วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฏีกาเกี่ยวกับเบี้ยปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2539


เงินที่ธนาคารโจทก์ได้ผ่อนผันจ่ายไปก่อนตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดและคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยขอสินเชื่อบัตรเครดิตจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการตลอดจนเบิกเงินสดจากเครื่องบริการนั้นไม่ได้กำหนดเวลาที่แน่นอนว่าให้จำเลยจะต้องจ่ายคืนให้แก่โจทก์เมื่อใดเป็นแต่เพียงว่าจำเลยยอมผูกพันตนที่จะจ่ายคืนให้พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะเศรษฐกิจสังคมและนโยบายการเงินของประเทศเป็นการกำหนดดอกเบี้ยกันไว้ล่วงหน้าถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นแล้วและไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา654ซึ่งห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปีเพราะมิใช่เป็นเรื่องกู้ยืมและโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์เป็นสถาบันการเงินข้อตกลงดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายจำเลยต้องเสียดอกเบี้ยไปตามข้อตกลงนั้นจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา379

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ข้อสอบวิแพ่ง

ก) โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาจ้างทำของจำนวน 1,000,000 บาท จำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้วมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดตามกฎหมาย โจทก์มีคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 4 สิงหาคม 2557 ครั้นถึงวันนัดโจทก์และจำเลยมาศาล จำเลยแจ้งต่อศาลชั้นต้นว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดีและยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ โจทก์ไม่ค้าน ศาลชั้นต้นเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยมิได้เป็นไปโดยจงใจ จึงกำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การภายใน 7 วัน แล้วเลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 5 กันยายน 2557 ปรากฏว่าจำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งศาล โจทก์มีคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดอีกครั้ง ต่อมาในวันนัดโจทก์และจำเลยมาศาล จำเลยแจ้งต่อศาลชั้นต้นว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดีพร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยอ้างว่าระหว่างระยะเวลา 7 วันที่จำเลยต้องยื่นคำให้การจำเลยป่วยกระทันหันต้องเข้ารับการผ่าตัดโดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง โจทก์ไม่ค้านศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยไม่ได้ดำเนินการไต่สวนคำร้องของจำเลย แล้วสืบพยานโจทก์ ในระหว่างสืบพยานโจทก์ จำเลยไม่ได้แจ้งต่อศาลชั้นต้นว่าจะถามค้านพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่าจะถามค้านหรือไม่และไม่ได้ให้จำเลยถามค้าน เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง
ให้ท่านวินิจฉัยว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยไม่ได้ไต่สวนคำร้องของจำเลยและไม่ได้ให้จำเลยถามค้านพยานโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

(ข) หากกรณีตาม (ก) ในวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 4 สิงหาคม 2557 ศาลชั้นต้นเห็นว่า การขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยเป็นไปโดยจงใจ จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ จำเลยโต้แย้งคำสั่งไว้แล้วใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน 
ให้ท่านวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฎีกาต่อไปหรือไม่

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Rr




ส่ง​จาก Samsung ​Mobile

10344/2550

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พิเคราะห์แล้ว ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ จำเลยกับพวกอีกสองคนขับรถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนไปจอดที่หน้าร้านค้าของนางสุณีผู้เสียหาย แล้วจำเลยลงจากรถเข้าไปในร้านใช้อุบายขอซื้อกระดาษทิสชูและปลั๊กไฟฟ้า เมื่อนางสาวนิภาบุตรสาวเดินไปหยิบปลั๊กไฟฟ้านั้น จำเลยเดินตามเข้าไปด้วย ขณะนางสาวนิภากำลังหยิบสินค้าและเผลอนั้น พวกของจำเลยอีกคนหนึ่งลงจากรถเข้าไปลักบุหรี่จำนวน 7 หีบ ราคา 1,918 บาท ซึ่งวางอยู่ในตู้หน้าร้านขึ้นรถหลบหนีไป ส่วนจำเลยขึ้นรถไม่ทันและถูกผู้เสียหายกับพวกจับกุมไว้ได้ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยได้กระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์หรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยใช้อุบายเข้าไปขอซื้อสินค้า เมื่อนางสาวนิภาไปหยิบสินค้าและเผลอ พวกของจำเลยลงจากรถลักบุหรี่ไปจากร้านค้าของผู้เสียหายนั้น ได้ความว่านางสาวนิภาและนายวิษณุซึ่งอยู่ในร้านค้ามิได้รู้เห็น แสดงว่า พวกของจำเลยลอบลักหยิบเอาบุหรี่ไปโดยไม่ให้บุคคลในร้านเห็น แม้ผู้เสียหายซึ่งอยู่ในร้านตัดผมฟากถนนฝั่งตรงข้ามจะเห็นเหตุการณ์ขณะพวกของจำเลยลงจากรถเข้าไปลักบุหรี่ก็ตาม แต่ก็ได้ความว่า ผู้เสียหายอยู่อีกฟากถนนและเห็นเหตุการณ์ในระยะห่าง 20 เมตร ตามแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุเอกสารหมาย จ.2 ลักษณะการกระทำดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าพวกของจำเลยเอาบุหรี่ของผู้เสียหายไปต่อหน้าผู้เสียหาย การกระทำของพวกของจำเลยไม่เป็นการฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันวิ่งราวทรัพย์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย

ฏีกาเกี่ยวกับพระธรรมนูญศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5802/2554

 แจ้งแก้ไขข้อมูล
ศาลชั้นต้นให้โอกาสแก่จำเลยทั้งสองในการผ่อนชำระหนี้และเลื่อนการฟังคำพิพากษาไป จึงมีผลเท่ากับมีคำสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณาไป เพราะเมื่อถึงกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษา ศาลชั้นต้นต้องสอบถามโจทก์และจำเลยทั้งสองก่อนว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ เพื่อประกอบดุลพินิจว่าจะให้โอกาสจำเลยทั้งสองผ่อนชำระหนี้ต่อไปหรือมีคำพิพากษาในวันดังกล่าว จึงหาใช่การพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้เสร็จสิ้นแล้วไม่ ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาในวันนัดฟังคำพิพากษาที่เลื่อนมาว่า ศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับการชำระหนี้ตามข้อตกลง จำเลยทั้งสองแถลงว่าได้นำเงินบางส่วนมาวางต่อศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ และขอให้โอกาสจำเลยทั้งสองผ่อนชำระหนี้ต่อไป แต่โจทก์แถลงคัดค้านไม่ยอมรับเงินที่จำเลยทั้งสองวางศาลเพราะจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ ศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง ดังนี้ คดีจึงยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น มิใช่อยู่ระหว่างการทำคำพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 29 ผู้พิพากษาอีกคนในศาลชั้นต้นที่ได้รับมอบหมายจากผู้พิพากษาหัวหน้าศาลให้นั่งพิจารณาคดีแทนองค์คณะพิจารณาคดีเดิมในวันนัดฟังคำพิพากษาดังกล่าว จึงเป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 28 (3)
---------

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9585/2554

 แจ้งแก้ไขข้อมูล
คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ เนื่องจากผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี โดยมีผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) การที่ศาลอุทธณ์ภาค 9 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่มิได้สั่งให้ทำคำพิพากษาใหม่แต่เพียงประการเดียว ถือได้ว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากฎีกาของจำเลยว่า ผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่ จึงเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดี นั้นไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไปได้ ซึ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 28 (3) ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้นซึ่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมอบหมายนั่งพิจารณาคดีแทนต่อไปได้ เมื่อผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมอบหมายให้ ว. นั่งพิจารณาคดีแทน ว. จึงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและทำคำพิพากษาได้ กรณีมิใช่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ในระหว่างการทำคำพิพากษาทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจทำคำพิพากษาในคดีต่อไปได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 29 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22056/2555

ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) บัญญัติให้ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 326, 328 โดยบรรยายฟ้องรวมกันมา จึงเป็นกรณีที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 ด้วยก็ตาม แต่หากพิจารณาได้ความตามฟ้อง ศาลต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 328 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. 90 เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท กรณีจึงเกินอำนาจศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ที่โจทก์ฎีกาว่า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 เห็นได้ว่าศาลสามารถที่จะลงโทษจำเลยในบทมาตราที่ถูกต้องได้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับรับฟ้องไว้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. แล้ว หากศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์สืบสมแต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ซึ่งตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองรวมการกระทำความผิดหลายอย่าง และแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้ เห็นได้ว่าศาลชั้นต้นพิจารณารับฟ้องโดยชอบมาแต่ต้นแล้วนั้น เห็นว่า ข้อกฎหมายที่โจทก์ทั้งสองยกขึ้นฎีกาเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องซึ่งเป็นคนละกรณีกับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้น และการจะนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับนั้น ศาลชั้นต้นต้องมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้เสียก่อน เมื่อศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้วจึงไม่สามารถนำบทบัญญัติดังกล่าวมากล่าวอ้างได้ว่าศาลชั้นต้นพิจารณารับฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยชอบแล้ว

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

แบบฝึกบุคคลท่ามือเปล่า คำถาม

   แบบทดสอบวัดความรู้เรื่องแบบฝึกบุคคลท่ามือเปล่า ตามแบบฝึกบุคคลท่ามือเปล่า ตร. (บก.ปค.) 

ชื่อ นรต................................................................................................ สังกัด หมวด.......... กองร้อยที่................. ปค.๑ บก.ปค. วันที่.............../................../................


๑.ข้อใดถูกต้องที่สุด ท่าวิ่งจากการเดิน ใช้คำบอกว่า “ว่ิง,หน้า,วิ่ง” ตามคำแนะนำสำหรับผู้ฝึกในการฝึกหัดท่าวิ่งจากการเดินในแบบฝึกบุคคลท่ามือเปล่าฯ
ก.ในการฝึกหัดท่าวิ่งจากการเดิน ให้ใช้คำบอกว่า “วิ่ง” ในขณะที่เท้าซ้ายตกถึงพื้นและให้ใช้คำบอกว่า “หน้า” เมื่อเท้าขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง และคำบอกว่า “วิ่ง” เมื่อเท้าขวาตกถึงพื้น
ข.ในการฝึกหัดท่าวิ่งจากการเดิน ให้ใช้คำบอกว่า “วิ่ง” ในขณะที่เท้าข้างใดข้างหนึ่งตกถึงพื้นก็ได้และให้ใช้คำบอกว่า “หน้า” เมื่อเท้าอีกข้างตกถึงพื้น และคำบอกว่า “วิ่ง” เมื่อเท้าข้างที่ตกถึงพื้นในคำบอกว่า “วิ่ง” ครั้งแรก ตกถึงพื้นอีกครั้ง
ค.ในการฝึกหัดท่าวิ่งจากการเดิน ให้ใช้คำบอกว่า “วิ่ง” ในขณะที่เท้าขวาตกถึงพื้นและให้ใช้คำบอกว่า “หน้า” เมื่อเท้าขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง และคำบอกว่า “วิ่ง” เมื่อเท้าขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง
ง.ในการฝึกหัดท่าวิ่งจากการเดิน ให้ใช้คำบอกว่า “วิ่ง” ในขณะที่เท้าซ้ายตกถึงพื้นและให้ใช้คำบอกว่า “หน้า” เมื่อเท้าซ้ายตกถึงพื้นอีกครั้ง และคำบอกว่า “วิ่ง” เมื่อเท้าซ้ายตกถึงพื้นอีกครั้ง
จ.มีข้อถูกมากกว่าสามข้อ
pastedGraphic.pdf๒.ท่าพักตามแบบฝึกบุคคลท่ามือเปล่ามี ๔ ท่า ได้แก่
ก.ท่าพักตามระเบียบ,ท่าพักตามปกติ,ท่าพักตามสบาย,ท่าพักแถว
ข.ท่าปกติพัก,ท่าตามระเบียบพัก,ท่าพักปกติพัก,ท่าพักแถวพัก
ค.ท่าพักตามระเบียบ,ท่าพักตามปกติ,ท่าตามสบายพัก,ท่าพักแถว
ง.ท่าตามระเบียบพัก,ท่าพักตามปกติ,ท่าพักตามสบาย,ท่าพักแถว
จ.ไม่มีข้อใดถูก
pastedGraphic_1.pdf๓.ข้อใดถูกต้องที่สุด  สำหรับการปฏิบัติท่าหันในเวลาเดินในกรณีฝึก ท่าขวาหันในเวลาเดิน
ก.การใช้คำบอกคำสั่งว่า “ขวา-หัน” (คำบอกแบ่ง) โดยมีคำแนะนำสำหรับผู้ฝึก ในการฝึกหัดท่าขวาหันในเวลาเดิน  ให้ใช้คำบอกว่า “ขวา” ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้น และให้ใชัคำบอกว่า “หัน”ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง  โดยการปฏิบัติขณะหมุนตัวในท่าขวาหันในเวลาเดิน  มือทั้งสองข้างยังคงกำหลวม
ข.การใช้คำบอกคำสั่งว่า “ขวา-หัน” (คำบอกแบ่ง) โดยมีคำแนะนำสำหรับผู้ฝึก ในการฝึกหัดท่าขวาหันในเวลาเดิน  ให้ใช้คำบอกว่า “ขวา” ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้น และให้ใชัคำบอกว่า “หัน”ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง  โดยการปฏิบัติขณะหมุนตัวในท่าขวาหันในเวลาเดิน  มือทั้งสองข้างเหยียดตรงอยู่ข้างลำตัว  ข้อมือไม่หัก พลิกข้อศอกไปข้างหน้าเล็กน้อยจนไหล่ทั้งสองข้างตึงและเสมอกันกับนิ้วมือทั้งสองข้างเรียงชิดติดกัน  นิ้วกลางแตะที่ตรงกึ่งกลางขาท่อนบนประมาณแนวตะเข็บกางเกง เปิดฝ่ามือด้านนิ้วก้อยออกไปด้านข้างเล็กน้อย ก.การใช้คำบอกคำสั่งว่า “ขวาหัน” (คำบอกรวด) โดยมีคำแนะนำสำหรับผู้ฝึก ในการฝึกหัดท่าขวาหันในเวลาเดิน  ให้ใช้คำบอกว่า “ขวา” ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้น และให้ใชัคำบอกว่า “หัน”ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง  โดยการปฏิบัติขณะหมุนตัวในท่าขวาหันในเวลาเดิน  มือทั้งสองข้างยังคงกำหลวม
ค.การใช้คำบอกคำสั่งว่า “ขวา-หัน” (คำบอกเป็นคำๆ) โดยมีคำแนะนำสำหรับผู้ฝึก ในการฝึกหัดท่าขวาหันในเวลาเดิน  ให้ใช้คำบอกว่า “ขวา” ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้น และให้ใชัคำบอกว่า “หัน”ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง  โดยการปฏิบัติขณะหมุนตัวในท่าขวาหันในเวลาเดิน  มือทั้งสองข้างเหยียดตรงอยู่ข้างลำตัว  ข้อมือไม่หัก พลิกข้อศอกไปข้างหน้าเล็กน้อยจนไหล่ทั้งสองข้างตึงและเสมอกันกับนิ้วมือทั้งสองข้างเรียงชิดติดกัน  นิ้วกลางแตะที่ตรงกึ่งกลางขาท่อนบนประมาณแนวตะเข็บกางเกง เปิดฝ่ามือด้านนิ้วก้อยออกไปด้านข้างเล็กน้อย
จ.ถูกมากกว่าสองข้อ
pastedGraphic_2.pdf





