เป็นเวปไซด์ของ ทนายแผ่นดินมือใหม่ เป็นผู้ดำเนินการจัดทำขึ้นเพื่อสื่อสาร ส่งต่อข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนนักกฎหมายและที่สำคัญเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าทำการทดสอบทางกฎหมายครั้งที่สำคัญที่สุดในชีวิตครับ....
วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555
มุ่งหมาย สอบเป็น "ผู้ช่วยผู้พิพากษา"...
...........Jackie.........
Police Lieutenant Colonel chakgrid chukong
pan tram rod trow jag grid chu kong
วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555
เตรียมการฝึกซ้อมสวนสนาม ประเด็นท่าวันทยาวุธขณะเคลื่อนที่
วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555
คนขายเสรีภาพ
นี่เป็นประเด็นหลักของหนังสือซึ่งกำลังเป็นที่ถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่นักวิเคราะห์การเมืองอังกฤษ-อเมริกันอย่างกว้างขวางเรื่อง Freedom for Sale : How We Made Money and Lost Our Liberty (เสรีภาพสำหรับขาย : เราทำมาหาเงินและสูญเสียเสรีภาพไปได้อย่างไร-ตีพิมพ์ในอังกฤษเมื่อกันยายน ค.ศ. 2009, และฉบับอัพเดตออกในอเมริกา มีนาคม ศกนี้) เขียนโดย จอห์น แคพเนอร์และกำลังแปลเป็นภาษาอิตาเลียน, รัสเซีย, อาหรับ ฯลฯ
แคพเนอร์เป็นชาวอังกฤษที่เกิดในสิงคโปร์เมื่อ ค.ศ.1962 ประกอบอาชีพเป็นนักเขียนนักวิจารณ์และผู้ประกาศข่าว
เขาเคยเป็นผู้สื่อข่าวประจำกรุงเบอร์ลิน (ช่วงกำแพงเบอร์ลินแตกและเยอรมนีรวมประเทศ) และมอสโก (ช่วงรัฐประหารโดยแกนนำคอมมิวนิสต์หัวเก่าล้มเหลวและระบอบโซเวียตล่มสลาย) ให้หนังสือพิมพ์ Daily Telegraph และสำนักข่าว Reuters อยู่เกือบ 10 ปี (ค.ศ.1984-กลางคริสต์ทศวรรษ 1990) ก่อนจะกลับอังกฤษมาเป็นหัวหน้าผู้สื่อข่าวการเมืองให้หนังสือพิมพ์ Financial Times และนักวิจารณ์การเมืองให้สำนักข่าว BBC
เขาประสบความสำเร็จสูงสุดในวิชาชีพหนังสือพิมพ์เมื่อเข้าเป็นบรรณาธิการการเมือง (จาก ค.ศ.2002) และเลื่อนเป็นบรรณาธิการใหญ่ของนิตยสาร New Statesman (ค.ศ.2005-2008) โดยปรับปรุงนิตยสารจนยอดขายขึ้นสูงสุดในรอบ 30 ปี เขาได้รางวัลต่างๆ อาทิ :
- รางวัล Journalist of the Year และ Film of the Year ในปี ค.ศ.2002 จาก Foreign Press Association สำหรับภาพยนตร์สารคดีความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่เขาทำให้ BBC เรื่อง The Ugly War
- รางวัล Book of the Year ในปี ค.ศ.2003 จากหนังสือพิมพ์ Times, Sunday Times และ Observer สำหรับหนังสือของเขาเรื่อง Blair"s Wars
- รางวัล Current Affairs Editor ประจำปี ค.ศ.2006 จาก British Society of Magazine Editors
- ล่าสุดหนังสือ Freedom for Sale ของเขาก็ได้รับคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายเพื่อชิงรางวัล Orwell Prize อันทรงเกียรติเมื่อเดือนพฤษภาคมศกนี้
ปัจจุบัน จอห์น แคพเนอร์ เป็นหัวหน้าผู้บริหารของ Index on Censorship อันเป็นองค์การส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออกทั่วโลกของอังกฤษ ที่พัฒนาขึ้นมาจากนิตยสารชื่อเดียวกันตั้งแต่ปี ค.ศ.1972
"ทำไมผู้คนมากหลายทั่วโลกไม่ว่าจะอยู่ในวัฒนธรรม, สภาพการณ์, ภูมิศาสตร์, หรือประวัติศาสตร์ใด, ดูเหมือนเต็มใจจะสละเสรีภาพบางอย่างเพื่อแลกกับความมั่นคงหรือเจริญรุ่งเรือง?"
คำถามนี้กระแทกใจเขาเมื่อปลายปี ค.ศ.2007 จากนั้นแคพเนอร์ก็ออกเดินทางสำรวจแสวงหาคำตอบไปหลายประเทศทั่วโลก ได้แก่ สิงคโปร์ จีน รัสเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินเดีย อิตาลี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ
เกณฑ์ในการเลือกของเขาคือ เป็นประเทศภายใต้ระบอบอำนาจนิยม (authoritarianism - 4 ประเทศแรก) ไปจนถึงเสรีประชาธิปไตย (liberal democracy - 4 ประเทศหลัง) ที่ล้วนยอมรับเงื่อนไขของโลกาภิวัตน์
โดยหลีกเลี่ยงประเทศภายใต้ระบอบทรราชที่ปกครองด้วยปากกระบอกปืนอย่างไม่อินังขังขอบฉันทานุมัติของประชาชนอย่างพม่า เกาหลีเหนือ ซิมบับเว ฯลฯ และประเทศที่มีเงื่อนไขเฉพาะพิเศษ เช่น อิสราเอลที่ยึดครองและขัดแย้งอยู่กับปาเลสไตน์, แอฟริกาใต้ภายหลังระบอบแบ่งแยกสีผิวซึ่งยังคงมรดกความเหลื่อมล้ำแตกแยกระหว่างชนต่างสีผิวอยู่, เวเนซุเอลาภายใต้ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ ที่อาศัยทรัพยากรน้ำมันอันอุดมดำเนินนโยบายประชานิยมเอียงซ้ายและต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกา ทำให้กลุ่มทุนต่างๆ และคนชั้นกลางแปลกแยกเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล เป็นต้น
แคพเนอร์ใช้สิงคโปร์ในฐานะถิ่นกำเนิดซึ่งเขาผูกพันทางจิตใจเป็นพิเศษ เป็นเสมือนต้นแบบของการขายเสรีภาพด้วยแนวคิด "ข้อตกลงที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร" หรือ "การได้อย่างเสียอย่าง" (the unwritten pact or tradeoff) ซึ่งทำให้เพื่อนฝูงชาวสิงคโปร์ของเขา - ทั้งที่เคยเดินทางท่องเที่ยวมาแล้วทั่วโลกและจบอุดมศึกษาชั้นสูง - กลับปกป้องระบบที่ยกย่องความสำคัญของการเหนี่ยวรั้งจำกัดเสรีภาพปัจเจกบุคคลเพื่อแลกกับสิ่งที่เรียกว่า "ประโยชน์ส่วนรวม"
แรกเริ่มเดิมทีเขาคิดว่านี่เป็นกลุ่มอาการทางการเมืองเฉพาะตัวของโลกตะวันออกที่มองต่างมุมและกำลังลุกขึ้นมาท้าทายโลกตะวันตกอย่างฮึกเหิมในทำนอง "นโยบายมุ่งมองบูรพา" (Look East Policy) ของอดีตนายกฯมหาธีร์ โมฮัมหมัด แห่งมาเลเซีย หรือ "ค่านิยมเอเชีย" (Asian values) ของอดีตนายกฯลี กวน ยู แห่งสิงคโปร์
แต่เมื่อเพ่งสำรวจพินิจอย่างลึกซึ้ง แคพเนอร์ก็พบว่า อ้าว, เราทำกันอย่างนั้นทั้งนั้นนี่หว่า ไม่ว่าตะวันออกหรือตะวันตก, อำนาจนิยม กึ่งอำนาจนิยมหรือเสรีประชาธิปไตย, ขงจื๊อหรือคริสต์, สิงคโปเรียนหรือแยงกี้..เราต่างก็ใกล้เคียงกันกว่าที่คิดและยอมเสียสละเสรีภาพของเราเพื่อแลกให้ได้เงินมาด้วยกันทั้งนั้น
แน่นอนรูปธรรมการคลี่คลายขยายตัวของข้อตกลงขายเสรีภาพย่อมผันแปรไปบ้างตามสภาพการณ์, วัฒนธรรมและอัตราเร่งที่แตกต่างกัน พูดง่ายๆ เราต่างก็เลือกเสรีภาพที่เราพร้อมจะเสียสละชนิดต่างๆ กันไปในแต่ละประเทศของตน
บางประเทศก็ยอมสละเสรีภาพในการแสดงออก (เช่น สิงคโปร์)
บ้างก็สละสิทธิ์ในการโหวตไล่รัฐบาลออกจากตำแหน่ง (เช่น จีน)
บ้างก็สละศาลตุลาการที่เที่ยงธรรมไม่ลำเอียง (เช่น กัมพูชาและมาเลเซีย)
บ้างก็สละความสามารถที่จะดำเนินชีวิตปกติโดยไม่ถูกสปายสายลับดักฟังสอดแนมล้วงอ่านหรือกล้องวงจรปิดตามส่องดู (เช่น อเมริกาและอังกฤษ)
บ้างก็ยอมเสียสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะเพื่อแสดงความเห็นทางการเมือง (เช่น พื้นที่ภายใต้ประกาศภาวะฉุกเฉินยืดเยื้อทั่วโลก) ฯลฯ
เพราะเอาเข้าจริงข้อเหนี่ยวรั้งจำกัดสิทธิเสรีภาพเหล่านี้มันกระทบแค่คนจำนวนน้อย ซึ่งก็ล้วนแต่เป็น "พวกตัวป่วน ชอบหาเรื่อง ก่อความวุ่นวายมือไม่พายเอาตีนราน้ำแถมโคลงเรืออีกต่างหาก" หรือ "พวกไม่รักชาติ ไม่สมานฉันท์ ไม่รู้ใช่คนไทยหรือเปล่า?" อาทิ นักข่าวนักหนังสือพิมพ์ที่วิจารณ์รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ หรือยิงคำถามและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ทำให้ภาพลักษณ์ของบรรดา ฯพณฯ และประเทศชาติเสียหาย, นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนผู้ว่าความให้สื่อมวลชนเหล่านี้หรือปกป้องผู้ต้องหาที่ถูกเจ้าหน้าที่ซ้อมทรมานหรืออุ้มหายหรือทำร้ายจนถึงแก่ความตาย, พวกเอ็นจีโอ, นักการเมืองฝ่ายค้าน, แกนนำเสื้อสี.....
