วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ย่อตัวบทวิอาญา001

ป.วิอาญา

ภาค 1 ข้อความเบื้องต้น

ลักษณะ 1 หลักทั่วไป

ม.2(4)  ผสห. หมายถึง1. ผู้ได้รับความเสียหายจริงๆ 2. บุคคลตาม 4 5 6

ม.2(7) คำร้องทุกข์ หมายถึง1. ผสห.กล่าวหาต่อ จนท. ตาม ป.วิ.อ. ว่ามีผู้ทำผิด  2. รู้ตัวผู้ทำผิดหรือไม่ก็ตาม**3. การกล่าวหามีเจตนาให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ

ม.2(8)  คำกล่าวโทษ หมายถึง การกล่าวหาต่อ จนท. โดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ ผสห.

          ม.2(16)          พนง.ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หมายถึง

          ม.3     บุคคลตาม 4 5 6 มีอำนาจจัดการแทน ผสห. ดังนี้*(1) -ร้องทุกข์*(2) -เป็น จ.ฟ้องคดีอาญา/เข้าร่วมเป็น จ.กับ พงอ.(3) -เป็น จ.ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา*(4) -ถอนฟ้องคดีอาญา/ถอนฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับอาญา*(5) -ยอมความคดีส่วนตัว

          ม.4     วรรค 2-สามีฟ้องคดีอาญาแทนภริยาได้ เมื่อภริยาอนุญาตชัดแจ้ง 

*ข้อสังเกต        1. อยู่ในบังคับ 5(2)                    2. ภริยาฟ้องแทนสามีไม่ได้ แม้สามีอนุญาตชัดแจ้ง

                                                 3. การอนุญาตทำด้วยวาจาได้

ม.5     บุคคลต่อไปนี้ จัดการแทน ผสห.ได้

(1)      1. ผู้แทนโดยชอบธรรม (โดยชอบ)/ผู้อนุบาล

                             2. เฉพาะความผิดซึ่งทำต่อ ผู้เยาว์/ผู้ไร้ความสามารถ ที่อยู่ในความดูแล

(2)      1. ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน(ตามจริง) สามี ภริยา(โดยชอบ)

                             2. เฉพาะความผิดซึ่ง ผสห.ถูกทำร้ายถึง ตาย/บาดเจ็บ จนไม่สามารถจัดการเองได้

(3)      1. ผจก./ผู้แทน นิติบุคคล

                             2. เฉพาะความผิดซึ่ง ทำต่อนิติบุคคล

ม.6     วรรค 1  1. คดีอาญาซึ่ง ผสห.เป็น  ผู้เยาว์/ผู้วิกลจริต/คนไร้ความสามารถ  2. ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม (ผู้เยาว์)

                              3. ไม่มีผู้อนุบาล (ผู้วิกลจริต/คนไร้)4. ผู้แทนโดยชอบธรรม/ผู้อนุบาล ไม่สามารถทำการตามหน้าที่ได้

5. ผู้แทนโดยชอบธรรม/ผู้อนุบาล มีผลประโยชน์ขัดกัน        6. ญาติ/ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง

7. ร้องต่อศาลขอให้ตั้งเขาเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้*ข้อสังเกต  -ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะคดีได้ต่อเมื่อ ขณะมีคำสั่ง ผู้เยาว์/ผู้วิกลจริต/คนไร้ มีชีวิตอยู่

          ม.14    วรรค 1  1) ระหว่าง  สอบสวน/ไต่สวนมูลฟ้อง/พิจารณา 2. มีเหตุควรเชื่อว่า ผตห./จล. วิกลจริต + ไม่สามารถต่อสู้คดีได้3. ให้ พงส./ศาล สั่งให้แพทย์ตรวจ แล้วเรียกมาให้ถ้อยคำว่าได้ผลอย่างไร

                             วรรค 2 1) พงส./ศาล เห็นว่า ผตห./จล. วิกลจริต + ไม่สามารถต่อสู้คดีได้2. ให้งดการ  สอบสวน/ไต่สวนมูลฟ้อง/พิจารณา 3. จนกว่าจะ  หายวิกลจริต/สามารถต่อสู้คดีได้

ม.15    นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับกับ ป.วิ.อ. โดยอนุโลม

 

ลักษณะ 2 อำนาจพนักงานสอบสวนและศาล

หมวด 1 หลักทั่วไป

หมวด 2 อำนาจสืบสวนและสอบสวน

ม.18    วรรค 1 (ต่างจังหวัด)

-พงส. ต่อไปนี้ มีอำนาจสอบสวน

1. พงส. ท้องที่ซึ่งความผิด ได้เกิด/อ้างว่าได้เกิด/เชื่อว่าได้เกิด ในเขตอำนาจของตน

                             2. พงส. ท้องที่ซึ่ง ผตห.มีที่อยู่/ผตห.ถูกจับ ในเขตอำนาจของตน

                     วรรค 2 (กรุงเทพ)       -พงส. ที่มีอำนาจสอบสวน (ตาม ว.1)

                     วรรค 3

1. ความผิดอาญา ได้เกิด ในเขตอำนาจ พงส. คนใด

2. ปกติเป็นหน้าที่ พงส. ผู้นั้น เป็นผู้รับผิดชอบ

3. เว้นแต่  มีเหตุจำเป็น/เพื่อความสะดวก

4. ให้ พงส. ท้องที่ซึ่ง ผตห.มีที่อยู่/ผตห.ถูกจับ เป็นผู้รับผิดชอบ

*ข้อสังเกต  -ว.3 อยู่ในบังคับ 19 / 20 / 21

          ม.19    วรรค 1

-กรณีดังต่อไปนี้

(1) -ไม่แน่ว่าการทำผิดอาญา ได้ทำในท้องที่ใด ระหว่างหลายท้องที่

(2) -ความผิดส่วนหนึ่งทำในท้องที่หนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ทำอีกท้องที่หนึ่ง

(3) -ความผิดต่อเนื่องและทำต่อเนื่องกันเกินกว่าหนึ่งท้องที่

(4) -ความผิดหลายกรรม ทำลงในท้องที่ต่างๆ กัน

(5) -ความผิดเกิดขึ้นขณะ ผตห.กำลังเดินทาง

(6) -ความผิดเกิดขึ้นขณะ ผสห.กำลังเดินทาง

-พงส.ทุกท้องที่ที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวน

ข้อสังเกต  -ต้องมีการทำผิดในท้องที่นั้น  ท้องที่นั้นจึงจะเกี่ยวข้อง เช่น ทำผิด สน.บางซื่อ สน.บางรัก 

สน.บางชัน แต่ไม่ได้ทำผิดในท้องที่ สน.บางเสาธง  ดังนี้ เฉพาะ สน.บางซื่อ  สน.บางรัก  สน.บางชันเท่านั้นมีอำนาจสอบสวน เพราะเป็นท้องที่ที่เกี่ยวข้อง แต่ สน.บางเสาธงไม่มีอำนาจสอบสวน  เพราะไม่ใช่ท้องที่ที่เกี่ยวข้อง

                   วรรค 2

                   (ก) -จับ ผตห. ได้  พงส.ท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจ เป็นผู้รับผิดชอบ

                   (ข) -จับ ผตห. ไม่ได้ พงส.ท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจ เป็นผู้รับผิดชอบ

                   ข้อสังเกต  -ท้องที่  ที่จับได้/ที่พบการกระทำผิดก่อน ต้องเป็นท้องที่ที่มีอำนาจสอบสวนด้วย

 

ม.20    วรรค 1

                   วรรค 2

                             1. อสส./รกท. มอบหมายให้ พงส. คนใดเป็นผู้รับผิดชอบ

2. อสส./รกท. จะมอบหมายให้ พงอ. คนใด ร่วมสอบสวนกับ พงส. ก็ได้

                   วรรค 3

1. พงอ. ที่ได้รับมอบหมาย  ให้เป็น พงส. ผู้รับผิดชอบ/ให้ร่วมสอบสวนกับ พงส.

2. มีอำนาจสอบสวนเช่นเดียวกับ พงส. +

3. มีอำนาจหน้าที่อย่างอื่นตามที่ ก.ม.บัญญัติไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ พงอ.

           วรรค 4

1. กรณี พงอ. ร่วมสอบสวน กับ พงส.

2. พงส. ต้องปฏิบัติตาม คำสั่ง + คำแนะนำ ของ พงอ.

3. ในเรื่องเกี่ยวกับ การรวบรวมพยานหลักฐาน

                   วรรค 5

1. กรณีจำเป็น พงส. ต่อไปนี้มีอำนาจสอบสวน

2. ระหว่างรอคำสั่งจาก อสส./รกท.

                                       (1) -พงส. ท้องที่ซึ่ง ผตห.ถูกจับในเขตอำนาจ

                                       (2) -พงส. ท้องที่ซึ่ง รัฐบาลประเทศอื่น/บุคคลที่ได้รับความเสียหาย  ร้องให้ทำโทษ ผตห.

วรรค 6

1. เมื่อ พงอ./พงส. ผู้รับผิดชอบ เห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว

2. ให้ทำความเห็นตาม 140 141 142 ส่งพร้อมสำนวนไปยัง อสส./รกท.  

ม.21    วรรค 1

1. กรณีไม่แน่ว่า พงส. คนใด (ท้องที่ใด)  ในจังหวัดเดียวกัน ควรเป็น พงส. ผู้รับผิดชอบ

2. (ต่างจังหวัด) ให้ผู้ว่าฯ ชี้ขาด (กทม.) ให้ รอง ผบ.ตร. ขึ้นไปชี้ขาด

                             วรรค 2

1. กรณีไม่แน่ว่า พงส.  คนใด (ท้องที่ใด) ระหว่างหลายจังหวัด ควรเป็น พงส. ผู้รับผิดชอบ

2. ให้ อสส./รกท. ชี้ขาด

                   วรรค 3 - การรอคำชี้ขาด ไม่เป็นเหตุให้งดการสอบสวน

 

หมวด 3 อำนาจศาล

ม.22   วรรค 1 (หลัก) ความผิด เกิดขึ้น/อ้างว่าเกิดขึ้น/เชื่อว่าเกิดขึ้น ในเขตอำนาจศาลใด ให้ชำระคดีที่ศาลนั้น

แต่ถ้า (1) 1. จล. มีที่อยู่/ถูกจับ ในท้องที่หนึ่ง นอกเขตศาล /2. จพง. ทำการสอบสวนในท้องที่หนึ่ง นอกเขตศาล

3. จะชำระคดีที่ ศาลซึ่งท้องที่นั้นอยู่ในเขตอำนาจ  ก็ได้

*ข้อสังเกต        1. เช่น จล.ทำผิดที่ สุรินทร์  มีที่อยู่ อุบลฯ  ถูกจับ สระบุรี  พงส.นครราชสีมา สอบสวน

                                                 2. ชำระคดีได้ 4 ศาล คือ ศาล จว.สุรินทร์/อุบลฯ/สระบุรี/นครราชสีมา

                วรรค 2

-ความผิดเกิดขึ้นนอกราช ให้ชำระคดี

1. ที่ศาลอาญา /

2. ที่ศาลซึ่งการสอบสวนได้ทำลงในท้องที่เขตศาลใด

*ข้อสังเกต -เช่น  ทำการสอบสวนที่ บุรีรัมย์  ศาลที่มีอำนาจชำระคดี 1. ศาลอาญา 2. ศาลจังหวัดบุรีรัมย์

 

ลักษณะ 3 การฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา

หมวด 1 การฟ้องคดีอาญา

 

ม.28    ผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญา(1) -พงอ.   (2) -ผสห.

