วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เรื่องตำแหน่ง นรต.64

เรื่องตำแหน่ง นรต.64 ในเฟสบุค เป็นตำแหน่งที่ขวัญพลไปประสานขอมาแต่ยังไม่ครบครับ ส่วนการนัดหมาย ว่าที่ ร.ต.ต.64 เข้ามา รร.นรต.แจ้งว่า ให้เข้ามาวันจันทร์ที่ 1 ส.ค.54 เวลา 13.00 น. ส่วนการเลือกตำแหน่งยังไม่ทราบครับ
จักรกฤช


Sent from my iPod

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กม.ล้มละลาย ย่อตัวบท ในภาพรวม

กม.ล้มละลาย ย่อตัวบท ในภาพรวม
สรุปหัวข้อสำคัญ มี 3 ส่วน
1. ก่อนล้มละลาย

การขอรับชำระหนี้
-มาตรา 91 เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน
-มาตรา 92 บุคคลได้รับความเสียหายเนื่องจากทรัพย์ถูกยึด 109(3) หรือการโอนทรัพย์สิน หรือ การกระทำที่ถูกเพิกถอนตาม ๑๑๕ จพท.ไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตาม ๑๒๒ มีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับราคาสิ่งของหรือหนี้เดิมค่าเสียหาย ภายในกำหนด ๙๑ แต่ให้นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ได้ ถ้าข้อเถียงเป็นคดีให้นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
-มาตรา 94 เจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่
๑.หนี้เกิดขึ้นโดยข้อห้ามตามกฏหมาย
๒.หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำ เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
-มาตรา 95 เจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อนพิทักษ์ทรัพย์ โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้
-มาตรา 100 ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้น ไม่ถือว่าเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้
-มาตรา 101 ถ้าลูกหนี้ร่วมบางคนถูกพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ร่วมคนอื่นอาจยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหลังได้ เว้นแต่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว ใช้ด้วยกับผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันร่วม บุคคลอื่นลักษณะเดียว
-มาตรา 102 ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าไม่มีวัตถุอย่างเดียว เงื่อนไข เงื่อนเวลา -- ก็อาจหักกลบลบหนี้กันได้ เว้นแต่เจ้าหนี้ได้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
-มาตรา 104 เมื่อพ้นกำหนดเวลา ๒ เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จพท.นัด ล/น จ/น มาพร้อมกันเพื่อตรวจคำขอรับชำระหนี้ โดยแจ้งความให้ทราบไม่น้อยว่า ๗ วัน
-ม.105 จพท.มีอำนาจเรียก จ/น ล/น คนใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สิน แล้วทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินทที่ขอรับชำระนั้นต่อศาล พร้อมทั้งรายงานว่ามีผู้โต้แย้งขอรับชำระหนี้หรือไม่
-ม.106 คำขอรับชำระหนี้ ที่มีผู้โต้แย้ง ศาลสั่ง ยกคำขอ / อนุญาตตามคำขอเต็ม / อนุญาตตามคำขอบางส่วน
-ม.107 คำขอที่ศาลสั่งโดยผิดหลง เมื่อ จพท.มีคำขอ ศาลมีอำนาจยกคำขอรับหรือลดจำนวนหนี้ที่ได้สั่งอนุญาตไปแล้ว
ทรัพย์สินซึ่งอาจเอามาชำระหนี้
ม.109 ทรัพย์ต่อไปนี้ ถือเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้
1)ทรัพย์ที่ลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเร่ิมต้นแห่งการล้มละลาย (วันที่สั่งพิทักษ์ฯ
2)ทรัพย์ที่ได้มาภายหลังเวลาเร่ิมต้นแห่งการล้มละลาย
3)สิ่งของที่อยู่ในครอบครองหรืออำนาจสั่งการหรือสั่งจำหน่ายของ ลูกหนี้ ในทางการค้าหรือธุรกิจของลูกหนี้ ด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้อันแท้จริง
ผลของการล้มละลายเกี่ยวกับกิจการที่กระทำไปแล้ว
ม.110 คำสั่งที่ให้ยึด/อายัด , หมายบังคับ ยันแก่ จพท. ไม่ได้ เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การบังคับคดีให้ถือว่าสำเร็จบริบูรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตาม วิแพ่ง บทบัญญัตินี้ ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์เป็นหลักประกัน , การที่ผู้ชำระเงินโดยสุุจริตแก่ศาล/จพค. หรือถึงความสมบูรณ์ในการซื้อโดยสุจริตจากการขายทอดตลาด
ม.111 จพค.จำหน่ายทรัพย์แล้วแต่ยังไม่จ่ายเงิน ได้รับแจ้งความได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อนที่การบังคับคดีสำเร็จ ให้ จพค. กักเงินไว้ ต่อมาพิทักษ์ฯเด็ดขาด ให้ จพค.คิดหักเงินค่าใช้จ่าย ,ธรรมเนียม เหลือให้ส่งเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลาย
ม.112 ระหว่างการบังคับคดียังไม่สำเร็จ จพค. ได้รับคำแจ้งความว่าลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ให้ จพค. แจ้งรายการทรัพย์ของลูกหนี้ที่อยู่ในอำนาจ/ยึดถือ แก่ จพท. และปฏิบัติตามคำขอของ จพท.
ม.113 การขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉล
ม.114 นิติกรรมที่ขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ๑๑๓
เกิดระยะเวลา 1 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มฯและภายหลังนั้น
การทำให้โดยเสน่หา,ล/น ได้รับค่าตอบแทนน้อยเกิดควร
ให้สันนิษฐานก่อนว่า เป็นการกระทำที่ลูกหนี้หรือผู้ที่ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้ จ/น ต้องเสียเปรียบ
ม.115 การโอนทรัพย์สิน ซึ่งลูกหนี้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ ๓ เดือนก่อนมีการขอให้ล้มฯ และภายหลังจากนั้น มุ่งหมายให้เจ้าหนี้รายใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้่อื่น ถ้า จพท.มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนการโอนหรือการกระทำนั้นไม่ได้
ม.116 บทบัญญัติในมาตรา ๑๑๕ ไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายหลังอันได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย
การรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สิน
ม.117 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ศาล/จพท.มีอำนาจออกหมายเรียกลูกหนี้คู่สมรสของลูกหนี้ หรือบุคคลใดที่ได้ความหรือสงสัยว่ามีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครอง
ม.118 เมื่อ จพท.มีคำขอ ศาลมีอำนาจบังคับให้บุคคลที่รับว่าเป็นหนี้ลูกหนี้หรือรับว่ามีทรัพย์สินของ ล/น อยู่ในครอบครอง ชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ จพท.
***** ม.119 เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลใดมาชำระเงิน / ส่งมอบทรัพย์สินแก่ลูกหนี้ ให้ จพท. แจ้งความเป็นหนังสือไปยังบุคคลนั้นให้ชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์ และให้แจ้งเป็นด้วยว่า ถ้าจะปฏิเสธให้แสดงเหตุผลประกอบข้อปฏิเสธเป็น นส. ยัง จพท.ภายใน ๑๔ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้
บุคคลได้รับแจ้งความปฏิเสธหนี้ต่อ จพท. ภายในเวลา ว.ก่อน ให้ จพท.สอบสวน เมื่อเห็นว่าบุคคลนั้นไม่ได้เป็นหนี้ ให้จำหน่ายชื่อจากบัญชีลูกหนี้และแจ้งให้บุคคลนั้น ถ้าเห็นว่าบุคคลนั้นเป็นหนี้เท่าใด แจ้งจำนวนเป็นหนังสือยืนยันไปยังบุคคลที่จะต้องรับผิดนั้น และแจ้งไปด้วยว่าจะคัดค้านประการใด ให้ร้องขอต่อศาลภายใน ๑๔ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความ
บุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันคัดค้านต่อศาล โดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดเวลาตาม ว.ก่อน ให้ศาลพิจารณา ถ้าพอใจว่าเป็นหนี้ ให้มีคำบังคับให้บุคคลนั้นมาชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ จพท. ถ้าเห็นว่าไม่เป็นหนี้ มีคำสั่งจำหน่ยจากบัญชีลูกหนี้
บุคคลที่ได้รับแจ้งความจาก จพท. ไม่ได้ปฏิเสธต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่ได้ร้องคัดค้านต่อศาลตามกำหนดเวลาดังกล่าว จพท. มีคำขอต่อศาลให้บังคับให้บุคคลนั้นชำระหนี้ภายในกำหนด
บุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ จพท. ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเสมือหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ม.121 ลูกหนี้เป็นข้าราชการ เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จพท. มีสิทธิได้รับเงินเดือน บำนาญ บำเหน็จ ของ ล/น เพื่อรวบรวมแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ได้ แต่ จพท.จะต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพลูกหนี้และครอบครัวตามฐานานุรูป
ม.122 ภายใน ๓ เดือน นับแต่วันที่ จพท. ทราบว่า ทรัพย์สินของ ล/น หรือสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ จพท. มีอำนาจไม่ยอมรับทรัพย์สิน
บุคคลได้รับความเสียหายโดยเหตุที่ จพท. ไม่ยอมรับดังกล่าว มีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายได้ (มาตรา ๙๒)
การแบ่งทรัพย์สิน
ม.130 การแบ่งทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ ให้ชำระค่าใช้จ่ายและหนี้สิน
1)ค่าใช้จ่ายในการจัดการมรดก ล/น
2)ค่าใช้จ่าย จพท. ในการจัดการทรัพย์
3)ค่าปลงศพลูกหนี้
4)ค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์ศิน
5)ค่าธรรมเนียมของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และค่าทนายความ
6)ค่าภาษีอาการถึงกำหนดชำระภายใน ๖​ เดือน
7)หนี้อื่น
ถ้ามีเงินไม่พอชำระเต็มจำนวนหนี้ในลำดับใดให้เจ้าหนี้ในลำดับนั้นได้รับเฉลี่ยตามส่วน
ม.130 ทวิ ถ้าหนี้ตาม 130(7) รายใดมีการกำหนดโดยกฎหมายหรือสัญญาให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ต่อเมื่อเจ้าหนี้อื่นได้
การปิดคดี
ม.133 เมื่อ จพท. แบ่งทรัพย์ลูกหนี้ หรือได้หยุดกระทำการตามข้อตกลงในการประนอมหนี้หรือเมื่อลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินจะแบ่ง จพท.ทำรายงานยื่นต่อศาลและขอให้ศาลสั่งปิดคดี
ม.134 คำสั่งผิดคดีมีผลเพียงให้ระงับการจัดการ แต่ไม่ทำให้คดีล้มละลายสิ้นสุด และไม่ทำให้ จพท. หลุดพ้นจากหน้าที่
1)หน้าที่ตาม ม.160
2)หน้าที่อนุมัติการใดๆที่ กม.บัญญัติไว้
3)หน้าที่ตรวจบัญชีรับจ่ายของบุคคลล้มละลาย
การยกเลิการล้มละลาย
***** ม.135 เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือ จพท. มีคำขอ ศาลอาจสั่งยกเลิกการล้มละลาย ปรากฏเหตุ
(ล/นไม่หลุดพ้น) 1)เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจดำเนินการให้ได้ผล เพราะ จ/น ผผู้เป็นโจทก์ ไม่ช่วยหรือยอมเสียค่าธรรมเนียม , ค่าใช้จ่าย , วางเงินประกัน ที่ จพท.เรียกร้อง และไม่มีเจ้าหนี้อื่นสามารถและเต็มใจกระทำการดังกล่าว ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่จ/นโจทก์ขัดขืน
(ล/นไม่หลุดพ้น) 2)ลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย
(ล/น หลุดพ้น) 3)หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว
(ล/น หลุดพ้น) 4)เมื่อ จพท. ได้แบ่งทรัพย์ครั้งที่สุด หรือ ไม่มีทรัพย์สินจะแบ่งให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ต่อแต่นั้นมาภายในกำหนดเวลา 10 ปี จพท. ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายได้อีก และไม่มีเจ้าหนี้มาขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดการรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้มลายอี

2. กรณีพิเศษ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (อำนาจหน้าที่)
ม.145 จพท.จะกระทำการดังต่อไปนี้ ต่อเมื่อได้รับความเห็นของกรรมการ
1) ถอนการยึดทรัพย์ในคดีล้ม
2) โอนทรัพย์สินนอกจากวิธีขายทอดตลาด
3) สละสิทธิ
4) ฟ้อง/ถอนฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มฯ ฟ้อง/ถอนคดีล้ม
5) ประนีประนอมยอมความหรือมอบคดีให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
***** ม.146 ถ้าบุคคลล้มละลาย จ/น บุคคลใดที่ได้รับความเสียหายโดยการกระทำ หรือ คำวินิจฉัยของ จพท. บุคคลอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลภายใน 14 วันนับแต่วันที่ทราบการกระทำหรือคำวินิจฉัยนั้น ศาลมีอำนาจสั่ง ยืน กลับ แก้ไข หรือสั่งประการใด


กม.ฟื้นฟูกิจการ
กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
1)คำนิยามศัพท์
ม.90/1
ม.90/3 เมื่อ ล/น มีหนี้สินล้นพ้นตัว และเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียว/หลายคน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคต ..ถ้ามีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ บุคคลตาม ม.90/4
ม.90/4 ภายใต้บังคับ ม.90/5 บุคคลมีสิทธิยื่นคำขอต่อศาลให้ฟื้นฟูกิจการ
1)เจ้าหนี้ซึ่งเป็นคนเดียวหลายคนมีจำนวนหนี้แน่นอน
2)ล/น มีลักษณะตาม 90/3
3)ธ.แห่งประเทศไทย
ม.90/6 คำร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ ต้องแสดงให้ขัดแจ้งถึง
1.ความมีหนี้สินล้นพ้นตัว
2.รายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้
3.เหตุอันสมควรและช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ
4.ชื่อและคุณสมบัติของผู้ทำแผน
5.หนังสือยินยอมของผู้ทำแผน
ม.90/9 เมื่อศาลรับคำร้องขอแล้ว ให้ดำเนินการไต่สวนเป็นการด่วนและให้ศาลประกาศคำสั่งรับคำร้องขอ และวันเวลาไต่สวนในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อย 1 ฉบับไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ห่างกันไม่เกิน 7 วัน
วรรคท้าย มีหลัก
-ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคำคัดค้าน ก่อนวันไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่า 3 วัน
-ถ้าเป็นการคัดค้านผู้ทำแผน ล/น จ/น จะเสนอชื่อผู้อื่นเป็นผู้ทำแผนหรือไม่ได้
-การเสนอชื่อต้องมีหนังสือยินยอม
ม.90/10 การไต่สวนคำร้องขอ ศาลต้องไต่สวนเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/
***** ม.90/12 Automatic Stay ภายใต้บังคับ 90/13 - 90/14
นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้พิจารณา
ถึง "วันครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผน"
ถึง "วันที่ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผน"
ถึง "วันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอ"
ถึง "วันที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี"
ถึง "วันที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ"
ถึง "วันที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ"
ถึง "วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด" (พิทักษ์เท่ากับfreeze)
-อนุ 4 -ห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน/เสนออนุญาโต
ถ้ามูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่ง "เห็นชอบด้วยแผน"
และ -ห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย กรณีมีฟ้อง/ยื่นอนุญาโตฯ
ให้งดการพิจารณาไว้ เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
-อนุ 5 -ห้าม จ/น ตามคำพิพากษาบังคับคดีแก่ทรัพย์สินลูกหนี้
ถ้ามูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่ง "เห็นชอบด้วยแผน"
กรณีได้ดำเนินการบังคับคดีไว้ก่อน ให้ศาลงดการบังคับคดี
เว้นแต่ การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ก่อนวันที่เจ้าพนักงาน
บังคับคดีจะทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอ
ถ้าขอที่ยึดเป็นของเสียง่าย ให้ จพค.ขายทอดตลาด แล้วกักเงิน
-อนุ 6 -ห้ามเจ้าหนี้มีประกันบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล
-อนุ 7 -ห้ามมิให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้ได้เองตาม กม. ยึดทรัพย์/ขาย
-อนุ 8 -ห้ามมิให้เจ้าหนี้ที่เป็นสาระสำคัญในการดำเนินกิจการลูกหนี้
ตาม สัญญาเช่าซื้อ , ซื้อขายมีเงื่อนไขโอน , สัญญาเช่า
ติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สิน รวมตลอดฟ้องร้องคดี
ถ้ามีการฟ้องให้งดการพิจารณาคดีนั้นไว้
เว้นแต่ ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
เว้นแต่ หลังจากวันที่ศาลมีคำสั่ง "ให้ฟื้นฟูกิจการ" ล/น จพท.
ผู้บริหารชั่วคราว ผู้ทำแผน ผู้บริหารแผน (/ชั่วคราว) นั้น
ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ราคาตอบแทนใช้ทรัพย์ ค่าเช่า
2 คราวติดกัน หรือ กระทำผิดสัญญาข้อที่เป็นสาระสำคัญ
-อนุ 9 -ห้ามมิให้ลูกหนี้จำหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า ชำระหนี้ ก่อนหนี้ หรือ
กระทำการใดๆที่ก่อนให้เกิดภาระในทรัพย์สิน
นอกจากจำเป็นเพื่อการดำเนินการค้าตามปกติของลุกหนี้
สามารถดำเนินต่อไปได้
(ใช้กับ ผู้บริหารชั่วคราว , ผู้ทำแผน (90/25)-การฟ้องกรรม
การของลูกหนี้รับผิดในการกล่าวอ้างว่าก่อนมีการฟื้นฟูกิจการ
กรรมการลูกหนี้นำทรัพย์สินไปใช้ส่วนตัว)
-อนุ 11 -ห้ามผู้ประกอบการสาธารณูปโภค งดให้บริการแก่ลูกหนี้
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอ
หรือ หลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จพท.
ผู้บริหารชว. ทำแผน บริหาร แผน ไม่ชำระ 2 ครา
ม.90/13 จ/น บุคคลถูกจำกัดสิทธิตาม 90/12 ยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่ง
แก้ไขเปลี่ยนแปลง ยกเลิกสิทธิ หากการจำกัดสิทธิของผู้ร้องนั้น 1)ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ
2)ไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้มีประกัน
ม.90/14 การดำเนินการต่อไปนี้ถือว่ามีการคุ้มครองแก่เจ้าหนี้มีประกัน
1)มีการชำระหนี้แก่ จ/นเท่ามูลมูลค่าที่ลดทรัพย์หลักประกันใต้อนุ 6
2)ให้หลักประกันแก่เจ้าหนี้มีประกันเพื่อชดเชยหลักประกันดิม
3)มีการดำเนินการอื่นที่เจ้าหนี้ยินยอม

การตั้งผู้ทำแผน
ม.90/17 การพิจารณาตั้งผู้ทำแผน ถ้าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้คัดค้านไม่เสนอบุคคล เมื่อศาลสั่งฟื้นฟู ศาลจะมีคำสั่งตั้งบุคคลที่ผู้ร้องเสนอเป็นผู้ทำแผนก็ได้ ถ้า -ศาลเห็นว่าบุคคลที่ร้องขอเสนอไม่ควรเป็นผู้ทำแผน -เจ้าหนี้
ผู้คัดค้านเสนอบุคคลอื่นเป็นผู้ทำแผน
-ให้ศาลมีคำสั่งให้ จพท. เรียกประชุมเจ้าหนี้โดยเร็วเพื่อพิจารณาว่า
บุคคลใดสมควรเป็นผู้ทำแผน
ม.90/20 กรณีศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แต่ยังไม่มีการตั้งผู้ทำแผน
ให้อำนาจหน้าที่จัดการกิจการ ของผู้บริหารของลูกหนี้สิ้นสุดลง
ให้ศาลตั้งบุคคลใดหรือผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้บริหารชั่วคราวภายใต้
(ต่อ)การกำกับดูแลของ จพท. จนกว่าจะมีการตั้งผู้ทำแผน
ให้ศาลแจ้งคำสั่งฟื้นฟูกิจการ , คำสั่งตั้งหรือให้ผู้บริหารชั่วคราวพ้น
จากอำนาจหน้าที่ให้ จพท.ทราบ จพท.โฆษณาคำสั่งให้ราชกิจจาฯ และแจ้งไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ม.90/21 ภายใต้บังคับ 90/42 กรณีที่ศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการแต่ไม่มีตั้งผู้ทำแผน
ให้บรรดาสิทธิตาม กม.ผู้ถือหุ้นระงับ เว้นแต่สิทธิได้รับเงินปันผล และ
สิทธิดังกล่าวตกแก่ ผู้บริหารชว. จพท. จนกว่ามีการตั้งผู้ทำแผน
นำ 90/12อนุ9 มาใช้แก่ ผู้บริหารชั่วคราว จพท.โดยอนุโล
ม.90/23 การประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคัดเลือก "ผู้ทำแผน"
ให้ จพท.

