กฎหมาย รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง
...ประเทศต่างๆในโลก มีระบอบการปกครองเป็น 2 ระบอบ คือ
1)ระบอบประชาธิปไตย
2)ระบอบเผด็จการ
..ตัวอย่างประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศ อังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมัน ประเทศไทย และตัวอย่างประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เช่น ประเทศจีน ประเทศเมียนมาร์ ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น มีระบบการเมืองอยู่สามระบบ คือ
1)ระบบรัฐสภา
2)ระบบประธานาธิบดี
3)ระบบกึ่งสภากึ่งประธานาธิบดี
เป็นเวปไซด์ของ ทนายแผ่นดินมือใหม่ เป็นผู้ดำเนินการจัดทำขึ้นเพื่อสื่อสาร ส่งต่อข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนนักกฎหมายและที่สำคัญเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าทำการทดสอบทางกฎหมายครั้งที่สำคัญที่สุดในชีวิตครับ....
วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ระบอบการปกครองและระบบการเมือง
วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556
7เหตุผลที่คนเราผัดวันประกันพรุ่ง
7 เหตุผลที่คนเราผัดวันประกันพรุ่ง
มากำจัด เจ้าตัวขี้เกลียด ในตัวกัน 70% ของคนทำงาน มักไม่ประสบความสำเร็จเป็นเพราะอะไร ?? วันนี้เราจะมาตีแผ่กัน...กับเหตุผลของการผัดวันประกันพรุ่ง
วันนี้ ขอเอาสิ่งที่ผมได้อ่านจาก Talent Management blog ของ Sean Conrad ที่เขาเขียนในเรื่องของ 7 เหตุผลที่ทำให้คนเรามีนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง แล้วก็เป็นผลทำให้การทำงานของเราแทนที่จะเสร็จก่อนเวลา กลับกลายเป็นไม่ทันเวลา หรือต้องมาเร่งๆ เอาวันที่ใกล้ส่งงาน ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อชีวิตการทำงานของเราเลย แต่ก็แปลกนะครับ คนเราส่วนใหญ่กลับชอบที่จะเลื่อนวัน และผลัดวันออกไปก่อน ถ้างานยังไม่รีบ เหมือนกับว่าเรารักที่จะสบายไว้ก่อน แล้วค่อยมาลำบากทีหลัง
ลองมาดู 7 สาเหตุที่ทำให้คนเราผัดวันประกันพรุ่งกันนะครับ
1.งานที่ทำมันง่ายเกินไป บางคนรู้สึกว่างานที่เรากำลังจะทำนี้มันง่ายมาก ใช้เวลาไม่นานก็เสร็จ ก็เลยเลื่อนออกไปก่อน เพราะรู้ว่าใช้เวลาไม่นาน ไว้ใกล้ๆ ส่งแล้วค่อยทำก็ได้ ผลก็คือไปทำเอาตอนใกล้ๆ เส้นตาย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ และบางครั้งพอได้ลงมือทำกลับกลายเป็นว่าไม่ง่ายอย่างที่เราคิดไว้แตกแรก คราวนี้ก็เลยต้องเหนื่อยเลย
2.กลัวความผิดพลาด บาง คนกลัวว่าทำไปแล้วจะเกิดความผิดพลาดขึ้น ก็เลยยั้งๆ ไว้ก่อน ยังไม่ลงมือทำ และพูดกับตัวเองว่า "เดี๋ยวขอเวลาคิดสักหน่อยว่าจะทำอย่างไร" แต่เอาเข้าจริงๆ ก็ไม่ได้คิดอยู่ดี สุดท้ายก็ไม่ได้ทำงานนั้น จนถึงเวลาต้องส่งงาน ก็มารีบๆ ทำ ยิ่งทำให้ผิดพลาดง่ายขึ้นไปอีกครับ
3.เป็นงานที่น่าเบื่อ บาง งานอาจจะเป็นงานที่น่าเบื่อสำหรับบางคน พอเรารู้สึกว่าเบื่อที่จะทำงานนั้น ก็เลยขอเลื่อนการทำงานนั้นออกไปก่อน ผัดผ่อนไปเรื่อยๆ พอถึงเวลาโดนเร่งงาน คราวนี้จะเบื่อยิ่งกว่าเดิมอีกครับ
4.มีเวลาเยอะ บางงานมีเวลาให้ทำเยอะมาก พอมีเวลามาก ก็เลยชะล่าใจ ปล่อยเวลาที่มีให้เปล่าประโยชน์ โดยเอาเวลาที่มีนั้นไปทำอย่างอื่นแทน พอใกล้ๆ เวลาส่งงานก็ค่อยมาทำ ผลก็คืองานไม่เสร็จตามกำหนดเวลาที่วางแผนไว้ ทั้งๆ ที่วางแผนไว้อย่างดี
5.ชอบความกดดัน คน บางคนตั้งใจที่จะผัดวันประกันพรุ่งออกไป เพราะว่าชอบงานที่มีความกดดันมากๆ ต้องใกล้ๆ เวลาส่งงาน สมองถึงจะแล่น และคิดงานได้อย่างสร้างสรรค์ แต่คนแบบนี้มีไม่เยอะนะครับ อย่าเพิ่งคิดว่าตัวเองเป็นคนแบบนี้นะครับ เพราะดีไม่ดีเดี๋ยวงานจะไม่เสร็จเอา