ขณะที่คนส่วนใหญ่ 99% ของประเทศไม่เห็นเค้าเดือดเนื้อร้อนใจอะไรด้วย ต่างก็ดำเนินชีวิต ทำมาหาเงิน เดินห้างติดแอร์เย็นฉ่ำช็อปปิ้งตามใจชอบเป็นปกติ...แล้วพวกมึงแค่ไม่กี่คนจะโวยวายทำไรฟะ?
ข้อตกลงขายเสรีภาพโดยเนื้อหาจึงเป็นการขายเสรีภาพสาธารณะ (public freedoms) อันเกี่ยวกับพฤติกรรมในพื้นที่สาธารณะ อย่างเช่น เสรีภาพในการชุมนุม, เสรีภาพในการรวมตัวก่อตั้งสมาคมและองค์การ, เสรีภาพในการพูด, เสรีภาพในการเลือกตั้งในระบบหลายพรรค ฯลฯ หรือนัยหนึ่งเสรีภาพในการเคลื่อนไหวกดดันอย่างแข็งขันให้เกิดผลต่อเรื่องส่วนรวมร่วมกัน - ซึ่งก็คือสิ่งที่ ฯพณฯ มักเรียกว่าเสรีภาพในการก่อความวุ่นวายนั่นเอง
เสรีภาพสาธารณะแบบนี้มีใครที่ไหนอยากใช้หรือ? ใครสักกี่คนกันที่ต้องการหาญกล้าลุกขึ้นท้าทายบรรดา ฯพณฯ ผู้นั่งเรียงแถวหน้าสลอนประกาศคำสั่งและแถลงข่าวอยู่บนจอทีวีเหล่านั้น?
มิสู้ขายมันทิ้งเพื่อแลกกับเสรีภาพเอกชน (private freedoms) ในอันที่จะดำรงชีวิตโดดเดี่ยวเหี่ยวๆ เห่ยๆ เหมือนอะตอมของตัวเองดีกว่า อย่างเช่น เสรีภาพในการเลือกโรงเรียนให้ลูก, เสรีภาพในการเดินทางท่องเที่ยว, เสรีภาพในการแสดงออกได้ตามใจในเงื่อนไขพื้นที่เอกชนของตัว, เสรีภาพในการดำเนินวิถีชีวิตเอกชนของกูแบบที่กูปรารถนา, เสรีภาพในการแต่งกายทำผมลงรอยสักบนเนื้อตัวตามแฟชั่น, เสรีภาพในการซื้อหาบ้านช่องรถราข้าวของเครื่องใช้, และเหนืออื่นใดคือเสรีภาพในการทำมาหาเงินและจับจ่ายใช้เงิน
นี่ไม่ใช่หรือเสรีภาพที่สำคัญที่สุดสำหรับเรา? มีแค่นี้ก็ "ฟรี" พอแล้วไม่ใช่หรือ?
แคพเนอร์วิเคราะห์ว่าในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมา พลังการเมืองที่รองรับข้อตกลงขายเสรีภาพดังกล่าวในประเทศต่างๆ มักประกอบด้วยพันธมิตรของ [ผู้นำการเมือง+ภาคธุรกิจ+คนชั้นกลาง] ถึงไม่ระบุชัดเป็นลายลักษณ์อักษรโต้งๆ แต่ข้อตกลงนี้ก็ดำรงอยู่ในรูปชุดความเข้าใจที่ชัดเจนทว่าแนบเนียนไม่โฉ่งฉ่าง ประเด็นสำคัญของข้อตกลงดังกล่าวในทางปฏิบัติก็คือ จำนวนผู้ได้ประโยชน์จากมันจะต้องค่อยๆ เพิ่มขึ้นและรัฐต้องยืดหยุ่นพลิกแพลงพอที่จะตอบสนองความต้องการต่างๆ ของพวกเขา
ความต้องการที่ว่าก็ได้แก่รัฐต้องช่วยค้ำประกันและอุดหนุนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน, กฎหมายนิติกรรม-สัญญา, การปกป้องสิ่งแวดล้อม, การเลือกไลฟ์สไตล์ต่างๆ, และสิทธิในการเดินทาง ทว่าเหนืออื่นใดในยุคโลกาภิวัตน์ทางการเงินนี้คือ รัฐต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในอันที่จะทำมาหาเงินและเก็บสะสมเงิน
และเพื่อช่วยให้การขายเสรีภาพดำเนินไปได้อย่างสะดวกกายสบายใจก็ต้องมีลัทธิบริโภคนิยมเป็นยาสลบหรือยาชาช่วยกล่อมประสาททางการเมืองให้มึนตึ้บสงบลงได้ชะงัดนักแล
วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วิธีค้นคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดในเวปของศาลปกครอง (ทำรายงานอาจารย์กิจบดีครับ)
๑. ให้เข้าไปที่เวปไซด์ http://court.admincourt.go.th/ordered/Default.aspx
๒. แล้วกดที่ "ค้นหาขั้นสูง"
๓. กรอกหมายเลขที่ที่เราต้องการ (อาจารย์ท่านกำหนดให้เป็นเลขลำดับที่ในห้องเรียนของเรา)ในช่องแรก(ดังภาพ)
๔. กรอก พ.ศ.ในช่องต่อมาครับ (เร่ิมจาก ปี2555 ก่อนครับ ถ้าไม่มีก็เป็น 2554 หรือ 2553 ลดลงมาเรื่อยๆเดี๋ยวก็เจอครับ)
๔. จากนั้นก็กดค้นหาด้านล่างครับ ก็จะได้ดาว์นโหลดทั้ง เป็นไฟล์ WORD หรือ PDF ครับ
รายชื่อ เพื่อนๆ หัวหน้ากลุ่มย่อย ๗ กลุ่มของ โทนิติรามบางนารุ่น ๑๒ ห้อง ๑
กลุ่มที่ ๑ เลขที่ ๑ - ๒๐ -นายนิธิชัย ค้ำชู
กลุ่มที่ ๒ เลขที่ ๒๑-๔๐ -นายพงศกร เชยสอาด
กลุ่มที่ ๓ เลขที่ ๔๑-๖๑ -ว่าที่ ร.ต.โฆษิต จันทราธิคุณ
กลุ่มที่ ๔ เลขที่ ๖๒-๘๒ -น.ส.ศิริเพ็ญ ณ นคร
กลุ่มที่ ๕ เลขที่ ๘๓-๑๐๓ -นายจักรพันธ์ พุทธวงศ์
กลุ่มที่ ๖ เลขที่ ๑๐๔-๑๒๔ -นายชาญวิทย์ กันยา
กลุ่มที่ ๗ เลขที่ ๑๒๕-๑๔๕ -นายจักรพันธ์ รักพงษ์พันธ์
JACKIE.......
พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
รอง ผกก. ฝ่ายปกครอง ๑ บก.ปค.
วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555
9-6-55 13.05-17.00
ดร.กิจบดี
-ระบบศาล
ระบบศาลเดี่ยว ประชาชน ประชาชน ศาลยุติธรรม
ประชาชน เจ้าหน้าที่
ระบบศาลคู่
-Model
ครอบครัว ชุมชน เมือง
ชาย หัวหน้า เจ้าเมือง
สัญชาตญาณ จารีต กฏหมาย
. .-การแบ่งแยกอำนาจเพื่อให้เกิดการถ่วงดุลและตรวจสอบ ระหว่างอำนาจทั้ง ๓ มิให้อำนาจใดอำนาจหนึ่งได้อย่างอิสระจะต้องขึ้นอยู่กับอีกอำนาจหรือการใช้อำนาจของแต่ละอำนาจจนต้องตรวจสอบได้
. .-เพื่อรักษาสิทธิเสรีภาพและประโยชน์ของประชาชนจากการใช้อำนาจของผู้ปกครอง
(หัวใจของ ข้อสอบคือ ปรัชญาและหลักกฎหมายของกฎหมายมหาชน)
. .-จากหลักการแบ่งแยกอำนาจได้พัฒนาเป็นระบอบประชาธิปไตย ระบอบประชาธิปไตยมี ๓ ระบบด้วยกัน
. .๑.ระบบรัฐสภา มีอังกฤษเป็นแม่แบบ
. .๒.ระบบประธานาธิบดี มี สหรัฐอเมริกา
. .๓.ระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา มีฝรั่งเศสเป็นแม่แบบ
ระบอบประชาธิปไตยไม่ว่าระบบใด มีหลักการเดียวกัน คือ
. .๑."หลักของความเสมอภาค" หมายความว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน ปัญหาคือระบบอุปถัมภ์ในบ้านเรา
. .๒."หลักการมีส่วนร่วม" หมายความว่า ผู้ที่จะเข้าไปใช้อำนาจทางปกครอง ต้องได้รับความเห็นชอบของประชาชน จึงเกิดกระบวนการเลือกตั้ง
. .๓."หลักการใช้อำนาจ" เมื่อได้อำนาจมาแล้วต้องใช้อำนาจนั้นเพื่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
. .๔."หลักการตรวจสอบ" หมายความว่า การใช้อำนาจต้องสามารถควบคุมและสามารถตรวจสอบได้ (อ่านในพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยการบริหารบ้านเมืองที่ดี ๒๕๔๖ และใช้สอบได้ด้วยและใช้ในการทำรายงานได้ด้วย ในนั้นบอกถึงหลักการใช้อำนาจ หลักต่างๆ หลักความทั่วถึง หลักมีคุณค่า )
อธิบาย
. .-จากหลักการแบ่งแยกอำนาจ และหลักการของระบอบประชาธิปไตย ได้ถูกนำมารวมกันเรียกว่า หลักนิติรัฐ
. .-หลักนิติรัฐคือ หลักการปกครองโดยกฎหมาย (ไม่ใช่กฎหมายเป็นใหญ่) กม.ต้องมาจากประชาชน มาด้วยความถูกต้อง การใช้อำนาจในทางปกครอง ในทุกระดับจะต้องมีกฎหมายบัญญัติให้ อำนาจและหน้าที่ไว้ และการใช้อำนาจหน้าที่ดังกล่าวจะต้องตรวจสอบได้ด้วยประโยชน์สุดท้ายคือประชาชน
. .-จากหลักการต่างๆที่กล่าวมา ถูกนำไปใช้เป็น แนวทางในการร่างรัฐธรรมนูญของระบอบประชาธิบไตย (๔ หลักการที่สำคัญ)
. .๑.หลักการแบ่งแยกอำนาจ ประชาชน
. .๒.หลักความเสมอภาค
. .๓.หลักการมีส่วนรวม (ให้เลิกโกง ให้มีความสำนึกของผู้)
. .๔.หลักการใช้อำนาจ - ใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของส่วนรวม
. .๕.หลักการตรวจสอบ
. .-เมื่อก่อน การปกครองระบอบสมบูรณายสิทธิราช --->ประชาชนถูกข่มเหงรังแก การรักษาสิทธิเสรีภาพและประโยชน์ของประชาชน นี้คือ ปรัชญาของกฎหมายมหาชน หลักการแบ่งแยกอำนาจ ๓ อย่าง เพื่อให้แต่ละอำนาจตรวจสอบและถ่วงดุลกันได้ เพื่อจุดมุ่งหมายปลายทางนี้ ----- พัฒนาเป็นระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่า อังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส มีหลักการ ๓ อย่าง
รวมเรียกว่าหลักนิติรัฐ เพื่อจุดหมายคือประชาชน แล้วนำหลักการทั้งหมดมาร่างเป็นระบอบประชาธิปไตย
กม.รัฐธรรมนูญ
. .-ดูอำนาจปกครองในรัฐธรรมนูญ
. .ศาลใช้อำนาจตุลาการ
. .รัฐสภาใช้อำนาจนิติบัญญัติ
. .คณะรัฐมนตรีใช้อำนาจบริหาร นรม.๑ , รมต.ไม่เกิน ๓๕นาย กำกับดูแล ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น
. .-ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นเรื่องการบังคับบัญชา
. .-ส่วนท้องถิ่น เป็นการกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น
. .อำนาจนิติบัญญัติ มาตรา ๘๘ มี สส.๕๐๐ และ สว.๑๕๐ รวมเป็นรัฐสภา
. .-ที่มาของแต่ละอำนาจ
. .-อำนาจนิติบัญญัติ ใช้หลักความเสมอภาค มาจากการเลือกตั้งของหลักความมีส่วนร่วม เลือกตั้งชอบด้วยกฏหมายหรือไม่
. .-อำนาจบริหาร นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้งหรือ สส. ต้องไม่ขัดต่อหลักความชอบด้วยกฏหมายคือ คุณสมบัติ,อายุ,ไม่มีประวัติในการต้องโทษ การที่เราจะเข้าไปสู่อำนาจกระบวนการที่มาต้องชอบด้วยกฏหมาย
(ข้อสอบ กฎหมายมหาชนเป็นอย่างไร กฎหมายมหาชนใช้อย่างไร)
. .-
JACKIE.......
พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
รอง ผกก. ฝ่ายปกครอง ๑ บก.ปค.
วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555
หัวข้อระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี
ระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี
ลักษณะที่ 1 ความประพฤติและระเบียบวินัย
· บทที่ 1 ความประพฤติและระเบียบวินัย
· บทที่ 3 การตั้งกรรมการและการสอบสวนเมื่อกระทำผิดต่อวินัยตำรวจ
· บทที่ 4 การพิจารณาทัณฑ์การกระทำผิดในบางกรณี
· บทที่ 5 การร้องทุกข์ตามวินัยตำรวจ
· บทที่ 6 การคุมขังและใช้งานตำรวจที่ต้องทัณฑ์
· บทที่ 7 การลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
· บทที่ 8 การสอบสวนความผิดต่อวินัยข้าราชการพลเรือน
· บทที่ 9 การตั้งกรรมการสอบสวนร่วมกัน
· บทที่ 10 การอุทธรณ์คำสั่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
· บทที่ 12 วิธีปฏิบัติเมื่อข้าราชการตำรวจกระทำผิดทางอาญา
· บทที่ 13 การรายงานเมื่อต้องคดี
· บทที่ 14 การกันข้าราชการตำรวจผู้ร่วมกระทำผิดเป็นพยาน
· บทที่ 15 การใช้แบบพิมพ์ การเรียงลำดับเอกสาร การให้หมายเลขเอกสารในสำนวนสอบสวนทางวินัยฯ
· บทที่ 16 การสืบสวนข้อเท็จจริง
ลักษณะที่ 2 การปกครองบังคับบัญชา
ลักษณะที่ 3 การรับสมัคร
· บทที่ 1 หลักทั่วไปว่าด้วยการรับสมัครบุคคลเข้ารับราชการตำรวจ
· บทที่ 2 รับสมัครทหารกองหนุนเป็นข้าราชการตำรวจ
· บทที่ 3 รับสมัครต่อจากวันครบกำหนดปลดกองหนุน
· บทที่ 4 รับสมัครเพื่อบรรจุและแต่งตั้งหลังจากวันครบกำหนดปลดจากกองประจำการเป็นทหารกองหนุน
ลักษณะที่ 4 การบรรจุ
· บทที่ 1 หลักเกณฑ์ทั่วไปว่าด้วยการบรรจุข้าราชการตำรวจ
บทที่ 2 การบรรจุผู้ได้รับปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ
บทที่ 3 การคัดเลือกพลตำรวจเพื่อบรรจุเป็นสิบตำรวจตรี
บทที่ 4 การบรรจุข้าราชการที่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการ
บทที่ 5 การคัดเลือกนายดาบตำรวจและจ่าสิบตำรวจเข้าฝึกอบรมหลักสูตรข้าราชการตำรวจชั้นประทวน
บทที่ 6 การพิจารณาคัดเลือกจ่าสิบตำรวจเพื่อแต่งตั้งให้มียศเป็นนายดาบตำรวจ
บทที่ 7 การบรรจุบุคคลผู้มีความสามารถด้านกีฬา เข้ารับราชการหรือศึกษาอบรมในสถานศึกษากรมตำรวจ
·
ลักษณะที่ 5 การแต่งตั้ง
· บทที่ 1 การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
· บทที่ 2 การแต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่ง การรักษาราชการแทน และการปฏิบัติราชการแทน
