วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่ดินมาจากนางสาคร เฮงสิ 2 แปลง คือ ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 1255 เนื้อที่ 4 ไร่ 92 ตารางวา และที่ดินพิพาทเนื้อที่ 1 งาน 50 ตารางวา ซึ่งอยู่ติดกันกับที่ดินแปลงแรกแต่มีลำห้วยสาธารณประโยชน์คั่นกลาง ต่อมาโจทก์ขอออกโฉนดที่ดินแปลงแรกเป็นโฉนดเลขที่ 12420 ส่วนที่ดินพิพาทนั้น เจ้าพนักงานรังวัดแจ้งว่า หากออกโฉนดที่ดินเป็นของโจทก์จะยุ่งยากเนื่องจากมีเหตุขัดข้องของวิธีการรังวัด จึงแนะนำให้ออกโฉนดที่ดินในนามของจำเลยซึ่งมีที่ดินอยู่ใกล้เคียงกันก่อนแล้วให้จำเลยโอนให้แก่โจทก์ต่อไป โจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นญาติกันจึงยินยอมเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทเป็นโฉนดเลขที่ 12999 โดยมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่จำเลยละเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ทั้งยังจดทะเบียนจำนองที่ดินไว้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรโดยโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 12999ตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และจดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่ดินมาจากนางสาคร เฮงสิ 2 แปลง คือ ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 1255 เนื้อที่ 4 ไร่ 92 ตารางวา และที่ดินพิพาทเนื้อที่ 1 งาน 50 ตารางวา ซึ่งอยู่ติดกันกับที่ดินแปลงแรกแต่มีลำห้วยสาธารณประโยชน์คั่นกลาง ต่อมาโจทก์ขอออกโฉนดที่ดินแปลงแรกเป็นโฉนดเลขที่ 12420 ส่วนที่ดินพิพาทนั้น เจ้าพนักงานรังวัดแจ้งว่า หากออกโฉนดที่ดินเป็นของโจทก์จะยุ่งยากเนื่องจากมีเหตุขัดข้องของวิธีการรังวัด จึงแนะนำให้ออกโฉนดที่ดินในนามของจำเลยซึ่งมีที่ดินอยู่ใกล้เคียงกันก่อนแล้วให้จำเลยโอนให้แก่โจทก์ต่อไป โจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นญาติกันจึงยินยอมเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทเป็นโฉนดเลขที่ 12999 โดยมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่จำเลยละเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ทั้งยังจดทะเบียนจำนองที่ดินไว้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรโดยโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 12999ตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และจดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย
จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยนางถม ธรรมนารักษ์ย่าของจำเลยยกให้ตั้งแต่ปี 2524 จำเลยได้ครอบครองก่อสร้างทำประโยชน์ตลอดมา สำรวจแบ่งออกเป็น 2 แปลง เนื่องจากมีลำห้วยสาธารณประโยชน์ตัดผ่าน และได้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยคือโฉนดเลขที่ 12999 โดยไม่มีผู้คัดค้านทั้งการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทก็ไม่มีผู้คัดค้านเช่นกัน ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 12999 ตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร หากไม่ไถ่ถอนให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น และให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 12999 ดังกล่าวคืนโจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนอง หากจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องหรือไม่ เห็นว่า การวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบด้วยมาตรา 247 โดยศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 12999 ตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร แทนโจทก์ ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพขณะที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 วรรคหนึ่ง แต่หลังจากจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์แล้ว จำเลยไปจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม ซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์ก็ได้บรรยายมาด้วยแล้ว ดังนี้จำเลยจึงต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์โดยการปลอดจำนองเช่นเดิมแต่การไถ่ถอนจำนอง จำเลยผู้จำนองจะต้องนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วน ที่ดินพิพาทจึงจะปลอดจำนอง หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามลำดับต่อไปได้ จึงเป็นกรณีสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น หาเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน


--ประเด็นคือ การที่ จะให้ลูกหนี้ไปไถ่จำนอง นั้น ต้องเป็นไปตามความสมัครใจของลูกหนี้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามจึงไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามลำดับต่อไปได้ จึงเป็นกรณีสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ศาลจึงต้องใช้ 213 ให้โจทก์เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองเองโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายได้

--การที่จะให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาได้นั้น ต้องเป็นหนี้ที่เป็นที่เป็นหนี้การนำนิติกรรม ซึ่งอาจเป็นการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ หรือ นิติกรรมอย่างอื่นที่ไม่ใช่เป็นการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เช่น การไถ่ถอนจำนอง เป็นต้น ถ้าไม่ใช่หนี้ดังกล่าว หรือเป็นหนี้อันเกิดจากมูลละเมิด ก็พิพากษาเช่นนั้นไม่ได้ , วัตถุแห่งหนี้ในการคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ไม่ใช่เป็นการบังคับให้กระทำนิติกรรม จึงพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาในกรณีที่จำเลยไม่ยอมคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4920/2547
ป.พ.พ. มาตรา 213, 1360, 1361
โจทก์ จำเลย และ ร. เป็นเจ้าของรวมในที่ดิน แต่ละคนย่อมมีสิทธิใช้สอยที่ดินดังกล่าวได้ แต่ต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายที่ดินดังกล่าวส่วนของตนก็ได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินไว้นำโฉนดที่ดินไปให้บุคคลอื่นยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ได้ ย่อมขัดต่อสิทธิของโจทก์ จำเลยมีหน้าที่ต้องดำเนินการนำโฉนดที่ดินคืนมาเพื่อส่งมอบแก่โจทก์ กรณีมิใช่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดิน ศาลจึงไม่อาจสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้


-การที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องซึ่งมาตรา 213 ให้ทางแก้โดยการบังคับโดยวิธีการอื่น ก็มุ่งหมายเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับผลตรงกับการชำระหนี้มากที่สุด หรือไม่ได้รับความเสียหายอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ กรณีใดจะถือว่าเป็นสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่อง ต้องคำนึงถึงเหตุผลดังกล่าวเป็นสำคัญ ดังนั้น กรณีจะเป็นเรื่องที่เจ้าหนี้ไม่อาจฟ้องร้องบังคับได้ เพราะลูกหนี้โอนทรัพย์สินที่จะขายไปให้บุคคลภายนอกแล้ว ก็ถือว่าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับได้เช่นกัน และจะบังคับด้วยวิธีอื่นก็ไม่ได้ ต้องเรียกให้ชดใช้ค่าเสียหายเท่านั้น

"การบังคับชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจง"
"การบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สิน"


























พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
ผบ.ร้อย ฝ่ายปกครอง ๑ (กองร้อยที่ ๔)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น