สรุปย่อ กฏหมายพยานหลักฐาน
ประเด็นพิพาท
-ประเด็นหลัก , ต้องเป็นข้อที่โต้แย้งกัน จำเลยไม่ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งไว้ในคำให้การถือว่ายอมรับและไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท , เป็นข้อโต้แย้งระหว่างคู่ความด้วยกันเองไม่ใช่โต้แย้งสิทธิของบุคคลภายนอก , เป็นประเด็นข้อพิพาทเฉพาะที่มีผลกระทบและมีนัยสำคัญต่อผลในทางคดีเท่านั้น
-การที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้ยึดถือครอบครองที่ดินเพื่อตนตามคำให้การ แต่เป็นการครอบครองแทนโจทก์ในฐานะผู้เช่า เป็นการนำสืบหักล้างข้อเถียงของจำเลยอันเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทในคดีไม่ใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น , การที่ศาลกำหนดประเด็นพิพาทผิด กรณีกำหนดน้อยกว่าความจริง เป็นหน้าที่ของคู่ความที่เสียประโยชน์ต้องโต้แย้งคัดค้านไว้ มิฉะนั้นถือว่ายอมรับ , ศาลต้นกำหนดประเด็นผิดไปจากลักษณะความจริง เฉพาะส่วนเกินไม่ใช่เกิดจากประเด็นที่เกิดจากคำคู่ความ ศาล คู่ความอุทธรณ์ในประเด็นนี้ไม่ได้ เช่น ประเด็นพิพาทมีข้อเดียวว่า จำเลยขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และทำสัญญาเช่าจากโจทก์หรือไม่ แต่ศาลกำหนดว่า ฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน ๑ ปี หรือไม่ ประเด็นที่ฟ้องเรียกคืนเกิน ๑ ปีหรือไม่ ไม่มีการโต้แย้งไว้ในคำฟ้องและคำให้การ , สามารถอุทธรณ์ว่าประเด็นที่กำหนดมาเกินนั้นเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ว่าไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ที่ข้อที่ผิดดังกล่าวก็ตาม ก็เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน , เกี่ยวกับค่าเสียหาย จำเลยไม่ให้การปฏิเสธชัดแจ้งต้องถือว่ายอมรับว่าโจทก์เสียหายแล้ว ย่อมไม่มีประเด็นพิพาท , กรณีที่ฟังว่าโจทก์เสียหาย ประเด็นว่าเสียหายเพียงใดนี้ แม้จำเลยไม่ให้การต่อสู้โต้แย้งไว้ถึงจำนวนค่าเสียหาย ก็ว่ามีประเด็นข้อนี้แล้ว โจทก์ผู้กล่าวอ้างมีหน้าที่นำสืบพสมอว่าตนเสียหายไปจริงตามจำนวนเงินที่ฟ้อง , โจทก์ไม่นำสืบเรื่องค่าเสียหาย ศาลเห็นว่ามีความเสียหาย ศาลก็สามารถกำหนดให้ตามสมควรได้ , เหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงซึ่งโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ ถ้าไม่สืบพยานจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับ , เรื่องอำนาจฟ้อง ไม่ทราบไม่รับรองถือว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง , กรณีเกี่ยวกับฟ้องที่เคลือบคลุม , เกี่ยวกับอายุความ การที่จำเลยต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความจึงเป็นการปฏิเสธอำนาจฟ้องของโจทก์ โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่าคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ (แต่อายุความของฟ้องมีหลายกรณี ฉะนั้นคำให้การต้องแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฏด้วย , ศาลไม่อาจยกอายุความเรื่องอื่นมาเพื่อยกฟ้องโจทก์ได้ , คำให้การที่ขัดแย้งกันเอง ไม่มีสิทธินำสืบตามข้อต่อสู้ แต่ถือว่าเป็นคำให้การที่ปฏิิเสธฟ้องของโจทก์
ภาระการพิสูจน์
กรณีที่ผู้ใดกล่าวอ้าง ผู้นั้นมีหน้าที่นำสืบ จำเลยสู้ว่าสัญญาที่ทำนั้นไม่ถูกต้องตามแบบ(ทำเป็นหนังสือ/ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนฯ) ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิด โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ความจริงให้ได้ว่าสัญญาที่นำมาฟ้องนั้นได้ทำถูกต้องตามแบบและมีผลสมบูรณ์
