วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

คำแนะนำดีดีจากอาจารย์พรเพชร

หัวข้อสนทนา : คำแนะนำผู้เตรียบสอบผู้ช่วยฯ จากท่าน อ.พรเพชร วิชิตชลชัย 
ท่าน อ.พรเพชร วิชิตชลชัย ได้ให้คำแนะนำไว้ในกระทู้ที่ 812390
หัวข้อสนทนา : สอบผู้ช่วยมาหลายครั้งคะแนนขาดไม่เกิน 5 แต้มจะทำอย่างไรให้สอบติด
-------------------------------------------
การทำคะแนนสอบผู้ช่วยได้คะแนนเกือบได้ทุกครั้งแสดงว่ามีความรู้กฎหมายในระดับที่ควรจะสอบได้ เพราะข้อสอบผู้ช่วยมีน้อยข้อมากที่จะตอบถูกโดยฟลุ๊ก
การแก้ไขน่าจะทำโดยประเมินผลตัวเองโดยพิจารณาจากคะแนนที่ได้แต่ละข้อว่าเป็นไปตามเป้าหรือไม่ ถ้าไม่แสดงว่าเราตอบไม่สมบูรณ์ ต้องหาจุดแก้ไข
มีข้อสังเกตว่าข้อใดที่เราตอบถูกในขณะที่คนส่วนใหญ่ตอบไม่ถูก เราจะได้คะแนนดี แต่ถ้าข้อนั้นใครๆก็ตอบถูกแล้วเราก็ถูก การที่จะได้คะแนนสูงทำยากกว่า ยิ่งถ้าเราตอบผิดในขณะที่คนส่วนใหญ๋เขาถูกโอกาสได้ศุนย์มีมาก
ข้อสอบที่มีหลายประเด็น ไม่ตอบแยกประเด็น ตอบมั่วไปถูกบ้างผิดบ้างแล้วหลอกตัวเองว่าถูกครึ่งข้อ แต่ผลออกมาจริงแทบไม่ได้คะแนน เป็นเรื่องปกติ
การตอบข้อสอบหลายคนไม่ตั้งใจให้สมบูรณ์เพื่อได้คะแนนเต็ม เลขบทมาตราที่จำได้เช่นปวิพ.มาตรา 94 ก็ไม่กล้าเขียน ไม่กล้าจำ ไปหลงเชื่อคำแนะนำที่บอกว่าไม่จำเป็นก็เคยสอบได้มาแล้วเป็นต้น ให้ดูธงคำตอบของคณะกรรมการแล้วพิจารณาให้ดีว่า ทุกข้อทุกประเด็นเขาอ้างบทกฎหมายหรือไม่
เวลาทำคำตอบเราต้องถามตัวเองว่า คำตอบของเราได้ตอบโดยฟันธงผลของปัญหาที่ถามครบถ้วนหรือไม่ และได้ตอบโดยมีหลักกฎหมายที่ถูกต้องหรือไม่ การอ้างหลักกฎหมายให้ใส่เฉพาะตรงประเด็นที่เป็นคำตอบเท่านั้น ไม่ใช่อ้างทั้งมาตรา จะอ้างหลักกฎหมายก่อนแล้วนำข้อเท็จจริงมาปรับแล้วฟันธงผลของคำตอบก็ได้ หรือจะนำข้อเท็จจริงมาฟันธงก่อนแล้วตามด้วยหลักกฎหมายก็ได้ ไม่ผิดกติกา

ตัวอย่าง ธงคำตอบมี่ว่า "ศาลสามารถฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับเอกสารได้เพราะเข้าข้อยกเว้นตามปวิพ.มาตรา 93(4)"
เราควรตอบดังนี้ " ในปัญหาที่ว่าศาลจะฟังสำเนาเอกสารหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ได้หรือไม่ หลักกฎหมายเรื่องนี้คือปวิพ.มาตรา 94(3) ซึ่งบัญญัติว่า ................. ข้อเท็จจริงตามปัญหาปรากฎว่า เมื่อตอนโจทก์ได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวและนำสืบเอกสารนั้น จำเลยไม่ได้คัดค้านเอกสารนั้นว่าไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในปวิพ.มาตรา125 ก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จ จึงเข้าข้อยกเว้นที่ศาลจะรับฟังสำเนาเอกสารได้ตามมาตรา93(4)ดังกล่าวข้างต้น "

หรือจะตอบกลับกันโดยนำข้อเท็จจริงตามปัญหามาฟันธงก่อนแล้วตามด้วยหลักฎหมายของมาตรา93(4) ก็ได้

การตอบข้อสอบที่ถามปวิพ.มาตรา 94 ควรทำคะแนนได้ดีเมื่อถูกธง แต่ได้ เพียง 5 หรือ 6 แสดงว่าตอบไม่สมบูรณ์ ได้เคยแนะนำไว้แล้ว ในเวปเนติ หรือในกระทู้ในบอร์ดนี้ ลองค้นหาดู