· บทที่ 3 การสั่งให้ประจำการและให้สำรองราชการ
· บทที่ 4 การสั่งให้ข้าราชการตำรวจไปประจำที่อื่นชั่วคราวจากที่ได้สั่งแต่งตั้งไว้เดิม
ลักษณะที่ 6 การเกณฑ์และการปลดตำรวจ
· บทที่ 1 หลักเกณฑ์ทั่วไปว่าด้วยการเกณฑ์และการปลดตำรวจ
· บทที่ 2 การขอเรียกและส่งคนเข้าเป็นทหารและตำรวจกองประจำการ
· บทที่ 3 การเขียนสมุดระดมพลและจ่ายสมุดประจำตัวตำรวจนอกกองประจำการ
· บทที่ 4 การออกใบสำคัญทหารนอกประจำการแทนฉบับที่หาย
· บทที่ 5 การนำบุคคลที่สมัครเข้ารับราชการตำรวจอยู่แล้วขึ้นทะเบียนเป็นตำรวจกองประจำการ
· บทที่ 6 การผ่อนผันบุคคลที่อยู่ในระหว่างการศึกษา
· บทที่ 7 บันทึกข้อตกลงระหว่าง กห. กับ กท. ในระเบียบการอันเกี่ยวกับ พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497
· บทที่ 8 ระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภท 1 สำหรับตำรวจ
· บทที่ 9 การปลดข้าราชการตำรวจเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 2
ลักษณะที่ 7 ยศและบรรดาศักดิ์
· บทที่ 3 การถอดยศและบรรดาศักดิ์
· บทที่ 4 การขอพระราชทานยศให้แก่จ่าสิบตำรวจและนายดาบตำรวจที่เกษียณอายุเป็นร้อยตำรวจตรี
ลักษณะที่ 8 การโอน
ลักษณะที่ 9 การออกจากราชการ
· บทที่ 1 หลักทั่วไปว่าด้วยการออกจากราชการ
· บทที่ 2 การมอบหมายอำนาจการสั่งไล่ออก ปลดออก ให้ออก หรือพักราชการ และลาออกจากราชการ
· บทที่ 3 วันออกจากราชการของข้าราชการตำรวจ
· บทที่ 4 ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาข้าราชการตำรวจที่รับราชการตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ออกจากราชการ
· บทที่ 5 หลักเกณฑ์การพิจารณาข้าราชการสังกัดกรมตำรวจที่หย่อนความสามารถสมควรให้ออกจากราชการ
· บทที่ 6 การขอต่ออายุราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร
· บทที่ 7 การจ้างข้าราชการที่ครบเกษียณอายุไว้รับราชการต่อ
ลักษณะที่ 10 เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญตรา
· บทที่ 1 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
· บทที่ 2 ระเบียบว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
· บทที่ 3 การขอเหรียญจักรพรรดิมาลาและเหรียญจักรมาลา
· บทที่ 4 การขอเหรียญราชนิยมและเหรียญกาชาดสรรเสริญ
· บทที่ 5 การขอพระราชทานเหรียญกล้าหาญ เหรียญชัยสมรภูมิ
· บทที่ 6 การขอพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา
· บทที่ 7 ลำดับเกียรติของเครื่องราชอิสริยาภรณ์
· บทที่ 8 ราคาเครื่องราชอิสริยาภรณ์
· บทที่ 9 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศ
· บทที่ 10 การเรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์คืนจากผู้ได้รับพระราชทาน
· บทที่ 11 การทำพิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ข้าราชการตำรวจ
· บทที่ 12 เหรียญตราต่างประเทศที่จะต้องขอพระบรมราชานุญาตประดับ
· บทที่ 13 การเข้าเฝ้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
· บทที่ 14 ระเบียบว่าด้วยการขอพระราชทาน การประดับ และกรณีที่ให้ประดับเหรียญพิทักษ์เสรีชน
· บทที่ 15 การขอพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
ลักษณะที่ 11 การศึกษา การฝึกอบรม
· บทที่ 1 การรับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักเรียนพลตำรวจ
· บทที่ 2 หลักสูตรสำหรับฝึกและอบรมพลตำรวจ
· บทที่ 3 หลักสูตรการฝึกอบรมข้าราชการตำรวจหญิงที่มียศชั้นพลตำรวจ
· บทที่ 5 ข้อบังคับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
· บทที่ 6 ระเบียบการแข่งขันยิงเป้าสำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจ
· บทที่ 7 การฝึกวิชาทหารสำหรับตำรวจและแบบฝึกขี่ม้าสำหรับหน่วยตำรวจม้า
· บทที่ 8 การฝึกซ้อมยิงเป้าด้วยกระสุนจริง
· บทที่ 9 การฝึกและอบรมของพลตำรวจเกณฑ์
· บทที่ 10 การฝึกพลศึกษาและกีฬาของกรมตำรวจ
· บทที่ 11 หลักสูตรฝึกอบรมข้าราชการตำรวจและบุคคลที่บรรจุหรือโอนเป็นชั้นประทวนและชั้นพลตำรวจ
· บทที่ 12 การฝึกและอบรมตำรวจซึ่งเอกชนจ้างไปรักษาการณ์
· บทที่ 13 การฝึกและอบรมตำรวจประจำวัน ณ สถานีตำรวจ
· บทที่ 14 การฝึกอบรมพื้นฐานสำหรับข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร
· บทที่ 15 ระเบียบการฝึกอบรมหลักสูตรรองสารวัตรปกครองป้องกันและรองสารวัตรสืบสวนสอบสวน
· บทที่ 16 การอบรมศีลธรรมและความรู้ข้าราชการตำรวจ
· บทที่ 17 ให้ทุนไปศึกษาวิชาในต่างประเทศและการรับผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในต่างประเทศเป็นข้าราชการตำรวจ
· บทที่ 18 ระเบียบและหลักสูตรการฝึกอบรมข้าราชการตำรวจรถไฟ
· บทที่ 19 ("บทที่ 19" ทั้งบท ยกเลิกโดยระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติฯ ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2542)
· บทที่ 20 การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการใต้น้ำและระเบียบการคัดเลือกผู้ปฏิบัติงาน
· บทที่ 21 ระเบียบและหลักสูตรการฝึกอบรมพนักงานวิทยุสื่อสาร และช่างวิทยุของกรมตำรวจ
· บทที่ 22 ระเบียบและหลักสูตรการอบรมวิชาเกี่ยวกับการพิมพ์ลายนิ้วมือ
· บทที่ 23 หลักสูตรการฝึกยิงปืนพกแบบ พี พี ซี ระบบ เอฟ บี ไอ
· บทที่ 24 ระเบียบและหลักสูตรการฝึกชัยยะ
· บทที่ 25 ระเบียบและหลักสูตรการโดดร่ม
· บทที่ 26 ระเบียบและหลักสูตรการฝึกอบรมข้าราชการตำรวจที่ทำหน้าที่การเงิน
· บทที่ 27 ระเบียบและหลักสูตรการต่อต้านปราบปรามการก่อความไม่สงบ
· บทที่ 28 ระเบียบและหลักสูตรการฝึกอบรมพนักงานขับรถยนต์
· บทที่ 29 ว่าด้วย การศึกษาของข้าราชการตำรวจในสถานศึกษาในประเทศ
· บทที่ 30 ระเบียบและหลักสูตรวิชาการพยาบาลภาคสนาม
· บทที่ 31 ระเบียบและหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาครูสำหรับตำรวจ
· บทที่ 32 ระเบียบและหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ สำนักงานแพทย์ใหญ่
· บทที่ 33 ระเบียบและหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาการสืบสวนระดับนายสิบตำรวจ
· บทที่ 34 ระเบียบและหลักสูตรการฝึกอบรมนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรหลักสูตรสารวัตร
· บทที่ 35 การฝึกบินเปลี่ยนแบบของนักบินประจำกองและครูการบินการฝึกบินเปลี่ยนแบบ
· บทที่ 36 ว่าด้วย ระเบียบและหลักสูตรการฝึกอบรมการทำลายวัตถุระเบิด กรมตำรวจ
· บทที่ 37 ระเบียบและหลักสูตรการฝึกอบรมนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรหลักสูตรผู้กำกับการ
· บทที่ 38 ระเบียบและหลักสูตรการควบคุมฝูงชน
· บทที่ 39 เข้าศึกษาหลักสูตรช่างซ่อมบำรุงอากาศยานขั้นมูลฐานพิเศษ ณ ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในไทย
· บทที่ 40 การฝึกอบรมพลตำรวจนครบาลและตำรวจภูธร