๔.ท่าซอยเท้าจากการเดิน ที่มีคำบอกว่า “ซอยเท้า”  ตามคำแนะนำสำหรับผู้ฝึก  ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก.ในการฝึกหัดท่าซอยเท้าจาการเดิน  ให้ใช้คำบอกว่า “ซอย” ในขณะเท้าข้างใดข้างหนึ่งตกถึงพื้นก็ได้ และให้ใช้คำบอกว่า “เท้า” ในขณะเท้าข้างนั้นตกถึงพื้นอีกครั้งหนึ่งในก้าวถัดไป
ข.ในการฝึกหัดท่าซอยเท้าจาการเดิน  ให้ใช้คำบอกว่า “ซอย” ในขณะเท้าข้างใดข้างหนึ่งตกถึงพื้นก็ได้ และให้ใช้คำบอกว่า “เท้า” ในขณะเท้าอีกข้างตกถึงพื้นในก้าวถัดไป
ค.ในการฝึกหัดท่าซอยเท้าจาการเดิน  ให้ใช้คำบอกว่า “ซอย” ในขณะเท้าข้างซ้ายตกถึงพื้น และให้ใช้คำบอกว่า “เท้า” ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้นอีกครั้งหนึ่งในก้าวถัดไป
ง.ในการฝึกหัดท่าซอยเท้าจาการเดิน  ให้ใช้คำบอกว่า “ซอย” ในขณะเท้าข้างขวาตกถึงพื้น และให้ใช้คำบอกว่า “เท้า” ในขณะเท้าข้างซ้ายตกถึงพื้นอีกครั้งหนึ่งในก้าวถัดไป
จ.มีข้อถูกมากกว่าสองข้อ
pastedGraphic_3.pdf๕.กรณีตำรวจไม่ได้อยู่ในแถว  แต่อยู่ในลักษณะรวมกันอยู่ในความควบคุม เช่น นั่งอยู่ที่เก้าอี้ในห้องประชุม  การใช้คำบอกในการทำการเคารพ ที่เป็นหลักนิยมในการสั่งข้อใดถูกต้อง
ก.ทั้งหมด - ตรง
ข.ระวัง - ตรง
ค.ทั้งหมด - แถว - ตรง
ง.แถว - ตรง
จ.มีข้อถูกจำนวนสองข้อ
pastedGraphic_4.pdf๖.ข้อถูกต้องที่สุด  ท่าหยุดจากการวิ่ง มี ๕ จังหวะ ใช้คำบอกว่า “แถว - หยุด”  ซึ่งคำแนะนำสำหรับผู้ฝึกตามแบบข้อใดถูกต้องที่สุด
ก.คำบอกว่า “แถว” ในขณะที่เท้าข้างขวาตกลงถึงพื้น  และให้ใช้คำบอกว่า “หยุด” ในขณะที่เท้าข้างซ้ายตกถึงพื้น มีจังหวะดังนี้
จังหวะหนึ่ง-เมื่อสิ้นสุดคำบอกว่า “แถว-หยุด” ให้ก้าวเท้าลดความเร็วลง
จังหวะสอง-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะสาม-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะสี่-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะห้า-ให้ก้าวเท้าตบลงกับพื้นอย่างแข็งแรง  หยุดวิ่งโดยมือทั้งสองข้างยังคงกำหลวมอยู่ราวนมและนำเท้าหลังมาชิดเท้าหน้า พร้อมกับสะบัดมือและแขนทั้งสองข้างมาอยู่ในท่าตรงอย่างรวดเร็วและแข็งแรง
ข.คำบอกว่า “แถว” ในขณะที่เท้าข้างใดข้างหนึ่งตกลงถึงพื้นก็ได้ และให้ใช้คำบอกว่า “หยุด” ในขณะที่เท้าข้างนั้นตกถึงพื้นอีกครั้ง มีจังหวะดังนี้
จังหวะหนึ่ง-เมื่อสิ้นสุดคำบอกว่า “แถว-หยุด” ให้ก้าวเท้าลดความเร็วลง
จังหวะสอง-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะสาม-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะสี่-ให้ก้าวเท้าตบลงกับพื้นอย่างแข็งแรง  หยุดวิ่งโดยมือทั้งสองข้างยังคงกำหลวมอยู่ราวนม
จังหวะห้า-ให้นำเท้าหลังมาชิดเท้าหน้า พร้อมกับสะบัดมือและแขนทั้งสองข้างมาอยู่ในท่าตรงอย่างรวดเร็วและแข็งแรง
ค.คำบอกว่า “แถว” ในขณะที่เท้าข้างซ้ายตกลงถึงพื้น และให้ใช้คำบอกว่า “หยุด” ในขณะที่เท้าข้างขวาตกถึงพื้น มีจังหวะดังนี้
จังหวะหนึ่ง-เมื่อสิ้นสุดคำบอกว่า “แถว-หยุด” ให้ก้าวเท้าลดความเร็วลง
จังหวะสอง-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะสาม-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะสี่-ให้ก้าวเท้าตบลงกับพื้นอย่างแข็งแรง  หยุดวิ่งโดยมือทั้งสองข้างยังคงกำหลวมอยู่ราวนม
จังหวะห้า-ให้นำเท้าหลังมาชิดเท้าหน้า พร้อมกับสะบัดมือและแขนทั้งสองข้างมาอยู่ในท่าตรงอย่างรวดเร็วและแข็งแรง
ง.คำบอกว่า “แถว” ในขณะที่เท้าข้างใดข้างหนึ่งตกลงถึงพื้นก็ได้ และให้ใช้คำบอกว่า “หยุด” ในขณะที่เท้าอีกข้างตกถึงพื้น มีจังหวะดังนี้
จังหวะหนึ่ง-เมื่อสิ้นสุดคำบอกว่า “แถว-หยุด” ให้ก้าวเท้าลดความเร็วลง
จังหวะสอง-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะสาม-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะสี่-ให้ก้าวเท้ากระโดดยั้งตัวลดความเร็วต่อไป
จังหวะห้า-ให้ก้าวเท้าตบลงกับพื้นอย่างแข็งแรง  หยุดวิ่งโดยมือทั้งสองข้างยังคงกำหลวมอยู่ราวนมและนำเท้าหลังมาชิดเท้าหน้า พร้อมกับสะบัดมือและแขนทั้งสองข้างมาอยู่ในท่าตรงอย่างรวดเร็วและแข็งแรง
จ.ไม่มีข้อใดถูกต้องตามแบบฝึกของ ตร.
๗.ท่าตรงในลักษระของการเคาพด้วยท่าตรงขณะอยู่ในแถว ใช้คำบอกว่าอย่างไร เป็นคำบอกประเภทอย่างไร
ก."แถว - ตรง" เป็นคำบอกประเภท "คำบอกแบ่ง"
ข."แถวตรง"  เป็นคำบอกประเภท "คำบอกรวด"
ค."แถว - ตรง"เป็นคำบอกประเภท "คำบอกเป็นคำๆ"
ง."แถวตรง" เป็นคำบอกประเภท "คำบอกผสม"
จ.มีข้อถูกมากกว่า ๑ แต่ไม่เกิน ๓
pastedGraphic_5.pdf๘.ท่าหันในเวลาวิ่ง  กรณี ท่ากลับหลังหันในเวลาวิ่ง  ใช้คำบอกว่า “กลับหลัง-หัน” (คำบอกแบ่ง)  คำแนะนำสำหรับผู้ฝึกในการฝึกหัดข้อใดถูกต้องที่สุด
ก.การฝึกหัดท่ากลับหลังหันในเวลาวิ่ง ให้ใช้คำบอกว่า “กลับหลัง” เมื่อเท้าข้างใดข้างหนึ่งตกถึงพื้นก็ได้ และให้ใช้คำบอกว่า “หัน” เมื่อเท้าอีกข้างตกถึงพื้นในก้าวถัดไป
ข.การฝึกหัดท่ากลับหลังหันในเวลาวิ่ง ให้ใช้คำบอกว่า “กลับหลัง” เมื่อเท้าข้างใดข้างหนึ่งตกถึงพื้นก็ได้ และให้ใช้คำบอกว่า “หัน” เมื่อเท้าข้างที่ตกถึงพื้นในคำบอกว่า “กลับหลัง” ตกถึงพื้นอีกครั้งในก้าวถัดไป
ค.การฝึกหัดท่ากลับหลังหันในเวลาวิ่ง ให้ใช้คำบอกว่า “กลับหลัง” เมื่อเท้าข้างขวาตกถึงพื้น และให้ใช้คำบอกว่า “หัน” เมื่อเท้าข้างขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง ในก้าวถัดไป
ง.การฝึกหัดท่ากลับหลังหันในเวลาวิ่ง ให้ใช้คำบอกว่า “กลับหลัง” เมื่อเท้าข้างซ้ายตกถึงพื้น และให้ใช้คำบอกว่า “หัน” เมื่อเท้าข้างซ้ายตกถึงพื้นอีกครั้งในก้าวถัดไป
จ.ข้อ ค.​และ ข้อ ง.ถูก แต่ข้อ ก. และ ข้อ ข. ผิดบางประการ