ม.29    วรรค 1

                             1. ผสห. ได้ยื่นฟ้อง แล้วตาย

                             2. ผู้บุพการี  ผู้สืบสันดาน (ตามจริง) สามี ภริยา (โดยชอบ) ดำเนินคดี ต่างผู้ตาย ได้

                             *ข้อสังเกต  -ผสห. ต้องเป็น ผสห.จริง ไม่ใช่ ผู้จัดการแทน

                             วรรค 2

1. ผสห.ที่ตายเป็น  ผู้เยาว์/ ผู้วิกลจริต/ ผู้ไร้ความสามารถ

2. ผู้แทนโดยชอบธรรม (โดยชอบ ผู้อนุบาล ผู้แทนเฉพาะคดี  ที่ยื่นฟ้องแทนแล้ว

3. ว่าคดีต่อไปได้

ม.30    (ผสห.ขอร่วมเป็น จ. กับ พงอ.)

1. คดีอาญา(แผ่นดิน+ส่วนตัว) ซึ่ง  พงอ. ยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว

2. ผสห. (จริง+ผู้จัดการแทน) ยื่นคำร้องขอร่วมเป็น จ. ได้

3. ต้องยื่นคำร้อง  ก่อน ศต. พิพากษา

ม.31    (พงอ. ขอร่วมเป็น จ. กับ ผสห.)

1. คดีอาญาแผ่นดิน ซึ่ง ผสห. ยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว

2. พงอ. ยื่นคำร้องขอร่วม เป็น จ. ได้

3. ต้องยื่นคำร้อง ก่อนคดีเสร็จเด็ดขาด  (ก่อน ศต.พิพากษา)

ม.32    1. พงอ. + ผสห. เป็น จ.ร่วมกัน

2. พงอ. เห็นว่า ผสห.จะทำให้คดีของ พงอ.เสียหาย

3. โดย กระทำ/ละเว้นการกระทำ ในกระบวนพิจารณา

4. พงอ. มีอำนาจร้องต่อศาลให้สั่ง ผสห. กระทำ/ละเว้นการกระทำ นั้นได้

 

ม.34    คำสั่งไม่ฟ้องคดีของ พงอ. ไม่ตัดสิทธิ ผสห. ฟ้องคดีเอง

ม.35    วรรค 1

1. คำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน

2. ต้องยื่น ก่อน ศต.พิพากษา

3. ศาล อนุญาต/ไม่อนุญาต ให้ถอนฟ้องได้ แล้วแต่เห็นสมควร

4. คำร้องขอถอนฟ้องยื่น ภายหลัง จล.ให้การแล้ว

5. ศาลต้องถาม จล.ก่อนว่าจะคัดค้านหรือไม่

6. ถ้า จล.คัดค้าน ศาลต้อง ยกคำร้อง ขอถอนฟ้อง

                   วรรค 2             

1. ความผิดต่อส่วนตัว

2. สามารถ ถอนฟ้อง/ยอมความ  ก่อนคดีถึงที่สุด

3. ถ้า จล.คัดค้านศาลต้อง ยกคำร้อง ขอถอนฟ้อง

ข้อสังเกต  -การถอนฟ้องคดีแพ่งกับคดีอาญาแตกต่างกันคือ  คดีแพ่ง (วิ.พ.175) แม้ จล.คัดค้าน ก็เป็นดุลพินิจ

ศาลจะอนุญาต/ไม่อนุญาตให้ถอนก็ได้  คดีอาญา (วิ.อ.35) ถ้า จล.คัดค้าน บังคับศาลต้องไม่อนุญาตให้ถอน คือ ยกคำร้อง

ม.36  (หลัก) -คดีอาญาซึ่งถอนฟ้องแล้ว ฟ้องอีกไม่ได้

เว้นแต่ (1) พงอ. ถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน ไม่ตัดสิทธิ ผสห.ฟ้องใหม่

                   (2) พงอ. ถอนฟ้องคดีส่วนตัว โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจาก ผสห. ไม่ตัดสิทธิ ผสห.ฟ้องใหม่

                   (3)      1. ผสห. ถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน ไม่ตัดสิทธิ พงอ. ฟ้องใหม่

                             2. ผสห. ถอนฟ้องคดีส่วนตัว  พงอ.ฟ้องใหม่ ไม่ได้

ข้อสังเกต  -คดีอาญา (หลัก) ถอนแล้ว ฟ้องใหม่ไม่ได้ แต่คดีแพ่ง(หลัก) ถอนแล้ว ฟ้องใหม่ได้ในอายุความ

ม.37    -คดีอาญาเลิกกัน

(1)      โทษปรับสถานเดียว  ผู้ทำผิดยอมเสียค่าปรับในอัตราสูงสุดแก่ พนง.จนท. ก่อนศาลพิจารณา

(2)      1. ลหุโทษ/โทษไม่สูงกว่าลหุโทษ/ปรับสถานเดียวไม่เกิน 10,000 บ./ความผิดต่อ ก.ม.ภาษีอากรปรับอย่างสูงไม่เกิน 10,000 บ.

                             2.ผตห.เสียค่าปรับตามที่ พงส.เปรียบเที่ยบ (ต่าง จว.)

(3)      1. ลหุโทษ/โทษไม่สูงกว่าลหุโทษ/ปรับสถานเดียวไม่เกิน 10,000 บ.

                             2. ผตห.เสียค่าปรับ ตามที่ตำรวจท้องที่  สว.ขึ้นไป/สัญญาบัตร ซึ่งทำการในตำแหน่งนั้น เปรียบเทียบ (กทม.)

          ม.38    1. ความผิดตาม 37(2)(3)(4)

                   2. จพง. เห็นว่า ผตห.ไม่ควรได้รับโทษถึงจำคุก มีอำนาจเปรียบเทียบ ดังนี้

                   (1)      1. กำหนดค่าปรับที่ ผตห.ต้องชำระ

                             2. ผตห.+ผสห.ยินยอมตาม 1.

                             3. ผตห.เสียค่าปรับในเวลาไม่เกิน 15 วัน

                             4. คดีเสร็จเด็ดขาด

                             5. ผตห.ไม่ยินยอม/ยินยอมแต่ไม่เสียค่าปรับในเวลา 15 วัน ต้องดำเนินคดีต่อไป

(2)      1. คดีมีค่าทดแทน

                             2. ผตห.+ผสห.ยินยอมให้เปรียบเทียบ

                             3. จทน.กะจำนวนตามที่เห็นควร/ตามที่คูความตกลงกัน

          ม.39  สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ

(1) -ผู้กระทำผิดตาย

(2) -ความผิดส่วนตัว ถอนคำร้องทุกข์/ถอนฟ้อง/ยอมความ ถูกต้องตาม ก.ม.

(3) -คดีเลิกกันตาม 37

(4) -มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง

(6) -คดีขาดอายุความ

(7) -มี ก.ม.ยกเว้นโทษ

(ข้อสังเกต  -(4) เพียง ศต.ตัดสิน ก็เสร็จเด็ดขาดแล้ว)

 

หมวด 2 การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา

ม.43    1. คดี ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอก รับของโจร (9)

2. ผสห. มีสิทธิเรียกร้อง ทรัพย์สิน/ราคา ที่เสียไปเนื่องจากการทำผิด

3. เมื่อ พงอ. ฟ้องต้องเรียก ทรัพย์สิน/ราคา แทน ผสห.ด้วย

 

ม.44    วรรค 1           1. การเรียก ทรัพย์สิน/ราคา ตาม 43

                             2. พงอ.ขอรวมกับคดีอาญา /

                             3. พงอ.ยื่นคำร้องต่างหากระหว่างคดีอาญา กำลังพิจารณาใน ศต.

                             วรรค 2           1. คำพิพากษาในส่วนเรียก ทรัพย์สิน/ราคา

                             2. ต้องรวมเป็นส่วนหนึ่งในคำพิพากษาคดีอาญา

ม.44/1  วรรค 1          1. คดีที่ พงอ.เป็น จ.

2. ผสห.มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน

                                      2.1 เนื่องจากได้รับอันตรายแก่ ชีวิต ร่างกาย จิตใจ

                                      2.2 เนื่องจากได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพใน ร่างกาย ชื่อเสียง

                                      2.3 เนื่องจากได้รับความเสียหายในทรัพย์สิน

3. จากการกระทำผิดของ จล.

4. ผสห.สามารถยื่นคำร้องต่อ ศาลที่พิจารณาคดีอาญา

5. ให้บังคับ จล.ชดใช้ค่าสินไหมทดแก่ตน

                                                วรรค 2

1. ผสห.ต้องยื่นคำร้อง ก่อนเริ่มสืบพยาน

2. ถ้าไม่มีการสืบพยาน ต้องยื่นคำร้อง ก่อนศาลชี้ขาด

3. คำร้องดังกล่าวถือเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. + ผสห.อยู่ในฐานะ จ. ในคดีส่วนแพ่ง

4. คำร้องต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับ ความเสียหาย + จำนวนค่าสินไหมทดแทน ที่เรียกร้อง

5. หากศาลเห็นว่า คำร้องขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจสั่งให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องให้ชัดเจน

                             วรรค 3

1. คำร้องตาม ว.1

2. จะมีคำขออื่น ที่มิใช่คำขอให้ จล.ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องมาจากการทำผิดอาญาของ จล.ไม่ได้

3. คำร้องต้องไม่ ขัด/แย้ง กับฟ้องของ พงอ.

4. ถ้า พงอ.ดำเนินการตาม 43 แล้ว ผสห.จะยื่นคำร้องตาม ว.1 เพื่อเรียก ทรัพย์สิน/ราคาทรัพย์สิน อีกไม่ได้

ม.44/2           1. ความปรากฏต่อศาลว่าผู้ร้องตาม 44/1 เป็นคนยากจนไม่สามารถหาทนายได้เอง

                   2. ศาลมีอำนาจตั้งทนายให้

ม.46    1. การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง

                   2. ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

ม.47    วรรค 1           1. คำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ต้องเป็นไปตาม ก.ม. ว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง

                             2. โดยไม่ต้องคำนึงว่า จล.ต้องคำพิพากษาว่า กระทำผิดอาญาหรือไม่   (อาญายกฟ้อง แพ่งรับผิดได้)

                   วรรค 2

1. ราคาทรัพย์สินที่ จล. ต้องใช้แก่ ผสห.

2. ศาลต้องกำหนดตาม ราคาที่แท้จริง  (ขณะกระทำผิด)

3. จำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนอย่างอื่น ที่ ผสห. จะได้รับ

4. ศาลต้องกำหนดตาม ความเสียหายแต่ไม่เกินคำขอ

ม.49    1. แม้ไม่มีฟ้องคดีส่วนแพ่ง

2. เมื่อพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาลสั่งให้ คืนทรัพย์สินของกลาง แก่เจ้าของได้

ม.186(9)

-คำพิพากษา/คำสั่งศาล ต้องมีคำวินิจฉัยของศาลในเรื่อง ของกลาง

(ข้อสังเกต  เวลาปรับบทเกี่ยวกับของกลาง  ให้ปรับ ม.49+186(9))

 

ลักษณะ 4 หมายเรียกและหมายอาญา

หมวด 1 หมายเรียก

ม.52  วรรค 2

1. พงส./พนง.ฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่

2. ไปสอบสวนด้วยตนเอง

3. มีอำนาจเรียก ผตห./พยาน มาได้โดยไม่ต้องออกหมายเรียก

ม.55    การส่งหมายเรียก ผตห.ต้องส่งให้

1. ผตห.