6.ตัดสินใจไม่ได้ บาง งาน หรือบางกิจกรรมในชีวิต เราไม่สามารถที่จะตัดสินใจได้เด็ดขาดว่าควรจะทำอย่างไร ก็เลยปล่อยเวลาให้ผ่านไปเรื่อยๆ ผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ ไม่ตัดสินใจซะที
7.เชื่อว่าพรุ่งนี้ดีกว่าวันนี้ บาง คนมีความเชื่อว่าพรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้ ก็เลยปล่อยงานไว้เป็นวันพรุ่งนี้ค่อยทำ พอถึงพรุ่งนี้ ก็คิดต่ออีกว่า พรุ่งนี้อาจจะดีกว่าวันนี้ ก็เลยไม่มีวันที่จะลงมือทำงานซะที
แล้ว เราจะแก้ไขเรื่องของการผัดวันประกันพรุ่งได้อย่างไร เรื่องนี้มีหลายตำราเขียนไว้เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นตำราเรื่องของการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ การบริหารเวลา ฯลฯ แต่เอาเข้าจริงๆ การที่จะแก้ไขปัญหาการผัดวันประกันพรุ่งได้ดีที่สุดก็คือ การมีวินัยในตนเอง คิดว่าจะทำ ก็ต้องลงมือทำทันที ห้ามมีข้อแม้ หรือเงื่อนไขใดๆ เพราะถ้าเราวางแผนไว้แล้ว ไม่ทำตามแผน เราจะวางแผนไปทำไมล่ะครับ
วิธีแก้ไขที่ดีที่สุด ก็คือ เมื่อคิดได้แล้ว หรือ วางแผนที่จะทำอะไรไว้แล้ว ก็ให้ควบคุมตนเองให้ลงมือทำในทันทีครับ อย่าให้เงื่อนไข และข้ออ้างต่างๆ มาทำให้เราเลื่อนงานของเราออกไปโดยไม่สมควรเลยครับ
Re: สร้างแรงกดดันให้กับตัวเอง
สร้างแรงกดดันให้กับตัวเอง
ยินดีต้อนรับคุณกลับเข้าสู่ Creative Wealthy Business ขอให้คุณมีความสุขในการอ่านบทความ และดูวีดีโอที่มีคุณค่าที่นี่สร้างแรงกดดันให้กับตัวเอง
"สิ่งแรกที่จำเป็นในความสำเร็จคือ การทุ่มเทพลังกาย พลังใจ พลังความคิด
ของคุณให้กับปัญหาที่คุณมี อย่างไม่เลิกรา โดยปราศจากความเบื่อหน่าย"
โธมัส เอดิสัน
- ใครๆ ก็อยากที่จะประสบความสำเร็จกันทั้งนั้น แต่ความเป็นจริง
ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จ ที่หวังไว้
- วันนี้ผมมีเคล็ดลับ ที่ผมใช้มาตลอดเส้นทางของความสำเร็จ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ผมตั้งไว้ แต่เป็นเพียงส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งครับ
"ในโลกนี้เต็มไปด้วยผู้คนที่กำลังรอให้ผู้อื่นมากระตุ้นเพื่อที่จะประสบความสำเร็จ ตามที่เขาอยากจะเป็นปัญหาก็คือไม่มีใครช่วยกระตุ้นเขาได้เลย"..ฉะนั้นเราต้องกระตุ้นตัวเราเองให้ได้ครับยกตัวอย่างของผมครับ ผมสร้างแรงกดดันให้กับตัวเองมาตลอด.แล้วก็มีผู้คนค่อยทวงถาม หรือไม่ก็คอยดูผมอยู่ ทำให้ผมมีแรงกดดันที่จะต้องทำให้ได้ ตามที่ผมมีพันธสัญญากับคำพูดที่ให้ไว้กับผู้คนครับ...เมื่อเร็วๆ นี้ ผม…ได้ประกาศเป้าหมายชัดเจนว่า…ผมจะช่วยเหลือผู้คน ในประเทศไทย 77 จังหวัด.ให้เขามีรายได้ 6 หลัก อย่างน้อย จังหวัดละ 1 คนภายใน 3 ปี คือ สิ้นปี 2558 นี้ ต้องแ้ล้วเสร็จทั้งหมดครับ.นี่คือ ผมมีพันธสัญญากับตัวเอง มันเป็นการสร้างแรงกดดันที่ช่วยทำให้ผม โพกัสสิ่งที่ต้องทำอย่างชัดเจน.ป้องกันการผลัดวันประกันพรุ่ง ต้องรับผิดชอบต่อคำพูดที่ให้ไว้กับผู้คนครับ.มีผู้คนเพียง 2% เท่านั้นที่สามารถทำงานได้เองทั้งหมดโดยไม่มีคนดูแล เราเรียกคนเหล่านั้นว่า "ผู้นำ" และนี่คือ
คนแบบที่คุณควรจะเป็นนะครับ ผมก็ไม่ได้เป็นคนเก่งอะไร
แต่ผมลงมือทำตามแบบอย่างของผู้สำเร็จในโลกนี้ แล้วนำ
มาฝึกฝนปฎิบัติตามครับ
- หน้าที่คุณคือต้องเพาะนิสัยการบริหารเวลาจัดลำดับความสำคัญ
สร้างแรงกดดันให้กับตัวเอง ไม่เลิกราต่อจุดหมายความสำเร็จ
- มาตรฐานที่คุณตั้งไว้ให้กับงานและพฤติกรรมของคุณเองต้องสูง
กว่าที่คนอื่นตั้งไว้ # คุณต้องเล่นเกมส์กับตัวเองให้ตื่นเต้นอีก
