วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วิแพ่งสบายสบาย

ทางเข้าเป็นอัยการ แต่ก่อนง่ายๆ ไม่คิดมาก รุ่นที่เป็นตำนาน คือ เล็กครั้งแรก รับ ๖๘ จาก ๒๕๐ ต่อด้วยสนามใหญ่ เรียกว่ารุ่นวัดดวง สอบ ๖๐๐ ได้ ๓๑๒ แบ่งอมรม หลังจากนั้นปิด ๓ ปี มารุ่น ๕๑ สอบ ๔,๕๐๐ ได้ ๓๗๔ ไปศาลเกือบร้อยท่าน
จากนั้นอัยการเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแล้ว ผลเรื่องจำกัดอัตราเข้ามา
เริ่มด้วย ๕๐ แต่รับจริง ๕๖ อ้างว่าคะแนนเท่ากัน ส่วน ๑๙๒ ที่เหลือไปฟ้องศาลปกครอง ๑ คน (ส่วนอีก ๑ คนไม่ไปสัมภาษณ์)
ซึ่งรับ ๕๐ ไม่มีกฎหมายรองรับ เขาจึงไปแก้พรบ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการว่า ให้มีอำนาจจำกัดอัตราได้ เลยประกาศมาที่ ๑๔๐ แต่จิ๋วรับ ๓๐ เรียกว่า เฉลี่ยกันไป
ข้อกังวลใจไม่รู้จริงหรือเท็จ คือ ข้อสอบรั่วหรือเปล่า ลูกผู้ใหญ่สอบได้ไหม แต่เรื่องพวกนี้มันเป็นข่าวลือ ถามใครก็ตอบว่าไม่รู้ คือ ได้ยินมาเท่านั้น ถ้าถามว่าจริงไหม เราต้องศรัทธาในองค์กร คือคิดว่าไม่จริง
ครั้งนี้อัยการไม่เรี่ยกว่าสู้กับตัวเองแล้ว แต่ต้องสู้กับคนอื่น การเข้ามา
คนที่เข้ามามี ๓ ทาง คือ เข้าสนามใหญ่ ก็ไปชายแดน
เข้ามาสนามเล็กก็อาจไปไหนไม่รู้ เข้ามาสนามจิ๋วไปอยู่ฝ่ายวิชาการ ไปต่างประเทศ เข้ามาหลายทาง แต่ความเฉิดฉาย ไม่เท่ากัน
เข้าทางสนามใหญ่ ก็นั่งดูสำนวนฟ้องให้ทันเวลา อย่าพิมพ์ผิดแล้วกัน ต้องตามพยานมาเบิกความที่ศาล แล้วว่าพยานว่า แล้วไง เล่าไปเรื่อยๆๆ พอสืบพยานจำเลยกลับบ้านเลย เมื่อพิพากษาแล้ว ต้องให้เด็กมาคัดคำพิพากษาเพื่ออุทธรณ์ ถ้าขาดก็แล้วไป
ว่าเรื่องจริงมากไม่ดี เขาข้อสอบดีกว่าเพราะเรามาแกะรอยข้อสอบ ส่วนน้ำท่วมช่างมัน เดี๋ยวมันก็ลด ถึงซื้อกระสอบทรายก็เอาไม่อยู่ แล้ว นวนครยังแตกเลย ไม่ต้องพูดเรื่องอื่น กรุงเทพคงไม่รอด
มาที่ข้อสอบวันสุดท้าย ข้อที่ ๗ ดีกว่า เป็นเรื่องกฎหมายขาดนัด
ขาดนัดมี ๒ แบบ คือ ขาดนัดยื่นคำให้การ และขาดนัดพิจารณา
ขาดนัดยื่นคำให้การอยู่ที่ ๑๙๗
การพิพากษาอยู่ ๑๙๘ ถึง ตรี
การขอพิจารณาคดีใหม่อยู่ ๑๙๙ ถึง ฉ
มันแบ่งเป็นแบบนี
ส่วนขาดนัดพิจารณา แบ่งเป็น
ความหมาย ๒๐๐
คู่ความ ๒๐๑
โจทก์ ๒๐๒ และมีผล ๒๐๓
จำเลย ๒๐๔ ไม่แน่ใจส่งใหม่ ๒๐๕
การตัดสิน ๒๐๖ วรรคหนึ่งและสอง
ขอพิจารณาใหม่ มาก่อนตัดสินก็ ๒๐๖ วรรคสามและสี่
หลังตัดสินก็ ๒๐๗
ข้อสอบของอัยการข้อนี้น่าสนใจทีเดียว เเพราะท้ายคำถามว่า ถ้าท่านเป็นพนักงานอัยการจะแถลงศาลอย่างไร
ข้อนี้สร้างข้อสอบว่า เป็นเรื่องชาวบ้านฟ้อง กทม.เป็นจำเลย
ที่เขาไม่ฟ้อง ลูกจ้างเป็ฯจำเลยเพราะเรื่องพรบ.ความรับผิดทางะละเมิดของเจ้าหน้าที่
เรื่องนี้ฟ้องศาลยุติธรรม เพราะเป็นละเมิดทางกายภาพไม่ใช่ศาลปกครอง
เรื่องอายุความ จำเลยต้องยกต่อสู้ แต่ศาลปกครอง ศาลยกได้เอง
เอาหละข้อสอบก็สร้างเรื่องขึ้นอีกว่า ลูกจ้างกทม.ขับรถชนและยอมเปรียบเทียบปรับแล้ว จึงมาฟ้องกทม.ในฐานะนายจ้างนั่นเอง
เรื่องนี้ดูปวิอ. ๔๖ ด้วย ว่าข้อเท็จจริงอาญาปิดคดีแพ่ง แต่มันไม่เข้าเพราะไม่ใช่คำพิพากษาของศาล

