วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิแพ่ง ภาค1 สรุปจากจูริส. พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง

วิแพ่ง ภาค1 สรุปจากจูริส. พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
สรุปย่อมาจากหนังสือ Juris อ่ะครับ พี่น้อง
คำฟ้อง
คำฟ้องที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดี มาตรา 7(2)
(๑)คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่อง
กับคดีที่ค้างการพิจารณาอยู่ในศาลใด ให้เสนอต่อศาลนั้น
(๒)คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการ
บังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลซึ่งคำฟ้องหรือ
คำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะ
ได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้น ให้เสนอต่อศาลที่
มีอำนาจในการบังคับคดี ตามมาตรา 302

ฎีกา 4676/51 คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยรับว่าได้รับชำระหนี้บางส่วนแก่จำเลยแล้ว และให้จำเลยคิดยอดหนี้ที่ค้างชำระเพื่อโจทก์จะได้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือต่อไปนั้น เห็นได้ว่าคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา ซึ่งคำฟ้องเช่นนี้จำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลที่มีการบังคับคดี โจทก์ต้องไปว่ากล่าวกันในคดีเดิมตามมาตรา 302
ข้อน่าสังเกตุ ข้อสัญญาที่ว่าจำเลยจะออกค่าธรรมเนียมการโอน มิใช่ข้อตกลงในสัญญายอมซึ่งศาลพิพากษาตามยอม แต่เป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นในภายหลัง จึงไม่อาจบังคับในคดีเดิมได้ ต้องฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ โดยต้องฟ้องต่อศาลที่พิพากษาตามยอมนั่นเอง
กรณีมอบหมายให้ศาลอื่นบังคับคดีแทน อาจยื่นคำร้องเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีต่อศาลที่บังคับคดีแทนได้ อย่างไรก็ดี ศาลที่บังคับคดีแทนคงมีอำนาจเฉพาะที่เกี่ยวกับการบังคับคดีในส่วนที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
ทั้งศาลเดิมและศาลที่บังคับคดีแทนมีอำนาจสั่งคำร้องที่อ้างว่าการบังคับคดีไม่ชอบได้ทั้งสองศาล แต่จากคำวินิจฉัยดังกล่าวดูเหมือนว่า กรณีศาลที่บังคับคดีแทนจะสั่งคำร้องได้ในกรณีที่ยังไม่ได้ส่งเงินที่ยึดได้หรือเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไปยังศาลเดิมเท่านั้น
~ ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของ จพค.เกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด ต้องฟ้องต่อศาลที่มี อำนาจบังคับคดี คือ ศาลที่ออกหมายบังคับคดีหรือศาลที่บังคับคดีแทนก็ได้ โจทก์จะฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตาม มาตรา 4(1)ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติมาตรา 4 อยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 7
มาตรา 7(4) คำร้องที่เสนอให้ศาลถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือการอนุญาตที่ศาลได้ให้ไว้ คำร้องที่เสนอให้ศาลถอดถอนบุคคลใดจากฐานะที่ศาลได้แต่งตั้งไว้ก็ดี คำร้องที่เสนอให้ศาลมีคำสั่งใดที่เกี่ยวกับการถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือการอนุญาตหรือที่เกี่ยวเนื่องกับคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งไปแล้วก็ดี ให้เสนอต่อศาลในคดีที่ได้มีคำสั่งการอนุญาตการแต่งตั้งหรือคำพิพากษานั้น
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่แสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิของผู้ร้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ไม่ใช่คำสั่งเกี่ยวกับการอนุญาตหรือการแต่งตั้งของศาล ผู้คัดค้านจะขอให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลในสำนวนคดีเดิมไม่ได้ ต้องฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทเป็นคดีใหม่ เป็นไปตามผลของมาตรา 145(2) "คำพิพากษาหรือคำสั่งย่อมไม่ผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิแห่งทรัพย์สินใดๆเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าคนมีสิทธิดีกว่า
การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลอื่น มาตรา 10
มาตรา 10 ถ้าไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาใน
ศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย คู่ความฝ่าย
ที่เสียหายหรืออาจเสียหายเพราะการนั้นจะยื่นคำขอฝ่ายเดียว
โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรืออยู่ใน
เขตศาลในขณะนั้นก็ได้ และให้ศาลนั้นมีอำนาจทำคำสั่งอย่างใด
อย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
การยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต่อศาลชั้นต้นตามมาตรา 10 โดยอ้างเหตุสุดวิสัยในคำร้องขอเลื่อนคดีก็ได้ ไม่จำต้องยื่นคำร้องแยกเป็นอีกฉบับหนึ่ง และเป็นอำนาจของศาลที่รับคำร้องตามมาตราสิบ ที่จะ อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี
-1374/2546 โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นซึ่งโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ โจทก์นำคำฟ้องไปยื่นต่อศาลจังหวัดอุดรธานีที่มีเขตเหนือคดีไม่ทันเนื่องจากต้องกลับมาเอาค่าธรรมเนียมซึ่งเตรียมไปไม่พอ จึงขออนุญาตยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นสั่งในคำร้องส่งไปยังศาลจังหวัดอุดรธานีโดยด่วน เท่ากับยอมรับว่าโจทก์ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 10 แม้ศาลจังหวัดขอนแก่นไม่ได้สั่งรับคำฟ้อง แต่การสั่งรับคำร้องและให้ศาลจังหวัดอุดรธานีพิจารณาโดยด่วนถือได้ว่า ศาลจังหวัดขอนแก่นได้ยอมรับคำฟ้องของโจทก์แล้ว แม้ศาลจังหวัดอุดรธานีจะรับคำฟ้องของโจทก์ภายหลังก็ไม่มีผลทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความการตรวจคำคู่ความตามมาตรา 18
มาตรา 18 ให้ศาลมีอำนาจที่จะตรวจคำคู่ความ
ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลได้รับไว้เพื่อย่ื่นต่อศาล หรือสั่ง
ให้แก่คู่ความ หรือบุคคลใดๆ
ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ยื่นไว้ดังกล่าวแล้วนั้น
อ่านไม่ออกหรืออ่านไม่เข้าใจ หรือเขียนฟุ่มเฟื่อยเกินไป
หรือไม่มีรายการ ไม่มีลายมือชื่อ ไม่แนบเอกสารต่างๆตามที่
กม.ต้องการ หรือมิได้ชำระ หรือวางค่าธรรมเนียมศาล
โดยถูกต้องครบถ้วน ศาลจะมีคำสั่งให้คืนคำคู่ความนั้นไปให้ทำ
มาใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติม หรือชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาล
ให้ถูกต้องครบถ้วน ภายในระยะเวลาและกำหนดเงื่อนไขใดๆ
ตลอดจนเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่ศาลเห็นสมควร
ก็ได้ ถ้ามิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลในระยะเวลาหรือ
เงื่อนไขที่กำหนดไว้ก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำคู่ความนั้น
ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้นำมายื่นดังกล่าวข้างต้น
มิได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกม.ที่บังคับไว้ นอกจากที่กล่าว
มาในวรรคก่อน หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเห็นว่าสิทธิของ
คู่ความหรือบุคคลซึ่งยื่นคำคู่ความนั้นได้ถูกจำกัดห้ามโดย
บทบัญญัติแห่ง กม.เรื่องเขตอำนาจศาล ก็ให้ศาลมีคำสั่ง
ไม่รับหรือคืนคำคู่ความนั้นไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
ถ้าไม่มีข้อขัดข้องดังกล่าวแล้ว ก็ให้ศาลจดแจ้งแสดง
การรับคำคู่ความน้ันไว้บนคำคู่ความนั้นเองหรือในที่อื่น
คำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามมาตรานี้
ให้อุทธรณ์หรือฏีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227 228 247

- ถ้าเป็นเรื่องเงินค่าธรรมเนียมที่ผู้อุทธรณ์ต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งและต้องนำมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม มาตรา 229 หากผู้อุทธรณ์ไม่นำมาวาง ศาลสั่งไม่รับไม่ได้เลย กรณีไม่ใช่เรื่องของการไม่ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 18 ศาลไม่จำต้องกำหนดเวลาตามมาตรา 18 ให้ชำระก่อนที่จะสั่งไม่รับคำคู่ความ --968/2552--