จำเลยต่อสู้เรื่องอายุความ หน้าที่นำสืบตกแก่โจทก์
จำเลยต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้อง หน้าที่นำสืบตกแก่โจทก์
จำเลยไม่สู้เรื่องค่าเสียหายเท่าใด หน้าที่นำสืบตกแก่โจทก์
จำเลยสู้ว่าเอกสารฟ้องของโจทก์ปลอม หน้าที่นำสืบตกแก่โจทก์
จำเลยรับว่าทำสัญญาจริง แต่โจทก์แก้ฯ หน้าที่นำสืบตกแก่โจทก์
จำเลยลงชื่อกระดาษเปล่า,แบบฟอร์มไม่กรอกฯหน้าที่นำสืบตกแก่โจทก์
--------------------------------------------------------------------------------------------------
จำเลยสู้เป็นหนี้ไม่สมบูรณ์ -ถูกหลอกลวง (เป็นอ้างข้อเท็จจริงใหม่) ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย
-ถูกข่มขู่ มีผลทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะ นิติกรรมอำพราง (เป็นอ้างข้อเท็จจริงใหม่)
จำเลยรับว่าทำสัญญากับโจทก์จริง แต่สัญญาเป็นโมฆะ,โมฆียะ ภาระการพิสูจน์ตกแก่ จำเลย
(เพราะเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใหม่เพื่อสนับสนุนคำให้การของตน)
--------------------------------------------------------------------------------------------------
กรณีที่ไม่ต้องนำสืบเพราะว่าเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป - การกระทำผิดเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมหรือไม่ , วันใดเป็นวันหยุดราชการ , สูตรสำเร็จเวลาดวงจันทร์ขึ้นลงจากพื้นพิภพ
กรณีที่ต้องนำสืบ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่โดยทั่วไป - ใครดำรงตำแหน่งอะไร , ข้อกำหนดหรือข้อบังคับของรัฐมนตรี หรือประกาศของรัฐมนตรี แม้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา , จำเลยเป็นบุคคลเดียวกับคดีในศาลชั้นต้นเดียวหรือไม่
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
กรณีมีข้อเท็จจริงในกฎหมายเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นไม่ต้องนำสืบ
-ผู้มีชื่อในทะเบียน(อสังฯ)ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่า เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ๑๓๗๓
-โฉนดที่ดินรวมทั้งหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นเอกสารมหาชน ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำขึ้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นแท้จริงและถูกต้อง
-ที่ดินมือเปล่า , มีแต่เอกสารแจ้งสิทธิครอบครอง คู่ความฝ่ายที่ยึดถือได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่า ยึดถือเพื่อตนและมีิสิทธิครอบครอง
ข้อยกเว้น
เกี่ยวกับอสังหาฯ -- พิพาทว่าที่ดินอยู่ในเขตโฉนดของฝ่ายใด ต่างฝ่ายต่างอ้างก็ไม่ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานผู้มีชื่อในโฉนด , กรณีทั้งโจทก์และจำเลยต่างก็มีชื่อร่วมกันในโฉนดที่ดิน
เกี่ยวกับสินสมรส -- แม้คู่ความฝ่ายใดจะมีชื่อในทะเบียน แต่ไม่ได้ประโยชน์จาก ๑๓๗๓ เนื่องจาก ๑๔๗๔ กรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์เป็นสินสมรสหรือไม่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส , แต่ข้อสันนิษฐาน ๑๔๗๔ ใช้เฉพาะคู่สมรส ดังนั้น สามีหรือภริยาแต่เพียงผู้เดียว ย่อมได้ประโยชน์จาก ๑๓๗๓ เป็นหน้าที่ของบุคคลภายนอกที่ต้องพิสูจน์