ม.90/
ม.90/

การขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
ม.90/26 ขอชำระหนี้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน และจพท.ส่งสำเนาคำขอรับชำระหนี้แก่ ผู้ทำแผนโดยไม่ชักช้า
ม.90/27 เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกกิจการ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไข เว้นแต่หนี้ฝ่าฝืน กม./ศีลธรรม
ผู้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตาม 101 อาจยื่นคำขอรับชำระหนีในการฟื้นฟูกิจการสำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ เว้นแต่รับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว
หนี้ที่ จพท. , ผู้บริหารชั่วคราว ก่อนให้เกิดขึ้นเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดตามม 90/12(8)











พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
ผบ.ร้อย ฝ่ายปกครอง ๑ (กองร้อยที่ ๔)

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิแพ่ง ภาค1 สรุปจากจูริส. พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง

วิแพ่ง ภาค1 สรุปจากจูริส. พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
สรุปย่อมาจากหนังสือ Juris อ่ะครับ พี่น้อง
คำฟ้อง
คำฟ้องที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดี มาตรา 7(2)
(๑)คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่อง
กับคดีที่ค้างการพิจารณาอยู่ในศาลใด ให้เสนอต่อศาลนั้น
(๒)คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการ
บังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลซึ่งคำฟ้องหรือ
คำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะ
ได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้น ให้เสนอต่อศาลที่
มีอำนาจในการบังคับคดี ตามมาตรา 302

ฎีกา 4676/51 คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยรับว่าได้รับชำระหนี้บางส่วนแก่จำเลยแล้ว และให้จำเลยคิดยอดหนี้ที่ค้างชำระเพื่อโจทก์จะได้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือต่อไปนั้น เห็นได้ว่าคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา ซึ่งคำฟ้องเช่นนี้จำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลที่มีการบังคับคดี โจทก์ต้องไปว่ากล่าวกันในคดีเดิมตามมาตรา 302
ข้อน่าสังเกตุ ข้อสัญญาที่ว่าจำเลยจะออกค่าธรรมเนียมการโอน มิใช่ข้อตกลงในสัญญายอมซึ่งศาลพิพากษาตามยอม แต่เป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นในภายหลัง จึงไม่อาจบังคับในคดีเดิมได้ ต้องฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ โดยต้องฟ้องต่อศาลที่พิพากษาตามยอมนั่นเอง
กรณีมอบหมายให้ศาลอื่นบังคับคดีแทน อาจยื่นคำร้องเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีต่อศาลที่บังคับคดีแทนได้ อย่างไรก็ดี ศาลที่บังคับคดีแทนคงมีอำนาจเฉพาะที่เกี่ยวกับการบังคับคดีในส่วนที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
ทั้งศาลเดิมและศาลที่บังคับคดีแทนมีอำนาจสั่งคำร้องที่อ้างว่าการบังคับคดีไม่ชอบได้ทั้งสองศาล แต่จากคำวินิจฉัยดังกล่าวดูเหมือนว่า กรณีศาลที่บังคับคดีแทนจะสั่งคำร้องได้ในกรณีที่ยังไม่ได้ส่งเงินที่ยึดได้หรือเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไปยังศาลเดิมเท่านั้น
~ ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของ จพค.เกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด ต้องฟ้องต่อศาลที่มี อำนาจบังคับคดี คือ ศาลที่ออกหมายบังคับคดีหรือศาลที่บังคับคดีแทนก็ได้ โจทก์จะฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตาม มาตรา 4(1)ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติมาตรา 4 อยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 7
มาตรา 7(4) คำร้องที่เสนอให้ศาลถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือการอนุญาตที่ศาลได้ให้ไว้ คำร้องที่เสนอให้ศาลถอดถอนบุคคลใดจากฐานะที่ศาลได้แต่งตั้งไว้ก็ดี คำร้องที่เสนอให้ศาลมีคำสั่งใดที่เกี่ยวกับการถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือการอนุญาตหรือที่เกี่ยวเนื่องกับคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งไปแล้วก็ดี ให้เสนอต่อศาลในคดีที่ได้มีคำสั่งการอนุญาตการแต่งตั้งหรือคำพิพากษานั้น
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่แสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิของผู้ร้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ไม่ใช่คำสั่งเกี่ยวกับการอนุญาตหรือการแต่งตั้งของศาล ผู้คัดค้านจะขอให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลในสำนวนคดีเดิมไม่ได้ ต้องฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทเป็นคดีใหม่ เป็นไปตามผลของมาตรา 145(2) "คำพิพากษาหรือคำสั่งย่อมไม่ผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิแห่งทรัพย์สินใดๆเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าคนมีสิทธิดีกว่า
การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลอื่น มาตรา 10
มาตรา 10 ถ้าไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาใน
ศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย คู่ความฝ่าย
ที่เสียหายหรืออาจเสียหายเพราะการนั้นจะยื่นคำขอฝ่ายเดียว
โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรืออยู่ใน
เขตศาลในขณะนั้นก็ได้ และให้ศาลนั้นมีอำนาจทำคำสั่งอย่างใด
อย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
การยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต่อศาลชั้นต้นตามมาตรา 10 โดยอ้างเหตุสุดวิสัยในคำร้องขอเลื่อนคดีก็ได้ ไม่จำต้องยื่นคำร้องแยกเป็นอีกฉบับหนึ่ง และเป็นอำนาจของศาลที่รับคำร้องตามมาตราสิบ ที่จะ อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี
-1374/2546 โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นซึ่งโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ โจทก์นำคำฟ้องไปยื่นต่อศาลจังหวัดอุดรธานีที่มีเขตเหนือคดีไม่ทันเนื่องจากต้องกลับมาเอาค่าธรรมเนียมซึ่งเตรียมไปไม่พอ จึงขออนุญาตยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นสั่งในคำร้องส่งไปยังศาลจังหวัดอุดรธานีโดยด่วน เท่ากับยอมรับว่าโจทก์ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 10 แม้ศาลจังหวัดขอนแก่นไม่ได้สั่งรับคำฟ้อง แต่การสั่งรับคำร้องและให้ศาลจังหวัดอุดรธานีพิจารณาโดยด่วนถือได้ว่า ศาลจังหวัดขอนแก่นได้ยอมรับคำฟ้องของโจทก์แล้ว แม้ศาลจังหวัดอุดรธานีจะรับคำฟ้องของโจทก์ภายหลังก็ไม่มีผลทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความการตรวจคำคู่ความตามมาตรา 18
มาตรา 18 ให้ศาลมีอำนาจที่จะตรวจคำคู่ความ
ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลได้รับไว้เพื่อย่ื่นต่อศาล หรือสั่ง
ให้แก่คู่ความ หรือบุคคลใดๆ
ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ยื่นไว้ดังกล่าวแล้วนั้น
อ่านไม่ออกหรืออ่านไม่เข้าใจ หรือเขียนฟุ่มเฟื่อยเกินไป
หรือไม่มีรายการ ไม่มีลายมือชื่อ ไม่แนบเอกสารต่างๆตามที่
กม.ต้องการ หรือมิได้ชำระ หรือวางค่าธรรมเนียมศาล
โดยถูกต้องครบถ้วน ศาลจะมีคำสั่งให้คืนคำคู่ความนั้นไปให้ทำ
มาใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติม หรือชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาล
ให้ถูกต้องครบถ้วน ภายในระยะเวลาและกำหนดเงื่อนไขใดๆ
ตลอดจนเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่ศาลเห็นสมควร
ก็ได้ ถ้ามิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลในระยะเวลาหรือ
เงื่อนไขที่กำหนดไว้ก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำคู่ความนั้น
ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้นำมายื่นดังกล่าวข้างต้น
มิได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกม.ที่บังคับไว้ นอกจากที่กล่าว
มาในวรรคก่อน หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเห็นว่าสิทธิของ
คู่ความหรือบุคคลซึ่งยื่นคำคู่ความนั้นได้ถูกจำกัดห้ามโดย
บทบัญญัติแห่ง กม.เรื่องเขตอำนาจศาล ก็ให้ศาลมีคำสั่ง
ไม่รับหรือคืนคำคู่ความนั้นไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
ถ้าไม่มีข้อขัดข้องดังกล่าวแล้ว ก็ให้ศาลจดแจ้งแสดง
การรับคำคู่ความน้ันไว้บนคำคู่ความนั้นเองหรือในที่อื่น
คำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามมาตรานี้
ให้อุทธรณ์หรือฏีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227 228 247

