วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

26/5/55 อ่านกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๙๖๗

มาตรา ๙๖๗ ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น บรรดาบุคคลผู้สั่งจ่ายก็ดีรับรองก็ดี สลักหลังก็ดี หรือรับประกันด้วยอาวัลก็ดี ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง
ผู้ทรงย่อมมีสิทธิว่ากล่าวเอาความแก่บรรดาบุคคลเหล่านี้เรียงตัวหรือรวมกันก็ได้โดยมิพักต้องดำเนินตามลำดับที่คนเหล่านั้นมาต้องผูกพัน
สิทธิเช่นเดียวกันนี้ ย่อมมีแก่บุคคลทุกคนซึ่งได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินและเข้าถือเอาตั๋วเงินนั้น ในการที่จะใช้บังคับเอาแก่ผู้ที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตน
การว่ากล่าวเอาความแก่คู่สัญญาคนหนึ่ง ซึ่งต้องรับผิดย่อมไม่ตัดหนทางที่จะว่ากล่าวเอาความแก่คู่สัญญาคนอื่น ๆ แม้ทั้งจะเป็นฝ่ายอยู่ในลำดับภายหลังบุคคลที่ได้ว่ากล่าวเอาความมาก่อน


JACKIE.......
พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
รอง ผกก. ฝ่ายปกครอง ๑ บก.ปค.

เวปของท่านอาจารย์กิจบดีครับ http://www.kijbodi.com/

http://www.kijbodi.com/

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบน(ASD) เมื่อมีรอยรั่วระหว่างหัวใจห้องบนขวากับห้องบนซ้าย

ช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบน(ASD) เมื่อมีรอยรั่วระหว่างหัวใจห้องบนขวากับห้องบนซ้าย
June 19, 2008 at 9:00 pm · Filed under หัวใจ, โรคหัวใจ

ช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบน เป็นความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิตตั้งแต่แรกเกิดครับ ที่มีผนังกั้นหัวใจระหว่างห้องบนซ้ายกับห้องบนขวาปิดไม่สนิท



แสดงช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนทำให้เลือดไหลผ่านย้อนไปมาได้

สาเหตุของช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบน

ช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดครับ ในระบบไหลเวียนโลหิตของเด็กในครรภ์ปกติจะมีรูเปิดอยู่ เพื่อให้เลือดนั้นไม่ต้องผ่านปอด (ระหว่างอยู่ในครรภ์ เลือดจะถูกฟอกผ่านรกครับ โดยปอดจะยังไม่ทำงาน) ดังนั้นเลือดจะไม่ผ่านปอดโดยเลือดจะเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา เข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายแล้วผ่านลงไปยังหัวใจห้องล่างซ้าย แล้วเลือดก็จะถูกสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายต่อไปครับ

และเมื่อเด็กเกิดออกมา ช่องโหว่นี้จะถูกปิด ถ้าไม่ปิด เลือดก็จะไหลจากหัวใจห้องบนซ้ายไปยังห้องบนขวา หรือไหลจากหัวใจห้องบนขวาไปยังหัวใจห้องบนซ้าย

อาการนั้นสามารถเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดก็ได้หลังเกิดครับ ถ้าลูกของคุณเป็นโรคช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบน จะเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนดังนี้ครับ
-เลือดไปยังปอดมากเกินไป
-หัวใจล้มเหลว
-หัวใจห้องบนสั่นระริก
-อัมพฤกษ์
-ความดันเลือดในปอดสูง

อาการ

ติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยๆ
เหนื่อย หายใจลำบาก
เมื่อมีกิจกรรม จะเหนื่อยมากขึ้น หรือดูดนมแล้วเหนื่อยมากขึ้น
ในเด็กโต จะรู้สึกใจสั่น
การตรวจวินิจฉัย

การตรวจด้วยหูฟัง จะช่วยให้ได้ยินเสียงหัวใจที่ผิดปกติครับ และจะได้ยินเสียงเลือดที่ไหลผ่านลิ้นหัวใจไปยังปอดมากขึ้น หรืออาการของหัวใจล้มเหลวครับ

ถ้าช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนมีขนาดใหญ่ ก็จะทำให้เลือดที่ไหลผ่านลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนขวา และห้องล่างขวานั้นมากขึ้นครับ

การตรวจเพิ่มเติม

เอกซเรย์ปอด เพื่อดูว่ามีลักษณะของหัวใจโต หรือหัวใจล้มเหลวหรือไม่
การตรวจอัลตราซาวน์หัวใจ (echocardiogram) เพื่อดูการบีบตัวของหัวใจ และดูทิศทางการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ
การตรวจอัลตราซาวน์หัวใจผ่านหลอดอาหาร
การสวนหัวใจ
การตรวจโดยใช้ Doppler เพื่อเป็นการดูการท้ศทางการไหลของเลือด
การฉีดสีดูหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ
การตรวจภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อตรวจว่ามีรูรั่วระหว่างหัวใจห้องบนขวากับห้องล่างขวาหรือไม่
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูว่ามีการบีบตัวที่ผิดจังหวะ หรือมีภาวะหัวใจห้องบนสั่นระริกหรือไม่
การรักษา
มักจะไม่จำเป็น ถ้าไม่มีอาการ หรือช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนมีขนาดเล็ก แต่ว่าถ้าช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนมีขนาดใหญ่จะมีวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดครับ

โดยทั่วไปแล้วมีเทคนิคมากมายที่จะช่วยให้ช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนปิดโดยที่ไม่ต้องผ่าตัด โดยการใส่อุปกรณ์เข้าไปที่หัวใจโดยใช้สายสวน คุณจะมีบาดแผลเล็กๆที่ขาหนีบครับ หลังจากนั้นก็จะใส่สายเข้าไปในห้องหัวใจ หลังจากนั้นก็จะทำการปิด