· บทที่ 41 ระเบียบและหลักสูตรการฝึกอบรมกองร้อยปฏิบัติการพิเศษของกรมตำรวจ
· บทที่ 42 ระเบียบและหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ สำนักงานแพทย์ใหญ่ กรมตำรวจ
· บทที่ 43 หลักสูตรการฝึกยิงปืนพกสั้นในระบบต่อสู้และป้องกันตัวใต้สภาวะความกดดัน
· บทที่ 44 หลักสูตรการฝึกอบรมข้าราชการตำรวจฯ โอนเป็นชั้นประทวน และชั้นพลตำรวจ (สายธุรการ)
· บทที่ 45 การให้ข้าราชการตำรวจไปศึกษาในต่างประเทศโดยทุนส่วนตัว
· บทที่ 46 การให้ข้าราชการตำรวจและนักเรียนนายร้อยตำรวจรับทุนไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย
· บทที่ 47 การวิจัย ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2538
ลักษณะที่ 12 หน้าที่การงานของตำแหน่งงานต่าง ๆ
· บทที่ 1 หน้าที่เสมียนประจำวัน
· บทที่ 4 หน้าที่พนักงานสารบรรณ
· บทที่ 5 หน้าที่พนักงานรับ-ส่ง และเก็บหนังสือ
· บทที่ 7 หน้าที่พนักงานทะเบียนพล
· บทที่ 8 หน้าที่พนักงานประวัติ
· บทที่ 9 หน้าที่พนักงานพลาธิการ (พัสดุ)
· บทที่ 11 หน้าที่พนักงานคดีบัญชีโจรผู้ร้าย
· บทที่ 12 หน้าที่นายแพทย์และนายสิบพยาบาล
· บทที่ 14 หน้าที่การเลี้ยงม้า
· บทที่ 15 หน้าที่หัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจนครบาล
· บทที่ 16 หน้าที่สารวัตรปกครองป้องกัน สารวัตรสืบสวนและสอบสวนสารวัตรจราจร
· บทที่ 17 หน้าที่สารวัตรตำรวจนครบาล
· บทที่ 18 หน้าที่สารวัตรใหญ่ตำรวจนครบาล
· บทที่ 19 หน้าที่ผู้กำกับการตำรวจนครบาล
· บทที่ 20 หน้าที่ผู้บังคับการตำรวจนครบาล
· บทที่ 21 หน้าที่หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรตำบล
· บทที่ 22 หน้าที่หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรและหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอ
· บทที่ 23 หัวหน้าสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรหรือสารวัตรสถานีตำรวจ ภูธรอำเภอ
· บทที่ 24 หน้าที่ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด
· บทที่ 25 หน้าที่ผู้บังคับการตำรวจภูธร
· บทที่ 26 หน้าที่ผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วย
· บทที่ 28 หน้าที่ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
· บทที่ 29 หน้าที่ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
· บทที่ 30 หน้าที่ผู้บัญชาการตำรวจภูธร
· บทที่ 31 หน้าที่ผู้บัญชาการศึกษา
· บทที่ 33 หน้าที่รองอธิบดีและผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
· บทที่ 34 หน้าที่การงานของตำแหน่งต่าง ๆ ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจ ตระเวนชายแดน
ลักษณะที่ 13 ประวัติ
· บทที่ 1 การจัดทำและเก็บรักษาหลักฐานทางทะเบียนประวัติ
· บทที่ 2 หลักเกณฑ์การบันทึกความดีความชอบและราชการพิเศษ
· บทที่ 3 การควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการ
ลักษณะที่ 14 การเลื่อนเงินเดือนและจรรยาบรรณ
· บทที่ 1 การพิจารณาให้บำเหน็จความชอบกรณีพิเศษ
· บทที่ 3 การบรรจุข้าราชการตำรวจที่สอบได้คะแนนดีมาก
ลักษณะที่ 15 การรับและการส่งมอบหน้าที่
· บทที่ 1 การรับและการส่งมอบหน้าที่
· บทที่ 2 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับส่งงานในหน้าที่ราชการ พ.ศ. 2524
ลักษณะที่ 16 การไว้พระสวดมนต์สำหรับตำรวจ
ลักษณะที่ 17 การเคารพกองเกียรติยศ
· บทที่ 2 บุคคลหรือสิ่งซึ่งจะต้องแสดงความเคารพ
· บทที่ 3 การเคารพเมื่ออยู่ตามลำพัง
· บทที่ 4 การเคารพในเรือยนต์หรือเรือกลไฟที่ใช้ในราชการตำรวจ
· บทที่ 6 การเคารพเมื่ออยู่ในความควบคุม
· บทที่ 10 การยกเว้นและการผ่อนผัน
· บทที่ 13 การเคารพของกองรักษาการณ์
· บทที่ 14 ระเบียบเกี่ยวกับธงประจำกองตำรวจ
ลักษณะที่ 18 การจ้างตำรวจรักษาการณ์
ลักษณะที่ 19 การถึงแก่กรรมและการฌาปนกิจ
· บทที่ 1 หลักทั่วไป ว่าด้วยการถึงแก่กรรมและการฌาปนกิจ
· บทที่ 2 การประกอบพิธีฌาปนกิจศพข้าราชการตำรวจ
· บทที่ 3 หลักเกณฑ์การบรรจุอิฐพร้อมทั้งจารึกชื่อข้าราชการตำรวจที่เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ลักษณะที่ 20 การแพทย์และการพยาบาล
· บทที่ 1 การเบิกจ่าย การเก็บรักษา พัสดุทางการแพทย์ของหลวงและการแจ้งสถิติ
· บทที่ 2 การรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลของกรมตำรวจทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
· บทที่ 3 การเยี่ยมผู้ป่วยในโรงพยาบาลตำรวจ
· บทที่ 4 ส่งตัวผู้ป่วยบาดเจ็บหรือป่วยหนักโดยหน้าที่รักษาตัวยังโรงพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลอื่น
· บทที่ 5 การตรวจโรคแก่ข้าราชการตำรวจประจำปี
· บทที่ 6 การช่วยเหลือข้าราชการประจำในเรื่องการรักษาพยาบาล
· บทที่ 7 ระเบียบของสถาบันนิติเวชวิทยา
· บทที่ 9 การรักษาพยาบาลข้าราชการตำรวจ ซึ่งได้รับอันตรายหรือป่วยเจ็บเพราะเหตุกระทำตามหน้าที่
· บทที่ 10 ว่าด้วยการช่วยเหลือข้าราชการตำรวจ ลูกจ้างประจำ ผู้ได้รับบำนาญของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ลักษณะที่ 21 การลา
· บทที่ 1 ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
· บทที่ 2 การปฏิบัติเกี่ยวกับการลา
· บทที่ 4 การลาพักของตำรวจที่ขอเรียกเข้ากองประจำการเกินอัตรา
· บทที่ 5 การลาปลีกของข้าราชการชาวต่างประเทศ
ลักษณะที่ 22 การแต่งเครื่องแบบ
· บทที่ 5 การใช้รองเท้าและสนับแข้ง
· บทที่ 7 โอกาสที่ใช้กระบี่และถุงมือ
· บทที่ 8 การแต่งเครื่องแบบของนักเรียนตำรวจ
· บทที่ 9 การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
· บทที่ 10 โอกาสใช้หมวกต่าง ๆ และสายรัดคาง
· บทที่ 13 การพกอาวุธปืน ดาบปลายปืน และตะบอง
· บทที่ 15 การประดับเครื่องหมายหรือครุยประดับเกียรติ
· บทที่ 16 การแต่งเครื่องแบบของตำรวจนอกราชการ
· บทที่ 17 การแต่งเครื่องแบบของผู้เข้ารับการอบรมเป็นตำรวจชั้นสัญญาบัตร
· บทที่ 18 เครื่องแบบนางพยาบาลตำรวจ
· บทที่ 19 เครื่องแบบตำรวจผู้ทำหน้าที่เสิร์ฟอาหาร
· บทที่ 21 เครื่องหมายแสดงความสามารถการบินและหลักเกณฑ์ การประดับของตำรวจที่ทำหน้าที่นักบิน
· บทที่ 22 การประดับเครื่องหมายซึ่งมิใช่ส่วนประกอบเครื่องแบบ
· บทที่ 23 เครื่องหมายแสดงความสามารถในการทำการในอากาศ และหลักเกณฑ์การประดับ
· บทที่ 24 หลักเกณฑ์การประดับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติแสดงความสามารถของนักทำลายวัตถุระเบิด
· บทที่ 25 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย เครื่องแบบลูกจ้างประจำ พ.ศ. 2527
· บทที่ 26 การมอบแหนบรูปกระเป๋ากระสุนคันชีพเครื่องแบบเต็มยศนักเรียนนายร้อยตำรวจ
· บทที่ 27 เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ บช.น.