- คำคู่ความที่ไม่มีลายมือชื่อของผู้ยื่น ศาลอาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือสั่งแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวได้ตาม มาตราสิบแปด วรรคสอง ถ้าปรากฏว่าภายหลังศาลรับฟ้องแล้ว ศาลก็ต้องสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว จะถือเป็นเหตุให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้วพิพากษายกฟ้องเสียทีเดียวไม่ได้ , ถ้าล่วงเลยปรากฏในชั้นอุทธรณ์หรือฏีกา ศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกาก็ต้องยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องแล้วพิพากษาใหม่
โจทก์แต่งทนายความโดยลงลายพิมพ์นิ้วมือมีผู้รับรองเพียงคนเดียว ทนายความไม่มีอำนาจทำการแทนโจทก์ เมื่อไม่ได้ลงชื่อในคำฟ้องจึงเท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามมาตรา 18 วรรคสอง
- กรณีทนายความยื่นอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจ ศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขอำนาจทนายความหรือสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 18 ก็ได้ การที่ผู้อุทธรณ์ยื่นใบแต่งทนายความที่ให้อำนาจทนายโจทก์ยื่นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์สั่งให้รับอุทธรณ์ไว้ ถือว่าศาลอุทธรณ์อนุญาตให้อุทธรณ์แล้ว
- ฏีกาที่ 2196/2533 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยร่วมขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยร่วมใช้สิทธิตามมาตรา 199 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยร่วมยื่นคำให้การ โดยแนบคำให้การมากับคำร้องด้วย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าจำเลยร่วมจงใจไม่ยื่นคำให้การดังนี้ เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไปตามมาตรา 199 โดยยังไม่ได้ตรวจคำให้การของจำเลยร่วม จึงมิใช่เป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 จะนำเอามาตรา 18 วรรท้าย มาปรับแก่คดีไม่ได้ คำสั่งที่ว่าจำเลยร่วมจงใจขาดนัดยื่นคำให้การย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ตามมาตรา 226 ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา
- คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำคู่ความไปทำมาใหม่ แต่ผู้ยื่นคำคู่ความไม่ปฏิบัติตามตามภายในกำหนดเวลา ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับคำคู่ความนั้นอีก ดังนี้แม้จะมีการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์(แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับ)มาแล้ว ก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งให้คืนคำคู่ความได้ ทั้งนี้ถือเป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 18 วรรคท้าย ประกอบด้วยมาตรา 227 228(3) ซึ่งอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลา 1 เดือนนับแต่วันที่ ศ.ชั้นต้นมีคำสั่ง ----- กรณีนี้ไม่ได้ตกอยู่ในบังคับของ มาตรา 234 แห่ง ป.วิ.พ.ที่จำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แต่อย่างใด เพราะกรณีนี้อยู่ในชั้นตรวจคำคู่ความ
------เยี่ยมมาก-------
- การสั่งไม่รับฟ้องตามมาตรา 18 ยังไม่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ผู้พิพากษานายเดียวจึงมีอำนาจสั่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 21(2)
- เรื่องน่าสนใจ กรณีฟ้องโจทก์ต้องห้ามตามบทบัญญัติเรื่องเขตอำนาจศาล ตามมาตรา 18 วรรคสองที่บัญญัติให้ศาลไม่รับหรือคืนคำฟ้องเพื่อให้ไปยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ อย่างไรก็ตาม หากปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาลกลายเป็นประเด็นข้อพิพาท อันศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคดีไม่ได้อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น ศาลก็พิพากษายกฟ้องได้ และเมื่อฟังได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 151วรรคหนึ่งอันศาลจะคืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์ได้การขยายหรือย่นระยะเวลา มาตรา 23 มาตรา 23 เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความ
ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจ
ที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวล
กม.นี้หรือตามที่ศาลได้กำหนดไว้ หรือระยะเวลาที่เกี่ยว
ด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ในกฏหมายอื่น เพื่อ
ให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆก่อนสิ้นระยะ
เวลานั้น แต่การขยายหรือย่นเวลาเช่นว่านี้ให้พึงทำได้ต่อเมื่อ
มีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมา
ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย
- กรณีใดจะถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษหรือไม่ ต้องดูเป็นรายกรณีไป ถ้าเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับทนายจำเลย กรณีไม่มีพฤติการณ์พิเศษแต่อย่างใด
- เมื่อวันครบกำหนดยื่นฎีกาตรงกับวันเสาร์ โจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฏีกาได้ในวันจันทร์ แต่การเร่ิมนับเวลาที่ศาลอนุญาตให้ขยายได้ต้องเร่ิมนับต่อจากวันที่ครบกำหนดเดิม คือ ต้องเร่ิมนับตั้งแต่วันอาทิตย์
- ต้องขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นกำหนดเวลานั้น เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย เหตุสุดวิสัยหมายถึงพฤติการณ์นอกเหนือที่ทำให้ศาลไม่อาจจะมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาที่ กม.หรือศาลกำหนดไว้การชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมาย มาตรา 24
มาตรา 24 เมื่อคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาข้อกฏหมาย
ขึ้นอ้้าง ซึ่งถ้าหากได้วินิจฉัยให้เป็นคุณแก่ฝ่ายนั้นแล้ว จะ
ไม่ต้องมีการพิจารณาคดีต่อไปอีก หรือไม่ต้องพิจารณาประเด็น
สำคัญแห่งคดีบางข้อ หรือถึงแม้จะดำเนินนการพิจารณาประเด็น
ข้อสำคัญแห่งคดีไป ก็ไม่ทำให้ความชัดขึ้นมาอีก เมื่อศาล
เห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ให้ศาล
มีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้มีผลว่าก่อนดำเนินการพิจารณาต่อไป
ศาลจะได้พิจารณาปัญหาข้อ กม.เช่นว่านี้แล้ว วินิจฉัยชี้ขาด
เบื้องต้นในปัญหานั้น
- ถ้าปัญหาที่ศาลวินิจฉัยเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ก็ไม่ใช่เป็นการชี้ขาดตามมาตรานี้ และเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226
คู่ความมรณะ
มาตรา 42 ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้าง
พิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้่ศาล
เลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการ
ทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์
มรดกไว้ จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ โดยมีคำขอ
เข้ามาเอง หรือโดยที่ศาลหมายเรียกให้เข้ามา เนื่องจากคู่ความ
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว คำขอเช่นว่านี้จะต้องยื่น
ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ
-เมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะ ศาลจะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณาออกไป [j-vp31%]
-การชี้สองสถาน เป็นการนั่งพิจารณาอย่างหนึ่ง
- จำเลยตายระหว่างอุทธรณ์ คดีจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปก็ต่อเมื่อมีบุคคลเข้าแทนที่คู่ความมรณะ และศาลจะต้องมีคำสั่งในการเข้ามาแทนที่ตาม ม.42 , 43 ก่อน เมื่อศาลอุทธรณ์ทำคำพิพากษาแล้วส่งมาให้ ศ.ต้น อ่าน โดยไม่ได้สั่งคำร้องของโจทก์ที่ให้เรียกทายาทจำเลยเข้ามาแทนที่คู่ความมรณะเสียก่อน เป็นการไม่ปฏิบัติตาม 243(2) ประกอบ 247
