วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฏีกาเกี่ยวกับเบี้ยปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2539


เงินที่ธนาคารโจทก์ได้ผ่อนผันจ่ายไปก่อนตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดและคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยขอสินเชื่อบัตรเครดิตจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการตลอดจนเบิกเงินสดจากเครื่องบริการนั้นไม่ได้กำหนดเวลาที่แน่นอนว่าให้จำเลยจะต้องจ่ายคืนให้แก่โจทก์เมื่อใดเป็นแต่เพียงว่าจำเลยยอมผูกพันตนที่จะจ่ายคืนให้พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะเศรษฐกิจสังคมและนโยบายการเงินของประเทศเป็นการกำหนดดอกเบี้ยกันไว้ล่วงหน้าถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นแล้วและไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา654ซึ่งห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปีเพราะมิใช่เป็นเรื่องกู้ยืมและโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์เป็นสถาบันการเงินข้อตกลงดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายจำเลยต้องเสียดอกเบี้ยไปตามข้อตกลงนั้นจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา379

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ข้อสอบวิแพ่ง

ก) โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาจ้างทำของจำนวน 1,000,000 บาท จำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้วมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดตามกฎหมาย โจทก์มีคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 4 สิงหาคม 2557 ครั้นถึงวันนัดโจทก์และจำเลยมาศาล จำเลยแจ้งต่อศาลชั้นต้นว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดีและยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ โจทก์ไม่ค้าน ศาลชั้นต้นเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยมิได้เป็นไปโดยจงใจ จึงกำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การภายใน 7 วัน แล้วเลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 5 กันยายน 2557 ปรากฏว่าจำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งศาล โจทก์มีคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดอีกครั้ง ต่อมาในวันนัดโจทก์และจำเลยมาศาล จำเลยแจ้งต่อศาลชั้นต้นว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดีพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยอ้างว่าระหว่างระยะเวลา 7 วันที่จำเลยต้องยื่นคำให้การจำเลยป่วยกระทันหันต้องเข้ารับการผ่าตัดโดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง โจทก์ไม่ค้านศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยไม่ได้ดำเนินการไต่สวนคำร้องของจำเลย แล้วสืบพยานโจทก์ ในระหว่างสืบพยานโจทก์ จำเลยไม่ได้แจ้งต่อศาลชั้นต้นว่าจะถามค้านพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่าจะถามค้านหรือไม่และไม่ได้ให้จำเลยถามค้าน เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง
ให้ท่านวินิจฉัยว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยไม่ได้ไต่สวนคำร้องของจำเลยและไม่ได้ให้จำเลยถามค้านพยานโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

(ข) หากกรณีตาม (ก) ในวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 4 สิงหาคม 2557 ศาลชั้นต้นเห็นว่า การขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยเป็นไปโดยจงใจ จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ จำเลยโต้แย้งคำสั่งไว้แล้วใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน 
ให้ท่านวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฎีกาต่อไปหรือไม่

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Rr




ส่ง​จาก Samsung ​Mobile

10344/2550

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พิเคราะห์แล้ว ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ จำเลยกับพวกอีกสองคนขับรถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนไปจอดที่หน้าร้านค้าของนางสุณีผู้เสียหาย แล้วจำเลยลงจากรถเข้าไปในร้านใช้อุบายขอซื้อกระดาษทิสชูและปลั๊กไฟฟ้า เมื่อนางสาวนิภาบุตรสาวเดินไปหยิบปลั๊กไฟฟ้านั้น จำเลยเดินตามเข้าไปด้วย ขณะนางสาวนิภากำลังหยิบสินค้าและเผลอนั้น พวกของจำเลยอีกคนหนึ่งลงจากรถเข้าไปลักบุหรี่จำนวน 7 หีบ ราคา 1,918 บาท ซึ่งวางอยู่ในตู้หน้าร้านขึ้นรถหลบหนีไป ส่วนจำเลยขึ้นรถไม่ทันและถูกผู้เสียหายกับพวกจับกุมไว้ได้ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยได้กระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์หรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยใช้อุบายเข้าไปขอซื้อสินค้า เมื่อนางสาวนิภาไปหยิบสินค้าและเผลอ พวกของจำเลยลงจากรถลักบุหรี่ไปจากร้านค้าของผู้เสียหายนั้น ได้ความว่านางสาวนิภาและนายวิษณุซึ่งอยู่ในร้านค้ามิได้รู้เห็น แสดงว่า พวกของจำเลยลอบลักหยิบเอาบุหรี่ไปโดยไม่ให้บุคคลในร้านเห็น แม้ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในร้านตัดผมฟากถนนฝั่งตรงข้ามจะเห็นเหตุการณ์ขณะพวกของจำเลยลงจากรถเข้าไปลักบุหรี่ก็ตาม แต่ก็ได้ความว่า ผู้เสียหายอยู่อีกฟากถนนและเห็นเหตุการณ์ในระยะห่าง 20 เมตร ตามแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุเอกสารหมาย จ.2 ลักษณะการกระทำดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าพวกของจำเลยเอาบุหรี่ของผู้เสียหายไปต่อหน้าผู้เสียหาย การกระทำของพวกของจำเลยไม่เป็นการฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันวิ่งราวทรัพย์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย

ฏีกาเกี่ยวกับพระธรรมนูญศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5802/2554

 แจ้งแก้ไขข้อมูล
ศาลชั้นต้นให้โอกาสแก่จำเลยทั้งสองในการผ่อนชำระหนี้และเลื่อนการฟังคำพิพากษาไป จึงมีผลเท่ากับมีคำสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณาไป เพราะเมื่อถึงกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษา ศาลชั้นต้นต้องสอบถามโจทก์และจำเลยทั้งสองก่อนว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ เพื่อประกอบดุลพินิจว่าจะให้โอกาสจำเลยทั้งสองผ่อนชำระหนี้ต่อไปหรือมีคำพิพากษาในวันดังกล่าว จึงหาใช่การพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้เสร็จสิ้นแล้วไม่ ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาในวันนัดฟังคำพิพากษาที่เลื่อนมาว่า ศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับการชำระหนี้ตามข้อตกลง จำเลยทั้งสองแถลงว่าได้นำเงินบางส่วนมาวางต่อศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ และขอให้โอกาสจำเลยทั้งสองผ่อนชำระหนี้ต่อไป แต่โจทก์แถลงคัดค้านไม่ยอมรับเงินที่จำเลยทั้งสองวางศาลเพราะจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ ศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง ดังนี้ คดีจึงยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น มิใช่อยู่ระหว่างการทำคำพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 29 ผู้พิพากษาอีกคนในศาลชั้นต้นที่ได้รับมอบหมายจากผู้พิพากษาหัวหน้าศาลให้นั่งพิจารณาคดีแทนองค์คณะพิจารณาคดีเดิมในวันนัดฟังคำพิพากษาดังกล่าว จึงเป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 28 (3)
---------

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9585/2554

 แจ้งแก้ไขข้อมูล
คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ เนื่องจากผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี โดยมีผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) การที่ศาลอุทธณ์ภาค 9 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่มิได้สั่งให้ทำคำพิพากษาใหม่แต่เพียงประการเดียว ถือได้ว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากฎีกาของจำเลยว่า ผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่ จึงเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดี นั้นไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไปได้ ซึ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 28 (3) ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้นซึ่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมอบหมายนั่งพิจารณาคดีแทนต่อไปได้ เมื่อผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมอบหมายให้ ว. นั่งพิจารณาคดีแทน ว. จึงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและทำคำพิพากษาได้ กรณีมิใช่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ในระหว่างการทำคำพิพากษาทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจทำคำพิพากษาในคดีต่อไปได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 29 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22056/2555

ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) บัญญัติให้ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 326, 328 โดยบรรยายฟ้องรวมกันมา จึงเป็นกรณีที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 ด้วยก็ตาม แต่หากพิจารณาได้ความตามฟ้อง ศาลต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 328 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. 90 เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท กรณีจึงเกินอำนาจศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ที่โจทก์ฎีกาว่า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 เห็นได้ว่าศาลสามารถที่จะลงโทษจำเลยในบทมาตราที่ถูกต้องได้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับรับฟ้องไว้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. แล้ว หากศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์สืบสมแต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ซึ่งตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองรวมการกระทำความผิดหลายอย่าง และแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้ เห็นได้ว่าศาลชั้นต้นพิจารณารับฟ้องโดยชอบมาแต่ต้นแล้วนั้น เห็นว่า ข้อกฎหมายที่โจทก์ทั้งสองยกขึ้นฎีกาเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องซึ่งเป็นคนละกรณีกับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้น และการจะนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับนั้น ศาลชั้นต้นต้องมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้เสียก่อน เมื่อศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้วจึงไม่สามารถนำบทบัญญัติดังกล่าวมากล่าวอ้างได้ว่าศาลชั้นต้นพิจารณารับฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยชอบแล้ว

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

แบบฝึกบุคคลท่ามือเปล่า คำถาม

   แบบทดสอบวัดความรู้เรื่องแบบฝึกบุคคลท่ามือเปล่า ตามแบบฝึกบุคคลท่ามือเปล่า ตร. (บก.ปค.) 

ชื่อ นรต................................................................................................ สังกัด หมวด.......... กองร้อยที่................. ปค.๑ บก.ปค. วันที่.............../................../................


