วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุปจาก เทพเจ้าจูริส พ.ต.ท.จักรกฤช ชูคง

สรุปวิ.แพ่ง จูริส เล่ม ๑ 
    สรุปจาก  เทพเจ้าจูริส  พ.ต.ท.จักรกฤช  ชูคง  

pastedGraphic.pdfคำฟ้อง pastedGraphic_1.pdfคำฟ้องที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดี  มาตรา 7(2)
     
  (๑)คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่อง
กับคดีที่ค้างการพิจารณาอยู่ในศาลใด  ให้เสนอต่อศาลนั้น
 
(๒)คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการ
บังคับคดีตามคำพิพากษา  หรือคำสั่งของศาลซึ่งคำฟ้องหรือ
คำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะ
ได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้น   ให้เสนอต่อศาลที่
มีอำนาจในการบังคับคดี  ตามมาตรา 302
 
4676/51 คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยรับว่าได้รับชำระหนี้บางส่วนแก่จำเลยแล้ว  และให้จำเลยคิดยอดหนี้ที่ค้างชำระเพื่อโจทก์จะได้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือต่อไปนั้น   เห็นได้ว่าคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา  ซึ่งคำฟ้องเช่นนี้จำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลที่มีการบังคับคดี  โจทก์ต้องไปว่ากล่าวกันในคดีเดิมตามมาตรา 302
 
ข้อน่าสังเกตุ  
ข้อสัญญาที่ว่าจำเลยจะออกค่าธรรมเนียมการโอน  มิใช่ข้อตกลงในสัญญายอมซึ่งศาลพิพากษาตามยอม   แต่เป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นในภายหลัง  จึงไม่อาจบังคับในคดีเดิมได้  ต้องฟ้องร้องเป็นคดีใหม่   โดยต้องฟ้องต่อศาลที่พิพากษาตามยอมนั่นเอง
 
กรณีมอบหมายให้ศาลอื่นบังคับคดีแทน  อาจยื่นคำร้องเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีต่อศาลที่บังคับคดีแทนได้   อย่างไรก็ดี  ศาลที่บังคับคดีแทนคงมีอำนาจเฉพาะที่เกี่ยวกับการบังคับคดีในส่วนที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
 
ทั้งศาลเดิมและศาลที่บังคับคดีแทนมีอำนาจสั่งคำร้องที่อ้างว่าการบังคับคดีไม่ชอบได้ทั้งสองศาล  แต่จากคำวินิจฉัยดังกล่าวดูเหมือนว่า  กรณีศาลที่บังคับคดีแทนจะสั่งคำร้องได้ในกรณีที่ยังไม่ได้ส่งเงินที่ยึดได้หรือเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไปยังศาลเดิมเท่านั้น
ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของ จพค.เกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด  ต้องฟ้องต่อศาลที่มี  อำนาจบังคับคดี  คือ  ศาลที่ออกหมายบังคับคดีหรือศาลที่บังคับคดีแทนก็ได้   โจทก์จะฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตาม มาตรา 4(1)ไม่ได้  เพราะบทบัญญัติมาตรา 4 อยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 7
 
มาตรา 7(4) คำร้องที่เสนอให้ศาลถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือการอนุญาตที่ศาลได้ให้ไว้  คำร้องที่เสนอให้ศาลถอดถอนบุคคลใดจากฐานะที่ศาลได้แต่งตั้งไว้ก็ดี  คำร้องที่เสนอให้ศาลมีคำสั่งใดที่เกี่ยวกับการถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือการอนุญาตหรือที่เกี่ยวเนื่องกับคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งไปแล้วก็ดี  ให้เสนอต่อศาลในคดีที่ได้มีคำสั่งการอนุญาตการแต่งตั้งหรือคำพิพากษานั้น
 
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่แสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิของผู้ร้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382  ไม่ใช่คำสั่งเกี่ยวกับการอนุญาตหรือการแต่งตั้งของศาล  ผู้คัดค้านจะขอให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลในสำนวนคดีเดิมไม่ได้   ต้องฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทเป็นคดีใหม่  เป็นไปตามผลของมาตรา 145(2) "คำพิพากษาหรือคำสั่งย่อมไม่ผูกพันบุคคลภายนอก  เว้นแต่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิแห่งทรัพย์สินใดๆเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้   เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าคนมีสิทธิดีกว่า
 
pastedGraphic_2.pdfการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลอื่น มาตรา 10
 
มาตรา 10  ถ้าไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาใน
ศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย  คู่ความฝ่าย
ที่เสียหายหรืออาจเสียหายเพราะการนั้นจะยื่นคำขอฝ่ายเดียว
โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น   ซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรืออยู่ใน
เขตศาลในขณะนั้นก็ได้   และให้ศาลนั้นมีอำนาจทำคำสั่งอย่างใด
อย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควร   เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
การยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต่อศาลชั้นต้นตามมาตรา 10 โดยอ้างเหตุสุดวิสัยในคำร้องขอเลื่อนคดีก็ได้ ไม่จำต้องยื่นคำร้องแยกเป็นอีกฉบับหนึ่ง  และเป็นอำนาจของศาลที่รับคำร้องตามมาตราสิบ  ที่จะ อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี
 
