วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบน(ASD) เมื่อมีรอยรั่วระหว่างหัวใจห้องบนขวากับห้องบนซ้าย

ช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบน(ASD) เมื่อมีรอยรั่วระหว่างหัวใจห้องบนขวากับห้องบนซ้าย
June 19, 2008 at 9:00 pm · Filed under หัวใจ, โรคหัวใจ

ช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบน เป็นความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิตตั้งแต่แรกเกิดครับ ที่มีผนังกั้นหัวใจระหว่างห้องบนซ้ายกับห้องบนขวาปิดไม่สนิท



แสดงช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนทำให้เลือดไหลผ่านย้อนไปมาได้

สาเหตุของช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบน

ช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดครับ ในระบบไหลเวียนโลหิตของเด็กในครรภ์ปกติจะมีรูเปิดอยู่ เพื่อให้เลือดนั้นไม่ต้องผ่านปอด (ระหว่างอยู่ในครรภ์ เลือดจะถูกฟอกผ่านรกครับ โดยปอดจะยังไม่ทำงาน) ดังนั้นเลือดจะไม่ผ่านปอดโดยเลือดจะเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา เข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายแล้วผ่านลงไปยังหัวใจห้องล่างซ้าย แล้วเลือดก็จะถูกสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายต่อไปครับ

และเมื่อเด็กเกิดออกมา ช่องโหว่นี้จะถูกปิด ถ้าไม่ปิด เลือดก็จะไหลจากหัวใจห้องบนซ้ายไปยังห้องบนขวา หรือไหลจากหัวใจห้องบนขวาไปยังหัวใจห้องบนซ้าย

อาการนั้นสามารถเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดก็ได้หลังเกิดครับ ถ้าลูกของคุณเป็นโรคช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบน จะเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนดังนี้ครับ
-เลือดไปยังปอดมากเกินไป
-หัวใจล้มเหลว
-หัวใจห้องบนสั่นระริก
-อัมพฤกษ์
-ความดันเลือดในปอดสูง

อาการ

ติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยๆ
เหนื่อย หายใจลำบาก
เมื่อมีกิจกรรม จะเหนื่อยมากขึ้น หรือดูดนมแล้วเหนื่อยมากขึ้น
ในเด็กโต จะรู้สึกใจสั่น
การตรวจวินิจฉัย

การตรวจด้วยหูฟัง จะช่วยให้ได้ยินเสียงหัวใจที่ผิดปกติครับ และจะได้ยินเสียงเลือดที่ไหลผ่านลิ้นหัวใจไปยังปอดมากขึ้น หรืออาการของหัวใจล้มเหลวครับ

ถ้าช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนมีขนาดใหญ่ ก็จะทำให้เลือดที่ไหลผ่านลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนขวา และห้องล่างขวานั้นมากขึ้นครับ

การตรวจเพิ่มเติม

เอกซเรย์ปอด เพื่อดูว่ามีลักษณะของหัวใจโต หรือหัวใจล้มเหลวหรือไม่
การตรวจอัลตราซาวน์หัวใจ (echocardiogram) เพื่อดูการบีบตัวของหัวใจ และดูทิศทางการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ
การตรวจอัลตราซาวน์หัวใจผ่านหลอดอาหาร
การสวนหัวใจ
การตรวจโดยใช้ Doppler เพื่อเป็นการดูการท้ศทางการไหลของเลือด
การฉีดสีดูหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ
การตรวจภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อตรวจว่ามีรูรั่วระหว่างหัวใจห้องบนขวากับห้องล่างขวาหรือไม่
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูว่ามีการบีบตัวที่ผิดจังหวะ หรือมีภาวะหัวใจห้องบนสั่นระริกหรือไม่
การรักษา
มักจะไม่จำเป็น ถ้าไม่มีอาการ หรือช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนมีขนาดเล็ก แต่ว่าถ้าช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนมีขนาดใหญ่จะมีวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดครับ

โดยทั่วไปแล้วมีเทคนิคมากมายที่จะช่วยให้ช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนปิดโดยที่ไม่ต้องผ่าตัด โดยการใส่อุปกรณ์เข้าไปที่หัวใจโดยใช้สายสวน คุณจะมีบาดแผลเล็กๆที่ขาหนีบครับ หลังจากนั้นก็จะใส่สายเข้าไปในห้องหัวใจ หลังจากนั้นก็จะทำการปิด