pastedGraphic_6.pdf


























๙.ท่าถอดหมวก  ในกรณี หมวกเหล็ก หมวกยอด และหมวกกันอันตราย  กรณีที่ไม่ใช้สายรัดข้าง , หมวกทรงหม้อตาล ,หมวกแก็บ ทรงตึง และหมวกแก็ปทรงอ่อน  ในการอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติ ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. ขั้นตอนแรก : เมื่อสิ้นสุดคำบอกว่า “ถอด-หมวก” (คำบอกแบ่ง)ให้ยกแขนซ้ายท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนกระชับศอกให้แนบชิดลำตัว หงายฝ่ามือขึนโดยให้นิ้วหัวแม่มือยกขึ้นตั้งฉากกับฝ่ามือทั้ง 4 ที่เหลือเหยียดตรงและเรียงชิดติดกัน พร้อมกับยกมือขวาขึ้นจับกระบังหมวก โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ทางด้านล่าง ส่วนนิ้วที่เหลือเหยียดตรงเรียงชิดติดกัน  วางทาบอยู่ทางด้านบนตรงแนวหางคิ้วขวา เปิดข้อศอกอยู่ระดับแนวไหล่
  ขั้นตอนที่สอง : นำหมวกมาวางครอบนิ้วหัวแม่มือซ้ายซึ่งตั้งอยู่โดยหันหน้าหมวกไปทางด้านขวาของลำตัวและให้ขอบหมวกด้านนอกลำตัววางอยู่บนนิ้วทั้งสี่ตรงข้อนิ้วมือที่หนึ่งจากนั้นใช้มือซ้ายจับขอบหมวกด้านนอกลำตัวไว้ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วทั้งสี่  มือขวายังคงจับอยู่ที่กระบังหมวก หรือปีกหมวก
          ขั้นตอนที่สาม : ให้ลดมือขวาลงมาอยู่ในท่าตรงอย่างแข็งแรง  โดยทุกส่วนอยู่ในลักษณะท่าตรงเหมือนกับการปฏิบัติในขั้นตอนแรก
ข. ขั้นตอนแรก : เมื่อสิ้นสุดคำบอกว่า “ถอดหมวก” (คำบอกรวด)ให้ยกแขนซ้ายท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนกระชับศอกให้แนบชิดลำตัว หงายฝ่ามือขึนโดยให้นิ้วหัวแม่มือยกขึ้นตั้งฉากกับฝ่ามือทั้ง 4 ที่เหลือเหยียดตรงและเรียงชิดติดกัน พร้อมกับยกมือขวาขึ้นจับกระบังหมวก โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ทางด้านล่าง ส่วนนิ้วที่เหลือเหยียดตรงเรียงชิดติดกัน  วางทาบอยู่ทางด้านบนตรงแนวหางคิ้วขวา เปิดข้อศอกอยู่ระดับแนวไหล่
  ขั้นตอนที่สอง : นำหมวกมาวางครอบนิ้วหัวแม่มือซ้ายซึ่งตั้งอยู่โดยหันหน้าหมวกไปทางด้านขวาของลำตัวและให้ขอบหมวกด้านนอกลำตัววางอยู่บนนิ้วทั้งสี่ตรงข้อนิ้วมือที่หนึ่งจากนั้นใช้มือซ้ายจับขอบหมวกด้านนอกลำตัวไว้ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วทั้งสี่  มือขวายังคงจับอยู่ที่กระบังหมวก หรือปีกหมวก
          ขั้นตอนที่สาม : ให้ลดมือขวาลงมาอยู่ในท่าตรงอย่างแข็งแรง  โดยทุกส่วนอยู่ในลักษณะท่าตรงเหมือนกับการปฏิบัติในขั้นตอนแรก
ค. ขั้นตอนแรก : เมื่อสิ้นสุดคำบอกว่า “ถอด-หมวก” (คำบอกแบ่ง)ให้ยกแขนซ้ายท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนกระชับศอกให้แนบชิดลำตัว หงายฝ่ามือขึนโดยให้นิ้วหัวแม่มือยกขึ้นตั้งฉากกับฝ่ามือทั้ง 4 ที่เหลือเหยียดตรงและเรียงชิดติดกัน พร้อมกับยกมือขวาขึ้นจับกระบังหมวก โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ทางด้านล่าง ส่วนนิ้วที่เหลือเหยียดตรงเรียงชิดติดกัน  วางทาบอยู่ทางด้านบนตรงแนวหางคิ้วขวา เปิดข้อศอกอยู่ระดับแนวไหล่
  ขั้นตอนที่สอง : นำหมวกมาวางครอบนิ้วหัวแม่มือซ้ายซึ่งตั้งอยู่โดยหันหน้าหมวกไปทางด้านขวาของลำตัวและให้ขอบหมวกด้านนอกลำตัววางอยู่บนนิ้วทั้งสี่ตรงข้อนิ้วมือที่หนึ่ง  มือขวายังคงจับอยู่ที่กระบังหมวก หรือปีกหมวก
          ขั้นตอนที่สาม : ให้ลดมือขวาลงมาอยู่ในท่าตรงอย่างแข็งแรงพร้อมกับใช้มือซ้ายจับขอบหมวกด้านนอกลำตัวไว้ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วทั้งสี่
ง. ขั้นตอนแรก : เมื่อสิ้นสุดคำบอกว่า “ถอดหมวก” (คำบอกรวด)ให้ยกแขนซ้ายท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนกระชับศอกให้แนบชิดลำตัว หงายฝ่ามือขึนโดยให้นิ้วหัวแม่มือยกขึ้นตั้งฉากกับฝ่ามือทั้ง 4 ที่เหลือเหยียดตรงและเรียงชิดติดกัน พร้อมกับยกมือขวาขึ้นจับกระบังหมวก โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ทางด้านล่าง ส่วนนิ้วที่เหลือเหยียดตรงเรียงชิดติดกัน  วางทาบอยู่ทางด้านบนตรงแนวหางคิ้วขวา เปิดข้อศอกอยู่ระดับแนวไหล่
  ขั้นตอนที่สอง : นำหมวกมาวางครอบนิ้วหัวแม่มือซ้ายซึ่งตั้งอยู่โดยหันหน้าหมวกไปทางด้านขวาของลำตัวและให้ขอบหมวกด้านนอกลำตัววางอยู่บนนิ้วทั้งสี่ตรงข้อนิ้วมือที่หนึ่ง  มือขวายังคงจับอยู่ที่กระบังหมวก หรือปีกหมวก
          ขั้นตอนที่สาม : ให้ลดมือขวาลงมาอยู่ในท่าตรงอย่างแข็งแรงพร้อมกับใช้มือซ้ายจับขอบหมวกด้านนอกลำตัวไว้ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วทั้งสี่
จ. ข้อ ก. และ ข้อ ง. ถูก และข้อ ค. ผิดในบางประการ
pastedGraphic_7.pdf๑๐.ท่าหันในเวลาวิ่ง  ในกรณี ท่าขวาหันในเวลาวิ่ง  ใช้คำบอกว่า “ขวา-หัน” ตามคำแนะนำสำหรับผู้ฝึกตามแบบฝึกบุคคลท่ามือเปล่า    ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก.การฝึกหัดท่าขวาหันในเวลาวิ่ง ให้ใช้คำบอกว่า “ขวา” เมื่อเท้าขวาตกถึงพื้น และให้ใช้คำบอกว่า “หัน” เมื่อเท้าขวาตกถึงพื้นอีกครั้ง ในก้าวถัดไป
ข.การฝึกหัดท่าขวาหันในเวลาวิ่ง ให้ใช้คำบอกว่า “ขวา” เมื่อเท้าขวาตกถึงพื้น และให้ใช้คำบอกว่า “หัน” เมื่อเท้าซ้ายตกถึงพื้นในก้าวถัดไป 
ค.การฝึกหัดท่าขวาหันในเวลาวิ่ง ให้ใช้คำบอกว่า “ขวา” เมื่อเท้าข้างใดข้างหนึ่งตกถึงพื้นก็ได้ และให้ใช้คำบอกว่า “หัน” เมื่อเท้าอีกข้างตกถึงพื้นในก้าวถัดไป
ง.การฝึกหัดท่าขวาหันในเวลาวิ่ง ให้ใช้คำบอกว่า “ขวา” เมื่อเท้าข้างใดข้างหนึ่งตกถึงพื้นก็ได้ และให้ใช้คำบอกว่า “หัน” เมื่อเท้าข้างที่ตกถึงพื้น ในคำบอกว่า “ขวา” ตกถึงพื้นอีกครั้ง ในก้าวถัดไป

จ.ไม่มีข้อใดถูกต้องเลย

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฏีกาเกี่ยวกับฟ้องซ้อน

ฏีกาที่ 471/2541
 ....ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขแดงที่ 4085/2538 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ในคดีดังกล่าวตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเอกสารหมาย ล.26 โจทก์ฟ้องนางพัชรี พังคะวิบูลย์ เป็นจำเลยที่ 1และจำเลยในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 อ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 28416 เลขที่ 28417 เลขที่ 28418 เลขที่ 28419และเลขที่ 917 พร้อมอาคารพาณิชย์เลขที่ 2, 2/1, 2/2 และ 2/3ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวตามลำดับ เดิมจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 28422 เลขที่ 30897 และเลขที่ 7225 ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ว่างอยู่ด้านหน้าที่ดินโจทก์ดังกล่าว โดยจำเลยตกลงยอมให้โจทก์และบุคคลที่ซื้อตึกแถวจากจำเลยใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเป็นที่จอดรถกลับรถและใช้ประโยชน์ต่าง ๆ รวมทั้งจะจดทะเบียนภารจำยอมให้ ต่อมาจำเลยบ่ายเบี่ยงและขายที่ดินดังกล่าวให้นางพัชรีโดยฉ้อฉลและไม่สุจริตเพื่อหลบเลี่ยงไม่จดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์ ขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินระหว่างนางพัชรีกับจำเลย และให้นางพัชรีกับจำเลยจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินทั้ง 3 แปลงดังกล่าวเป็นภารจำยอมที่ดินโฉนดเลขที่ 28416, เลขที่ 28417, เลขที่ 28418และเลขที่ 28419 หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนและห้ามมิให้รบกวนการใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทสำหรับในคดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างเหตุเช่นเดียวกันว่า โจทก์มีสิทธิใช้ที่ดินภารจำยอมดังกล่าว แต่ไม่ได้ขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินระหว่างนางพัชรีกับจำเลยและมิได้ขอให้จดทะเบียนภารจำยอมแก่โจทก์ โดยอ้างเพิ่มเติมเข้ามาว่าจำเลยให้นางพัชรีรบกวนการใช้สิทธิในที่ดินภารจำยอมโดยนำอิฐ หิน ปูน ทราย และวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างเข้ามาวาง ทำให้โจทก์ไม่มีทางเข้าออกไม่มีพื้นที่ว่างด้านหน้าตึกแถว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้ใช้ค่าเสียหาย 
...ศาลฏีกาเห็นว่า คดีทั้งสองเรื่องนี้โจทก์อ้างสิทธิอย่างเดียวกันว่า ที่ดินโจทก์มีสิทธิภารจำยอมเหนือที่ดินพิพาทที่จำเลยโอนให้นางพัชรี โดยในคดีก่อนโจทก์ขอให้เพิกถอนการโอนและจดทะเบียนภารจำยอม แต่ในคดีนี้โจทก์เรียกค่าเสียหายซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยไม่ยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์นั่นเอง เมื่อค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว แต่โจทก์ไม่เรียกกลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้ ขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246

ทดสอบฏีกาที่ 471/41

 ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขแดงที่ 4085/2538 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ในคดีดังกล่าวตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเอกสารหมาย ล.26 โจทก์ฟ้องนางพัชรี พังคะวิบูลย์ เป็นจำเลยที่ 1และจำเลยในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 อ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 28416 เลขที่ 28417 เลขที่ 28418 เลขที่ 28419และเลขที่ 917 พร้อมอาคารพาณิชย์เลขที่ 2, 2/1, 2/2 และ 2/3ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวตามลำดับ เดิมจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 28422 เลขที่ 30897 และเลขที่ 7225 ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ว่างอยู่ด้านหน้าที่ดินโจทก์ดังกล่าว โดยจำเลยตกลงยอมให้โจทก์และบุคคลที่ซื้อตึกแถวจากจำเลยใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเป็นที่จอดรถกลับรถและใช้ประโยชน์ต่าง ๆ รวมทั้งจะจดทะเบียนภารจำยอมให้ ต่อมาจำเลยบ่ายเบี่ยงและขายที่ดินดังกล่าวให้นางพัชรีโดยฉ้อฉลและไม่สุจริตเพื่อหลบเลี่ยงไม่จดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์ ขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินระหว่างนางพัชรีกับจำเลย และให้นางพัชรีกับจำเลยจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินทั้ง 3 แปลงดังกล่าวเป็นภารจำยอมที่ดินโฉนดเลขที่ 28416, เลขที่ 28417, เลขที่ 28418และเลขที่ 28419 หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนและห้ามมิให้รบกวนการใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทสำหรับในคดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างเหตุเช่นเดียวกันว่า โจทก์มีสิทธิใช้ที่ดินภารจำยอมดังกล่าว แต่ไม่ได้ขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินระหว่างนางพัชรีกับจำเลยและมิได้ขอให้จดทะเบียนภารจำยอมแก่โจทก์ โดยอ้างเพิ่มเติมเข้ามาว่าจำเลยให้นางพัชรีรบกวนการใช้สิทธิในที่ดินภารจำยอมโดยนำอิฐ หิน ปูน ทราย และวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างเข้ามาวาง ทำให้โจทก์ไม่มีทางเข้าออกไม่มีพื้นที่ว่างด้านหน้าตึกแถว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้ใช้ค่าเสียหาย เห็นว่า คดีทั้งสองเรื่องนี้โจทก์อ้างสิทธิอย่างเดียวกันว่า ที่ดินโจทก์มีสิทธิภารจำยอมเหนือที่ดินพิพาทที่จำเลยโอนให้นางพัชรี โดยในคดีก่อนโจทก์ขอให้เพิกถอนการโอนและจดทะเบียนภารจำยอม แต่ในคดีนี้โจทก์เรียกค่าเสียหายซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยไม่ยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์นั่นเอง เมื่อค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว แต่โจทก์ไม่เรียกกลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้ ขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2408/2551

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2408/2551

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2408/2551

 แจ้งแก้ไขข้อมูล

จำเลยที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีต่อลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ และโจทก์ตกลงชำระค่าตอบแทนจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 และ 306 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ในนามของโจทก์ แต่เมื่อตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีข้อตกลงในข้อ 6 ว่า "หากลูกค้าปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้หรือไม่สามารถชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือลูกค้าไม่ต้องชำระหนี้ไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ ให้แก่ผู้รับโอน ผู้โอนตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้รับโอนเป็นเงินเท่ากับจำนวนเงินที่ลูกค้าไม่ชำระหนี้ตามมูลหนี้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้เป็นต้นไปจนกว่าผู้รับโอนจะได้ชำระหนี้คืนครบถ้วน และผู้รับโอนจะมีสิทธินำเงินที่หักไว้ตามสัญญาข้อ 4 หรือค่าตอบแทนที่ผู้โอนจะได้รับจากการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นมาหักชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่ป็นต้องแจ้งให้ผู้โอนทราบ..." ดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงยังต้องรับผิดชำระหนี้ในสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่โจทก์ไปแล้วตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย

โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อลูกหนี้ที่จำเลยที่ 1 นำมาโอนให้แก่โจทก์แล้วโจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจากลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญา จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญาโอนสิทธเรียกร้องซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่รับโอนจากจำเลยที่ 1 เรียกให้ลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ในมูลหนี้อันเกิดจากสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับลูกหนี้อันมีอายุความ 2 ปี ฟ้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ฏีกาน่าสนใจมากครับ

เมื่อส่งข้อมูลทางโทรศัพท์ที่บันทึกภาพการข่มขืนหญิง ไปยังบุคคลอื่นเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหญิงนั้นด้วยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 หรือไม่

ศึกษาวิเคราะห์จากฎีกา 1447/2557
ป.อ. มาตรา 326, 328 หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา

ข้อเท็จจริง

1. พนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาสโดยยื่นฟ้องจำเลยว่า วันใดไม่ปรากฏชัดประมาณต้นเดือนมีนาคม 2552 เวลากลางวัน จำเลยหมิ่นประมาทผู้เสียหายด้วยการโฆษณาด้วยสิ่งบันทึกภาพและเสียงโดยการส่งข้อมูลซึ่งมีภาพและเสียงผู้เสียหายในขณะจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนาย อ. ขณะอยู่ในความครอบครองของนาย ซ. อันเป็นการใส่ความผู้เสียหายต่อบุคคลที่สามที่ได้เห็นภาพและเสียงหลงเชื่อว่าผู้เสียหายไม่รักนวลสงวนตัว ยินยอมร่วมเพศกับจำเลยและให้จำเลยบันทึกภาพและเสียง เป็นการลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้เสียหาย โดยการกระจายภาพและเสียงทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ต่อมาวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2552 เวลากลางวัน จำเลยหมิ่นประมาทผู้เสียหายโดยการโฆษณาด้วยสิ่งบันทึกภาพและเสียงโดยการส่งข้อมูลซึ่งมีภาพและเสียงผู้เสียหายในขณะจำเลยกระทำเราผู้เสียหายผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบุคคลใดไม่ปรากฏชัดและบุคคลทั่วไป อันเป็นการใส่ความผู้เสียหายต่อบุคคลที่สามที่ได้เห็นภาพและเสียงหลงเชื่อว่าผู้เสียหายไม่รักนวลสงวนตัว ยินยอมร่วมเพศกับจำเลยและให้จำเลยบันทึกภาพและเสียงเป็นการลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้เสียหายโดยการกระจายภาพและเสียงทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง เหตุเกิดที่ตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในอายุความแล้ว ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91, 326, 328

2. คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาหรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า 
"การบันทึกภาพและเสียงเป็นการกระทำระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยเป็นเรื่องส่วนตัวอย่างแท้จริงระหว่างผู้เสียหายกับจำเลย ไม่สมควรนำมาเปิดเผยกับบุคคลอื่น การนำมาเปิดเผยต้องดูเจตนาความคาดหวังอันนำไปสู่ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้เสียหาย ดังเช่นที่จำเลยนำมาโอนถ่ายข้อมูลให้นาย ซ. ทราบเพื่อเป็นการประจานว่า ผู้เสียหายซึ่งเป็นคู่รักของนาย ซ. มีเพศสัมพันธ์กับจำเลยจริง ทั้งที่จำเลยรู้อยู่ว่านาย ซ. กับผู้เสียหายเป็นคู่รักกัน ทั้งนี้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้เสียหายเพื่อให้นาย ซ. เลิกจากการเป็นคู่รักกับผู้เสียหาย และการที่จำเลยโอนถ่ายข้อมูลจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยนั้นก็เป็นการเผยแพร่ภาพและเสียงในลักษณะของการโฆษณาแล้ว นอกจากนี้ ปรากฏว่าในช่วงเวลาใกล้เคียงกันภาพและเสียงดังกล่าวถูกเผยแพร่ให้ญาติและผู้เสียหายทราบเรื่อง พฤติการณ์แห่งคดีจึงเชื่อได้โดยปราศจากสงสัยว่า จำเลยรักผู้เสียหายแต่ผู้เสียหายไม่ยอมแต่งงานด้วยแล้วกลับมาคบหาเป็นคนรักกับนาย ซ. เป็นเหตุให้จำเลยโกรธแค้นจึงเผยแพร่ภาพและเสียงดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 สองกระทง"

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

พละ5

พละ 5
1.ศรัทธา - ความเชื่อว่าสิ่งนี้มีประโยชน์
2.วิริยะ - ความหมั่นเพียร
3.สต - ความระลึกรู้ได้แห่งจิต ว่องไวในการระลึก  
    การแล่นไปด้วยความรู้   วิธีเอาปัญญาไปแก้ปัญหา
4.สมาธิ - ความตั้งมั่นแห่งจิต
5.ปัญญา - ความฉลาด

ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

ฟังเทศน์เรื่อยๆ มีประโยชน์ เพราะว่าการฟังธรรมะนั้น ท่านก็บอกว่า อานิสงค์นั้นจะเกิดได้ถึง 5 อย่างด้วยกัน คือ

1.เราจะได้ยิน ได้ฟัง ในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยิน ได้ฟังมาก่อน

2.ในสิ่งที่เราได้ยิน ได้ฟัง มาแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจที่ดีขึ้น

3.สามารถทำความเห็นให้ถูกต้อง

4.สามารถขจัดความสงสัยได้

            5.ทำให้เกิดความสงบในจิตใจ 

  เพราะว่าธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นเป็นสิ่งที่เย็น  เหมือนกับเรากินน้ำเย็นเข้าไปในร่างกาย  เราก็เกิดความรู้สึกเย็นสบาย  ถ้าเราได้ยินได้ฟังธรรมะ หรืออ่านหนังสือธรรมะ  เราก็จะเกิดความเย็นใจ  เกิดความสบายใจขึ้นมา 
  ข้อสำคัญเวลาที่เราที่ฟังธรรมะนั้น  ขอให้เรามีสติอยู่กับตัวเรา  คือเราไม่ต้องส่งใจเราไปหาผู้แสดง ไม่ต้องไปกังวลว่า ผู้พูดเขาจะพูดอะไร แล้วเราจะจำได้หรือเปล่า  ขอให้เราตั้งใจฟัง ให้ใจเราอยู่กับเสียง  ที่มาสัมผัสกับหู แล้วเราก็ฟังไป  เราก็พิจารณาตามที่ท่านพูด ท่านแสดงไป ถึงเหตุถึงผลที่ท่านแสดงไว้  อันไหนที่เราเข้าใจ เราก็จะจำได้ไปเอง  อันไหนที่เราจำไม่ได้ เราไม่เข้าใจ เราก็จะจำไม่ได้  ก็ไม่เป็นไร เพราะว่าการฟังแต่ละครั้งนั้น  ไม่สามารถที่จะจำได้ ทุกสิ่ง ทุกอย่าง เพราะเวลาพูดก็พูดมาก  พูดไปเรื่อยๆ  คนฟังก็ฟังไปเรื่อยๆ    อันไหนเข้าใจก็จะได้รับประโยชน์  บางทีก็ร้องอ๋อขึ้นมา  แสดงว่าเข้าใจแล้ว  ถึงบางอ้อ  เมื่อก่อนฟังไม่ค่อยเข้าใจ แต่ถ้าได้ฟังซ้ำๆ  บ่อยๆเข้า ก็จะเกิดความเข้าใจ จะสามารถขจัดความสงสัยไปได้ ทำความคิดเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้อง 
  การที่เรามาวัด  มาประพฤติปฏิบัติธรรมนี้  ก็เหมือนกับการที่เราเดินทางจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง  เรามาจากบ้านมาที่วัดนี้  เราก็ต้องอาศัยรถยนต์เป็นพาหนะพาเรามาที่นี่  การที่เราจะไปจากจุดนี้  คือเราไม่มีความพอใจในชีวิตของเรา ในสภาพที่เรามีอยู่ เป็นอยู่นี้  เราคิดว่า เราน่าจะได้สิ่งที่ดีขึ้นกว่านี้ เช่นเราอยากจะเป็นคนที่ดีขึ้น  ตอนนี้เราอาจจะไม่ค่อยมีศีล มีธรรม ขาดศีล ขาดธรรม  ถ้าเราเห็นว่า เราขาดศีล ขาดธรรม  เราอยากจะให้ตัวเรานั้น มีศีล มีธรรม มีคุณงาม ความดี มากขึ้นกว่าที่เราเป็นอยู่  เราอยากจะเป็นคนดี เราอยากเป็นคนที่มีความสุขทางด้านจิตใจ  อันนี้เราต้องยกระดับจิตใจในตัวเราให้สูงขึ้น  ด้วยการพัฒนา โดยอาศัยธรรมะเป็นเครื่องพัฒนา 
  ฉะนั้นจิตใจของเรานี้ จะเดินทางจากจุดหนึ่ง ไปสู่อีกจุดหนึ่งได้นั้น  จิตใจต้องมีเชื้อเพลิงเหมือนกับรถยนต์  รถยนต์จะเดินทางจากจุดหนึ่ง ไปสู่อีกจุดหนึ่ง ต้องอาศัยน้ำมัน สำหรับขับเคลื่อนเครื่องยนต์  อาศัยน้ำมันเครื่อง สำหรับหล่อลื่น  อาศัยน้ำ สำหรับระบายความร้อน  อาศัยน้ำกลั่นที่ใส่ไว้ในแบตเตอรี่  อาศัยน้ำมันหลายๆอย่าง ที่มีอยู่ในเครื่องยนต์  ถ้าขาดน้ำมัน อย่างใด อย่างหนึ่ง ในเครื่องยนต์แล้ว  รถยนต์ก็ไม่สามารถที่จะแล่นไปได้โดยราบรื่น  ไม่สามารถที่จะพาเราไป ถึงจุดหมาย ปลายทาง ได้อย่างสะดวกสบาย  อย่างที่โยมขับไป เกิดน้ำหมด  น้ำแห้งขึ้นมา  เครื่องมันก็ร้อน  ก็วิ่งไม่ได้แล้ว  หรือถ้าวิ่งไป น้ำมันหมด รถก็ไม่วิ่ง  หรือว่าน้ำมันเครื่องไหลออกหมด รถไม่มีน้ำมันหล่อลื่น ลูกสูบวิ่งไปเดี๋ยวมันก็ติด  มันก็ไปไม่ได้ 
  ฉันใด การที่เราจะเดินทาง จากสภาพที่เรามีอยู่ เป็นอยู่ ในขณะนี้ ไปสู่อีกสภาพหนึ่ง ที่ดีขึ้นกว่านี้  เช่นเป็นคนที่มีศีล มีธรรม  เป็นคนที่มีปัญญา  มีความฉลาดรอบรู้  เราก็ต้องอาศัยธรรม ที่เรียกว่าน้ำมันแห่งธรรมะ  น้ำมันแห่งธรรมะนี้ประกอบขึ้นด้วย ๕ อย่างด้วยกัน 
อย่างที่ ๑  เรียกว่าศรัทธา คือความเชื่อ
  อย่างที่ ๒  เรียกว่าวิริยะ  ความหมั่นเพียร
อย่างที่ ๓  เรียกว่าสติ  การระลึกรู้
อย่างที่ ๔  เรียกว่าสมาธิ  ความตั้งมั่นของจิตใจ
อย่างที่ ๕  เรียกว่าปัญญา  ความฉลาด
นี้คือน้ำมัน ๕ ชนิด  ที่เราจะต้องมีไว้ สำหรับขับเคลื่อนจิตใจเรา ให้ไปสู่ที่ดีที่งาม  ไปสู่สวรรค์  ไปสู่มรรคผลนิพพาน ก็ต้องอาศัยสิ่งเหล่านี้  เหมือนกับพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์อริยะสาวกทั้งหลาย ที่ท่านได้เดินทางกันไป  ท่านก็ต้องมีสิ่งเหล่านี้  น้ำมันแห่งธรรมะเป็นเครื่องขับเคลื่อนผลักดันจิตใจของท่านนั้น ให้สามารถเดินทาง ไปถึงจุดหมายปลายทาง ที่ท่านต้องการจะไปได้
สิ่งแรกที่พูดถึงก็คือศรัทธา  เราจะต้องมีศรัทธา  ความเชื่อในพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  คือเราต้องเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า  เชื่อว่าพระพุทธเจ้านั้นเป็นพระอรหันต์ สัมมาสัมพุทธเจ้า  พระอรหันต์นี้หมายถึงผู้ที่สิ้นกิเลส  ปุถุชนเป็นคนที่ยังมีกิเลสอยู่  ปุถุชนกับพระอรหันต์เปรียบเป็นคนละฟากกัน  พวกเรายังเป็นปุถุชนอยู่  เรายังมีความโลภ  ความโกรธ  ความหลงอยู่  ทำให้เรามีความทุกข์  มีความไม่สบายใจ  แต่พระอรหันต์ท่านสิ้นกิเลสแล้ว  ท่านไม่มีความทุกข์ใจ  สาเหตุทำให้เกิดความทุกข์ใจนั้นมันได้หมดสิ้นไปแล้ว  นี่ก็คือคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าอย่างหนึ่ง  ขอให้เราเชื่อไว้ว่าท่านบรรลุแล้ว  สำเร็จแล้ว  เมื่อท่านบรรลุแล้วสำเร็จแล้ว  ท่านก็รู้วิธีที่จะมาถ่ายทอดความรู้นี้ให้กับพวกเรา  ท่านถึงสั่งสอน ประกาศสอนพระศาสนา  ให้กับสัตว์โลกทั้งหลาย  สอนทั้งมนุษย์ สอนทั้งเทวดา 
สอนมนุษย์นี้เราก็รู้อยู่  อย่างพระอริยะสาวก  ท่านก็ได้รับคำสอนพระพุทธเจ้ามาใช้ มาปฏิบัติ  และนำพาท่านไปสู่จุดสูงสุด  เป็นพระอรหันต์เหมือนกับพระพุทธเจ้าทรงสำเร็จ  อันนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะต้องสงสัย  เป็นเรื่องที่พวกเราควรจะเชื่อว่า พระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั้น  เป็นคำสอนที่ถูกต้อง แม่นยำ  พระพุทธเจ้านอกจากสอนมนุษย์แล้วนั้น  ท่านยังสอนเทวดาด้วย  ไม่ทราบว่าท่านเชื่อหรือเปล่าว่าเทวดาก็มี  เขาเรียกว่าพวกกายทิพย์  เราไม่สามารถมองเห็นพวกกายทิพย์ได้ด้วยตาเปล่า  ต้องใช้นัยตาทิพย์  นัยตาทิพย์จะเห็นได้ ต้องมีสมาธิก่อน  อย่างพระพุทธเจ้าท่านมีสมาธิ  ท่านสามารถส่งกระแสจิต ให้ไปรับรู้เกี่ยวกับเรื่องกายทิพย์ได้  เพราะฉะนั้นเวลาพระพุทธเจ้าทรงเข้าสมาธินั้น จะมีเทวดาเข้ามาฟังธรรมกับพระพุทธเจ้าโดยเสมอ 
  พระพุทธเจ้านั้นวันหนึ่งๆทรงทำกิจอยู่ ๕ อย่างด้วยกัน  ตอนบ่ายท่านทรง อบรมสั่งสอนฆารวาส ญาติโยม ดังที่พวกเรามาฟังเทศน์ฟังธรรมในวันนี้  พระพุทธเจ้าทุกตอนบ่าย ก็จะสั่งสอนญาติโยมเกี่ยวกับธรรมะ  พอตอนค่ำท่านก็จะทรงสั่งสอนพระเณร  พอตกดึกท่านจะทรงสั่งสอนเทวดาโดยการเข้าสู่สมาธิ  แล้วก็แสดงสอนธรรมะ ให้กับเทวดาทั้งหลายที่มาฟังเทศน์ ฟังธรรมกับพระพุทธเจ้า  พอตอนเช้าก่อนออกบิณฑบาต  ท่านจะทรงเล็งญาณดูว่าวันนี้จะไปโปรดใครก่อน  โปรดญาติโยมคนไหนดี คนไหนสามารถที่จะบรรลุ รู้ธรรมได้เร็ว  หรือว่ากำลังจะต้องมีเหตุอันเป็นไป ท่านจะไปโปรดผู้นั้นก่อน  แล้วท่านจะไปบิณฑบาตรโปรดสัตว์  นี่คือกิจวัตรประจำ ที่พระพุทธเจ้าทรงประกอบตลอด ๔๕ พรรษาที่พระองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ หลังจากที่พระองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว 
เพราะฉะนั้นทางพระพุทธศาสนานั้น  จะเห็นได้ว่า มีการสั่งสอน ถ่ายทอดวิชาธรรมะ ให้กับผู้ที่สนใจ เพื่อที่จะได้นำไป ประพฤติ ปฏิบัติ  ผู้ที่ฟังแล้วนำไปปฏิบัติก็จะได้รับผลประโยชน์จากธรรมะ ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้  นี่คือหลักของธรรมะ หลักของพระพุทธเจ้า  นี่คือคุณของพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าได้ทรงประกอบคุณงามความดีเหล่านี้ไว้  ถ้าเรามีความเชื่อมั่นว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศ ทรงสั่งสอนนั้น เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรู้จริง เห็นจริง  มีคุณ มีประโยชน์  นำมาถ่ายทอดให้กับพวกเรา  เราเชื่ออันนี้ไว้ เราก็จะไม่สงสัยในสิ่งต่างๆ ในธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น
ความศรัทธาในพระพุทธเจ้า ก็เชื่อมต่อมาในคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เราเรียกว่า ศรัทธาในพระธรรมคำสอน  คือคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านทรงสั่งสอน ให้พวกเราประกอบคุณงาม ความดี  ละความชั่ว  ทำจิตใจให้สะอาด  นี่คือวิถีทางที่จะนำไปสู่ความสุข ความเจริญอย่างแท้จริง  ถ้าพวกเราเชื่อในพระพุทธเจ้า  เราก็ต้องเชื่อในคำสอนของท่าน ว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนที่ถูกต้อง แม่นยำ  ไม่มีอะไรจะดีกว่านี้  ต่อให้เรามีเงิน มีทอง ร่ำรวย มีเงินเป็นล้านๆก็ตามเถอะ  เราจะไม่ได้พบความสุขที่แท้จริง  เพราะความสุขที่แท้จริงนั้น ไม่ได้อยู่ที่เงินทอง  ไม่ได้อยู่ที่ของภายนอก ไม่ได้อยู่ที่บุคคลอื่น เช่นได้แฟนมา ได้คู่รักมา  อย่าไปคิดว่านั่น คือความสุขที่แท้จริง  เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน เวลาได้มาใหม่ๆ ก็มีความรู้สึก ดีอก ดีใจ แต่ต่อไปสักระยะหนึ่งสิ่งที่เราได้มา ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป แปรสภาพ จากใหม่ก็กลาย
เป็นเก่า จากหวานก็กลายเป็นขม อันนี้เป็นหลักของธรรมชาติ
 