ศ.ฏีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษา ศ.อุทธรณ์ แล้วให้ ศ.อุทธรณ์พิพากษาใหม่
(ข้อสังเกตุเป็นบทบังคับให้ศาลต้องเลื่อนการนั่งพิจารณาออกไป จนกว่าจะมีคู่ความแทนที่ผู้มรณะแล้วจึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป)
- แสดงว่าต้องปรากฏต่อศาลที่พิจารณาคดีอยู่ว่าคู่ความมรณะ ดังนั้น แม้คู่ความได้มรณะระหว่างการพิจารณาของศาล แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาล ศาลจึงได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไป โดยไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจนมีคำพิพากษาจถือว่าเป็นการดำเนินคดีที่ไม่ชอบไม่ได้
- จำเลยถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาของ ศ.อุทธรณ์ ศ.ต้นต้องส่งคำร้องขอให้หมายเรียกทายาทเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะไปยัง ศ.อุทธรณ์เพื่อสั่ง แต่ ศ.ต้นไม่ได้ส่งคำร้องไป ศ.อุทธรณ์ จนกระทั่ง ศ.อุทธรณ์ทำคำพิพากษาเสร็จแล้วมาให้ ศ.ต้นอ่าน จึงถือไม่ได้ว่า ศาลอุทธรณ์ทราบเรื่องจำเลยมรณะ อันจะทำให้กระบวนพิจารณาของ ศ.อุทธรณ์ไม่ชอบฯ แต่การที่ ศ.ต้น อ่านคำพิพากษาของ ศ.อุทธรณ์ฯ โดยทราบอยู่แล้วว่าจำเลยมรณะและยังไม่ได้มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะนั้น เป็นการไม่ชอบ ศ.ฏีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษา ศ.อุทธรณ์ แล้วให้ ศ.ต้น ส่งสำนวนไปให้ ศ.อุทธรณ์ เพื่อดำเนินการ 42
- "ช่วงระยะเวลาอุทธรณ์หรอฏีกา" - ช่วงเวลาตั้งแต่ ศ.ต้น อ่านคำพิพากษาของ ศ.ต้น หรือ ศ.อุทธรณ์ จนถึงเวลายื่นอุทธรณ์หรือฏีกา หรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด (ครบกำหนด 1 เดือนโดยไม่มีการอุทธรณ์ฏีกา) ถือว่าเป็นกรณีที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลระหว่างอุทธรณ์หรือฏีกาเช่นกัน ทายาทของคู่ความผู้มรณะจึงมีสิทธิขอเข้าไปคู่ความแทนที่เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฏีกาได้
- ในชั้นบังคับคดี ไม่ใช่กรณีที่เป็นคดีค้างพิจารณาอยู่ในศษล เมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายในชั้นบังคับคดี ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ มาตรา 42-44 จึงไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว เช่น ไม่ต้องขอเข้ารับมรดกความใน 1 ปี ตามมาตรา 42 แต่ถือว่าสิทธิในการบังคับคดีเป็นมรดกตกทอดตาม ปพพ.1599 1600
- ถ้าจำเลยตาย โจทก์ก็ขอบังคับคดีให้แก่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของจำเลยได้โดยไม่ต้องเรียกทายาทหรือผู้จัดการมรดกของจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยก่อน
- ในชั้นบังคับคดี กรณีโจทก์ตายแม้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่ได้ขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ก็มีสิทธิขอดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้
- ประหลาด..... แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดี ถ้ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับการบังคับคดีและมีการพิจารณาข้อโต้แย้งดังกล่าว ถือว่าเป็นกรณีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ดังนี้ ระหว่างพิจารณาข้อโต้แย้ง ถ้าคู่ความฝ่ายใดตาย ก็ถือว่าเป็นกรณีที่คู่ความมรณะในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล จึงต้องมีการรับมรดกความ ตาม ปวิพ.42
- บุคคลที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทน ได้แก่ ทายาทของผู้มรณะ , ผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ , ผู้ปกครองทรัพย์มรดก
- กรณีทายาทจะต้องเป็นทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้มรณะด้วย แต่ไม่ต้องคำนึงว่าทายาทนั้นจะได้รับทรัพย์มรดกหรือมีทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทหรือไม่ เพราะทายาทไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวหรือรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน
- ถ้าคู่ความที่มรณะได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ถึงแม้ผู้ที่เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จะมีทรัพย์สิน ก็มีสิทธิได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลต่อไปได้
- กรณีศาลอนุญาตให้มีการเข้าแทนที่คู่ความแทนที่จำเลย ศาลจะพิพากษาให้ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่นั้นชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ได้ ต้องพิพากษาให้จำเลยชำระ แม้จำเลยจะตายไปแล้ว
- การอนุญาตให้บุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ เป็นดุลพินิจของศาลจะอนุญาตหรือไม่ก็ได้
- คดีที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เฉพาะตัว รับมรดกความไม่ได้
คดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก , การคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดก
ร้องขอตั้งผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์
เป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความผู้มรณะ จึงไม่อาจขอรับมรดกความได้
- โจทก์,จำเลยดำเนินคดีในฐานะผู้จัดการมรดก เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้จัดการมรดก จึงรับมรดกความไม่ได้
- ผู้ถือหุ้นเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะกรรมการของบริษัทขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุมของบริษัท ไม่มีลักษณะเป็นการเฉพาะตัวของโจทก์ เมื่อโจทก์มรณะ ทายาทของโจทก์ย่อมมีสิทธิได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นและเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้
- ความเหมือนกันระหว่าง สิทธิในการบอกล้างระหว่างสมรส กับ สิทธิอาศัย คือ
ก.สิทธิในการบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส เป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่สมรส แต่เมื่อได้มีการบอกล้างสัญญาดังกล่าวแล้ว ก็ไม่เป็นสิทธิเฉพาะตัวอีกต่อไป และสิทธิย่อมตกแก่ทายาท จึงรับมรดกความได้
ข.สิทธิอาศัยเช่นเดียวกัน เป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้ทรงสิทธิอาศัยถึงแก่ความตาย สิทธิอาศัยย่อมระงับ แต่ถ้าศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ทรงสิทธิอาศัยได้รับค่าเสียหายด้วย ในส่วนของค่าเสียหายตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมีลักษณะเป็นทรัพย์สิน ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวย่อมรับมรดกความกันได้
---หลักคิดในเรื่องนี้คือ มันเปลี่ยนสภาพจากสิทธิเฉพาะตัว เป็นมูลหนี้ที่สามารถเรียกร้องได้แล้ว ทายาทก็สามารถสวมสิทธิในการเรียกร้องกันได้---
- รับมรดกความมีผลเป็นคดีอุทลุม ต้องห้าม ปพพ.มาตรา 1562 รับมรดกความไม่ได้
- ทนายความอยู่ในฐานะตัวแทนของคู่ความ เมื่อคู่ความตาย สัญญาตัวแทนระงับลง แต่ทนายความยังคงมีอำนาจกระทำการอันสมควรเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของคู่ความจนกว่าทายาทหรือผู้จัดการมรดกจะเข้าเป็นคู่ความแทนที่ตาม ปพพ.828 ถ้าคู่ความตายในระหว่างเวลาที่ยื่นอุทธรณ์หรือฏีกา ทนายความมีอำนาจยื่นอุทธรณ์หรือฏีกาได้ แต่เมื่อครบกำหนด 1 ปี แล้วไม่มีการขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะ ศาลต้องจำหน่ายคดี
- 2071/2550 ผู้ร้องถึงแก่กรรมขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกไม่ได้ร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้ร้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องถึงแก่กรรม ตาม ปวิพ.42 จนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดีและศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความแล้ว จึงถือว่าได้ล่วงพ้นระยะเวลาที่ตัวแทนหรือทนายผู้ร้องจะจัดการตาม ปพพ.มาตรา 825 ทนายผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องต่อไป
- แม้จะเกิน 1 ปี ก็อยู่ในดุลพินิจที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้........