๑.ข้อใดถูกต้องที่สุด ท่าวิ่งจากการเดิน ใช้คำบอกว่า “ว่ิง,หน้า,วิ่ง” ตามคำแนะนำสำหรับผู้ฝึกในการฝึกหัดท่าวิ่งจากการเดินในแบบฝึกบุคคลท่ามือเปล่าฯ
ก.ในการฝึกหัดท่าวิ่งจากการเดิน ให้ใช้คำบอกว่า “วิ่ง” ในขณะที่เท้าซ้ายตกถึงพื้นและให้ใช้คำบอกว่า “หน้า” เมื่อเท้าขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง และคำบอกว่า “วิ่ง” เมื่อเท้าขวาตกถึงพื้น
ข.ในการฝึกหัดท่าวิ่งจากการเดิน ให้ใช้คำบอกว่า “วิ่ง” ในขณะที่เท้าข้างใดข้างหนึ่งตกถึงพื้นก็ได้และให้ใช้คำบอกว่า “หน้า” เมื่อเท้าอีกข้างตกถึงพื้น และคำบอกว่า “วิ่ง” เมื่อเท้าข้างที่ตกถึงพื้นในคำบอกว่า “วิ่ง” ครั้งแรก ตกถึงพื้นอีกครั้ง
ค.ในการฝึกหัดท่าวิ่งจากการเดิน ให้ใช้คำบอกว่า “วิ่ง” ในขณะที่เท้าขวาตกถึงพื้นและให้ใช้คำบอกว่า “หน้า” เมื่อเท้าขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง และคำบอกว่า “วิ่ง” เมื่อเท้าขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง
ง.ในการฝึกหัดท่าวิ่งจากการเดิน ให้ใช้คำบอกว่า “วิ่ง” ในขณะที่เท้าซ้ายตกถึงพื้นและให้ใช้คำบอกว่า “หน้า” เมื่อเท้าซ้ายตกถึงพื้นอีกครั้ง และคำบอกว่า “วิ่ง” เมื่อเท้าซ้ายตกถึงพื้นอีกครั้ง
จ.มีข้อถูกมากกว่าสามข้อ
pastedGraphic.pdf๒.ท่าพักตามแบบฝึกบุคคลท่ามือเปล่ามี ๔ ท่า ได้แก่
ก.ท่าพักตามระเบียบ,ท่าพักตามปกติ,ท่าพักตามสบาย,ท่าพักแถว
ข.ท่าปกติพัก,ท่าตามระเบียบพัก,ท่าพักปกติพัก,ท่าพักแถวพัก
ค.ท่าพักตามระเบียบ,ท่าพักตามปกติ,ท่าตามสบายพัก,ท่าพักแถว
ง.ท่าตามระเบียบพัก,ท่าพักตามปกติ,ท่าพักตามสบาย,ท่าพักแถว
จ.ไม่มีข้อใดถูก
pastedGraphic_1.pdf๓.ข้อใดถูกต้องที่สุด  สำหรับการปฏิบัติท่าหันในเวลาเดินในกรณีฝึก ท่าขวาหันในเวลาเดิน
ก.การใช้คำบอกคำสั่งว่า “ขวา-หัน” (คำบอกแบ่ง) โดยมีคำแนะนำสำหรับผู้ฝึก ในการฝึกหัดท่าขวาหันในเวลาเดิน  ให้ใช้คำบอกว่า “ขวา” ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้น และให้ใชัคำบอกว่า “หัน”ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง  โดยการปฏิบัติขณะหมุนตัวในท่าขวาหันในเวลาเดิน  มือทั้งสองข้างยังคงกำหลวม
ข.การใช้คำบอกคำสั่งว่า “ขวา-หัน” (คำบอกแบ่ง) โดยมีคำแนะนำสำหรับผู้ฝึก ในการฝึกหัดท่าขวาหันในเวลาเดิน  ให้ใช้คำบอกว่า “ขวา” ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้น และให้ใชัคำบอกว่า “หัน”ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง  โดยการปฏิบัติขณะหมุนตัวในท่าขวาหันในเวลาเดิน  มือทั้งสองข้างเหยียดตรงอยู่ข้างลำตัว  ข้อมือไม่หัก พลิกข้อศอกไปข้างหน้าเล็กน้อยจนไหล่ทั้งสองข้างตึงและเสมอกันกับนิ้วมือทั้งสองข้างเรียงชิดติดกัน  นิ้วกลางแตะที่ตรงกึ่งกลางขาท่อนบนประมาณแนวตะเข็บกางเกง เปิดฝ่ามือด้านนิ้วก้อยออกไปด้านข้างเล็กน้อย ก.การใช้คำบอกคำสั่งว่า “ขวาหัน” (คำบอกรวด) โดยมีคำแนะนำสำหรับผู้ฝึก ในการฝึกหัดท่าขวาหันในเวลาเดิน  ให้ใช้คำบอกว่า “ขวา” ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้น และให้ใชัคำบอกว่า “หัน”ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง  โดยการปฏิบัติขณะหมุนตัวในท่าขวาหันในเวลาเดิน  มือทั้งสองข้างยังคงกำหลวม
ค.การใช้คำบอกคำสั่งว่า “ขวา-หัน” (คำบอกเป็นคำๆ) โดยมีคำแนะนำสำหรับผู้ฝึก ในการฝึกหัดท่าขวาหันในเวลาเดิน  ให้ใช้คำบอกว่า “ขวา” ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้น และให้ใชัคำบอกว่า “หัน”ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง  โดยการปฏิบัติขณะหมุนตัวในท่าขวาหันในเวลาเดิน  มือทั้งสองข้างเหยียดตรงอยู่ข้างลำตัว  ข้อมือไม่หัก พลิกข้อศอกไปข้างหน้าเล็กน้อยจนไหล่ทั้งสองข้างตึงและเสมอกันกับนิ้วมือทั้งสองข้างเรียงชิดติดกัน  นิ้วกลางแตะที่ตรงกึ่งกลางขาท่อนบนประมาณแนวตะเข็บกางเกง เปิดฝ่ามือด้านนิ้วก้อยออกไปด้านข้างเล็กน้อย
จ.ถูกมากกว่าสองข้อ
pastedGraphic_2.pdf