เกี่ยวกับละเมิด -- ม.๔๓๗ บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะเดินด้วยเครื่องจักรกลฯ - ต้องเป็นกรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้เดินเครื่องจักรกล , ไฟฟ้าที่ใช้เดินเครื่องจักรเป็นทรัพย์อันเกิดอันตรายได้โดยสภาพ..เมื่อจำเลยไม่สืบว่าการที่ไฟฟ้าลัดวงจรเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือ เกิดเพราะความผิดของโจทก์ผู้ต้องเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
หลักเกณฑ์พยานหลักฐานที่รับฟังได้
-เป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริง ที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องนำสืบ .. การจะนำพยานหลักฐานเข้าสืบได้นั้น จะต้องมีการแสดงความจำนงอ้างอิงพยานหลักฐานนั้นไว้ โดยยื่นบัญชีระบุพยานและยื่นพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารต่อศาลและได้ส่งให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งพร้อมสำเนาเอกสาร ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า ๗ วัน //// ข้อยกเว้น --เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม , จำเป็นต้องสืบพยานที่เกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา ๘๗(๒) . ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานนั้นได้
-หลักเกณฑ์ที่พยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ -- พยานหลักฐานที่ยื่นฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.หรือกม.อื่นเกี่ยวกับการรับฟังและการยื่นพยานหลักฐาน , พยานหลักฐานที่ฟุ่มเฟื่อยเกินสมควร , พยานหลักฐานที่ประวิงคดีให้ชักข้า ,พยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวแก่ประเด็น
-วิเคราะห์เรื่องการรับฟังพยานหลักฐานในข้อที่ว่า พยานหลักฐานนั้นฟุ่มเฟื่อยหรือไม่ ประวิงคดีให้ชักช้าหรือไม่และเกี่ยวกับประเด็นหรือไม่นั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของศาล จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลสามารถสืบพยานเพิ่มเติมและเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ได้ แม้ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม , ต้องนำพยานหลักฐานอื่นมาสืบเพ่ิมเติม , ต้องเป็นพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีเท่านั้น -- ประกาศของกระทรวงการคลังเรื่องอัตราดอกเบี้ย ไม่ใช่พยานนหลักฐานอันสำคัญที่เกี่ยวกับข้อสำคัญในคดี เมื่อไม่ระบุไว้ในบัญชีระบุพยาน ศาลก็ไม่มีอำนาจรับฟังประกาศดังกล่าวได้ , โจทก์ยื่นคำแถลงขอยื่นบัญชีระบุพยานเพ่ิมเติมในชั้นฏีกา โดยเพิ่งจะขอนำพยานมาสืบในชั้นพิจารณาของศาลฏีกา เป็นดุลพินิจของศาลฏีกาที่จะให้โจทก์นำพยานบุคคลเข้ามาสืบเพ่ิมเติมในชั้นฏีกาหรือไม่ คดีย่อมอยู่ในอำนาจของศาลฏีกาที่จะพิจารณาและทำคำสั่ง ศาลชั้นต้นไม่อาจก้าวล่วงสั่งแทนศาลฏีกาได้
การยื่นบัญชีระบุพยาน มาตรา ๘๘
วันสืบพยาน หมายถึง วันที่ศาลเร่ิมต้นทำการสืบการสืบตาม ปวิพ.มาตรา ๑(๑) หมายถึงวันสืบพยานนัดแรกที่จะต้องมีการสืบพยานกันจริงๆ โดยไม่มีการเลื่อนคดีออกไป หากมีการสืบพยานนัดแรกไว้แต่มีการเลื่อนคดีไป วันนัดนั้นไม่ใช่วันสืบพยาน -- ประกาศกระทรวงการคลัง ไม่ใช่พยานหลักฐานอันสำคัญที่เกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญแห่งคดี -- คู่ความได้แนบสำเนาเอกสารไปท้ายคำคู่ความ ถือว่าสำเนาเอกสารนั้นเป็นส่วนหนึ่งของคำ่คู่ความ จึงไม่จำต้องระบุอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานอีก รวมทั้งไม่จำเป็นจะต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง -- การไต่สวนคำร้อง คำขอปลีกย่อยต่างๆ จึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.วิ.พ.๘๘ -- หากบัญชีระบุพยานนั้นได้ยื่นไว้ในชั้นไต่สวนคำร้อง หรือคำขอปลีกย่อยแล้ว แต่บัญชีระบุพยานดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นการระบุพยานเฉพาะในชั้นไต่สวนคำร้อง หรือคำขอปลีกย่อยเหล่านั้นเท่านั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นบัญชีระบุพยานตลอดไปทั้งคคดี -- กรณีเอกสารเพื่อประกอบการถามเพื่อทำลายน้ำหนักคำพยานซึ่งเป็นการพิสูจน์ต่อพยาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๒๐ เมื่อพยานได้เบิกความรับรองเอกสารนั้นแล้ว ย่อมอ้างเป็นพยานได้โดยไม่จำต้องระบุไว้ในบัญชีระบุพยานหรือส่งสำเนาเอกสารนั้น -- การระบุพยานที่ใช้คำรวมว่า "สรรพเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโจทก์(หรือจำเเลย) ถือว่าเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานโดยชอบแล้ว -- ข้ออ้างที่ว่าสำเนาคำพิพากษาที่ระบุเพ่ิมเติม ศาลเพิ่งจะมีคำพิพากษา ดังนี้ ศาลอนุญาตให้ระบุพยานเพ่ิมเติมได้ , การขออนุญาตระบุพยานเพ่ิมเติมต้อง ทำเป็นคำร้อง ไม่ใช่คำแถลง , แม้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพ่ิมเติมพ้นระยะเวลาตามกฎหมาย แต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จยื่นบัญชีระบุพยานไม่ว่าเวลาใดๆก่อนมีคำพิพากษาได้อีก หากโจทก์ขออนุญาตต่อศาลโดยแสดงเหตุอันสมควรที่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานเช่นนี้ พร้อมกับสำเนาเอกสารที่อ้างในบัญชีระบุพยานและสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวมาด้วย เมื่อศาลทรัพย์สินฯ ใช้ดุลพินิจสั่งรับบัญชีระบุพยานของโจทก์เป็นพยาน จึงรับฟังเอกสารนั้นเป็นพยานหลัักฐานได้ --
การถามค้าน มาตรา ๘๙
หลักเกณฑ์ คู่ความฝ่ายที่นำพยานเข้าสืบภายหลัง หากประสงค์จะสืบพยานของตน เพื่อ (ก) หักล้าง เปล่ียนแปลง แก้ไข ถ้อยคำของพยานซึ่งเป็นผู้รู้เห็นของคู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อน (ข) เพื่อพิสูจน์ข้อความที่พยานนั้นได้ทำขึ้นเกี่ยวกับ - การกระทำ หรือ ถ้อยคำ หรือ หนังสือ ต้องถามค้านพยานของฝ่ายที่นำสืบก่อน เพื่อให้พยานนั้นมีโอกาสอธิบาย หากไม่ถามค้านไว้ก่อน ศาลไม่ยอมรับฟังคำพยานนั้น ยกเว้น ศาลจะยอมรับฟังคำพยานนั้นได้ ต่อเมื่อ คู่ความฝ่ายที่นำสืบภายหลังแสดงให้ศาลพอใจว่า ตนไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควร , ศาลเห็นเองว่าจำเป็นต้องสืบพยานนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม คู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนจะเรียกพยานที่เกี่ยวข้องมาสืบอีกก็ได้ หรือ ศาลเห็นสมควรเรียกพยานมาสืบเอง -- วัตถุประสงค์ของการถามค้าน เพื่อไม่ให้ฝ่ายนำพยานสืบภายหลังจู่โจมทางพยานหลักฐานโดยฝ่ายแรกไม่รู้ตัว อันเป็นการเอาเปรียบกันในเชิงคดี แต่การที่จำเลยยกข้อต่อสู้ในประเด็นใดไว้ในคำให้การแล้ว โจทก์ย่อมทราบล่วงหน้าแล้วว่าจำเลยจะสืบพยานในเรื่องใด กรณีไม่ถือว่าเป็นการเอาเปรียบกัน ไม่จำเป็นต้องถามค้าน -- การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคล และสำเนากู้ยืมเงิน อันเป็นการสืบตามประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ ไม่ใช่การนำสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงถ้อยคำของพยานโจทก์ จำเลยไม่จำต้องถามค้านไว้ก่อน -- พยานเสียชีวิตก่อนเบิกความ คู่ความฝ่ายที่นำสืบภายหลังไม่มาศาลในขณะทีี่พยานของคู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อน ดังนี้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๙ -- การคัดค้านว่า ไม่ชอบตาม ป.วิ.พพ.มาตรา ๘๙ คู่ความฝ่ายนำสืบก่อนต้องคัดค้านในขณะที่พยานของฝ่ายที่นำสืบภายหลังกำลังเบิกความ กรณีจะมาคัดค้านภายหลังในชั้นอุทธรณ์หรือฏีกา ไม่ได้ -- คดีอาญา ในชั้นขอคืนของกลางในคดีอาญา ที่ศาลสั่งริบ โจทก์นำสืบเอกสารซึ่งโจทก์ไม่ได้ถามพยานผู้ร้องผู้ลงชื่อในเอกสารนั้นไว้ ในขณะที่ผู้ร้องนำสืบพยานผู้นั้นไว้ก่อน และผู้ร้องเองก็ไม่คัดค้านการนำสืบเอกสารนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๙ ซึ่งนำมาใช้ในคดีอาญาโดยอนุโลม
การส่งสำเนาเอกสาร มาตรา ๙๐
หลักเกณฑ์ การยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรก ตาม ๘๘ ผู้อ้างต้องยื่นสำเนาเอกสารต่อศาล และ ส่งสำเนาเอกสารให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า ๗ วัน การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ตาม ๘๘ วรรคสอง ทำเป็นคำแถลงและผู้อ้างต้องยื่นสำเนาเอกสารต่อศาล และส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ยกเว้น ศาลจะอนุญาตให้ยื่นสำเนาเอกสารภายหลังเมื่อมีเหตุอันสมควร -- การขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยาน ตามมาตรา ๘๘ วรรคสาม ทำเป็นคำร้อง และ ผู้อ้างต้องยื่นสำเนาเอกสารต่อศาล และส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง กรณีที่ไม่ต้องส่งสำเนาเอกสาร มี ๓ กรณีคือ ก.อ้างเอกสารเป็นชุด -ที่คู่ความฝ่ายอื่นทราบดีอยู่แล้ว ,สามารถตรวจตราให้ทราบโดยง่ายถึงความมีอยู่และความแท้จริงแห่งเอกสาร , ข. เอกสารอยู่ในความครบอครองของ คู่ความฝ่ายอื่น หรือ บุคคลภายนอก , ค.การคัดสำเนาเอกสาร
ประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลอาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้รับฟังเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานได้
-การสืบพยานหลักฐานในการไต่สวนคำร้องหรือคำขอปลีกย่อยนั้น ไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารล่วงหน้า , เอกสารที่ใช้ประกอบการถามค้านโจทก์ๆเบิกความรับรองเอกสารยืนยันว่าเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องเกี่ยวกับหลักฐาน จำเลยอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานประกอบคำเบิกความของโจทก์ได้ ,
การรับฟังพยานหลักฐาน (มาตรา ๙๓)
-ศาลรับฟังเฉพาะต้นฉบับเอกสารเท่านั้น เว้น ให้ศาลรับฟังสำเนาได้คือ คู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารได้คือ คู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้อง , ต้นฉบับเอกสารอยู่ในความควบคุมของทางราชการ , ต้นฉบับหาไม่ได้ เพราะ สูญหายโดยเหตุสุดวิสัย , ถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือ ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น
-ใช้กระดาษคาร์บอนคั่นกลาง มีการลงชื่อคู่สัญญาทุกฉบับถือว่า ฉบับล่างเป็นต้นฉบับ ไม่ใช่สำเนา , โทรสาร ที่โจทก์ส่งศาลโดยจำเลยยอมรับความถูกต้องจึงรับฟังได้ , กรณีตกลงก่อนเกิดกรณีพิพาทหรือตั้งแต่ทำสัญญาหรือตกลงกันว่าถ้ามีคดีพิพาทเกิดขึ้นแล้วก็ให้รับฟังสำเนาเอกสารได้ หรืออาจหลังจากที่ฟ้องร้องคดีแล้ว , หนังสือมอบอำนาจฯ สัญญาโอน เป็นสำเนา แต่ช่วงเวลาที่โจทก์นำสืบอ้างสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่าไม่ถูกต้อง คงมีแต่เพียงคำถามค้านของทนายว่า เอกสารดังกล่าวเป็นสำเนาเอกสารใช่หรือไม่เท่านั้น ถือว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ , กรณีหาต้นฉบับไม่ได้
-การอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบ อนุ ๒ อาจเป็นการอนุญาตโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้ ดังนั้น การที่ศาลรับฟังสำเนาเอกสารหรือยอมให้นำสืบสำเนาเอกสารหรือให้นำพยานบุคคลมาสืบ โดยไม่ได้มีการขออนุญาตก่อน , จำเลยทั้งสี่ร่วมกันสั่งซื้อและรับสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างจากโจทก์ตามสำเนาใบส่งของ ฯ จำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ได้ร่วมกันสั่งซื้อและรับสินค้าจากโจทก์ตามสำเนาใบส่งของท้ายฟ้องและสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม เท่ากับจำเลยไม่รับว่าต้นฉบับสำเนาใบส่งของอยู่ที่จำเลย จึงเป็นกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น อนุ ๒ ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับได้ โดยโจทก์ไม่จำต้องขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกต้นฉบับเอกสารก่อน
ผู้อ้างยังต้องนำสืบพิสูจน์ต่อศาลอีกชั้นหนึ่งว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงถูกต้อง
-เมื่อจำเลยอ้างส่งรายงานแพทย์ลอยๆ ไม่ได้นำแพทย์ที่ซักประวัติโจทก์หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดมาเบิกความยืนยันให้เห็นว่าเป็นรายงานแพทย์ที่แท้จริงและถูกต้อง ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์ได้ให้รายละเอียดกับแพทย์ผู้ตรวจรักษาตามรายงานแพทย์
-การนำสืบพยานบุคคลแทนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพยานเอกสาร มาตรา ๙๔
"มาตรา ๙๔ เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยาน
เอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณี
อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้
ยินยอมก็ดี
(ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อ
ไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง
(ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เมื่อได้นำเอกสารมาแสดงแล้วว่า ยังมีข้อความเพ่ิมเติม
ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก
แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณี
ที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (๒) แห่งมาตรา ๙๓ และมิให้ถือว่าเป็น
การตัดสิทธิคู่ความ ในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคล
มาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่นำมาแสดงนั้นเป็นเอกสาร
ปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญา
หรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความ
อีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด"
- กรณีที่ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง
-พินัยกรรม ,สัญญาแบ่งมรดก,สัญญาเช่าซื้อ,สัญญาจำนอง,หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง,การโอนสิทธิเรียกร้อง,การตั้งตัวแทนในกิจการที่ต้องทำเป็นหนังสือ,การมอบอำนาจให้ฟ้องคดี,สัญญาซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ , สัญญาเช่าอสังฯ ,สัญญาประนีประนอมยอมความ , สัญญาค้ำประกัน ,สัญญาประกันภัย , สัญญากู้ยืมเงิน
- กรณีที่นำพยานบุคคลมานำสืบได้