2. สามี/ภริยา ผตห. (โดยชอบ)

3. ญาติ ผตห.

4. ผู้ปกครอง ผตห.

ม.55/1  วรรค 1          1. คดีที่ พงอ.เป็น จ.

2. หากปรากฏว่า

                                      2.1 พยาน จ. มีเหตุขัดข้องไม่อาจมาศาลได้ /

                                      2.2 เกรงว่าจะเป็นการยากที่จะนำพยาน จ. มาสืบตามที่ศาลนัด

3. ให้ พงอ. ขอให้ศาลสืบพยานไว้ล่วงหน้าตาม 173/2 ว.2

ม.173/2  วรรค 2

1. กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

2. ศาลเห็นสมควร/คู่ความฝ่ายใดร้องขอ

3. ศาลจะสั่งให้สืบพยาน เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดี ไว้ล่วงหน้า

4. ก่อนวันนัดสืบพยาน 

 

หมวด 2 หมายอาญา

ส่วนที่ 1 หลักทั่วไป

ม.59    วรรค 1                     1. ศาลออก หมายจับ/หมายค้น

2. ตามที่ ศาลเห็นสมควร(ออกเอง)/มีผู้ร้องขอ

                             วรรค 2                     -พนง.ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เป็นผู้ร้อง

1. พนง.ฝ่ายปกครอง ตั้งแต่ ระดับ 3/เทียบเท่า

2. ตำรวจ ตั้งแต่ ร.ต.ต./เทียบเท่า

                    วรรค 3           1. กรณีจำเป็นเร่งด่วน

2. มีเหตุอันควรที่ผู้ร้องไม่อาจไปพบศาลได้

3. ผู้ร้องอาจร้องขอต่อศาลให้ออก หมายจับ/หมายค้นทาง  โทรศัพท์/โทรสาร/สื่ออิเล็กทรอนิกส์/สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น

4. เมื่อศาลถามจนปรากฏว่ามีเหตุออก หมายจับ/หมายค้น ตาม 59/1

5. ให้ ออกหมาย+ส่งสำเนาหมาย ไปยังผู้ร้อง

                   วรรค 4                     1. เมื่อออกหมายแล้ว

2. ศาลต้องให้ผู้เกี่ยวข้องกับการขอหมายมาพบเพื่อสาบานโดยไม่ชักช้า

3. ถ้าปรากฏต่อศาลภายหลังว่า ออกหมายฝ่าฝืนต่อ ก.ม.

4. ศาลอาจสั่งให้ เพิกถอน/แก้ไขเปลี่ยนแปลง

5. ศาลอาจสั่งให้ผู้ร้องขอ จัดการแก้ไขเพื่อเยียวยาความเสียหายแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรได้

ม.59/1  วรรค 1          1. ก่อนออกหมาย

2. ต้องปรากฏพยานหลักฐานตามสมควร

3. ที่ทำให้ศาลเชื่อว่ามีเหตุที่จะออกหมาย ตาม 66 69 71

 

ส่วนที่ 2 หมายจับ

ม.65    1. ผู้ถูกจับ ตามหมาย หลบหนี/มีผู้ช่วยให้หลบหนี

2. จพง.จับได้โดยไม่ต้องมีหมายอีก

ม.66  วรรค 1

เหตุออกหมายจับ

          (1)      1. มีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลน่าจะทำผิดอาญา+

                             2. อัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี

ข้อสังเกต  -เหตุตาม (1) พงส.ร้องขอให้ออกหมายจับได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกก่อน

(2)      1. มีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลน่าจะทำผิดอาญา+

                             2. มีเหตุควรเชื่อว่า

                                       2.1 จะหลบหนี

                                       2.2 จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน      

                                       2.3 จะก่อเหตุอันตรายประการอื่น

                   วรรค 2

1. บุคคล ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง/ไม่มาตามหมายเรียก/ไม่มาตามนัด

2. โดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร

3. ให้สันนิษฐานว่าจะหลบหนี

ข้อสังเกต         1. การปรับบทว่ามีเหตุออกหมายต้องปรับ 59/1+66

                                                2. เหตุออกหมาย บางเรื่องปรับเฉพาะ 66(1)  แต่บางเรื่องปรับทั้ง 66(1)(2)

 

ลักษณะ 5 จับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อยชั่วคราว

หมวด 1 จับ ขัง จำคุก

ม.77    วรรค 1 -หมายจับใช้ได้ทั่วราช

                             วรรค 2 -การจัดการตามหมายจับ

1. จัดการตามเอกสาร (หมายจริง) /

2. จัดการตามหลักฐานดังนี้         (1) สำเนาหมายที่รับรองว่าถูกต้อง

                                                                    (2) โทรเลขแจ้งว่าได้ออกหมายแล้ว

                                                                    (3) สำเนาหมายที่ส่งตามข้อบังคับ ป.ศฎ. ทาง

                                                                                        1. โทรสาร

                                                                                        2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์

                                                                                        3. สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น

ม.78

1. พนง.ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ จับโดยไม่มี หมายจับ/คำสั่งศาล ไม่ได้

2. เว้นแต่ *****(1) -บุคคลทำผิดซึ่งหน้าตาม 80

                   **(2)    1. พบบุคคลมีพฤติการณ์อันควรสงสัย

                             2. จะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่ บุคคล/ทรัพย์สินผู้อื่น

                             3. โดยมี เครื่องมือ/อาวุธ/วัตถุอย่างอื่น ที่สามารถใช้ในการทำผิด

                   **(3)    1. มีเหตุออกหมายจับตาม 66(2)

                             2. แต่มีความจำเป็นเร่งด่วน ที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับได้

                   **(4)    1. จับ ผตห./จล. ที่ หนี/จะหลบหนี

                             2. ระหว่างถูกปล่อยชัวคราวตาม 117

ม.117

1. ผตห./จล. ที่ปล่อยชั่วคราว หนี/จะหลบหนี

2. พนง.ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ที่พบมีอำนาจจับได้  [ไม่ต้องมีหมายตาม 78(4)+117)]

3. กรณี บุคคลซึ่งทำสัญญาประกัน/บุคคลซึ่งเป็นหลักประกัน พบ

4. ต้องขอให้ พนง.ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ใกล้สุดจับ

5. ถ้าไม่สามารถขอได้ทันท่วงที

6. มีอำนาจจับได้เอง แล้วส่งไปยัง พนง.ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ใกล้สุด

ม.79    ราษฎรจับผู้อื่นไม่ได้ เว้นแต่

1. จับตาม 82

*2. ความผิดซึ่งหน้า+ระบุไว้ในบัญชีท้าย

ม.82    1. จพง.ผู้จัดการตามหมายจับ

2. ขอความช่วยเหลือบุคคลใกล้เคียง(ราษฎร) เพื่อจัดการตามหมายได้

3. แต่จะบังคับให้ช่วยโดยอาจเกิดอันตรายแก่เขาไม่ได้

ม.80    วรรค 1

-ความผิดซึ่งหน้า ได้แก่

1. เห็นกำลังกระทำ (เห็นต่อหน้าจริงๆ ไม่ใช่เห็นทางจอทีวี)

2. พบในอาการใด ซึ่งแทบไม่สงสัยเลยว่าได้กระทำผิดมาแล้วสดๆ

                   วรรค 2

-ความผิดซึ่งหน้าที่ระบุในบัญชีท้าย ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้าดังนี้

(1)      1. บุคคลถูกไล่จับ ดังผู้ทำผิด

                             2. โดยมีเสียงร้องเอะอะ

(2)      1. พบบุคคล แทบทันทีทันใด หลังทำผิด

                             2. ในถิ่นใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ+

                             3. มี

                                                3.1 สิ่งของได้มาจากการทำผิด

                                                3.2 เครื่องมือ อาวุธ วัตถุอย่างอื่น ที่สันนิษฐานได้ว่าใช้ในการทำผิด

                                                3.3 ร่องรอยพิรุษเห็นประจักษ์ ที่เสื้อผ้า/เนื้อตัว

ม.81

1. ไม่ว่า จะมีหมายจับหรือไม่ ห้ามจับในที่รโหฐาน

2. เว้นแต่ทำตาม ป.วิ.อ. ว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน

ข้อสังเกต  การจับที่รโหฐานต้องปรับบท 81 ด้วยเสมอ เช่น 81+92(5)

 

ม.83    วรรค 1

1. ในการจับ จพง./ราษฎร ซึ่งทำการจับ

2. ต้องแจ้งผู้จะถูกจับว่าเขาต้องถูกจับ

3. แล้วสั่งผู้ถูกจับไปยังที่ทำการ พงส.ท้องที่ที่ถูกจับ พร้อมด้วยผู้จับ

4. เว้นแต่สามารถนำไปที่ทำการ พงส. ผู้รับผิดชอบ ได้ในขณะนั้น

5. แต่ถ้าจำเป็นให้จับตัวไป

                   วรรค 2

-กรณี จพง.เป็นผู้จับ

*1. ต้อง แจ้งข้อกล่าวหา(ข้อหา) ให้ผู้ถูกจับทราบ

2. ถ้ามีหมายจับ ต้องแสดง ต่อผู้ถูกจับ

3. ต้องแจ้งผู้ถูกจับว่า

                                                 3.1 มีสิทธิจะไม่ให้การ/ให้การก็ได้

                                                3.2 ถ้อยคำของผู้ถูกจับอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้

                                                3.3. ผู้ถูกจับมีสิทธิพบและปรึกษา ทนาย/ผู้จะเป็นทนาย

                                                3.4 ถ้าผู้ถูกจับประสงค์แจ้งให้ญาติ/ผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุม

      ให้ จพง.อนุญาตให้ผู้ถูกจับดำเนินการตามสมควรแก่กรณี

                                                3.5 จพง.ผู้จับ ต้องบันทึกการจับไว้ด้วย (บันทึกจับกุม)

                             วรรค 3

1. บุคคลซึ่งจะถูกจับ

2. ขัดขวาง/จะขัดขวาง การจับ

3. หลบหนี/พยายาม จะหลบหนี

4. ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้ วิธี/การป้องกัน ทั้งหลาย เท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์

    แห่งเรื่องในการจับ

ม.84    วรรค 1

1. จพง./ราษฏร ผู้จับ

2. ต้องนำผู้ถูกจับไปยังที่ทำการ พงส. ตาม 83 ทันที

3. เมื่อถึงแล้วให้ส่งผู้ถูกจับแก่ พนง.ฝ่ายปกครองหรือตำรวจของที่ทำการ พงส. เพื่อดำเนินการดังนี้

                   (1)      1. กรณี จพง.จับ

                                      2. ต้องแจ้งข้อกล่าวหา(ข้อหา) + รายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับ ให้ผู้ถูกจับทราบ

                                      3. ถ้ามีหมายจับต้องแจ้งให้ผู้ถูกจับทราบ+อ่านให้ฟัง

                                      4. มอบสำเนาบันทึกการจับ (บันทึกจับกุม) ให้ผู้ถูกจับทุกคน

                   วรรค 4

1. ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อ จพง.ผู้จับ/พนง.ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ

2. ในชั้นจับกุม/ในชั้นรับมอบตัวผู้ถูกจับ

3. ถ้าเป็นคำรับสารภาพว่าตนกระทำผิด

4. ห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐาน

5. ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ต่อเมื่อ

                             5.1 ได้มีการแจ้งสิทธิตาม ว.1

                             5.2 ได้มีการแจ้งสิทธิตาม 83 ว.2

          ม.85    วรรค 1

1. จพง.  ผู้จับ/ผู้รับมอบตัวผู้ถูกจับ

2. มีอำนาจค้นตัว ผตห.+ยึดสิ่งของต่างๆ ที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้