- ศาลที่มีอำนาจสั่งในเรื่องการรับมรดกความ
ก.คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลใดศาลหนึ่ง -โดยหลักต้องเป็นศาลที่มีอำนาจสั่ง
-5051/2543โจทก์ถึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค1ต้องถือว่าโจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค1 แต่ระวังมีฏีกาซ้อนเล็กน้อย - -- จำเลยถึงแก่กรรมขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนที่ เมื่อ บ. ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลย ศ.ต้นจะต้องทำการไต่สวนให้ได้ความว่าผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วย กม.หรือไม่ แล้วส่งคำร้องดังกล่าวไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพื่อพิจารณาสั่ง การที่ ศ.ต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จึงไม่ชอบ ให้ยกคำร้องของศาลชั้นต้น แต่........เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฏีกาแล้ว ศาลฏีกามีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 สั่ง
ข.กรณีคู่ความมรณะระหว่างกำหนดเวลาอุทธรณ์หรือฏีกา แบ่งออกเป็น 2 กรณี
1.ก่อนศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์หรือฏีกา --- สำหรับในระหว่างกำหนดเวลา
อุทธรณ์หรือฏีกา นับแต่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น , คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ไปจนถึงเวลาก่อนที่ ศ.ต้น รับอุทธรณ์หรือฏีกา ยังคงอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งเรื่องการรับมรดกความ เพราะยังไม่มีคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือฏีกา
2.กรณีศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์หรือฏีกาแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งสำนวนไปศาลสูง
---ก็ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของอุทธรณ์หรือศาลฏีกาแล้ว ศ.ต้นไม่มีอำนาจสั่งคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนที่ แต่เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกาแล้วแต่กรณี ***ข้อสังเกตุ กรณีคู่ความมรณะระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกา ซึ่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกาที่จะพิจารณามีคำสั่ง ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะจึงเป็นการทำแทนศาลฏีกา คู่ความจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณานั้น
-คำสั่งอนุญาตให้เข้าแทนที่คู่ความมรณะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่ถ้าเป็นคำสั่งไม่อนุญาต ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณารายงานและสำนวนความ มาตรา 46-54
- ต้นฉบับเอกสารทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ไม่จำต้องทำคำแปลเสมอไป นอกจากศาลจะสั่ง , เมื่อได้ทำคำแปลภาษาต่างประเทศแล้วก็ไม่ต้องนำผู้แปลมาสืบ
การลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา
- มาตรา 50(2) ถ้าคู่ความหรือบุคคลที่จะต้องลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าว ลงลายมือชื่อไม่ได้หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อ ให้ศาลทำรายงานจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อ แต่มีฏีกา 195/2521 วางหลักว่า
ก.จะนำ ม.50(2) มาเป็นข้อยกเว้นเรื่องสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ปพพ.มาตรา 851 ไม่ได้
ข.คำพิพากษาตามยอมดังกล่าว ขัดต่อ กม.ที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ฏีกาได้ ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 138(2)
ค.ขั้นตอนการมีคำสั่ง
1.ให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ
2.ยกคำพิพากษาตามยอม
3.ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่การขอตรวจและขอคัดเอกสารในสำนวน มาตรา 54 - มาตรา 54(2) ห้ามมิให้อนุญาตให้คู่ความคัดถ้อยคำพยานฝ่ายตนจนกว่าจะได้สืบพยานฝ่ายตนเสร็จสิ้นแล้ว เว้นแต่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะให้อนุญาต
- ฏีกา 4022/2541 ในกรณีที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้คู่ความคัดคำเบิกความฝ่ายของตนในขณะที่ยังสืบพยานฝ่ายตนไม่เสร็จ แม่้จะเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 54(2)ก็ตาม ศาลก็ยังรับฟังคำเบิกความดังกล่าวได้อำนาจฟ้อง มาตรา 55 - อำนาจฟ้องในคดีไม่มีข้อพิพาท ... กรณีที่บุคคลจะใช้สิทธิทางศาลโดยทำเป็นคำร้องขอ เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทนี้ ต้องเป็นกรณีที่มี กม.บัญญัติรับรองไว้ให้ใช้สิทธิทางศาลได้ เช่น ผู้ที่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.ที่ดิน บัญญัติไว้ หรือยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก
- กรณีมีผู้กระทำละเมิดต่อสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ย่อมทำให้รัฐได้รับความเสียหาย เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลรักษาจึงมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้ ส่วนประชาชนทั่วไปจะมีอำนาจฟ้องก็ต่อเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ ; จำเลยเพียงแต่ยื่นคำร้องขอออก น.ส.3 หรือโฉนดที่ดินในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งโจทก์ใช้ประโยชน์อยู่ ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยขัดขวางการใช้ประโยชน์ของโจทก์ในที่ดินนั้น ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
- เจ้าของรวมคนหนึ่งมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ทำละเมิดได้
- ทายาทที่ถูกฟ้องให้รับผิดในหนี้ของเจ้ามรดกจะต่อสู้ว่าไม่มีทรัพย์มรดกตกทอด หรือ ตนไม่ได้รับมรดกไม่ได้
การดำเนินคดีของผู้ไร้ความสามารถ มาตรา 56
- ผู้พิทักษ์ของผู้เสมือนไร้ความสามารถนั้น ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถ คงมีหน้าที่ให้ความยินยอมแก่ผู้เสมือนไร้ความสามารถให้ฟ้องคดีเองเท่านั้น
- ผู้เยาว์ย่อมอยู่ในอำนาจปกครองของบิดา มารดา บิดามารดา จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม บิดาหรือมารดาคนหนึ่งคนใดมีสิทธิฟ้องแทนผู้เยาว์ได้ (แม้ ศ.ต้น พิพากษาไปก่อนโจทก์จะบรรลุนิติภาวะ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฏีกา และในระหว่างการพิจารณาของศาลฏีกา โจทก์บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีเหตุอันใดที่จะต้องแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถอีก โจทก์ย่อมมีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองได้ และถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องมาตั้งแต่ต้น)
- กรณีบิดาไม่ชอบด้วย กม. ฟ้องคดีแทนบุตรผู้เยาว์ไว้แล้ว ต่อมาบิดามารดาจดทะเบียนสมรสกัน ถือว่าเหตุบกพร่องในเรื่องความสามารถหมดไป ฟ้องย่อมสมบูรณ์มาแต่ต้น
- ตอนยื่นฟ้องยังไม่มีคำสั่งตั้ง ว. เป็นผู้อนุบาลโจทก์ (ผู้วิกลจริต) จึงไม่มีสิทธิทำการแทน เท่ากับโจทก์เสนอข้อหาเองอันเป็นการบกพร่องในเรื่องความสามารถเท่านั้น ไม่ใช้อำนาจฟ้อง เมื่อต่อมาศาลเยาวชนฯ มีคำสั่งตั้ง ว. เป็นผู้อนุบาล ว.จึงมีอำนาจทำการแทนโจทก์ในการเสนอข้อหาของโจทก์ได้
- ขณะฟ้องโจทก์เป็นคนพิการ พูดเดินไม่ได้ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ท. บิดาโจทก์ชอบที่จะไปดำเนินการร้องขอต่อศาล ขอให้โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถและตั้งผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งศาลให้โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลที่มีความสามารถทำการใดๆได้ด้วยตนเองตาม กม. ซึ่งรวมถึงการฟ้องและดำเนินคดีต่อศาล การที่ ท. บิดาโจทก์ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความให้ฟ้องคดีแทนโจทก์โดยยังไม่มีคำสั่งศาลให้ ท. เป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ของโจทก์ จึงเป็นความบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัย 56 ต้องทำการแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนร้องสอด มาตรา 57 58 - ตาม อนุ 1 ร้องสอดเข้ามาในระหว่างพิจารณา กับร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดี
- การร้องสอดตามมาตรา 57 ทั้ง สามอนุ ต้องเป็นการร้องสอดเข้าไปในคดีที่ยังมีการพิจารณาอยู่ในศาล ถ้าคดีนั้นเสร็จไปจากศาลแล้ว เช่น เมื่อมีการยอมความกันไปแล้วหรือศาลชั้นต้นยกฟ้องหรือจำหน่ายคดีไปแล้ว ไม่มีคดีที่จะร้องสอดเข้าไปเป็นคู่ความ
- คู่ความในคดีจึงไม่อาจเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดอีกฐานะหนึ่งได้
- มาอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ทั้งที่ตนเองเป็นคู่ความอยู่แล้ว --- ไม่ได้
- แต่หากศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยคนใดไปแล้ว ถือว่าจำเลยคนนั้นเป็นบุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยนั้นอาจถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดีได้อีกการร้องสอดเข้ามาตาม 57(1)