การรักษาโดยใช้สายสวน แล้วใส่อุปกรณ์เพื่อทำการปิดรอยรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจครับ
แต่ว่าไม่ใช่ช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนทุกกรณีจะใช้วิธีนี้ไดนะครับ เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดหัวใจอักเสบได้ ดังนั้นจึงควรได้รับการทำฟัน หรือได้รับยาปฎิชีวนะก่อนเพื่อลดความเสี่ยงนั้น

ถ้าช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนมีขนาดเล็ก ถ้าไม่มีอาการ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษาครับ แต่ถ้าช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนมีขนาดใหญ่ก็สามารถทำให้เกิดอาการได้

ภาวะแทรกซ้อน

ความดันเลือดในปอดสูง
หัวใจบีบตัวผิดจังหวะ
หัวใจล้มเหลว
Permalink

--------------------------------------
ตอบคุณศรายุทธ์(ตอนที่1)
โรคผนังหัวใจรั่วด้านบน เราเรียกว่า Atrial septal defect แพทย์ใช้ตัวย่อว่า ASD
โรคผนังหัวใจรั่วด้านล่าง เราเรียกว่า Ventricular septal defect แพทย์ใช้ตัวย่อว่า VSD (รูรั่วจะอยู่ที่ผนังหัวใจที่กั้นหัวใจห้องล่างซ้าย-ขวา)
.....ถามว่าปิดเองได้ไหม
กรณี ASD อาจปิดเองได้ภายใน 1 ปีแรก โดยเฉพาะถ้ารูมีขนาดเล็กว่า 5 มิลลิเมตร
ส่วน VSD ก็เช่นกัน อาจปิดเองได้ถ้ารูไม่ใหญ่มาก
ส่วนโอกาสปิดเองมากเท่าไร ไม่มีข้อมูลที่เป็นตัวเลขชัดเจน แต่ยิ่งรูเล็กโอกาสปิดยิ่งมีมากขึ้น
.....โรคแทรกซ้อนมีอะไรบ้าง
โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในรายที่เป็น ASD และ VSD (ไม่จำเป็นต้องเกิดทุกราย)
1.หัวใจล้มเหลว เป็นผลจากเลือดไหลลัดจากหัวใจด้านซ้าย ไปด้านขวา ในปริมาณมากๆ.....วิธีสังเกตว่า เด็กทารกมีหัวใจล้มเหลวคือ หนังศีรษะบวมน้ำ,ท้องโต,เด็กเคลื่อนไหวช้าลง
2.การเจริญเติบโตช้า เด็กจะตัวเล็ก มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน
3.หัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation พบได้ในรายที่เป็น ASD
4.อาการเขียว (ในทางการแพทย์ เรียกว่า cyanosis) พบน้อยมาก ในกรณีของโรคหัวใจ ASD และ VSD พบเฉพาะในรายที่แรงดันเลือดในปอดสูงมากจนเกิดการไหลของเลือดย้อนกลับทางรูรั่ว ทำให้เลือดที่ยังไม่ได้ไปฟอกที่ปอดซึ่งเป็นเส้นเลือดดำ ไหลย้อนผ่านทางรูรั่วไปที่หัวใจด้านซ้าย ทำให้เด็กเขียว
.....ถ้าพบภาวะนี้ ต้องรีบส่งรพ.ทันที เพราะเด็กอาจเสียชีวิตได้
5.แรงดันเลือดในปอดสูง (ทางการแพทย์เรียกว่า pulmonary hypertension)ทำให้มีอาการเหนื่อยง่าย
6.ปอดอักเสบติดเชื้อ เลือดที่รั่วผ่านผนัง ทำให้เลือดไปที่ปอดมากขึ้นกว่าปกติ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในปอดมากขึ้น

__________________
มีปัญหาโรคหัวใจ ที่นี่มีคำตอบ...http://www.thaiheartclinic.com



...........Jackie.........
Police Lieutenant Colonel chakgrid chukong
pan tram rod trow jag grid chu kong

ค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน

ค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
ผมขอนำเสนอคอลัมน์ใหม่ เพื่อเป็นอีกหน้าหนึ่งของการเรียนรู้กฎหมายแรงงาน หรือกฎหมายอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
สำหรับสัปดาห์แรกผมขอนำเสนอ ความหมายของคำว่า "ค่าจ้าง"
"ค่าจ้าง" เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานให้แก่ลูกจ้าง อาจเรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น เงินเดือน ค่าครองชีพ เงินเบี้ยเลี้ยง เบี้ยขยัน เงินช่วยเหลือบุตร เป็นต้น
"ค่าจ้าง" ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๕ ให้คำจำกัดความไว้ว่า
"ค่าจ้าง"หมายความว่าเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวันรายสัปดาห์รายเดือนหรือระยะเวลาอื่นหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานและให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้
"ค่าจ้างในวันทำงาน" หมายความว่าค่าจ้างที่จ่ายสำหรับการทำงานเต็มเวลาการทำงานปกติ
"อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ"หมายความว่าอัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้
"อัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน"หมายความว่าอัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
"การทำงานล่วงเวลา" หมายความว่าการทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติหรือเกินชั่วโมงทำงานในแต่ละวันที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกันตามมาตรา๒๓ในวันทำงานหรือวันหยุดแล้วแต่กรณี
"ค่าล่วงเวลา" หมายความว่าเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน
"ค่าล่วงเวลาในวันหยุด" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด


จากตัวบทกฎหมาย คำว่า "ค่าจ้าง" ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ จึงมีองค์ประกอบสำคัญ ๆ คือ
1. ต้องเป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่าย
ตามกฎหมาย ปัจจุบัน กำหนดให้มีการจ่ายค่าจ้างเป็นเงินเท่านั้น ดังนั้นสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ตัวเงินจึงไม่ถือเป็นค่าจ้าง เช่น รถประจำตำแหน่ง ชุดยูนิฟอร์ม ห้องพัก ประกันภัย อุปกรณ์ป้องกันภัย รองเท้า ถุงมือ เป็นต้น