                   วรรค 2

1. การค้นต้องทำโดย สุภาพ

2. ถ้าคนผู้หญิง ต้องให้หญิงอื่นค้น

ม.86    -ห้ามใช้วิธีควบคุมผู้ถูกจับเกินกว่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้เขาหนีเท่านั้น

ม.87    วรรค1  -ห้ามควบคุมผู้ถูกจับไว้ เกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี

ม.90    ว.1      1. มีการอ้างว่าบุคคลถูกคุมขัง ในคดีอาญา/ในกรณีอื่นใด

2. โดยมิชอบด้วย ก.ม. บุคคลต่อไปนี้ (1) ผู้ถูกขังเอง (2) พงอ.(3) พงส. (4) ผบ.เรือนจำ/พัศดี

(5) สามี ภริยา (โดยชอบ) ญาติ บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกคุมขัง มีสิทธิยื่นคำร้องต่อ ศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา

                   ว.2      1. เมื่อได้รับคำร้อง         2. ศาลต้องไต่สวนฝ่ายเดียวโดยด่วน

3. หากเห็นว่าคำร้องมีมูล ให้สั่งผู้คุมขังนำผู้ถูกคุมขังมาศาลโดยพลัน

4. ถ้าผู้คุมขังแสดงไม่ได้ว่าการคุมขังชอบด้วย ก.ม.    5. ศาลต้องปล่อยผู้ถูกคุมขังทันที

 

หมวด 2 ค้น

ม.92    วรรค 1

1. ห้ามค้นที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้น

2. เว้นแต่ พนง.ฝ่ายปกครองหรือตำรวจค้น กรณีดังนี้

**(1)    1. มีเสียงร้องให้ช่วยจากในที่รโหฐาน

                                                          2. มี เสียง/พฤติการณ์อื่นใด แสดงว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐาน

**(2) -เมื่อความผิดซึ่งหน้าทำลงในที่รโหฐาน

**(3) -บุคคลทำผิดซึ่งหน้าขณะถูกไล่จับ

                                                1. หนีเข้าไปซ่อนตัวในที่รโหฐาน/

                                                2. มีเหตุแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าเข้าไปซ่อนตัวในที่รโหฐาน

*(4)     1. มีพยานหลักฐานตามสมควรว่า

2. ว่ามีสิ่งของ   ที่มีไว้เป็นความผิด/ได้มาโดยการทำผิด/ได้ใช้ในการทำผิด/มีไว้เพื่อใช้ในการทำผิด/ที่อาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การทำผิด +

                                                3. มีเหตุอันควรเชื่อว่า

                                                4. หากเนินช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้

                                                5. สิ่งของนั้นจะถูก โยกย้าย/ทำลายก่อน

***(5)   1. ที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน+

                                                2. การจับ มีหมายจับ/จับตาม 78

          ม.93  -ห้ามค้นบุคคลในสาธารณสถาน เว้นแต่1. พนง.ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ค้น  2. มีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลมีสิ่งของในครอบครอง / เพื่อจะใช้ทำผิด / ได้มาโดยการทำผิด / มีไว้เป็นความผิด

          ม.94    วรรค 1-พนง.ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ สั่งเจ้าของ/คนอยู่ในนั้น/ผู้รักษาสถานที่ ให้ยอมให้ค้น

                             วรรค 2           1. ถ้าบุคคลตาม ว.1 ไม่ยอม        2. มีอำนาจใช้กำลังเพื่อเข้าไป

3. กรณีจำเป็น จะปิด/ทำลาย ประตูบ้าน.../สิ่งกีดขวางอย่างอื่นทำนองเดียวกันได้

 

ม.96    1. การค้นที่รโหฐาน       2. ต้องทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น+ตก

3. ยกเว้น         (1) ลงมือค้นกลางวัน ถ้ายังไม่เสร็จค้นต่อกลางคืนได้

                                      (2) กรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง/มี ก.ม.อื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ  ค้นกลางคืนได้

                                      (3) ค้นเพื่อจับผู้ดุร้าย/ผู้ร้ายสำคัญ ทำกลางคืนได้  แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล

ม.97    1. ค้นโดยมีหมาย 2. พนง.ฝ่ายปกครองระดับ 3/ตำรวจ ร.ต.ต.ขึ้นไป เป็นหัวหน้า

ม.98    1. ค้นที่รโหฐาน  2. ค้นได้เฉพาะเพื่อ หาคน/สิ่งของ ที่ต้องการเท่านั้น

3.ยกเว้น          (2)      1. จพง.ซึ่งทำการค้น

                                                2. มีอำนาจจับบุคคล/สิ่งของอื่น

                                                          2.1 ในที่ค้น ได้ เมื่อหมาย (จับ) อีกต่างหาก

                                                          2.2 ในกรณีความผิดซึ่งหน้า

*ข้อสังเกต  -หากมีการค้นในที่รโหฐาน แล้วมีการจับบุคคลในที่รโหฐานนั้น ต้องปรับบท 98 ด้วย

ม.100  วรรค 2  / 1. มีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลเอา สิ่งของที่ต้องการพบ ซุกซ่อนในร่างกาย / 2. จพง.มีอำนาจค้นตาม 85

 

หมวด 3 ปล่อยชั่วคราว

*ม.119 ทวิ      วรรค 1

1. ศาลสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว

2. ผู้ร้องขอมีสิทธิยื่นคำร้อง อุทธรณ์ คำสั่งนั้น

                                      (1) คำสั่ง ศต. อุทธรณ์ไปยัง ศธ.

                                      (2) คำสั่ง ศธ. อุทธรณ์ไปยัง ศฎ.

                             วรรค 2 1. คำสั่ง ศธ.ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ยืน ตาม ศต.

2. เป็นที่สุด

3. แต่ไม่ตัดสิทธิยื่นคำร้องให้ปล่อยชั่วคราวใหม่

 

   ภาค 2 สอบสวน

ลักษณะ 1 หลักทั่วไป

ม.120  1. ห้าม พงอ. ฟ้องคดีต่อศาล        2. โดยไม่มีการสอบสวนก่อน (การสอบสวนไม่ชอบ ถือว่าไม่มีการสอบสวน)

ม.121            วรรค 2

1. ความผิดต่อส่วนตัว

2. ห้าม พงส. ทำการสอบสวน

3. เว้นแต่ มีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ

          ม.123  วรรค 1 -ผสห. ร้องทุกข์ต่อ พงส. ได้

                   วรรค 3 -คำร้องทุกข์ ทำเป็นหนังสือก็ได้/ร้องด้วยปากก็ได้

ม.124            วรรค 1   1. ผสห.อาจร้องทุกข์ต่อ พนง.ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ   2. ตำแหน่งหน้าที่ รอง/เหนือ พงส.

  3. มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยตาม ก.ม.

                   วรรค 2  -เมื่อมีหนังสือร้องทุกข์ รีบส่งไปยัง พงส.

                   วรรค 3  -เมื่อร้องทุกข์ด้วยปาก รีบให้ ผสห.ไปพบ พงส.

ม.124/1         1. นำ 133 ทวิ ว.1 ว.2 ว.3 มาใช้โดยอนุโลม         2. กับการจดบันทึกคำร้องทุกข์

3. คดีที่ ผสห.เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี (18 ปีในวันร้องทุกข์)

4. เว้นแต่ มีเหตุจำเป็นไม่อาจหา/รอ

                                      4.1 นักจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์

                                      4.2 บุคคลที่เด็กร้องขอ

                                      4.3 พงอ. +

5. เด็กไม่ประสงค์ให้มี/รอ บุคคลดังกล่าว

6. ให้ผู้รับคำร้องทุกข์ตาม 123 124 บันทึกเหตุดังกล่าวในบันทึกคำร้องทุกข์ด้วย

*ข้อสังเกต  -การร้องทุกข์ไม่ชอบตาม 124/1 ถือว่าไม่มีคำร้องทุกข์ ส่วนตัว ไม่มีอำนาจสอบสวน

ม.126  วรรค 1 -ผู้ร้องทุกข์ ถอนคำร้องทุกข์เมื่อใดก็ได้ (ความผิดส่วนตัว ถอนได้ก่อนคดีถึงที่สุด)

                   วรรค 2 1. คดีอาญาแผ่นดิน (**ระวัง ป.วิ.อ.ใช้คำว่า คดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว)

2. การถอนคำร้องทุกข์

3. ไม่ตัดอำนาจ พงส./พงอ.

4. ที่จะ สอบสวน/ฟ้องคดี

ม.128 -พงส. มีอำนาจให้ จพง.อื่น ทำการแทน ดังนี้

(1)      1. การใดในการสอบสวน

                             2. อยู่นอกเขตอำนาจของตน

                             3. มีอำนาจส่งประเด็นให้  พงส.ที่มีอำนาจทำการนั้น  จัดการได้  (เช่น ให้สอบสวนแทน  ต้องส่งให้ พงส.ท้องที่ที่มีอำนาจสอบสวนด้วย )

(2)      1. การใดเป็นสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวน

                             2. อยู่ในเขตอำนาจของตน

                             3. ไม่ว่า ทำเอง/จัดการตามประเด็น

                             4. มีอำนาจสั่งผู้ใต้บังคับบัญชาทำแทน

                             5. แต่ ป.วิ.อ./ก.ม.อื่น ต้องไม่เจาะจงให้ทำโดยตนเอง

ม.129  1. ถ้าชันสูตรพลิกศพยังไม่เสร็จ 

2. ห้ามฟ้อง ผตห.ต่อศาล  (เกี่ยวกับอำนาจฟ้องของ พงอ.)

*ข้อสังเกต  -ถ้าไม่ได้ชัน ไม่ห้าม

 

ลักษณะ 2 การสอบสวน

หมวด 1 การสอบสวนสามัญ

 

ม.130  1. ให้เริ่มสอบสวนโดยไม่ชักช้า      2. สอบสวนที่ใด เวลาใด แล้วแต่จะเห็นสมควร 3. ผตห.ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วย

ม.131  1. พงส. ต้องรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถทำได้

2. เพื่อพิสูจน์ให้เห็นความผิด/ความบริสุทธิ์ของ ผตห.

**ข้อสังเกต  -หาก พงส. ไม่รวบรวมพยานที่สามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของ ผตห. การสอบสวนไม่ชอบ

ม.131/1  วรรค 2

1. ความผิดอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี

2. การตรวจพิสูจน์ บุคคล/วัตถุ/เอกสารใดๆ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

3. จำเป็นต้องตรวจเก็บตัวอย่างเลือด...จากร่างกาย ผตห./ผสห./บุคคลที่เกี่ยวข้อง

4. พงส. ผู้รับผิดชอบมีอำนาจให้แพทย์/ผู้เชี่ยวชาญตรวจ

5. ถ้า

                             5.1 ผตห./ผสห. ไม่ยินยอมโดยไม่มีเหตุอันควร /

                             5.2 ผตห./ผสห. ทำการป้องปัดขัดขวางมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันควร

6. ให้สันนิษฐานว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามผลการตรวจพิสูจน์ ที่หากตรวจแล้วจะเป็นผลเสียต่อ ผตห./ผสห.