- การที่ผู้ร้องสอดจะร้องเข้ามาในคดีอ้างว่าเป็นทรัพย์ของผู้ร้องสอดเองนั้น ทรัพย์สินนั้นต้องเป็นทรัพย์ที่โจทก์จำเลยเดิมพิพาทกันอยู่เดิม ผู้ร้องสอดจะหยิบยกเอาทรัพย์อื่นมาตั้งเป็นข้อพิพาทไม่ได้
- แม้ศาลพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่พิพาท (ตกเป็นของโจทก์ผู้รับซื้อฝาก) ก็ไม่กระทบสิทธิของผู้ร้องในฐานะคู่สมรสที่ยังคงมีอยู่ในกรณีการขายฝากของโจทก์และจำเลยตามที่ผู้ร้องอ้าง สิทธิของผู้ร้องสอดยังคงมีอยู่เพียงใด ก็คงมีอยู่เพียงนั้น ไม่ต้องด้วย57
- คดีฟ้องขับไล่ จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือผู้อื่น ผู้ร้องสอดอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด เป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดตั้งข้อพิพาทกับโจทก์เท่านั้น สิทธิของผู้ร้องสอดยังคงมีอยู่อย่างใดก็ยังมีอยู่อย่างนั้น จึงไม่มีความจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับการรับรองคุ้มครองหรือบังคับให้เป็นไปตามสิทธิตาม 57(1) แต่ถ้าจำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้้ร้องสอด ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้การอนุญาตให้เข้ามาในคดีเป็นดุลพินิจของศาล - เมื่อ ศ.ได้พิจารณาคดีไปจนกระทั่งสืบพยานเสร็จแล้ว หากผู้ร้องสอดมีสิทธิดังที่อ้างในคำร้องก็ย่อมยกสิทธิเช่นว่านั้นขึ้นอ้างยันผู้อื่น หรือมีสิทธิที่จะดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้เป็นคดีอีกต่างหาก กรณีของผู้ร้องสอดยังไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามคำร้อง
- การพิจารณาคำร้องตาม 57(1) ต้องดูว่าเข้ามาในลักษณะเป็นคำฟ้องหรือคำให้การ เช่น ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดอ้างว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และคู่ความขอให้ศาลไกล่เกลี่ยเพื่อประนีประนอมยอมความต่อกัน หากศาลมีคำพิพากษาตามยอมจะเป็นผลเสียหายแก่ผู้ร้องสอด จึงเป็นกรณีจำเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับให้เป็นไปตามสิทธิ
- ข้อสังเกตเกี่ยวกับกรณีที่เป็นการร้องสอด เมื่อตนมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีต้องเป็นเหตุผลที่จำเป็นเร่งด่วนจริงๆ ดังฏีกา 3776/34(ป) ศาลพิพากษาให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไป[ไม่ได้แต่เพียงให้ออกไปจากบ้านหรือที่ดินพิพาทเท่านั้น มีผลแตกต่างกันจ๊ะ] จำเลยต้องรื้อถอนออกไป ซึ่งจะเป็นผลเสียหายแก่ผู้ร้อง หากผู้ร้องเป็นเจ้าของบ้านและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ดังนี้ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและถูกโต้แย้งสิทธิ จึงชอบที่จะร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีได้โดยไม่ต้องรอให้มีการบังคับคดีเสียก่อน เนื่องจากโจทก์สามารถตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการร้ือถอนได้ทันที
- ที่ดินนำมาเป็นหลักประกันในชั้นขอทุเลาการบังคับคดีตาม ปวิพ231 แม้จะมีคำสั่งศาลห้ามทำนิติกรรม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่นยึดได้ ไม่เป็นการยึดหรืออายัดซ้ำตาม มาตรา 290 และผู้ที่ซื้อที่ดินได้จากการขายทอดตลาดมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีที่มีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมตามมาตรา 57(1) ตอนท้าย เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมได้
- โจทก์จำเลยสมคบทำสัญญาลวงเป็นหนี้และฟ้องกันให้ศาลบังคับคดี เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้ของจำเลยสามารถบังคับเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยได้ เจ้าหนี้จำเลยมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีตาม 57(1) และสิทธิของผู้ร้องสอดที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นหนี้ที่แน่นอน
- ******ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาจากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือผู้ที่ซื้อสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาจากการขายทอดตลาด หรือขายโดยวิธีอื่นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำพิพากษา มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม 57(1)ได้ , การยื่นคำร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีเนื่องจากผู้ร้องเป็นผู้รับโอนสิทธิตามคำพิพากษา ไม่ได้เรียกร้องสิ่งใดขึ้นใหม่หรือเกินไปกว่าสิทธิเรยกร้องที่โจทก์มีอยู่ตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอีก
- ฏีกาน่าเฮ ..... ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่า ที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดครึ่งหนึ่งเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ ๒ ผู้ร้องเป็นภริยาของจำเลยที่ ๒ ไม่ได้ให้ความยินยอมในการที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปจำนองเป็นประกันการกู้ยืมจากโจทก์ ดังนั้น หากเป็นดังที่ผู้ร้องอ้าง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตาม กม. ต้องถือว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษา ชอบที่จะร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีตาม ปวิพ.มาตรา 57(1)ได้ *****แต่ตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการขอให้ศาลบังคับให้โจทก์แบ่งที่ดินพิพาท ในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องกับจำเลยที่ ๒ ไม่ได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นสัดส่วน คำขอบังคับของผู้ร้องดังกล่าวโดยสภาพไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำร้องนั้นได้ คำร้องมีลักษณะเป็นเรื่องการร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้น ตาม 287(ขอกันส่วน) ผู้ร้องชอบที่จะร้องขอให้กันส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสนั้น ไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาขอบังคับให้โจทก์แบ่งที่ดินพิพาทในส่วนซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องให้แก่ผู้ร้องตามคำพิพากษาได้การร้องสอดเข้ามาในคดีไม่มีข้อพิพาท
- กม.ไม่ได้จำกัดว่าการร้องสอดเข้ามาในคดีต้องเป็นคดีมีข้อพิพาทเท่านั้น , แต่ถ้าผู้ร้องสอดไม่ได้ยื่นคำร้องเข้ามาในระหว่างการพิจารณา จนศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนมีคำสั่งแสดงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว ขณะที่ผู้ร้องไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน ถือว่าอยู่ระหว่างดำเนินการบังคับคดีตามคำสั่งศาล ผู้ร้องสอดอาจยื่นคำร้องเข้ามาตอนนี้ก็ได้ ทั้งนี้อาศัยอำนาจของมาตรา 57(1) ตอนท้าย
- แต่ระวัง .... เมื่อกระบวนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นไม่มีอีกต่อไป ผู้ร้องสอดจนไม่มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความตาม ปวิพ.มาตรา 57(1) ได้
- คดีร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก พิจารณาแต่เพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ส่วนทรัพย์มรดกจะมีอะไรบ้าง เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายจริงหรือไม่ ศาลไม่จำต้องชี้ขาดเพราะไม่มีประเด็นไปถึง ดังนั้นผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดี
- "ด้วยความสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับให้เป็นไปตามสิทธิของตนที่มีอยู่"การร้องสอดตาม 57(2) - "ด้วยความสมัครใจเองเพราะตนมีส่วนได้เสียตาม กม.ในผลแห่งคดีนั้น โดยยื่นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใดๆก่อนมีคำพิพากษา ขออนุญาตเข้าเป็นโจทก์ร่วม หรือ จำเลยร่วม หรือเข้าแทนที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียว โดยได้รับความยินยอมจากคู่ความฝ่ายนั้น แต่ว่าแม้ศาลจะได้อนุญาตให้เข้าแทนที่กันได้ก็ตาม คู่ความฝ่ายนั้นจำต้องผูกพันตนโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการ เสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการเข้าแทนทีี่กันเลย"
- ช่องทางเข้าสู้คดีของ เจ้าของรวมบางคน ---- เจ้าของรวมบางคนฟ้องขับไล่บุคคลภายนอก เจ้าของรวมคนอื่นจะร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม 57(1) แต่การที่เจ้าของรวมอ้างว่าอาจได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าของรวมที่เป็นโจทก์ เป็นการร้องสอดเข้ามาเพราะตนมีส่วนได้เสียตาม กม. ในผลแห่งคดีนั้นตาม ปวิพ.57(2)
- โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่พิพาท ซึ่งผู้ร้องและจำเลยอยู่อาศัย มีผลเสมือนว่าโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้ร้องด้วย ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียตาม กม. ในผลแห่งคดีตาม ปวิพ.