- ถ้าเป็นเรื่องเงินค่าธรรมเนียมที่ผู้อุทธรณ์ต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งและต้องนำมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม มาตรา 229 หากผู้อุทธรณ์ไม่นำมาวาง ศาลสั่งไม่รับไม่ได้เลย กรณีไม่ใช่เรื่องของการไม่ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 18 ศาลไม่จำต้องกำหนดเวลาตามมาตรา 18 ให้ชำระก่อนที่จะสั่งไม่รับคำคู่ความ --968/2552--
- คำคู่ความที่ไม่มีลายมือชื่อของผู้ยื่น ศาลอาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือสั่งแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวได้ตาม มาตราสิบแปด วรรคสอง ถ้าปรากฏว่าภายหลังศาลรับฟ้องแล้ว ศาลก็ต้องสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว จะถือเป็นเหตุให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้วพิพากษายกฟ้องเสียทีเดียวไม่ได้ , ถ้าล่วงเลยปรากฏในชั้นอุทธรณ์หรือฏีกา ศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกาก็ต้องยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องแล้วพิพากษาใหม่
โจทก์แต่งทนายความโดยลงลายพิมพ์นิ้วมือมีผู้รับรองเพียงคนเดียว ทนายความไม่มีอำนาจทำการแทนโจทก์ เมื่อไม่ได้ลงชื่อในคำฟ้องจึงเท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามมาตรา 18 วรรคสอง
- กรณีทนายความยื่นอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจ ศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขอำนาจทนายความหรือสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 18 ก็ได้ การที่ผู้อุทธรณ์ยื่นใบแต่งทนายความที่ให้อำนาจทนายโจทก์ยื่นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์สั่งให้รับอุทธรณ์ไว้ ถือว่าศาลอุทธรณ์อนุญาตให้อุทธรณ์แล้ว
- ฏีกาที่ 2196/2533 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยร่วมขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยร่วมใช้สิทธิตามมาตรา 199 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยร่วมยื่นคำให้การ โดยแนบคำให้การมากับคำร้องด้วย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าจำเลยร่วมจงใจไม่ยื่นคำให้การดังนี้ เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไปตามมาตรา 199 โดยยังไม่ได้ตรวจคำให้การของจำเลยร่วม จึงมิใช่เป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 จะนำเอามาตรา 18 วรรท้าย มาปรับแก่คดีไม่ได้ คำสั่งที่ว่าจำเลยร่วมจงใจขาดนัดยื่นคำให้การย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ตามมาตรา 226 ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา
- คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำคู่ความไปทำมาใหม่ แต่ผู้ยื่นคำคู่ความไม่ปฏิบัติตามตามภายในกำหนดเวลา ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับคำคู่ความนั้นอีก ดังนี้แม้จะมีการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์(แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับ)มาแล้ว ก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งให้คืนคำคู่ความได้ ทั้งนี้ถือเป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 18 วรรคท้าย ประกอบด้วยมาตรา 227 228(3) ซึ่งอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลา 1 เดือนนับแต่วันที่ ศ.ชั้นต้นมีคำสั่ง ----- กรณีนี้ไม่ได้ตกอยู่ในบังคับของ มาตรา 234 แห่ง ป.วิ.พ.ที่จำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แต่อย่างใด เพราะกรณีนี้อยู่ในชั้นตรวจคำคู่ความ
------เยี่ยมมาก-------
- การสั่งไม่รับฟ้องตามมาตรา 18 ยังไม่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ผู้พิพากษานายเดียวจึงมีอำนาจสั่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 21(2)
- เรื่องน่าสนใจ กรณีฟ้องโจทก์ต้องห้ามตามบทบัญญัติเรื่องเขตอำนาจศาล ตามมาตรา 18 วรรคสองที่บัญญัติให้ศาลไม่รับหรือคืนคำฟ้องเพื่อให้ไปยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ อย่างไรก็ตาม หากปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาลกลายเป็นประเด็นข้อพิพาท อันศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคดีไม่ได้อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น ศาลก็พิพากษายกฟ้องได้ และเมื่อฟังได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 151วรรคหนึ่งอันศาลจะคืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์ได้การขยายหรือย่นระยะเวลา มาตรา 23 มาตรา 23 เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความ
ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจ
ที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวล
กม.นี้หรือตามที่ศาลได้กำหนดไว้ หรือระยะเวลาที่เกี่ยว
ด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ในกฏหมายอื่น เพื่อ
ให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆก่อนสิ้นระยะ
เวลานั้น แต่การขยายหรือย่นเวลาเช่นว่านี้ให้พึงทำได้ต่อเมื่อ
มีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมา
ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย
- กรณีใดจะถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษหรือไม่ ต้องดูเป็นรายกรณีไป ถ้าเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับทนายจำเลย กรณีไม่มีพฤติการณ์พิเศษแต่อย่างใด
- เมื่อวันครบกำหนดยื่นฎีกาตรงกับวันเสาร์ โจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฏีกาได้ในวันจันทร์ แต่การเร่ิมนับเวลาที่ศาลอนุญาตให้ขยายได้ต้องเร่ิมนับต่อจากวันที่ครบกำหนดเดิม คือ ต้องเร่ิมนับตั้งแต่วันอาทิตย์
- ต้องขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นกำหนดเวลานั้น เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย เหตุสุดวิสัยหมายถึงพฤติการณ์นอกเหนือที่ทำให้ศาลไม่อาจจะมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาที่ กม.หรือศาลกำหนดไว้การชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมาย มาตรา 24
มาตรา 24 เมื่อคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาข้อกฏหมาย
ขึ้นอ้้าง ซึ่งถ้าหากได้วินิจฉัยให้เป็นคุณแก่ฝ่ายนั้นแล้ว จะ
ไม่ต้องมีการพิจารณาคดีต่อไปอีก หรือไม่ต้องพิจารณาประเด็น
สำคัญแห่งคดีบางข้อ หรือถึงแม้จะดำเนินนการพิจารณาประเด็น
ข้อสำคัญแห่งคดีไป ก็ไม่ทำให้ความชัดขึ้นมาอีก เมื่อศาล
เห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ให้ศาล
มีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้มีผลว่าก่อนดำเนินการพิจารณาต่อไป
ศาลจะได้พิจารณาปัญหาข้อ กม.เช่นว่านี้แล้ว วินิจฉัยชี้ขาด
เบื้องต้นในปัญหานั้น
- ถ้าปัญหาที่ศาลวินิจฉัยเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ก็ไม่ใช่เป็นการชี้ขาดตามมาตรานี้ และเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226
คู่ความมรณะ
มาตรา 42 ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้าง
พิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้่ศาล
เลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการ
ทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์
มรดกไว้ จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ โดยมีคำขอ
เข้ามาเอง หรือโดยที่ศาลหมายเรียกให้เข้ามา เนื่องจากคู่ความ
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว คำขอเช่นว่านี้จะต้องยื่น
ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ
-เมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะ ศาลจะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณาออกไป [j-vp31%]
-การชี้สองสถาน เป็นการนั่งพิจารณาอย่างหนึ่ง
- จำเลยตายระหว่างอุทธรณ์ คดีจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปก็ต่อเมื่อมีบุคคลเข้าแทนที่คู่ความมรณะ และศาลจะต้องมีคำสั่งในการเข้ามาแทนที่ตาม ม.42 , 43 ก่อน เมื่อศาลอุทธรณ์ทำคำพิพากษาแล้วส่งมาให้ ศ.ต้น อ่าน โดยไม่ได้สั่งคำร้องของโจทก์ที่ให้เรียกทายาทจำเลยเข้ามาแทนที่คู่ความมรณะเสียก่อน เป็นการไม่ปฏิบัติตาม 243(2) ประกอบ 247
ศ.ฏีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษา ศ.อุทธรณ์ แล้วให้ ศ.อุทธรณ์พิพากษาใหม่
(ข้อสังเกตุเป็นบทบังคับให้ศาลต้องเลื่อนการนั่งพิจารณาออกไป จนกว่าจะมีคู่ความแทนที่ผู้มรณะแล้วจึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป)
- แสดงว่าต้องปรากฏต่อศาลที่พิจารณาคดีอยู่ว่าคู่ความมรณะ ดังนั้น แม้คู่ความได้มรณะระหว่างการพิจารณาของศาล แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาล ศาลจึงได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไป โดยไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจนมีคำพิพากษาจถือว่าเป็นการดำเนินคดีที่ไม่ชอบไม่ได้
- จำเลยถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาของ ศ.อุทธรณ์ ศ.ต้นต้องส่งคำร้องขอให้หมายเรียกทายาทเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะไปยัง ศ.อุทธรณ์เพื่อสั่ง แต่ ศ.ต้นไม่ได้ส่งคำร้องไป ศ.อุทธรณ์ จนกระทั่ง ศ.อุทธรณ์ทำคำพิพากษาเสร็จแล้วมาให้ ศ.ต้นอ่าน จึงถือไม่ได้ว่า ศาลอุทธรณ์ทราบเรื่องจำเลยมรณะ อันจะทำให้กระบวนพิจารณาของ ศ.อุทธรณ์ไม่ชอบฯ แต่การที่ ศ.ต้น อ่านคำพิพากษาของ ศ.อุทธรณ์ฯ โดยทราบอยู่แล้วว่าจำเลยมรณะและยังไม่ได้มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะนั้น เป็นการไม่ชอบ ศ.ฏีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษา ศ.อุทธรณ์ แล้วให้ ศ.ต้น ส่งสำนวนไปให้ ศ.อุทธรณ์ เพื่อดำเนินการ 42
- "ช่วงระยะเวลาอุทธรณ์หรอฏีกา" - ช่วงเวลาตั้งแต่ ศ.ต้น อ่านคำพิพากษาของ ศ.ต้น หรือ ศ.อุทธรณ์ จนถึงเวลายื่นอุทธรณ์หรือฏีกา หรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด (ครบกำหนด 1 เดือนโดยไม่มีการอุทธรณ์ฏีกา) ถือว่าเป็นกรณีที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลระหว่างอุทธรณ์หรือฏีกาเช่นกัน ทายาทของคู่ความผู้มรณะจึงมีสิทธิขอเข้าไปคู่ความแทนที่เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฏีกาได้
- ในชั้นบังคับคดี ไม่ใช่กรณีที่เป็นคดีค้างพิจารณาอยู่ในศษล เมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายในชั้นบังคับคดี ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ มาตรา 42-44 จึงไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว เช่น ไม่ต้องขอเข้ารับมรดกความใน 1 ปี ตามมาตรา 42 แต่ถือว่าสิทธิในการบังคับคดีเป็นมรดกตกทอดตาม ปพพ.1599 1600
- ถ้าจำเลยตาย โจทก์ก็ขอบังคับคดีให้แก่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของจำเลยได้โดยไม่ต้องเรียกทายาทหรือผู้จัดการมรดกของจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยก่อน
- ในชั้นบังคับคดี กรณีโจทก์ตายแม้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่ได้ขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ก็มีสิทธิขอดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้
- ประหลาด..... แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดี ถ้ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับการบังคับคดีและมีการพิจารณาข้อโต้แย้งดังกล่าว ถือว่าเป็นกรณีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ดังนี้ ระหว่างพิจารณาข้อโต้แย้ง ถ้าคู่ความฝ่ายใดตาย ก็ถือว่าเป็นกรณีที่คู่ความมรณะในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล จึงต้องมีการรับมรดกความ ตาม ปวิพ.42
- บุคคลที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทน ได้แก่ ทายาทของผู้มรณะ , ผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ , ผู้ปกครองทรัพย์มรดก
- กรณีทายาทจะต้องเป็นทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้มรณะด้วย แต่ไม่ต้องคำนึงว่าทายาทนั้นจะได้รับทรัพย์มรดกหรือมีทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทหรือไม่ เพราะทายาทไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวหรือรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน
- ถ้าคู่ความที่มรณะได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ถึงแม้ผู้ที่เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จะมีทรัพย์สิน ก็มีสิทธิได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลต่อไปได้
- กรณีศาลอนุญาตให้มีการเข้าแทนที่คู่ความแทนที่จำเลย ศาลจะพิพากษาให้ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่นั้นชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ได้ ต้องพิพากษาให้จำเลยชำระ แม้จำเลยจะตายไปแล้ว
- การอนุญาตให้บุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ เป็นดุลพินิจของศาลจะอนุญาตหรือไม่ก็ได้
- คดีที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เฉพาะตัว รับมรดกความไม่ได้
คดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก , การคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดก
ร้องขอตั้งผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์
เป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความผู้มรณะ จึงไม่อาจขอรับมรดกความได้
- โจทก์,จำเลยดำเนินคดีในฐานะผู้จัดการมรดก เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้จัดการมรดก จึงรับมรดกความไม่ได้
- ผู้ถือหุ้นเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะกรรมการของบริษัทขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุมของบริษัท ไม่มีลักษณะเป็นการเฉพาะตัวของโจทก์ เมื่อโจทก์มรณะ ทายาทของโจทก์ย่อมมีสิทธิได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นและเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้
- ความเหมือนกันระหว่าง สิทธิในการบอกล้างระหว่างสมรส กับ สิทธิอาศัย คือ
ก.สิทธิในการบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส เป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่สมรส แต่เมื่อได้มีการบอกล้างสัญญาดังกล่าวแล้ว ก็ไม่เป็นสิทธิเฉพาะตัวอีกต่อไป และสิทธิย่อมตกแก่ทายาท จึงรับมรดกความได้
ข.สิทธิอาศัยเช่นเดียวกัน เป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้ทรงสิทธิอาศัยถึงแก่ความตาย สิทธิอาศัยย่อมระงับ แต่ถ้าศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ทรงสิทธิอาศัยได้รับค่าเสียหายด้วย ในส่วนของค่าเสียหายตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมีลักษณะเป็นทรัพย์สิน ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวย่อมรับมรดกความกันได้
---หลักคิดในเรื่องนี้คือ มันเปลี่ยนสภาพจากสิทธิเฉพาะตัว เป็นมูลหนี้ที่สามารถเรียกร้องได้แล้ว ทายาทก็สามารถสวมสิทธิในการเรียกร้องกันได้---
- รับมรดกความมีผลเป็นคดีอุทลุม ต้องห้าม ปพพ.มาตรา 1562 รับมรดกความไม่ได้
- ทนายความอยู่ในฐานะตัวแทนของคู่ความ เมื่อคู่ความตาย สัญญาตัวแทนระงับลง แต่ทนายความยังคงมีอำนาจกระทำการอันสมควรเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของคู่ความจนกว่าทายาทหรือผู้จัดการมรดกจะเข้าเป็นคู่ความแทนที่ตาม ปพพ.828 ถ้าคู่ความตายในระหว่างเวลาที่ยื่นอุทธรณ์หรือฏีกา ทนายความมีอำนาจยื่นอุทธรณ์หรือฏีกาได้ แต่เมื่อครบกำหนด 1 ปี แล้วไม่มีการขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะ ศาลต้องจำหน่ายคดี
- 2071/2550 ผู้ร้องถึงแก่กรรมขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกไม่ได้ร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้ร้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องถึงแก่กรรม ตาม ปวิพ.42 จนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดีและศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความแล้ว จึงถือว่าได้ล่วงพ้นระยะเวลาที่ตัวแทนหรือทนายผู้ร้องจะจัดการตาม ปพพ.มาตรา 825 ทนายผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องต่อไป
- แม้จะเกิน 1 ปี ก็อยู่ในดุลพินิจที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้........
- ศาลที่มีอำนาจสั่งในเรื่องการรับมรดกความ
ก.คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลใดศาลหนึ่ง -โดยหลักต้องเป็นศาลที่มีอำนาจสั่ง
-5051/2543โจทก์ถึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค1ต้องถือว่าโจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค1 แต่ระวังมีฏีกาซ้อนเล็กน้อย - -- จำเลยถึงแก่กรรมขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนที่ เมื่อ บ. ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลย ศ.ต้นจะต้องทำการไต่สวนให้ได้ความว่าผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วย กม.หรือไม่ แล้วส่งคำร้องดังกล่าวไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพื่อพิจารณาสั่ง การที่ ศ.ต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จึงไม่ชอบ ให้ยกคำร้องของศาลชั้นต้น แต่........เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฏีกาแล้ว ศาลฏีกามีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 สั่ง
ข.กรณีคู่ความมรณะระหว่างกำหนดเวลาอุทธรณ์หรือฏีกา แบ่งออกเป็น 2 กรณี
1.ก่อนศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์หรือฏีกา --- สำหรับในระหว่างกำหนดเวลา
อุทธรณ์หรือฏีกา นับแต่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น , คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ไปจนถึงเวลาก่อนที่ ศ.ต้น รับอุทธรณ์หรือฏีกา ยังคงอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งเรื่องการรับมรดกความ เพราะยังไม่มีคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือฏีกา
2.กรณีศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์หรือฏีกาแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งสำนวนไปศาลสูง
---ก็ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของอุทธรณ์หรือศาลฏีกาแล้ว ศ.ต้นไม่มีอำนาจสั่งคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนที่ แต่เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกาแล้วแต่กรณี ***ข้อสังเกตุ กรณีคู่ความมรณะระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกา ซึ่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกาที่จะพิจารณามีคำสั่ง ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะจึงเป็นการทำแทนศาลฏีกา คู่ความจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณานั้น
-คำสั่งอนุญาตให้เข้าแทนที่คู่ความมรณะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่ถ้าเป็นคำสั่งไม่อนุญาต ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณารายงานและสำนวนความ มาตรา 46-54
- ต้นฉบับเอกสารทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ไม่จำต้องทำคำแปลเสมอไป นอกจากศาลจะสั่ง , เมื่อได้ทำคำแปลภาษาต่างประเทศแล้วก็ไม่ต้องนำผู้แปลมาสืบ
การลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา
- มาตรา 50(2) ถ้าคู่ความหรือบุคคลที่จะต้องลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าว ลงลายมือชื่อไม่ได้หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อ ให้ศาลทำรายงานจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อ แต่มีฏีกา 195/2521 วางหลักว่า
ก.จะนำ ม.50(2) มาเป็นข้อยกเว้นเรื่องสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ปพพ.มาตรา 851 ไม่ได้
ข.คำพิพากษาตามยอมดังกล่าว ขัดต่อ กม.ที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ฏีกาได้ ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 138(2)
ค.ขั้นตอนการมีคำสั่ง
1.ให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ
2.ยกคำพิพากษาตามยอม
3.ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่การขอตรวจและขอคัดเอกสารในสำนวน มาตรา 54 - มาตรา 54(2) ห้ามมิให้อนุญาตให้คู่ความคัดถ้อยคำพยานฝ่ายตนจนกว่าจะได้สืบพยานฝ่ายตนเสร็จสิ้นแล้ว เว้นแต่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะให้อนุญาต
- ฏีกา 4022/2541 ในกรณีที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้คู่ความคัดคำเบิกความฝ่ายของตนในขณะที่ยังสืบพยานฝ่ายตนไม่เสร็จ แม่้จะเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 54(2)ก็ตาม ศาลก็ยังรับฟังคำเบิกความดังกล่าวได้อำนาจฟ้อง มาตรา 55 - อำนาจฟ้องในคดีไม่มีข้อพิพาท ... กรณีที่บุคคลจะใช้สิทธิทางศาลโดยทำเป็นคำร้องขอ เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทนี้ ต้องเป็นกรณีที่มี กม.บัญญัติรับรองไว้ให้ใช้สิทธิทางศาลได้ เช่น ผู้ที่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.ที่ดิน บัญญัติไว้ หรือยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก
- กรณีมีผู้กระทำละเมิดต่อสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ย่อมทำให้รัฐได้รับความเสียหาย เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลรักษาจึงมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้ ส่วนประชาชนทั่วไปจะมีอำนาจฟ้องก็ต่อเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ ; จำเลยเพียงแต่ยื่นคำร้องขอออก น.ส.3 หรือโฉนดที่ดินในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งโจทก์ใช้ประโยชน์อยู่ ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยขัดขวางการใช้ประโยชน์ของโจทก์ในที่ดินนั้น ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
- เจ้าของรวมคนหนึ่งมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ทำละเมิดได้
- ทายาทที่ถูกฟ้องให้รับผิดในหนี้ของเจ้ามรดกจะต่อสู้ว่าไม่มีทรัพย์มรดกตกทอด หรือ ตนไม่ได้รับมรดกไม่ได้
การดำเนินคดีของผู้ไร้ความสามารถ มาตรา 56
- ผู้พิทักษ์ของผู้เสมือนไร้ความสามารถนั้น ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถ คงมีหน้าที่ให้ความยินยอมแก่ผู้เสมือนไร้ความสามารถให้ฟ้องคดีเองเท่านั้น
- ผู้เยาว์ย่อมอยู่ในอำนาจปกครองของบิดา มารดา บิดามารดา จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม บิดาหรือมารดาคนหนึ่งคนใดมีสิทธิฟ้องแทนผู้เยาว์ได้ (แม้ ศ.ต้น พิพากษาไปก่อนโจทก์จะบรรลุนิติภาวะ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฏีกา และในระหว่างการพิจารณาของศาลฏีกา โจทก์บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีเหตุอันใดที่จะต้องแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถอีก โจทก์ย่อมมีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองได้ และถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องมาตั้งแต่ต้น)
- กรณีบิดาไม่ชอบด้วย กม. ฟ้องคดีแทนบุตรผู้เยาว์ไว้แล้ว ต่อมาบิดามารดาจดทะเบียนสมรสกัน ถือว่าเหตุบกพร่องในเรื่องความสามารถหมดไป ฟ้องย่อมสมบูรณ์มาแต่ต้น
- ตอนยื่นฟ้องยังไม่มีคำสั่งตั้ง ว. เป็นผู้อนุบาลโจทก์ (ผู้วิกลจริต) จึงไม่มีสิทธิทำการแทน เท่ากับโจทก์เสนอข้อหาเองอันเป็นการบกพร่องในเรื่องความสามารถเท่านั้น ไม่ใช้อำนาจฟ้อง เมื่อต่อมาศาลเยาวชนฯ มีคำสั่งตั้ง ว. เป็นผู้อนุบาล ว.จึงมีอำนาจทำการแทนโจทก์ในการเสนอข้อหาของโจทก์ได้
- ขณะฟ้องโจทก์เป็นคนพิการ พูดเดินไม่ได้ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ท. บิดาโจทก์ชอบที่จะไปดำเนินการร้องขอต่อศาล ขอให้โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถและตั้งผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งศาลให้โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลที่มีความสามารถทำการใดๆได้ด้วยตนเองตาม กม. ซึ่งรวมถึงการฟ้องและดำเนินคดีต่อศาล การที่ ท. บิดาโจทก์ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความให้ฟ้องคดีแทนโจทก์โดยยังไม่มีคำสั่งศาลให้ ท. เป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ของโจทก์ จึงเป็นความบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัย 56 ต้องทำการแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนร้องสอด มาตรา 57 58 - ตาม อนุ 1 ร้องสอดเข้ามาในระหว่างพิจารณา กับร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดี
- การร้องสอดตามมาตรา 57 ทั้ง สามอนุ ต้องเป็นการร้องสอดเข้าไปในคดีที่ยังมีการพิจารณาอยู่ในศาล ถ้าคดีนั้นเสร็จไปจากศาลแล้ว เช่น เมื่อมีการยอมความกันไปแล้วหรือศาลชั้นต้นยกฟ้องหรือจำหน่ายคดีไปแล้ว ไม่มีคดีที่จะร้องสอดเข้าไปเป็นคู่ความ
- คู่ความในคดีจึงไม่อาจเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดอีกฐานะหนึ่งได้
- มาอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ทั้งที่ตนเองเป็นคู่ความอยู่แล้ว --- ไม่ได้
- แต่หากศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยคนใดไปแล้ว ถือว่าจำเลยคนนั้นเป็นบุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยนั้นอาจถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดีได้อีกการร้องสอดเข้ามาตาม 57(1)
- การที่ผู้ร้องสอดจะร้องเข้ามาในคดีอ้างว่าเป็นทรัพย์ของผู้ร้องสอดเองนั้น ทรัพย์สินนั้นต้องเป็นทรัพย์ที่โจทก์จำเลยเดิมพิพาทกันอยู่เดิม ผู้ร้องสอดจะหยิบยกเอาทรัพย์อื่นมาตั้งเป็นข้อพิพาทไม่ได้
- แม้ศาลพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่พิพาท (ตกเป็นของโจทก์ผู้รับซื้อฝาก) ก็ไม่กระทบสิทธิของผู้ร้องในฐานะคู่สมรสที่ยังคงมีอยู่ในกรณีการขายฝากของโจทก์และจำเลยตามที่ผู้ร้องอ้าง สิทธิของผู้ร้องสอดยังคงมีอยู่เพียงใด ก็คงมีอยู่เพียงนั้น ไม่ต้องด้วย57
- คดีฟ้องขับไล่ จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือผู้อื่น ผู้ร้องสอดอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด เป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดตั้งข้อพิพาทกับโจทก์เท่านั้น สิทธิของผู้ร้องสอดยังคงมีอยู่อย่างใดก็ยังมีอยู่อย่างนั้น จึงไม่มีความจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับการรับรองคุ้มครองหรือบังคับให้เป็นไปตามสิทธิตาม 57(1) แต่ถ้าจำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้้ร้องสอด ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้การอนุญาตให้เข้ามาในคดีเป็นดุลพินิจของศาล - เมื่อ ศ.ได้พิจารณาคดีไปจนกระทั่งสืบพยานเสร็จแล้ว หากผู้ร้องสอดมีสิทธิดังที่อ้างในคำร้องก็ย่อมยกสิทธิเช่นว่านั้นขึ้นอ้างยันผู้อื่น หรือมีสิทธิที่จะดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้เป็นคดีอีกต่างหาก กรณีของผู้ร้องสอดยังไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามคำร้อง
- การพิจารณาคำร้องตาม 57(1) ต้องดูว่าเข้ามาในลักษณะเป็นคำฟ้องหรือคำให้การ เช่น ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดอ้างว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และคู่ความขอให้ศาลไกล่เกลี่ยเพื่อประนีประนอมยอมความต่อกัน หากศาลมีคำพิพากษาตามยอมจะเป็นผลเสียหายแก่ผู้ร้องสอด จึงเป็นกรณีจำเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับให้เป็นไปตามสิทธิ
- ข้อสังเกตเกี่ยวกับกรณีที่เป็นการร้องสอด เมื่อตนมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีต้องเป็นเหตุผลที่จำเป็นเร่งด่วนจริงๆ ดังฏีกา 3776/34(ป) ศาลพิพากษาให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไป[ไม่ได้แต่เพียงให้ออกไปจากบ้านหรือที่ดินพิพาทเท่านั้น มีผลแตกต่างกันจ๊ะ] จำเลยต้องรื้อถอนออกไป ซึ่งจะเป็นผลเสียหายแก่ผู้ร้อง หากผู้ร้องเป็นเจ้าของบ้านและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ดังนี้ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและถูกโต้แย้งสิทธิ จึงชอบที่จะร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีได้โดยไม่ต้องรอให้มีการบังคับคดีเสียก่อน เนื่องจากโจทก์สามารถตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการร้ือถอนได้ทันที
- ที่ดินนำมาเป็นหลักประกันในชั้นขอทุเลาการบังคับคดีตาม ปวิพ231 แม้จะมีคำสั่งศาลห้ามทำนิติกรรม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่นยึดได้ ไม่เป็นการยึดหรืออายัดซ้ำตาม มาตรา 290 และผู้ที่ซื้อที่ดินได้จากการขายทอดตลาดมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีที่มีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมตามมาตรา 57(1) ตอนท้าย เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมได้
- โจทก์จำเลยสมคบทำสัญญาลวงเป็นหนี้และฟ้องกันให้ศาลบังคับคดี เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้ของจำเลยสามารถบังคับเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยได้ เจ้าหนี้จำเลยมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีตาม 57(1) และสิทธิของผู้ร้องสอดที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นหนี้ที่แน่นอน
- ******ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาจากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือผู้ที่ซื้อสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาจากการขายทอดตลาด หรือขายโดยวิธีอื่นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำพิพากษา มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม 57(1)ได้ , การยื่นคำร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีเนื่องจากผู้ร้องเป็นผู้รับโอนสิทธิตามคำพิพากษา ไม่ได้เรียกร้องสิ่งใดขึ้นใหม่หรือเกินไปกว่าสิทธิเรยกร้องที่โจทก์มีอยู่ตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอีก
- ฏีกาน่าเฮ ..... ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่า ที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดครึ่งหนึ่งเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ ๒ ผู้ร้องเป็นภริยาของจำเลยที่ ๒ ไม่ได้ให้ความยินยอมในการที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปจำนองเป็นประกันการกู้ยืมจากโจทก์ ดังนั้น หากเป็นดังที่ผู้ร้องอ้าง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตาม กม. ต้องถือว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษา ชอบที่จะร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีตาม ปวิพ.มาตรา 57(1)ได้ *****แต่ตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการขอให้ศาลบังคับให้โจทก์แบ่งที่ดินพิพาท ในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องกับจำเลยที่ ๒ ไม่ได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นสัดส่วน คำขอบังคับของผู้ร้องดังกล่าวโดยสภาพไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำร้องนั้นได้ คำร้องมีลักษณะเป็นเรื่องการร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้น ตาม 287(ขอกันส่วน) ผู้ร้องชอบที่จะร้องขอให้กันส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสนั้น ไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาขอบังคับให้โจทก์แบ่งที่ดินพิพาทในส่วนซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องให้แก่ผู้ร้องตามคำพิพากษาได้การร้องสอดเข้ามาในคดีไม่มีข้อพิพาท
- กม.ไม่ได้จำกัดว่าการร้องสอดเข้ามาในคดีต้องเป็นคดีมีข้อพิพาทเท่านั้น , แต่ถ้าผู้ร้องสอดไม่ได้ยื่นคำร้องเข้ามาในระหว่างการพิจารณา จนศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนมีคำสั่งแสดงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว ขณะที่ผู้ร้องไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน ถือว่าอยู่ระหว่างดำเนินการบังคับคดีตามคำสั่งศาล ผู้ร้องสอดอาจยื่นคำร้องเข้ามาตอนนี้ก็ได้ ทั้งนี้อาศัยอำนาจของมาตรา 57(1) ตอนท้าย
- แต่ระวัง .... เมื่อกระบวนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นไม่มีอีกต่อไป ผู้ร้องสอดจนไม่มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความตาม ปวิพ.มาตรา 57(1) ได้
- คดีร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก พิจารณาแต่เพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ส่วนทรัพย์มรดกจะมีอะไรบ้าง เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายจริงหรือไม่ ศาลไม่จำต้องชี้ขาดเพราะไม่มีประเด็นไปถึง ดังนั้นผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดี
- "ด้วยความสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับให้เป็นไปตามสิทธิของตนที่มีอยู่"การร้องสอดตาม 57(2) - "ด้วยความสมัครใจเองเพราะตนมีส่วนได้เสียตาม กม.ในผลแห่งคดีนั้น โดยยื่นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใดๆก่อนมีคำพิพากษา ขออนุญาตเข้าเป็นโจทก์ร่วม หรือ จำเลยร่วม หรือเข้าแทนที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียว โดยได้รับความยินยอมจากคู่ความฝ่ายนั้น แต่ว่าแม้ศาลจะได้อนุญาตให้เข้าแทนที่กันได้ก็ตาม คู่ความฝ่ายนั้นจำต้องผูกพันตนโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการ เสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการเข้าแทนทีี่กันเลย"
- ช่องทางเข้าสู้คดีของ เจ้าของรวมบางคน ---- เจ้าของรวมบางคนฟ้องขับไล่บุคคลภายนอก เจ้าของรวมคนอื่นจะร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม 57(1) แต่การที่เจ้าของรวมอ้างว่าอาจได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าของรวมที่เป็นโจทก์ เป็นการร้องสอดเข้ามาเพราะตนมีส่วนได้เสียตาม กม. ในผลแห่งคดีนั้นตาม ปวิพ.57(2)
- โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่พิพาท ซึ่งผู้ร้องและจำเลยอยู่อาศัย มีผลเสมือนว่าโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้ร้องด้วย ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียตาม กม. ในผลแห่งคดีตาม ปวิพ.
57(2)
- เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่โดยละเมิด หลังจากฟ้องแล้วโจทก์ได้โอนกรรมสิทธิืในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ผู้อื่น ถือว่าผู้รับโอนเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี จึงร้องขอให้เป็นโจทก์ร่วมได้ ส่วนเจ้าของเดิมยังคงมีอำนาจฟ้องบริบูรณ์อยู่ กำหนดเวลาการร้องสอด - ระยะเวลาการร้องสอดตามมาตรา 57(2) จะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลไม่ว่าเวลาใดๆก่อนมีคำพิพากษา หมายถึง มีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเท่านั้น จะขอเข้ามาในชั้นพิจารณาของศาลสูงไม่ได้การร้องสอดโดยศาลหมายเรียกให้เข้ามาในคดี - เมื่อผู้ให้เช่าซื้อฟ้องให้ผู้เช่าซื้อรับผิด จำเลย(ผู้เช่าซื้อ) มีสิทธิขอให้เรียกให้ผู้รับประกันภัยเข้ามาเป็นจำเลยร่วม และรับผิดร่วมต่อโจทก์ได้ ตาม ปวิพ.มาตรา 57(3)(ก)
- ผู้ที่เข้ามาเป็นผู้ร้องสอด ต้องเป็นบุคคลภายนอกคดี จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณายังถือว่าเป็นคู่ความ ไม่ใช่บุคคลภายนอกคดี ดังนี้ จะขอให้ศาลออกหมายเรียกจำเลยคนดังกล่าวเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดอีกไม่ได้ **** แต่ถ้าศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยไปบางคนแล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกเข้ามาในคดีใหม่ได้
- กรณีโจทก์ฟ้องผิดตัว โจทก์จะขอเรียกผู้ต้องรับผิดที่แท้จริงเข้ามาเป็นจำเลยร่วมไม่ได้ ต้องฟ้องใหม่
- ** โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าและบริวารให้ออกจากที่พิพาท จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าได้ทำสัญญาเช่าฉบับใหม่กับตัวแทนของโจทก์ โดยได้ชำระค่าเช่าให้แก่ตัวแทนไปแล้ว จำเลยขอให้เรียกตัวแทนเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้
- ปพพ.1562 คดีอุทลุม เป็นบทบัญญัติที่ตัดสิทธิห้ามมิให้ฟ้องผู้บุพการีของตน จึงต้องแปลโดยเคร่งครัด การที่ศาลมีคำสั่งให้เรียกบิดาโจทก์เข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยในคดี เนื่องจากบิดาเป็นเก็บโฉนดที่ดินไว้ ยังเรียกไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องบุพการีของตน จึงไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 1562
- เมื่อศาลเรียกให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมแล้ว ศาลย่อมพิพากษาให้รับผิดได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
- เมื่อศาลเรียกให้เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมแล้ว โจทก์ร่วมไม่อาจมีคำขอใดๆได้ ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ร่วมได้
- การขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ต้องขอเรียกมาภายใน อายุความที่จำเลยร่วมต้องรับผิดในเรื่องนั้นๆด้วย
- การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยร่วมด้วย ผู้รับมอบอำนาจก็ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตาม 57(3) แม้คำร้องขอให้เรียกเข้ามาในคดีจะไม่ใช่คำฟ้องก็ตาม แต่ถ้าศาลอนุญาตจำเลยร่วมก็อาจถูกบังคับตามคำฟ้องได้ เท่ากับเป็นการฟ้องให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์นั่นเอง
- คำร้องขอของโจทก์ให้เรียกธนาคาร ท. เข้ามาเป็นคู่ความเพื่อเป็นจำเลยร่วมไม่มีลักษณะเป็นคำฟ้องหรือคำคู่ความ ไม่เหมือนกรณีที่บุคคลภายนอกร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีไม่ว่าโดยสมัครใจหรือถูกหมายเรียกของศาลให้เข้ามาก็ตาม
- กรณีที่ศาลชั้นต้น ไม่รับคำร้องสอดตาม อนุ ๑ และ ๒ ผู้ร้องสอดได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตาม 228(3) ถ้าศาลชั้นต้นดำเนินคดีจนมีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ ศ.ต้น รับคำร้องสอดก็ตาม ย่อมไม่ทำให้ผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดเปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนี้ ศ.ต้น ชอบที่จะสั่งให้ผู้ร้องสอดไปฟ้องเป็นคดีใหม่สิทธิของผู้ร้องสอด
- แม้จำเลยเดิมจะขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดตาม 57(1) (3) ก็ยังมีสิทธิร้องสอดได้ และยังมีสิทธิยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ต่างจากข้อต่อสู้ของจำเลยเดิมได้การส่งคำคู่ความกรณีไม่พบคู่ความ - 1)ส่งให้แก่บุคคลที่อายุเกิน 20 ปี ซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือสำนักทำการงาน
2)ส่งตามข้อความในคำสั่งของศาล
- การที่ศาลมีคำสั่งตอนรับฟ้องไว้ว่า ถ้าส่งไม่ได้ให้ปิดหมาย ถือเป็นการส่งตามข้อความในคำสั่งศาลตาม 76 ไม่ใช่เป็นการส่งโดยวิธีอื่นตาม 79 จึงเป็นการส่งโดยชอบ ไม่เป็นการข้ามขั้นตอน และถือว่า การส่งตามข้อความในคำสั่งศาล มีผลเป็นการรับหมายในทันที จึงนับระยะเวลาตามคำสั่งศาลได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้ล่วงพ้นระยะเวลา 15 วัน ตามมาตรา 79 วรรคสองก่อน
- มาตรา 79 วรรคสอง "การส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยวิธีอื่นแทนนั้น ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลา 15 วัน หรือระยะเวลานานกว่านั้นที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่เวลาที่คำคู่ความหรือเอกสารหรือประกาศแสดงการมอบหมายนั้นได้ปิดไว้ หรือการโฆษณาหรือวิธีอื่นตามที่ศาลสั่งนั้นได้ทำหรือได้ตั้งแต่ต้นแล้ว" (กล่าวคือ ต้อง 15 วันเสมอ)
- กรณีที่่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลย โดยบุคคลอายุไม่เกิน 20 ปีเป็นผู้รับแทน แต่ปรากฏว่าจำเลยได้แต่งทนายความมาต่อสู้คดีและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา แสดงว่าจำเลยทราบเรื่องที่ถูกฟ้องไว้แล้ว จำเลยจะมาอ้างในภายหลังว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบไม่ได้
- การส่งคำคู่ความและเอกสารที่ได้กระทำในศาล ตาม 77(2) ต้องเป็นการส่งให้แก่คู่ความหรือผู้มีชื่อระบุว่าเป็นผู้รับหมาย ดังนี้ หมายนัดซึ่งระบุชื่อโจทก์ร่วมในหมาย แต่เจ้าพนักงานให้สามีโจทก์ร่วมลงชื่อรับแทนโจทก์ร่วม แม้ได้กระทำในศาล ก็ถือว่าไม่ชอบ
- ปรากฏว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีธรรมดาไม่ได้ ศาลจึงสั่งให้ส่งโดยวิธีปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย ในการดำเนินกระบวนพิจารณานัดต่อๆมา ศาลจึงอาจแจ้งนัดให้จำเลยทราบโดยสั่งปิดประกาศหน้าศาลได้ เพราะถือว่าเป็นกรณีที่ไม่อาจส่งโดยวิธีธรรมดาได้ และการปิดประกาศหน้าศาลถือเป็นการส่งโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 79 การแจ้งนัดล่วงหน้าจึงชอบด้วย กม.
- การปืดคำคู่ความหรือเอกสารที่ต้องปิดไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย การส่งให้คนในบ้านของจำเลยรับไว้ไม่ใช่เป็นการปิดที่แลเห็นได้ง่ายตาม 79 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาหรือคำสั่งมาตรา 131 คดีที่ยื่นคำฟ้องต่อศาลนั้น ให้ศาลปฏิบัติดังนี้
๑ ในเรื่องคำขอของคู่ความที่่ยื่นในระหว่างการพิจารณาคดีนั้น โดยทำเป็นคำร้องหรือขอด้วยวาจาก็ดี ให้ศาลมีคำสั่ง อนุญาต หรือ ให้ยกเสียซึ่งคำขอ โดยทำเป็นหนังสือหรือ ด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าศาลจะมีคำสั่งด้วยวาจาให้ศาลจดคำสั่งนั้นไว้ในรายงานพิสดาร
๒ ในเรื่อง ประเด็นแห่งคดี ให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาด โดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง หรือให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะนี้
- การสั่งจำหน่ายคดี ต้องเป็นการสั่งที่ไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี ถ้ามีการวินิจฉัยชี้ขาดคดี แม้เป็นการชี้ขาดตาม ปวิพ. ศาลก็ต้องทำในรุปคำพิพากษาหรือคำสั่ง จะสั่งจำหน่ายคดีไม่ได้ เช่น ศาลเห็นว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไม่ได้
- การสั่งจำหน่ายคดี มาตรา 132
ให้ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนั้น และให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร
๑ เมื่อโจทก์ ทิ้งฟ้อง 174 ถอนฟ้อง 175 ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา 193ทวิ
๒ เมื่อโจทก์ไม่หาประกันตามมาตรา 253 , 288 หรือเมื่อคู่ความฝ่ายหนึ่ง หรือ ทั้งสองฝ่ายขาดนัดตามมาตรา 198 , 200 , 201
๓ ถ้าความมรณะของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังให้คดีนั้นไม่มีประโยชน์ต่อไป หรือถ้าไม่มีผู้ใดเข้ามาแทนที่คู่ความฝ่ายที่มรณะดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42
๔ เมื่อศาลได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีรวมกันหรือให้แยกกัน ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องโอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 28 , 29
- คำสั่งจำหน่ายคดี เป็นดุลพินิจของศาล
- ฏีกา 6201/2550 เมื่อจำเลยทิ้งฟ้อง ศาลอุทธรณ์สั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์แล้ว จึงไม่มีคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ที่จะให้จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการจำหน่ายคดี ที่ ศ.ต้นมีคำสั่งว่า คดีเสร็จการพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แล้ว หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปก็มีสิทธิยื่นฏีกาได้ตาม กม. และให้ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบด้วย กม. คำพิพากษาตามยอม มาตรา 138 - มาตรา 138 ในคดีที่คู่ความตกลงกัน หรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยไม่ได้มีการถอนคำฟ้องนั้น และข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้น ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ กม. ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อกตลงหรือการประนีประนอมยอมความเหล่านั้นไว้ แล้วพิพากษาไปตามนั้น
ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุดังต่อไปนี้
1.เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล
2.เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่ง กม. อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
3.เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าไม่ได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความ
-การตกลงกันประนีประนอมฯ อาจทำในขณะคดีนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกาก็ได้ หรือแม้แต่คดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม ก็อาจจะตกลงมิให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดนั้ันก็ได้
- สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันในศาล เพื่อให้ศาลพิพากษาตามยอมไม่อยู่ในบังคับของ ปวิพ 142 ที่ห้ามพิพากษาเกินคำขอ เพียงแต่ต้องตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดีเท่านั้น ---- ฟ้องขอแบ่งที่นา คู่ความยอมมอบข้าวเปลือกในที่นาพิพาท เป็นเรื่องที่อยู่ในประเด็นพิพาทแห่งคดี เป็นเรื่องเกี่ยวเน่ืองกับพืชผล ศาลพิพากษาตามยอมได้ การยอมความไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องยอมความกันตามขอท้ายฟ้องเท่านั้น
- คดีร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก แม้ผู้ร้องและผู้คัดค้านจะตกลงกันให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดก ศาลก็ไม่อาจพิพากษาตามยอมได้ เพราะยังมีประเด็นต้องวินิจฉัยถึงสิทธิและคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน (เพราะ กม.สารบัญญัติกำหนดคุณสมบัติของ ผู้จัดการมรดกไว้ชัดเจน เป็นเงื่อนไขสำคัญมากกว่าการตกลงประนีประนอมยอมความ)
- การสมรสเป็นสิทธิเฉพาะตัวและต้องทำตามเงื่อนไขของ กม. จะตกลงกันระหว่างการพิจารณาของศาลสูง เพื่อให้โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยากันอีกไม่ได้
- ข้อตกลงที่จำเลยตกลงรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้บนที่ดิน และจดทะเบีียนโอนที่ดินคืนให้แก่โจทก์ตามรายงานกระบวนพิจารณนั้นเป็นข้อตกลงที่ทำขึ้นใหม่ภายหลังที่ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ไม่อาจบังคับในคดีนี้ได้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติโจทก์ต้องใช้สิทธิเรียกร้องเอากับจำเลยแยกไปจากคดีนี้
- การที่คู่ความตกลงกันใหม่ แม้จะกระทำในศาลแต่ก็ไม่ได้ยกเลิกสัญญาประนีฯ ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมไว้ก่อนแล้ว เมื่อไม่มีการปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่ ก็ต้องผูกพันตามคำพิพากษาตามยอมที่ทำไว้เดิม
- ตามมาตรา 138(1) อ้างเป็นข้ออุทธรณ์ได้เฉพาะฉ้อฉลเท่านั้น ไม่รวมถึงการข่มขู่หรือความสำคัญผิดด้วย
- ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันคู่ความจะตกลงกันกำหนดค่าทนายความให้ชดใช้แก่กันมากน้อยเท่าใดก็ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องที่ศาลกำหนดให้ใช้แทนกัน แม้จะตกลงชดใช้สูงกว่าที่อัตรา กม.กำหนด ก็ถือว่าเป็นไปโดยชอบด้วย กม.
- ** การอุทธรณ์คำสั่งของศาลที่วินิจฉัยเกี่ยวกับการตีความตามคำพิพากษาตามยอม เป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดี จึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งชั้นบังคับคดี ไม่ใช่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอม ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 138 วรรคสอง
- ทางออก ต้องใช้สิทธิในการอุทธรณ์แต่เพียงอย่างเดียว ถ้าไม่อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 229 คดีย่อมถึงที่สุด คู่ความจะอ้างเหตุตามมาตรา 138 วรรคสอง เพื่อขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ ....... *** จำเลยจะลักไก่... อ้างว่าคำพิพากษาตามยอมขัดต่อความสงบเรียบร้อยฯ ไม่ชอบด้วย กม. ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินการมาทั้งหมดแล้วยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ มีผลเป็นอย่างเดียวกับการขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอม ซึ่งต้องกระทำโดยศาลสูง จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้ ศ.ต้น พิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำพิพากษาของศาลนั้นเองไม่ได้ แม้จำเลยจะเพิ่งทราบเหตุที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความหลังพ้นระยะเวลาอุทธรณ์ ก็ไม่มี กม.รับรองให้ทำได้ ศ.ต้น ยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ไต่สวนชอบแล้ว
- แต่อย่างไรก็ตาม หากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมเกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลอาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นได้ เช่น โจทก์อ้างว่าจำเลยนำบุคคลอื่นมาแสดงตัวว่าเป็นโจทก์ แล้วสมคบกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ไม่รู้เห็นยินยอม จนศาลหลงเชื่อจึงได้พิพากษาตามยอมไป หรือ อ้างว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ลงชื่อในใบแต่งทนายความและเอกสารเพื่อนำไปถอนฟ้อง แต่กลับนำไปแต่งตั้งทนายความมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ ดังนี้ หากเป็นจริง สัญญาประนีประนอมฯ และคำพิพากษาตามยอม ย่อมเป็นการไม่ชอบ เพราะโจทก์ไม่รู้เห็นยินยอม ดังนี้ เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ โจทก์ชอบที่จะขอเพิกถอนได้ตามมาตรา 27 โดยไม่ต้องขอเพิกถอนในคดีเดิม จึงฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้ ซึ่งนอกจากนี้คู่ความจะฟ้องเป็นคดีใหม่ ให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความก็ไม่ได้เช่นกัน
- ศาลมีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อตีความให้เป็นไปตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา
- คู่ความจะฟ้องขอเพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยอ้างว่าทนายความของตนกระทำการนอกเหนือขอบอำนาจของการเป็นตัวแทนไม่ได้ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ทนายความของตนตาม กม.
คำพิพากษาไม่เกินคำขอ มาตรา 142
- ตามมาตรา 142 ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องวินิจฉัยประเด็นตามคำฟ้องทั้งหมด หากศาลเห็นว่าประเด็นใด แม้วินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ก็อาจใช้ดุลพินิจไม่วินิจฉัยได้ อันเป็นอำนาจทั่วไปของศาล
- ห้ามมิให้ศาลพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกคำฟ้อง
- ฟ้องขอให้เปิดทางสาธารณประโยชน์ โดยได้บรรยายข้อเท็จจริงในลักษณะของทางภาระจำยอมมาด้วย ศาลพิพากษาให้เปิดทางภาระจำยอมได้ ไม่นอกฟ้อง
- ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ แต่ได้ความว่าเป็นทางสาธารณะ ศาลพิพากษาว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ไม่นอกประเด็น
- คำขอท้ายฟ้อง ขอให้ขับไล่ออกไปจากสิ่งปลูกสร้าง ศาลพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินที่ปลูกสร้างได้ด้วย ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ปวิพ.142
- ข้อยกเว้นที่ให้ศาลพิพากษาเกินคำขอได้ มาตรา 142(1)-(6)
- คดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยได้ตามมาตรา 142(1)ได้นั้น ต้องสั่งไว้ในขณะมีคำพิพากษาด้วย
- คดีฟ้องว่าผิดสัญญาซื้อขาย แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยและบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 142(1) โจทก์จะอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมมาบังคับแก่บริวารของจำเลยด้วยไม่ได้
- ปัญหาข้อ กม. อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน 142(5)
- จำเลยออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินโดยไม่ชอบด้วย กม. แต่โจทก์ไม่ได้มีคำขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญนั้น ศาลก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบฯ
- ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
- ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
- ข้อ กม.อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองนั้น จะต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เช่น ได้ความมาจากการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็น ไม่อาจรับฟังเพื่อวินิจฉัยข้อ กม.ได้
การแก้ไขคำพิพากษา มาตรา 143
- สัญญาประนีฯ เป็นส่วนหนึ่งของของคำพิพากษาตามยอม ย่อมแก้ไขตาม 143 ได้
- คำฟ้องของโจทก์บรรยายเกี่ยวกับเลขที่อาคารที่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาดคลาดเคลื่อน เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้โจทก์จะไม่ได้ขอแก้ไขคำฟ้องและมีการตกลงกันทำสัญญาประนีฯ ตามเลขที่อาคารที่คลาดเคลื่อน ศษลชอบที่จะพิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดตามสัญญาประนีฯ
- การที่ศาลพิพากษาไม่ตรงกับคำขอท้ายฟ้อง ไม่ใช่เรื่องผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลง แต่เป็นเรื่องที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป จะขอแก้ไขตาม 143 ไม่ได้ ต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ฏีกา
.. ** แม้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะไม่คัดค้านก็ตาม
ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ มาตรา 144 - 1295/2524 การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่ได้มีเฉพาะการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีเดิมแต่อย่างเดียว การที่คู่กรณีนำคดีมาฟ้องเป็นคดีใหม่ในมูลเดียวกัน และมีประเด็นอย่างเดียวกันกับที่ศาลได้เคยวินิจฉัยไว้ในคดีก่อนโดยคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด ก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเช่นกัน
- กรณีสลับโจทก์จำเลยฟ้องกัน ไม่เป็นดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ เพราะยังไม่มีคำพิพากษาหรือการวินิจฉัยในประเด็นนั้นๆ ไม่เป็นฟ้องซ้อน เพราะว่าโจทก์จำเลยคนละคน , ไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะว่าคดียังไม่ถึงที่สุด แต่หากมีศาลใดมีคำพิพากษาแล้ว มีผลทำให้อีกคดีที่ยังไม่ได้มีคำพิพากษาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ทันทีโดยไม่ต้องคำนึงว่าคดีนี้ฟ้องต่อศาลก่อนหรือหลังคดีที่ได้ตัดสินไปแล้ว [0.26: juris vpang 75%]
- คดีเดิมฟ้องขับไล่อ้างว่าสัญญาเช่าเป็นโมฆะ คดีนี้ฟ้องว่าสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ 7695/50
- คำสั่งศาลที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาหรือคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี คู่ความจึงยื่นคำร้องนั้นได้อีก
- ศ.ต้น ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเพราะจำเลยไม่ได้นำพยานมาสืบ ผู้ขอยื่นคำร้องใหม่ มีข้ออ้างเช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลแล้ว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
- ศ. ยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เพราะอ้างเหตุไม่ครบถ้วน จำเลยยื่นคำร้องใหม่โดยทำคำร้องให้ถูกต้องได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
- ประเด็นแห่งคดีในคดีอาญาและคดีแพ่งแตกต่างกัน กล่าวคือ คดีอาญามีประเด็นว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ส่วนคดีแพ่งประเด็นว่าจำเลยต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ ดังนั้น การดำเนินคดีแพ่งจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีอาญา
- แม้สินค้าที่เป็นมูลเหตุให้ฟ้องร้องในคดีทั้งสองเป็นคนละจำนวนกัน แม้ว่าสินค้าที่จำเลยซื้อแต่ละคราวในคดีนี้กับคดีก่อน จะสืบเนื่องจากใบเสนอราคาของโจทก์ฉบับเดียวกัน ก็ไม่มีผลให้ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกัน อันจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไปได้คำพิพากษาผูกพันคู่ความ มาตรา 145 - คำพิพากษาที่จะผูกพันคู่ความในคดีหลัง ต้องเป็นประเด็นเดียวกันด้วย
- คำพิพากษาผูกพันคู่ความ แม้จะเป็นคู่ความฝ่ายเดียวกันก็ตาม
- คำพิพากษาผูกพันผู้สืบสิทธิของคู่ความด้วย ; ผู้รับโอนที่ดินพิพาทมาจากคู่ความในคดีก่อน ก็ถือเป็นผู้สืบสิทธิเช่นเดียวกัน
- **6220/2550
- กรณีที่ทายาทหลายคนมีสิทธิได้รับมรดก การที่ทายาทคนหนึ่งถูกฟ้องแล้วไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับว่า ทรัพย์มรดกเป็นของโจทก์ ถือไม่ได้ว่า เป็นเรื่องที่เจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์รวมครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก คำพิพากษาจึงไม่ผูกพันทายาทอื่น คำพิพากษาผูกพันเฉพาะทายาทที่เป็นคู่ความเท่านั้น ....**
เรื่องนี้หากวิเคราะห์กัน ก็มองในเรื่องความเป็นธรรมและ ปพพ.เป็นหลักเพราะว่าเป็นในทางที่เสื่อมสิทธิแก่เจ้าของรวมคนอื่นๆ
- โจทก์จำเลยต่างอ้างคำพิพากษาทั้งสองในคดีก่อน ดังนี้ คดีแพ่งทั้งสองดังกล่าวต่างถึงที่สุดแล้ว แต่โดยเหตุที่คำพิพากษาของศาลเดียวกันขัดแย้งกัน ฉะนั้นฝ่ายที่จะอ้างบทบัญญัติแห่ง ปวิพ145 ว่าคำพิพากษาผูกพันตนไม่ได้ ศษลจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การของโจทก์จำเลยต่อไป
- คำพิพากษาไม่ผูกพันบุคคลภายนอก
- คำขอท้ายฟ้องที่ห้ามเจ้าพนักงานที่ดินออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แก่จำเลย โดยไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานด้วย จึงไม่ชอบ หรือฟ้องเฉพาะเจ้าพนักงานขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์มรดก ย่อมมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของทายาทอื่นที่มีสิทธิได้รับมรดกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี ซึ่งโจทก์ไม่ได้ฟ้องหรือขอให้เรียกเข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ผลของคำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันทายาทตาม ปวิพ.145 ศาลไม่อาจพิพากษาให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ได้
- คำสั่งศาลที่แสดงว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ มีผลผูกพันโจทก์ต่อเมื่อโจทก์ได้ทราบเรื่องที่จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์แล้วไม่ได้โต้แย้งคัดค้านภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้ เมื่อโจทก์ไม่ทราบเรื่องที่จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ทำให้ไม่อาจโต้แย้งคัดค้านคำร้องของจำเลยได้ คำสั่งของศาลจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีเพื่อพิสูจน์ว่าตนมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยตาม 145(2)
- คำพิพากษาตามยอม ที่ให้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ไม่ใช่คำพิพากษาที่แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ตาม 145(2) จึงไม่ผูกพันโจทก์ที่เป็นบุคคลภายนอก
- การที่ศาลจำหน่ายคดีหรือให้ถอนฟ้องจำเลยคนใดไปแล้ว ถือเป็นบุคคลภายนอกคดี การมีคำพิพากษาต้องไม่ให้กระทบถึงสิทธิของจำเลยดังกล่าว
- คำพิพากษามีผลผูกพันคู่ความ แม้คดีหลังจะนำมาฟ้องเป็นคดีอาญาก็ต้องฟังข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับคดีแพ่ง (คดีสร้างรั้วคอนกรีตบุกรุก มีการฟ้องแพ่งก่อน ศาลฟังว่าไม่บุกรุก)ฟ้องซ้ำ มาตรา 148 - มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
- ในคดีที่อาจอุทธรณ์หรือฏีกาได้ คำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาอุทธรณ์หรือฏีกา ดังนี้การฟ้องคดีในระหว่างอายุอุทธรณ์หรือฏีกา จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่อาจจะเป็นฟ้องซ้อนหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ก็ได้
- คู่ความเดียวกัน อาจสลับฐานะกันก็ได้ กล่าวคือ โจทก์กลับเป็นจำเลย หรือจำเลยกลับเป็นโจทก์ ก็เป็นฟ้องซ้ำ



พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
ผบ.ร้อย ฝ่ายปกครอง ๑ (กองร้อยที่ ๔)

ลำดับขั้นตอนของหมู่ธงชัย ขั้นตอนการเชิญธงชัยประจำพลับพลาพิธีด้านหน้า

ลำดับขั้นตอนของหมู่ธงชัย ขั้นตอนการเชิญธงชัยประจำพลับพลาพิธีด้านหน้า

- ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง
"ขบวนสวนสนาม ทำความเคารพธงชัย" ผู้เขิญธงฯ ปฏิบัตินำธงมาใส่ช่องยึด
"ตรงหน้าระวัง ....... วันทยาวุธ" หมู่ธงชัยฯ หน้าเดินออกมา ดุริยางค์บรรเลงเพลงชาติ แล้วเป็นเพลงบรรเลง
- เดินออกมาถึงแนวเส้นที่กำหนด ซอยเท้าปรับรูปขบวน แล้วรอ-กลองเปิ้ล ออกเดินมาบริเวณด้านหน้าพลับพลาที่ประทับพร้อมกันทั้ง 6 ธง
- เดินมาถึงจุดด้านหน้า ต่างปรับรูปแบบขวาซ้ายหัน หันหน้าไปทางพลับพลาพิธี รอ-กลองเปิ้ล แล้วหยุดโดยอัตโนมัติ
- ผู้เชิญธงชัย ปฏิบัติในท่าเรียบอาวุธโดยอัตโนมัติ
- ผู้ตามธงชัย รร.นรต. สั่ง "หมู่ธงชัย ทำความเคารพธงชัยฯ" ผู้เชิญธงฯ ปฏิบัติในท่ายกธงด้านข้างลำตัว
"ตรงหน้าระวัง วันทยาวุธ" ผู้เชิญธงฯ หน้าเดินออกมา , ผู้เคียงธงฯปฏิบัติในท่าวันทยาวุธจังหวะสุดท้าย ผู้ตามธงวันทยาหัตถ์ (ไม่มีเพลงบรรเลง)
- ผู้เชิญธงชัยฯ เดินมาปรับรูปขบวน ขวาซ้ายหันแล้วเดินขึ้นพลับพลาพิธีด้านหน้า
เมื่อปรับรูปขบวนเสร็จ ซอยเท้าแล้วตบเท้า 3 ก้าวถึงจุดประทับธงชัย แล้วผู้เชิญธงชัย ปฏิบัติในท่าเรียบอาวุธ
- ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ขบวนสวนสนาม เรียบอาวุธ"
ผู้เชิญธงชัยฯ ยืนทางตรงเฉยๆ
ผู้เคียงธง ปฏิบัติในท่าเรียบอาวุธกลับสู่ท่าตรง
ผู้ตามธง ปฏิบัติท่ามือลง อยู่ท่าตรง

-------ขั้นตอนการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณ------------
-----------กล่าวคำสัตย์ปฏิญาณเสร็จ---------------
-----------ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้โอวาท-----

- ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ขบวนสวนสนาม ทำความเคารพผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ"
ตรงหน้าระวัง วันทยาวุธ" ดุริยางค์บรรเลงมหาฤกษ์
ผู้เคียงธงฯ ปฏิบัติท่าวันทาวุธจังหวะสุดท้าย
ผบ.ขบวนสั่ง "เรียบ.....อาวุธ" ผู้เคียงธงฯ ปฏิบัติท่าเรียบอาวุธกลับสู่่ท่าตรง

- ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง
"ขบวนสวนสนาม ทำความเคารพธงชัย" ผู้เชิญธงฯ ปฏิบัติในท่ายกธง ข้างลำตัว
"ตรงหน้าระวัง ........ วันทยาวุธ" ผู้เชิญธงฯ เดินถอยหลัง 3 ก้าวแล้วซอยเท้าขวาซ้ายหัน แล้วออกเดินมาปรับรูปขบวนด้านหน้า แล้วรอ-กลองเปิ้ล ตบเท้าก้าวเดินออกมา
ผู้เคียงธงฯ ปฏิบัติท่าวัทยาวุธจังหวะสุดท้าย
ดุริยางค์บรรเลงเพลงชาติและเพลงให้จังหวะต่อ
- ผู้เชิญธงฯ เดินกลับเข้ามาในแถว ซอยเท้ากลับหลังหันแล้วซอยเท้า ผู้ตามธง รร.นรต.สั่งแถวหยุด
ผู้เชิญธงฯ แถวหยุดและนำธงลงโดยอัตโนมัติพร้อมกัน
- ผู้ตามธงชัย รร.นรต. สั่ง "หมู่ธงชัย เรียบอาวุธ" ผู้เคียงธงฯ ปฏิบัติท่าเรียบอาวุธกลับสู่ทางบ่าอาวุธ
ผู้เชิญธงฯ ปฏิบัตินำธงมาใส่ช่องยึดสายคล้องธง
*****เพลงยังบรรเลงอยู่*******
- หมู่ธงชัยซอยเท้า แล้วปรับรูปขบวนขวาซ้ายหันเพื่อเดินกลับเข้าในแถวของตนเอง ผู้ตามธงฯรร.นรต.สั่งหน้าเดิน *****เพลงยังบรรเลงอยู่*****
- ออกเดินมาถึงจุดที่กลับเข้าแถว รอ-กลองเปิ้ล แล้วเดินกลับเข้าในแถว
- มาถึงจุดด้านหน้ากองพันของตนเองแล้ว รอ-กลองเปิ้ล แล้วหยุด ****พร้อมกับเพลงมหาฤกษ์******
- ผู้บังคับขบวนสวนสนาม สั่ง "ขบวนสวนสนาม เรียบอาวุธ"

-------เสร็จสิ้นขั้นตอนของหมู่ธงชัยฯ ในการเชิญธงประจำพลับพลาพิธีด้านหน้า--------


ขั้นตอนการฝึกซ้อม

ซ้อมอยู่กับที่
ก.นายตำรวจผู้รักษาธง
1) ท่าถือธง 8 จังหวะ
2) ท่าธงลง
3) ท่ายกธงด้านข้างลำตัว
4) ท่าถือธงเดินสวนสนาม
5)

ข.นายตำรวจเคียงธง
1) ท่าวันทยาวุธจากท่าตรง
2) ท่าวันทยาวุธจากท่าบ่าอาวุธ
3) ท่าเรียบอาวุธกลับสู่ท่าตรง
4) ท่าเรียบอาวุธกลับสู่ท่าบ่าอาวุธ
5) ท่าสวนสนาม. มือขวาที่ถือกระบี่สัมพันธ์กับเท้าซ้าย

ค.นายตำรวจตามธง
1) ท่าวันทยาหัตถ์
2) การช่วยเหลือปรับธง
3)
4)




พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
ผบ.ร้อย ฝ่ายปกครอง ๑ (กองร้อยที่ ๔)

