คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ภาค ๒ วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น
อาจารย์สมชัย ฑีฆาอุตมากร
มาตรา ๑๗๐ ห้ามมิให้ฟ้อง พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเป็นครั้งแรกในศาลหรือโดยศาลอื่น นอกจากศาลชั้นต้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๑๗๒ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๕๗ ให้โจทก์เสนอข้อหาของตนโดย ทำคำฟ้องเป็น หนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้น
คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างซึ่ง อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น
ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือยกเสีย หรือให้คืนไป ตามที่บัญญัติมาตรา ๑๘
ฏ.๔๕๙/๓๖ คำร้องสอดชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาเท่านั้น ส่วนคำขอบังคับมิได้มีคำขอโดย ชัดแจ้งถึงจำนวนเงินที่เรียกร้องหรือมีคำขอบังคับอยู่ในตัวต้องการให้บังคับอย่างไร จึงเป็น คำร้องสอดที่ไม่ชอบ
ฏีกาที่๔๓/๓๘_การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้าของ มรดกจึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของเจ้าของมรดกส่วนโจทก์ไม่ใช่ทายาทโดยธรรม ที่มีสิทธิรับมรดกนั้นเป็นการร้องสอดเพราะจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่แม้ท้ายคำร้องระบุว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วมโดยผิดหลงก็ถือได้ว่าเป็นการร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)และคำร้องขอดังกล่าวมีลักษณะเป็นคำขอบังคับอยู่ในตัวประกอบกับผู้ร้องสอดไม่ได้เรียกร้องอะไรเพียงแต่ขอให้ยกฟ้องจึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับโดยแจ้งชัดในคำร้องสอดอีก คดีก่อนโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกคดีนี้พิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกคดีทั้งสองเรื่องเกี่ยวข้องกันแต่มิใช่คดีเดียวกันโจทก์จะยกขึ้นมาเป็นเหตุคัดค้านผู้พิพากษาที่พิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา11(5)หาได้ไม่ |
-โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนในประเทศไทย ก็ย่อมเป็นอันเพียงพอที่จะทำให้เห็นว่าโจทก์เป็นบุคคลตามกฎหมายมีอำนาจฟ้องคดีได้ ทั้ง เอกสารการจดทะเบียนนิติบุคคลเป็นเอกสารมหาชนที่บุคคลทั่วไปสามารถตรวจสอบได้อยู่ แล้วว่าใครเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นๆได้
-ฟ้องไม่ได้บรรยายถึงการเป็นตัวแทนตัวการในการทำสัญญา โจทก์ก็สามารถนำสืบได้ในชั้น พิจารณาไม่ถือว่าเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็น
-“ฟ้องเรื่องอะไร ก็ต้องพิจารณาในเรื่องนั้นเป็นหลัก” ---- ระวังให้ดีอาจออกข้อสอบได้ เช่น ฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ ขายฝากที่ดินให้แก่โจทก์ กำหนดไถ่ถอนภายใน ๓ เดือน ครบกำหนดแล้ว จำเลยที่ ๑ ไม่ไถ่ถอนและไม่ยอมออกไปจากที่ดิน ทำให้เสียหาย ขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสีย หาย “เป็นฟ้องขอให้ขับไล่ฐานละเมิดและเรียกค่าเสียหายไม่ได้ให้บังคับตามสัญญาขายฝาก หรือกล่าวหาว่าผิดสัญญาอันจะต้องกล่าวระบุรายละเอียดในข้อสัญญา โจทก์จึงไม่จำต้อง บรรยายฟ้องเกี่ยวกับราคาขายฝากและสินไถ่ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่ง ข้อหาและคำขอบังคับตามมาตรา ๑๗๒ วรรคสองแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม .....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น