1374/2546  โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นซึ่งโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่  โจทก์นำคำฟ้องไปยื่นต่อศาลจังหวัดอุดรธานีที่มีเจตเหนือคดีไม่ทันเนื่องจากต้องกลับมาเอาค่าธรรมเนียมซึ่งเตรียมไปไม่พอ  จึงขออนุญาตยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นสั่งในคำร้องส่งไปยังศาลจังหวัดอุดรธานีโดยด่วน  เท่ากับยอมรับว่าโจทก์ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 10 แม้ศาลจังหวัดขอนแก่นไม่ได้สั่งรับคำฟ้อง   แต่การสั่งรับคำร้องและให้ศาลจังหวัดอุดรธานีพิจารณาโดยด่วนถือได้ว่า  ศาลจังหวัดขอนแก่นได้ยอมรับคำฟ้องของโจทก์แล้ว  แม้ศาลจังหวัดอุดรธานีจะรับคำฟ้องของโจทก์ภายหลังก็ไม่มีผลทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความ

pastedGraphic_2.pdfการตรวจคำคู่ความตามมาตรา 18
 
มาตรา 18  ให้ศาลมีอำนาจที่จะตรวจคำคู่ความ
ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลได้รับไว้เพื่อย่ื่นต่อศาล  หรือสั่ง
ให้แก่คู่ความ  หรือบุคคลใดๆ
 
ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ยื่นไว้ดังกล่าวแล้วนั้น
อ่านไม่ออกหรืออ่านไม่เข้าใจ  หรือเขียนฟุ่มเฟื่อยเกินไป
หรือไม่มีรายการ  ไม่มีลายมือชื่อ  ไม่แนบเอกสารต่างๆตามที่
กม.ต้องการ  หรือมิได้ชำระ  หรือวางค่าธรรมเนียมศาล
โดยถูกต้องครบถ้วน  ศาลจะมีคำสั่งให้คืนคำคู่ความนั้นไปให้ทำ
มาใหม่  หรือแก้ไขเพิ่มเติม  หรือชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาล
ให้ถูกต้องครบถ้วน   ภายในระยะเวลาและกำหนดเงื่อนไขใดๆ
ตลอดจนเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่ศาลเห็นสมควร
ก็ได้   ถ้ามิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลในระยะเวลาหรือ
เงื่อนไขที่กำหนดไว้ก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำคู่ความนั้น
 
ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้นำมายื่นดังกล่าวข้างต้น
มิได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกม.ที่บังคับไว้  นอกจากที่กล่าว
มาในวรรคก่อน  หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  เมื่อเห็นว่าสิทธิของ
คู่ความหรือบุคคลซึ่งยื่นคำคู่ความนั้นได้ถูกจำกัดห้ามโดย
บทบัญญัติแห่ง กม.เรื่องเขตอำนาจศาล  ก็ให้ศาลมีคำสั่ง
ไม่รับหรือคืนคำคู่ความนั้นไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
ถ้าไม่มีข้อขัดข้องดังกล่าวแล้ว  ก็ให้ศาลจดแจ้งแสดง
การรับคำคู่ความน้ันไว้บนคำคู่ความนั้นเองหรือในที่อื่น
คำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามมาตรานี้
ให้อุทธรณ์หรือฏีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227 228 247
 
- ถ้าเป็นเรื่องเงินค่าธรรมเนียมที่ผู้อุทธรณ์ต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งและต้องนำมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม มาตรา 229   หากผู้อุทธรณ์ไม่นำมาวาง  ศาลสั่งไม่รับไม่ได้เลย  กรณีไม่ใช่เรื่องของการไม่ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 18  ศาลไม่จำต้องกำหนดเวลาตามมาตรา 18 ให้ชำระก่อนที่จะสั่งไม่รับคำคู่ความ  --968/2552--
 
- คำคู่ความที่ไม่มีลายมือชื่อของผู้ยื่น  ศาลอาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือสั่งแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวได้ตาม มาตราสิบแปด วรรคสอง   ถ้าปรากฏว่าภายหลังศาลรับฟ้องแล้ว  ศาลก็ต้องสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว  จะถือเป็นเหตุให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย  แล้วพิพากษายกฟ้องเสียทีเดียวไม่ได้  , ถ้าล่วงเลยปรากฏในชั้นอุทธรณ์หรือฏีกา  ศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกาก็ต้องยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น  ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องแล้วพิพากษาใหม่
 
โจทก์แต่งทนายความโดยลงลายพิมพ์นิ้วมือมีผู้รับรองเพียงคนเดียว  ทนายความไม่มีอำนาจทำการแทนโจทก์   เมื่อไม่ได้ลงชื่อในคำฟ้องจึงเท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์  ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามมาตรา 18 วรรคสอง
 
- กรณีทนายความยื่นอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจ   ศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขอำนาจทนายความหรือสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 18 ก็ได้   การที่ผู้อุทธรณ์ยื่นใบแต่งทนายความที่ให้อำนาจทนายโจทก์ยื่นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์สั่งให้รับอุทธรณ์ไว้  ถือว่าศาลอุทธรณ์อนุญาตให้อุทธรณ์แล้ว
 