57(2)
- เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่โดยละเมิด หลังจากฟ้องแล้วโจทก์ได้โอนกรรมสิทธิืในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ผู้อื่น ถือว่าผู้รับโอนเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี จึงร้องขอให้เป็นโจทก์ร่วมได้ ส่วนเจ้าของเดิมยังคงมีอำนาจฟ้องบริบูรณ์อยู่ กำหนดเวลาการร้องสอด - ระยะเวลาการร้องสอดตามมาตรา 57(2) จะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลไม่ว่าเวลาใดๆก่อนมีคำพิพากษา หมายถึง มีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเท่านั้น จะขอเข้ามาในชั้นพิจารณาของศาลสูงไม่ได้การร้องสอดโดยศาลหมายเรียกให้เข้ามาในคดี - เมื่อผู้ให้เช่าซื้อฟ้องให้ผู้เช่าซื้อรับผิด จำเลย(ผู้เช่าซื้อ) มีสิทธิขอให้เรียกให้ผู้รับประกันภัยเข้ามาเป็นจำเลยร่วม และรับผิดร่วมต่อโจทก์ได้ ตาม ปวิพ.มาตรา 57(3)(ก)
- ผู้ที่เข้ามาเป็นผู้ร้องสอด ต้องเป็นบุคคลภายนอกคดี จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณายังถือว่าเป็นคู่ความ ไม่ใช่บุคคลภายนอกคดี ดังนี้ จะขอให้ศาลออกหมายเรียกจำเลยคนดังกล่าวเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดอีกไม่ได้ **** แต่ถ้าศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยไปบางคนแล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกเข้ามาในคดีใหม่ได้
- กรณีโจทก์ฟ้องผิดตัว โจทก์จะขอเรียกผู้ต้องรับผิดที่แท้จริงเข้ามาเป็นจำเลยร่วมไม่ได้ ต้องฟ้องใหม่
- ** โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าและบริวารให้ออกจากที่พิพาท จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าได้ทำสัญญาเช่าฉบับใหม่กับตัวแทนของโจทก์ โดยได้ชำระค่าเช่าให้แก่ตัวแทนไปแล้ว จำเลยขอให้เรียกตัวแทนเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้
- ปพพ.1562 คดีอุทลุม เป็นบทบัญญัติที่ตัดสิทธิห้ามมิให้ฟ้องผู้บุพการีของตน จึงต้องแปลโดยเคร่งครัด การที่ศาลมีคำสั่งให้เรียกบิดาโจทก์เข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยในคดี เนื่องจากบิดาเป็นเก็บโฉนดที่ดินไว้ ยังเรียกไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องบุพการีของตน จึงไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 1562
- เมื่อศาลเรียกให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมแล้ว ศาลย่อมพิพากษาให้รับผิดได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
- เมื่อศาลเรียกให้เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมแล้ว โจทก์ร่วมไม่อาจมีคำขอใดๆได้ ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ร่วมได้
- การขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ต้องขอเรียกมาภายใน อายุความที่จำเลยร่วมต้องรับผิดในเรื่องนั้นๆด้วย
- การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยร่วมด้วย ผู้รับมอบอำนาจก็ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตาม 57(3) แม้คำร้องขอให้เรียกเข้ามาในคดีจะไม่ใช่คำฟ้องก็ตาม แต่ถ้าศาลอนุญาตจำเลยร่วมก็อาจถูกบังคับตามคำฟ้องได้ เท่ากับเป็นการฟ้องให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์นั่นเอง
- คำร้องขอของโจทก์ให้เรียกธนาคาร ท. เข้ามาเป็นคู่ความเพื่อเป็นจำเลยร่วมไม่มีลักษณะเป็นคำฟ้องหรือคำคู่ความ ไม่เหมือนกรณีที่บุคคลภายนอกร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีไม่ว่าโดยสมัครใจหรือถูกหมายเรียกของศาลให้เข้ามาก็ตาม
- กรณีที่ศาลชั้นต้น ไม่รับคำร้องสอดตาม อนุ ๑ และ ๒ ผู้ร้องสอดได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตาม 228(3) ถ้าศาลชั้นต้นดำเนินคดีจนมีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ ศ.ต้น รับคำร้องสอดก็ตาม ย่อมไม่ทำให้ผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดเปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนี้ ศ.ต้น ชอบที่จะสั่งให้ผู้ร้องสอดไปฟ้องเป็นคดีใหม่สิทธิของผู้ร้องสอด
- แม้จำเลยเดิมจะขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดตาม 57(1) (3) ก็ยังมีสิทธิร้องสอดได้ และยังมีสิทธิยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ต่างจากข้อต่อสู้ของจำเลยเดิมได้การส่งคำคู่ความกรณีไม่พบคู่ความ - 1)ส่งให้แก่บุคคลที่อายุเกิน 20 ปี ซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือสำนักทำการงาน
2)ส่งตามข้อความในคำสั่งของศาล
- การที่ศาลมีคำสั่งตอนรับฟ้องไว้ว่า ถ้าส่งไม่ได้ให้ปิดหมาย ถือเป็นการส่งตามข้อความในคำสั่งศาลตาม 76 ไม่ใช่เป็นการส่งโดยวิธีอื่นตาม 79 จึงเป็นการส่งโดยชอบ ไม่เป็นการข้ามขั้นตอน และถือว่า การส่งตามข้อความในคำสั่งศาล มีผลเป็นการรับหมายในทันที จึงนับระยะเวลาตามคำสั่งศาลได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้ล่วงพ้นระยะเวลา 15 วัน ตามมาตรา 79 วรรคสองก่อน
- มาตรา 79 วรรคสอง "การส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยวิธีอื่นแทนนั้น ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลา 15 วัน หรือระยะเวลานานกว่านั้นที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่เวลาที่คำคู่ความหรือเอกสารหรือประกาศแสดงการมอบหมายนั้นได้ปิดไว้ หรือการโฆษณาหรือวิธีอื่นตามที่ศาลสั่งนั้นได้ทำหรือได้ตั้งแต่ต้นแล้ว" (กล่าวคือ ต้อง 15 วันเสมอ)
- กรณีที่่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลย โดยบุคคลอายุไม่เกิน 20 ปีเป็นผู้รับแทน แต่ปรากฏว่าจำเลยได้แต่งทนายความมาต่อสู้คดีและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา แสดงว่าจำเลยทราบเรื่องที่ถูกฟ้องไว้แล้ว จำเลยจะมาอ้างในภายหลังว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบไม่ได้
- การส่งคำคู่ความและเอกสารที่ได้กระทำในศาล ตาม 77(2) ต้องเป็นการส่งให้แก่คู่ความหรือผู้มีชื่อระบุว่าเป็นผู้รับหมาย ดังนี้ หมายนัดซึ่งระบุชื่อโจทก์ร่วมในหมาย แต่เจ้าพนักงานให้สามีโจทก์ร่วมลงชื่อรับแทนโจทก์ร่วม แม้ได้กระทำในศาล ก็ถือว่าไม่ชอบ
- ปรากฏว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีธรรมดาไม่ได้ ศาลจึงสั่งให้ส่งโดยวิธีปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย ในการดำเนินกระบวนพิจารณานัดต่อๆมา ศาลจึงอาจแจ้งนัดให้จำเลยทราบโดยสั่งปิดประกาศหน้าศาลได้ เพราะถือว่าเป็นกรณีที่ไม่อาจส่งโดยวิธีธรรมดาได้ และการปิดประกาศหน้าศาลถือเป็นการส่งโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 79 การแจ้งนัดล่วงหน้าจึงชอบด้วย กม.