การตกลงกฎหมายไม่ได้กำหนด แบบหลักเกณฑ์ไว้ ดังนั้น การตกลง ไม่ว่าจะตกลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ หรือ โดยพฤติกรรมหรือโดยปริยายก็ได้


ผู้จ่ายต้องเป็นนายจ้าง ผู้รับต้องเป็นลูกจ้าง ดังนั้น ผู้อื่นหรือบุคคลที่ไม่ได้รับมอบอำนาจ หรือมีอำนาจกระทำการแทนนายจ้าง จ่ายค่าจ้างแทนนายจ้างไม่ได้ ไม่ถือว่าเป็นการจ่ายค่าจ้าง ในทางตรงกันข้าม ผู้รับต้องเป็นลูกจ้าง ค่าจ้างถือเป็นสิทธิเฉพาะบุคคล พนักงานคนอื่น บุคคลอื่นรับค่าจ้างแทนไม่ได้ หรือจ่ายด้วยวิธีการอื่น โดยที่ลูกจ้างไม่ได้ตกลงด้วยไม่ได้ ไม่ถือว่าเป็นการจ่ายหรือรับค่าจ้างโดยชอบ เว้นแต่การรับมรดกของทายาท


2. จ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง
เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างตามที่ตกลงในสัญญาจ้าง ตามตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ การจ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ อื่น ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง เช่น จ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการ เป็นเงินจูงใจ
กรณีถือว่าจ่ายไปเพื่อตอบแทนการทำงาน เช่น
-เงินค่าครองชีพ ที่จ่ายเป็นประจำ แน่นอนทุกเดือน
-ค่าเบี้ยเลี้ยงทำงานต่างจังหวัดและค่าที่พัก สำหรับพนักงานทำงานต่างจังหวัด โดยเหมาจ่ายเป็นจำนวนเงินแน่นอน เป็นประจำทุกเดือน
-ค่าน้ำมันรถ ค่าโทรศัพท์ เหมาจ่ายประจำทุกเดือน
-ค่าตอบแทนการขาย จ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายที่ทำได้แต่ละเดือนเป็นประจำทุกเดือน มากน้อยขึ้นอยู่กับยอดขายที่ทำได้แต่ละเดือน ถือเป็นค่าจ้าง
กรณีไม่ถือว่าจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน เช่น

- เงินเบี้ยเลี้ยงพิเศษ
-ค่าเบี้ยเลี้ยงต่างจังหวัด ที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อออกไปทำงานต่างจังหวัดเมื่อผู้บังคับบัญชาสั่งเป็นครั้งคราว
-ค่ายังชีพ ที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างหยุดกิจการ


-กรณีจ่ายเป็นสวัสดิการจ่ายเพื่อจูงใจในการทำงานหรือจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน ไม่ถือว่าจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้าง เช่น สวัสดิการค่าเช่าบ้าน, เงินค่าที่พักสำหรับพนักงานที่ไม่มีที่พักเป็นของตนเอง, เงินเพิ่มจูงใจในการทำงานเพื่อตอบแทนคุณงามความดีของพนักงาน เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้เป็นกำลังใจในการทำงาน เป็นรางวัลตอบแทนความดีของลูกจ้าง, เงินเพิ่ม ที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ไม่ขาดงานเลยในเดือนหนึ่งๆ, เบี้ยขยัน, เงินค่ารับรอง,เงินค่าภาษีและเงินประกันสังคม


-ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าเช่าบ้าน ที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง มีลักษณะจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการค่าน้ำมันรถ, ค่าที่พักอาศัย ,เงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้า,เงินค่าน้ำและค่าไฟฟ้า ที่ลูกจ้างจะเบิกได้ต้องมีใบเสร็จไปแสดงและเบิกได้ไม่เกินที่นายจ้างกำหนดไว้

3.จ่ายเพื่อตอบแทนสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ
เป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานตามระยะเวลาทำงานปกติเท่านั้น อาจเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน หรือตามผลงาน ตามระยะเวลาที่ทำงานในวันทำงานปกติ เงินอื่นที่จ่ายนอกเวลาทำงานปกติ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง เช่น ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด เป็นต้น


ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้องบางส่วน เช่น
คำพิพากษาฎีกาที่ 876/2544
ค่าเบี้ยเลี้ยงทำงานต่างจังหวัด และค่าที่พัก หากจ่ายเป็นจำนวนเงินแน่นอนทุกเดือนโดยเหมาจ่าย ถือเป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 7402-7403/2544
ค่าน้ำมันรถ และค่าโทรศัพท์ หากนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างมีจำนวนแน่นอน โดยไม่คำนึง ว่าจ่ายมากน้อยเท่าไร เป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 6961/2546
เงินบำเหน็จกรรมการธนาคาร เงินรางวัล (โบนัสพิเศษ) เงินค่าพาหนะ เบี้ยประชุม และเงินรางวัลพิเศษ (โบนัสจากงบลับเฉพาะผู้บริหาร) ไม่ใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่ค่าจ้าง ส่วนเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับในฐานะเป็นประธานกรรมการบริษัทที่จำเลยถือหุ้น ไม่ใช่จำเลยเป็นผู้จ่าย และโจทก์ไม่ได้รับในฐานะลูกจ้างจึงไม่เป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาฎีกาที่ 9023/2546
จ่ายเงินช่วยค่าครองชีพเพื่อช่วยเหลือพนักงานเป็นปกติทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนทำนองเดียวกับเงินเดือน เงินช่วยค่าครองชีพมีลักษณะการจ่ายเป็นประจำและแน่นอนทุกวันที่ ๑ และวันที่ ๑๖ ของเดือน แม้จะจ่ายเพื่อช่วยเหลือพนักงาน แต่ก็เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานเช่นเดียวกับเงินเดือน จึงถือเป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาฎีกาที่ 9024/2546
ค่าคอมมิชชั่นเป็นเงินที่โจทก์จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน และจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานจึงถือเป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาฎีกาที่ 9096/2546
ค่าเช่าบ้านที่นายจ้างตกลงแก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย ค่าเช่าบ้านจึงเป็นเพียงสวัสดิการ มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานปกติ แม้จะมีการจ่ายเงินจำนวนนี้แน่นอนทุกเดือน ก็ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาฎีกาที่ 1528/2548
เงินโบนัสที่โจทก์ได้รับเป็นประจำทุกปีโดยจำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ปีละ 1 ครั้ง พร้อมกับเงินเดือน โดยระบุว่าเป็นเงินโบนัส
เงินค่าน้ำและค่าไฟฟ้าเดิมจำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์ต่อเมื่อต้องมีใบเสร็จรับเงินมาแสดง แม้ต่อมาโจทก์จะไม่ต้องนำใบเสร็จมาแสดง และเหมาจ่ายให้แก่โจทก์เป็นประจำทุกเดือน ก็ตาม เห็นว่าค่าน้ำและค่าไฟฟ้า เป็นการจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการโดยแท้ ไม่มีเจตนาที่จะจ่ายให้เป็นเงินค่าจ้าง
เงินโบนัส เงินค่าน้ำ และเงินค่าไฟฟ้าจึงไม่ใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาปกติ จึงไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง


คำพิพากษาฎีกาที่ 2246/2548
เงินจูงใจ นายจ้างตกลงจ่ายเฉพาะพนักงานที่ทำยอดขายได้ตามเป้าที่โจทก์กำหนด อันเป็นการจ่ายเพื่อจูงใจให้พนักงานขายทำยอดขายเพิ่มขึ้น แม้จะจ่ายพร้อมกับกาจ่ายเงินเดือน ก็ไม่ใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานโดยตรง ไม่ใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เงินจูงใจ จึงไม่ถือเป็นค่าจ้าง
















...........Jackie.........
Police Lieutenant Colonel chakgrid chukong
pan tram rod trow jag grid chu kong

เอกสารสรุปทบทวนวิชากฎหมายมหาชน

เอกสารสรุปทบทวนวิชากฎหมายมหาชน



เอกสารสรุปทบทวนวิชากฎหมายมหาชน

ในการศึกษากฎหมายมหาชน ประการแรกที่เป็นหัวข้อสำคัญที่สุด ก็คือ

"ความหมายของกฎหมายมหาชน"
ในภาพรวม กฎหมายมหาชนมิใช่อย่างอื่น นอกจากเป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่เกี่ยวกับ รัฐ อำนาจรัฐ และการใช้อำนาจรัฐในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชนผู้อยู่ใต้ปกครองของรัฐ

คำนิยามความหมายของกฎหมายมหาชนซึ่งอธิบายโดยศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายมหาชน อาทิเช่น ศ

.มอรีส ดูแวร์เช่ , ศ.แบร์นา บราเช่ , ศ. อังเดร เดอ โลบาแดร์ , รวมทั้ง ศ.ดร. หยุด แสงอุทัย และ อ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ ล้วนอธิบายความหมายของกฎหมายมหาชนในแนวทางเดียวกันทั้งสิ้น คือ กฎหมายมหาชนเป็นกฎเกณฑ์เกี่ยวกับรัฐ อำนาจรัฐ กับความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจรัฐกับพลเมือง ซึ่งเป็นเอกชน เพียงแต่อาจจะมีใช้ถ้อยคำบางคำที่ต่างกันไปเท่านั้น เช่น "ผู้ปกครอง" "ผู้อยู่ใต้ปกครอง" "องค์กรอำนาจสาธารณะ" "บุคคลสาธารณะ" "รัฐ" "หน่วยงาน ของรัฐ" "เอกชน" หรือ "พลเมือง" ฯลฯ เป็นต้น
กฎหมายมหาชนเป็นปรากฏการณ์ของความคิดเชิงตรรกะ ที่เกิดจากบริบทสภาพสังคมวิทยาการเมืองการปกครอง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อวางกฎเกณฑ์การบริหารเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม

กฎหมายมหาชนเป็นศาสตร์ประยุกต์

กฎหมายมหาชนมีวัตถุประสงค์เพื่อ

ประโยชน์สาธารณะ

( Applied Science ) และมีลักษณะเป็น พลวัตร ( Dynamic ) คือ ไม่หยุดนิ่ง แต่จะปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพความเป็นจริงของสังคม แต่ละยุคสมัย "ประโยชน์สาธารณะ" ( Public interest ) อันเป็นขอบเขตของการใช้อำนาจรัฐทุกประเภท ให้ไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกันโดยไม่ขัดแย้งกัน ทั้งในการตรากฎหมายออกมาใช้บังคับ และในการใช้อำนาจรัฐเพื่อบริหารกฎหมาย ให้บรรลุผล รวมถึง การใช้อำนาจตุลาการในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท หมายความว่า การใช้อำนาจรัฐจะต้องกระทำภายในขอบเขตวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะเท่านั้น ( Public interest ) มิใช่ประโยชน์ของเอกชนคนใดคนหนึ่งหรือของกลุ่มบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นประโยชน์ของประชาชนโดยรวม และมิใช่ประโยชน์ของประชาชนในปัจจุบันเท่านั้นแต่ยังหมายถึงประโยชน์ของประชาชนในอนาคต อีกด้วย
กฎหมายหมายชนจึงเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของ ๓ ฝ่ายด้วยกัน คือ