-ม.๙๔ ใช้เฉพาะคดีแพ่ง , แม้ว่าคู่ความจะตกลงกันก็ไม่ให้ศาลรับฟัง , หนังสือรับสภาพหนี้ (๑๙๓/๑๔) นั้นไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือเสมอไป , แม้คู่สัญญาจะสมัครใจทำข้อตกลงกันไว้เป็นหนังสือก็ไม่ใช่กรณีที่จะต้องห้ามนำสืบเรื่องพยานบุคคล , สัญญาจำนำ กม.ไม่ได้บังคับให้ทำเป็นหนังสือ , ทะเบียนบ้านไม่ใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในบ้าน ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง คู่ความจึงสามารถนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงได้ , สค.๑ ไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีมาแสดงจึงไม่อยู่ในบังคับ ป.วิ.พ.มาตรา ๙๔ , กาารที่ จำเลย นำสืบพยานบุคคลว่า ศ นำโฉนดที่ดินพิพาทไปมอบให้จำเลยเพื่อโอนชำระหนี้เงินยืม ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท เป็นการนำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้โฉนดที่ดินพิพาทมาได้อย่างไร โดยไม่ได้อ้างถึงหนังสือสัญญากู้เงินและไม่ได้เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารหนังสือสัญญากู้เงินมาแสดง แม้จะมีข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินที่ระบุว่ามอบโฉนดที่ดินพิพาทไว้เป็นประกัน ไม่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความที่ห้ามมิให้ศาลรับฟังตาม ๙๔ , สัญญาจ้างทำของไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ , การนำสืบของโจทก์มิได้มีผลกรกะทบถึงข้อความหรือข้อตกลงในสัญญากู้เงิน แต่เป็ฯการนำสืบถึงตัวบุคคลผู้ทำสัญญาว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อผู้กู้ ไม่ใช่สืบเปลี่ยนแปลงอันต้องห้ามตาม ข. ,หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้อง ก. กลับมาฟ้อง ขโดยนำพยานบุคคลมาสืบแก้ไขว่าความจริงแล้วผู้มอบอำนาจต้องการให้ฟ้อง ขเช่นนี้ทำไม่ได้ เพราะต้องห้าม ,
อยากให้รู้ คิดถึงเธอขนาดไหน
เปรียบกับฟ้า ก็ยังคงไม่พออธิบาย
อยากให้รู้ คิดถึงเธอกว่าใครจะเข้าใจ
เธออยู่ไหน... ฉันคิดถึงเธออยู่ที่ตรงนี้
-สัญญาจำนองและเป็นสัญญาเงินกู้ ระบุว่า การกู้ยืม คิดดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี การที่จำเลยนำพยานบุคคลมานำสืบว่าตกลงคิดดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๕ ต่อเดือนนั้น เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลง , สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่ได้กำหนดให้โจทก์ต้องทำการรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ดินก่อนโอนฯ การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าโจทก์ไม่ดำเนินการถือว่า ผิดสัญญา ไม่ได้ ต้องห้าม , สัญญากำหนดสถานที่ชำระเงิน จะนำสืบพยานถึงสถานที่ชำระเเงินให้แตกต่างไม่ได้ , สัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้กำหนดค่าธรรมเนียมการโอน จะนำพยานบุคคลมาสืบว่ามีข้อตกกลงให้อีกฝ่ายเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมการโอนไม่ได้ เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเพ่ิมเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร กรณีต้องเป็นไปตาม ปพพ.มาตรา ๔๕๗ , ชำระดอกเบี้ยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่ามีการขำระดอกเบี้ยแล้ว
-กรณีเป็นการสืบข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่ข้อตกลงในสัญญา ข้อเท็จจริงอื่นที่ว่านั้นจะเป็นข้อตกลงอื่นที่แยกได้ต่างหาก มี ๕ประการ
๑.การนำสืบพยานบุคคลถึงที่มาแห่งหนี้ตามเอกสาร คือ การนำสืบว่าหนี้หรือสัญญาตามเอกสารมีที่มาอยา่่งไร เป็นการสืบข้อเท็จจริงที่เป็นเบื้องหลังของการทำสัญญา ไม่ใช่การสืบที่แตะต้องข้อความในเอกสารและไม่ใช่การสืบเพ่ิมเติม เปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อความในเอกสาร จึงสามารถนำสืบได้
พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
ผบ.ร้อย ฝ่ายปกครอง ๑ (กองร้อยที่ ๔)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น