- การปืดคำคู่ความหรือเอกสารที่ต้องปิดไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย การส่งให้คนในบ้านของจำเลยรับไว้ไม่ใช่เป็นการปิดที่แลเห็นได้ง่ายตาม 79 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาหรือคำสั่งมาตรา 131 คดีที่ยื่นคำฟ้องต่อศาลนั้น ให้ศาลปฏิบัติดังนี้
๑ ในเรื่องคำขอของคู่ความที่่ยื่นในระหว่างการพิจารณาคดีนั้น โดยทำเป็นคำร้องหรือขอด้วยวาจาก็ดี ให้ศาลมีคำสั่ง อนุญาต หรือ ให้ยกเสียซึ่งคำขอ โดยทำเป็นหนังสือหรือ ด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าศาลจะมีคำสั่งด้วยวาจาให้ศาลจดคำสั่งนั้นไว้ในรายงานพิสดาร
๒ ในเรื่อง ประเด็นแห่งคดี ให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาด โดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง หรือให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะนี้
- การสั่งจำหน่ายคดี ต้องเป็นการสั่งที่ไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี ถ้ามีการวินิจฉัยชี้ขาดคดี แม้เป็นการชี้ขาดตาม ปวิพ. ศาลก็ต้องทำในรุปคำพิพากษาหรือคำสั่ง จะสั่งจำหน่ายคดีไม่ได้ เช่น ศาลเห็นว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไม่ได้
- การสั่งจำหน่ายคดี มาตรา 132
ให้ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนั้น และให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร
๑ เมื่อโจทก์ ทิ้งฟ้อง 174 ถอนฟ้อง 175 ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา 193ทวิ
๒ เมื่อโจทก์ไม่หาประกันตามมาตรา 253 , 288 หรือเมื่อคู่ความฝ่ายหนึ่ง หรือ ทั้งสองฝ่ายขาดนัดตามมาตรา 198 , 200 , 201
๓ ถ้าความมรณะของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังให้คดีนั้นไม่มีประโยชน์ต่อไป หรือถ้าไม่มีผู้ใดเข้ามาแทนที่คู่ความฝ่ายที่มรณะดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42
๔ เมื่อศาลได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีรวมกันหรือให้แยกกัน ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องโอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 28 , 29
- คำสั่งจำหน่ายคดี เป็นดุลพินิจของศาล
- ฏีกา 6201/2550 เมื่อจำเลยทิ้งฟ้อง ศาลอุทธรณ์สั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์แล้ว จึงไม่มีคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ที่จะให้จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการจำหน่ายคดี ที่ ศ.ต้นมีคำสั่งว่า คดีเสร็จการพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แล้ว หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปก็มีสิทธิยื่นฏีกาได้ตาม กม. และให้ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบด้วย กม. คำพิพากษาตามยอม มาตรา 138 - มาตรา 138 ในคดีที่คู่ความตกลงกัน หรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยไม่ได้มีการถอนคำฟ้องนั้น และข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้น ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ กม. ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อกตลงหรือการประนีประนอมยอมความเหล่านั้นไว้ แล้วพิพากษาไปตามนั้น
ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุดังต่อไปนี้
1.เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล
2.เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่ง กม. อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
3.เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าไม่ได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความ
-การตกลงกันประนีประนอมฯ อาจทำในขณะคดีนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกาก็ได้ หรือแม้แต่คดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม ก็อาจจะตกลงมิให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดนั้ันก็ได้
- สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันในศาล เพื่อให้ศาลพิพากษาตามยอมไม่อยู่ในบังคับของ ปวิพ 142 ที่ห้ามพิพากษาเกินคำขอ เพียงแต่ต้องตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดีเท่านั้น ---- ฟ้องขอแบ่งที่นา คู่ความยอมมอบข้าวเปลือกในที่นาพิพาท เป็นเรื่องที่อยู่ในประเด็นพิพาทแห่งคดี เป็นเรื่องเกี่ยวเน่ืองกับพืชผล ศาลพิพากษาตามยอมได้ การยอมความไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องยอมความกันตามขอท้ายฟ้องเท่านั้น
- คดีร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก แม้ผู้ร้องและผู้คัดค้านจะตกลงกันให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดก ศาลก็ไม่อาจพิพากษาตามยอมได้ เพราะยังมีประเด็นต้องวินิจฉัยถึงสิทธิและคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน (เพราะ กม.สารบัญญัติกำหนดคุณสมบัติของ ผู้จัดการมรดกไว้ชัดเจน เป็นเงื่อนไขสำคัญมากกว่าการตกลงประนีประนอมยอมความ)
- การสมรสเป็นสิทธิเฉพาะตัวและต้องทำตามเงื่อนไขของ กม. จะตกลงกันระหว่างการพิจารณาของศาลสูง เพื่อให้โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยากันอีกไม่ได้
- ข้อตกลงที่จำเลยตกลงรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้บนที่ดิน และจดทะเบีียนโอนที่ดินคืนให้แก่โจทก์ตามรายงานกระบวนพิจารณนั้นเป็นข้อตกลงที่ทำขึ้นใหม่ภายหลังที่ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ไม่อาจบังคับในคดีนี้ได้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติโจทก์ต้องใช้สิทธิเรียกร้องเอากับจำเลยแยกไปจากคดีนี้
- การที่คู่ความตกลงกันใหม่ แม้จะกระทำในศาลแต่ก็ไม่ได้ยกเลิกสัญญาประนีฯ ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมไว้ก่อนแล้ว เมื่อไม่มีการปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่ ก็ต้องผูกพันตามคำพิพากษาตามยอมที่ทำไว้เดิม
- ตามมาตรา 138(1) อ้างเป็นข้ออุทธรณ์ได้เฉพาะฉ้อฉลเท่านั้น ไม่รวมถึงการข่มขู่หรือความสำคัญผิดด้วย
- ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันคู่ความจะตกลงกันกำหนดค่าทนายความให้ชดใช้แก่กันมากน้อยเท่าใดก็ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องที่ศาลกำหนดให้ใช้แทนกัน แม้จะตกลงชดใช้สูงกว่าที่อัตรา กม.กำหนด ก็ถือว่าเป็นไปโดยชอบด้วย กม.
- ** การอุทธรณ์คำสั่งของศาลที่วินิจฉัยเกี่ยวกับการตีความตามคำพิพากษาตามยอม เป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดี จึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งชั้นบังคับคดี ไม่ใช่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอม ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 138 วรรคสอง
- ทางออก ต้องใช้สิทธิในการอุทธรณ์แต่เพียงอย่างเดียว ถ้าไม่อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 229 คดีย่อมถึงที่สุด คู่ความจะอ้างเหตุตามมาตรา 138 วรรคสอง เพื่อขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ ....... *** จำเลยจะลักไก่... อ้างว่าคำพิพากษาตามยอมขัดต่อความสงบเรียบร้อยฯ ไม่ชอบด้วย กม. ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินการมาทั้งหมดแล้วยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ มีผลเป็นอย่างเดียวกับการขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอม ซึ่งต้องกระทำโดยศาลสูง จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้ ศ.ต้น พิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำพิพากษาของศาลนั้นเองไม่ได้ แม้จำเลยจะเพิ่งทราบเหตุที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความหลังพ้นระยะเวลาอุทธรณ์ ก็ไม่มี กม.รับรองให้ทำได้ ศ.ต้น ยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ไต่สวนชอบแล้ว
- แต่อย่างไรก็ตาม หากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมเกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลอาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นได้ เช่น โจทก์อ้างว่าจำเลยนำบุคคลอื่นมาแสดงตัวว่าเป็นโจทก์ แล้วสมคบกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ไม่รู้เห็นยินยอม จนศาลหลงเชื่อจึงได้พิพากษาตามยอมไป หรือ อ้างว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ลงชื่อในใบแต่งทนายความและเอกสารเพื่อนำไปถอนฟ้อง แต่กลับนำไปแต่งตั้งทนายความมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ ดังนี้ หากเป็นจริง สัญญาประนีประนอมฯ และคำพิพากษาตามยอม ย่อมเป็นการไม่ชอบ เพราะโจทก์ไม่รู้เห็นยินยอม ดังนี้ เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ โจทก์ชอบที่จะขอเพิกถอนได้ตามมาตรา 27 โดยไม่ต้องขอเพิกถอนในคดีเดิม จึงฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้ ซึ่งนอกจากนี้คู่ความจะฟ้องเป็นคดีใหม่ ให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความก็ไม่ได้เช่นกัน
- ศาลมีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อตีความให้เป็นไปตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา
- คู่ความจะฟ้องขอเพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยอ้างว่าทนายความของตนกระทำการนอกเหนือขอบอำนาจของการเป็นตัวแทนไม่ได้ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ทนายความของตนตาม กม.
