วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สถิติข้อสอบอัยการ-แพ่ง

สถิติข้อสอบอัยการ-แพ่ง
แพ่ง ปี 51 วันที่
ข้อ 7 หนี้ , การเพิกถอนการฉ้อฉล
ม.320 จะบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนหรือให้ชำระหนี้อย่างอื่นผิดไปจากที่ต้องชำระแก่เจ้าหนี้นั้น ไม่อาจบังคับได้
ม.204 การชำระหนี้ที่ปรากฏตามวันเวลาตามปฏิทิน ไม่พักต้องบอกกล่าว
ม.215
ม.213
ม.237 เพิกถอนการฉ้อฉล "เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้เพิกถอนเสียได้ ซึ่งนิติกรรมใดๆอันลูกหนี้ได้กระทำไปลงทั้งรู้อยู่่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ไม่ให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำ
นิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งได้ลาภงอกแต่การนั้น มิได้รู้เท่าถึงความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบด้วย
แต่หากเป็นการให้
_________________________________________
ข้อ 8 จ้างทำของ - อายุความทั่วไป อายุความเรื่องจ้างทำของ กรณีมีการชำรุดบกพร่อง
ม.598 ผู้ว่าจ้างยอมรับการที่ทำนั้นแล้วโดยไม่ได้อิดเอื้อนโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยาย ผู้รับจ้างก็ไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นเช่นจะไม่พึงพบได้ในขณะเมื่อรับมอบ หรือผู้รับจ้างได้ปิดบังความนั้นเสีย --- จ้างทำของ
ม.377 มัดจำ
ม.380 เบี้ยปรับ
ม.193/30 ไม่่มีกฏหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ
ม.601 ห้ามมิให้ฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏ
__________________________________________
ข้อ 9 ทรัพย์สิน
ม.1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันไม่ได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่ง บทกฏหมายโดยเฉพาะหรือพระราชกฤษฏีกา
ม.1306 ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
_________________________________________
ข้อ 10 ครอบครัว - มรดก บุตรบุญธรรม
ม.1598/25 ผู้จะรับบุตรบุญธรรมหรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสกัน .... การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม โดยปลอมลายมือชื่อของคู่สมรส ถือว่า คู่สมรสไม่ได้ให้ความยินยอม การจดทะเบียนสมรส ไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลตาม กม. ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ และสิทธิหน้าที่ตามกฏหมายระหว่าง ผู้รับบุตรบุญธรรม และ บุตรบุญธรรม
================================================================
แพ่ง วันที่ 11 ธันวาคม 2548
ข้อ 7 แปลงหนี้ , การโอนสิทธิจำนอง
ม.352 คู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่ อาจโอนสิทธิจำนำ หรือจำนอง ที่ได้ให้ไว้เป็นประกันหนี้เดิมเป็นประกันหนี้รายใหม่ได้ เพียงเท่าที่เป็นประกันวัตถุแห่งหนี้เดิม แต่หลักประกันเช่นนั้น ถ้าบุคคลภายนอกเป็นผู้ให้ไว้ไซร้ ท่านว่าจำต้องได้รับความยินยอมของบุคคลภายนอกจึงจะโอนได้
ม.714 อันสัญญาจำนองนั้น ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ...​ แต่การโอนสิทธิจำนองนั้น ไม่มีกฏหมายกำหนดแบบจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ม.305 เมื่อโอนสิทธิเรียกร้องพึงโอนกันได้ เว้นแต่สภาพแห่งสิทธินั้นไม่เปิดช่องฯ แต่ไม่ให้ใช้บังคับ หากคู่กรณีได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่น การแสดงเจตนาเช่นว่านี้่ไม่ให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คนนอกสุจริต
ม.349 เมื่อคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ท่านว่าหนี้ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป
ม.698 อันผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด ในขณะเมื่อหนี้ของลูกหนี้ได้ระงับไปไม่ว่าเพราะกรณีใดๆทั้งสิ้น (เมื่อคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ หนี้นั้นย่อมเป็นระงับส้ินไป)
_________________________________________
ข้อ 8 ชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามคำประสงค์แท้จริง , การบอกเลิกสัญญา , เบี้ยปรับ
ม.387 ถ้าคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้อีกฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด อีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาได้
ม.204 วรรคสอง -
ม.381 ถ้าลูกหนี้สัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร เช่น ไม่ชำระหนี้ให้ตรงเวลาที่กำหนดไว้ นอกจากเรียกให้ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นอีกด้วยก็ได้
ม.474 ในข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลา ๑ ปี นับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่อง
ม.193/30 เมื่อไม่มีกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะให้ใช้อายุความ ๑๐ ปี
__________________________________________
ข้อ 9 ครอบครัว-มรดก บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรอง สามีภริยา หน้าที่อุปการะเลี้ยงดู , ละเมิด-ค่าขาดไร้อุปการะ
ม.1629 ทายายโดยธรรมมี 6 ลำดับ ผู้สืบสันดาน , บิดามารดา , พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ,​ พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน , ปู่ ย่า ตา ยาย , ลุง ป้า น้า อา
ม.1649 ผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาทไม่ได้มอบหมายตั้งบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ
ม.443 ถ้าเหตุที่ตายลงทำให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ท่านว่าบุคคลนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ม.1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน
ม.420 จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายหรือแก่ชีวิต แก่ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ม.1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนไม่ได้
ม.1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว และบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ ..... แต่บิดาไม่มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วดังกล่าว
ม.426 นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
_________________________________________
ข้อ 10 มรดก , การสละมรดก สัญญามีลักษณะการแบ่งปันทรัพย์มรดก ,​ ผู้จัดการมรดก
ม.1612 การสละมรดก ต้องแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ม.1750 การแบ่งปันทรัพย์มรดก อาจทำได้โดยทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด หรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท ถ้าไม่ได้มีการแบ่งปันตามวรรคก่อน แต่ได้ทำโดยสัญญาจะฟ้องร้องให้บังคับคดีกันหาได้ไม่ เว้นแต่จะมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ในกรณีเช่นนี้ให้นำเอา ม.850 , 852 ว่าด้วยประนีประนอมมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ม.852 ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นเป็นของตน
ม.1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก
===============================================================
แพ่ง วันที่ 8 พฤษภาคม 2548
ข้อ 7 กู้ยืมเงิน อายุความสิทธิเรียกร้อง จำนอง บังคับจำนองกรณีหนี้ประธานขาดอายุความ
ม.653 การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ถ้าไม่ได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับไม่ได้
ม.193/33(2) สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้มีกำหนด 5 ปี เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ
ม.744(1) อันจำนองย่อมระงับสิ้นไป เมื่อหนี้ที่ประกันระงับสิ้นไปเพราะเหตุอายุความ
ม.745 ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปี ไม่ได้
ม.733 ถ้าเอาทรัพย์สินที่จำนองหลุด และราคาทรัพย์สินนั้นมีประมาณต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าที่จำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใด ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินนั้น
ม.713 ถ้าไม่ได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาจำนอง ผู้จำนองจะชำระหนี้ล้างจำนองเป็นงวดๆก็ได้
ม.320 จะบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน หรือให้รับชำระหนี้เป็นอย่างอื่นผิดไปจากที่ต้องชำระแก่ เจ้าหนี้นั้น ท่านว่าหาอาจจะบังคับได้ไม่
ม.193/27 ผู้รับจำนอง​ ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง หรือผู้ทรงบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้อันตนได้ยึดถือไว้ ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกิน 5 ปี ขึ้นไปไม่ได้
_______________________________________
ข้อ 8 การแปลงหนี้ , การแปลงหนี้จากมูลละเมิดเป็นสัญญาเช่าซื้อ
ม.349 เมื่อคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องได้ทำสัญญาเปลี่ยน สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ หนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่
ม.448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด ท่านว่า ขาดอายุความเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด
================================================================
แพ่ง พ.ศ.2546/2
ข้อ 7 ลาภมิควรได้ ,​ ผู้รับทรัพย์โดยสุจริตย่อมได้ดอกผล
ม.406 บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์ส่ิงใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบนั้น ท่านว่าบุคคลนั้นจำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา อนึ่งการรับสภาพหนี้ว่ามีอยู่หรือหาไม่นั้น ท่านก็ให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้ด้วย บทบัญญัติอันนี้ท่านให้ใช้บังคับตลอดจนถึงกรณีที่ได้ทรัพย์มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้วนั้นด้วย
ม.415 บุคคลผู้ได้รับทรัพย์สินโดยสุจริตย่อมจะได้ดอกผลอันเกิดแต่ทรัพย์สินนั้นตลอดเวลาที่ยังคงสุจริตอยู่
ม.416 เรื่องลาภมิควรได้ -- ค่าใช้จ่ายอันควรแก่การเพื่อรักษาบำรุงหรือซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น ท่านว่าต้องชดใช้แก่บุคคลผู้คืนทรัพย์นั้นเต็มจำนวน แต่บุคคลเช่นว่านี้จะเรียกร้องให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายตามธรรมดาเพื่อบำรุงทรัพย์สินนั้น หรือค่าภาระติดพันที่ต้องเสียไปในระหว่างที่ตนคงเก็บดอกผลอยู่นั้นหาได้ไม่
ข้อ 8
ม.1598/26 ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรส
ม.1627
ม.1452
ม.1532
ม.1533
ม.1625(1)
ข้อ 9
ม.
ม.
ม.
ข้อ 10






















พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
ผบ.ร้อย ฝ่ายปกครอง ๑ (กองร้อยที่ ๔)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น