หนึ่ง ประโยชน์ของรัฐ ซึ่งเป็นประโยชน์ส่วนรวม สอง คือ ประโยชน์ของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐแทนรัฐ ในนามของรัฐ มิใช่ประโยชน์ส่วนตัวของผู้เป็นเจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง และ สาม ประโยชน์ของเอกชนแต่ละคน ในฐานะปัจเจกชนที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพโดยกฎหมาย
รองศาสตราจารย์ ดร

.ภูริชญา วัฒนรุ่ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้อธิบายความหมายกฎหมายมหาชนว่า :-
"

กฎหมายมหาชน คือ บรรดากฎเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับสถานะของรัฐและอำนาจรัฐ รวมทั้งกฎเกณฑ์ทางกฎหมายในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ซึ่งรวมถึงหน่วยงานของรัฐกับพลเมืองผู้อยู่ในฐานะเป็นเอกชนภายใต้การปกครอง และเป็นความสัมพันธ์ในฐานะที่รัฐมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมืองซึ่งอยู่ในฐานะเอกชนนั้น "
จากคำอธิบายความหมายกฎหมายมหาชนข้างต้น จึงสรุปได้ว่า กฎหมายมหาชน ได้แก่

1.

กฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่เกี่ยวกับ "สถานะและอำนาจรัฐ" ซึ่งรวมถึงผู้ปกครอง
2.

กฎเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับ "ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมือง" โดยพลเมืองอยู่ในฐานะเป็นเอกชนภายใต้การปกครอง
3.

กฎหมายมหาชนจึงเป็นเรื่องของกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ รัฐ อำนาจรัฐ และการใช้อำนาจรัฐ ในความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างผู้ใช้อำนาจรัฐกับพลเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชนผู้อยู่ใต้ปกครองของรัฐ

โดยเนื้อหาแล้ว กฎหมายมหาชนเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับรัฐและอำนาจรัฐ รวมทั้งการเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมือง ในส่วนที่เป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับรัฐและอำนาจรัฐนั้น อาจจะเป็นเรื่องการกำหนด

ความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างรัฐกับพลเมืองดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ในฐานะที่รัฐมี "เอกสิทธิ์ทางปกครอง" เหนือพลเมืองที่อยู่ในฐานะเอกชน
เอกสารบรรยายสรุปวิชากฎหมายมหาชน พันตำรวจโท อังกูร วัฒนรุ่ง

โครงสร้างอำนาจขององค์กรใช้อำนาจรัฐฝ่ายต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญ กำหนดองค์กรใช้อำนาจรัฐ

3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ โดยกำหนดโครงสร้าง และองค์ประกอบของแต่ละองค์กรว่าประกอบด้วยอะไรบ้างและจะจัดระบบการใช้อำนาจรัฐอย่างไร รวมทั้งกำหนดการเข้าสู่ตำแหน่งใช้อำนาจรัฐ รวมไปถึงการกำหนดให้มีองค์กรตรวจสอบที่เป็นอิสระต่างๆ แต่ในระดับรัฐธรรมนูญจะไม่กำหนดลงไปถึงรายละเอียด โดยจะต้องไปตรากฎหมายที่เป็นข้อกำหนดในทางปฏิบัติออกมาอีกชั้นหนึ่งได้แก่กฎหมายระดับพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายในลำดับรอง นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังกำหนดระบบ "การตรวจสอบและถ่วงดุลย์" ( Checks and Balances ) ในความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร ใช้อำนาจรัฐด้วยกันเองอีกด้วย
กฎหมายมหาชนนั้นมีความหมายกว้างและครอบคลุมมากกว่ากฎหมายปกครอง ดังนั้น ข้อควรระวังที่สำคัญมาก คือ อย่าได้ไปนำเอาขอบเขตของกฎหมายปกครองมาเป็นความหมายของกฎหมายมหาชน เพราะว่า กฎหมายปกครองเป็นเพียงระบบกฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนเท่านั้น

สำหรับกฎหมายปกครอง กล่าวโดยสรุป กฎหมายปกครอง ก็คือ ระบบกฎหมายในการจัดระเบียบบริหารเพื่อการจัดทำบริการสาธารณะ และบรรดาการกระทำทั้งหลายของฝ่ายปกครองนั้นจะต้องอยู่ภายใต้

เพราะฉะนั้น การให้ความหมายของกฎหมายมหาชนว่า กฎหมายมหาชนได้แก่ กฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่หน่วยงานของรัฐในการจัดทำบริการสาธารณะและจะต้องมีการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจนั้นด้วย การอธิบายอย่างนี้จึงเป็นความหมายของกฎหมายปกครองซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกฎหมายมหาชนเท่านั้น

"หลักความชอบด้วยกฎหมาย" ( Principe de la légalité ) และ"หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย" ซึ่งหมายความว่า นอกจากจะต้อง มีกฎหมายกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองแล้ว ฝ่ายปกครองยังจะต้องดำเนินการตาม "รูปแบบขั้นตอนและวิธีการ" ที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย มิฉะนั้นจะต้องถือว่า การกระทำทางปกครองนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งก่อสิทธิฟ้องคดีแก่เอกชนเพื่อขอให้ศาลยกเลิกเพิกถอนการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นต่อไป
เอกสารบรรยายสรุปวิชากฎหมายมหาชน พันตำรวจโท อังกูร วัฒนรุ่ง

โดยทั่วไป กฎหมายมหาชน ได้แก่

1.)

กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความหมายอย่างกว้าง คลอบคลุมทั้ง ตัวรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร และรวมถึงหลักรัฐธรรมนูญกับรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้เป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษณด้วย
2.)