๔.ท่าซอยเท้าจากการเดิน ที่มีคำบอกว่า “ซอยเท้า”  ตามคำแนะนำสำหรับผู้ฝึก  ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก.ในการฝึกหัดท่าซอยเท้าจาการเดิน  ให้ใช้คำบอกว่า “ซอย” ในขณะเท้าข้างใดข้างหนึ่งตกถึงพื้นก็ได้ และให้ใช้คำบอกว่า “เท้า” ในขณะเท้าข้างนั้นตกถึงพื้นอีกครั้งหนึ่งในก้าวถัดไป
ข.ในการฝึกหัดท่าซอยเท้าจาการเดิน  ให้ใช้คำบอกว่า “ซอย” ในขณะเท้าข้างใดข้างหนึ่งตกถึงพื้นก็ได้ และให้ใช้คำบอกว่า “เท้า” ในขณะเท้าอีกข้างตกถึงพื้นในก้าวถัดไป
ค.ในการฝึกหัดท่าซอยเท้าจาการเดิน  ให้ใช้คำบอกว่า “ซอย” ในขณะเท้าข้างซ้ายตกถึงพื้น และให้ใช้คำบอกว่า “เท้า” ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้นอีกครั้งหนึ่งในก้าวถัดไป
ง.ในการฝึกหัดท่าซอยเท้าจาการเดิน  ให้ใช้คำบอกว่า “ซอย” ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้น และให้ใช้คำบอกว่า “เท้า” ในขณะเท้าข้างซ้ายตกถึงพื้นอีกครั้งหนึ่งในก้าวถัดไป
จ.มีข้อถูกมากกว่าสองข้อ
pastedGraphic_3.pdf๕.กรณีตำรวจไม่ได้อยู่ในแถว  แต่อยู่ในลักษณะรวมกันอยู่ในความควบคุม เช่น นั่งอยู่ที่เก้าอี้ในห้องประชุม  การใช้คำบอกในการทำการเคารพ ที่เป็นหลักนิยมในการสั่งข้อใดถูกต้อง
ก.ทั้งหมด - ตรง
ข.ระวัง - ตรง
ค.ทั้งหมด - แถว - ตรง
ง.แถว - ตรง
จ.มีข้อถูกจำนวนสองข้อ
pastedGraphic_4.pdf๖.ข้อถูกต้องที่สุด  ท่าหยุดจากการวิ่ง มี ๕ จังหวะ ใช้คำบอกว่า “แถว - หยุด”  ซึ่งคำแนะนำสำหรับผู้ฝึกตามแบบข้อใดถูกต้องที่สุด
ก.คำบอกว่า “แถว” ในขณะที่เท้าข้างขวาตกลงถึงพื้น  และให้ใช้คำบอกว่า “หยุด” ในขณะที่เท้าข้างซ้ายตกถึงพื้น มีจังหวะดังนี้
จังหวะหนึ่ง-เมื่อสิ้นสุดคำบอกว่า “แถว-หยุด” ให้ก้าวเท้าลดความเร็วลง
จังหวะสอง-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะสาม-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะสี่-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะห้า-ให้ก้าวเท้าตบลงกับพื้นอย่างแข็งแรง  หยุดวิ่งโดยมือทั้งสองข้างยังคงกำหลวมอยู่ราวนมและนำเท้าหลังมาชิดเท้าหน้า พร้อมกับสะบัดมือและแขนทั้งสองข้างมาอยู่ในท่าตรงอย่างรวดเร็วและแข็งแรง
ข.คำบอกว่า “แถว” ในขณะที่เท้าข้างใดข้างหนึ่งตกลงถึงพื้นก็ได้ และให้ใช้คำบอกว่า “หยุด” ในขณะที่เท้าข้างนั้นตกถึงพื้นอีกครั้ง มีจังหวะดังนี้
จังหวะหนึ่ง-เมื่อสิ้นสุดคำบอกว่า “แถว-หยุด” ให้ก้าวเท้าลดความเร็วลง
จังหวะสอง-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะสาม-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะสี่-ให้ก้าวเท้าตบลงกับพื้นอย่างแข็งแรง  หยุดวิ่งโดยมือทั้งสองข้างยังคงกำหลวมอยู่ราวนม
จังหวะห้า-ให้นำเท้าหลังมาชิดเท้าหน้า พร้อมกับสะบัดมือและแขนทั้งสองข้างมาอยู่ในท่าตรงอย่างรวดเร็วและแข็งแรง