# ทำงานหนักอีกหน่อย
# อยู่ดึกอีกขึ้นอีกเล็กน้อย
# ทำงานให้มากกว่ารางวัลที่จะได้รับอยู่เสมอ
- คนที่ประสบความสำเร็จจะกดดันตัวเองให้ทำงานทันที
และอย่างต่อเนื่อง แต่คนที่ไม่ประสบความสำเร็จ จะมีนิสัย
ผัดวันประกันพรุ่งและจะรอให้คนสั่ง รอให้คนดูแล และรอ
ให้คนอื่นกดดัน
- การสร้างแรงกดดันให้กับตัวเองจะทำให้คุณประสบความสำเร็จ
ได้มากขึ้น ทำงานได้ดีขึ้น และเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน
คุณจะกลายเป็นคนที่ทำงานเก่งและประสบความสำเร็จสูง
คุณจะรู้สึกว่าตัวเองยอดเยี่ยม และจะสร้างนิสัยทำงานเสร็จได้
เร็วขึ้นทีละนิดๆ ซึ่งมันจะติดตัวคุณไปจนตลอดชีวิตครับ
- ถ้าเราไม่สร้างแรงกดดันให้กับตัวเอง เหมือนเรากำลังยืนรอรถเมล์บนถนนที่ไม่มีรถเมล์แล่นผ่าน
ดังนั้นเราจะต้องลงเอยด้วยการรอสิ่งที่ต้องการ แต่ไม่เกิดผลลัพธ์ไปตลอดชาตินี้ และนี่คือสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่เขาทำกันครับ
Re: สาเหตุที่ทำให้เราบริหารเวลาไม่ดี
สาเหตุที่ทำให้เราบริหารเวลาไม่ดี
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หลายท่านได้เรียนรู้ ได้อ่าน ได้ศึกษา เกี่ยวกับเรื่องการบริหารเวลามามาก แต่ก็ไม่สามารถบริหารเวลาได้ดี ถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ซึ่งสาเหตุสำคัญในการทำให้เราบริหารเวลาได้ไม่ดีมีอยู่ 2 สาเหตุ คือ
1.ตัวเราเอง ตัวเราเองมีความสำคัญที่สุดในเรื่องของการบริหารเวลา หลายคนบริหารเวลาไม่ดี เนื่องมาจาก
- การไม่มีเป้าหมาย ไม่มีทิศทางในการดำเนินชีวิต สิ่งนี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก การไม่มีทิศทางเปรียบเสมือนเรือที่ลอยอยู่กลางทะเล แต่หากเรามีเป้าหมาย มีทิศทาง เปรียบเสมือนเรือที่เคลื่อนตัวเข้าไปหาฝั่ง อีกทั้งการมีเป้าหมายยังสามารถทำให้เรากำหนดระยะเวลา กำหนดความเร็วในช่วงเวลาต่างๆได้อีกด้วย
- การไม่มีแผนการหรือการวางแผน การวางแผนมีความสำคัญมากต่อการบริหารเวลาของคนเรา เพราะหากปราศจากการวางแผนแล้ว เราก็จะไม่รู้ว่า วันพรุ่งนี้เราต้องทำอะไร วันมะรือนี้เราต้องทำอะไร วันมะเรื่องนี้เราต้องทำอะไร อาทิตย์หน้าเราต้องทำอะไร เดือนหน้าเราต้องทำอะไร ปีหน้าเราต้องทำอะไร
- การไม่มีวินัยในตนเองหรือชอบผัดวันประกันพรุ่ง กล่าวคือมีการวางแผนแล้ว แต่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เลยทำให้ผลงานออกมาไม่ตรงกับเป้าหมายหรือแผนที่วางไว้ เพราะบางคนทำๆ หยุดๆ ไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง และมีหลายๆท่านชอบเก็บงานที่ค้างไว้ทำในวันต่อๆไป ทำให้กลายเป็น " ดินพอกหางหมู"
- ไม่ใช่เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ เทคโนโลยีทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน อีกทั้งยังทำให้ประหยัดเวลาได้อีกด้วย เช่น การใช้โทรศัพท์ติดต่อธุรกิจ,การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน, การใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อสื่อสารและค้นหาข้อมูลต่างๆ อีกทั้งการประชุมในยุคปัจจุบันเรายังประชุมข้ามประเทศ ข้ามจังหวัด ได้ก็ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่อีกด้วย
- ไม่รู้จักจัดความสำคัญ บุคคลที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาไปกับเรื่องที่สำคัญที่สุดก่อน เพราะไม่มีใครสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ ฉะนั้น งานบางงานที่ไม่มีความสำคัญเราอาจให้คนอื่นทำแทนหรือใช้ผู้อื่นไปทำแทนได้
- ไม่กล้าปฏิเสธ หลายๆคนไม่กล้าปฏิเสธ แทนที่จะได้ทำงานของตนเองให้เสร็จทันเวลาหรือตามแผนที่วางไว้ กับถูกผู้อื่นขอร้องให้ทำงานของคนอื่น แทนที่จะใจแข็งรู้จักปฏิเสธกับให้การช่วยเหลือ ทำให้งานของตนเองที่จะทำกลับไม่ได้ทำ
- วางระบบ จัดโต๊ะ ในการทำงาน การวางระบบ การจัดโต๊ะทำงานจะทำให้เราประหยัดเวลาในการค้นหาสิ่งของต่างๆ ยิ่งหากท่านเป็นนักเขียน ท่านควรมีห้องสมุดส่วนตัว อีกทั้งควรจัดหนังสือให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการค้นหา
2.ผู้อื่น เป็นปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราบริหารเวลาได้ไม่ดี เช่น เจ้านายเรียกประชุมแบบกะทันหัน , เพื่อนหรือคนรู้จัก ชวนพูดคุยเป็นเวลานาน , การประชุมนานเกินกว่ากำหนดการที่วางเอาไว้เพราะมีคนเสนอความคิดเห็นมากจนเกินไป , การถูกขอร้องจากผู้อื่นเพื่อขอความช่วยเหลือ เป็นต้น
อีกทั้งยังมีปัจจัยเสริมที่ทำให้เราบริหารเวลาไม่ได้ดี เช่น การเดินทางไปทำงานแล้ว รถติด รถเกิดเสียหรือเกิดอุบัติเหตุ , สภาพอากาศหรือสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง ฝนตกหนัก น้ำท่วม ถนนทรุด ฯลฯ
จากข้อความข้างต้น สาเหตุที่ทำให้เราบริหารเวลาไม่ดี ผมให้น้ำหนักไปที่ตัวของเราเองเป็นหลัก เพราะหากเรามีเป้าหมายชีวิต มีการวางแผน มีวินัย มีการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆช่วย รู้จักลำดับความสำคัญ รู้จักวางระบบ
Re: สร้างแรงกดดันเป็นจุดแข็ง
พลิกความเครียดให้เป็นประโยชน์
คุณเคยเห็นคนที่ก้าวไป ไม่ย่อท้อภายใต้ความเครียดไหม คุณรู้ดีว่าคนประเภทไหนที่เป็นแบบนี้ เวลาที่คุณคิดว่างานหนักท่วมทับ คนพวกนี้จะเห็นเป็นความท้าทายที่น่าตื่นเต้น เวลาที่คุณเห็นหนทางน่ากลัวในดินแดนที่ไม่เคยไป พวกเขาเห็นเป็นการผจญภัย
บางที คนพวกนี้รู้ว่าอย่างน้อยวิธีเอาชนะผลกระทบด้านลบของความเครียดซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้น้ำหนักเพิ่ม เป็นโรคหัวใจ ซึมเศร้าและวิตกกังวล อยู่ที่การรับมือ "ไม่เครียดเลยก็น่าเบื่อ ดังนั้น เครียดบ้างก็ดี" ดร. โรเบิร์ต มอนเดอร์ นักจิตวิทยาแห่งโรงพยาบาลเมาท์ไซไนในแคนาดา กล่าว "แม้ความเครียดที่เข้มข้นเกินไปจะเป็นผลดีได้ยาก แต่มีวิธีเชิงบวกที่จะรับมือกับความเครียดนั้น" นี่คือเจ็ดวิธีที่จะช่วยคุณเพิ่มทักษะขจัดความเครียด
<1353920904.jpg>
1. เปลี่ยนความกังวลเป็นการแก้ปัญหา"ความกังวลคือกระบวนการของการจินตนาการถึงผลลัพธ์ที่เจ็บปวดหรือแม้กระ ทั่งหายนะโดยไม่มีแผนป้องกันที่มีประสิทธิภาพ" แมตทิว แม็กเคย์ หนึ่งในผู้แต่งหนังสือแบบฝึกหัดผ่อนคลายและลดความเครียด แนะให้หาทางออกที่เป็นไปได้เพื่อตัดวงจรความกังวลออกไป "ในกระบวนการรับรู้ของสมองมีความแตกต่างกันระหว่างการคิดถึงความสำเร็จกับการจดจ่อที่ความล้มเหลว" แม็กเคย์และผู้แต่งร่วมแนะให้ฝึกดังนี้
ก. แยกแยะปัญหาให้ชัดเจน เช่น "ฉันรู้สึกว่าแบกงานจนหลังแอ่นเพราะถึงกำหนดเส้นตายหลายงานในเดือนเดียวกัน"
ข. ระดมความคิดเพื่อหา ทางออก
ค. ประเมินแนวคิดแต่ละข้อ ใส่เครื่องหมาย X ตรงข้อที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้ ใส่เครื่องหมายคำถามตรงข้อที่คิดว่าทำได้ยาก และ Y ตรงข้อที่คิดว่าทำได้ทันที
ง. กำหนดวันที่จะทำตามแนว คิด Y ให้สำเร็จลุล่วง
จ. เมื่อทำข้อ Y เสร็จแล้ว กลับไปดูข้อที่เคยทำเครื่องหมายคำถามไว้ ตอนนี้บางข้อพอมีความเป็นไปได้หรือยัง
ฉ. ท้ายที่สุด กลับไปดูข้อที่ทำเครื่องหมาย X ไว้ ตอนนี้เป็นไปได้จริงๆหรือไม่