สถิติข้อสอบอัยการ-แพ่ง

สถิติข้อสอบอัยการ-แพ่ง
แพ่ง ปี 51 วันที่
ข้อ 7 หนี้ , การเพิกถอนการฉ้อฉล
ม.320 จะบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนหรือให้ชำระหนี้อย่างอื่นผิดไปจากที่ต้องชำระแก่เจ้าหนี้นั้น ไม่อาจบังคับได้
ม.204 การชำระหนี้ที่ปรากฏตามวันเวลาตามปฏิทิน ไม่พักต้องบอกกล่าว
ม.215
ม.213
ม.237 เพิกถอนการฉ้อฉล "เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้เพิกถอนเสียได้ ซึ่งนิติกรรมใดๆอันลูกหนี้ได้กระทำไปลงทั้งรู้อยู่่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ไม่ให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำ
นิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งได้ลาภงอกแต่การนั้น มิได้รู้เท่าถึงความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบด้วย
แต่หากเป็นการให้
_________________________________________
ข้อ 8 จ้างทำของ - อายุความทั่วไป อายุความเรื่องจ้างทำของ กรณีมีการชำรุดบกพร่อง
ม.598 ผู้ว่าจ้างยอมรับการที่ทำนั้นแล้วโดยไม่ได้อิดเอื้อนโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยาย ผู้รับจ้างก็ไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นเช่นจะไม่พึงพบได้ในขณะเมื่อรับมอบ หรือผู้รับจ้างได้ปิดบังความนั้นเสีย --- จ้างทำของ
ม.377 มัดจำ
ม.380 เบี้ยปรับ
ม.193/30 ไม่่มีกฏหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ
ม.601 ห้ามมิให้ฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏ
__________________________________________
ข้อ 9 ทรัพย์สิน
ม.1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันไม่ได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่ง บทกฏหมายโดยเฉพาะหรือพระราชกฤษฏีกา
ม.1306 ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
_________________________________________
ข้อ 10 ครอบครัว - มรดก บุตรบุญธรรม
ม.1598/25 ผู้จะรับบุตรบุญธรรมหรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสกัน .... การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม โดยปลอมลายมือชื่อของคู่สมรส ถือว่า คู่สมรสไม่ได้ให้ความยินยอม การจดทะเบียนสมรส ไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลตาม กม. ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ และสิทธิหน้าที่ตามกฏหมายระหว่าง ผู้รับบุตรบุญธรรม และ บุตรบุญธรรม
================================================================
แพ่ง วันที่ 11 ธันวาคม 2548
ข้อ 7 แปลงหนี้ , การโอนสิทธิจำนอง
ม.352 คู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่ อาจโอนสิทธิจำนำ หรือจำนอง ที่ได้ให้ไว้เป็นประกันหนี้เดิมเป็นประกันหนี้รายใหม่ได้ เพียงเท่าที่เป็นประกันวัตถุแห่งหนี้เดิม แต่หลักประกันเช่นนั้น ถ้าบุคคลภายนอกเป็นผู้ให้ไว้ไซร้ ท่านว่าจำต้องได้รับความยินยอมของบุคคลภายนอกจึงจะโอนได้
ม.714 อันสัญญาจำนองนั้น ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ...​ แต่การโอนสิทธิจำนองนั้น ไม่มีกฏหมายกำหนดแบบจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ม.305 เมื่อโอนสิทธิเรียกร้องพึงโอนกันได้ เว้นแต่สภาพแห่งสิทธินั้นไม่เปิดช่องฯ แต่ไม่ให้ใช้บังคับ หากคู่กรณีได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่น การแสดงเจตนาเช่นว่านี้่ไม่ให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คนนอกสุจริต
ม.349 เมื่อคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ท่านว่าหนี้ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป
ม.698 อันผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด ในขณะเมื่อหนี้ของลูกหนี้ได้ระงับไปไม่ว่าเพราะกรณีใดๆทั้งสิ้น (เมื่อคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ หนี้นั้นย่อมเป็นระงับส้ินไป)
_________________________________________
ข้อ 8 ชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามคำประสงค์แท้จริง , การบอกเลิกสัญญา , เบี้ยปรับ
ม.387 ถ้าคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้อีกฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด อีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาได้
ม.204 วรรคสอง -
ม.381 ถ้าลูกหนี้สัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร เช่น ไม่ชำระหนี้ให้ตรงเวลาที่กำหนดไว้ นอกจากเรียกให้ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นอีกด้วยก็ได้
ม.474 ในข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลา ๑ ปี นับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง
ม.193/30 เมื่อไม่มีกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะให้ใช้อายุความ ๑๐ ปี
__________________________________________
ข้อ 9 ครอบครัว-มรดก บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรอง สามีภริยา หน้าที่อุปการะเลี้ยงดู , ละเมิด-ค่าขาดไร้อุปการะ
ม.1629 ทายายโดยธรรมมี 6 ลำดับ ผู้สืบสันดาน , บิดามารดา , พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ,​ พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน , ปู่ ย่า ตา ยาย , ลุง ป้า น้า อา
ม.1649 ผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาทไม่ได้มอบหมายตั้งบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ
ม.443 ถ้าเหตุที่ตายลงทำให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ท่านว่าบุคคลนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ม.1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน
ม.420 จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายหรือแก่ชีวิต แก่ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ม.1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนไม่ได้
ม.1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว และบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ ..... แต่บิดาไม่มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วดังกล่าว
ม.426 นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
_________________________________________
ข้อ 10 มรดก , การสละมรดก สัญญามีลักษณะการแบ่งปันทรัพย์มรดก ,​ ผู้จัดการมรดก
ม.1612 การสละมรดก ต้องแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ม.1750 การแบ่งปันทรัพย์มรดก อาจทำได้โดยทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด หรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท ถ้าไม่ได้มีการแบ่งปันตามวรรคก่อน แต่ได้ทำโดยสัญญาจะฟ้องร้องให้บังคับคดีกันหาได้ไม่ เว้นแต่จะมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ในกรณีเช่นนี้ให้นำเอา ม.850 , 852 ว่าด้วยประนีประนอมมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ม.852 ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นเป็นของตน
ม.1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก
===============================================================
แพ่ง วันที่ 8 พฤษภาคม 2548
ข้อ 7 กู้ยืมเงิน อายุความสิทธิเรียกร้อง จำนอง บังคับจำนองกรณีหนี้ประธานขาดอายุความ
ม.653 การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ถ้าไม่ได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับไม่ได้
ม.193/33(2) สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้มีกำหนด 5 ปี เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ
ม.744(1) อันจำนองย่อมระงับสิ้นไป เมื่อหนี้ที่ประกันระงับสิ้นไปเพราะเหตุอายุความ
ม.745 ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปี ไม่ได้
ม.733 ถ้าเอาทรัพย์สินที่จำนองหลุด และราคาทรัพย์สินนั้นมีประมาณต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าที่จำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใด ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินนั้น
ม.713 ถ้าไม่ได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาจำนอง ผู้จำนองจะชำระหนี้ล้างจำนองเป็นงวดๆก็ได้
ม.320 จะบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน หรือให้รับชำระหนี้เป็นอย่างอื่นผิดไปจากที่ต้องชำระแก่ เจ้าหนี้นั้น ท่านว่าหาอาจจะบังคับได้ไม่
ม.193/27 ผู้รับจำนอง​ ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง หรือผู้ทรงบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้อันตนได้ยึดถือไว้ ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกิน 5 ปี ขึ้นไปไม่ได้
_______________________________________
ข้อ 8 การแปลงหนี้ , การแปลงหนี้จากมูลละเมิดเป็นสัญญาเช่าซื้อ
ม.349 เมื่อคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องได้ทำสัญญาเปลี่ยน สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ หนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่
ม.448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด ท่านว่า ขาดอายุความเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด
================================================================
แพ่ง พ.ศ.2546/2
ข้อ 7 ลาภมิควรได้ ,​ ผู้รับทรัพย์โดยสุจริตย่อมได้ดอกผล
ม.406 บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์ส่ิงใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบนั้น ท่านว่าบุคคลนั้นจำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา อนึ่งการรับสภาพหนี้ว่ามีอยู่หรือหาไม่นั้น ท่านก็ให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้ด้วย บทบัญญัติอันนี้ท่านให้ใช้บังคับตลอดจนถึงกรณีที่ได้ทรัพย์มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้วนั้นด้วย
ม.415 บุคคลผู้ได้รับทรัพย์สินโดยสุจริตย่อมจะได้ดอกผลอันเกิดแต่ทรัพย์สินนั้นตลอดเวลาที่ยังคงสุจริตอยู่
ม.416 เรื่องลาภมิควรได้ -- ค่าใช้จ่ายอันควรแก่การเพื่อรักษาบำรุงหรือซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น ท่านว่าต้องชดใช้แก่บุคคลผู้คืนทรัพย์นั้นเต็มจำนวน แต่บุคคลเช่นว่านี้จะเรียกร้องให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายตามธรรมดาเพื่อบำรุงทรัพย์สินนั้น หรือค่าภาระติดพันที่ต้องเสียไปในระหว่างที่ตนคงเก็บดอกผลอยู่นั้นหาได้ไม่
ข้อ 8
ม.1598/26 ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรส
ม.1627
ม.1452
ม.1532
ม.1533
ม.1625(1)
ข้อ 9
ม.
ม.
ม.
ข้อ 10






















พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
ผบ.ร้อย ฝ่ายปกครอง ๑ (กองร้อยที่ ๔)