ลักษณะที่ 23 การปฏิบัติราชการ
· บทที่ 1 กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ
· บทที่ 2 การลงชื่อ และเวลาทำราชการของข้าราชการตำรวจ
· บทที่ 3 การทำบัญชีรายวันรับราชการ
· บทที่ 4 การปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ
· บทที่ 5 หลักการปฏิบัติราชการแผ่นดิน
· บทที่ 6 แนวทางปฏิบัติต่อชาวต่างประเทศเพื่อนบ้านของตำรวจที่ปฏิบัติการอยู่ชายแดน
· บทที่ 7 การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ
· บทที่ 8 ห้ามมิให้เลี้ยงนักเลงอันธพาล
· บทที่ 9 การช่วยเหลือประชาชนในหน้าที่ของตำรวจ
· บทที่ 10 วิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในระหว่างการลาหรือไปราชการ
· บทที่ 11 ตำรวจภูธรควบคุมทางปฏิบัติการตำรวจอื่นในเขตอำนาจรับผิดชอบและพื้นที่ปกครอง พ.ศ. 2523
· บทที่ 12 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทางไปราชการและการประชุม พ.ศ. 2524
· บทที่ 13 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชนบท พ.ศ. 2527
· บทที่ 14 การประสานงานด้านสาธารณูปโภค
· บทที่ 15 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเชิญเสด็จพระราชดำเนินเชิญเสด็จ
· บทที่ 16 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2532
· บทที่ 17 ว่าด้วยขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ เพื่อประชาชนของกรมตำรวจ
· บทที่ 18 ว่าด้วยการวางแผน
· บทที่ 19 ขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสถานีตำรวจ
ลักษณะที่ 24 บัตร
· บทที่ 2 การใช้สมุดพกของเจ้าพนักงานตำรวจ
· บทที่ 3 สมุดบันทึกของหัวหน้าส่วนราชการในกรมตำรวจ
· บทที่ 4 บัตรโดยสารยานพาหนะต่าง ๆ (เว้นรถราง)
· บทที่ 7 บัตรลดราคาโดยสารรถไฟแก่บุคคลที่ถูกเกณฑ์เป็นตำรวจ
· บทที่ 8 บัตรลดราคาโดยสารรถไฟสำหรับตำรวจใหม่
· บทที่ 9 บัตรประจำตัวผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและทายาท
· บทที่ 10 บัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญราชการชายแดน พ.ศ. 2511
· บทที่ 11 บัตรประจำตัวผู้ป่วยที่มาติดต่อกับโรงพยาบาลตำรวจ
· บทที่ 12 บัตรประจำตัวประชาชน
· บทที่ 13 พนักงานเจ้าหน้าที่และพนักงานตรวจบัตร
· บทที่ 14 ระเบียบกระทรวงกลาโหม บัตรประจำตัวพนักงาน ซึ่งมีหน้าที่ช่วยราชองครักษ์ พ.ศ.2522
· บทที่ 15 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย บัตรประจำตัวลูกจ้างประจำสังกัดกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2525
· บทที่ 16 บัตรประจำตัวลูกจ้างประจำในส่วนราชการ สังกัดกรมตำรวจ
ลักษณะที่ 25 หน้าที่เวรยามหมู่ตรวจท้องที่และกองรักษาการณ์
· บทที่ 1 การจัดเวรยามรักษาการณ์
· บทที่ 3 ความประพฤติและหน้าที่ของตำรวจยามโดยทั่ว ๆ ไป
· บทที่ 5 หน้าที่ยามประจำสถานีตำรวจ
· บทที่ 8 หน้าที่ยามอารักขาสถานีส่งข่าวสารต่าง ๆ
· บทที่ 9 หน้าที่ยามอื่น ๆ และยามหน้าที่พิเศษ
· บทที่ 11 กองรักษาการณ์ทั่วไป
· บทที่ 12 ระเบียบของกองรักษาการณ์ทั่วไปของตำรวจนครบาล
· บทที่ 13 กองรักษาการณ์พระราชฐานจิตรลดาระโหฐาน
· บทที่ 14 กองรักษาการณ์วังสระปทุม
· บทที่ 15 กองรักษาการณ์กรมตำรวจ
· บทที่ 16 ระเบียบการรักษาการณ์วังปารุสกวัน
· บทที่ 17 หน้าที่นายสิบตำรวจเวร
· บทที่ 18 หน้าที่นายร้อยตำรวจ
· บทที่ 19 การจัดเวรยามประจำสถานที่ราชการ
· บทที่ 20 การตรวจท้องที่ชายแดน
· บทที่ 22 การรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ฯ
· บทที่ 23 ระเบียบการถ่ายภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
· บทที่ 24 ระเบียบกรมราชองครักษ์ ว่าด้วยการจัดขบวนรถยนต์พระที่นั่งและข่ายวิทยุถวายความปลอดภัย
· บทที่ 25 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ ฯ
· บทที่ 26 การจัดเวรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและรับหรือส่งเสด็จพระราชดำเนิน ฯ
ลักษณะที่ 26 การตรวจท้องที่ในเขตตำรวจนครบาลและระเบียบการปฏิบัติงานของรถวิทยุตำรวจ
· บทที่ 1 การตรวจตราป้องกันท้องที่กรุงเทพมหานคร
· บทที่ 2 ระเบียบการปฏิบัติงานของรถวิทยุ
· บทที่ 3 เครื่องสัญญาณแจ้งอันตราย
ลักษณะที่ 27 อาณัติสัญญาณ
ลักษณะที่ 28 การรายงานประจำปี
ลักษณะที่ 29 ความลับ
· บทที่ 1 ข้อราชการอันพึงสงวนเป็นความลับ
· บทที่ 2 การรักษาความลับในราชการ
· บทที่ 3 ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
· บทที่ 4 การรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ เกี่ยวกับการจ้างเอกชนทำการสำรวจและทำแผนที่ พ.ศ. 2544
· บทที่ 5 ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติเกี่ยวกับการสื่อสาร พ.ศ. 2525
ลักษณะที่ 30 การแถลงข่าวหรือให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์
ลักษณะที่ 31 รักษาความสะอาดสถานที่ราชการและเข้าพักอาศัยในอาคารบ้านพักสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ลักษณะที่ 32 การพิมพ์ลายนิ้วมือ
· บทที่ 1 ระเบียบปฏิบัติ การพิมพ์ลายนิ้วมือ ผู้ต้องหา จำเลย ผู้ต้องขัง ผู้ต้องกักขัง ผู้ถูกกักกัน และศพ
· บทที่ 2 ระเบียบการพิมพ์ลายนิ้วมือขออนุญาตต่าง ๆ
· บทที่ 3 ระเบียบการพิมพ์ลายนิ้วมือผู้ขอสมัครเข้ารับราชการ หรือเข้าทำงานเทศบาล สุขาภิบาล
· บทที่ 4 การคัดแยกแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ และบัญชีประวัติออกจากสารบบหรือฐานข้อมูลประวัติอาชญากร
ลักษณะที่ 33 น้ำมันเชื้อเพลิง
· บทที่ 2 การอนุญาตและตรวจตราสถานที่เก็บและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
· บทที่ 3 ตั้งกรรมการพิจารณาสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดน่ากลัวอันตรายในเขตกรุงเทพมหานคร
· บทที่ 4 การเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดน่ากลัวอันตรายในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
· บทที่ 5 การป้องกันอัคคีภัยอันจะเกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิง
· บทที่ 6 การอนุญาตและตรวจตราสถานที่เก็บและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนภูมิภาค
· บทที่ 7 ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการขออนุญาตเก็บรักษาและบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
· บทที่ 8 ระเบียบในการตรวจร่วมและสอบสวนดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนกฎกระทรวง ตาม ปว. 28 ธันวาคม 2514
ลักษณะที่ 34 การตรวจคนเข้าเมือง
· บทที่ 3 การตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (VISA)