*ข้อสังเกต  -น่าออกในเรื่องพยานมากกว่า

ม.133 ทวิ       วรรค 1

1. ความผิดเกี่ยวกับเพศ/ชีวิตและร่างกาย/เสรีภาพ/กรรโชก/ชิงทรัพย์/ปล้นทรัพย์/คดีที่มีโทษจำคุก ซึ่ง
    ผสห./พยาน ที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน
18 ปี ร้องขอ

2. การถามปากคำ ผสห./พยาน ที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี  (ไม่เกิน 18 ในวันถามปากคำ)

3. ให้ทำเป็นส่วนสัดในที่เหมาะสมสำหรับเด็ก

4. ให้มีบุคคลต่อไปนี้รวมอยู่ด้วยในการถามปากคำ

                                      4.1 นักจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์

                                      4.2 บุคคลที่เด็กร้องขอ

                                       4.3 พงอ.

                             วรรค 2           -พงส. ต้องแจ้งสิทธิตาม ว.1 ให้เด็กทราบ

                                      วรรค 4           -พงส. ต้องจัดให้มีการบันทึกภาพ+เสียง

                             วรรค 5           1. กรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง

2. ไม่อาจรอนักจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์...

3. พงส. ถามปากคำเด็กโดยมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ร่วมก็ได้

4. ไม่ถือว่าการถามปากคำตาม 1 ไม่ชอบด้วย ก.ม.

*ม.133 ตรี       วรรค 1

1. ผสห./พยาน เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ชี้ตัวบุคคล

2. ต้อง  2.1 จัดให้ชี้ตัวในสถานที่เหมาะสมสำหรับเด็ก

                                      2.2 ไม่ให้ผู้ถูกชี้เห็นเด็ก +

3. มีบุคคลต่อไปนี้รวมอยู่ด้วย

                                      3.1 นักจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์

                                      3.2 บุคคลที่เด็กร้องขอ

                                      3.3 พงอ.

4. เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่อาจหา/รอ บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้+เด็กไม่ประสงค์จะให้มี/รอ

*ม.134  วรรค 1         1. ผตห. ถูกเรียก/ถูกส่งตัวมา/เข้าหา พงส. เอง/ปรากฏว่าผู้มาอยู่ต่อหน้า พงส. เป็น ผตห.

2. ให้ พงส. แจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่า ผตห. ได้กระทำผิด +

3. แจ้งข้อหาให้ทราบ

                     วรรค 2                   1. การแจ้งข้อหาตาม ว.1  /   2. ต้องมีหลักฐานตามสมควร ว่าน่าจะได้ทำผิดตามข้อหานั้น

                   วรรค 4           1. พงส. ต้องให้โอกาส ผตห.  /  2. แก้ข้อหา+แสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตน

                             วรรค 5           1. เมื่อแจ้งข้อกล่าวหา (ข้อหา) แล้ว

2. ผตห.ไม่ใช่ผู้ถูกจับ+ยังไม่มีการออกหมายจับ

3.พงส. เห็นว่ามีเหตุจะออกหมายขังตาม 71

4. พงส. มีอำนาจสั่ง ให้ ผตห.ไปศาลเพื่อขอออกหมายขังทันที

5. ขณะนั้น เป็นเวลาที่ศาลปิด/ใกล้ปิดทำการ

6. ให้สั่ง ผตห. ไปศาลในโอกาสแรกที่เปิดทำการ

**7. ผตห.ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล

                                                7.1 พงส. มีอำนาจจับ ผตห.ได้

                                                7.2 โดยถือว่า เป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วน ที่จะจับ ผตห.ได้โดยไม่มีหมายจับ

8. พงส. มีอำนาจปล่อยชั่วคราว/ควบคุม ผตห.ไว้

ม.134/1  วรรค 1

1. คดี   1.1 ที่มีโทษประหารชีวิต

                                      1.2 ที่ ผตห. มีอายุไม่เกิน 18 ปี ในวันที่ พงส. แจ้งข้อหา

2. ก่อนเริ่มถามคำให้การ

3. พงส. ต้องถาม ผตห. ว่ามีทนายหรือไม่

4. ถ้าไม่มี (บังคับ) ต้องหาทนายให้

                             วรรค 2

1. คดีที่มีโทษจำคุก

2. ก่อนเริ่มถามคำให้การ

3. พงส. ต้องถาม ผตห. ว่ามีทนายหรือไม่

4. ถ้าไม่มี + ผตห. ต้องการทนาย ต้องหาทนายให้

                             วรรค 4

1. กรณีจำเป็นเร่งด่วน

2. ทนายไม่อาจมาพบ ผตห. ได้ โดย

                                      2.1 ไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ พงส. ทราบ

                                      2.2 แจ้งแต่ไม่มาพบ ผตห. ภายในเวลาอันควร

3. พงส. สอบสวน ผตห.ได้โดยไม่ต้องรอทนาย

4. ต้องบันทึกเหตุไว้ในสำนวนด้วย

ม.134/2         -นำ 133 ทวิ มาใช้กับการสอบสวน ผตห. ซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี  (18 ในวันที่ พงส. แจ้งข้อหา)

ม.134/4  วรรค ท้าย

1. ถ้อยคำใดๆ ที่ ผตห. ให้ไว้ต่อ พงส.

2. ก่อนแจ้งสิทธิตาม ว.1 /

3. ก่อนดำเนินการตาม 134/1 134/2 134/3

4. รับฟังเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้

ม.135 1. การถามคำให้การ ผตห.

2. ห้าม พงส. ทำ/จัดให้ทำการใดๆ ซึ่งเป็นการ

                             2.1 ให้คำมั่นสัญญา

                             2.2 ขู่เข็ญ

                             2.3  หลอกลวง

                             2.4 ทรมาน

                             2.5 ใช้กำลังบังคับ

                             2.6 กระทำโดยมิชอบประการใด

3. เพื่อจูงใจให้ ผตห. ให้การ

*ข้อสังเกต  ฝ่าฝืน 135 เฉพาะคำให้การ ผตห.เท่านั้นที่เสีย ไม่ทำใหการสอบสวนเสีย

ม.140(2)        1. พงส. ผู้รับผิดชอบ เห็นว่าการสอบสวนเสร็จ

2. ถ้ารู้ตัวผู้ทำผิดให้จัดการตาม 141-144

ม.141            วรรค 1 (พงส.)

1. รู้ตัว  แต่เรียก/จับตัวไม่ได้

2. พงส. ทำความเห็น ควรสั่งฟ้อง/ควรสั่งไม่ฟ้อง ส่งไปยัง พงอ.

                             วรรค 2 (พงอ.)   1. พงอ. เห็นว่าควรสั่งไม่ฟ้อง       2. ให้ยุติการสอบสวน โดยสั่งไม่ฟ้อง

                   วรรค 3 (พงอ.)   1. พงอ. เห็นว่าควรสอบสวนต่อไป  2. ให้สั่ง พงส. สอบสวนต่อไป

                   **วรรค 4 (พงอ.) 1. พงอ. เห็นว่าควรสั่งฟ้อง 2. ให้จัดการให้ได้ ผตห.มา

3. ผตห.อยู่ต่างประเทศ ให้ พงอ. จัดการขอให้ส่งตัวข้ามแดน

ม.142  วรรค 1   (พงส.)

1. รู้ตัว+ผตห. ถูกควบคุม/ถูกขังอยู่/ถูกปล่อยชั่วคราว/เชื่อว่าคงได้ตัวมาเมื่อออกหมายเรียก

2. พงส. ทำความเห็น ควรสั่งฟ้อง/ควรสั่งไม่ฟ้อง ส่งไปยัง พงอ.

                   วรรค 2   (พงส.)

1. กรณีทำความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง

2. ส่งเฉพาะความเห็น+สำนวน ไปยัง พงอ.

3. ส่วน ผตห. พงส. มีอำนาจปล่อย/ปล่อยชั่วคราว

                   **วรรค 3  (พงส.)

1. กรณีทำความเห็นควรสั่งฟ้อง

2. พงส. ต้องส่งสำนวน+ผตห.ไปยัง พงอ.

3. เว้น ผตห.ถูกขังอยู่

                   วรรค 4  (พงส.)

1. ความผิดซึ่ง พงส. เปรียบเทียบได้

2. ผตห.ปฏิบัติตามเปรียบเทียบเทียบแล้ว

3. ส่งบันทึกการเปรียบเทียบ+สำนวนไปให้ พงอ.

ม.143            วรรค 1  (พงอ.)

-เมื่อ พงอ.ได้รับความเห็น+สำนวนจาก พงส.แล้ว

(1)      1. ถ้าเห็นว่าควรสั่งไม่ฟ้อง  ให้ออกคำสั่งไม่ฟ้อง

                                       2. ถ้าไม่เห็นด้วยให้สั่งฟ้อง+แจ้ง พงส.ให้ส่ง ผตห.มาฟ้อง

(2)      1. เห็นควรสั่งฟ้อง ให้ออกคำสั่งฟ้อง+ฟ้อง ผตห.ต่อศาล

                                       2. ถ้าไม่เห็นด้วย  ให้สั่งไม่ฟ้อง

                   วรรค 2(ก)  (พงอ.)

-ตาม ว.1 พงอ. มีอำนาจให้ พงส.สอบสวนเพิ่มเติม/ส่งพยานมาให้ซักถาม เพื่อออกคำสั่ง

วรรค 3  (พงอ.)

-คดีฆาตกรรม ซึ่ง

1. ผู้ตายถูก จพง.ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ฆ่าตาย  (เจตนาฆ่า ไม่ใช่ ฆ่าโดยไม่เจตนา /ฆ่าโดยประมาท)

2. ผู้ตาย ตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของ จพง. ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ (ตายอย่างใดก็ได้)

3. อสส./รกท. เท่านั้น มีอำนาจออกคำสั่งฟ้อง/ไม่ฟ้อง

ม.144  1. พงอ.มีคำสั่งฟ้อง   (พงอ.ต้องออกคำสั่งฟ้องก่อน จึงจะมีอำนาจให้ พงส. ทำตาม (1)(2) ได้)

2. เป็นความผิดที่เปรียบเทียบได้

3. พงอ.มีอำนาจ

                             (1) สั่ง พงส. พยายามเปรียบเทียบแทนการส่ง ผตห.ไปยัง พงอ.

                             (2)      1. ผตห.ถูกส่งมายัง พงอ. แล้ว

                    2. สั่งให้ส่ง ผตห.+สำนวน กลับไปยัง พงส. ให้พยายามเปรียบเทียบ / เห็นสมควร สั่งให้

    พงส.อื่น ที่มีอำนาจจัดการ เปรียบเทียบให้ได้

ม.145  วรรค 1

1. กรณีสั่งไม่ฟ้อง+ไม่ใช่คำสั่งของ อสส.

2. ใน กทม. ส่งสำนวน+คำสั่ง ไปยัง ผบ.ตร./รอง ผบ.ตร./ผู้ช่วย ผบ.ตร.

3. ในต่าง จว. ส่งสำนวน+คำสั่งไปยัง ผู้ว่า

                   วรรค 2

1. ผบ.ตร./รอง ผบ.ตร./ผู้ช่วย ผบ.ตร. ใน กทม. / ผู้ว่า ในต่าง จว.

2. แย้งคำสั่ง พงอ.

3. ส่งสำนวน+ความเห็นแย้งไปยัง อสส.เพื่อชี้ขาด

4. คดีจะขาดอายุความ/มีเหตุอื่นจำเป็นจะต้องรับฟ้อง

5. ให้ฟ้องตามความเห็น ผบ.ตร./รอง ผบ.ตร./ผู้ช่วย ผบ.ตร./ผู้ว่า ไปก่อน

วรรค 3

1. ม.145 ใช้บังคับในการที่ พงอ.