วิแพ่งภาค 4

วิแพ่งภาค 4

วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา
----จำเลยขอคุ้มครอง
----จำเลยขอให้โจทก์วางเงินประกันฯ ในชั้นอุทธรณ์หรือฏีกา
----1487/2529 "การที่ ปวิพ. 253 บัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยที่จะร้องขอให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ก็เพื่อคุ้มครองจำเลยให้มีหลักประกันที่จะบังคับเอาได้หากโจทก์แพ้คดีในที่สุด เนื่องจากโจทก์เป็นบุคคลอยู่นอกเขตอำนาจศาล ซึ่งจำเลยไม่อาจบังคับเอาได้ ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่จำเลยร้องขอแล้ว คำสั่งนั้นย่อมมีผลอยู่จนคดีถึงที่สุด"
----กรณีศาลยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 228(2)
----"โจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราว"
----คดีมโนสาเร่ โจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราวตาม 254 ไม่ได้
-คดีมโนสาเร่ คือประเภทคดีที่กำหนดไว้ตาม 189 ได้แก่
คดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท
คดีที่ฟ้องขับไล่บุคคลฯออกอสังฯอันมีค่าเช่าฯ ไม่เกินเดือนละ 30,000
---- หมายถึงโจทก์ผู้เร่ิมต้นคดี ไม่รวมถึงผู้ยื่นอุทธรณ์หรือฏีกา
---- เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่น เป็นบุคคลภายนอกคดีไม่มีสิทธิขอคุ้มครอง
---- เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาแล้ว จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลได้ทันทีตาม 228(2) แต่จะขอทุเลาการบังคับไม่ได้
---- การขอคุ้มครองชั่วคราวต้องขอในระหว่างพิจารณา การที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอฟังผลคดีอื่น เท่ากับเป็นการเลื่อนการพิจารณาคดีออกไป ถือว่าคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์จึงมีคำขอตาม 254 ได้
---- หากคดีถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาว่าด้วยวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาได้
---- ขอบเขตการขอคุ้มครองชั่วคราว
1.อยู่ในขอบเขตประเด็นแห่งคดี หรือการกระทำที่ถูกฟ้อง หรือคำขอท้ายฟ้อง
2.อยู่ในขอบเขตตามมาตรา 254(1)-(4)
---- ฟ้องขอให้จดแจ้งการโอนหุ้นลงในสมุดทะเบียนผูัถือหุ้นและเรียกค่าเสียหาย จะขอคุ้มครองโดยให้เข้าไปดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยต่อไปชั่วคราว เป็นนอกเหนือประเด็นคำฟ้อง ไม่ได้
---- ประเด็นข้อพิพาทว่า สมควรถอนผู้จัดการมรดกผู้ตายหรือไม่ ไม่มีประเด็นเรื่องแบ่งมรดก จะขอคุ้มครองให้แสดงบัญชีเงินได้จากการขายทรัพย์มรดกไม่ได้
---- ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนการรับมรดกที่ดิน ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง จะขอให้ห้ามมิให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทไม่ได้
---- ฟ้องโจทก์ขอให้ชำระหนี้ต่างๆซึ่งไม่เกี่ยวกับรายได้ของกิจการโรงแรมของจำเลย คำขอคุ้มครองของโจทก์ที่ขอให้ตรวจสอบบัญชีรายได้โรงแรมจำเลยที่ 1 จึงนอกเหนือไปจากคำขอท้ายฟ้องจะขอคุ้มครองไม่ได้ คดีนี้ ถ้าโจทก์ขอให้ยึดหรืออายัดเงินรายได้โรงแรมจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นคำขอที่อยู่ในขอบเขตคำขอท้ายฟ้องตาม 254(1)
---- ถ้าโจทก์มีคำขอให้ห้ามชั่วคราวในข้อที่ไม่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง และศาลได้มีคำสั่งอนุญาตไปแล้ว ดังนี้ แม้ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะ คำสั่งห้ามนั้นก็ยกเลิกไปในตัว (กรณีเช่นนี้..จะนำมาตรา 260(2) ซึ่งบัญญัติว่าถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะ คำสั่งกำหนดวิธีการชั่วคราวนั้นคงมีผลต่อไป......มาใช้บังคับไม่ได้)
---- การขอให้ยึดหรืออายัดชั่วคราว มาตรา 254(1) ----
---- กรณีที่โจทก์ขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องที่บุคคลภายนอกต้องชำระให้แก่จำเลยตามมาตรา 254(1) บัญญัติว่าต้องถึงกำหนดชำระด้วย
---- ครั้งแรก ขออายัดที่ดินของจำเลยไว้ชั่วคราว ครั้งที่สองเป็นการขออายัดเงินที่จำเลยจะได้จากการขายที่ดินแปลงเดียวกันเป็นคนละเหตุกัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
---- ในการยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษา ไม่ทำให้บุริมสิทธิของบุคคลภายนอกที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้นสิ้นไป จึงยังไม่มีสิทธิร้องให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นตาม ปวิพ.287 เพราะยังไม่ได้ดำเนินการบังคับชำระหนี้
---- ศาลมีคำสั่งให้อายัดเงินในบัญชีของจำเลย แต่ก่อนแจ้งคำสั่งอายัดไปธนาคาร จำเลยถอนเงินไปฝากอีกบัญชีหนึ่ง ศาลมีคำสั่งใหม่ให้อายัดเงินในบัญชีใหม่ได้ โดยไม่ต้องไต่สวน
---- การยึดหรืออายัดชั่วคราวไม่ต้องห้ามยึดซ้ำตาม 290
---- กรณีห้ามยึดหรืออายัดซ้ำตาม 290 ต้องเป็นการยึดหรืออายัดโดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน
---- โจทก์ขออายัดเงินบำเหน็จซึ่งจำเลยมีสิทธิได้รับจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยก่อนพิพากษา การสื่อสารส่งเงินที่อายัดมายัง ศ.ต้น เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.40 ต่อมาวันที่ 29 มกราคม 2542 ศ.ต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ต่อมาวันที่ 7 พ.ค.42 เจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ... ของศาลแพ่ง มีหนังสือถึง ศ.ชั้นต้น ขอให้อายัดเงินบำเหน็จดังกล่าวบางส่วน ดังนี้ จะเห็นได้ว่าแม้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่..... จะขออายัดภายหลังศาลมีคำพิพากษาคดีนี้แล้วก็ตาม ก็ยังถือว่าการอายัดในคดีนี้เป็นวิธีการชั่่วคราวก่อนพิพากษา ไม่ใช่การบังคับตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ...... จึงอายัดได้ไม่เป็นอายัดซ้ำ แต่ถ้า โจทก์ในคดีนี้ชนะคดีแล้ว โจทก์ได้ขอหมายบังคับคดีและขอโอนเงินเพื่อไปชำระหนี้ตามคำพิพากษา ถือว่าเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะขออายัดไม่ได้ เป็นอายัดซ้ำ
---- เมื่อมีการยึดหรืออายัดซ้ำโดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่น และภายหลังได้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปแล้ว หรือ บุคคลภายนอกได้ส่งเงินที่อายัดไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดี (กรณีอายัด) ย่อมทำให้การยึดหรืออายัดชั่วคราวยกเลิกหรือสิ้นผลไปโดยปริยาย โจทก์ในคดีอายัดชั่วคราวไม่มีสิทธิโต้แย้ง
---- คำว่า ยึด ใช้กับทรัพย์สินของจำเลย ส่วน อายัด ใช้กับสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อบุคคลภายนอก คำสั่งศาลที่ใช้ไขว้เขวกัน ก็ไม่ทำให้คำสั่งนั้นเสียไป
---- การขอให้ห้ามชั่วคราว 254(2)
---- กรณีที่ขอให้ศาลห้ามชั่วคราว แม้ไม่เกี่ยวกับทรัพย์ก็ขอได้
---- คำสั่งศาลที่ห้ามจำเลยกระทำตาม 254(2) นี้ ต้องเป็นการห้ามจำเลย จะขอให้ห้ามบุคคลอื่นกระทำไม่ได้
---- แม้การขอคุ้มครองชั่วคราวจะเข้าตามหลักเกณฑ์ของ กม. ศาลก็อาจใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้ใช้วิธีการคุ้มครองก็ได้ เช่น โจทก์ยื่นคำขอล่วงเลยเวลาอันสมควร
---- ตัวอย่างของการห้ามจำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการผิดสัญญา ... โจทก์จำเลยเข้าหุ้นกันประกอบกิจการภัตตาคาร มีข้อตกลงให้โจทก์เก็บรายได้และจ่ายรายจ่ายจากการประกอบกิจการ ซึ่งปฏิบัติกันมา 6 เดือน การที่จำเลยห้ามโจทก์และพนักงานของโจทก์จัดเก็บรายได้ตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหาย เป็นเรื่องที่ถือได้ว่าจำเลยตั้งใจกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งเป็นการผิดสัญญา เป็นกรณีที่มีเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้บังคับ ทั้งเป็นกรณีที่มีเหตุผลเพียงพอที่จะสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาเพื่อบังคับตามคำพิพากษา ศาลจึงมีอำนาจสั่งและพิพากษาห้ามมิให้จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยจัดเก็บรายได้และจ่ายรายจ่ายเพียงฝ่ายเดียว โดยให้ร่วมกันจัดเก็บรายได้
---- การขอคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิในการดำเนินคดีอาญาไม่ได้
---- การขอให้ห้ามเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนชั่วคราว
---- การขอให้จับกุมหรือกักขังจำเลยไว้ชั่วคราวตาม 254(4)
---- ศาลที่มีอำนาจสั่งคำร้องตาม 254 วรรคท้าย
"ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษา หรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฏีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกา แล้วแต่กรณี คำขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น"
---- ถ้าศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้รับสำนวนลงสารบบความก็เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของศาลชั้นต้น .... หากศาลอุทธรณ์ไปสั่งเข้า แม้จะเป็นศาลสูงกว่าก็เป็นคำสั่งไม่ชอบ
---- ต่างจากกรณีของคุ้มครองตาม 264 ซึ่งมิได้นำบทบัญญัติมาตรา 254 วรรคท้ายไปใช้บังคับด้วย ดังนั้น หากมีการยื่นคำร้องขอคุ้มครองตามมาตรา 264 มาหลังจากศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์หรือฏีกาแล้ว แม้ยังไม่ได้ส่งอุทธรณ์หรือฏีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือฏีกา ศ.ต้นก็ไม่มีอำนาจสั่งคำร้องดังกล่าว แต่ต้องส่งให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกาพิจารณาสั่ง
---- เมื่อเปรียบเทียบกับ มาตรา 42 การขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ ก็ไม่มีบทบัญญัติทำนองเดียวกับ 254 วรรคท้าย เมื่อ ศ.ต้น สั่งรับอุทธรณ์หรือฏีกาแล้ว (ถือว่าเป็นการทำแทนศาลอุทธรณ์หรือฏีกา) ศ.ต้นย่อมไม่มีอำนาจสั่งให้ทายาทเข้าไปคู่ความแทนที่ได้
---- หากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวไว้แล้ว แต่ภายหลัง ศ.อุทธรณ์ หรือ ศ.ฏีกา มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับคดี ก็ถือว่าเป็นการถอนคำสั่งชั่วคราวไปในตัว
---- คำสั่งตามมาตรา 254 อุทธรณ์ฏีกาได้ทันที แต่แม้จะอุทธรณ์ฏีกาได้ก่อนพิพากษา แต่ถ้าศาลได้พิจารณาเนื้อหาแห่งคดีและทำคำพิพากษาเสร็จแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยคำสั่งขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวอีกต่อไป ศ.อุทธรณ์หรือศาลฏีกาต้องจำหน่ายคดี
---- คำขอคุ้มครองประโยชน์ ตาม 254 เป็นคำขอฝ่ายเดียว เว้นแต่ อนุ 1และอนุ 4 เป็นคำขอฝ่ายเดียวโดยเคร่งครัด ศาลจึงไม่ต้องส่งสำเนาคำขอหรือไม่ต้องฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อน แต่คำขอตาม อนุ 2 และ อนุ 3 ศาลมีอำนาจฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ก็ได้
---- การพิจารณาคำขอคุ้มครองชั่วคราว 255 ต้องให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า คำฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้บังคับได้
---- การที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอคุ้มครองชั่วคราว จึงต้องมีการไต่สวนให้ได้ตามความตามมาตรา 255 ก่อน --- แม้จะเป็นคำขอฝ่ายเดียวดังกล่าวข้างต้นก็ตาม
---- ถ้าตามคำฟ้อง คำให้การ คำร้อง และคำคัดค้านของโจทก์จำเลยรับกัน จนได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนตามมาตรา 24 ศ.อนุญาตให้ใช้วิธีคุ้มครองได้โดยไม่ต้องไต่สวนก็ได้
---- แต่ถ้าคำร้องไม่ปรากฏว่าไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะสั่งห้ามชั่วคราวได้ ศาลต้องทำการไต่สวนคำร้องตาม 255 ก่อน จะยกคำร้องเสียทีเดียวไม่ได้
---- โจทก์ขอให้ยึดทรัพย์ ต้องสืบให้ได้ความว่า จำเลยตั้งใจจะจำหน่ายทรัพย์ให้พ้นจากอำนาจศาลตามมาตรา 255 วรรคสอง ก. จะสืบเพียงว่ามีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินถือว่ายังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะสั่งยึดทรัพย์ชั่วคราว
---- แม้จำเลยไม่ตั้งใจยักย้ายทรัพย์สินของตนไปให้พ้นจากอำนาจของศาลตาม 255(1)(ก) แต่การที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และไม่มีทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทยพอที่โจทก์จะบังคับคดีได้ ถือเป็นเหตุจำเป็นอื่นอันเป็นการยุติธรรมและสมควรที่จะคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณาตาม 255(1)(ข) 178/51
---- คดีฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นทายาทเพื่อแบ่งปันแก่ทายาท โจทก์ขอให้อายัดบัญชีเงินฝากธนาคารซึ่งยังโต้แย้งอยู่ว่าเป้นทรัพย์มรดกหรือไม่ ได้ แม้จะมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากก็ตาม
---- คดีที่โจทก์จำเลยต่างฟ้องและฟ้องแย้งแย่งการครอบครองที่ดิน และห้ามอีกฝ่ายหนึ่งเข้าเกี่ยวข้องโจทก์จะขอห้ามจำเลยขัดขวางการครอบครองที่ดินของโจทก์ไม่ได้ แต่โจทก์มีคำขอห้ามมิให้จำเลยนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าได้
---- โจทก์ฟ้องว่าจำเลยก่อสร้างปิดทางเข้าออกซึ่งมีทางเดียว กรณีมีเหตุอันสมควรและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ได้[vpang 34%]
----
----
----
----
----
----
----
---- มาตรา 271 การบังคับคดีตามคำพิพากษา
---- ผู้ร้องเป็นเพียงผู้รับประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
---- ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดิน จำเลยยื่นคำขอแบ่งแยกที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินไม่สามารถดำเนินการให้ได้เพราะ โจทก์จำเลยต้องร่วมกันยื่นคำขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม จำเลยแจ้งโจทก์ดำเนินการ โจทก์เฉย จำเลยไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับให้โจทก์มายื่นคำร้องขอแบ่งที่ดิน
---- บุคคลภายนอกอาจเข้ามาสวมสิทธิการบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้โดยการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี แล้วจึงดำเนินการบังคับคดีแทนเจ้าหนี้ในฐานะผู้ร้องสอด เช่น มีการโอนสิทธิเรียกร้องถูกต้องตาม ปพพ.306 .... แต่ถ้ากฏเหล็ก 10 ปีก็หมดสิทธิบังคับคดีเพราะพ้นกำหนด ผู้ร้องที่ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องจะร้องสอดเข้ามาไม่ได้
---- มาตรา 309 ตรี ผู้ซื้ออสังหาฯ จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาล เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีอำนาจบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบริวารให้ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ที่พิพาทที่ซื้อมาได้
---- กรณีที่คำพิพากษาได้กำหนดให้ทั้งโจทก์และจำเลยต่างมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตอบแทนซึ่งกันและกัน เช่นนี้ โจทก์และจำเลยต่างมีสิทธิของให้บังคับแก่อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามคำพิพากษา เช่น กรณี ให้จำเลยโอนที่ดินแก่โจทก์ โจทก์ชำระค่าที่ดินแก่่จำเลย
จำเลยสามารถขอออกหมายบังคับคดีได้
---- คดีฟ้องขับไล่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว ต่อมาจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทอีก ถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ โจทก์จะขอให้บังคับคดีอีกไม่ได้ โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ แม้คำพิพากษาของศาลจะห้ามจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินด้วยก็ตาม
---- การบังคับคดีที่เสร็จสมบูรณ์ต้องปฏิบัติตามมาตรา 296 ตรี เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยมอบการครอบครองที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครองได้ต่อเมื่อไม่มีบุคคลใดอาศัยอยู่ แต่การที่จำเลยปลูกพืชผลไว้ แม้จำเลยจะไม่ได้มาเฝ้าดูแลตลอดเวลาก็ถือว่าจำเลยยังครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจจัดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครอง การบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้นลง โจทก์จึงยังขอให้บังคับคดีได้
---- คำขอบังคับที่ออกตามคำพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดิน ย่อมบังคับรวมถึงส่ิงปลูกสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ในระหว่างคดีที่จำเลยกระทำขึ้นหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำด้วย การที่จำเลยยอมรื้อสิ่งปลูกสร้างเดิมแต่ไม่รื้อสิ่งปลูกสร้างขึ้นใหม่ ถือว่ายังไม่ได้ปฏิบัติตามคำบังคับโดยครบถ้วน
---- ภายใน 10 ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษา ตามมาตรา 147
-คำพิพากษาที่อาจอุทธรณ์ฏีกา หรือมีคำขอพิจารณาใหม่ ถ้าไม่ได้อุทธรณ์ฏีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือเป็นที่สุดนับแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลง
-ถ้าได้มีการอุทธรณี ฏีกา หรือศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญํติไว้ในมาตรา 132 คำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นว่านั้นให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
---- ขั้นตอนในการบังคับคดี -- หลังจากที่ศาลออกคำบังคับแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องปฏิบัติดังนี้
1. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี
2. เจ้าหนี้ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าได้มีการออกหมายบังคับคดี
3. เจ้าหนี้ต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
---- พิเศษ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแถลงขอให้ จพค. ยึดทรัพย์ไว้หลายรายการ แต่ จพค. ยึดทรัพย์เฉพาะบางรายการออกขายทอดตลาด ได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์รายการที่เหลือนั้นได้อีก แม้จะพ้นกำหนด 10 ปี แล้วก็ตาม
---- โจทก์ได้ร้องขอบังคับคดีครบถ้วนภายในกำหนดเวลาแล้ว แม้จะมีการขอถอนการยึดที่ดินพิพาทและถอนการบังคับคดี แต่โจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ถอนการบังคับคดี โดยขอให้บังคับคดีต่อไปได้และศาลอนุญาตให้บังคับคดีต่อไปได้ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งฯ ภายในกำหนด 10 ปี โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทได้
---- ศาลพิพากษาตามยอมว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินให้โจทก์ และเมื่อโจทก์ชำระเงินมัดจำและราคาที่ดินแล้ว จำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ กรณีนี้ไม่ต้องมีการออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาด ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลว่าประสงค์จะบังคับคดี และนำเงินมัดจำและราคาที่ดินมาวางศาลภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาเพื่อให้จำเลยโอนที่ดินให้ ถือว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีโดยชอบด้วย กม.ด้วย
---- ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ถ้าสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาหรือคำสั่งยังไม่ถึงกำหนด เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงยังไม่อาจร้องขอให้ดำเนินการบังคับคดีได้ ดังนี้ จะเร่ิมนับระยะเวลาบังคับคดีนับแต่วันที่ีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งไม่ได้ ต้องเร่ิมนับแต่วันที่สิทธิเรียกร้องนั้นถึงกำหนดชำระและจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้
.....น่าแปลกที่ไม่ได้บังคับคดีนับแต่ คดีถึงที่สุด....
---- สัญญายอมที่กำหนดให้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน กำหนดเวลาบังคับคดี 10 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 6 เดือน แล้วไม่ชำระหนี้
---- โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมฯว่า โจทก์ยอมชำระเงิน แก่จำเลยภายในหนึ่งปีนับแต่วันทำสัญญาฯ​ และจำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินโจทก์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้ชำระเงิน แต่เมื่อถึงกำหนดโจทก์ไม่ได้ชำระราคา ดังนี้โจทก์จะอ้างมีสิทธิบังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ทำสัญญาประนีประนอมฯไมไ่ด้ เพราะกำหนดเวลาตามสัญญาประนีประนอมฯเป็นสาระสำคัญของสัญญาซึ่งคู่สัญญามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ไม่ได้ชำระราคาภายในกำหนด โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายผิดนัด จึงไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดีแก่จำเลยให้โอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ได้
---- การขอเฉลี่ยทรัพย์ เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่ง จึงต้องร้องขอเฉลี่ยภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาเช่นกัน
---- หลักประกันที่จำเลยนำมาวางศาลให้การขอทุเลาการบังคับคดีในระหว่างอุทธรณ์หรือฏีกา เมื่อโจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฏีกาและจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ก็ต้องร้องขอให้บังคับแก่หลักประกันนั้นภายใน 10 ปี ตาม ปวิพ.มาตรา 271 เช่นกัน หากโจทก์ไม่ร้องขอให้บังคับคดีแก่หลักประกันดังกล่าวจนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ต้องคืนหลักประกันแก่จำเลยผู้ขอทุเลาการบังคับ ........ แต่ถ้าหากว่ายังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันคดีถึงที่สุด​ ศาลจะคืนหลักประกันในการทุเลาการบังคับให้แก่ผู้ค้ำประกันไม่ได้
---- การที่จำเลยทำหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีแล้ว จึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความตาม ปพพ.มาตรา 193/24 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามหนังสือดังกล่าว
---- ระยะเวลาตาม 271 ศาลขยายหรือย่นตามมาตรา 23 ได้
---- โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมนั้น ก็เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันให้เสร็จสิ้นไป แม้สัญญาจะกำหนดให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ภายใน 6 เดือน โดยให้โจทก์ชำระเงินตอบแทน แต่โจทก์นำเงินมาวางศาลเกิน 6 เดือน ก็เรียกให้จำเลยโอนที่ดินตามสัญญาให้ได้
---- ศาลพิพากษาตามยอม แล้วจดแจ้งไว้ในตอนท้ายคำพิพากษาเพียงว่าบังคับคดีตามยอมเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 272 แล้ว เพราะที่่จะเป็นคำบังคับนั้น ศาลจะต้องระบุโดยชัดแจ้งซึ่งระยะเวลาและเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตามคำบังคับและจะต้องระบุโดยชัดแจ้งในคำบังคับว่าในกรณีที่ไม่ได้มีการปฏิบัติตามคำบังคับเช่นว่านั้นภายในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้จะต้องถูกยึดทรัพย์หรือถูกจับและจำขังตาม กม.ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 273
ภายหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ศ.ต้น มีคำสั่งว่าบังคับคดีภายใน 30 วัน ย่อมมีความหมายถึงว่าให้มีคำบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ใช่เป็นคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดี เพราะยังไม่ส่งคำบังคับให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ลงชื่อไว้เป็นสำคัญแล้ว และระยะเวลาที่ศาลได้กำหนดไว้เพื่อปฏิบัติตามคำบังคับนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้วด้วย ศ.ต้น กลับออกหมายบังคับคดี จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 276 วรรคหนึ่ง
---- การทุเลาการบังคับในชั้นอุทธรณ์โดยบุคคลภายนอกเข้าเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดหรือไม่เพียงใด ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
1.ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ผู้อุทธรณ์ต้องรับผิด หากผู้อุทธรณ์ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดแทน (เท่ากับบังคับคดีได้ทันที) แต่ถ้าต่อมา ศ.ฏีกา มีคำพิพากษาให้ไม่ต้องรับผิด ผู้ค้ำประกันก็เป็นอันหลุดพ้น เพราะหนี้ประกันเป็นอันระงับสิ้นไปแล้ว
2.ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้อุทธรณ์ชนะคดี ไม่ต้องรับผิดอีกต่อไป ผู้ค้ำประกันก็เป็นอันหลุดพ้นความรับผิดไป
---- หลักเกณฑ์การออกหมายบังคับคดีของศาล
1.ได้ส่งคำบังคับให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ลงชื่อไว้เป็นสำคัญแล้ว
2.ระยะเวลาที่ศาลกำหนดให้ปฏิบัติตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้ว
และ 3.คำขอนั้นมีข้อความครบถ้วน
---- แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนทางภาระจำยอมให้แก่โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยก็ตาม แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ แต่ห้ามจำเลยทำนิติกรรมใดๆเกี่ยวกับโฉนดที่ดินที่เป็นภาระจำนอมพิพาท ศ.ต้นแจ้งคำสั่งศาลใ้หเจ้าพนักงานที่ดินทราบและได้รับหนังสือตอบว่าจำเลยจดทะเบีียนโอนขายที่ดินพิพาทให้ ช. ซึ่ง ช. ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวให้แก่ ธนาคาร อ. และบริษัทเงินทุน ม. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไปแล้ว ทำให้จำเลยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินภารยทรัพย์อีกต่อไป และไม่อยู่ในฐานะที่จะไปจดทะเบีียนภาระจำยอมได้ การบังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาของศาลย่อมไม่อาจกระทำได้ เพราะสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องที่จะบังคับให้จำเลยทำเช่นนั้น
---- การถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ใช้เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ศาลจะพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาในคดีละเมิิดไม่ได้ หรือจะขอถือเอาคำพิพากษาแทนการบังคับชำระหนี้อย่างอื่นไม่ได้ เช่น ในกรณีส่งมอบโฉนดที่ดิน
---- การออกหมายบังคับคดี จะต้องออกตามคำพิพากษา จะอ้างว่าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ จึงให้ใช้ค่าเสียหายแทนโดยไม่ได้พิพากษาเช่นนั้นไม่ได้
---- การไต่สวนหาทรัพย์สินของลูกหนี้ มาตรา 277
---- โจทก์ทราบเกี่ยวกับทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องอยู่แล้ว เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องสืบเสาะหาราคาเองว่าทรัพย์สินที่จำนองไว้ราคาเท่าใด และจำนองไว้เท่าใด ทั้งคำร้องของโจทก์เองก็ไม่ได้เจาะจงระบุนามสกุลบุคคลที่ขอให้ศาลหมายเรียกมาเพื่อให้ศาลได้พิเคราะห์ถึงเหตุผลว่าบุคคลดังกล่าวจะสามารถให้ถ้อยคำที่เป็นประโยชน์หรือไม่ โจทก์ขอให้หมายเรียกเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ของจำเลย ผู้รับโอน และเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังมาให้ถ้อยคำไม่ได้
---- เจ้าพนักงานบังคับคดีอยู่ในฐานผู้แทนเจ้าหนี้ มาตรา 278
---- ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียึดและขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดและรับเงินจากการขายทอดตลาดไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่ขายทอดตลาดเท่านั้น
---- เงินมัดจำที่ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดวางไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ถือว่าเป็นเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีรับไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาและถูกริบเงิน เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องรวบรวมไว้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
---- การยึดและอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ มาตรา 282 - 284
---- เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยึดและอายัดทรัพย์สินตามที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ดังนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ชอบที่จะขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ยังโต้แย้งว่าจำเลยยังมีข้อพิพาทกับบุคคลภายนอกอยู่
---- ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินใดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและยืนยันให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องยึดทรัพย์สินนั้น โดยไม่ต้องให้โจทก์ไปฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลก่อน ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึด เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้ศาลสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์นั้นได้ตาม 283 วรรคสอง
---- ความรับผิดต่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือต่อบุคคลภายนอกเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการยึดและขายทรัพย์สินที่ไม่ชอบ หรือยึดทรัพย์สินเกินกว่าจำเป็นแก่การบังคับคดีนั้น ย่อมไม่ตกแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ตกอยู่แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เว้นแต่กรณีเจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำไปฝ่าฝืน ดังนี้ เมื่อมีการยึดทรัพย์ผิดโดยไปยึดที่ดินธรณีสงฆ์ออกขายทอดตลาดและนำเงินชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไปแล้ว ดังนี้ กายึดดังกล่าวเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้นำยึด จำเลยไม่เกี่ยวข้องด้วย และไม่ได้รับเงินค่าซื้อขายที่ดิน ไม่มีมูลหนี้ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องใช้คืนแก่ผู้ที่ประมูลซื้อที่ดินไป คดีไม่เข้าลักษณะลาภมิควรได้ ผู้ซื้อเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้
---- ทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องที่ไม่อยู่ในข่ายการบังคับคดี 285 , 286
---- 3020/2532 ทันทีที่จำเลยได้รับเงินบำเหน็จมาจากเจ้าหน้าที่การเงินโดยเงินบำเหน็จนั้นยังไม่ได้ปะปนกับเงินอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออก เช่นนี้ โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเงินบำเหน็จดังกล่าวจากจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้ไม่
---- ขอกันส่วน มาตรา 287
---- ต้องมีการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
---- กรณีโจทก์ฟ้องคดีเพื่อใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากผู้ที่ไม่มีสิทธิยึดไว้ มิใช่การบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา จะร้องขอให้คุ้มครองตาม 287 นี้ไม่ได้
---- การที่จะร้องขอกันส่วนตาม 287 จะต้องเป็นกรณีที่มีการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา และเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิของผู้อื่น คดีนี้โดยเนื้อแท้แห่งการบังคับเป็นเรื่องการบังคับให้จำเลยแบ่งแยกทรัพย์สินในระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยกันแล้วจัดการโอนให้แก่โจทก์เท่านั้น ไม่ได้มีการบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยตามความใน 287 แต่ประการใด ผู้ร้องจึงขอกันส่วนโดยอาศัยหลักกม.ดังกล่าวไม่ได้
---- สิทธิของธนาคารผู้ร้องที่จะนำเงินฝากในบัญชีของจำเลยที่ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยไปหักหนี้การเบิกเงินเกินบัญชีได้ก่อน ไม่ใช่สิทธิอื่นๆตาม 287 ที่จะร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม กม.
---- กรณีอายัดสิทธิเรียกร้อง : การที่ผู้ร้องอ้างว่าตนเป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ศาลสั่งอายัดไว้ ไม่ใช่บุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นที่ผู้ร้องอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นตาม 287
---- ผู้ที่เป็นเจ้าของในทรัพย์สินที่ถูกยึดร่วมกับจำเลย จะร้องขัดทรัพย์ไม่ได้ เพราะจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย แต่เจ้าของรวมคนอื่นมีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนตาม 287
---- กรณีทรัพย์สินที่ถูกยึดเป็นสินสมรส ถือว่าคู่สมรสฝ่ายที่ไม่ได้ถูกฟ้องเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ จึงมีสิทธิร้องขอกันส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดสินสมรสนั้น แต่ทั้งนี้ต้องได้ความว่าหนี้ที่โจทก์ฟ้องบังคับนั้นไม่ใช่หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา
---- อย่างไรก็ตาม กรณีที่สามีภริยาร่วมกันกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น เป็นหนี้ร่วมธรรมดา แม้สามีภริยาต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วมก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่หนี้ร่วมตามนัยแห่ง ปพพ. 1490 ดังนั้น การที่ผู้เสียหายฟ้องสามีหรือภริยาเพียงคนเดียวและยึดสินสมรสออกขายทอดตลาด ภริยาหรือสามีที่ไม่ได้ถูกฟ้องมีสิทธิขอกันส่วนได้
---- ความหมายของกันส่วน มีความหมาย 2 ประการ คือ
1.การกันส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด
2.การกันส่วนจากตัวทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้
---- สำหรับกรณีการขอกันส่วนของเจ้าของรวม โดยปกติ ต้องกันส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินที่ยึดไว้ ไม่ใช่กันส่วนจากที่ดินที่ถูกยึดบังคับคดี
กรณีทรัพย์สินที่ยึดนั้นเป็นที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นที่ดินที่มีหนังสือสำคัญเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือที่ดินมือเปล่า หรือที่ดินที่มีหนังสือสำคัญเป็นโฉนดที่ดิน ถ้าผู้ร้องกับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินนั้นเป็นส่วนสัดแล้ว ผู้ร้องย่อมขอกันส่วนที่ดินส่วนที่ตนครอบครองออกก่อนออกขายทอดตลาดได้ ไม่ใช่กันส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดิน
---- ถ้าเพียงแต่ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรกันว่าจะแบ่งแยกการครอบครองที่ดินกันเท่านั้น แต่ไม่มีการแบ่งแยกการครอบครองอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน ถือว่าเจ้าของรวมนั้นครอบครองที่ดินร่วมกันทุกส่วน จึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนที่ดิน
---- ผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนได้อยู่ก่อนตาม ปพพ.มาตรา 1300 **** ถือว่าเป็นสิทธิอื่นๆซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตาม กม.ตามมาตรา 287
---- กรณีสิทธิของบุคคลภายนอกได้ที่ดินมาโดยคำพิพากษาของศาล แม้จะได้มาภายหลังเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินนั้นแล้ว ก็ถือว่าบุคคลนั้นอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ปพพ.มาตรา 1300 และมีสิทธิดีกว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่นำยึดนั้น มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการยึดได้ .... ข้อสังเกตุไม่ได้เป็นเรื่องขอการกันส่วนนะ เป็นเรื่องขอให้เพิกถอนการยึดทั้งหมดเลย .... นี้แหล่ะอำนาจของ1300
---- ผู้มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย ถ้าผู้จะซื้อได้ชำระราคาครบถ้วนและเข้าครอบครองทที่ดินที่จะซื้อแล้ว คงเหลือแต่การจดทะเบียนโอน ถือว่าผู้ที่จะซื้ออยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม 1300 แต่ถ้าเพียงแต่รับมอบที่ดินแล้ว ยังชำระราคาไม่ครบถ้วน ยังถือไม่ได้ว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ปวิพ.287
---- กรณีที่ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในทรัพย์ที่ถูกยึดด้วย เช่น ผู้ที่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ถูกยึดโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ปพพ.1382 ที่ดินนั้นไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว กรณีจึงเข้าเกณฑ์การร้องขัดทรัพย์ตามมาตรา 288 ผู้ที่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์จึงร้องขัดทรัพย์ได้ ตาม 288
กรณีที่ผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน แต่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยึด นั้นยังเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เช่น
-ผู้ครอบครองที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว
-ผู้ได้สิทธิในที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมแล้ว
-ผู้ที่ได้สิทธิในที่ดินตามคำพิพากษา
เหล่านี้กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ร้องขัดทรัพย์ตาม 288 ซึ่งต้องได้ความว่าทรัพย์ที่ยึดไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ถือว่าผู้ที่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน ในกรณีเหล่านี้เป็นผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินตาม 287 จึงร้องขอเข้ามาตาม 287 อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ความบุคคลนั้นอยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อน ศาลก็ต้องเพิกถอนการยึดทรัพย์เช่นเดียวกับการร้องขัดทรัพย์
กรณีเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินออกขายทอดตลาดเพื่อบังคับจำนอง ผู้ร้องจะอ้างว่าได้มีคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งให้โอนกรรมสิทธิที่ดินมาเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนมาขอให้เพิกถอนการบังคับคดีไม่ได้ เพราะสิทธิจำนองของโจทก์เหนือกว่า
---- ปกติถ้าผู้รับจำนองไม่ได้ขอรับชำระหนี้ก่อนตาม 289 การขายทอดตลาดก็ต้องมีภาระจำนองตกติดไปด้วย กม.จึงกำหนดให้ยื่นคำร้องก่อนนำทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาดเพื่อให้มีการขายทอดตลาดโดยปลอดจากภาระจำนองได้ แต่สำหรับเรื่องปรากฏว่ามีการขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยปลอดจำนองไปโดยไม่ปรากฏว่าผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองได้ขอรับชำระหนี้ก่อนขายทอดตลาดตาม 289 กรณีเช่นนี้อาจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายได้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม 287
---- การยื่นคำร้องตาม ปวิพ.287 ไม่ใช่เป็นการร้องขัดทรัพย์ตาม 288 ถือว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ และสำหรับสิทธิในการอุทธรณ์หรือฏีกา กรณียื่นคำร้องตาม ปวิพ.มาตรา 287 เป็นคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฏีกาในข้อเท็จจริง
---- การร้องขัดทรัพย์ มาตรา 288
---- ผู้ที่จะร้องขัดทรัพย์ได้ ต้องเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิเท่านั้น ผู้ที่ถูกโต้แย้งสิทธิอาจเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดหรือผู้ที่มีส่วนได้เสียตาม กม.ในทรัพย์ที่ยึดก็ได้
---- ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขัดทรัพย์ได้ เช่น
1.ผู้เช่าซื้อ แม้จะยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียแล้ว จึงมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้
2.เจ้าหนี้ผู้ครอบครองที่ดินประกันหนี้ ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินนั้น
3.ผู้ที่ได้กรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครองปรปักษ์
---- ผู้ที่ไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์
1.เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษาในทรัพย์ที่ยึด เท่ากับจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย ร้องขัดทรัพย์ไม่ได้ ...... แต่ระวัง ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บ้านที่ถูกยึดเป็นของผู้ร้องซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมกับบุคคลอื่น โดยจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของรวมในบ้านด้วย ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีอำนาจร้องขัดทรัพย์ได้
2.ทรัพย์ที่ยึดเป็นสินสมรสของผู้ร้องกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา เท่ากับจำเลยเป็นเจ้าของอยู่ด้วย ร้องขัดทรัพย์ไม่ได้
3.ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญร้องขัดทรัพย์ที่เป็นของห้างฯไม่ได้ แม้โฉนดที่ดินจะเป็นชื่อของหุ้นส่วนผู้ร้องขัดทรัพย์ก็ตาม ทั้งนี้เพราะทรัพย์เป็นของห้าง ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่เข้าหลักเกณพ์ตาม 288
4.ผู้รับจำนำร้องขัดทรัพย์ในทรัพย์ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามาจำนำไม่ได้ เพราะทรัพย์ที่จำนำเป็นของจำเลย ไม่เข้าหลักเกณพ์ตาม 288
5.ผู้มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สินจากจำเลย ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อจึงไม่่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ ,,,,,,,, แต่ถ้าเป็นการทำสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในที่ดินมือเปล่ากันเอง และผู้ซื้อได้เข้าครอบครองที่ดินแล้ว ดังนี้แม้สัญญาซื้อขายจะตกเป็นโมฆะ เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ถือว่าผู้ขายได้โอนสิทธิครอบครองที่ดินให้แก่ผู้ซื้อแล้วโดยการส่งมอบ ผู้ซื้อย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดิน มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้
6.ทรัพย์ที่ยึดไม่เป็นส่วนควบกับที่ดินของผู้ร้อง ร้องขัดทรัพย์ไม่ได้