กฎหมายปกครอง ซึ่งได้แก่ กฎหมายที่เป็นขอบเขตของอำนาจหน้าที่ฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ ซึ่งเป็นพันธะหน้าที่ของรัฐในฐานะที่เป็น ฝ่ายปกครอง
ในแนวความคิดทางทฤษฎีตะวันตก ถือว่า

"รัฐ" (state) เป็น "นิติบุคคล" ( ยกเว้น รัฐไทย ซึ่งตามกฎหมายมหาชนภายในรัฐไทยไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล) ซึ่งเป็นบุคคลสมมุติทางกฎหมายหรือมี "สถานะทางกฎหมาย" เสมือนบุคคล แต่รัฐเป็นเพียงนามธรรม ถึงแม้จะมีรัฐอยู่แต่รัฐก็ไม่มีตัวตน ดังนั้น รัฐจึงต้องมี "รัฐบาล" (government) เป็นผู้ใช้อำนาจรัฐแทนรัฐในนามของรัฐ
แต่สถานะของรัฐบาลนั้นมีอยู่

2 สถานะในเวลาเดียวกัน คือ
(

1) รัฐบาลในฐานะเป็น "ฝ่ายบริหาร" ( Executive ) และ
(

2) รัฐบาลในฐานะเป็น "ฝ่ายปกครอง" ( Administration )
ในสถานะ

2 ประการนี้ มีความแตกต่างกันในสาระสำคัญและมีความแตกต่างกันในระบบการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งเป็นหัวข้อที่จะพูดในตอนต่อไป
3.)

ในสมัยปัจจุบันกฎหมายมหาชนยังแยกออกไปเป็น กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจอีกสาขาวิชาหนึ่งด้วย

ในความหมายของกฎหมายมหาชน โดยเนื้อแท้แล้ว กฎหมายมหาชนเป็นเรื่องกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ รัฐ อำนาจรัฐ และกฎเกณฑ์ทางกฎหมายในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมือง ซึ่งอาจจะเป็นการกำหนดโครงสร้างองค์กรใช้อำนาจรัฐ หรือเป็นกฎเกณฑ์กำหนดระบบความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรใช้อำนาจรัฐนั้น เช่น รัฐธรรมนูญ กำหนดองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐ

กฎหมายการคลัง ซึ่งได้แก่ กฎหมายเกี่ยวการคลัง การงบประมาณ และกฎหมายภาษีอากร ฯลฯ เป็นต้น 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ
เอกสารบรรยายสรุปวิชากฎหมายมหาชน พันตำรวจโท อังกูร วัฒนรุ่ง

โดยกำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และความสัมพันธ์ว่าจะจัดระบบการใช้อำนาจรัฐนั้นอย่างไร รวมทั้งกำหนดการเข้าสู่ตำแหน่งใช้อำนาจรัฐฝ่ายต่างๆนั้น เป็นต้น

และยังรวมไปถึงการกำหนดให้มี

เหตุที่การกระทำขององค์กรและเจ้าหน้าที่ผู้ใช้อำนาจรัฐ ต้องอยู่ภายใต้

"องค์กรตรวจสอบที่เป็นอิสระ" ต่างๆ แต่ในระดับรัฐธรรมนูญนั้นจะไม่กำหนดรายละเอียดไว้แต่อย่างใด นอกจากนี้ ในความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐด้วยกัน รัฐธรรมนูญยังกำหนด "ระบบ การตรวจสอบและถ่วงดุลย์" ( Checks and Balances ) ไว้ด้วย ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามระบบการปกครอง ของแต่ละประเทศ และการกระทำต่างๆของบรรดาองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐเหล่านี้ล้วนต้องอยู่ภายใต้หลักความชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน "หลักความชอบด้วยกฎหมาย" ก็เพราะว่า การเป็นรัฐเสรีนิยมนั้น หมายถึง การเป็น "นิติรัฐ" (État de Droit) นั่นเอง
เรื่อง

"นิติรัฐ" หรือ "หลักนิติรัฐ" เป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดในการศึกษากฎหมายมหาชน หากเป็นเรื่องของกฎหมายมหาชนในรัฐเสรีนิยมหรือรัฐในระบอบ การปกครองแบบประชาธิปไตยเสรีนิยม ( Liberal Democracy) พื้นฐานของการกระทำ ที่เป็นการใช้อำนาจรัฐทุกเรื่องล้วนตั้งอยู่ภายใต้หลักการของ "หลักนิติรัฐ" และ "หลักความชอบด้วยกฎหมาย" ทั้งสิ้น
ทั้ง

ตามทฤษฎีฝรั่งตะวันตก ถือว่า ประชาธิปไตยมีรากฐานมาจากคำว่า

แต่ความหมายดั้งเดิมของคำว่าประชาธิปไตยกับความหมายในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันมาก เพราะ รัฐและสังคม เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แนวความคิดจึงเปลี่ยนแปรไปตามสภาพสังคม

แนวความคิดต่างๆในปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น การเลือกตั้งผู้แทน ระบบพรรคการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน สิทธิพลเมืองแนวความคิดเรื่องรัฐชาติสมัยใหม่

"ประชาธิปไตย" ( democracy ) และ "เสรีนิยม" ( liberalism ) เป็นแนวความคิดรูปแบบหนึ่งที่เกี่ยวกับระบอบการเมืองการปกครอง ซึ่งมีประวัติศาสตร์ความคิดย้อนหลังไปมากกว่า 2,000 ปี Democratia ในการระบอบการปกครองของนครรัฐกรีก -รัฐ ผ่านวัฒนธรรมทางการเมืองการปกครองในแต่ละ ยุคแต่ละสมัย ของแต่ละประเทศ ( Modern – nation State ) แนวความคิดเรื่อง
เอกสารบรรยายสรุปวิชากฎหมายมหาชน ( Public interest ) มิใช่ประโยชน์ของเอกชนคนใดคนหนึ่งหรือของกลุ่มบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นประโยชน์ของประชาชนโดยรวม และมิใช่ประโยชน์ของประชาชนในปัจจุบันเท่านั้นแต่ยังหมายถึงประโยชน์ของประชาชนในอนาคต อีกด้วย

กฎหมายหมายชนจึงเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของ ๓ ฝ่ายด้วยกัน คือ