คำพิพากษาไม่เกินคำขอ มาตรา 142
- ตามมาตรา 142 ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องวินิจฉัยประเด็นตามคำฟ้องทั้งหมด หากศาลเห็นว่าประเด็นใด แม้วินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ก็อาจใช้ดุลพินิจไม่วินิจฉัยได้ อันเป็นอำนาจทั่วไปของศาล
- ห้ามมิให้ศาลพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกคำฟ้อง
- ฟ้องขอให้เปิดทางสาธารณประโยชน์ โดยได้บรรยายข้อเท็จจริงในลักษณะของทางภาระจำยอมมาด้วย ศาลพิพากษาให้เปิดทางภาระจำยอมได้ ไม่นอกฟ้อง
- ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ แต่ได้ความว่าเป็นทางสาธารณะ ศาลพิพากษาว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ไม่นอกประเด็น
- คำขอท้ายฟ้อง ขอให้ขับไล่ออกไปจากสิ่งปลูกสร้าง ศาลพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินที่ปลูกสร้างได้ด้วย ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ปวิพ.142
- ข้อยกเว้นที่ให้ศาลพิพากษาเกินคำขอได้ มาตรา 142(1)-(6)
- คดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยได้ตามมาตรา 142(1)ได้นั้น ต้องสั่งไว้ในขณะมีคำพิพากษาด้วย
- คดีฟ้องว่าผิดสัญญาซื้อขาย แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยและบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 142(1) โจทก์จะอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมมาบังคับแก่บริวารของจำเลยด้วยไม่ได้
- ปัญหาข้อ กม. อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน 142(5)
- จำเลยออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินโดยไม่ชอบด้วย กม. แต่โจทก์ไม่ได้มีคำขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญนั้น ศาลก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบฯ
- ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
- ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
- ข้อ กม.อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองนั้น จะต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เช่น ได้ความมาจากการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็น ไม่อาจรับฟังเพื่อวินิจฉัยข้อ กม.ได้
การแก้ไขคำพิพากษา มาตรา 143
- สัญญาประนีฯ เป็นส่วนหนึ่งของของคำพิพากษาตามยอม ย่อมแก้ไขตาม 143 ได้
- คำฟ้องของโจทก์บรรยายเกี่ยวกับเลขที่อาคารที่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาดคลาดเคลื่อน เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้โจทก์จะไม่ได้ขอแก้ไขคำฟ้องและมีการตกลงกันทำสัญญาประนีฯ ตามเลขที่อาคารที่คลาดเคลื่อน ศษลชอบที่จะพิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดตามสัญญาประนีฯ
- การที่ศาลพิพากษาไม่ตรงกับคำขอท้ายฟ้อง ไม่ใช่เรื่องผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลง แต่เป็นเรื่องที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป จะขอแก้ไขตาม 143 ไม่ได้ ต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ฏีกา
.. ** แม้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะไม่คัดค้านก็ตาม
ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ มาตรา 144 - 1295/2524 การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่ได้มีเฉพาะการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีเดิมแต่อย่างเดียว การที่คู่กรณีนำคดีมาฟ้องเป็นคดีใหม่ในมูลเดียวกัน และมีประเด็นอย่างเดียวกันกับที่ศาลได้เคยวินิจฉัยไว้ในคดีก่อนโดยคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด ก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเช่นกัน
- กรณีสลับโจทก์จำเลยฟ้องกัน ไม่เป็นดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ เพราะยังไม่มีคำพิพากษาหรือการวินิจฉัยในประเด็นนั้นๆ ไม่เป็นฟ้องซ้อน เพราะว่าโจทก์จำเลยคนละคน , ไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะว่าคดียังไม่ถึงที่สุด แต่หากมีศาลใดมีคำพิพากษาแล้ว มีผลทำให้อีกคดีที่ยังไม่ได้มีคำพิพากษาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ทันทีโดยไม่ต้องคำนึงว่าคดีนี้ฟ้องต่อศาลก่อนหรือหลังคดีที่ได้ตัดสินไปแล้ว [0.26: juris vpang 75%]
- คดีเดิมฟ้องขับไล่อ้างว่าสัญญาเช่าเป็นโมฆะ คดีนี้ฟ้องว่าสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ 7695/50
- คำสั่งศาลที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาหรือคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี คู่ความจึงยื่นคำร้องนั้นได้อีก
- ศ.ต้น ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเพราะจำเลยไม่ได้นำพยานมาสืบ ผู้ขอยื่นคำร้องใหม่ มีข้ออ้างเช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลแล้ว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
- ศ. ยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เพราะอ้างเหตุไม่ครบถ้วน จำเลยยื่นคำร้องใหม่โดยทำคำร้องให้ถูกต้องได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
- ประเด็นแห่งคดีในคดีอาญาและคดีแพ่งแตกต่างกัน กล่าวคือ คดีอาญามีประเด็นว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ส่วนคดีแพ่งประเด็นว่าจำเลยต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ ดังนั้น การดำเนินคดีแพ่งจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีอาญา
- แม้สินค้าที่เป็นมูลเหตุให้ฟ้องร้องในคดีทั้งสองเป็นคนละจำนวนกัน แม้ว่าสินค้าที่จำเลยซื้อแต่ละคราวในคดีนี้กับคดีก่อน จะสืบเนื่องจากใบเสนอราคาของโจทก์ฉบับเดียวกัน ก็ไม่มีผลให้ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกัน อันจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไปได้คำพิพากษาผูกพันคู่ความ มาตรา 145 - คำพิพากษาที่จะผูกพันคู่ความในคดีหลัง ต้องเป็นประเด็นเดียวกันด้วย
- คำพิพากษาผูกพันคู่ความ แม้จะเป็นคู่ความฝ่ายเดียวกันก็ตาม
- คำพิพากษาผูกพันผู้สืบสิทธิของคู่ความด้วย ; ผู้รับโอนที่ดินพิพาทมาจากคู่ความในคดีก่อน ก็ถือเป็นผู้สืบสิทธิเช่นเดียวกัน
- **6220/2550
- กรณีที่ทายาทหลายคนมีสิทธิได้รับมรดก การที่ทายาทคนหนึ่งถูกฟ้องแล้วไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับว่า ทรัพย์มรดกเป็นของโจทก์ ถือไม่ได้ว่า เป็นเรื่องที่เจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์รวมครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก คำพิพากษาจึงไม่ผูกพันทายาทอื่น คำพิพากษาผูกพันเฉพาะทายาทที่เป็นคู่ความเท่านั้น ....**
เรื่องนี้หากวิเคราะห์กัน ก็มองในเรื่องความเป็นธรรมและ ปพพ.เป็นหลักเพราะว่าเป็นในทางที่เสื่อมสิทธิแก่เจ้าของรวมคนอื่นๆ
- โจทก์จำเลยต่างอ้างคำพิพากษาทั้งสองในคดีก่อน ดังนี้ คดีแพ่งทั้งสองดังกล่าวต่างถึงที่สุดแล้ว แต่โดยเหตุที่คำพิพากษาของศาลเดียวกันขัดแย้งกัน ฉะนั้นฝ่ายที่จะอ้างบทบัญญัติแห่ง ปวิพ145 ว่าคำพิพากษาผูกพันตนไม่ได้ ศษลจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การของโจทก์จำเลยต่อไป
- คำพิพากษาไม่ผูกพันบุคคลภายนอก
- คำขอท้ายฟ้องที่ห้ามเจ้าพนักงานที่ดินออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แก่จำเลย โดยไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานด้วย จึงไม่ชอบ หรือฟ้องเฉพาะเจ้าพนักงานขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์มรดก ย่อมมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของทายาทอื่นที่มีสิทธิได้รับมรดกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี ซึ่งโจทก์ไม่ได้ฟ้องหรือขอให้เรียกเข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ผลของคำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันทายาทตาม ปวิพ.145 ศาลไม่อาจพิพากษาให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ได้
- คำสั่งศาลที่แสดงว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ มีผลผูกพันโจทก์ต่อเมื่อโจทก์ได้ทราบเรื่องที่จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์แล้วไม่ได้โต้แย้งคัดค้านภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้ เมื่อโจทก์ไม่ทราบเรื่องที่จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ทำให้ไม่อาจโต้แย้งคัดค้านคำร้องของจำเลยได้ คำสั่งของศาลจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีเพื่อพิสูจน์ว่าตนมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยตาม 145(2)
- คำพิพากษาตามยอม ที่ให้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ไม่ใช่คำพิพากษาที่แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ตาม 145(2) จึงไม่ผูกพันโจทก์ที่เป็นบุคคลภายนอก
- การที่ศาลจำหน่ายคดีหรือให้ถอนฟ้องจำเลยคนใดไปแล้ว ถือเป็นบุคคลภายนอกคดี การมีคำพิพากษาต้องไม่ให้กระทบถึงสิทธิของจำเลยดังกล่าว
- คำพิพากษามีผลผูกพันคู่ความ แม้คดีหลังจะนำมาฟ้องเป็นคดีอาญาก็ต้องฟังข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับคดีแพ่ง (คดีสร้างรั้วคอนกรีตบุกรุก มีการฟ้องแพ่งก่อน ศาลฟังว่าไม่บุกรุก)ฟ้องซ้ำ มาตรา 148 - มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
- ในคดีที่อาจอุทธรณ์หรือฏีกาได้ คำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาอุทธรณ์หรือฏีกา ดังนี้การฟ้องคดีในระหว่างอายุอุทธรณ์หรือฏีกา จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่อาจจะเป็นฟ้องซ้อนหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ก็ได้
- คู่ความเดียวกัน อาจสลับฐานะกันก็ได้ กล่าวคือ โจทก์กลับเป็นจำเลย หรือจำเลยกลับเป็นโจทก์ ก็เป็นฟ้องซ้ำ



พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
ผบ.ร้อย ฝ่ายปกครอง ๑ (กองร้อยที่ ๔)

1 ความคิดเห็น: