วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Re: สรุปคำบรรยายวิชาเอกสารศึกษา


On Jun 21, 2013, at 10:54 AM, พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง wrote:

                   
<pastedGraphic.pdf>
รศ.ดร.พยอม   วงศ์สารศรี
วิชา เอกสารศึกษา
สรุปคำบรรยายโดย
พ.ต.ท.จักรกฤช  ชูคง
รอง ผกก.ฝ่ายปกครอง ๑ บก.ปค.
นักเรียนหลักสูตร ผกก.94
การแบ่งกลุ่มตามสายงาน 
การเรียนวิชาเอกสารศึกษา 
๑.การบรรยายและจัดแบ่งกลุ่มระดมความคิดกำหนดหัวข้อบทความ  กำหนดให้เขียนบทความขึี้นมา ๑ เรื่อง   แต่เดิมกำหนดให้มีการวิจัย   และพบว่ามีการลอกการวิจัยในที่และมีการเปลี่ยนกลุ่มตัวอย่าง  ทำให้เกิดประโยชน์น้อยมาก   และนำเรื่องเราที่มีประสบการณ์มาเขียนทำให้มีประโยชน์มากกว่า 
๒.อาจารย์วร....รัญ  ฯ จะพูดถึงการอ้างอิง  ถ้าไม่มีการอ้างอิงทำให้ขาด  แล้วมีการเข้ากลุ่ม   ออกเป็น ๑๐ กลุ่ม  แล้วจะมีการแบ่งกลุ่ม   วันนี้จะเป็นการแบ่งกลุ่มอัธยาศัย  แล้วมีข้อเสนอแนะบางประการ  แล้วมีบทความ ๕๐เปอร์เซนต์ทำให้เกิดความก้าวหน้าของท่าน  ขณะเดียวกันครั้งที่ ๓  เป็นหน้าที่ของ ดร.ชนกนาถฯ  เป็นเทคนิคการนำเสนอ  เวลาเขียนบทความแล้วมีการนำเสนองานหน้าชั้นทำให้เรื่องที่นำเสนอนั้นน่าสนใจอย่างไร  เทคนิคการนำเสนอก็จะมีประโยชน์ต่อท่าน  เพื่อนำเสนอให้กับประชาชนเพื่อนร่วนงานเพื่อให้มีหลักวิชาและเทคนิคอันเป็นประโยชน์    แล้วหลังจากนั้นก็จะมีการเข้ากลุ่ม  ตามครั้งที่ ๒ ที่แบ่งไว้   ก็จะมีการรายงานความก้าวหน้า ๕๐ เปอร์เซนต์  แล้ววิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็ง แล้วกำหนดความก้่าวหน้าเป็น ๑๐๐ เปอร์เซนต์  แล้วครั้งที่ ๔ เข้ากลุ่ม แล้วเข้ากลุ่มแล้วมีการมาพบเพื่อสอบถามปัญหาที่ท่านพบว่า  ในกลุ่มนั้นมีปัญหาอะไรบ้าง เราจะได้สามารถแก้ไขได้  จะได้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน   แล้วกลุ่มรายความก้าวหน้า ๑๐๐ เปอร์เซนต์ ว่าเรื่องใดสมควรที่จะนำเสนอความก้าวหน้า  ให้เสนอกลุ่มละ ๒ คน   การเสนอหน้าห้อง กลุ่มละ ๒ คน  แล้วกำหนดให้มีการส่งบทความฉบับสมบูรณ์ในครั้งหน้า คนละ ๓ ชุด   ไม่ต้องทำปก  แล้วจะมีการนำเอาไปเสนออีกครั้ง  แล้วจะมีการโหลดใน Online ส่งฉบับสมบูรณ์   แล้วนำไปเป็นข้อคิดปรับปรุงเพื่อให้เข้าสู่เกณฑ์การประเมินและวัดผล  และต้องมีซีดีกลุ่มละ ๑ แผ่น  ในกลุ่มจะต้องมีประธาน  มีการเลือกครั้งหน้า   ประธาน รองประธาน เลขา ผู้ช่วยเลขา เมื่อเพื่อนเขียน  แล้วจะส่งไฟล์ให้เพื่อนแล้วทำการไรท์เป็นซีดี   เป็ฯกลุ่มละ ๑๐ คน     เมื่อเช้าได้รับแจ้งว่ามีนักศึกษา ๑๕๐ คน 
ซีดีประกอบด้วยบทความ ๑๖ เรื่อง    ส่งไฟล์ข้อมูลให้กับฝ่ายเลขา   การส่งนั้นเป็นการส่งครั้งที่ ๕  เวลา ๐๙.๐๐ ถึง ๑๖.๐๐ น. มีการส่งบทความ ให้ส่ง ๓ ชุดแล้วมีซีดี   แล้วครั้งที่ ๕-๖  นำเสนอหน้าชั้น คนละ ๑๐ นาที เพื่อให้สามารถเสร็จสิ้นเวลา ๑๖.๐๐ น. ครึ่งเช้า ๑๐ คน ครึ่งบ่าย  เพื่อจะได้กลับบ้านได้เร็วขึ้น  เพราะว่าหมดเวลาไล่ลงเลย จะต้องมีการวางแผนให้ดี   ถ้าไม่วางประเด็นให้ดีก็จะหมดเวลาเสียก่อน    นั่นคือภาพรวมของวิชานี้ 
หลักการให้คะแนน
ตามหลักวิชา มีอิงเกณฑ์    เกณฑ์คือเกณฑ์ที่กำหนดไว้  Criterion Reference  คะแนนบทความเพียง ๖๐ คะแนน    มีคะแนนช่วย ๔๐ คะแนน (มาจากการเข้าห้องเรียน)  โดยส่วนกลางในหลักสูตร ผกก.นี้คือ ดร.ไวพจน์ฯจะเป็นคนให้คะแนนจากการเข้าชั้นเรียน ๒๐ คะแนน โดย ๔๐ คะแนนแบ่งออกเป็น สถาบันที่รับผิดชอบดูคนละ ๒๐ คะแนน    อีก ๒๐ คะแนนมาจากอาจารย์ประจำกลุ่ม  คือเนื้อบทความอาจจะไม่ใช่  แต่ละครั้ง  อาจารย์ประจำกลุ่มให้คะแนนโดยไม่ดูเนื้อบทความ  ดูการเข้าชั้น   แปลว่างานของแต่ละบุคคลถึง ๔๐ คะแนน  ได้มาจากการตั้งใจเรียนในชั้นเรียน     แต่ไม่ต้องเครียดมาก

  ปัจฉิมบท
-สิ่งสำคัญถ้าจะเขียนให้ได้ดีต้องไม่พะวงคะแนน
-วางแผนผังความคิดอย่างเป็นระบบและเป็นลำดับ
-มองทุกอย่างอย่างสัมพันธ์ครบถ้วน
-จิตวิญญาณของผู้สอนทุกคนมีความเมตตา  ตระหนักถึงอุดมการณ์และปณิธานในการเป็นครูเสมอ

บทความ  ARTICLE
-อยู่ระหว่าง 8-10 หน้า  ให้มองที่ 5 หน้า 
-เรียงความเรียนกว่า Assay เช่นว่า  ความใฝ่ฝันในอนาคตของฉัน
-เป็นรูปแบบการเขียนประเภทหนึ่ง
-เป็นข้อมูลจริง  ไม่ใช่เรื่องแต่งขึ้น   แต่เป็นข้อมูลความจริง  สมมุติท่านเขียนเรื่อง  อำนาจหน้าที่กับความเมตตา     แสดงว่าท่านมีอะไรบางอย่างที่มีประสบการณ์     เช่น  แม่ไปขโมยนมผงเพื่อนำมาเลี้ยงลูก   ท่านต้องถามว่า ท่านมีหน้่าที่เป็นสภาสังคมสงเคราะห์หรือไม่  ต้องทำอยู่บนพื้นฐานของเมตตาธรรม    แล้วช่วยเหลือในส่วนอื่นเช่น กรมสังคมสงเคราะห์     เช่นการสอนเรื่อง HR เช่น เป็นพี่คนโตต้องเลี้ยงน้องเยอะ  ต้องมองว่าเค้ามีคุณสมบัติกับงานหรือไม่  หรือเห็นเจ้าหน้าที่นักการของเรา   แล้วมีเงินน้อยไม่พอดี   ระดับของเงินเดือนก็คือระดับนั้นจะเท่ากับระบบปริญญาตรีไม่ได้    แต่ให้มีเงินเพิ่มอื่น   
-เป็นข้อเขียนขนาดสั้น  
-เป็นความเรียงของข้อเท็จจริง
-บทความไม่ใช่ข่าว
-ต้องแสดงจุดยืนและความคิดเห็นของผู้เขียน   เช่น ผู้เขียนมีจุดยืนและความคิดเห็นในเรือ่งดังกล่าวอย่างไรต้องแสดงออกมา    บางกรณ๊อาจเขียนเรื่องที่คล้ายคลึงกัน  แต่เขียนคนละที  จุดยืนและความคิดเห็นต้องแตกต่างกัน  เพราะคนเราจะ Copy ความคิดเห็น   บทความจะต้องแสดงความคิดเห็นของตนเอง   เช่น การเขียนเรื่องแรงจูงใจของข้าราชการตำรวจ แล้วไปหางานวิทยานิพนธ์  แบบนี้ไม่ใช่  
-บทความไม่ใช่เป็ฯการนำข้อความจากแหล่งอ้างอิงมาปะติดปะต่อกัน
-ต้องมีการวิเคราะห์สถานการณ์และเรื่องราวต่างๆ แล้วแทรกความคิดเห็นและจุดยืนของผู้เขียนเพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ
-การให้ผู้อ่านยอมรับจำเป็นต้องม่ีหลักวิชาอ้างอิงประกอบ
-การนำประสบการณ์ของผู้เขียนประกอบเป็ฯการแสดงจุดยืนที่ผู้เขียนมองว่าประสบความสำเร็จ ณ จุดนี้ผู้เขียนต้องดำเนินการวิเคราะห์และแทรกหลักวิชาการจากนักวิชาการ
-ข้อควรระวังอย่างค้นเรื่องเหมือนของตนแล้วคัดลอกมาใส่ในบทความของตนเอง

ประเภทของบทความ
๑.บทความทางวิชาการประเภททั่วไป
๒.บทความทางวิชาการประเภทงานวิจัย
บทความทางวิขาการ   Academic  Article 
-ยกประเด็นหนึ่งทางวิชาการมากล่าว
-เพื่อนำเสนอสิ่งใหม่
-เป็นการต่อยอดหรือทำให้แขนงวิชาชัดเจนขึ้น
-มีเจตนาที่จะปรับแนวคิดของผู้อ่าน
-มีเหตุผลที่พิสูจน์ได้
  เช่น  ตัวอย่าง เราอยุ่สถานีตำรวจ  มีโครงการวันพระสวดมนต์  มีหลักในการพัฒนาชุมชน  มีในหลักวิชานี้    แล้วท่านมีเจตนาที่จะปรับแนวความคิดของผู้อ่าน  ถ้ามีความคิดที่ดีขึ้น   หากเราใช้สมองพัฒนาขึ้น  ทำให้ผู้อ่านพัฒนาสมองไปด้วย     เช่น บางกรณีเป็น รอง ผกก.จร.
โครงร่างของบทความทางวิชาการประเภททั่วไป
ชื่อเรื่อง title
(ต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้
๑.ทำไมถึงเลือกเรื่องนี้ขึ้นมาเขียน 
๒.เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไร
๓.มีประสบการณ์และความรู้พอที่จะเขียนเรื่องดังกล่าวได้หรือไม่
๔.แหล่งอ้างอิงที่จะทำการค้นคว้า  สะดวกและง่ายพอหรือไม่  ต้องถามตัวเอง
๕.จุดประสงค์ในการเขียนบทความเพื่ออะไร  เพื่อใคร    (ผู้อ่านคือใคร  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการออกกฎหมาย)  
ส่วนเกริ่นนำ  Introduction    
มุ่งให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมเกี่ยวกับความสำคัญของเรื่องที่เขียน   ดังนั้นในตัวบทความจริง  จะเขียนคำนำก็ได้  ผู้อ่านก็จะทราบว่าเป็นการปูพรมความคิดต่างๆ  มุ่งให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมของเรื่องที่เขียน
มุ่งให้ผู้อ่านเข้าใจวัตถุประสงค์ของการเขียนบทความครั้งนี้  โดยต้องการสื่อให้กับประชาชนโดยหวังว่า  ถ้าเป็นเรื่องดีแล้วมาไปลงเวปไซด์ของวิทยาลัยการตำรวจ   ทำให้ประชาชนเข้าใจในเรื่อง
มุ่งให้ผู้อื่นเข้าใจข้อตกลงเบื้องต้นและข้อจำกัดบางประการของผู้เขียน
ส่วนเนื้้อเรื่อง  Body
-พื้นฐานทั่วไป
-วิเคราะห์ให้เหตุผล
-แสดงจุดยืนของผู้เขียน
-ข้อเสนอแนะในการแก้ไข / พัฒนา
ส่วนสรุป Summary
แนวทางการจัดทำ บทความ ในวิชาเอกสารศึกษา
-มีเอกสารอ้างอิงประกอบหรือไม่
-ต้องการสื่อสารถึงใคร  สื่อสารให้เพื่อนตำรวจ สื่อสารให้ผู้บังคับบัญชา  สื่อสารให้ระดับสูงทางการเมือง สื่อสารให้กับประชาชน   หรือสื่อสารกับใครก็ได้ที่เป็นผู้สนใจ
























































สรุปคำบรรยายวิชาเอกสารศึกษา