์   
      6.  มีการโต้ตอบเป็นจริงตามเหตุการณ์และสถานการณ์  
      7.  ผู้มีปัญหาเกิดการเรียนรู้ด้วยเหตุของปัญหา และตัดสินใจเลือกทางแก้ไข ด้วยตนเอง 

  การให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา จึงมีหลักการที่แตกต่าง ไปจากการให้คำปรึกษาแนะนำโดยทั่วไป ดังต่อไปนี้
  การให้คำปรึกษาแนะนำโดยทั่วไป การให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา การให้คำปรึกษาแนะนำโดย 
ทั่วไปไม่มีหลักการขั้นตอนและจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้ผู้รับคำปรึกษานำเอาความสามารถที่มีอยู่ในตัวเองมา 
ใช้แก้ไขปัญหา ส่วนใหญ่เป็นการไปปรึกษาผู้ใหญ่ หมอดู หรือเพื่อนสนิท คนเหล่านี้จะทำหน้าที่ 
      1. พูดปลอบใจเฉย ๆ 
      2. ให้คำแนะนำ ให้ข่าวสารข้อมูล 
      3. ให้คำแนะนำสั่งสอนในสิ่งที่ดีงาม หรือสิ่งที่ ผู้แนะนำคิดว่าถูกต้อง 
      4. ให้คำแนะนำวิธีการที่ผู้แนะนำเคยใช้กับผู้อื่น หรือตนเองมาแล้วได้ผลดี 

จุดมุ่งหมายของการให้คำแนะนำปรึกษาของนายตำรวจฝ่ายปกครอง      
      การให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยามีหลักการ ขั้นตอน และจุดมุ่งหมายในการพูดคุย ซึ่งผู้ให้คำ ปรึกษาจะต้อง เรียนรู้และฝึกฝนความสามารถในการติดต่อสื่อสาร เช่น การพูด การฟัง การซักถาม การสรุปและทบทวน 
เรื่องพูดคุยกัน การแสดง กิริยาท่าทางที่อบอุ่นเป็นมิตรมองเห็นคุณค่า และความสามารถของผู้อื่น จะช่วยให้ผู้มีปัญหาเกิดความไว้ วางใจและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาโดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิด 
      1. การเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น และเข้าใจปัญหา 
      2. มองเห็นปัญหาและต้นเหตุของปัญหาด้วยตนเอง 
      3. ได้เรียนรู้และหาต้นเหตุของปัญหาด้วยตนเองสามารถตัดสินใจหาทางเลือก 
ในการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง

2.2 ลักษณะของการให้คำปรึกษาที่ดี
       ผู้ให้คำปรึกษาอาจจะเป็นนายตำรวจฝ่ายปกครองท่านใดก็ได้ที่ยอมรับและเข้าใจความทุกข์ของ นรต.ผู้มีปัญหา และพร้อมที่จะเรียนรู้วิธีการช่วยเหลือ นรต.ผู้นั้น ให้สามารถปรับตัวเอง ให้มีชีวิตอยู่ในครอบครัว และสังคมต่อไปได้อย่างไม่ทุกข์มากจนเกินไป ผู้ที่จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาได้ดี ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 
1. มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องปัญหาของ นรต.ได้อย่างถูกต้อง
2. มีความเข้าใจคุณค่าความต้องการและความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตของมนุษย์ เคารพในสิทธิส่วนบุคคลที่จะเลือกตัดสินการดำเนินชีวิตของตนเอง 
3. มีใจเป็นกลาง ยอมรับสภาพตามความเป็นจริงของ นรต.ที่มีปัญหา 
4. มีความเข้าใจเห็นอกเห็นใจความทุกข์ของ นรต. 
5. พร้อมที่จะเรียนรู้ขั้นตอนการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา และฝึกฝนวิธีการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นจนเกิดความชำนาญเพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ อย่างเหมาะสม 
6. สามารถเก็บรักษาความลับของนรต.ที่มาหารือได้   หากต้องนำเรื่องราวเหล่านี้ไปปรึกษา นายตำรวจฝ่ายปกครองจะต้องปกปิดหลักฐานการเปิดเผยตัวผู้นั้น เช่น ชื่อ - สกุล ที่อยู่ 
7. มีความประพฤติที่เหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีได้ ยึดหลักธรรมพรหมวิหาร 4 ประจำจิตได้แก่ 
- เมตตา คือความอยากให้เขามีความสุข 
- กรุณา คือความอยากให้เขาพ้นทุกข์ 
- มุทิตา คือความยินดีเมื่อเขามีความสุข 
- อุเบกขา คือการวางเฉยเมื่อช่วยเขาได้เพียงเท่านี้
8. นายตำรวจฝ่ายปกครองต้องพร้อมที่จะเสียสละเวลาให้แก่ผู้รับคำปรึกษาอย่างเต็มที่ แม้ว่าบางครั้งอาจต้องไปเยี่ยมเยือนผู้รับคำปรึกษาหรือผู้เกี่ยวข้อง ตามความต้องการของผู้รับคำปรึกษา 

เริ่มเต็มร้อย

สู้สู้