การรักษาโดยใช้สายสวน แล้วใส่อุปกรณ์เพื่อทำการปิดรอยรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจครับ
แต่ว่าไม่ใช่ช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนทุกกรณีจะใช้วิธีนี้ไดนะครับ เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดหัวใจอักเสบได้ ดังนั้นจึงควรได้รับการทำฟัน หรือได้รับยาปฎิชีวนะก่อนเพื่อลดความเสี่ยงนั้น

ถ้าช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนมีขนาดเล็ก ถ้าไม่มีอาการ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษาครับ แต่ถ้าช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบนมีขนาดใหญ่ก็สามารถทำให้เกิดอาการได้

ภาวะแทรกซ้อน

ความดันเลือดในปอดสูง
หัวใจบีบตัวผิดจังหวะ
หัวใจล้มเหลว
Permalink

--------------------------------------
ตอบคุณศรายุทธ์(ตอนที่1)
โรคผนังหัวใจรั่วด้านบน เราเรียกว่า Atrial septal defect แพทย์ใช้ตัวย่อว่า ASD
โรคผนังหัวใจรั่วด้านล่าง เราเรียกว่า Ventricular septal defect แพทย์ใช้ตัวย่อว่า VSD (รูรั่วจะอยู่ที่ผนังหัวใจที่กั้นหัวใจห้องล่างซ้าย-ขวา)
.....ถามว่าปิดเองได้ไหม
กรณี ASD อาจปิดเองได้ภายใน 1 ปีแรก โดยเฉพาะถ้ารูมีขนาดเล็กว่า 5 มิลลิเมตร
ส่วน VSD ก็เช่นกัน อาจปิดเองได้ถ้ารูไม่ใหญ่มาก
ส่วนโอกาสปิดเองมากเท่าไร ไม่มีข้อมูลที่เป็นตัวเลขชัดเจน แต่ยิ่งรูเล็กโอกาสปิดยิ่งมีมากขึ้น
.....โรคแทรกซ้อนมีอะไรบ้าง
โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในรายที่เป็น ASD และ VSD (ไม่จำเป็นต้องเกิดทุกราย)
1.หัวใจล้มเหลว เป็นผลจากเลือดไหลลัดจากหัวใจด้านซ้าย ไปด้านขวา ในปริมาณมากๆ.....วิธีสังเกตว่า เด็กทารกมีหัวใจล้มเหลวคือ หนังศีรษะบวมน้ำ,ท้องโต,เด็กเคลื่อนไหวช้าลง
2.การเจริญเติบโตช้า เด็กจะตัวเล็ก มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน
3.หัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation พบได้ในรายที่เป็น ASD
4.อาการเขียว (ในทางการแพทย์ เรียกว่า cyanosis) พบน้อยมาก ในกรณีของโรคหัวใจ ASD และ VSD พบเฉพาะในรายที่แรงดันเลือดในปอดสูงมากจนเกิดการไหลของเลือดย้อนกลับทางรูรั่ว ทำให้เลือดที่ยังไม่ได้ไปฟอกที่ปอดซึ่งเป็นเส้นเลือดดำ ไหลย้อนผ่านทางรูรั่วไปที่หัวใจด้านซ้าย ทำให้เด็กเขียว
.....ถ้าพบภาวะนี้ ต้องรีบส่งรพ.ทันที เพราะเด็กอาจเสียชีวิตได้
5.แรงดันเลือดในปอดสูง (ทางการแพทย์เรียกว่า pulmonary hypertension)ทำให้มีอาการเหนื่อยง่าย
6.ปอดอักเสบติดเชื้อ เลือดที่รั่วผ่านผนัง ทำให้เลือดไปที่ปอดมากขึ้นกว่าปกติ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในปอดมากขึ้น

__________________
มีปัญหาโรคหัวใจ ที่นี่มีคำตอบ...http://www.thaiheartclinic.com



...........Jackie.........
Police Lieutenant Colonel chakgrid chukong
pan tram rod trow jag grid chu kong

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น