เขาสร้างคำถามว่า นัดวันพิจารณาทนายโจทก์ไม่มาศาล เป็นขาดนัดพิจารณา มาตราที่ใช้ คือ ๒๐๒
มาตรานี้ให้ ๒ ทาง คือ ให้จำหน่ายคดี กับสืบพยานต่อไป
ให้เราตอบว่า จะเอาทางใดดี
เอาสืบพยานต่อไป ถ้าเป็นในฐานะทนายจำเลย จะสืบอย่างไรในเมื่อลูกจ้างยอมเปรียบเทียบปรับต่อตำรวจแล้ว สืบไม่ออก สืบไม่ดี เผลอๆๆ มีเบิกความเท็จเข้าให้ด้วย อัยการเขามีกองคดีแพ่ง แต่คดีไม่มากแล้ว เพราะส่วนใหญ่เป็นคดีปกครองหมดแล้ว เหลือแต่ที่ตีความอย่างนี้แหละที่มาศาลยุติธรรม

มาอีกทาง คือ ให้จำหน่ายคดีไป อย่างนี้มาฟ้องใหม่ได้ ตรงนี้แนวฎีกาตามปวิอ.๔๔๘ วรรคหนึ่ง
โจทก์บอกน้อยไป ที่จริง ข้อหาที่เปรียบเทียบปรับ เป็นเรื่องพรบ.จรจาจรทางบก มาตรา ๔๓ กับ ๑๕๗ นั่แหละ มาตราเดียว ที่ใช้กัน
เอาหละ ถ้าฟ้องใหม่ มันขาดอายุความแน่ๆๆ เลย
จึงแถลงให้จำหน่ายคดี ดีกว่า

ข้อควรระวัง ควรอ่านโจทก์ดีๆๆ เพราะเราอ่านโจทก์ไม่ดี ไม่เช่นนั้น ก็ที่หนึ่งไปแล้ว ข้อนี้เป็นข้อที่วัดความเป็นอัยการ ส่วนศาลเขาไม่ถามแบบนี้
อย่างข้อสอบรุ่น ๖๐ เอาเรื่องขาดนัดมาตรา ๒๐๐, ๒๐๑ และ ๒๐๒ มาผสมกัน แล้วถามว่าศาลสั่งอย่างไร ชอบหรือไม่
ข้อสอบของศาลหักมุม ตรงส่วนฟ้องแย้ง ที่ให้ ๑๙๘ ทวิ วรรคท้าย คือ ถือว่าไม่มีพยานมาสืบ ให้ยกฟ้องเลย จะจำหน่ายไม่ได้ ตรงนี้ยากมากเลย ส่วนประเด็นอื่น ไม่ยากมีฎีกาชัดเจน ประเด็นนี้ กรรมการอ่านทันทีรู้เลยว่า ผู้สอบไปถึงข้อสอบหรือยัง แค่วางประเด็นนี้ไว้ ๓ คะแนนก็พอ แต่บอกถึงภาพรวมได้เลยว่า ผู้สอบชนะข้อสอบหรือยัง

