วิอาญา เล่ม ๒
-การสืบพยานเด็ก ... แม้สอบปากคำเด็กไม่ชอบ แต่เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์อ้าง ว. เป็นพยาน ว.ได้เบิกความต่อศาลโดยผ่านนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งชอบด้วย ๑๗๒ ตรีแล้ว ศาลย่อมรับฟังคำเบิกความของ ว. ในชั้นศาลเป็นพยานได้ , กรณีกลับกัน กรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำเด็กมาเบิกความเป็นพยานเนื่องจากหาตัวเด็กไม่พบ และชั้นสอบสวนได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๓๓ ทวิ ศาลย่อมรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การในชั้นสอบสวนได้เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของเด็กในชั้นพิจารณาของศาล ประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๗๓ ตรีวรรคท้าย และมาตรา ๒๒๖/๓ วรรคสอง(๒) (ตัวบท ๑๗๓ ตรี "ในกรณีที่ไม่ได้ตัวพยานมาเบิกความตามวรรคหนึ่ง เพราะมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งให้ศาลรับฟังสื่อภาพและเสียง คำให้การของพยานนั้ันในชั้นสอบสวนตาม ๑๓๓ ทวิ หรือชั้นไต่สวนมูลฟ้องตาม ๑๗๑ วรรคสอง เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของพยานนั้นในชั้นพิจารณาของงศาล และให้ศาลรับฟังประกอบพยานอื่นในการพิจารณาพิพากษาคดีได้" และ ตัวบท ๒๒๖/๓ วรรคสอง อนุ ๒ "ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่าา เว้นแต่ ๒.มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้นได้") แต่กรณีที่จะรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การของพยานได้ ก็ต่อเมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ได้ตัวพยานมาเบิกความต่อศาล เหตุผลที่ว่าไม่ได้ตัวมาโดยไม่ปรากฏว่าเป็นเหตุใด ไม่ใช่เหตุจำเป็นอย่างยิ่ง ศาลไม่อาจรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การเป็นพยานในชั้นพิจารณาได้
-การตั้งทนายความให้จำเลย ๑๗๓ การถามเรื่องทนายที่ต้องถามก่อนเร่ิมพิจารณา คือ ก่อนอ่านฟ้องและถามคำให้การของจำเลย แแต่การถามจำเลยถึงข้อที่จำเลยต้องโทษมาก่อนหรือไม่ก่อนถามเรื่องทนาย ไม่ทำให้คำให้การของจำเลยในเรื่องนี้เสียไป เพราะตามมมาตรา ๑๗๓ หมายถึงก่อนพิจารณาเนื้่อหาความผิดที่ถูกฟ้อง , ก่อนเร่ิมพิจารณา หมายถึง ก่อนอ่านฟ้องและถามคำให้การจำเลย ถ้าศาลถามคำให้การจำเลยก่อนแล้วจึงถามเรื่องทนาย เป็ฯการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา เมื่อคดีขึ้้นสูู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกา ศาลอุทธรณ์หรือฏีกา ก็ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคคดี ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๐๘ อนุ ๒ , การที่ศาลไม่ได้สอบจำเลยเรื่องทนนายความ แต่ปรากฏวว่าจำเลยได้แต่งาทนายความเข้ามาดำเนินคดีว่าต่างให้ตั้งแต่วันสืบพยานโจทก์นัดแรกจนเสร็จกการพิจารรณา ไม่มีเหตุที่ศาลสูงจะสั่งให้ศาลชัั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
ผบ.ร้อย ฝ่ายปกครอง ๑ (กองร้อยที่ ๔)
เป็นเวปไซด์ของ ทนายแผ่นดินมือใหม่ เป็นผู้ดำเนินการจัดทำขึ้นเพื่อสื่อสาร ส่งต่อข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนนักกฎหมายและที่สำคัญเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าทำการทดสอบทางกฎหมายครั้งที่สำคัญที่สุดในชีวิตครับ....
วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วิอาญา เล่ม ๒ -การสืบพยานเด็ก ... แม้สอบปากคำเด็กไม่ชอบ แต่เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์อ้าง ว. เป็นพยาน ว.ได้เบิกความต่อศาลโดยผ่านนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งชอบด้วย ๑๗๒ ตรีแล้ว ศาลย่อมรับฟังคำเบิกความของ ว. ในชั้นศาลเป็นพยานได้ , กรณีกลับกัน กรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำเด็กมาเบิกความเป็นพยานเนื่องจากหาตัวเด็กไม่พบ และชั้นสอบสวนได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๓๓ ทวิ ศาลย่อมรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การในชั้นสอบสวนได้เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของเด็กในชั้นพิจารณาของศาล ประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๗๓ ตรีวรรคท้าย และมาตรา ๒๒๖/๓ วรรคสอง(๒) (ตัวบท ๑๗๓ ตรี "ในกรณีที่ไม่ได้ตัวพยานมาเบิกความตามวรรคหนึ่ง เพราะมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งให้ศาลรับฟังสื่อภาพและเสียง คำให้การของพยานนั้ันในชั้นสอบสวนตาม ๑๓๓ ทวิ หรือชั้นไต่สวนมูลฟ้องตาม ๑๗๑ วรรคสอง เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของพยานนั้นในชั้นพิจารณาของงศาล และให้ศาลรับฟังประกอบพยานอื่นในการพิจารณาพิพากษาคดีได้" และ ตัวบท ๒๒๖/๓ วรรคสอง อนุ ๒ "ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่าา เว้นแต่ ๒.มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้นได้") แต่กรณีที่จะรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การของพยานได้ ก็ต่อเมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ได้ตัวพยานมาเบิกความต่อศาล เหตุผลที่ว่าไม่ได้ตัวมาโดยไม่ปรากฏว่าเป็นเหตุใด ไม่ใช่เหตุจำเป็นอย่างยิ่ง ศาลไม่อาจรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การเป็นพยานในชั้นพิจารณาได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น