คนที่มีเงิน มีทอง  คนที่มี ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ที่เงินทองสามารถจะซื้อได้  เขาไม่มีความสุขที่แท้จริงหรอก  เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่เป็นเหตุ หรือเป็นสิ่งที่จะทำให้จิตใจของคนนั้น เกิดความสุขที่แท้จริง เราจะเห็นได้ว่า ในสมัยพุทธกาล คนที่เป็นมหาเศรษฐี เป็นถึงพระราชา มหากษัตริย์ สามารถสละเงิน สละทอง สละราชสมบัติ แล้วออกบวชกัน เพราะเขาเชื่อในพระธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้าว่า  ความสุขที่แท้จริงนั้น มันอยู่ที่จิตใจของเรา มันอยู่ที่จิตใจที่สิ้นกิเลส ที่หมดกิเลส ทุกวันนี้ที่เราไม่มีความสุขกันนั้น ที่เรามีความทุกข์กันนั้น สาเหตุก็เกิดจากกิเลสนั่นเอง  ตัวโลภ ตัวโกรธ ตัวหลง มันเป็นตัวก่อกวน รังควาญจิตใจเรา ทำให้เราไม่มีความรู้สึกอิ่ม ไม่มีความรู้สึกสบาย ให้ความรู้สึกเหมือนว่าเรากำลังขาดอะไร เรากำลังต้องการอะไร นี่คือผลของกิเลส  ถ้าเราสามารถชำระกิเลส ออกไปได้หมด จากจิตจากใจแล้ว เราจะไม่มีตัวมาก่อกวน ยุยงหลอกเรา ให้เราเกิดความอยาก อยากได้อย่างโน้นอยากได้อย่างนี้ อยากไปโน่น อยากมา นี่อยากได้เงินเยอะๆ ได้เงินเยอะแล้ว จะได้เอาไปซื้อโน่น ซื้อนี่ พอซื้อมาแล้ว ก็จะมีความสุข มันก็สุขอยู่หรอก แต่มันสุขอยู่แค่ประเดี๋ยว ประด๋าว แล้วเดี๋ยวมันก็เบื่อ  เมื่อมันเกิดความชินชาขึ้นมามันก็อยากจะได้อย่างอื่นอีก นี่คือลักษณะของความอยาก ได้เท่าไหร่มันก็ไม่พอ 
พระธรรมคำสอนจึงสอนว่า ความสุขที่แท้จริงนั้น ไม่ได้อยู่กับการมีเงินมีทอง ที่สามารถจะซื้อสิ่งนั้น สิ่งนี้ เพราะสิ่งต่างๆในโลกนี้ มันตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความทุกข์ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสภาพ ที่ไม่อยู่ในความควบคุมของเรา  เราคิดว่า เรามีสิ่งโน้น สิ่งนี้ แล้วเราจะมีความสุข แต่พอเราได้มาสักระยะหนึ่ง เราก็เบื่อกับสิ่งนั้นไป หรือสิ่งไหนที่เราชอบอยู่ เกิดสิ่งนั้นเกิดชำรุด ทรุดโทรม หรือพัง หรือเสียหายไป หรือตายจากเราไป หรือพลัดพรากจากเราไป เราก็จะเกิดความทุกข์ขึ้นมา  ฉะนั้นขอให้จำไว้ว่า ทุกสิ่ง ทุกอย่างในโลกนี้ ที่เราเห็นด้วยตาก็ดี ได้ยินด้วยหูก็ดี สัมผัสด้วยลิ้น หรือด้วยจมูก หรือด้วยกายของเราก็ดีนั้น ทั้งหมดนี้ เป็นของไม่เที่ยงแท้ แน่นอน ต้องมีการพลัดพราก จากเราไปในที่สุด  เพราะฉะนั้นเวลาเราชอบสิ่งไหน เรารักสิ่งไหนแล้ว สิ่งนั้นเกิดสูญสลายดับไป มันก็จะสร้างความทุกข์ให้กับเรา
ด้วยเหตุนี้เอง พระพุทธเจ้าถึงสละพระราชสมบัติทั้งหมด ที่พระองค์ทรงมีอยู่ แล้วออกบวช เพื่อที่จะหาความสุขที่แท้จริง ที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งภายนอก ไม่ต้องอาศัยเงินทอง ไม่ต้องอาศัย ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข  เป็นความสุข ที่เกิดจากความสงบของใจนั่นเอง เป็นความสงบระงับของกิเลส เมื่อกิเลสตัณหาสงบระงับลง ใจก็เย็น ใจก็สบาย ใจก็มีความอิ่มเอิบ ใจก็มีความสุข  แต่ถ้ากิเลสมันออกมา ออกอาการทีไร ใจนี้ร้อนเป็นไฟ กลายเป็นหน้ายักษ์หน้ามารไป เวลาโกรธแค้นใครนี่ หน้าตาดูไม่ได้หรอก แล้วเวลาโลภเป็นไง หน้าตาของคนเรานั่นแหละอาการของกิเลส  แต่ถ้าสิ่งเหล่านี้สงบลงแล้ว อาการเมตตากรุณาก็จะปรากฏออกมา มีแต่ความร่มเย็นมีแต่ความให้ ให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะให้ได้  ให้แม้กระทั่งให้อภัย นี่คือลักษณะของจิตใจที่ปราศจากกิเลส  เป็นจิตใจที่มีความสุขอย่างยิ่ง 
เพระฉะนั้นขอให้เรามีศรัทธา เชื่อในพระธรรมคำสอนอันนี้ และขอให้เชื่อในพระสงฆ์อริยะเจ้า ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดธรรมะอันนี้ จากพระพุทธเจ้ามาสู่พวกเราอีกทอดหนึ่ง  อย่างครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่เราเห็นนั่ง
ประทับอยู่ข้างหน้าเรานี้  เรามีความเชื่อมั่นว่าท่านเหล่านี้เป็นพระอริยะสงฆ์  เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ที่สำเร็จแล้ว บรรลุแล้ว ท่านปฏิบัติ ประพฤติชอบ เอาธรรมะของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ จนกระทั่งทำลายล้างกิเลสที่มีอยู่ภายในจิตใจให้หมดไป ที่ท่านเรียกว่าเป็นอริยะสาวก เป็นเนื้อนาบุญของโลก ทำบุญกับท่านนี้ มีแต่จะได้บุญโดยถ่ายเดียว เพราะว่าทำบุญกับท่านแล้ว จะได้ยินได้ฟังคำสอนของท่านด้วย  ท่านจะสอนเราในเรื่องที่ดี ที่งาม ที่ถูกที่ต้อง เมื่อเราได้ยินได้ฟังแล้ว เราเอาไปประพฤติปฏิบัติ เราก็จะได้ประโยชน์อันสูงสุด ดีไม่ดี เราก็อาจจะกลายเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาอีกคนในที่สุด
  นี่คือจุดมุ่งหมายที่แท้จริง ของการเข้าวัด เพื่อที่จะทำจิตใจของเราให้สะอาดบริสุทธิ์ ทำจิตใจเราให้ปราศจากกิเลส เครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย  เราไม่ได้มาเข้าวัด เพื่อที่จะมาขอลูก ขอสามีนะ ขอให้สามีซื่อสัตย์กับเรา ขอให้ลูกเราดี สิ่งเหล่านี้เราขอไม่ได้หรอก มันเป็นเรื่องของเขา เขาจะดีจะชั่ว มันเป็นเวร เป็นกรรม เป็นบุญ เป็นกุศล ของเขา เขาทำมาอย่างไรเขาก็ต้องเป็นอย่างนั้น มันเป็นกรรมของเราต่างหาก ที่เราไปหลงติดกับเขา  ถ้าเราฉลาด เราก็ตัดเสีย ทิ้งเสีย อยู่คนเดียวสบายกว่าเยอะแยะ  ถ้าไปหลงติดกับเขาแล้ว ทีนี้ใจก็ต้องกลุ้มอกกลุ้มใจ ไม่รู้ว่าเขาจะไปทำอะไร ใจเราอยากจะให้เขาดี แต่เขาไม่ดีด้วย เราจะทำอย่างไร  เราก็จะมีแต่ความทุกข์โดยถ่ายเดียว  เพราะฉะนั้นการมาวัดนี้ ไม่ได้มาขออะไรมาเพื่อฟังเหตุ ฟังผล ฟังวิธี ว่าจะทำอย่างไร ทำให้ตัวเรานี้อยู่อย่างสุขสบายอย่างแท้จริง โดยที่เราไม่ต้องไปขออะไรจากใคร 
  ศาสนาพุทธนี้ไม่ได้สอนให้คนขอ ศาสนาพุทธนี้สอนให้คนทำ ที่ท่านเรียกว่า อัตตาหิ อัตโนนาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน อย่าไปนั่งจุดธูปสามดอกแล้วไปนั่งขอโน่น ขอนี่เลย ขอจนตายก็ไม่ได้หรอก  ถ้าขอได้เมืองไทยนี่เจริญ เจริญเพราะอะไร เจริญเพราะว่า ขายธูป ขายดิบ ขายดี  ไม่ต้องทำอะไรหรอก   ผลิตแต่ธูปอย่างเดียว คนก็ซื้อแต่ธูป แล้วก็ไปนั่งจุดขอ  อยากจะได้เงินกี่ล้าน กี่แสน ก็ลอยมา  แม้กระทั่งเดี๋ยวนี้ ประเทศจะล่มจมทุกวันนี้ ก็เพราะขอกันนี่  อันนี้ต้องไปกู้หนี้ ยืมสินเขาเท่าไหร่ ลองคิดดูซิ เพราะคนไทยเรา ขาดศีลธรรม ขาดความซื่อสัตย์ สุจริต ทุกคนร่วมกัน กินบ้าน กินเมือง บ้านเมืองเราก็เลยกลายเป็นอย่างนี้  แล้วก็มานั่งขอกัน ขอไม่ได้หรอก เราต้องสร้างมันขึ้นมา เราต้องมีความขยันหมั่นเพียร