วิธีการสร้างข้อสอบของอัยการ ตรงๆ ง่ายๆ กว่า
แต่ของศาลดูซับซ้อนกว่า
อย่างข้อ ๙ ที่เขียนไป จุดของข้อสอบที่มีปัญหา คือ โจทก์ไม่ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งในกำหนดเวลา ตรงนี้แหละจุดที่ทุกคนมองผ่าน
เพราะการที่โจท์ไม่ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง เท่ากับขาดนัดได้ตาม ๑๙๙ ฉ เมื่อขาดนัดแล้ว วันที่นัดสืบพยานเท่ากันเป็นการสืบของจำเลยในฐานะโจทก์ฟ้องแย้งตาม ๑๙๘ ทวิ วรรคท้าย เมื่อไม่มา จึงถือว่าคดีไม่มีมูล จึงยกฟ้องแย้ง จะจำหน่ายคดีไม่ได้

คือ ท่านสร้างโจทก์แบบว่า ฟ้องเดิมของโจทก์ใช้ ๒๐๑
ส่วนฟ้องแย้งของจำเลย เป็นเรื่องขาดนัดยื่นคำให้การ คือ ๑๙๘ ทวิ แยกส่วนกัน นี่ผ่านมา ๒ เดือน จึงเข้าใจ ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกเลยที่ให้เวลา ๒๔ นาที แล้วต้องตอบ มันจะตอบผิด ถ้าสมาธิไม่ดี และไม่เข้าใจตัวบทจริงๆ เสร็จครับ
ส่วนประเด็นอื่นข้อนี้ของศาล คือ จำหน่ายคดีฟ้องเดิมชอบตาม ๒๐๑ ส่วนฟ้องแย้ง ไม่ชอบเพราะฟ้องเดิมจำหน่ายไปแล้ว ยังมีฟ้องแย้งอยู่
ตรงว่าจำน่ายคดีฟ้องเดิมแล้ว ฟ้องแย้งมีอยู่ ตรงนี้เป็นฎีกา มีจุดสัก ๑ คะแนน ส่วนว่าเมื่อฟ้องแย้ง จำเลยในฐานะโจทก์ไม่มา เข้า ๑๙๘ ทวิ วรรคท้าย ดูแล้วมี ๓ คะแนน ส่วนประเด็นแรกว่า จำหน่ายตาม ๒๐๑ อย่างเก่งมี ๑ คะแนนเท่านั้นเอง
ส่วนประเด็นทีสอง คือ จำเลยมาศาลแต่โจทก์ไม่มา อันนีเข้า ๒๐๒ เมื่อเข้าแล้ว จำเลยบอกว่า ให้จำหน่ายไป ศาลก็จำหน่าย โจทก์รอ ๗ วันมาฟ้อง อันนี้เป็นฟ้องซ้อน ที่มันซ้อนเพราะจำเลยอุทธรณ์คำสั่ง จำหน่ายคดี
บางคนสงสัยว่า จำเลยอุทธรณ์ทำไม เรื่องนี้ต้องไปดู ปพพ. คือ มันเขียนว่า ถ้าจำหน่ายด้วยเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องแล้ว อายุความไม่สะดุด มันนับต่อ พอจะฟ้องคดีใหม่ พอดี อายุความขาด เรื่องนี้อยู่ในมาตรา ๑๙๓/๑๗ วรรคหนึ่ง

นี่แง่มุมมันอย่างนี้ ส่วนศาลไม่สนใจแง่มุมพวกนี้ ตอบไปก็ไม่มีคะแนน ส่วนอัยการ ชอบนักแล ดังนั้น ถ้าไม่ศึกษาสภาพของสนามแล้ว ก็อาจเจอสภาพ หญ้าในสนามหลอกตาได้ เหมือนเล่นกอล์ฟคิดว่าพัตต์ลงแต่ไม่ลง ลายหญ้ามันม้วนออก
เราก็เขียนไปเรื่อยๆๆ ว่างๆ ใครจะเชื่อก็ไม่ก็เป็นสิทธิเลย ถ้าเอาชนะเราได้ ก็คิดว่าสอบได้แน่เพราะเราไม่ค่อยแพ้ ถ้าแพ้ก็ถึงยกสุดท้ายทุกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น