หนึ่ง ประโยชน์ของรัฐ ซึ่งเป็นประโยชน์ส่วนรวม สอง คือ ประโยชน์ของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐแทนรัฐ ในนามของรัฐ มิใช่ประโยชน์ส่วนตัวของผู้เป็นเจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง และ สาม ประโยชน์ของเอกชนแต่ละคน ในฐานะปัจเจกชนที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพโดยกฎหมาย
รองศาสตราจารย์ ดร

.ภูริชญา วัฒนรุ่ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้อธิบายความหมายกฎหมายมหาชนว่า :-
"

กฎหมายมหาชน คือ บรรดากฎเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับสถานะของรัฐและอำนาจรัฐ รวมทั้งกฎเกณฑ์ทางกฎหมายในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ซึ่งรวมถึงหน่วยงานของรัฐกับพลเมืองผู้อยู่ในฐานะเป็นเอกชนภายใต้การปกครอง และเป็นความสัมพันธ์ในฐานะที่รัฐมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมืองซึ่งอยู่ในฐานะเอกชนนั้น "
จากคำอธิบายความหมายกฎหมายมหาชนข้างต้น จึงสรุปได้ว่า กฎหมายมหาชน ได้แก่

1.

กฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่เกี่ยวกับ "สถานะและอำนาจรัฐ" ซึ่งรวมถึงผู้ปกครอง
2.

กฎเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับ "ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมือง" โดยพลเมืองอยู่ในฐานะเป็นเอกชนภายใต้การปกครอง
3.

กฎหมายมหาชนจึงเป็นเรื่องของกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ รัฐ อำนาจรัฐ และการใช้อำนาจรัฐ ในความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างผู้ใช้อำนาจรัฐกับพลเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชนผู้อยู่ใต้ปกครองของรัฐ

โดยเนื้อหาแล้ว กฎหมายมหาชนเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับรัฐและอำนาจรัฐ รวมทั้งการเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมือง ในส่วนที่เป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับรัฐและอำนาจรัฐนั้น อาจจะเป็นเรื่องการกำหนด

ความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างรัฐกับพลเมืองดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ในฐานะที่รัฐมี "เอกสิทธิ์ทางปกครอง" เหนือพลเมืองที่อยู่ในฐานะเอกชน
เอกสารบรรยายสรุปวิชากฎหมายมหาชน พันตำรวจโท อังกูร วัฒนรุ่ง 3

โครงสร้างอำนาจขององค์กรใช้อำนาจรัฐฝ่ายต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญ กำหนดองค์กรใช้อำนาจรัฐ

3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ โดยกำหนดโครงสร้าง และองค์ประกอบของแต่ละองค์กรว่าประกอบด้วยอะไรบ้างและจะจัดระบบการใช้อำนาจรัฐอย่างไร รวมทั้งกำหนดการเข้าสู่ตำแหน่งใช้อำนาจรัฐ รวมไปถึงการกำหนดให้มีองค์กรตรวจสอบที่เป็นอิสระต่างๆ แต่ในระดับรัฐธรรมนูญจะไม่กำหนดลงไปถึงรายละเอียด โดยจะต้องไปตรากฎหมายที่เป็นข้อกำหนดในทางปฏิบัติออกมาอีกชั้นหนึ่งได้แก่กฎหมายระดับพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายในลำดับรอง นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังกำหนดระบบ "การตรวจสอบและถ่วงดุลย์" ( Checks and Balances ) ในความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร ใช้อำนาจรัฐด้วยกันเองอีกด้วย
กฎหมายมหาชนนั้นมีความหมายกว้างและครอบคลุมมากกว่ากฎหมายปกครอง ดังนั้น ข้อควรระวังที่สำคัญมาก คือ อย่าได้ไปนำเอาขอบเขตของกฎหมายปกครองมาเป็นความหมายของกฎหมายมหาชน เพราะว่า กฎหมายปกครองเป็นเพียงระบบกฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนเท่านั้น

สำหรับกฎหมายปกครอง กล่าวโดยสรุป กฎหมายปกครอง ก็คือ ระบบกฎหมายในการจัดระเบียบบริหารเพื่อการจัดทำบริการสาธารณะ และบรรดาการกระทำทั้งหลายของฝ่ายปกครองนั้นจะต้องอยู่ภายใต้

เพราะฉะนั้น การให้ความหมายของกฎหมายมหาชนว่า กฎหมายมหาชนได้แก่ กฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่หน่วยงานของรัฐในการจัดทำบริการสาธารณะและจะต้องมีการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจนั้นด้วย การอธิบายอย่างนี้จึงเป็นความหมายของกฎหมายปกครองซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกฎหมายมหาชนเท่านั้น

"หลักความชอบด้วยกฎหมาย" ( Principe de la légalité ) และ"หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย" ซึ่งหมายความว่า นอกจากจะต้อง มีกฎหมายกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองแล้ว ฝ่ายปกครองยังจะต้องดำเนินการตาม "รูปแบบขั้นตอนและวิธีการ" ที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย มิฉะนั้นจะต้องถือว่า การกระทำทางปกครองนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งก่อสิทธิฟ้องคดีแก่เอกชนเพื่อขอให้ศาลยกเลิกเพิกถอนการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นต่อไป
เอกสารบรรยายสรุปวิชากฎหมายมหาชน พันตำรวจโท อังกูร วัฒนรุ่ง 4

โดยทั่วไป กฎหมายมหาชน ได้แก่

1.)

กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความหมายอย่างกว้าง คลอบคลุมทั้ง ตัวรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร และรวมถึงหลักรัฐธรรมนูญกับรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้เป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษณด้วย
2.)

กฎหมายปกครอง ซึ่งได้แก่ กฎหมายที่เป็นขอบเขตของอำนาจหน้าที่ฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ ซึ่งเป็นพันธะหน้าที่ของรัฐในฐานะที่เป็น ฝ่ายปกครอง
ในแนวความคิดทางทฤษฎีตะวันตก ถือว่า

"รัฐ" (state) เป็น "นิติบุคคล" ( ยกเว้น รัฐไทย ซึ่งตามกฎหมายมหาชนภายในรัฐไทยไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล) ซึ่งเป็นบุคคลสมมุติทางกฎหมายหรือมี "สถานะทางกฎหมาย" เสมือนบุคคล แต่รัฐเป็นเพียงนามธรรม ถึงแม้จะมีรัฐอยู่แต่รัฐก็ไม่มีตัวตน ดังนั้น รัฐจึงต้องมี "รัฐบาล" (government) เป็นผู้ใช้อำนาจรัฐแทนรัฐในนามของรัฐ
แต่สถานะของรัฐบาลนั้นมีอยู่

2 สถานะในเวลาเดียวกัน คือ
(

1) รัฐบาลในฐานะเป็น "ฝ่ายบริหาร" ( Executive ) และ
(

2) รัฐบาลในฐานะเป็น "ฝ่ายปกครอง" ( Administration )
ในสถานะ

2 ประการนี้ มีความแตกต่างกันในสาระสำคัญและมีความแตกต่างกันในระบบการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งเป็นหัวข้อที่จะพูดในตอนต่อไป
3.)

ในสมัยปัจจุบันกฎหมายมหาชนยังแยกออกไปเป็น กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจอีกสาขาวิชาหนึ่งด้วย

ในความหมายของกฎหมายมหาชน โดยเนื้อแท้แล้ว กฎหมายมหาชนเป็นเรื่องกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ รัฐ อำนาจรัฐ และกฎเกณฑ์ทางกฎหมายในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมือง ซึ่งอาจจะเป็นการกำหนดโครงสร้างองค์กรใช้อำนาจรัฐ หรือเป็นกฎเกณฑ์กำหนดระบบความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรใช้อำนาจรัฐนั้น เช่น รัฐธรรมนูญ กำหนดองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐ

กฎหมายการคลัง ซึ่งได้แก่ กฎหมายเกี่ยวการคลัง การงบประมาณ และกฎหมายภาษีอากร ฯลฯ เป็นต้น 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ
เอกสารบรรยายสรุปวิชากฎหมายมหาชน พันตำรวจโท อังกูร วัฒนรุ่ง 5

โดยกำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และความสัมพันธ์ว่าจะจัดระบบการใช้อำนาจรัฐนั้นอย่างไร รวมทั้งกำหนดการเข้าสู่ตำแหน่งใช้อำนาจรัฐฝ่ายต่างๆนั้น เป็นต้น

และยังรวมไปถึงการกำหนดให้มี

เหตุที่การกระทำขององค์กรและเจ้าหน้าที่ผู้ใช้อำนาจรัฐ ต้องอยู่ภายใต้

"องค์กรตรวจสอบที่เป็นอิสระ" ต่างๆ แต่ในระดับรัฐธรรมนูญนั้นจะไม่กำหนดรายละเอียดไว้แต่อย่างใด นอกจากนี้ ในความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐด้วยกัน รัฐธรรมนูญยังกำหนด "ระบบ การตรวจสอบและถ่วงดุลย์" ( Checks and Balances ) ไว้ด้วย ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามระบบการปกครอง ของแต่ละประเทศ และการกระทำต่างๆของบรรดาองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐเหล่านี้ล้วนต้องอยู่ภายใต้หลักความชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน "หลักความชอบด้วยกฎหมาย" ก็เพราะว่า การเป็นรัฐเสรีนิยมนั้น หมายถึง การเป็น "นิติรัฐ" (État de Droit) นั่นเอง
เรื่อง

"นิติรัฐ" หรือ "หลักนิติรัฐ" เป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดในการศึกษากฎหมายมหาชน หากเป็นเรื่องของกฎหมายมหาชนในรัฐเสรีนิยมหรือรัฐในระบอบ การปกครองแบบประชาธิปไตยเสรีนิยม ( Liberal Democracy) พื้นฐานของการกระทำ ที่เป็นการใช้อำนาจรัฐทุกเรื่องล้วนตั้งอยู่ภายใต้หลักการของ "หลักนิติรัฐ" และ "หลักความชอบด้วยกฎหมาย" ทั้งสิ้น
ทั้ง

ตามทฤษฎีฝรั่งตะวันตก ถือว่า ประชาธิปไตยมีรากฐานมาจากคำว่า

แต่ความหมายดั้งเดิมของคำว่าประชาธิปไตยกับความหมายในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันมาก เพราะ รัฐและสังคม เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แนวความคิดจึงเปลี่ยนแปรไปตามสภาพสังคม

แนวความคิดต่างๆในปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น การเลือกตั้งผู้แทน ระบบพรรคการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน สิทธิพลเมืองแนวความคิดเรื่องรัฐชาติสมัยใหม่

"ประชาธิปไตย" ( democracy ) และ "เสรีนิยม" ( liberalism ) เป็นแนวความคิดรูปแบบหนึ่งที่เกี่ยวกับระบอบการเมืองการปกครอง ซึ่งมีประวัติศาสตร์ความคิดย้อนหลังไปมากกว่า 2,000 ปี Democratia ในการระบอบการปกครองของนครรัฐกรีก -รัฐ ผ่านวัฒนธรรมทางการเมืองการปกครองในแต่ละ ยุคแต่ละสมัย ของแต่ละประเทศ ( Modern – nation State ) แนวความคิดเรื่อง
เอกสารบรรยายสรุปวิชากฎหมายมหาชน

ประโยชน์สาธารณะ

5 4 3



...........Jackie.........
Police Lieutenant Colonel chakgrid chukong
pan tram rod trow jag grid chu kong