วิธีการตอบข้อสอบ ปวิพ.มาตรา 94 
ในโอกาสขึนปีใหม่ไทย ไม่ได้ไปไหน ตรวจข้อสอบเนติ เลยคิดว่าน่าจะถือโอกาสนี้แนะนำการตอบข้อสอบกฎหมายพยาน เรื่องปวิพ. มาตรา 94

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าโอกาสของการออกมาตรา 94 มีสูงมากในทุกสนามสอบ หลังจากไม่ออกมา3/4ปี ปีนี้ก็ออกตามคาด เมื่อใดมีการออกมาตรานี้ควรดีใจเพราะโอกาสทำคะแนนได้สูงมีมาก

มีข้อสังเกตของการเตรียมพร้อมและการตอบข้อสอบดังนี้

1.ต้องท่องมาตรา 94 ให้ขึ้นใจเครียมพร้อมไว้

2.การตอบข้อสอบมาตรานี้ต้องอ้างมาตรา 94เสมอ ไม่อ้างไม่ได้เพราะใครๆก็รู้

3.วิธีการตอบไม่ใช่การใส่ตัวบทมาตรา 94 ไว้ในตอนต้นของคำตอบ เขียนไปเสียเวลาเปล่า ห้ามลอกตัวบทไว้ในตอนต้นของคำตอบ

4.เริ่มตอบด้วยการวิเคราะห์ในประเด็นแรกว่า เป็นเรื่องที่อยู่ในบังคับของมาตรา 94 หรือไม่เสียก่อน ซึ่งแน่นอนต้องใส่หลักกฎหมายอันเป็นข้อความตอนแรกของมาตรา 94 แล้วนำข้อเท็จจริงตามคำถามมาปรับ เช่นสัญญาจะซื่อขายตามปัญหาอยู่ในบังคับของมาตรา 94 หรือไม่

5.คำถามมาตรา94มักมี 2 ส่วนเป็นข้อ ก. และ ข. ต้องแยกตอบให้ชัดเจน และย่อหน้า

6.เมื่อวินิจฉัยตอนแรกว่าอยู่ในบังคับของมาตรา 94 แล้ว ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่า จะเป็นการสืบเพื่อ เปลี่ยนแปลงแก้ไข ตัดทอน หรือเพิ่มเติมข้อความในเอกสารหรือไม่

7.แต่ต้องระลึกไว้เสมอว่า จะสืบพยานได้ต่อเมื่อเป็นการสืบประกอบข้ออ้างของคู่ความ ซึ่งหมายความว่าต้องตั้งเป็นประเด็นไว้ ดังนั้นต้องดูคำถามให้ดีว่ามีประเด็นหรือไม่

8. การวินิจฉัยต้องชัดเจน ว่าเป็นการนำสืบซึ่งมีผลในเรื่องใด ต้องฟันธงให้ชัดเจนว่าเป็นการแก้ไข หรือเป็นการเพิ่มเติม หรือเป็นการตัดทอน ห้ามพูดรวมๆไปเพราะจะได้คะแนนน้อย ผู้ตรวจบางตนเข้มงวดมาก

9.ข้อสอบเรื่องการนำสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขมักจะวินิจฉัยได้ง่ายกว่า การนำสืบเพิ่มเติม

10.การนำสืบเพิ่มเติมมักจะต้องพิจารณาเพื่อหาเส้นแบ่งระหว่าง การสืบเพิ่มเติมกับการนำสืบข้อตกลงพิเศษต่างหากจากสัญญา หลักคิดมีว่าปกติไม่ว่าจะเป็นสัญญากู้ หรือสัญญาซื้อขาย หากเป็นเรื่องที่ปกติจะต้องเขียนไว้ในสัญญาประเภทนั้นๆ แล้วไม่ได้เขียน เช่นนี้จะสืบพยานบุคคลว่ามีข้อความเพิ่มเติมไม่ได้ การนำสืบข้อตกลงพิเศษต่างหากจากสัญญาหมายถึงมีการตกลงในเรื่องอื่นๆเพิ่มเช่นมีการตกลงเรื่องการสร้างถนนผ่านที่ดิน เป็นต้น

11.หากเป็นการนำสืบหักล้างเอกสารอันเป็นข้อยกเว้นของมาตรา94 วรรคท้าย ก็ต้องวางหลักกฎหมายให้ชัดเจน แล้ววินิจฉัยว่า เข้าข้อยกเว้นเรื่องใด เป็นการนำสืบว่าเอกสารปลอม หรือเป็นการสืบว่าหนี้ตามสัญญาไม่สมบูรณ์ เวลาวางหลักกฎหมายเขียนรวมได้ แต่เวลาวินิจฉัยต้องชัดเจน ที่สำคัญอย่าลืมก็คือว่ามีข้ออ้างหรือประเด็นหรือเปล่า

12. สรุปแล้ว ประโยชน์ของการท่องมาตรานี้ได้คือ จะนำหลักกฎหมายแต่ละตอนมาวินิจฉัยได้ตามประเด็นของคำถาม ข้อสอบมาตรานี้ไม่ควรใช้เวลาเกิน 15 นาที เพื่อเหลือเวลาทำข้ออื่น เนื่องจากหลักกฎหมายจะเขียนได้ไหลลื่น