· บทที่ 4 การเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าว
· บทที่ 6 ว่าด้วยการตรวจบุคคลและพาหนะทั่วไป
· บทที่ 7 หน้าที่แพทย์ตรวจคนเข้าเมือง
· บทที่ 10 คนเดินทางผ่านราชอาณาจักร
· บทที่ 11 ผู้ควบคุมพาหนะและคนประจำพาหนะ
· บทที่ 12 คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้น
· บทที่ 13 การปฏิบัติแก่คนต่างด้าวที่ไม่มีสนธิสัญญากับประเทศไทยหรือคนต่างด้าวบางจำพวก
· บทที่ 14 การออกใบสำคัญและใบแทนใบสำคัญ
· บทที่ 16 การกักตัวคนต่างด้าว
· บทที่ 18 คนต่างด้าวต้องห้ามเข้าเมือง
· บทที่ 19 ระเบียบปฏิบัติแก่คนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมือง
· บทที่ 20 คนต่างด้าวอพยพเข้ามาในประเทศไทย
· บทที่ 21 การปฏิบัติเกี่ยวกับการค้าหญิงและเด็กหญิง
· บทที่ 22 การปฏิบัติในการช่วยเหลือสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิด
· บทที่ 23 พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง
· บทที่ 24 ช่องทางและด่านตรวจคนเข้าเมือง
· บทที่ 26 ระเบียบการเงินและเงินล่วงเวลา
· บทที่ 28 การสถิติคนเดินทางเข้าและออก
· บทที่ 29 การขอพิสูจน์สัญชาติ
ลักษณะที่ 35 รถยนตร์
· บทที่ 2 รถที่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษี
· บทที่ 4 การโอนทะเบียนและการแจ้งย้ายรถ
· บทที่ 5 การนำรถยนตร์ออกนอกราชอาณาจักร
· บทที่ 6 แผ่นป้ายทะเบียนรถยนตร์
· บทที่ 7 การเรียกค่าธรรมเนียมและภาษีรถประจำปี
· บทที่ 8 การออกใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมและภาษีรถ
· บทที่ 9 การรับเงินและส่งเงินค่าภาษีและค่าธรรมเนียม
· บทที่ 13 การจดทะเบียนรถบางประเภท
· บทที่ 14 การกำหนดน้ำหนักรถ น้ำหนักบรรทุกของรถ และจำนวนผู้โดยสาร
· บทที่ 15 การตอกหมายเลขตัวรถและหมายเลขเครื่องยนตร์
· บทที่ 18 การจำหน่ายชื่อผู้ขออนุญาตขับรถยนตร์
· บทที่ 19 การฝึกหัดขับรถยนตร์
· บทที่ 20 การใช้ใบอนุญาตขับขี่รถยนตร์ของประเทศที่เป็นภาคีว่าด้วยการจราจรทางถนน
· บทที่ 21 การรับเงินและส่งเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขับขี่
· บทที่ 22 การเรียกค่าธรรมเนียม
· บทที่ 23 การออกใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมและใบอนุญาตขับขี่
ลักษณะที่ 36 ล้อเลื่อน
· บทที่ 3 การจดทะเบียนล้อเลื่อน
· บทที่ 4 ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนล้อเลื่อน
· บทที่ 5 การเก็บค่าธรรมเนียม จดทะเบียนล้อเลื่อนที่เปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภท
· บทที่ 7 อายุและการต่ออายุใบอนุญาตขับขี่ล้อเลื่อนและรถยนตร์
· บทที่ 8 การกำหนดวันรับจดทะเบียน
· บทที่ 9 การตอกเลขหมายประจำรถ
· บทที่ 10 การจำหน่ายทะเบียนล้อเลื่อน
· บทที่ 11 การขอใบอนุญาตขับขี่ล้อเลื่อน
· บทที่ 12 การถอนใบอนุญาตของผู้ขับขี่ล้อเลื่อนรับจ้างและบุคคล
· บทที่ 13 เครื่องแต่งกายผู้ขับขี่ล้อเลื่อนรับจ้าง
· บทที่ 14 การยกเว้นการเก็บภาษีอากร และค่าธรรมเนียมแก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ
· บทที่ 15 การใช้แบบพิมพ์เกี่ยวกับล้อเลื่อน
· บทที่ 17 การใช้และเขียนข้อความในใบเสร็จรับเงินธรรมดา
· บทที่ 18 การเงินและค่าธรรมเนียมล้อเลื่อน
ลักษณะที่ 37 โรงรับจำนำและค้าของเก่า
· บทที่ 3 คุณสมบัติของบุคคลที่จะรับอนุญาตให้ตั้งโรงรับจำนำ
· บทที่ 4 อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต
· บทที่ 5 อำนาจเจ้าพนักงานตรวจโรงรับจำนำ
· บทที่ 9 คุณสมบัติของบุคคลที่จะรับอนุญาตให้ค้าของเก่าและขายทอดตลาด
· บทที่ 10 เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต
· บทที่ 11 ผู้ขายทอดตลาดต้องปฏิบัติ
· บทที่ 12 ผู้ค้าของเก่าต้องปฏิบัติ
· บทที่ 13 การถอนใบอนุญาตผู้ค้าของเก่าและขายทอดตลาด
· บทที่ 14 การตรวจร้านค้าของเก่าและขายทอดตลาด
ลักษณะที่ 38 ภาพยนตร์
· บทที่ 2 ขออนุญาตฉายภาพยนตร์ หรือส่งภาพยนตร์ออกนอกราชอาณาจักร หรือขอใบแทนใบอนุญาต
· บทที่ 3 การตรวจพิจารณาภาพยนตร์
· บทที่ 4 การลงหลักฐาน
· บทที่ 7 การออกใบอนุญาตและการรับเงิน
· บทที่ 8 การยึดภาพยนตร์และโฆษณา
· บทที่ 10 ข้อห้ามเปิดเผยการอนุญาตภาพยนตร์
· บทที่ 11 การตรวจสถานที่ฉายภาพยนตร์
ลักษณะที่ 39 โรงแรม
ลักษณะที่ 40 ระเบียบปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503
ลักษณะที่ 41 การพนัน
· บทที่ 2 การพนันประเภทห้ามขาด
· บทที่ 4 กำหนดเวลาให้เล่นตามใบอนุญาต
· บทที่ 5 ลักษณะข้อจำกัดและเงื่อนไขการเล่นการพนันในบัญชี ข.
· บทที่ 6 ระเบียบการขออนุญาต การอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เล่นการพนัน
· บทที่ 7 การออกใบอนุญาตให้เล่นการพนัน
· บทที่ 8 เงินค่าธรรมเนียมการพนัน
· บทที่ 9 วิธีเล่นการพนันปิงโกพลิกแพลง
· บทที่ 10 การขออนุญาตชนไก่และกัดปลา
· บทที่ 13 การขออนุญาตเล่นโบลิ่ง
· บทที่ 14 การพนันต่อยลูกบอลล์
· บทที่ 15 การปราบปรามการพนันทุกประเภท
ลักษณะที่ 42 การเรี่ยไร
ลักษณะที่ 43 ระเบียบเกี่ยวกับหญิง เด็กหญิง และวัตถุลามกอนาจาร
ลักษณะที่ 44 การส่งวัตถุของกลางในคดีอาญาและวัตถุอื่น ๆ บางอย่างไปเก็บเป็นพิพิธภัณฑ์
ลักษณะที่ 45 การเตรียมพร้อม
· บทที่ 1 การใช้กำลังตำรวจ การเคลื่อนกำลังตำรวจ และการเตรียมพร้อม
· บทที่ 2 การปฏิบัติของหน่วยต่าง ๆ เมื่อมีคำสั่งให้เตรียมพร้อม
ลักษณะที่ 46 อากรแสตมป์
ลักษณะที่ 47 ระเบียบเกี่ยวกับเครื่องบิน
· บทที่ 1 การประทับตราเครื่องถ่ายรูปที่นำมาในอากาศยานและการตรวจน้ำหนักบรรทุกของอากาศยาน
· บทที่ 2 การโดยสารเครื่องบินกองทัพอากาศของคณะกรรมการจังหวัด
· บทที่ 3 การปฏิบัติเมื่อเครื่องบินตก
· บทที่ 4 การให้ข้าราชการเดินทางโดยเครื่องบิน
· บทที่ 5 การใช้และการโดยสารอากาศยานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
· บทที่ 6 การร่วมมือกับองค์การตำรวจสากลของตำรวจเวรประจำท่าอากาศยานดอนเมือง
· บทที่ 7 การรายงานเครื่องบินผ่านและเรือรบต่างชาติล่วงละเมิดอธิปไตย
· บทที่ 8 การปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องบินกองทัพอากาศก่อนบินเดินทางไปสนามบินที่ไม่มีหน่วยทหารอากาศ
· บทที่ 9 การตรวจตราสอดส่องสนามบินและการขึ้นลงของเครื่องบิน
· บทที่ 10 การรายงานความเสียหายจากภัยทางอากาศ
· บทที่ 11 ว่าด้วยนักบินของกรมตำรวจ พ.ศ. 2535
ลักษณะที่ 48 ระเบียบเกี่ยวกับสัญชาติ
· บทที่ 1 ข้อความเบื้องต้น
· บทที่ 2 พนักงานเจ้าหน้าที่
· บทที่ 3 การได้สัญชาติไทยของหญิงซึ่งเป็นคนต่างด้าว
ลักษณะที่ 49 เอกสารหนังสือพิมพ์
· บทที่ 1 พนักงานเจ้าหน้าที่และอำนาจเจ้าพนักงานการพิมพ์ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์
· บทที่ 2 การเขียนเรื่องลงหนังสือพิมพ์ของข้าราชการตำรวจ
· บทที่ 3 การขอแจ้งความจากเอกชนหรือร้านค้า
· บทที่ 4 ระเบียบการหนังสือพิมพ์ตำรวจ
ลักษณะที่ 50 สมาคม
· บทที่ 1 หลักทั่วไปว่าด้วยการจดทะเบียนสมาคมในกรุงเทพมหานคร
· บทที่ 2 วิธีการจดทะเบียนสมาคมในกรุงเทพมหานคร
· บทที่ 3 วิธีการจดทะเบียนสมาคมของกองตำรวจสันติบาล
ลักษณะที่ 51 การจัดทำตำราของกรมตำรวจ
ลักษณะที่ 52 งานพิธี
· บทที่ 1 ระเบียบปฏิบัติบางประการเกี่ยวกับงานพิธี
· บทที่ 2 การเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
· บทที่ 3 วิธีกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณตน
· บทที่ 4 พิธีประดับยศข้าราชการตำรวจ
ลักษณะที่ 53 สำเนาทะเบียนสำมะโนครัว
ลักษณะที่ 54 งานสารบรรณ
· บทที่ 1 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ 2539
· บทที่ 2 ระเบียบงานสารบรรณตำรวจ
· บทที่ 7 การคัดสำเนา การลงนามตรวจและการรับผิดชอบในหนังสือราชการ
· บทที่ 8 การใช้คำย่อในราชการตำรวจ
· บทที่ 9 การกำหนดเลขประจำหน่วยงานภายในกรมตำรวจ
· บทที่ 10 การส่งไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์
· บทที่ 11 ไปรษณีย์สนามของทหารและตำรวจชายแดน
· บทที่ 12 คำสั่งของเจ้าพนักงานจราจร
· บทที่ 13 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2531 (ฉ.1-2) พ.ศ. 2532
ลักษณะที่ 55 การทะเบียนคนต่างด้าว
· บทที่ 1 บททั่วไป
· บทที่ 2 การออกใบสำคัญประจำตัว
· บทที่ 3 การต่ออายุใบสำคัญประจำตัว
· บทที่ 4 การออกใบสำคัญประจำตัวแทนฉบับเดิม
· บทที่ 5 การแจ้งย้ายภูมิลำเนาและการเดินทางออกนอกเขตจังหวัด
· บทที่ 6 การเดินทางออกนอกราชอาณาจักรและการถูกเนรเทศ
· บทที่ 7 การตายของคนต่างด้าว
· บทที่ 8 การเปลี่ยนแปลงสัญชาติ อาชีพ ชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล หรือรายการต่าง ๆ ในใบสำคัญประจำตัว
· บทที่ 9 คนต่างด้าวซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
· บทที่ 10 คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เป็นคนเข้าเมือง
· บทที่ 11 การเปลี่ยนรูปถ่ายใหม่
· บทที่ 12 การเปลี่ยนใบสำคัญประจำตัวจากเล่มเก่าเป็นเล่มใหม่
· บทที่ 13 การรับเงินค่าธรรมเนียม
· บทที่ 14 การปฏิบัติเกี่ยวกับใบเสร็จรับเงิน
· บทที่ 15 การทำบัญชีคุมคนต่างด้าว
· บทที่ 16 การรายงานสถิติคนต่างด้าว
· บทที่ 17 การเก็บเอกสารทะเบียนคนต่างด้าว
· บทที่ 18 การปฏิบัติเกี่ยวกับคนต่างด้าวกระทำผิดกฎหมาย
· บทที่ 19 การตรวจงานทะเบียนคนต่างด้าว
ลักษณะที่ 56 การตรวจราชการ
บทที่ 1 การตรวจราชการของกรมตำรวจ
· บทที่ 2 การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2533
ลักษณะที่ 57 ลักษณะเบ็ดเตล็ด
บทที่ 1 ระเบียบการนายตำรวจราชสำนัก
· บทที่ 2 มารยาททางการเมืองของข้าราชการพลเรือน
· บทที่ 3 การนำของของทางราชการผ่านศุลกากร
· บทที่ 4 การเขียนป้ายชื่อสถานที่ทำงานของรัฐบาล
· บทที่ 5 การขอความร่วมมืออุทิศเงินรายได้เพื่อสาธารณกุศลวันตำรวจ
· บทที่ 6 การสงเคราะห์ครอบครัวข้าราชการตำรวจ
· บทที่ 7 ว่าด้วยกองทุนสวัสดิการสโมสรตำรวจ
· บทที่ 8 การใช้เครื่องจับเท็จ
· บทที่ 9 การรายงานตนเมื่อเข้าไปในกรุงเทพมหานคร
· บทที่ 10 การรายงานตนเมื่อผู้บังคับบัญชาที่สูงกว่าชั้นผู้บังคับการสั่งให้ปฏิบัติราชการลับหรือพิเศษ
· บทที่ 11 การรายงานตนเมื่อเป็นสมาชิกหรือกรรมการในสโมสรและสมาคม
· บทที่ 12 การรายงานเมื่อพบปะสนทนากับชาวต่างประเทศ
· บทที่ 13 การรายงานตนเมื่อถูกอ้างเป็นพยาน
· บทที่ 14 การจัดสร้างภาพยนตร์
· บทที่ 15 การควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง
· บทที่ 16 การควบคุมการโฆษณาโดยยานพาหนะเคลื่อนที่
· บทที่ 17 การกำจัดเหตุน่ารำคาญ
· บทที่ 18 การป้องกันทรัพย์สินของสาธารณสมบัติ
· บทที่ 20 การเพิ่มชื่อในทะเบียนสำมะโนครัว
· บทที่ 21 การใช้เครื่องหมายรูปโล่ของกรมตำรวจและเครื่องหมายของหน่วยราชการต่าง ๆ ในกรมตำรวจ
· บทที่ 22 การจัดทำและรวบรวมแบบธรรมเนียมต่าง ๆ ในทางปฏิบัติราชการ
· บทที่ 23 การพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์และบัตรสนเท่ห์
· บทที่ 24 คำนำนามสตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
· บทที่ 25 การติดธงและตราบนรถยนตร์ของสำนักงานสหประชาชาติและทบวงการชำนัญพิเศษใน กทม.
· บทที่ 26 การให้ความคุ้มครองต่อชาวต่างประเทศ
· บทที่ 27 การถือปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยการข้ามแดน
· บทที่ 28 การทำคำแถลงชี้แจงเกี่ยวกับร่างกฎหมาย
· บทที่ 29 การป้องกันและปราบปรามการจับสัตว์น้ำโดยใช้ยาเบื่อเมาและวัตถุระเบิด
· บทที่ 30 การเสนอบัตรแสดงผลการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน
· บทที่ 31 การส่งเสริมข้าราชการตำรวจที่ดีเยี่ยมในการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย
· บทที่ 32 การตรวจถุงเมล์และสินค้าติดตัวผู้โดยสารเครื่องบิน
· บทที่ 33 การใช้กระบี่สำหรับนายตำรวจ
· บทที่ 34 ข้อบังคับโรงพิมพ์ตำรวจ
· บทที่ 35 การนำกล้องถ่ายรูปส่วนตัวมาใช้ราชการ
· บทที่ 37 คำร้องของประชาชนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
· บทที่ 38 การส่งเสริมเกียรติคุณและสนับสนุนผู้ทำหน้าที่ครูในโรงเรียนตำรวจต่าง ๆ ในสังกัดกรมตำรวจ
· บทที่ 39 ระเบียบเลื่อนเงินเดือนข้าราชการถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติราชการในหน้าที่ พ.ศ. 2506
· บทที่ 40 ระเบียบกรมตำรวจ ว่าด้วยการใช้ห้องสมุดกลางกรมตำรวจ
· บทที่ 41 การมอบประกาศเกียรติคุณในวาระข้าราชการตำรวจเกษียณอายุ
· บทที่ 42 ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย
· บทที่ 43 การจัดตั้งโรงเรียนชาวเขาและประชาชนไกลคมนาคม
· บทที่ 44 สวัสดิการอาหารในบริเวณกรมตำรวจ
· บทที่ 45 การเชิดชูเกียรติข้าราชการตำรวจที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดีเด่น
· บทที่ 46 การมอบโล่หรือประกาศนียบัตรเกียรติคุณเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำหน้าที่จราจรชั้นประทวน
· บทที่ 47 สวัสดิการกรมตำรวจ พ.ศ. 2536
· บทที่ 48 การเงินและการบัญชีของเงินกองทุนสวัสดิการ พ.ศ. 2536
· บทที่ 49 กองทุนสวัสดิการสถานพักฟื้นและตากอากาศกรมตำรวจ พ.ศ. 2540
· บทที่ 50 ว่าด้วยกองทุนสวัสดิการสนามกีฬากรมตำรวจ
· บทที่ 51 ว่าด้วยกองทุนสวัสดิการห้องประชุมกองสวัสดิการ
· บทที่ 52 ว่าด้วยกองทุนสวัสดิการวงดุริยางค์ตำรวจ
· บทที่ 53 ว่าด้วยกองทุนพัฒนาการสอบ พ.ศ. 2543