ค.คำบอกว่า “แถว” ในขณะที่เท้าข้างซ้ายตกลงถึงพื้น และให้ใช้คำบอกว่า “หยุด” ในขณะที่เท้าข้างขวาตกถึงพื้น มีจังหวะดังนี้
จังหวะหนึ่ง-เมื่อสิ้นสุดคำบอกว่า “แถว-หยุด” ให้ก้าวเท้าลดความเร็วลง
จังหวะสอง-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะสาม-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะสี่-ให้ก้าวเท้าตบลงกับพื้นอย่างแข็งแรง  หยุดวิ่งโดยมือทั้งสองข้างยังคงกำหลวมอยู่ราวนม
จังหวะห้า-ให้นำเท้าหลังมาชิดเท้าหน้า พร้อมกับสะบัดมือและแขนทั้งสองข้างมาอยู่ในท่าตรงอย่างรวดเร็วและแข็งแรง
ง.คำบอกว่า “แถว” ในขณะที่เท้าข้างใดข้างหนึ่งตกลงถึงพื้นก็ได้ และให้ใช้คำบอกว่า “หยุด” ในขณะที่เท้าอีกข้างตกถึงพื้น มีจังหวะดังนี้
จังหวะหนึ่ง-เมื่อสิ้นสุดคำบอกว่า “แถว-หยุด” ให้ก้าวเท้าลดความเร็วลง
จังหวะสอง-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะสาม-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะสี่-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะห้า-ให้ก้าวเท้าตบลงกับพื้นอย่างแข็งแรง  หยุดวิ่งโดยมือทั้งสองข้างยังคงกำหลวมอยู่ราวนมและนำเท้าหลังมาชิดเท้าหน้า พร้อมกับสะบัดมือและแขนทั้งสองข้างมาอยู่ในท่าตรงอย่างรวดเร็วและแข็งแรง
จ.ไม่มีข้อใดถูกต้องตามแบบฝึกของ ตร.
๗.ท่าตรงในลักษระของการเคาพด้วยท่าตรงขณะอยู่ในแถว ใช้คำบอกว่าอย่างไร เป็นคำบอกประเภทอย่างไร
ก."แถว - ตรง" เป็นคำบอกประเภท "คำบอกแบ่ง"
ข."แถวตรง"  เป็นคำบอกประเภท "คำบอกรวด"
ค."แถว - ตรง"เป็นคำบอกประเภท "คำบอกเป็นคำๆ"
ง."แถวตรง" เป็นคำบอกประเภท "คำบอกผสม"
จ.มีข้อถูกมากกว่า ๑ แต่ไม่เกิน ๓
pastedGraphic_5.pdf๘.ท่าหันในเวลาวิ่ง  กรณี ท่ากลับหลังหันในเวลาวิ่ง  ใช้คำบอกว่า “กลับหลัง-หัน” (คำบอกแบ่ง)  คำแนะนำสำหรับผู้ฝึกในการฝึกหัดข้อใดถูกต้องที่สุด
ก.การฝึกหัดท่ากลับหลังหันในเวลาวิ่ง ให้ใช้คำบอกว่า “กลับหลัง” เมื่อเท้าข้างใดข้างหนึ่งตกถึงพื้นก็ได้ และให้ใช้คำบอกว่า “หัน” เมื่อเท้าอีกข้างตกถึงพื้นในก้าวถัดไป
ข.การฝึกหัดท่ากลับหลังหันในเวลาวิ่ง ให้ใช้คำบอกว่า “กลับหลัง” เมื่อเท้าข้างใดข้างหนึ่งตกถึงพื้นก็ได้ และให้ใช้คำบอกว่า “หัน” เมื่อเท้าข้างที่ตกถึงพื้นในคำบอกว่า “กลับหลัง” ตกถึงพื้นอีกครั้งในก้าวถัดไป
ค.การฝึกหัดท่ากลับหลังหันในเวลาวิ่ง ให้ใช้คำบอกว่า “กลับหลัง” เมื่อเท้าข้างขวาตกถึงพื้น และให้ใช้คำบอกว่า “หัน” เมื่อเท้าข้างขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง ในก้าวถัดไป
ง.การฝึกหัดท่ากลับหลังหันในเวลาวิ่ง ให้ใช้คำบอกว่า “กลับหลัง” เมื่อเท้าข้างซ้ายตกถึงพื้น และให้ใช้คำบอกว่า “หัน” เมื่อเท้าข้างซ้ายตกถึงพื้นอีกครั้งในก้าวถัดไป
จ.ข้อ ค.​และ ข้อ ง.ถูก แต่ข้อ ก. และ ข้อ ข. ผิดบางประการ