2. มีอารยะไว้เสมอพฤติกรรมหยาบคายไม่ใช่แค่น่ารำคาญ แต่ยังเป็นต้นกำเนิดของความเครียดและวิตกกังวล การศึกษาชายหญิงกว่า 1,500 คนที่สหรัฐฯ เมื่อปี 2551 พบว่า พฤติกรรมอนารยะในที่ทำงานมีผลกระทบทางลบต่อสุขภาพกายและจิตของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการประชดประชัน ครหานินทา หรือเมินเฉย ประหลาดใจไหมล่ะ คนที่ทำงานกับเหยื่อพวกนี้ก็พลอยเสียสุขภาพไปด้วย "อาจเป็นผลของ 'ประสบการณ์ตกเป็นเหยื่อร่วม" เนื่องจากเห็นการกระทำที่เป็นอนารยะ หรือกลัวว่าตนเองอาจเป็นเหยื่อรายต่อไป" แซนดี ลิมแห่งมหาวิท ยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ผู้ร่วมเขียนรายงานการศึกษา กล่าว
3. ถามตอบตัวเองหากคุณเสียเวลาส่วนใหญ่ไปกับการวิตกกังวลในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น บรรดาผู้แต่งหนังสือ แบบฝึกหัดผ่อนคลายและลดความเครียด แนะกลวิธีนี้เพื่อลดความกระ วนกระวายใจ หลังนอนหลับสบายและกินมื้อเช้าครบถ้วน ซึ่งเป็นสองกิจกรรมปัดเป่าความเครียดที่แม่พูดถูก ให้เขียนสิ่งที่กังวลลงในกระดาษ จากนั้นถามตัวเองว่าถ้าสิ่งที่อยากให้เกิดไม่เกิด หรือสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดกลับเกิด ผลลัพธ์เลวร้ายที่สุดที่จะเกิดกับฉันคืออะไร จากนั้นถามตัวเองว่าเรื่องดีๆ ที่อาจเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง ถ้าสิ่งที่ฉันอยากให้เกิดไม่เกิด หรือสิ่งที่ฉันไม่อยากให้เกิดกลับเกิด ค้นหาความคิดหรืออารมณ์เชิงบวกที่คุณจะดึงออกมาได้ขณะนึกหาทางออกอื่น
4. เจาะลึกเรื่องร้ายไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเสมอไป เวลาปลูกข้าวโพด เมื่อเริ่มต้นเจอความแห้งแล้งก็กลายเป็นประโยชน์ได้เพราะทำให้รากชอนไชลึกลงไปเพื่อหาน้ำ มีข้อดีอะไรบ้างไหมในเรื่องที่ทำให้คุณเครียด แทนที่จะคิดหมกมุ่นกับฝนแล้ง ดูสิว่าคุณจะสร้างความแข็งแกร่งขึ้นมาได้อย่างไรจากการ "มองหาน้ำ" มอนเดอร์กล่าวว่า การมองหาความหมายและคุณค่าจากประสบการณ์ที่พานพบช่วยทำให้สถานการณ์ที่ตึงเครียดพอทนได้มากขึ้น
5. สร้างตัวกระตุ้นภายในงานวิจัยใหม่ของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันในเรื่องสมองระบุว่า ความเครียดเรื้อรังเป็นมูลเหตุให้สมองถูกทำลายเพราะเซลล์สมองหยุดสร้างเซลล์ใหม่ ข่าวดีนะหรือ สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ช่วยฟื้นฟูส่วนที่ถูกทำลายนั้นได้โดยเร่งสร้างเซลล์ใหม่ เพิ่มขึ้นมา ดร. ดัก ซอนเดอร์ส นักจิตวิทยาที่ให้คำปรึกษาผู้ป่วยและสอนที่มหาวิทยาลัย โทรอนโต แนะให้ทำกิจกรรมที่เรียกว่า "สร้าง เกาะแห่งความสงบ" โดยเลือกกิจกรรมที่ตัวเองชอบเพื่อให้สมองทำงานอย่างเพลิดเพลินจนเวลาผ่านไปเร็วแทบไม่รู้ตัว อาจวิ่ง ทำสวน หรือเล่นปริศนาอักษรไขว้ อะไรก็ได้ที่ช่วยหันเหความเครียดในใจออกไป "เหมือนการทำสมาธิกลายๆ เป็นวิธีพักฟื้นจิตใจและร่างกายจากสภาวะจะสู้หรือหนีซึ่งเป็นผลกระทบของความเครียดเรื้อรัง" อยากเพิ่มประสิทธิผลของการขจัดความเครียดไหม ลองหากิจกรรมที่เกิดประโยชน์ทั้งต่อร่างกายและจิตใจ ในกรณีศึกษาผู้ใหญ่เกือบ 20,000 คนในอังกฤษเมื่อปี 2551 พบว่า คนที่ออกกำลังทุกวัน แค่ออกกำลังง่ายๆด้วยการเดินก็ได้ มีโอกาสเครียดสูงน้อยกว่าคนที่ไม่ออกกำลังถึงร้อยละ 41
6. หาแรงบันดาลใจให้ตัวเองบางคนพบว่าการอ่านเรื่องราวของคนอื่นช่วยให้รับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น มอนเดอร์แนะให้มองหาแรงบันดาลใจใกล้ๆตัว "การถอยกลับสักก้าวและทบทวนความสำเร็จของตัวเองในอดีตจะช่วยให้รับมือปัญหาได้ดีขึ้น" เขากล่าว "กรรมวิธีนี้ช่วยตอกย้ำให้ตัวเองว่า 'ฉันเคย รับมือกับเรื่องราวมากมายในอดีตมาแล้ว เรื่องนี้จะจัด การอย่างไรดี' "