วิริยะ
ทีนี้มาถึงธรรมะข้อที่สอง  ถ้าเราหวังผลอันเลิศจากการปฏิบัติธรรม เราจะต้องมีความขยัน หมั่นเพียร พากเพียร  ขยันมาวัด ขยันใส่บาตร  ขยันรักษาศีล ขยันฟังเทศน์ ฟังธรรม  ขยันทำบุญตามฐานะของเรา คือพยายามทำให้มาก  อย่าขี้เกียจ ขี้คร้าน  เพราะว่าเราทำได้ทำไหร่ ก็เป็นของเราเท่านั้น  ถ้าเราไม่ทำ เราก็ไม่ได้  ของอย่างนี้ คนอื่นทำให้เราไม่ได้  แม้แต่พระพุทธเจ้า พระอริยะสาวก ท่านก็ทำให้เราไม่ได้  ท่านเป็นเพียงแต่ผู้ชี้แนะแนวทาง เป็นผู้บอกวิธีว่าทำอย่างไรเราถึงจะรวย 
  แต่อัน
นี้ไม่ได้รวยทางเงินทอง แต่รวยทางด้านสมบัติภายใน  ที่เรียกว่าอริยะสมบัติ รวยด้วยศีล รวยด้วนทาน รวยด้วยความสุขใจ  รวยด้วยความอิ่มเอิบใจ อันนี้เราสามารถที่จะร่ำรวยได้ เป็นสมบัติที่ไม่สูญหายไป  ไม่มีใครสามารถจะมาแย่ง  มาขโมย จากเราไปได้ ไม่เหมือนสมบัติภายนอกอย่างสามีเรา หรือภรรยาของเรานี่  คนอื่นมาแย่งของเราไปได้  ลูกเราข้าวของเรานี่ ก็อาจจะโดนคนอื่นมาลักขโมยไปได้  แต่สมบัติที่แท้จริงของเรา ที่อยู่ในใจของเรานั้น ไม่มีใครจะสามารถขโมยจากเราไปได้
  บุญกุศลนี่แหละ เป็นสมบัติที่แท้จริงของเรา บุญกุศลอันนี้ จะเป็นเครื่องปกป้อง รักษา คุ้มครอง เป็นผู้ที่ให้ความสุข ความสบายกับเรา ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต  ถ้าตายไป ก็ไปสู่สุคติ  สู่ที่ดี  ไม่ไปสู่ที่ต่ำ  ไม่ไปอบาย  ไม่ไปเกิดเป็นเดรัจฉาน  ไม่ไปเป็นเปรต ไม่เป็นสัตว์นรก  ถ้ามีบุญกุศลแล้ว อย่างน้อยที่สุด ก็ได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์  ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นมนุษย์ ที่มีรูปร่าง หน้าตา ที่สวยงาม มีเงิน มีทอง  มีความฉลาดรอบรู้  ไม่มีความทุกข์ ทุรนทุราย  เป็นคนที่มาสว่างเพราะบุญพามา  แต่ถ้าไม่มีบุญไม่มีกุศลแล้ว ก็ไปแบบคนไปมืดๆ ไปมืดก็ไปสู่ที่ต่ำนั่นเอง ไปสู่อบาย ไปเป็นเดรัจฉาน ไปเป็นแมวบ้าง  เป็นนกบ้าง เป็นวัวเป็นควายบ้าง อย่างนี้เป็นต้น  สาเหตุเพราะว่าไม่มีบุญไม่มีกุศลไม่ได้ทำบุญทำทาน ไม่ได้รักษาศีล  นี่คือหลักของธรรมะ หลักของความเป็นจริง 
ท่านจึงบอกว่า ถ้าเราอยากได้ดิบได้ดี เราอยากไปสู่ที่ดี สู่สุคติ สู่สวรรค์  ไปสู่อริยะภูมิ  เราจะต้องมีความขยัน หมั่นเพียร ความอุตสาหะ พยายามเร่งพยายามทำแต่ความดี  ท่านสอนว่า ให้พยายามรักษาความดี ที่เรามีอยู่ไว้ ไม่ให้มันเสื่อมถอยไป  และพยายามสร้างความดี ที่เรายังไม่มี ให้เกิดขึ้น  เช่นสมมุติว่า ตอนนี้เรามีศีลห้าแล้ว พยายามรักษาศีลห้าไว้ให้ดีอย่าให้มันขาดอย่าให้มันหายไป  แล้วต่อไปเราก็พยายามเพิ่มขึ้นมา จากศีลห้า ให้เป็นศีลแปด  คือรักษาความดี ที่เรามีไว้ คือศีลห้า  แล้วก็พยายามสร้างความดีใหม่ ให้เพิ่มพูนขึ้นมา  คือพยายามสร้างให้เป็นศีลแปดขึ้นมา  จากศีลแปดให้เพิ่มเป็นศีลสิบ จากศีลสิบให้เป็น ๒๒๗   บวชพระไปเลย 
อันนี้แหละเป็นสิ่งที่ดี ที่งาม ทำไปแล้วก็ให้พยายามเพียรรักษา ป้องกันไม่ให้บาป ที่เราละแล้วเกิดขึ้นอีก  เช่นเมื่อก่อนนี้ เราเป็นคนโลภโมโทสัน  โมโหเก่ง ใช้อารมณ์  แต่เดี๋ยวนี้เราเป็นคนใจเย็น มีเหตุ มีผล ใครเขาจะว่าอะไรเรา เราก็ให้อภัย ไม่ถือโทษ โกรธเคือง  อันนี้คือความชั่วที่เราได้ละแล้ว คือความโกรธ  แล้วก็พยายามรักษาไว้ อย่าให้มันกลับคืนขึ้นมาอีก  ส่วนความชั่วอันไหนที่เรายังมีอยู่ เช่นอาจจะมีความงอน ความดื้อดึง อะไรอย่างนี้ เราก็พยายามแก้ไขเสีย  พยายามตัดเสีย ให้มันหมดไป ทำให้เป็นคน ที่มีแต่เหตุ มีแต่ผล ละความโลภ  ความโกรธ ความหลง  ถ้าเรายังไม่ได้ละ ก็ละมันเสีย  สิ่งไหนที่เราละได้แล้ว เราก็พยายาม อย่าให้มันกลับฟื้นขึ้นมาอีก  นี่คือลักษณะของการมีความเพียรพยายาม  เพียรพยายามทำความดี เพียรพยายามละความชั่ว เพียรพยายามทำจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยการชำระจิตใจ ให้ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่คือธรรมะข้อที่สองที่ได้พูดไว้
  ขั้นต้นให้มีศรัทธา ให้มีความเชื่อ  ถ้าเรามีความเชื่อในพระธรรมคำสอน เชื่อในพระพุทธเจ้า เชื่อในพระอริยะสงฆ์แล้ว เราก็จะมีความขยันหมั่นเพียร ที่จะประกอบ กระทำ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า  ของพระสงฆ์เพราะรู้ว่า เมื่อทำไปแล้ว มีแต่ผลดีตามมาโดยถ่ายเดียว  คนที่ไม่เชื่อนี้มักจะเกิดความเคลือบแคลง สงสัย  เช่นว่าตายไปแล้ว จะได้ไปสวรรค์จริงหรือเปล่า มีสวรรค์จริงหรือเปล่า นรกมีหรือเปล่า หรือว่าเขาหลอกเราให้เราทำความดี แล้วเราก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา  สู้เราไปเที่ยวสนุกสนานเฮฮา กินเหล้าเมายา ไม่ดีกว่าหรือ   นรกมันไม่มี ไม่เห็นจะเป็นอะไร  ดีกว่ามานั่งหลับตา อดๆ อยากๆ ข้าวเย็นก็ไม่ได้กิน อย่างนี้ไม่ได้อะไรเลย  ถ้าเราคิดอย่างนี้ แสดงว่าเรามีความสงสัย  เราไม่มั่นใจ ในคำสอนของพระพุทธเจ้า
  แต่ถ้าเราเชื่อว่า การที่เรามาจำศีล อดข้าวเย็นอย่างนี้  ถึงแม้จะทุกข์ จะยาก จะลำบาก แต่ผลที่ดีมันจะเกิดขึ้นตามมา มันมาทีหลัง เพราะว่าพระพุทธเจ้า  พระสงฆ์สาวกนี้ ท่านเป็นผู้พิสูจน์แล้ว  ท่านเป็นผู้รับรองแล้วว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ดี ทำให้เรามีความสุขที่แท้จริง เมื่อเราเชื่ออย่างนี้แล้ว เราจะมีความขยัน หมั่นเพียร ที่จะประกอบคุณงามความดี  จะมาอยู่วัดทุกวันพระ  เมื่อก่อนนี้ ไม่เคยเข้าวัด เข้าวาเลย แต่พอเริ่มมาเข้าวัดเข้าวา ได้ยิน ได้ฟังธรรมะแล้ว เริ่มเห็นถึงคุณที่เรามาวัดมาวา  เราได้รับสิ่งที่เราไม่เคยได้รับมาก่อน คือธรรมะ ซึ่งเป็นของไม่เหมือนกับวัตถุสิ่งของ  ไม่เหมือนกับรถยนต์  รถยนต์นี่เราเห็นกับตาได้ แต่ธรรมะนี้เป็นนามธรรม มันค่อยๆ ซึมซาบเข้าไปในจิตใจเรา  บางทีเข้าวัดตั้งหลายหนก็ยังไม่รู้สึกได้อะไร แต่มันค่อยๆ ซึมซาบเข้าไปเรื่อยๆ แล้วดีไม่ดีวันหนึ่ง มันก็จะเกิดความรู้สึกเย็นขึ้นมาทันที แล้วมันก็จะรู้ว่าที่เรามาวัดทุกวันๆ นี้ก็เพื่ออันนี้เอง
  หรือว่าบางทีต่อไป ในชีวิตของเราข้างหน้า  เราอาจจะไปประสบมรสุมทางชีวิตอาจจะประสบสิ่งที่เราไม่พึงปรารถนา  เกิดเคราะห์กรรม สูญเสียในสิ่งที่เรารัก ที่เราชอบ แต่พอเรามีธรรมะ นึกถึงธรรมะ นึกถึงพระพุทธเจ้าขึ้นมาได้  ใจเราก็เย็น แทนที่เราจะโศกเศร้า เสียใจ ทุกข์ทรมาน ร้องห่ม ร้องไห้ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ พอเรานึกถึงธรรมะของพระพุทธเจ้าบอกว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา เกิดกับคนทุกคน เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ต้องไปเสียอก เสียใจอะไรเลย ชีวิตเรายังมี เราต้องดำเนินต่อไป  เราต้องทำตัวของเรา ทำใจของเรา ให้เป็นปกติ เราไม่ต้องเสียหลัก ล้มลงไป ถ้าเราได้สติ ได้ธรรมะเกิดขึ้นมานี้ เราก็จะเห็นคุณค่าของธรรมะ ว่าที่เราเข้าวัด เข้าวามานี้ เมื่อก่อนเราไม่รู้หรอกว่า เราเข้าเพื่ออะไร  ต่อเมื่อเราประสบเคราะห์กรรม เกิดความทุกข์ขึ้นมา แล้วธรรมะที่เราได้ยิน ได้ฟังมาช่วยเรา ช่วยทำให้จิตใจเรานั้นเย็น จิตใจเราสบาย จิตใจเราไม่ทุกข์ จิตใจเราไม่ร้อน เราก็จะเห็นคุณค่าของธรรมะขึ้นมา เราก็จะมีความขยัน
  ทีนี้จะชอบทำบุญ  บางคนนี่ เราสังเกตดูสิ คนนี้ชอบทำบุญ คนนี้ชอบรักษาศีล ไม่ทราบว่าทำไมเขาถึงชอบ ก็เพราะว่า เขาเห็นผล เขารู้ เขาได้สัมผัสมาแล้ว แต่คนที่ไม่เคยทำ จะไม่รู้ถึง จะไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่า เรายังไม่ได้สัมผัสกับผลเหล่านี้ ก็พยายามทำไปก่อน มันเหมือนกับการปลูกต้นไม้ เราปลูกต้นไม้ในวันนี้ เราไม่ได้หวังผล ให้มันเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ เราปลูกต้นทุเรียน ต้นมะม่วง เราต้องรอห้าปี สิบปี กว่าจะได้กินลูกของมัน ฉันใดการที่เรามาทำบุญ ทำทาน มารักษาศีล ฟังเทศน์ฟังธรรม มันก็แบบเดียวกับการปลูกต้นไม้  บางทีผลมันจะไม่ปรากฎขึ้นแบบทันทีทันใด  มันต้องใช้เวลาอบรม  ต้องใช้เวลาบ่ม  ขอให้เราพยายามมีความเชื่อ ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน และพยายามมีความพากเพียร พยายามปฏิบัติตาม แล้วผลมันจะค่อยๆ ปรากฏขึ้นมาให้เราเห็นเอง 