pastedGraphic_6.pdf


























๙.ท่าถอดหมวก  ในกรณี หมวกเหล็ก หมวกยอด และหมวกกันอันตราย  กรณีที่ไม่ใช้สายรัดข้าง , หมวกทรงหม้อตาล ,หมวกแก็บ ทรงตึง และหมวกแก็ปทรงอ่อน  ในการอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติ ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. ขั้นตอนแรก : เมื่อสิ้นสุดคำบอกว่า “ถอด-หมวก” (คำบอกแบ่ง)ให้ยกแขนซ้ายท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนกระชับศอกให้แนบชิดลำตัว หงายฝ่ามือขึนโดยให้นิ้วหัวแม่มือยกขึ้นตั้งฉากกับฝ่ามือทั้ง 4 ที่เหลือเหยียดตรงและเรียงชิดติดกัน พร้อมกับยกมือขวาขึ้นจับกระบังหมวก โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ทางด้านล่าง ส่วนนิ้วที่เหลือเหยียดตรงเรียงชิดติดกัน  วางทาบอยู่ทางด้านบนตรงแนวหางคิ้วขวา เปิดข้อศอกอยู่ระดับแนวไหล่
  ขั้นตอนที่สอง : นำหมวกมาวางครอบนิ้วหัวแม่มือซ้ายซึ่งตั้งอยู่โดยหันหน้าหมวกไปทางด้านขวาของลำตัวและให้ขอบหมวกด้านนอกลำตัววางอยู่บนนิ้วทั้งสี่ตรงข้อนิ้วมือที่หนึ่งจากนั้นใช้มือซ้ายจับขอบหมวกด้านนอกลำตัวไว้ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วทั้งสี่  มือขวายังคงจับอยู่ที่กระบังหมวก หรือปีกหมวก
          ขั้นตอนที่สาม : ให้ลดมือขวาลงมาอยู่ในท่าตรงอย่างแข็งแรง  โดยทุกส่วนอยู่ในลักษณะท่าตรงเหมือนกับการปฏิบัติในขั้นตอนแรก
ข. ขั้นตอนแรก : เมื่อสิ้นสุดคำบอกว่า “ถอดหมวก” (คำบอกรวด)ให้ยกแขนซ้ายท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนกระชับศอกให้แนบชิดลำตัว หงายฝ่ามือขึนโดยให้นิ้วหัวแม่มือยกขึ้นตั้งฉากกับฝ่ามือทั้ง 4 ที่เหลือเหยียดตรงและเรียงชิดติดกัน พร้อมกับยกมือขวาขึ้นจับกระบังหมวก โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ทางด้านล่าง ส่วนนิ้วที่เหลือเหยียดตรงเรียงชิดติดกัน  วางทาบอยู่ทางด้านบนตรงแนวหางคิ้วขวา เปิดข้อศอกอยู่ระดับแนวไหล่
  ขั้นตอนที่สอง : นำหมวกมาวางครอบนิ้วหัวแม่มือซ้ายซึ่งตั้งอยู่โดยหันหน้าหมวกไปทางด้านขวาของลำตัวและให้ขอบหมวกด้านนอกลำตัววางอยู่บนนิ้วทั้งสี่ตรงข้อนิ้วมือที่หนึ่งจากนั้นใช้มือซ้ายจับขอบหมวกด้านนอกลำตัวไว้ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วทั้งสี่  มือขวายังคงจับอยู่ที่กระบังหมวก หรือปีกหมวก
          ขั้นตอนที่สาม : ให้ลดมือขวาลงมาอยู่ในท่าตรงอย่างแข็งแรง  โดยทุกส่วนอยู่ในลักษณะท่าตรงเหมือนกับการปฏิบัติในขั้นตอนแรก
ค. ขั้นตอนแรก : เมื่อสิ้นสุดคำบอกว่า “ถอด-หมวก” (คำบอกแบ่ง)ให้ยกแขนซ้ายท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนกระชับศอกให้แนบชิดลำตัว หงายฝ่ามือขึนโดยให้นิ้วหัวแม่มือยกขึ้นตั้งฉากกับฝ่ามือทั้ง 4 ที่เหลือเหยียดตรงและเรียงชิดติดกัน พร้อมกับยกมือขวาขึ้นจับกระบังหมวก โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ทางด้านล่าง ส่วนนิ้วที่เหลือเหยียดตรงเรียงชิดติดกัน  วางทาบอยู่ทางด้านบนตรงแนวหางคิ้วขวา เปิดข้อศอกอยู่ระดับแนวไหล่
  ขั้นตอนที่สอง : นำหมวกมาวางครอบนิ้วหัวแม่มือซ้ายซึ่งตั้งอยู่โดยหันหน้าหมวกไปทางด้านขวาของลำตัวและให้ขอบหมวกด้านนอกลำตัววางอยู่บนนิ้วทั้งสี่ตรงข้อนิ้วมือที่หนึ่ง  มือขวายังคงจับอยู่ที่กระบังหมวก หรือปีกหมวก
          ขั้นตอนที่สาม : ให้ลดมือขวาลงมาอยู่ในท่าตรงอย่างแข็งแรงพร้อมกับใช้มือซ้ายจับขอบหมวกด้านนอกลำตัวไว้ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วทั้งสี่
ง. ขั้นตอนแรก : เมื่อสิ้นสุดคำบอกว่า “ถอดหมวก” (คำบอกรวด)ให้ยกแขนซ้ายท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนกระชับศอกให้แนบชิดลำตัว หงายฝ่ามือขึนโดยให้นิ้วหัวแม่มือยกขึ้นตั้งฉากกับฝ่ามือทั้ง 4 ที่เหลือเหยียดตรงและเรียงชิดติดกัน พร้อมกับยกมือขวาขึ้นจับกระบังหมวก โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ทางด้านล่าง ส่วนนิ้วที่เหลือเหยียดตรงเรียงชิดติดกัน  วางทาบอยู่ทางด้านบนตรงแนวหางคิ้วขวา เปิดข้อศอกอยู่ระดับแนวไหล่
  ขั้นตอนที่สอง : นำหมวกมาวางครอบนิ้วหัวแม่มือซ้ายซึ่งตั้งอยู่โดยหันหน้าหมวกไปทางด้านขวาของลำตัวและให้ขอบหมวกด้านนอกลำตัววางอยู่บนนิ้วทั้งสี่ตรงข้อนิ้วมือที่หนึ่ง  มือขวายังคงจับอยู่ที่กระบังหมวก หรือปีกหมวก
          ขั้นตอนที่สาม : ให้ลดมือขวาลงมาอยู่ในท่าตรงอย่างแข็งแรงพร้อมกับใช้มือซ้ายจับขอบหมวกด้านนอกลำตัวไว้ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วทั้งสี่
จ. ข้อ ก. และ ข้อ ง. ถูก และข้อ ค. ผิดในบางประการ
pastedGraphic_7.pdf๑๐.ท่าหันในเวลาวิ่ง  ในกรณี ท่าขวาหันในเวลาวิ่ง  ใช้คำบอกว่า “ขวา-หัน” ตามคำแนะนำสำหรับผู้ฝึกตามแบบฝึกบุคคลท่ามือเปล่า    ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก.การฝึกหัดท่าขวาหันในเวลาวิ่ง ให้ใช้คำบอกว่า “ขวา” เมื่อเท้าขวาตกถึงพื้น และให้ใช้คำบอกว่า “หัน” เมื่อเท้าขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง ในก้าวถัดไป
ข.การฝึกหัดท่าขวาหันในเวลาวิ่ง ให้ใช้คำบอกว่า “ขวา” เมื่อเท้าขวาตกถึงพื้น และให้ใช้คำบอกว่า “หัน” เมื่อเท้าซ้ายตกถึงพื้นในก้าวถัดไป 
ค.การฝึกหัดท่าขวาหันในเวลาวิ่ง ให้ใช้คำบอกว่า “ขวา” เมื่อเท้าข้างใดข้างหนึ่งตกถึงพื้นก็ได้ และให้ใช้คำบอกว่า “หัน” เมื่อเท้าอีกข้างตกถึงพื้นในก้าวถัดไป
ง.การฝึกหัดท่าขวาหันในเวลาวิ่ง ให้ใช้คำบอกว่า “ขวา” เมื่อเท้าข้างใดข้างหนึ่งตกถึงพื้นก็ได้ และให้ใช้คำบอกว่า “หัน” เมื่อเท้าข้างที่ตกถึงพื้น ในคำบอกว่า “ขวา” ตกถึงพื้นอีกครั้ง ในก้าวถัดไป

จ.ไม่มีข้อใดถูกต้องเลย

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฏีกาเกี่ยวกับฟ้องซ้อน

ฏีกาที่ 471/2541
 ....ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขแดงที่ 4085/2538 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ในคดีดังกล่าวตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเอกสารหมาย ล.26 โจทก์ฟ้องนางพัชรี พังคะวิบูลย์ เป็นจำเลยที่ 1และจำเลยในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 อ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 28416 เลขที่ 28417 เลขที่ 28418 เลขที่ 28419และเลขที่ 917 พร้อมอาคารพาณิชย์เลขที่ 2, 2/1, 2/2 และ 2/3ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวตามลำดับ เดิมจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 28422 เลขที่ 30897 และเลขที่ 7225 ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ว่างอยู่ด้านหน้าที่ดินโจทก์ดังกล่าว โดยจำเลยตกลงยอมให้โจทก์และบุคคลที่ซื้อตึกแถวจากจำเลยใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเป็นที่จอดรถกลับรถและใช้ประโยชน์ต่าง ๆ รวมทั้งจะจดทะเบียนภารจำยอมให้ ต่อมาจำเลยบ่ายเบี่ยงและขายที่ดินดังกล่าวให้นางพัชรีโดยฉ้อฉลและไม่สุจริตเพื่อหลบเลี่ยงไม่จดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์ ขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินระหว่างนางพัชรีกับจำเลย และให้นางพัชรีกับจำเลยจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินทั้ง 3 แปลงดังกล่าวเป็นภารจำยอมที่ดินโฉนดเลขที่ 28416, เลขที่ 28417, เลขที่ 28418และเลขที่ 28419 หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนและห้ามมิให้รบกวนการใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทสำหรับในคดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างเหตุเช่นเดียวกันว่า โจทก์มีสิทธิใช้ที่ดินภารจำยอมดังกล่าว แต่ไม่ได้ขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินระหว่างนางพัชรีกับจำเลยและมิได้ขอให้จดทะเบียนภารจำยอมแก่โจทก์ โดยอ้างเพิ่มเติมเข้ามาว่าจำเลยให้นางพัชรีรบกวนการใช้สิทธิในที่ดินภารจำยอมโดยนำอิฐ หิน ปูน ทราย และวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างเข้ามาวาง ทำให้โจทก์ไม่มีทางเข้าออกไม่มีพื้นที่ว่างด้านหน้าตึกแถว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้ใช้ค่าเสียหาย 
...ศาลฏีกาเห็นว่า คดีทั้งสองเรื่องนี้โจทก์อ้างสิทธิอย่างเดียวกันว่า ที่ดินโจทก์มีสิทธิภารจำยอมเหนือที่ดินพิพาทที่จำเลยโอนให้นางพัชรี โดยในคดีก่อนโจทก์ขอให้เพิกถอนการโอนและจดทะเบียนภารจำยอม แต่ในคดีนี้โจทก์เรียกค่าเสียหายซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยไม่ยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์นั่นเอง เมื่อค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว แต่โจทก์ไม่เรียกกลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้ ขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246

ทดสอบฏีกาที่ 471/41

 ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขแดงที่ 4085/2538 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ในคดีดังกล่าวตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเอกสารหมาย ล.26 โจทก์ฟ้องนางพัชรี พังคะวิบูลย์ เป็นจำเลยที่ 1และจำเลยในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 อ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 28416 เลขที่ 28417 เลขที่ 28418 เลขที่ 28419และเลขที่ 917 พร้อมอาคารพาณิชย์เลขที่ 2, 2/1, 2/2 และ 2/3ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวตามลำดับ เดิมจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 28422 เลขที่ 30897 และเลขที่ 7225 ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ว่างอยู่ด้านหน้าที่ดินโจทก์ดังกล่าว โดยจำเลยตกลงยอมให้โจทก์และบุคคลที่ซื้อตึกแถวจากจำเลยใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเป็นที่จอดรถกลับรถและใช้ประโยชน์ต่าง ๆ รวมทั้งจะจดทะเบียนภารจำยอมให้ ต่อมาจำเลยบ่ายเบี่ยงและขายที่ดินดังกล่าวให้นางพัชรีโดยฉ้อฉลและไม่สุจริตเพื่อหลบเลี่ยงไม่จดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์ ขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินระหว่างนางพัชรีกับจำเลย และให้นางพัชรีกับจำเลยจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินทั้ง 3 แปลงดังกล่าวเป็นภารจำยอมที่ดินโฉนดเลขที่ 28416, เลขที่ 28417, เลขที่ 28418และเลขที่ 28419 หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนและห้ามมิให้รบกวนการใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทสำหรับในคดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างเหตุเช่นเดียวกันว่า โจทก์มีสิทธิใช้ที่ดินภารจำยอมดังกล่าว แต่ไม่ได้ขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินระหว่างนางพัชรีกับจำเลยและมิได้ขอให้จดทะเบียนภารจำยอมแก่โจทก์ โดยอ้างเพิ่มเติมเข้ามาว่าจำเลยให้นางพัชรีรบกวนการใช้สิทธิในที่ดินภารจำยอมโดยนำอิฐ หิน ปูน ทราย และวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างเข้ามาวาง ทำให้โจทก์ไม่มีทางเข้าออกไม่มีพื้นที่ว่างด้านหน้าตึกแถว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้ใช้ค่าเสียหาย เห็นว่า คดีทั้งสองเรื่องนี้โจทก์อ้างสิทธิอย่างเดียวกันว่า ที่ดินโจทก์มีสิทธิภารจำยอมเหนือที่ดินพิพาทที่จำเลยโอนให้นางพัชรี โดยในคดีก่อนโจทก์ขอให้เพิกถอนการโอนและจดทะเบียนภารจำยอม แต่ในคดีนี้โจทก์เรียกค่าเสียหายซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยไม่ยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์นั่นเอง เมื่อค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว แต่โจทก์ไม่เรียกกลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้ ขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246