7. แบ่งเบาภาระออกไปนักวิจัยที่มหาวิทยา ลัยแพทย์กราซในออสเตรียศึกษาเมื่อปี 2550 พบว่า การบำบัดพฤติกรรมแบบกลุ่มในระยะสั้นได้ผลลัพธ์ออกมาดี ช่วยลดแรงดันเลือดและความ เครียดโดยรวมของผู้รับการบำบัดที่เครียดเพราะงานหนัก "วางแผนกิจกรรมที่จะทำประจำวัน มีครอบครัวและเพื่อนคอยสนับ สนุนให้ลงมือทำกิจกรรมใหม่เหล่านี้ จะมีส่วนช่วยให้คุณรับมือกับความเครียดด้วยวิธีใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น" ซอนเดอร์สกล่าว
สาเหตุที่ทำให้เราบริหารเวลาไม่ดี
สาเหตุที่ทำให้เราบริหารเวลาไม่ดี
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
หลายท่านได้เรียนรู้ ได้อ่าน ได้ศึกษา เกี่ยวกับเรื่องการบริหารเวลามามาก แต่ก็ไม่สามารถบริหารเวลาได้ดี ถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ซึ่งสาเหตุสำคัญในการทำให้เราบริหารเวลาได้ไม่ดีมีอยู่ 2 สาเหตุ คือ
1.ตัวเราเอง ตัวเราเองมีความสำคัญที่สุดในเรื่องของการบริหารเวลา หลายคนบริหารเวลาไม่ดี เนื่องมาจาก
- การไม่มีเป้าหมาย ไม่มีทิศทางในการดำเนินชีวิต สิ่งนี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก การไม่มีทิศทางเปรียบเสมือนเรือที่ลอยอยู่กลางทะเล แต่หากเรามีเป้าหมาย มีทิศทาง เปรียบเสมือนเรือที่เคลื่อนตัวเข้าไปหาฝั่ง อีกทั้งการมีเป้าหมายยังสามารถทำให้เรากำหนดระยะเวลา กำหนดความเร็วในช่วงเวลาต่างๆได้อีกด้วย
- การไม่มีแผนการหรือการวางแผน การวางแผนมีความสำคัญมากต่อการบริหารเวลาของคนเรา เพราะหากปราศจากการวางแผนแล้ว เราก็จะไม่รู้ว่า วันพรุ่งนี้เราต้องทำอะไร วันมะรือนี้เราต้องทำอะไร วันมะเรื่องนี้เราต้องทำอะไร อาทิตย์หน้าเราต้องทำอะไร เดือนหน้าเราต้องทำอะไร ปีหน้าเราต้องทำอะไร
- การไม่มีวินัยในตนเองหรือชอบผัดวันประกันพรุ่ง กล่าวคือมีการวางแผนแล้ว แต่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เลยทำให้ผลงานออกมาไม่ตรงกับเป้าหมายหรือแผนที่วางไว้ เพราะบางคนทำๆ หยุดๆ ไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง และมีหลายๆท่านชอบเก็บงานที่ค้างไว้ทำในวันต่อๆไป ทำให้กลายเป็น " ดินพอกหางหมู"
- ไม่ใช่เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ เทคโนโลยีทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน อีกทั้งยังทำให้ประหยัดเวลาได้อีกด้วย เช่น การใช้โทรศัพท์ติดต่อธุรกิจ,การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน, การใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อสื่อสารและค้นหาข้อมูลต่างๆ อีกทั้งการประชุมในยุคปัจจุบันเรายังประชุมข้ามประเทศ ข้ามจังหวัด ได้ก็ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่อีกด้วย
- ไม่รู้จักจัดความสำคัญ บุคคลที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาไปกับเรื่องที่สำคัญที่สุดก่อน เพราะไม่มีใครสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ ฉะนั้น งานบางงานที่ไม่มีความสำคัญเราอาจให้คนอื่นทำแทนหรือใช้ผู้อื่นไปทำแทนได้
- ไม่กล้าปฏิเสธ หลายๆคนไม่กล้าปฏิเสธ แทนที่จะได้ทำงานของตนเองให้เสร็จทันเวลาหรือตามแผนที่วางไว้ กับถูกผู้อื่นขอร้องให้ทำงานของคนอื่น แทนที่จะใจแข็งรู้จักปฏิเสธกับให้การช่วยเหลือ ทำให้งานของตนเองที่จะทำกลับไม่ได้ทำ
- วางระบบ จัดโต๊ะ ในการทำงาน การวางระบบ การจัดโต๊ะทำงานจะทำให้เราประหยัดเวลาในการค้นหาสิ่งของต่างๆ ยิ่งหากท่านเป็นนักเขียน ท่านควรมีห้องสมุดส่วนตัว อีกทั้งควรจัดหนังสือให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการค้นหา