สติ
ทีนี้ธรรมะข้อที่สาม ที่อยากจะพูดในวันนี้ก็คือ  นอกจากมีศรัทธา มีวิริยะแล้ว  ถ้าเราอยากจะให้ธรรมะ เกิดผลขึ้นอย่างรวดเร็ว  เราจะต้องมีสติคือจะทำอะไร จะต้องมีสติ  สติเป็นตัวที่จะควบคุมจิตใจ เหมือนกับรถยนต์  ถ้าคนขับรถไม่มีสติขับไป  เช่นคนกินเหล้าเมายาขับไป มันก็จะชนแหลก ถึงไฟแดงมันก็จะผ่า มันไม่รู้จักเบรก เพราะคนขับรถขาดสติ ไม่มีสติควบคุมรถยนต์ฉันใด จิตใจของเราก็เหมือนกัน  ถ้าจิตใจเราไม่มีสติ จิตใจเราก็เหมือนกับไม่มีเบรก อย่างที่คนเขาเรียกว่าสติแตก  คนสติแตกเป็นอย่างไร เวลาโกรธก็ด่ากราดคนทั่วไปหมดเลย  แสดงอาการที่คนธรรมดาปกติแล้ว จะไม่กล้าทำ  แต่คนที่ไม่มีสตินี้ เขาสามารถทำได้ ถ้าสติแตกมากๆ เราก็เรียกว่าคนบ้า อยู่กับคนในสังคมไม่ได้ ต้องจับเข้าไปอยู่ในโรงพยาบาลรักษาคนบ้า เพราะขาดสตินั่นเอง  เพราะฉะนั้นสติเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะว่าเราจะทำอะไร ทำความดีทั้งหลาย เช่นประพฤติ ปฏิบัติธรรม รักษาศีล ทำทาน นั่งทำสมาธิ เราจะต้องมีสติ  ถ้าเราไม่มีสติแล้ว เราจะไม่สามารถควบคุมจิตใจได้ 
การมีสติควบคุมจิตใจ เปรียบเหมือนกับลิงที่มีเชือกผูกไว้กับต้นไม้   ถ้าลิงมันไม่มีเชือกผูกไว้กับต้นไม้ มันก็ต้องไปซนของมันทั่วไปหมด  มันไม่ยอมอยู่กับที่หรอก แต่ถ้าเราเอาเชือกผูกคอมันไว้  แล้วผูกมัดไว้กับต้นไม้ มันก็ไปไหนไม่ได้  ตอนต้นมันก็อาจจะดิ้น มันอาจจะสู้  แต่ต่อไปสักระยะหนึ่ง มันก็จะเหนื่อย จะหมดแรง  เมื่อมันหมดแรงแล้ว มันก็จะยอม  นี่แหละคือสติ  เราสามารถใช้สติเป็นเครื่องควบคุมจิตใจเราได้  เวลาเรามีความโกรธ ถ้ามีสติรู้อยู่ เราก็จะสามารถระงับความโกรธได้  ถ้าเรามีความโลภ เรามีสติรู้อยู่  เราก็สามารถระงับความโลภได้ 
  สติจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง มีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง ถ้าเราไม่มีสติแล้ว เราจะเป็นคน เหมือนกับรถ ที่ไม่มีเบรก จะทำอะไรที่มักจะเลยเถิดไปเรื่อย  แล้วก็สร้างผลเสียหายให้กับตัวเราเอง เป็นคนที่ไม่น่าเลื่อมใส คนเห็นหน้าก็เบื่อหน้า  บอกคนนี้เป็นคนสติแตก นึกอยากจะพูดอะไรก็พูด  นึกอยากจะว่าใครก็ว่า โดยที่ไม่คำนึงถึงเหตุ ถึงผล ว่าควรจะพูดอะไร หรือไม่ควรพูดอะไร  ปล่อยให้อารมณ์พาไป  เป็นคนที่ไม่น่าคบค้าสมาคมด้วย  เพราะฉะนั้นถ้าเราต้องการ จะประกอบคุณงามความดี ทำตัวเราให้เป็นคนดี  ไปที่สูง ที่ส่งได้นี่ เราต้องอาศัยการมีสติ
  การมีสตินี้หมายถึงว่า เราจะต้องมีสติ ระลึกรู้อยู่กับตัวเรา  เช่นว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ขอให้เรารู้อยู่กับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่  เรากำลังพูดอะไร  ขอให้รู้อยู่ว่า เรากำลังพูดอะไร  คือให้ใจเราอยู่กับปัจจุบัน อยู่ที่ตรงนี้เดี๋ยวนี้ ไม่ให้ใจลอยไปที่อื่น  ถ้าใจลอยไปที่อื่นแล้ว เรากำลังทำอะไรอยู่นี้ บางทีเราก็เผลอ ถ้ากำลังหั่นเนื้อ หั่นอะไรอยู่ ดีไม่ดีก็หั่นไปที่นิ้วเราแทนที่จะหั่นไปที่เนื้อ ที่เรากำลังหั่นอยู่ แทนที่จะหั่นผัก หั่นเนื้อ ก็ไปหั่นนิ้วตัวเองแทน  เพราะใจเรากำลังคิดถึงเรื่องโน้น เรื่องนี้อยู่ อย่างนี้แสดงว่าไม่มีสติ  ถ้ามีสติแล้วเราจะต้องรู้อยู่ทุกขณะ ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่อย่างเวลาเราจะร้อยด้ายใส่รูเข็ม  ถ้าเราไม่มีสติมั่น  ใจเราไม่มั่น เราจะไม่สามารถที่จะร้อยด้ายเข้ารูเข็มได้ เพราะใจเราจะวอกแวก  ใจเราจะลอยไป ลอยมา แต่ถ้าเรามีสติควบคุมจิตใจให้มั่น  เราก็สามารถที่จะร้อยด้ายเข้าสู่รูเข็มได้อย่างง่ายดาย 
  นี่คือลักษณะของการมีสติ อันนี้เป็นธรรมะที่สำคัญอย่างยิ่ง ควรพยายามเจริญให้มาก  ควรพยายามให้มีสติอยู่กับตัวของเราเองก็ได้ หรือว่าเราจะเอาสติผูกไว้กับพุทโธก็ได้  เราจะทำอะไรก็ขอให้ระลึกถึงคำว่าพุทโธ พุทโธ พุทโธ อยู่ในใจของเรา  อย่าให้ใจเราลอยไปในที่ต่างๆ นานา อย่าให้ลิงของเรา คือใจของเรานั้นลอยไป ผูกมันไว้กับต้นไม้ ต้นไม้ต้นนี้ก็คือพุทโธ พุทโธ พุทโธ  ถ้าเราสามารถผูกใจไว้ได้ ในที่สุดใจเราก็จะสงบตัวลงเป็นสมาธิ  คำว่าสมาธิก็คือใจตั้งมั่น ใจไม่ลอยไป ลอยมา ใจอยู่ตรงนี้ก็ตั้งอยู่ตรงนี้ เหมือนกับน้ำแก้วนี้ ที่ให้ตั้งอยู่ตรงนี้ ก็จะอยู่ตรงนี้ มันไม่ไปไหน แสดงว่ามันอยู่กับที่ ใจเราก็เหมือนกัน ถ้าใจเรามีสมาธิโดยอาศัยสติเป็นเครื่องควบคุม  ใจเราก็จะตั้งมั่น เมื่อใจเราตั้งมั่นแล้ว  เราก็จะสามารถทำอะไรได้ หลายอย่าง

สมาธิ
  เพราะฉะนั้นนอกจากมีศรัทธาแล้ว มีความพากเพียรแล้ว มีสติแล้ว ขั้นต่อมาเราต้องมีสมาธิด้วย ใจเราจะต้องตั้งมั่น ตั้งมั่นในสิ่งอะไร ตั้งมั่นในเรื่องของคุณงามความดี โดยปกติคนเรานี้มักจะตั้งมั่นอยู่ในคุณงามความดีไม่ค่อยได้ เพราะอะไร เพราะใจเรามันชอบลอย ไปลอยมา ตามอารมณ์  บางอารมณ์ก็ทำได้  บางวันถ้าอารมณ์ดี ถ้าอยากจะทำบุญก็ทำได้  แต่บางวัน ถ้ามันเกิดอารมณ์ไม่อยากเสียอย่าง มันไม่ทำ  แต่ถ้าใจมีสมาธิแล้ว ใจมันตั้งมั่นอยู่แล้ว  มันจะทำอยู่ตลอดเวลา  เรื่องของคุณงามความดี  การละความชั่ว ก็จะง่าย เพราะใจมันตั้งมั่นอยู่ที่จะละความชั่ว ก็จะละความชั่วอยู่เสมอ ความดีก็จะทำอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นการที่เราจะทำอะไรที่จะให้ได้ผลจริงๆแล้ว  เราจะต้องมีความตั้งมั่น ก็คือการมีสมาธิ 
  ฉะนั้นการฝึกหัดทำสมาธิโดยสม่ำเสมอนั้น  จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง  เราต้องพยายามทำอยู่เสมอ  ทำอยู่เรื่อยๆ อย่างน้อยวันละครั้ง สองครั้ง เช้าตื่นขึ้นมาล้างหน้าล้างตาเสร็จแล้ว ก็ไหว้พระสวดมนต์ การสวดมนต์ก็เป็นวิธีทำสมาธิอย่างหนึ่ง  สวดไปนานๆ ถ้าเราสวดได้ สวดสักครึ่งชั่วโมง สักชั่งโมงหนึ่ง ใจจะเย็น ใจจะตั้งมั่นอยู่ ใจจะไม่ลอยไปไหน  หรือว่าถ้าเราไม่อยากสวด  เราอยากจะนั่งทำจิตให้สงบ โดยการบริกรรมคำว่าพุทโธ พุทโธอยู่ภายในใจเรา เราก็ทำได้ นั่งหลับตาแล้วภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ ให้นานที่สุด เท่าที่จะนานได้  ครึ่งชั่วโมง ชั่วโมงหนึ่งหรือสองชั่วโมง แล้วแต่เราจะทำได้ มากน้อยแค่ไหน เราทำไป อันนี้เป็นการฝึกหัดทำใจให้ตั้งมั่น  พยายามฝึกหัด ไม่ให้ใจลอยไป ลอยมา โดยต้องอาศัยสติเป็นตัวคอยดึงใจไว้ 
  ถ้าเราทำไป โดยที่เราไม่มีสติ ใจจะลอยไป  เช่นถ้าเราสวดมนต์แล้วใจเราไปคิดเรื่องอื่นด้วย แสดงว่า  ใจเราลอยไปแล้ว  แสดงว่าเราไม่มีสมาธิ  เราไม่มีสติ  เช่นเราสวดอรหังสัมมาสัมพุทโธ แล้วก็คิดว่า  เดี๋ยววันนี้เราจะไปทำอะไรดี ถ้ามีอย่างนี้แทรกเข้ามา ก็แสดงว่าใจเราไม่มีสติ  เราสวดมนต์ไป แต่ใจเราไปคิดอีกอย่างหนึ่ง  อันนี้จะทำให้ไม่เกิดผล  ใจจะไม่ตั้งมั่น  ถ้าจะให้ตั้งมั่น จะต้องมีสติอยู่กับสิ่งที่เราสวด  ถ้าเราสวดอรหังสัมมาสัมพุทโธ ก็ให้มีแต่อรหังสัมมาสัมพุทโธ อยู่ในใจอย่างเดียว อย่าให้มีอย่างอื่นอยู่ในใจ  ให้มันเป็นหนึ่ง อย่าให้มันเป็นสอง เรียกว่าใจเป็นหนึ่ง ใจมีอารมณ์เดียว ถ้าใจมีอารมณ์เดียว ใจก็ตั้งมั่น ถ้าใจมีสอง มีสาม มันก็วอกแวก มันก็ลอยไป ลอยมา ใจก็จะไม่เป็นสมาธิ  ใจก็จะไม่สงบ เมื่อใจไม่เป็นสมาธิ ใจไม่สงบ ใจก็ไม่เย็น ใจก็ร้อน ร้อนเพราะอารมณ์ของกิเลสนั่นเอง อารมณ์รัก อารมณ์ชัง อารมณ์เบื่อหน่าย  อารมณ์อะไรต่างๆ ทั้งหลายแหล่ แล้วมันก็จะทำให้เราไข้วเขวไป  ไม่สามารถที่จะประกอบคุณงาม ความดีได้ ตั้งใจไว้ว่า วันนี้จะไปทำบุญ  แต่พอไปเห็นอะไรเข้าสักอย่าง ไม่ถูกใจเข้า เกิดเสียอารมณ์ ไม่ไปซะแล้ววันนี้ อย่างนี้เป็นต้น  ก็เกิดขึ้นได้ เพราะว่าใจเรามันไม่มั่น  ใจเราไม่มีสมาธินั่นเอง เพราะฉะนั้นพยายามฝึกหัดทำสมาธิอยู่เรื่อยๆ
  เราสามารถทำสมาธิได้ตอดเวลา  ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน  ในอิริยาบถไหน  ขับรถเราก็ทำได้ แต่อย่าไปหลับตา  ขับรถไป ก็พุทโธไปในใจ ให้มีสมาธิอยู่กับการขับรถ  อย่างนี้ก็เป็นการทำสมาธิ  กินข้าวเราก็มีสมาธิอยู่กับการกินข้าว  อ่านหนังสือก็มีสมาธิอยู่กับการอ่านหนังสือ ทำงานก็ให้มีสมาธิอยู่กับการทำงาน  นี่ก็คือการฝึกหัดทำสมาธิ เราไม่ต้องรอเข้าวัด ไม่ต้องรอหาที่สงบ ที่เงียบตรงไหนหรอก  ไม่ต้องมานั่งหน้าห้องพระก่อนถึงจะทำได้  อย่างนั้นมันไม่ทันการ  เพราะเหตุใด  เพราะกิเลสมันทำงานอยู่ตลอดเวลา กิเลสที่เราพยายามจะต่อสู้กับมัน  มันอยู่ที่ไหนมันก็ทำได้  ความโลภมันเกิดได้ทุกแห่งหน ทุกขณะ ทุกเวลา  ความโกรธก็เช่นกัน ความโกรธมันไม่ได้บอกว่า เดี๋ยวขอรอให้ขึ้นเวทีก่อนแล้วค่อยโกรธ ขอขึ้นเวทีก่อนแล้วค่อยโลภ มันไม่คิดอย่างนั้นหรอก เห็นอะไรปุ๊บมันก็โลภ เห็นอะไรมันก็โกรธเลย ฉันใดเราก็ต้องเอาธรรมะเข้าไปแก้  เราต้องเอาสติเข้าไปเบรก  เอาสติเอาสมาธิไปเบรก 
  ฉะนั้นการต่อสู้กับกิเลส มันต้องต่อสู้กันตลอด ๒๔ ชั่วโมงเลย คือตั้งแต่ตื่นขึ้นมาถึงเวลาหลับเลย  เราต้องพยายามตั้งท่า การตั้งท่าของเราคือการตั้งสตินั่นเอง พยายามให้รู้อยู่ทุกขณะ ว่าใจเรากำลังคิดอะไร  ใจกำลังโลภอยู่หรือเปล่า กำลังโกรธอยู่หรือเปล่า ถ้าโลภหรือโกรธ เราต้องมีสติระงับมันเสีย  บอกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ดี  สิ่งเหล่านี้เป็นฟืนเป็นไฟ เมื่อโลภแล้วมันร้อน  เมื่อโกรธแล้วมันร้อน  เมื่ออยากแล้วมันร้อน เมื่อไม่โลภไม่โกรธแล้วมันเย็น มันสบาย  มันจะไม่โลภไม่โกรธ ก็ต่อเมื่อมีสติระงับมัน เพราะฉะนั้นพยายามฝึกหัดตั้งสติตลอดเวลา ทำสมาธิอยู่ตลอดเวลา เวลาอยู่ว่างๆ แทนที่จะไปหาหนังสือแฟชั่นอ่าน หนังสือการ์ตูนอ่าน ก็เอาพุทโธขึ้นมาอยู่ในใจดีกว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ อยู่ในใจ แล้วใจจะเย็น ใจจะสบาย ใจจะมีความสุข ใจจะตั้งมั่นอยู่ในคุณงาม ความดี  ก็คือธรรมะที่เราเรียกว่าสมาธิ ความตั้งมั่นของจิตใจ  ที่จะเป็นเครื่องช่วยทำให้การ
ปฏิบัติของเราก้าวหน้าเจริญ  ทำให้จิตใจของเรานั้นเจริญสูงขึ้นไปเรื่อย