2. อ./ฎ./ถอนฟ้อง/ถอน อ./ถอน ฎ. โดยอนุโลม

ม.147

1. มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้ว

2. ห้ามสอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันอีก

3. เว้นแต่

                             3.1 จะได้พยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดี

                             3.2 ซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษ ผตห.ได้

 

         หมวด 2 การชันสูตรพลิกศพ

 

ม.155/1  วรรค 1

1. การสอบสวนกรณีความตายเกิดขึ้น

                                      1.1 โดยการกระทำของ จพง. ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่

                                       1.2 ตายระหว่างอยู่ในความควบคุมของ จพง. ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่

                                      1.3 ผู้ตายถูกกล่าวหาว่าต่อสู้ขัดขวาง จพง. ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่

2. พงส. ต้องแจ้ง พงอ. เข้าร่วมทำสำนวนสอบสวน

                  วรรค 2

1. การทำสำนวนสอบสวนตาม ว.1

2. ให้ พงส. เป็นผู้รับผิดชอบ โดย พงอ.

                                      2.1 ให้คำแนะนำ

                                      2.2 ตรวจสอบพยานหลักฐาน

                                      2.3 ถามปากคำ

                                      2.4 สั่งให้ถามปากคำบุคคลที่เกี่ยวข้อง

3. ตั้งแต่เริ่มทำสำนวนสอบสวน นับแต่โอกาสแรกเท่าที่พึงทำได้

                   วรรค 3

1. กรณีจำเป็นเร่งด่วน+ไม่อาจรอ พงอ.เข้าร่วมทำสำนวนสอบสวน

2. พงส.ทำสำนวนต่อไปได้ แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจรอ พงอ.ในสำนวน

3. ถือว่าเป็นการทำสำนวนที่ชอบด้วย ก.ม.

 

ภาค 3 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น

ลักษณะ 1 ฟ้องคดีอาญาและไต่สวนมูลฟ้อง

ม.158  วรรค 1

-ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ + มี

(5)      1. การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า จล.ได้กระทำผิด  (องค์ประกอบความผิด)

                             2. ข้อเท็จจริง+รายละเอียด เกี่ยวกับ

                                      2.1 เวลาซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ   (เวลาเกิดเหตุ)

                                      2.2 สถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ (สถานที่เกิดเหตุ)

                             3. บุคคล/สิ่งของที่เกี่ยวข้อง

                             4. พอสมควรเท่าที่จะให้ จล.เข้าใจข้อหาได้ดี

                             5. คดีหมิ่นประมาท

                                      5.1 ถ้อยคำพูด

                                      5.2 หนังสือ

                                      5.3 ภาพขีดเขียน

                                      5.4 สิ่งอื่นอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท

                                      5.5 ต้องกล่าวไว้โดยบริบูรณ์ในฟ้อง/ติดมาท้ายฟ้อง

(6) -อ้างมาตรา ซึ่งบัญญัติเป็นความผิด

(7) -ลายมือชื่อ จ./ผู้เรียง/ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง

ม.159  วรรค 1

1. จล. เคยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษ

2. จ. ต้องการให้เพิ่มโทษ จล. ฐานไม่เข็ดหลาบ

3. ต้องกล่าวในฟ้อง

                   วรรค 2

1. จ. ไม่ได้ขอเพิ่มโทษมาในฟ้อง

2. จ. ต้องยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมโทษ

3. ศาลเห็นสมควรอนุญาตได้

ม.161  วรรค 1

1. ฟ้อง ไม่ถูกต้องตาม ก.ม.

2. ศาลต้องสั่ง จ. แก้ฟ้องให้ถูกต้อง/ยกฟ้อง/ไม่ประทับฟ้อง

วรรค 2

-จ. อุทธรณ์คำสั่งศาลตาม ว.1 ได้

ม.162  วรรค 1

-ฟ้องถูกต้องตาม ก.ม. แล้วให้สั่ง ดังนี้

(1)      1. ราษฎรเป็น จ.

                             2. ต้องไต่สวนมูลฟ้อง (บังคับต้องไต่สวนเสมอ)

                             3. แต่ถ้าคดีนั้น พงอ. ได้ฟ้อง จล. ในข้อหาเดียวกัน

                             4. ให้จัดการตาม (2)   (ไต่สวนหรือไม่ก็ได้ เป็นดุลพินิจ)

(2)      1. พงอ. เป็น จ.

                             2. ไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง (ไต่สวนหรือไม่ก็ได้ เป็นดุลพินิจ)

                   วรรค 2      

1. กรณีไต่สวนมูลฟ้อง

2. ถ้า จล.รับสารภาพ

3. ศาลต้องประทับฟ้องไว้พิจารณา  (ศาลจะยกฟ้องทันทีไม่ได้)

ม.163            วรรค 1

1. มีเหตุอันควร

2. จ.มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาล ขอแก้/เพิ่มเติม ฟ้อง

3. ก่อน ศต.พิพากษา

4. หากเห็นสมควร ศาลจะอนุญาต/สั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อนได้

                             วรรค 2

1. มีเหตุอันควร

2. จล.มีอำนาจยื่นคำร้อง ขอแก้/เพิ่มเติม คำให้การ

3. ก่อน ศต. พิพากษา

4. หากเห็นสมควร ศาลอนุญาตได้

ม.164  1. คำร้องขอแก้/เพิ่มเติม ฟ้อง

2. ถ้าทำให้ จล.เสียเปรียบ ในการต่อสู้คดี

3. ศาลต้องไม่อนุญาต

4. แต่   4.1 การแก้ฐานความผิด/รายละเอียด ซึ่งต้องแถลงในฟ้อง

                             4.2 การเพิ่มเติมฐานความผิด/รายละเอียด ซึ่งมิได้กล่าวในฟ้อง

5. ไม่ว่าจะทำระยะใดระหว่างพิจารณาของ ศต.

6. ไม่ถือว่าทำให้ จล.เสียเปรียบ เว้นแต่ จล.หลงต่อสู้

*ข้อสังเกต  -การแก้/เพิ่มเติม ตาม 4. ถ้า จล. หลงต่อสู้ ถือว่าทำให้ จล.เสียเปรียบ  ศาลต้องไม่อนุญาต

ม.165            วรรค 1 1. คดีที่ พงอ.เป็น จ.

2. วันไต่สวนมูลฟ้อง

3. จล.ต้องมาศาล

4. เมื่อศาลเชื่อว่าเป็น จล. จริง

5. ให้อ่าน+อธิบาย ฟ้องให้ฟัง + ถามว่าทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไร

                             วรรค 2 1. จล. ไม่มีอำนาจนำพยานมาสืบ ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง

2. แต่ไม่ตัดสิทธิที่ จล. จะมีทนายช่วย

วรรค 3 1. คดีราษฎรเป็น จ.

2. ศาลมีอำนาจไต่สวนมูลฟ้อง ลับหลัง จล.

3. จล. จะมาฟังการไต่สวนมูลฟ้อง โดยตั้งทนายซักค้านพยาน จ./

4. จล. จะไม่มาฟังการไต่สวนมูลฟ้อง แต่ตั้งทนายมาซักค้านพยาน จ. ก็ได้

5. ห้ามศาลถามคำให้การ จล.

6. ก่อนศาลประทับฟ้อง มิให้ถือว่า จล. อยู่ในฐานะ จล.

*ข้อสังเกต   1. ศาลสั่งประทับฟ้อง  คำสั่งศาลเด็ดขาด

                                                2. ศาลสั่งไม่ประทับฟ้อง/ยกฟ้อง เฉพาะ จ. เท่านั้นที่อุทธรณ์ได้  จล. ยังไม่เป็น จล. จึงไม่ใช่คู่ความ ไม่มีสิทธิ อุทธรณ์

ม.166  วรรค 1 1. จ.ไม่มาตามกำหนดนัด 

2. ศาลต้องยกฟ้อง

3. แต่ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้

4. จะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้

                   วรรค 2 1. ศาลยกฟ้องตาม ว.1

2. จ. มาร้องศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันยกฟ้อง

3. แสดงให้ศาลเห็นว่า มีเหตุสมควร จึงมาไม่ได้

4. ศาลต้องยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่

วรรค 3 1. ศาลยกฟ้องตาม ว.1

2. ฟ้อง จล. เรื่องเดียวกันอีกไม่ได้

3. แต่ถ้าศาลยกฟ้องคดีที่ราษฎรเท่านั้นเป็น จ.

                                      3.1 อาญาแผ่นดิน  พงอ. ฟ้องอีกได้

                                      3.2 ส่วนตัว พงอ. ฟ้องอีกไม่ได้

*ข้อสังเกต  1. การขาดนัดคดีอาญา ไม่มาศาลนัดใดนัดหนึ่ง ถือว่าขาดนัดแล้ว

                                                2. การขาดนัดคดีแพ่ง เฉพาะไม่มาศาลในวันสืบพยานจริงวันแรกเท่านั้นที่ถือว่าขาดนัด

                                      3. การขาดนัดไต่สวนมูลฟ้อง 166

                                                4. การขาดนัดพิจารณา  166+181

ม.167  1. คดีมีมูล  ศาลประทับฟ้องเฉพาะกระทงมีมูล       2. คดีไม่มีมูล ต้องพิพากษายกฟ้อง

ม.170  1. คำสั่งคดีมีมูลย่อมเด็ดขาด                  2. คำสั่งคดีไม่มีมูล  จ. อุทธรณ์/ฎีกา ได้ ตามลักษณะอุทธรณ์/ฎีกา

*ข้อสังเกต        1. ราษฎรเป็น จ. ศาลสั่งคดีไม่มีมูล  จ.อุทธรณ์/ฎีกา ได้  แต่ จล.ไม่ได้ เพราะยังไม่มีฐานะเป็น จล.

                             2. พงอ. เป็น จ. หากมีการไต่สวนมูลฟ้อง ศาลสั่งว่าคดีไม่มีมูล  จล. อุทธรณ์/ฎีกา ได้ เพราะเมื่อ พงอ. มีคำสั่งฟ้อง ผตห.จะมีฐานะเป็น จล. แล้ว

                             3. ราษฎรเป็น จ. ศต.สั่งว่าคดีไม่มีมูล จ. อุทธรณ์ ศธ. สั่งว่าคดีมีมูลให้ ศต.ประทับฟ้องไว้พิจารณา จล. มีฐานะเป็น จล. แล้ว แต่ จล. ฎีกาโต้แย้งคำสั่ง ของ ศธ.ไม่ได้ เพราะ 170 คำสั่งคดีมีมูล เด็ดขาด

 

ลักษณะ 2 การพิจารณา

ม.172  วรรค 1

1. การพิจารณา+สืบพยาน ในศาล

2. ต้องทำโดย เปิดเผย+ต่อหน้า จล.

3. เว้นแต่ ก.ม.บัญญัติเป็นอยางอื่น

วรรค 2

1. จ./ทนาย จ. + จล. อยู่ต่อหน้าศาล+ศาลเชื่อว่าเป็น จล.จริง

2. ให้ อ่าน+อธิบาย ฟ้องให้ฟัง+ถามว่าทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไร  (ตรงนี้คือคำว่า เริ่มพิจารณา)

ม.172 ทวิ  วรรค 1

1. ศาลดำเนินการตาม 172 ว.2 แล้ว (อ่าน+อธิบายฟ้อง..)

2. มีอำนาจ พิจารณา+สืบพยาน ลับหลัง จล.ดังนี้

(1)      1. คดีโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี  มีโทษปรับหรือไม่ก็ตาม/คดีโทษปรับสถานเดียว

                                      2. จล. มีทนาย+ได้รับอนุญาตจากศาล ไม่มาฟังการพิจารณา+สืบพยาน

                              (2)     1. คดี จล. หลายคน 

                                      2. ศาลพอใจตามคำแถลงของ จ. ว่า

                                      3. การพิจารณา+สืบพยาน ไม่เกี่ยวกับ จล.คนใด

                                      4. ศาลพิจารณา+สืบพยาน ลับหลัง จล.คนนั้นได้

                             (3)      1. คดี จล.หลายคน  

                                      2. ศาลเห็นสมควร พิจารณา+สืบพยาน จล. คนหนึ่ง ลับหลัง จล. คนอื่นได้  (เป็นดุลพินิจศาล)

วรรค 2           1. ไม่ว่ากรณีใดตาม (2)(3)

2. ห้ามรับฟังการพิจารณา+สืบพยาน ที่ทำลับหลัง

3. เป็นผลเสียหายแก่ จล. (จล.ที่ไม่อยู่)

ม.172  ตรี  วรรค 1

1. การสืบพยานเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี

2. ต้องจัดให้อยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก +

                             2.1 ศาลถามพยานเอง/ถามผ่านนักจิตหรือนักสังคม

                             2.2 คู่ความต้อง ถาม ถามค้าน ถามติง ผ่านนักจิตหรือนักสังคม

                   วรรค 2 -การเบิกความตาม ว.1 ต้องถ่ายทอด ภาพ+เสียง ไปห้องพิจารณา

วรรค 3           1. ก่อนสืบพยานตาม ว.1

2. ถ้า

                                      2.1 ศาลเห็นสมควร

                                      2.2 พยานเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ร้องขอโดยมีเหตุผลสมควร

                                      2.3 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอโดยมีเหตุผลสมควร

3. เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าจะเป็นผลร้ายแก่เด็กถ้าไม่อนุญาตตามที่ร้องขอ

4. ศาลต้องจัดให้ถ่ายทอด ภาพ+เสียง

                                      4.1 คำให้การ ผสห./พยาน เด็กอายุไม่เกิน 18 ปี

                                      4.2 ที่บันทึกในชั้นสอบสวนตาม 133 ทวิ/ชั้นไต่สวนมูลฟ้องตาม 171 ว.2

                                      4.3 ต่อหน้าคู่ความ

5. ให้ถือว่าสื่อ ภาพ+เสียง คำให้การพยานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำเบิกความพยานนั้นในชั้นพิจารณา

6. คู่ความ ถามพยานเพิ่มเติม ถามค้าน ถามติง ได้ เท่าที่จำเป็น

                   วรรค 4 1. ไม่ได้ตัวพยานมาเบิกความตาม ว.1

2. เพราะมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่ง

3. ให้ศาลรับฟังสื่อ ภาพ+เสียง

                                      3.1 คำให้การพยานชั้นสอบสวนตาม 133 ทวิ

                                      3.2 คำให้การพยานชั้นไต่สวนมูลฟ้องตาม 171 ว.2

4. เสมือนเป็นคำเบิกความของพยานชั้นพิจารณา

5. ศาลรับฟังประกอบพยานอื่นในการพิจารณาพิพากษาได้ 

*ข้อสังเกต  ตาม ว.4 รับฟังประกอบได้เท่านั้น แต่รับฟังลงโทษเลยไม่ได้

ม.172 จัตวา     1. นำ 172 ตรี อนุโลมใช้กับการสืบพยานนอกศาล   2. คดีที่พยานเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี

ม.173            วรรค 1 1. คดีโทษประหารชีวิต/คดี จล.อายุไม่เกิน 18 ปี ในวันถูกฟ้อง

2. ก่อนเริ่มพิจารณา  (ก่อน อ่าน+อธิบายฟ้อง...172 ว.2)

3. ศาลต้องถาม จล. ว่ามีทนายหรือไม่

4. ถ้าไม่มีศาลต้องตั้งให้ (แม้ จล.ไม่ต้องการก็บังคับศาลต้องตั้งให้)

                      วรรค 2

1. คดีโทษจำคุก

2. ก่อนเริ่มพิจารณา  (ก่อน อ่าน+อธิบายฟ้อง...172 ว.2)

3. ศาลต้องถาม จล.ว่ามีทนายหรือไม่

4. ถ้า ไม่มี+จล.ต้องการ ศาลต้องตั้งให้  (จล.ไม่ต้องการ ศาลไม่ต้องตั้งให้)

ม.173/1         วรรค 1

1. คดีที่ จล.ไม่ให้การ/ให้การปฏิเสธ           (ถ้า จล.รับสารภาพ ไม่เข้า)

2. คู่ความฝ่ายใดร้องขอ/ศาลเห็นสมควร

3. ศาลอาจให้มี วันตรวจพยานหลักฐาน  ก่อนกำหนดวันสืบพยาน

4. แจ้งให้คู่ความทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 14 วัน (เช่น วันตรวจคือ 15 ม.ค. ต้องแจ้งอย่างช้าสุดวันที่

                                      วรรค 2

1. ก่อนวันตรวจพยานหลักฐานตาม ว.1 ไม่น้อยกว่า 7 วัน

2. คู่ความต้องยื่นบัญชีระบุพยาน พร้อม สำเนา ที่เพียงพอให้คู่ความฝ่ายอื่นรับไปจาก จพง.ศาล

3. คู่ความฝ่ายใดจะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม

4. ต้องยื่น ก่อนการตรวจพยานหลักฐานเสร็จสิ้น

                                      วรรค 3

1. การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อพ้นเวลาตาม ว.2

2. ทำได้เมื่อ ได้รับอนุญาตจากศาล

                                      2.1 เมื่อผู้ร้องแสดงเหตุอันควรว่า ไม่สามารถทราบถึงพยานหลักฐานนั้น

                                      2.2 เมื่อเป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

                                      2.3 เพื่อให้โอกาส จล.ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่

วรรค 4

1. พยานเอกสาร/พยานวัตถุ

2. อยู่ในความครอบครองบุคคลภายนอก

3. คู่ความที่ต้องการอ้าง

4. ต้องขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมาจากผู้ครอบครอง

5. โดยยื่นคำขอต่อศาล พร้อม การยื่นบัญชีระบุพยาน

6. เพื่อให้ได้มา ก่อนวันตรวจพยานหลักฐาน/ก่อนวันที่ศาลกำหนด

ม.173/2  วรรค 1

1. วันตรวจพยานหลักฐาน

2. คู่ความต้องส่งพยาน เอกสาร+พยานวัตถุ ที่อยู่ในครอบครองของตนต่อศาล

3. เพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตรวจสอบ

4. เว้นแต่

                             4.1 ศาลสั่งอย่างอื่นเนื่องจาก สภาพ+ความจำเป็น แห่งพยานหลักฐานนั้น

                             4.2 พยานหลักฐานนั้นเป็น บันทึกคำให้การพยาน

5. เมื่อศาลกำหนดวันสืบพยาน ต้องแจ้งให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน

6. ถ้า จ. ไม่มาศาลในวันตรวจพยานหลักฐาน นำ 166 มาใช้โดยอนุโลม

*ข้อสังเกต  -ตาม 6 ศาลต้องยกฟ้องตาม 173/2+166

ม.173/2  วรรค 2  (ดูใน ม.55/1 เวลาปรับ ต้องปรับ 173/2 ว.2+55 ว.1)   

ม.176            วรรค 1                     1. ชั้นพิจารณา

2. จล.ให้การรับสารภาพตามฟ้อง

3. ศาลพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้

4. เว้นแต่

                                                4.1 คดีโทษจำคุกอย่างต่ำ 5 ปีขึ้นไป/โทษที่หนักกว่านั้น

                                                4.2 ศาลต้องฟังพยาน จ. จนกว่าจะพอใจว่า จล.ทำผิดจริง

                    วรรค 2           1. คดีที่ จล.หลายคน

2. จล.บางคนรับสารภาพ

3. ศาลสั่งจำหน่ายคดี สำหรับ จล.ที่ปฏิเสธ เพื่อให้ จ.ฟ้อง จล.ที่ปฏิเสธเป็นคดีใหม่ในเวลาที่

   ศาลกำหนด

ม.177 1. ศาลมีอำนาจสั่งพิจารณาเป็นการลับ

2. โดยพลการ/คู่ความร้องขอ

3. ต้องเพื่อ

                             3.1 ประโยชน์แห่งความสงบเรียบร้อย/ศิลธรรมอันดีของ ปชช.

                             3.2 ป้องกันความลับเกี่ยวกับความปลอดภัยของประเทศมีให้ล่วงรู้ถึง ปชช.

 

ลักษณะ 3 คำพิพากษาและคำสั่ง

ม.185                      วรรค 1           1. ศาลเห็นว่า

                                                           1.1 จล.ไม่ได้ทำผิด

                                                           1.2 การกระทำของ จล.ไม่เป็นความผิด

                                                           1.3 คดีขาดอายุความ

                                                           1.4 มีเหตุตาม ก.ม.ที่ จล.ไม่ต้องรับโทษ (เช่น ก.ม.บัญญัติว่า ไม่ต้องรับโทษ)

2. ให้ศาลยกฟ้อง 

*ข้อสังเกต  -185 นำไปใช้ชั้น อ./ฎ. ตาม 215 225

          ม.192                      วรรค 1 1. ห้ามพิพากษา/มีคำสั่ง

2. เกินคำขอ/ที่มิได้กล่าวในฟ้อง  (ต้อง 2 อย่างคือ มีคำขอ+กล่าวในฟ้อง)

                             วรรค 2 1. ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณา

2. แตกต่างจากข้อเท็จจริงในฟ้อง

3. ศาลต้องยกฟ้อง

4. เว้นแต่         4.1 ข้อแตกต่างมิใช่ข้อสาระสำคัญ+

                                                          4.2 จล.ไม่หลงต่อสู้

5. ศาลลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้

                             วรรค 3 1. กรณีข้อแตกต่างเป็นเพียงรายละเอียด เช่น

                                                1.1 เกี่ยวกับเวลากระทำผิด

                                                1.2 เกี่ยวกับสถานที่กระทำผิด

                                                1.3 ต่างกัน ระหว่างการทำผิด ฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร ทำให้เสียทรัพย์  (ฎ.รวมถึง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์)

                                                1.4 ต่างกันระหว่างการทำผิดโดย เจตนา+ประมาท

2. ไม่ถือว่า

                                                2.1 ต่างกันในข้อสาระสำคัญ

                                                2.2 ข้อที่พิจารณาได้ความเป็นเรื่องเกินคำขอ

                                                2.3 เป็นเรื่องที่ จ. ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ

3. เว้นแต่ปรากฏแก่ศาลว่า การฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้ จล.หลงต่อสู้

4. แต่ศาลจะลงโทษ จล. เกินอัตราที่ ก.ม.กำหนดไว้สำหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้

                             วรรค 4 1. ข้อเท็จจริงบางข้อในฟ้อง+ข้อเท็จจริงในทางพิจารณา

2. ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ จ.ประสงค์ให้ลงโทษ

3. ห้ามลงโทษ จล.ในข้อเท็จจริงนั้น

                             วรรค 5 1. ข้อเท็จจริงในฟ้อง จ.สืบสม

2. แต่ จ.อ้างฐานความผิด ผิด/อ้างบทมาตรา ผิด

3. ศาลลงโทษ จล.ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้

                             วรรค 6 1. ความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง

2. แต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง

3. ศาลลงโทษในการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่พิจารณาได้ความได้

 

 

ภาค 4 อุทธรณ์และฎีกา

ลักษณะ 1 อุทธรณ์

หมวด 1 หลักทั่วไป

193 ทวิ       1. คดีโทษอย่างสูง  จำคุกไม่เกิน 3 ปี / ปรับไม่เกิน  60,000 / ทั้งจำทั้งปรับ (คดีขึ้นศาลแขวง)

2. ห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง

3. เว้นกรณีต่อไปนี้ จล.อุทธรณ์ ได้          (1) จล.ต้องคำพิพากษา  จำคุก/กักขังแทนจำคุก

                                                                             (2) จล.ต้องคำพิพากษา จำคุก แต่ รอการลงโทษ

                                                                             (3) พิพากษาว่าผิด แต่ รอการกำหนดโทษ

                                                                            (4) จล.ต้องคำพิพากษา ปรับ เกิน 1000 บ.