2.ผู้อื่น เป็นปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราบริหารเวลาได้ไม่ดี เช่น เจ้านายเรียกประชุมแบบกะทันหัน , เพื่อนหรือคนรู้จัก ชวนพูดคุยเป็นเวลานาน , การประชุมนานเกินกว่ากำหนดการที่วางเอาไว้เพราะมีคนเสนอความคิดเห็นมากจนเกินไป , การถูกขอร้องจากผู้อื่นเพื่อขอความช่วยเหลือ เป็นต้น
อีกทั้งยังมีปัจจัยเสริมที่ทำให้เราบริหารเวลาไม่ได้ดี เช่น การเดินทางไปทำงานแล้ว รถติด รถเกิดเสียหรือเกิดอุบัติเหตุ , สภาพอากาศหรือสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง ฝนตกหนัก น้ำท่วม ถนนทรุด ฯลฯ
จากข้อความข้างต้น สาเหตุที่ทำให้เราบริหารเวลาไม่ดี ผมให้น้ำหนักไปที่ตัวของเราเองเป็นหลัก เพราะหากเรามีเป้าหมายชีวิต มีการวางแผน มีวินัย มีการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆช่วย รู้จักลำดับความสำคัญ รู้จักวางระบบ
สร้างแรงกดดันเป็นจุดแข็ง
พลิกความเครียดให้เป็นประโยชน์ |
คุณเคยเห็นคนที่ก้าวไป ไม่ย่อท้อภายใต้ความเครียดไหม คุณรู้ดีว่าคนประเภทไหนที่เป็นแบบนี้ เวลาที่คุณคิดว่างานหนักท่วมทับ คนพวกนี้จะเห็นเป็นความท้าทายที่น่าตื่นเต้น เวลาที่คุณเห็นหนทางน่ากลัวในดินแดนที่ไม่เคยไป พวกเขาเห็นเป็นการผจญภัย
บางที คนพวกนี้รู้ว่าอย่างน้อยวิธีเอาชนะผลกระทบด้านลบของความเครียดซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้น้ำหนักเพิ่ม เป็นโรคหัวใจ ซึมเศร้าและวิตกกังวล อยู่ที่การรับมือ "ไม่เครียดเลยก็น่าเบื่อ ดังนั้น เครียดบ้างก็ดี" ดร. โรเบิร์ต มอนเดอร์ นักจิตวิทยาแห่งโรงพยาบาลเมาท์ไซไนในแคนาดา กล่าว "แม้ความเครียดที่เข้มข้นเกินไปจะเป็นผลดีได้ยาก แต่มีวิธีเชิงบวกที่จะรับมือกับความเครียดนั้น" นี่คือเจ็ดวิธีที่จะช่วยคุณเพิ่มทักษะขจัดความเครียด
1. เปลี่ยนความกังวลเป็นการแก้ปัญหา "ความกังวลคือกระบวนการของการจินตนาการถึงผลลัพธ์ที่เจ็บปวดหรือแม้กระ ทั่งหายนะโดยไม่มีแผนป้องกันที่มีประสิทธิภาพ" แมตทิว แม็กเคย์ หนึ่งในผู้แต่งหนังสือแบบฝึกหัดผ่อนคลายและลดความเครียด แนะให้หาทางออกที่เป็นไปได้เพื่อตัดวงจรความกังวลออกไป "ในกระบวนการรับรู้ของสมองมีความแตกต่างกันระหว่างการคิดถึงความสำเร็จกับการจดจ่อที่ความล้มเหลว" แม็กเคย์และผู้แต่งร่วมแนะให้ฝึกดังนี้
ก. แยกแยะปัญหาให้ชัดเจน เช่น "ฉันรู้สึกว่าแบกงานจนหลังแอ่นเพราะถึงกำหนดเส้นตายหลายงานในเดือนเดียวกัน"
ข. ระดมความคิดเพื่อหา ทางออก
ค. ประเมินแนวคิดแต่ละข้อ ใส่เครื่องหมาย X ตรงข้อที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้ ใส่เครื่องหมายคำถามตรงข้อที่คิดว่าทำได้ยาก และ Y ตรงข้อที่คิดว่าทำได้ทันที
ง. กำหนดวันที่จะทำตามแนว คิด Y ให้สำเร็จลุล่วง
จ. เมื่อทำข้อ Y เสร็จแล้ว กลับไปดูข้อที่เคยทำเครื่องหมายคำถามไว้ ตอนนี้บางข้อพอมีความเป็นไปได้หรือยัง
ฉ. ท้ายที่สุด กลับไปดูข้อที่ทำเครื่องหมาย X ไว้ ตอนนี้เป็นไปได้จริงๆหรือไม่
2. มีอารยะไว้เสมอ พฤติกรรมหยาบคายไม่ใช่แค่น่ารำคาญ แต่ยังเป็นต้นกำเนิดของความเครียดและวิตกกังวล การศึกษาชายหญิงกว่า 1,500 คนที่สหรัฐฯ เมื่อปี 2551 พบว่า พฤติกรรมอนารยะในที่ทำงานมีผลกระทบทางลบต่อสุขภาพกายและจิตของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการประชดประชัน ครหานินทา หรือเมินเฉย ประหลาดใจไหมล่ะ คนที่ทำงานกับเหยื่อพวกนี้ก็พลอยเสียสุขภาพไปด้วย "อาจเป็นผลของ 'ประสบการณ์ตกเป็นเหยื่อร่วม" เนื่องจากเห็นการกระทำที่เป็นอนารยะ หรือกลัวว่าตนเองอาจเป็นเหยื่อรายต่อไป" แซนดี ลิมแห่งมหาวิท ยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ผู้ร่วมเขียนรายงานการศึกษา กล่าว