ปัญญา
  ส่วนธรรมะข้อสุดท้าย ที่เป็นเครื่องช่วยหนุน ให้จิตใจเรานั้นสูงขึ้นไปเรื่อยๆ คือปัญญา  ปัญญาก็คือความฉลาด ต่างกับความโง่  ความโง่กับความฉลาดนั้นต่างกัน เราก็รู้ว่าความฉลาดเป็นอย่างไร คนฉลาดกับคนโง่เป็นอย่างไร เราก็รู้ คนโง่ก็ต้องไปเป็นคนกวาดถนน  ล้างถ้วย ล้างชามเพราะไม่ฉลาด คนฉลาดนั้น ก็ไปทำงานสบาย นั่งอยู่ในออฟฟิต ห้องแอร์ กระดิกนิ้ว กดโทรศัพท์ สั่งคนโน้น ใช้คนนี้  เพราะเขามีปัญญา มีความฉลาด  เขามีความรู้ ว่าเขาควรจะทำอะไร ไม่ควรทำอะไร แต่คนโง่นี่ ไม่รู้ ให้ไปพิมพ์ดีด ก็พิมพ์ไม่เป็น  เลยต้องไปล้างถ้วย ล้างจาน  เป็นคนตัดหญ้า ถางหญ้า ไปกวาดถนน เพราะงานอย่างนี้ ไม่ต้องใช้ปัญญาใช่ไหม  แต่ถ้าจะไปทำงานที่พิเศษขึ้น ละเอียด ละออขึ้น  ที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ก็จะต้องใช้ปัญญา  นี่คือลักษณะของคนที่มีปัญญา คือคนที่มีความรู้  รู้ในเรื่องราวต่างๆ
  แต่ปัญญาในทางพระพุทธศาสนานี้  เราเน้นถึงความรู้ในเรื่องของทุกข์ ในเรื่องของพระอริยสัจสี่   คือให้รู้ว่าใจเราทุกข์เพราะอะไร อะไรคือความทุกข์ใจ  ให้รู้ว่าขณะที่เกิดความทุกข์นั้น เรารู้อยู่หรือเปล่า บางคนไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทุกข์ เวลาทุกข์เกิดขึ้นมาตัวเองไม่รู้ว่าทุกข์  หรือว่ารู้ก็ไม่รู้ว่า อะไรทำให้มันเกิดความทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าคนที่มีปัญญา ก็จะรู้ทันที เวลาเกิดความทุกข์ขึ้นมา มันจะร้อนขึ้นมาที่ใจ  ขณะนี้ญาติโยมนั่งอยู่นี่มันเย็นสบาย  แต่ถ้าเกิดใครมาทำให้เราไม่สบายใจขึ้น  ใจมันจะร้อนขึ้นมา  แต่ถ้าเราไม่มีสติปัญญา บางทีเราก็ไม่รู้ว่าเราทุกข์  แต่ถ้าเรามีสติปัญญา เราได้ยินได้ฟังธรรมะอยู่เรื่อยๆ เราก็จะรู้ว่าเวลาเราไม่สบายใจ นี่แหละคือความทุกข์
  ความทุกข์ในใจของเรามันก็มีเหตุของมันด้วย เหตุมันไม่ได้เกิดจากภายนอก  เหตุที่แท้จริงมันเกิดจากภายในใจของเรานั่นเอง เหตุของความทุกข์ก็มีอยู่สาม  คือตัณหาทั้งสาม  ความอยากได้ในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส  อยากจะได้ข้าวของต่างๆนานา เห็นเสื้อผ้าสวยๆ งามๆ ก็อยากจะได้  พอมันอยากปั๊บ มันก็ร้อนขึ้นมา อยู่ไม่สุขแล้ว  อยู่เฉยๆไม่ได้แล้ว ถ้าเปิดโทรทัศน์เห็นเขาโฆษณาอะไร  เขาบอกเบอร์โทรศัพท์ว่า โทรมาเบอร์นี้นะ ซื้อของอันนี้ จะลดราคาให้  อยู่เฉยๆ ไม่ได้แล้ว รีบโทรกันวุ่นไปหมดเลย  เพราะใจมันร้อนแล้ว ใจมันไม่นิ่งใจมันไม่สงบ  เกิดความทุกข์ขึ้นมาแล้ว ทุกข์อีกอย่างก็คือทุกข์ ที่เกิดจากความอยากมี อยากเป็น เพราะรู้ว่า  ถ้ามีโอกาสที่จะได้เป็นนายกขึ้นมา นั่งอยู่เฉยๆไม่ได้ต้องรีบไปหาเสียง  ไปเลือกตั้ง เลือกอะไรกันวุ่นไปหมด เพื่อที่จะได้เป็นนายก แทนที่จะอยู่เฉยๆ แล้วให้มันมาหาเราเอง เรากลับทำใจไม่ได้ แต่ถ้าเป็นคนไม่อยาก เขาอยู่เฉยๆ เขานั่งเฉยๆ มาก็ได้ไม่มาก็ได้ เขาไม่เดือดร้อน เขาอยู่เป็นสุขเพราะไม่มีความอยากแต่ถ้าอยากแล้วมันอยู่เฉยๆไม่ได้ มันทุกข์แล้ว มันร้อนแล้ว
  ความทุกข์มันเกิดที่ใจเรา สาเหตุของความทุกข์มันก็เกิดในใจเรา ก็คือความอยากทั้งหลาย ถ้าเราไม่มีความอยากแล้ว เราก็ไม่ทุกข์หรอก  สมมุติว่าเราอิ่มแล้ว กินข้าวอิ่มแล้ว จะกินเข้าไปอีกสักคำก็ไม่ได้ ต่อให้ยกโต๊ะจีนมาตั้งอยู่ข้างหน้าเรา เราก็กินไม่ลง เราก็ไม่อยาก เราก็เฉยๆ  แต่ถ้าเราไม่ได้กินข้าวมาสักสองสามมื้อ อย่าว่าแต่โต๊ะจีนเลย ข้าวเปล่าๆ กับกล้วยยังรีบเข้าตะครุบหา เพราะความอยากมันพาไป  ความทุกข์หมายความว่า  ความอยู่ไม่สุขนั่นเอง คนเราถ้าอยู่นิ่งๆ เฉยๆได้ ก็มีความสุขแล้ว คนนั้นก็ไม่มีความทุกข์  เพราะฉะนั้นความทุกข์มันอยู่ที่ใจและสาเหตุของความทุกข์มันก็เกิดภายในใจเรา การดับทุกข์นั้นก็ดับที่ใจเรา สิ่งที่จะดับทุกข์ มันก็อยู่ในใจเรา สิ่งที่ดับทุกข์เราเรียกว่ามรรค  มรรคคืออะไร  มรรคก็คือสติปัญญาที่เราพูดถึง ขอให้เรารู้ว่า ความทุกข์ของเรา มันเกิดขึ้นเพราะความอยาก ดังนั้นเราก็ดับความอยากเสีย พอเรารู้ ได้สติ ว่าเรากำลังทุกข์  เราอย่าไปอยากกับมัน เราก็ดับได้  เช่นเราอยากจะกินอะไรขึ้นมาทั้งๆ ที่เราอิ่มแล้วนี้  พอเห็นเขาโฆษณาว่าอาหารนี้อร่อย ก็อยากจะวิ่งไปเปิดตู้เย็นหยิบมากิน  แต่พอเราได้สติ บอกว่าเราเพิ่งกินไปหยกๆนะ กินแล้วเดี๋ยวมันอ้วน  เดี๋ยวน้ำหนักมันจะเพิ่มนะ  เดี๋ยวไขมันจะเพิ่ม เดี๋ยวความดันมันจะเพิ่ม เดี๋ยวจะตายเร็ว  มันคิดอย่างนี้มันจะหยุดได้ มันเบรกได้ มันก็ระงับความอยากได้ เมื่อระงับได้ใจก็ตั้งมั่นอยู่  มันก็สงบ 
  นี่แหละคือปัญญาในทางพุทธศาสนา ขอให้ดูว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เป็นของไม่เที่ยง  เป็นทุกข์ อย่าไปหลง  อย่าไปติดมัน  พวกรูป เสียง  กลิ่น  รส  เครื่องสัมผัส  ข้าวของ เงินทอง ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ที่เราชอบกันนัก  ได้เงิน ได้ทองแล้ว รู้สึกว่ามีความสุขเหลือเกิน  แต่ทางศาสนา ทางของคนที่มีปัญญา กลับเห็นว่าเงินทอง เป็นต้นเหตุของความทุกข์  ถ้ามีเกินความจำเป็น  ถ้าเรามีไว้สำหรับเลี้ยงปาก เลี้ยงท้องเรา เลี้ยงอัตภาพร่างกายเรา ก็เป็นสิ่งจำเป็น  มันก็ไม่เป็นความทุกข์  แต่ถ้ามันมีมากกว่านั้น มันวุ่นวาย มันร้อน  มันอยู่เฉยๆไม่ได้ มีเงินทองอยู่ในกระเป๋าแล้วมันร้อน  มันต้องออกไปใช้  มันรู้สึกว่า ถ้ามันอยู่ในกระเป๋าแล้ว มันร้อนไปหมดทั้งตัว  แต่ถ้าได้ออกไปซื้อข้าว ซื้อของ ไปใช้ให้หมดแล้ว ทีนี้มันสบายแล้ว หมดเมื่อไร่ก็กลับมานอนก่ายหน้าผากเพราะไม่มีเงินที่จะใช้ ทุกข์มันก็หมดไป 
  อย่าไปคิดว่า เงิน ทอง ลาภ ยศ สรรเสริญ สุขนี้ เป็นความสุขที่แท้จริง  เพราะสุขเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มันมีเกิดขึ้นได้  มันมีดับได้  คนเราเวลารวยขึ้นมา ก็มีความสุข  แต่พอจนลงมา ก็ทุกข์มาก  เวลาเงินทองหมดไป ไม่มีอะไรจะทุกข์เท่า  แต่ถ้าเคยอยู่แบบไม่มีเงิน มีทอง อยู่ แบบพระท่าน ก็ไม่เห็นเดือดร้อนอะไร  ก็อยู่ได้  เพียงแต่ขอให้มีข้าวกินไปวันๆ ก็พอแล้ว ขอให้ใช้ปัญญา ให้เกิดความเข้าใจว่า  ความสุขที่แท้จริงนั้น ก็คือการไม่อยากในอะไรทั้งสิ้น ทั้งปวง นั่นเอง ละความโลภ ละความโกรธ ละความหลง ละตัณหาทั้งหลาย ละกามตัณหา ความอยากในรูป เสียง  กลิ่น  รส  เครื่องสัมผัส ละความอยากมี อยากเป็น  อย่าไปอยากเป็นนายร้อย อยากเป็นนายพัน อยากจะเป็นอธิบดี อยากจะเป็นนางงามจักรวาล  เพราะถ้าเราอยากก็ต้องวิ่งไปหาสิ่งเหล่านั้น ถ้าเราไม่อยาก เราก็อยู่เฉยๆ เราก็มีความสุข
  เหตุของความทุกข์ก็คือความอยากทั้งหลายนั่นเอง วิธีจะดับทุกข์ ก็ใช้สติปัญญา ให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นความสุขอย่างแท้จริง ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ในใจของเรา ใจที่สงบ ระงับ ดับตัณหาทั้งหลายนั่นเอง เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีธรรมทั้งห้าที่ได้แสดงไว้ก็คือ  มีศรัทธา มีวิริยะ มีสติ มีสมาธิ มีปัญญาแล้ว  เราจะมีเครื่องมือ ที่สามารถใช้ดับกิเลส  ดับความทุกข์ได้ ภายในจิตใจของเรา ฉะนั้นขอฝากธรรมะทั้งห้านี้ ให้ญาติโยมนำกลับไปเจริญให้มาก  เพื่อผลคือความสุข ความเจริญที่แท้จริง ย่อมเป็นแก่ญาติโยมโดยทั่วกันอย่างแน่นอน  การแสดงเห็นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้