---- 1701/24 (ประชุมใหญ่) จำเลยนำรถยนต์มาจ้างให้โจทก์ซ่อมและยังไม่ได้รับคืนไป โจทก์ฟ้องและศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่าซ่อม จำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงนำยึดรถยนต์คันนั้นเพื่อขายทอดตลาด ผู้ร้องร้องว่ารถยนต์เป็นของผู้ร้องขอให้ปล่อยการยึด เมื่อศาลวินิจฉัยว่าเป็นของผู้้ร้องซึ่งไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ โจทก์จะยึดทรัพย์ของผู้ร้องมาขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้เป็นการไม่ชอบ จึงนำเรื่องสิทธิยึดหน่วงมาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้ มีคำสั่งให้ถอนการยึด เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์คัดค้าน คดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยต้องคืนรถยนต์ให้ผู้ร้องผู้เป็นเจ้าของ ไม่มีสิทธิยึดหน่วงไว้อีกต่อไป
---- แม้จะได้ความว่าทรัพย์ที่ถูกยึดนั้นเป็นของผู้ร้องขัดทรัพย์จริง แต่ผู้ร้องขัดทรัพย์เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนออกนอกหน้าเป็นตัวการ นำทรัพย์ดังกล่าวไปจำนอง ผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์ให้เสื่อมสิทธิของผู้รับจำนองไม่ได้
---- ต้องมีการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ฯ ออกขายทอดตลาด --- กรณีที่จะร้องขัดทรัพย์ได้ ต้องมีการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อนำออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบทรัพย์ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองตาม 296 ตรี ไม่ใช่เป็นการยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาด จึงร้องขัดทรัพย์ไม่ได้
---- กรณีอายัดสิทธิเรียกร้อง การที่ผู้ร้องอ้างว่าตนเป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ศาลสั่งอายัดไว้ ไม่ใช่การยึดทรัพย์เพื่อนำออกขายทอดตลาด ไม่เป็นการร้องขัดทรัพย์ และไม่ใช่บุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นที่ผู้ร้องอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตาม 287
---- การร้องขอให้เพิกถอนหรือยกเลิกการขายทอดตลาด มีความมุ่งหมายหรือมีผลให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดแก่ผู้ร้อง กรณีเป็นเรื่องร้องขัดทรัพย์ตาม ปวิพ.มาตรา 288 ซึ่ง กม.บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ไม่ใช่กรณีร้องขอให้เพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีตาม ปวิพ.296 วรรคสองประกอบ 27 ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาด
---- ฏีกาคนแบกกุ้ง (ยังกะชื่อน้ำปลา) 2648/47 คำร้องของผู้ร้องที่กล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่ยึด มีผลเท่ากับขอให้ศาลปล่อยทรัพย์ที่ยึดซึ่งจะต้องยื่นก่อนเอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาดตาม 288 แต่ทรัพย์สินที่ยึดเป็นกุ้งกุลาดำซึ่งเป็นของสดของเสียได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงดำเนินการขายทอดตลาดในวันที่โจทก์นำยึดตามมาตรา 308 วรรคสอง ทำให้ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องได้ทันก่อนขายทอดตลาด แต่การที่ผู้ร้องอ้างว่ากุ้งกุลาดำเป็นของผู้ร้อง เป็นการอ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ใช่ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา การบังคับคดีจึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ปวิพ.ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ผู้ร้องในฐานะผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีนั้นได้ ก่อนการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบการฝ่าฝืนนั้นตาม 296 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องเกินกำหนดดังกล่าวเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ กรณีไม่ใช่การยื่นคำร้องตามมาตรา 288 ประกอบ 296 ตรี วรรคสองและวรรคสาม เพราะไม่ใช่การบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ให้ขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์
---- ตามมาตรา 288 ที่ว่า เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำร้องเช่นว่านี้ให้งดการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่พิพาทนั้นไว้ระหว่างรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล หมายถึงการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นเท่านั้น
---- ประเด็นในคำร้องขัดทรัพย์มีว่า ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เป็นของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ ดังนี้ โจทก์จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอน น.ส.3 ไม่ได้ หรือ ผู้ร้องขัดทรัพย์จะเรียกค่าเสียหายในการที่ถูกยึดทรัพย์มาในคำร้องขัดทรัพย์ด้วยไม่ได้ ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ ..... แต่ทางฝ่ายโจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าผู้ร้องได้ทรัพย์มาโดยไม่สุจริต เป็นการฉ้อฉล ตาม ปพพ.มาตรา 237 ได้ โดยไม่ต้องให้เจ้าหนี้ฯ ไปฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลเป็นคดีใหม่ เพราะเกี่ยวกับประเด็นที่ว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของจำเลยหรือไม่
---- การขอทุเลาการบังคับและขอคุ้มครองประโยชน์ในชั้นร้องขัดทรัพย์ ถ้าศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องขัดทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ไปได้ ผู้ร้องขัดทรัพย์จะขอทุเลาการบังคับไม่ได้ เพราะเมื่อศาลยกคำร้องขัดทรัพย์ (เท่ากับพิพากษายกฟ้อง)ก็ไม่มีอะไรที่ผู้ร้องต้องถูกบังคับคดีอีก หากผู้ร้องประสงค์จะให้งดการขายทอดตลาดไว้ก่อน ก็ต้องยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตาม 264 ไม่ใช่ขอทุเลาการบังคับตาม 231 แต่แม้จะยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับตาม 231 ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้คุ้มครองตาม 264 ได้
---- การขอรับชำระหนี้จำนอง มาตรา 289
---- "กรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์ หรือบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้ไปจดทะเบียนไว้นั้น ให้ยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด ส่วนในกรณีอื่นๆให้ยื่นคำร้องขอเสียก่อนส่งคำบอกกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 319" --- เจ้าหนี้จำนองต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ ก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด โดยถือว่าวันที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินได้แล้วเป็นเกณฑ์
---- การขอรับชำระหนี้จำนองก่อน ตาม 289 ไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนองตาม ปพพ.มาตรา 728
---- การขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290 ผู้ร้องต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าตนไม่สามารถเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยด้วย หลักเกณฑ์ของมาตรา 289 และ 290 จึงแตกต่างเป็นคนละกรณีกัน การที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 289 เมื่อไม่เข้าหลักเกณฑ์ ศ.จะอนุญาตให้เข้าเฉลี่ยทรัพย์ตาม 290 ไม่ได้ ...... แต่ถ้าเนื้อหาคำร้องเป็นเรื่องการขอรับชำระหนี้ตาม 289 แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นการขอกันส่วนตาม 287 เป็นคำร้องที่ชอบจะรับไว้พิจารณาได้
---- การขอเฉลี่ยทรัพย์ มาตรา 290
---- ห้ามยึดหรืออายัดซ้ำ -- การห้ามยึดหรืออายัดซ้ำนั้นต้องเป็นกรณียึดหรืออายัดระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน
---- ผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่น -จึงจะมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ได้ แต่ต้องไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีอำนาจเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ ดังนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่บังคับให้ลูกหนี้โอนสิทธิให้นั้นเป็นผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนได้อยู่ก่อนตาม ปพพ.1300 มีิสิทธิร้องขอให้ถอนการยึดตาม ปวิพ.287 อยู่แล้ว จึงไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตาม 290 อีก
---- เมื่อมีการยึดหรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นย่อมมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ฯดังกล่าวได้ทันที แม้คำพิพากษาของเจ้าหนี้ที่นำมาขอเฉลี่ยยังไม่ออกคำบังคับหรือหมายบังคับคดี หรือยังไม่ครบกำหนดเวลาในคำบังคับก็ตาม
---- เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอม แม้จำเลยยังไม่ได้ผิดนัดตามสัญญายอม ก็มีสิทธิของเฉลี่ยทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์นำยึดไว้ได้
---- กรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกันในคดีอาญา ถือว่าแผ่นดินเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นขอเฉลี่ยตาม 290 ได้
---- ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ยึดทรัพย์ไว้เป็นเจ้าหนี้จำนอง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะขอเฉลี่ยโดยตรงไม่ได้เพราะเจ้าหนี้จำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อน แต่ศาล
ฏีกาก็นำมาตรา 290 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้ผู้ขอเฉลี่ยมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่เหลือจากการชำระหนี้ให้เจ้าหนี้จำนองแล้ว
---- ต้องขอเฉลี่ยจากทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดไว้ด้วย หากเป็นเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ จะขอเฉลี่ยไม่ได้
---- การร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่ง จึงต้องร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาในคดีของเจ้าหนี้ที่ขอเฉลี่ยทรัพย์ตาม 271 เมื่อร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ภายใน 10 ปี แล้ว แม้การบังคับคดีไม่แล้วเสร็จจนเลย 10 ปี คำร้องขอเฉลี่ยก็ไม่สิ้นผล
---- หลักเกณฑ์การขอเฉลี่ยทรัพย์ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
1.ผู้ขอเฉลี่ยไม่สามารถเอาชำระจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
2.ต้องขอเฉลี่ยภายในกำหนดเวลา
3.เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องงดการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินจนกว่าศาลจะมีคำสั่ง
---- "ไม่ว่าในกรณีใดๆห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำขอเช่นว่ามานี้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าผู้ยื่นคำขอไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่นๆของลูกหนี้ตามคำพิพากษา"-- ข้อโต้แย้งตาม 290 วรรคสอง เป็นข้อโต้แย้งของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีสิทธิยกขึ้นโต้แย้งคัดค้าน
---- "เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตาม กม.ว่าด้วย ภาษีอากรในอันที่จะสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อชำระหนี้ภาษีอากรค้าง ให้มีสิทธิขอเฉลี่ยในทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานดังกล่าวได้ยึดหรืออายัดไว้ก่อนเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามความในวรรคหนึ่ง
แต่ถ้าเจ้าพนักงานไม่ได้ยึดหรืออายัดไว้ก่อน ให้ขอเฉลี่ยได้ภายในบังคับของบทบัญญัติวรรคสอง"
---- โจทก์มีสิทธิคัดค้านได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องนำมาขอเฉลี่ยนั้นเกิดจากการสมยอมกัน โดยโจทก์ไม่ต้องไปฟ้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลใหม่
---- กำหนดเวลาขอเฉลี่ย มาตรา 290 วรรคสี่ถึงวรรคหก
---- กรณีมีการร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด

----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----























































พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
ผบ.ร้อย ฝ่ายปกครอง ๑ (กองร้อยที่ ๔)