13.อย่าตกม้าตาย ต้องเขียนในคำตอบให้ชัดเจนว่าเป็นการห้ามรับฟังพยานบุคคล ไม่ใช่พยานหลักฐานอันเป็นคำรวม

14.อย่าลืมว่าการตอบปัญหากฎหมายในแต่ละเรื่องแต่ละตอนต้องประกอบด้วยหลักกฎหมายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อความในมาตราเสมอ

15.ข้อเท็จจริงในคำถามมีความสำคัญเพราะ ปกติแล้วต้องนำข้อเท็จจริงในคำถามมาตอบเพื่อปรับหลักกฎหมายเสมอ แต่มีข้อยกเว้นหากไปเจอข้อสอบที่ไม่ได้มาตรฐานนำข้อเท็จจริงที่ไม่เกี่ยวมาใส่ไว้ในคำถาม ข้อสอบเนติได้มาตรฐาน99% 

จากคุณ : อ.พรเพชร วิชิตชลชัย - [14 เม.ย.51 19:29]
++++++++++++++++++++++++++++++
ขอขอบพระคุณ ท่าน อ. พรเพชร สำหรับคำแนะนำในการตอบปัญหากฎหมายครับ


N a-K honW anY ou'llN everW alkA lone 
จากคุณ : Na-KhonWan You'll Never Walk Alone - [15 ธ.ค.53 17:57]
ความคิดเห็นที่  35 : 
ขอบคุณ คุณ คห 34 เป็นประโยชน์มาก 
จากคุณ : 32 - [16 ธ.ค.53 09:46]
ความคิดเห็นที่  36 : 
ขอบคุณความเห็นที่ 34 ที่นำเรื่องที่อาจารย์เคยอธิบายไว้มาตอบอีกครั้ง

ตอบ 27 บัญชีระบุพยานบุคคลระบุชื่อไว้ก่อนก็ได้ครับ โดยอ้างว่ากำลังหาที่อยู่ที่แน่นอน แตเมื่อถึงเวลาสืบพยานหากไม่สามารถนำตัวมาได้ ศาลก็คงสั่งตัดพยานปากนี้

ตอบ 28 คดีอาญาน่าจะอ้างสรรพเอกสารไม่ได้แล้วนะครับตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ส่วนฎีกาปี 2552 อาจารย์หมายเหตุไว้แล้วนะครับ คอยติดตามในฎีกาสำนักงานศาส

ตอบ 29 ไม่ผืดกติกาครับที่จะถามเรื่องอื่น แต่ถ้าไม่ใช่วิชาพนานต้องขอเวลาค้นคว้าหน่อย ถ้าตอบผิดจะเสียหาย
อนึ่ง คำถามทั้งหลายมาร่วมด้วยช่วยกันตอบได้นะครับ ไม่ต้องรออาจารย์ เพราะอาจารย์ใช้เครื่องที่เนติตอบเวลามาสอน และปกติจะมาวันเสาร์

ตอบ 30
ดูมาตรา 226/5 นะครับ มีพยานหลักฐาน 2 ประเภท คือ คำพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และคำเบิกความของพยานที่เคยเบิกความไว้ในคดีอื่น ซึ่งศาลอาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานๆได้ในชั้นพิจารณา หากมีเหคุจำเป็นหรือมีเหตุอันสมควร
แต่ต้องระวังคือ การที่ศาลจะฟังนั้นต้องมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควร องค์ประกอบนี้สำคัญมาก
เคยมีฎีกาก่อนที่จะมีกฎหมายมาตรา 226/5 ว่า ศาลรับฟังคำให้การในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมาใช้ในชั้นพิจารณาได้ แต่มีข้อสังเกตว่าเป็นการรับฟังที่เป็นผลร้ายกับโจทก์
ดังนั้นถ้าจะนำมารับฟังคำให้การชั้นไต่สวนมูลฟ้องให้เป็นผลร้ายแก่จำเลย อาจารย์เห็นว่าไม่น่าจะมีเหตุสมควรที่ศาลจะอ้างครับ

คำถามอื่นยกยอดไปตอบวันเสาร์นะครับ

จากคุณ : อ.พรเพชร วิชิตชลชัย - [16 ธ.ค.53 12:23]
ความคิดเห็นที่  37 : 
ขอบคุณครับอาจารย์ที่ท่านอาจารย์แวะมาให้ความรู้และกำลังใจนักศึกษา หรือลูกศิษย์ที่กำลังเตรียมสอบในสนามต่างๆ (เวปแห่งนี้น่าจะมีคุณค่าขึ้นเหมือนสมัยก่อนๆประมาณ 7 ปีที่แล้ว ที่บรรยายการช่วยเหลือเกื้อกูลดีมากๆ อยากให้เป็นเวปแห่งนี้เป็นกฎหมายที่ดีและมีคุณค่าต่อๆไปครับ) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น