ม.193 ตรี        1. คดีต้องห้าม อ.ตาม 193 ทวิ

2. ผ.ที่พิจารณา/ลงชื่อในคำพิพากษา/ทำความเห็นแย้ง ใน ศต.

3. เห็นว่า เป็นปัญหาสำคัญควรสู่ ศธ.+อนุญาตให้ อ.

4. อสส./พงอ.ที่ อสส. มอบหมาย  (แต่ชั้น ฎ มอบหมายไม่ได้)

5. ลงลายมือชื่อรับรองใน อ. ว่า มีเหตุอันควรที่ ศธ.จะวินิจฉัย   (ทำหนังสือรับรองให้ อ. ต่างหากก็ได้)

6. ให้รับ อ.ไว้พิจารณา

ม.195            วรรค 1 -ข้อ ก.ม.ที่จะ อ. ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วใน ศต.

*ข้อสังเกต  -ถ้าเป็นข้อเท็จจริง     1. ชั้น อ. ตาม ป.วิ.พ.225+ป.วิ.อ.15

                                                                             2. ชั้น ฎ. ตาม ป.วิ.พ.249+ป.วิ.อ.15 

วรรค 2 1. ข้อ ก.ม.เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

2. แม้ไม่ได้ยกขึ้นใน ศต.

3. ผู้อุทธรณ์/ศาล ยกขึ้นอ้างได้

ม.196  1. คำสั่งระหว่างพิจารณา ที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน

2. ห้าม อ.คำสั่งนั้น จนกว่า

                             2.1 มีคำพิพากษา/คำสั่งในประเด็นสำคัญ+

                             2.2 มีอุทธรณ์ คำพิพากษา/คำสั่ง ด้วย

*ข้อสังเกต  -คดีอาญาจะ อ.คำสั่งระหว่างพิจารณาอย่างเดียวไม่ได้ ต้อง อ.คำพิพากษา ด้วย

ม.198 ทวิ        วรรค 1           1. ศต. ไม่รับ อ.

2. ผู้ อ. ยื่นคำร้อง อ.คำสั่ง ต่อ ศต.ใน 15 วันนับแต่วันฟังคำสั่ง

วรรค 3           -คำสั่ง ศธ. ยืนไม่รับ อ./ให้รับ อ.  เป็นที่สุด

ม.199            วรรค 1           1. ผู้ อ. ต้องขัง/ต้องจำคุก

2. อาจ อ.ต่อพัศดีในกำหนดอายุ อ.

                             วรรค 2 1. หากพัศดีส่ง อ.ไปถึงศาลพ้นอายุ อ.

2. ถ้าไม่ใช่ความผิดของ ผู้ อ. (ยื่นต่อพัศดีในอายุ อ.แล้ว ถือว่าไม่ใช่ความผิดของ ผู้ อ.)

3. ถือว่าเป็น อ.ที่ยื่นในกำหนดอายุ อ.

ม.202            วรรค 1 1. ก่อน ศต.ส่งสำนวนไป ศธ. ยื่นคำร้องขอถอน อ. ต่อ ศต.+ศต.สั่งอนุญาตได้

2. ถ้าส่งสำนวนไป ศธ.แล้ว  ศธ.เป็นผู้สั่งอนุญาต

                                                2.1 ยื่นคำร้องขอถอน อ. ต่อ ศธ.เลย

                                                2.2 ยื่นคำร้องขอถอน อ. ต่อ ศต. โดย ศต.ส่งไปให้ ศธ.สั่ง (ศต.สั่งเองไม่ได้)

                                       วรรค 2 1. เมื่อถอน อ.แล้ว ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ อ.

2. คำพิพากษา/คำสั่ง ศต. เด็ดขาดเฉพาะ ผู้ถอน

3. ถ้าอีกฝ่ายหนึ่ง อ.เด็ดขาดต่อเมื่อคดีถึงที่สุด โดยไม่มีการแก้คำพิพากษา/คำสั่งของ ศต.

 

หมวด 2 การพิจารณา คำพิพากษาและคำสั่งชั้นศาลอุทธรณ์

ม.212  1. จล. อุทธรณ์คำพิพากษาที่ลงโทษ จล.

2. ห้าม ศธ.พิพากษา เพิ่มเติมโทษ จล.

3. เว้นแต่ จ. จะอุทธรณ์ทำนองนั้น   (จ.อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษ)

*ข้อสังเกต  -นำไปใช้ชั้น ฎ. ตาม 212+225

ม.213

1. จล. คนหนึ่ง อ.คำพิพากษาที่ลงโทษ จล.หลายคน

2. ในความผิด ฐานเดียวกัน/ต่อเนื่องกัน

3. ถ้า ศธ.กลับ/แก้ คำพิพากษา ศต. ไม่ลงโทษ/ลดโทษ ให้ จล.

4. เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี

5. ศธ.มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึง จล.อื่นที่มิได้ อ.

6. ให้ไม่ต้องรับโทษ/ลดโทษ ดุจ จล.อ.

*ข้อสังเกต  -นำไปใช้ชั้น ฎ. ตาม 213+225

ม.215

-นำบทบัญญัติว่าด้วย การพิจารณา+การพิพากษา ใน ศต.มาใช้ใน ศธ.

*ข้อสังเกต  เวลาปรับบท  ศต.+ศธ.(215)

ม.225

-นำบทบัญญัติว่าด้วย การพิจารณา+การพิพากษา ใน ชั้น อ. มาใช้ในชั้น ฎ.

*ข้อสังเกต  เวลาปรับบท  ศต.+ศธ.(215)+ศฎ.(225)

 

  ลักษณะ 2 ฎีกา

หมวด 1 หลักทั่วไป

 

ม.216   -ต้อง ฎ.ใน 1 ด.นับแต่วันอ่าน/ถือว่าได้อ่าน

ม.218  วรรค 1

1. ศธ.พิพากษา ยืน/แก้ไขเล็กน้อย+

2. จำคุก จล.ไม่เกิน 5 ปี/ปรับ/ทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี

3. ห้ามคู่ความ ฎ.ปัญหาข้อเท็จจริง

                             วรรค 2           1. ศธ.พิพากษา ยืน/แก้ไขเล็กน้อย+

2. จำคุก จล.เกิน 5 ปี  ไม่ว่ามีโทษอย่างอื่นด้วยหรือไม่

3. ห้าม จ. ฎ.ปัญหาข้อเท็จจริง

*ข้อสังเกต        1. 218 ต้อง ยืน/แก้ไขเล็กน้อย เท่านั้น

                                      2. ไม่ต้องดูโทษใน ศต. ดูเฉพาะโทษใน ศธ. 

                                      3. ว.2 ห้าม จ.เท่านั้น แต่ไม่ห้าม จล.

ม.219            ตอนต้น

1. ศต.พิพากษาจำคุก จล.ไม่เกิน 2 ปี/ปรับไม่เกิน 40,000 บ./ทั้งจำทั้งปรับ (โทษจำ+ปรับ ต้องไม่เกิน 2 ปี/40,000)

2. ศธ.ลงโทษ จล.ไม่เกินกำหนดที่ว่ามานี้ (ไม่เกิน 1.)

3. ห้ามคู่ความ ฎ.ปัญหาข้อเท็จจริง

                      *****ตอนท้าย

1. ข้อห้ามนี้ไม่ใช่กับ จล.

2. กรณี ศธ.พิพากษา แก้ไขมาก+เพิ่มเติมโทษ จล.

*ข้อสังเกต        1. 219 ต้องแก้ไขมาก เท่านั้น

                                                2. ดูทั้ง ศต.+ศธ.

          ม.219 ตรี

1. คดีที่ ศต.

                                      1.1 กักขังแทนจำคุก

                                      1.2 เปลี่ยนกักขังเป็นจำคุก

                                      1.3 กักขังแทนค่าปรับ

                                      1.4 กักขังเกี่ยวกับการริบทรัพย์สิน

2. ศธ.ไม่ได้กลับ  (ยืน)

3. ห้ามคู่ความ ฎ.ข้อเท็จจริง

          ม.220            ห้ามคู่ความ ฎ.(ข้อเท็จจริง+ข้อ ก.ม.)คดีที่ ศต.+ศธ.ยกฟ้อง

          ม.221           1. คดีต้องห้าม ฎ.ตาม 218 219 220  (ระวัง 219 ตรี  ไม่สามารถอนุญาต/รับรองให้ ฎ.ได้)

2. ถ้า

                                      2.1 ผ.พิจารณา/ลงชื่อในคำพิพากษา/ทำความเห็นแย้ง  ใน ศต./ศธ.

                                             เห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญควรสู่ศาลสูงสุด+อนุญาตให้ ฎ.

                                      2.2 อสส. ลงลายมือชื่อรับรองใน ฎ. ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย 

                                             (อสส.ทำหนังสือรับรองให้ ฎ.ต่างหากได้  อสส.มอบหมายไม่ได้ ต่างจากชั้น อ.)

3. ให้รับ ฎ.ไว้พิจารณา

 

ม.224   -ยื่นคำร้อง อ.คำสั่งไม่รับ ฎ.ต่อ ศต.ใน 15 วัน นับแต่วันฟังคำสั่ง

 

ภาค 6 การบังคับตามคำพิพากษาและค่าธรรมเนียม

     หมวด 1 การบังคับตามคำพิพากษา

ม.245  วรรค 2

1. ศต.มีหน้าที่ส่งสำนวนที่พิพากษา ประหารชีวิต/จำคุกตลอดชีวิต

2. ไป ศธ.เมื่อไม่มีการ อ.

3. ศธ.พิพากษายืน ถึงที่สุด

4. ศธ.พิพากษานอกจาก 3. ไม่ถึงที่สุด  (แต่ต้องห้าม ฎ. เพราะการที่ จล.ไม่ อ. ถือว่า

    เป็นข้อที่ไม่ได้ยกว่ากันใน ศธ. ตาม ป.วิ.พ.249+ป.วิ.อ.15)

*ข้อสังเกต        1. ศต.จำคุกตลอดชีวิต จล.ไม่อุทธรณ์

                                      2. ศต.ส่งสำนวนไป ศธ.

                                      3. ศธ. ลงโทษจำคุก 30 ปี 

                                      4. ยังไม่ถึงที่สุด แต่ จล.จะ ฎ. ว่าตนไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องไม่ได้

                                      5. ต้องห้าม ฎ. เพราะ ปัญหาว่า จล.กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ จล. ไม่ได้ยกขึ้นว่าใน ศธ.

 

********************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น