3. ถามตอบตัวเอง หากคุณเสียเวลาส่วนใหญ่ไปกับการวิตกกังวลในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น บรรดาผู้แต่งหนังสือ แบบฝึกหัดผ่อนคลายและลดความเครียด แนะกลวิธีนี้เพื่อลดความกระ วนกระวายใจ หลังนอนหลับสบายและกินมื้อเช้าครบถ้วน ซึ่งเป็นสองกิจกรรมปัดเป่าความเครียดที่แม่พูดถูก ให้เขียนสิ่งที่กังวลลงในกระดาษ จากนั้นถามตัวเองว่าถ้าสิ่งที่อยากให้เกิดไม่เกิด หรือสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดกลับเกิด ผลลัพธ์เลวร้ายที่สุดที่จะเกิดกับฉันคืออะไร จากนั้นถามตัวเองว่าเรื่องดีๆ ที่อาจเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง ถ้าสิ่งที่ฉันอยากให้เกิดไม่เกิด หรือสิ่งที่ฉันไม่อยากให้เกิดกลับเกิด ค้นหาความคิดหรืออารมณ์เชิงบวกที่คุณจะดึงออกมาได้ขณะนึกหาทางออกอื่น
4. เจาะลึก เรื่องร้ายไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเสมอไป เวลาปลูกข้าวโพด เมื่อเริ่มต้นเจอความแห้งแล้งก็กลายเป็นประโยชน์ได้เพราะทำให้รากชอนไชลึกลงไปเพื่อหาน้ำ มีข้อดีอะไรบ้างไหมในเรื่องที่ทำให้คุณเครียด แทนที่จะคิดหมกมุ่นกับฝนแล้ง ดูสิว่าคุณจะสร้างความแข็งแกร่งขึ้นมาได้อย่างไรจากการ "มองหาน้ำ" มอนเดอร์กล่าวว่า การมองหาความหมายและคุณค่าจากประสบการณ์ที่พานพบช่วยทำให้สถานการณ์ที่ตึงเครียดพอทนได้มากขึ้น
5. สร้างตัวกระตุ้นภายใน งานวิจัยใหม่ของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันในเรื่องสมองระบุว่า ความเครียดเรื้อรังเป็นมูลเหตุให้สมองถูกทำลายเพราะเซลล์สมองหยุดสร้างเซลล์ใหม่ ข่าวดีนะหรือ สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ช่วยฟื้นฟูส่วนที่ถูกทำลายนั้นได้โดยเร่งสร้างเซลล์ใหม่ เพิ่มขึ้นมา ดร. ดัก ซอนเดอร์ส นักจิตวิทยาที่ให้คำปรึกษาผู้ป่วยและสอนที่มหาวิทยาลัย โทรอนโต แนะให้ทำกิจกรรมที่เรียกว่า "สร้าง เกาะแห่งความสงบ" โดยเลือกกิจกรรมที่ตัวเองชอบเพื่อให้สมองทำงานอย่างเพลิดเพลินจนเวลาผ่านไปเร็วแทบไม่รู้ตัว อาจวิ่ง ทำสวน หรือเล่นปริศนาอักษรไขว้ อะไรก็ได้ที่ช่วยหันเหความเครียดในใจออกไป "เหมือนการทำสมาธิกลายๆ เป็นวิธีพักฟื้นจิตใจและร่างกายจากสภาวะจะสู้หรือหนีซึ่งเป็นผลกระทบของความเครียดเรื้อรัง" อยากเพิ่มประสิทธิผลของการขจัดความเครียดไหม ลองหากิจกรรมที่เกิดประโยชน์ทั้งต่อร่างกายและจิตใจ ในกรณีศึกษาผู้ใหญ่เกือบ 20,000 คนในอังกฤษเมื่อปี 2551 พบว่า คนที่ออกกำลังทุกวัน แค่ออกกำลังง่ายๆด้วยการเดินก็ได้ มีโอกาสเครียดสูงน้อยกว่าคนที่ไม่ออกกำลังถึงร้อยละ 41
6. หาแรงบันดาลใจให้ตัวเอง บางคนพบว่าการอ่านเรื่องราวของคนอื่นช่วยให้รับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น มอนเดอร์แนะให้มองหาแรงบันดาลใจใกล้ๆตัว "การถอยกลับสักก้าวและทบทวนความสำเร็จของตัวเองในอดีตจะช่วยให้รับมือปัญหาได้ดีขึ้น" เขากล่าว "กรรมวิธีนี้ช่วยตอกย้ำให้ตัวเองว่า 'ฉันเคย รับมือกับเรื่องราวมากมายในอดีตมาแล้ว เรื่องนี้จะจัด การอย่างไรดี' "
7. แบ่งเบาภาระออกไป นักวิจัยที่มหาวิทยา ลัยแพทย์กราซในออสเตรียศึกษาเมื่อปี 2550 พบว่า การบำบัดพฤติกรรมแบบกลุ่มในระยะสั้นได้ผลลัพธ์ออกมาดี ช่วยลดแรงดันเลือดและความ เครียดโดยรวมของผู้รับการบำบัดที่เครียดเพราะงานหนัก "วางแผนกิจกรรมที่จะทำประจำวัน มีครอบครัวและเพื่อนคอยสนับ สนุนให้ลงมือทำกิจกรรมใหม่เหล่านี้ จะมีส่วนช่วยให้คุณรับมือกับความเครียดด้วยวิธีใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น" ซอนเดอร์สกล่าว |