วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สรุปกม.แพ่ง

กม.แพ่ง
ลักษณะหนี้  สรุปจากหนังสือของ  ศ.ดร.จี๊ด  เศรษฐบุตร
ลักษณะทั่วไปของหนี้
-แม้สิทธิหน้าที่ความรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นจะเป็นทรัพย์สินก็ตาม  แต่เป็นทรัพย์สินที่อยู่ในกองทรัพย์สิน patrimony ของลูกหนี้ที่การบังคับชำระหนี้จะต้องเป็นไปตามมาตรา ๒๑๓
-มาตรา ๒๑๓   ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน
เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้  เว้นแต่สภาพ
แห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้
เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้  ถ้าวัตถุ
แห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด  เจ้าหนี้จะร้องขอต่อ
ศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้
เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้  แต่ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรม
อย่างใดอย่างหนึ่งไซร้   ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทน
การแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้
กำลังบังคับแห่งหนี้
มาตรา ๒๑๓  ปฐมบทแห่งอำนาจเต็มของการบังคับคดีได้เด็ดขาด     ... “ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน  เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้บังคับชำระหนี้ก็ได้...
ข้อ ๑. บังคับชำระหนี้ได้เมื่อใด
  -ฏ.๖๑๖๘/๓๔  แม้ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินมีข้อความระบุให้จำเลยมีสิทธิชำระเงินส่วนเหลือได้   เมื่อจัดสรรขายที่ดินหมดแล้วโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา  ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายว่าจำเลยต้องรีบดำเนินการ   การจัดสรรและเร่งรัดขายที่ดินภายในเวลาอันสมควร  เมื่อจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินการดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ข้อ ๒. การไม่ชำระหนี้ยังผลให้เจ้าหนี้เสียหาย
๑.ความเสียหายซึ่งเจ้าหนี้มีส่วนทำความผิดด้วย
๒.ความเสียหายนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นความเสียหายแก่ทรัพย์สิน
๓.ความเสียหายมี ๒ ชนิด   คือ  ขาดทุนกับขาดกำไร
  ๔.ความเสียหายต้องเป็นผลเนื่องมาจากการไม่ชำระหนี้
๕.ความเสียหายเนื่องจากการชำระหนี้ล่าช้า  (โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นตัวเงิน  หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดจึงเป็นหนี้เงิน   ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด  จำต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ ๗ ครึ่งต่อปี   อันเป็นไปโดยผลแห่งกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยอีก)(ถ้าในกรณีไม่ใช่หนี้เงิน  เช่น  กรณีส่งมอบทรัพย์สินที่ไม่ใช่ตัวเงินก็ดี หรือแม้กรณีให้ลูกหนี้กระทำการอันใดอันหนึ่งก็ดี  และการชำระหนี้ล่าช้าไป  โดยลูกหนี้ผิดนัดแล้ว  ดังนี้  ลูกหนี้จะรับผิดทางสัญญาใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้นำหลักฐานมาสืบได้ว่าตนได้รับความเสียหายจริง   สำหรับกรณีความผิดรับทางละเมิดก็ได้บังคับให้ผู้ละเมิดคืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์  ตลอดจนผู้ละเมิดยังต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ  ผู้ซึ่งเสียหายมีสิทธิเรียกร้องตาม ๔๓๘ วรรคสอง
-ข้อแตกต่างระหว่าง  “ความรับ224ผิดทางสัญญา”   -   “ความรับผิดทางละเมิด”
-ความรับผิดทางสัญญา_การบอกปัดของเจ้าหนี้ , ระหว่างการชำระหนี้ล่าช้า ผลร้ายแห่งการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย  ย่อมเป็นพับแก่ลูกหนี้ผู้ผิดนัด   มาตรา ๒๑๖ ,​๒๑๗ 
-ความรับผิดทางละเมิด  ปรากฏตามมาตรา ๔๓๙  มีลักษณะอย่างเดียวกับมาตรา ๒๑๗  “บุคคลผู้จำต้องคืนทรัพย์อันผู้อื่นต้องเสียไปเพราะการละเมิดแห่งตนนั้นยังต้องรับผิดชอบตลอดถึงการที่ทรัพย์นั้นทำลายลงโดยอุบัติเหตุ  หรือการคืนทรัพย์ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างอื่น  โดยอุบัติเหตุหรือทรัพย์นั้นเสื่อมเสียลงโดยอุบัติเหตุนั้นด้วย   เว้นแต่เมื่อการทีทรัพย์สินทำลาย  หรือตกเป็นพ้นวิสัยจะคืน  หรือเสื่อมเสียนั้น  ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการทำละเมิด  ก็คงจะต้องตกไปเป็นไปอย่างนั้นอยู่นั้่นเอง”
๖.ความเสียหายที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต้องคาดหมายได้-ลูกหนี้ไม่ต้องคาดเห็นหรือควรจะคาดล่วงหน้าตั้งแต่ขณะทำสัญญาเสมอไป  หากปรากฏว่าลูกหนี้ไม่คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นก่อนประพฤติผิดสัญญาก็เพียงพอที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น