-
ฏีกาที่ 2196/2533  ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยร่วมขาดนัดยื่นคำให้การ  จำเลยร่วมใช้สิทธิตามมาตรา 199  ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยร่วมยื่นคำให้การ  โดยแนบคำให้การมากับคำร้องด้วย  ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าจำเลยร่วมจงใจไม่ยื่นคำให้การดังนี้  เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไปตามมาตรา 199  โดยยังไม่ได้ตรวจคำให้การของจำเลยร่วม  จึงมิใช่เป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 จะนำเอามาตรา 18 วรรคท้าย  มาปรับแก่คดีไม่ได้  คำสั่งที่ว่าจำเลยร่วมจงใจขาดนัดยื่นคำให้การย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา  ตามมาตรา 226  ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา
 
- คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำคู่ความไปทำมาใหม่  แต่ผู้ยื่นคำคู่ความไม่ปฏิบัติตามตามภายในกำหนดเวลา   ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับคำคู่ความนั้นอีก    ดังนี้แม้จะมีการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์(แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับ)มาแล้ว  ก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งให้คืนคำคู่ความได้  ทั้งนี้ถือเป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 18 วรรคท้าย  ประกอบด้วยมาตรา 227  228(3)  ซึ่งอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลา 1 เดือนนับแต่วันที่ ศ.ชั้นต้นมีคำสั่ง    -----   กรณีนี้ไม่ได้ตกอยู่ในบังคับของ มาตรา 234 แห่ง ป.วิ.พ.ที่จำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งภายใน 15 วัน  นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แต่อย่างใด  เพราะกรณีนี้อยู่ในชั้นตรวจคำคู่ความ------เยี่ยมมาก-------
 
การสั่งไม่รับฟ้องตามมาตรา 18 ยังไม่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี  ผู้พิพากษานายเดียวจึงมีอำนาจสั่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 21(2)
 
- เรื่องน่าสนใจ   กรณีฟ้องโจทก์ต้องห้ามตามบทบัญญัติเรื่องเขตอำนาจศาล ตามมาตรา 18 วรรคสองที่บัญญัติให้ศาลไม่รับหรือคืนคำฟ้องเพื่อให้ไปยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ  อย่างไรก็ตาม หากปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาลกลายเป็นประเด็นข้อพิพาท  อันศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้ว  เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคดีไม่ได้อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น  ศาลก็พิพากษายกฟ้องได้  และเมื่อฟังได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว  กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 151วรรคหนึ่งอันศาลจะคืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์ได้
pastedGraphic_3.pdfการขยายหรือย่นระยะเวลา มาตรา 23
 
มาตรา 23 เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความ
ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง  ให้ศาลมีอำนาจ
ที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวล
กม.นี้หรือตามที่ศาลได้กำหนดไว้   หรือระยะเวลาที่เกี่ยว
ด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ในกฏหมายอื่น   เพื่อ
ให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆก่อนสิ้นระยะ
เวลานั้น   แต่การขยายหรือย่นเวลาเช่นว่านี้ให้พึงทำได้ต่อเมื่อ
มีพฤติการณ์พิเศษ  และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมา
ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น   เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย
 
- กรณีใดจะถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษหรือไม่  ต้องดูเป็นรายกรณีไป   ถ้าเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับทนายจำเลย  กรณีไม่มีพฤติการณ์พิเศษแต่อย่างใด
 
- เมื่อวันครบกำหนดยื่นฎีกาตรงกับวันเสาร์  โจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฏีกาได้ในวันจันทร์  แต่การเร่ิมนับเวลาที่ศาลอนุญาตให้ขยายได้ต้องเร่ิมนับต่อจากวันที่ครบกำหนดเดิม  คือ ต้องเร่ิมนับตั้งแต่วันอาทิตย์
 
- ต้องขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นกำหนดเวลานั้น  เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย   เหตุสุดวิสัยหมายถึงพฤติการณ์นอกเหนือที่ทำให้ศาลไม่อาจจะมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาที่ กม.หรือศาลกำหนดไว้
pastedGraphic_2.pdfการชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมาย  มาตรา 24
 
มาตรา 24  เมื่อคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาข้อกฏหมาย                                                 
ขึ้นอ้้าง  ซึ่งถ้าหากได้วินิจฉัยให้เป็นคุณแก่ฝ่ายนั้นแล้ว  จะ
ไม่ต้องมีการพิจารณาคดีต่อไปอีก  หรือไม่ต้องพิจารณาประเด็น
สำคัญแห่งคดีบางข้อ   หรือถึงแม้จะดำเนินนการพิจารณาประเด็น
ข้อสำคัญแห่งคดีไป  ก็ไม่ทำให้ความชัดขึ้นมาอีก   เมื่อศาล
เห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ  ให้ศาล
มีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้มีผลว่าก่อนดำเนินการพิจารณาต่อไป
ศาลจะได้พิจารณาปัญหาข้อ กม.เช่นว่านี้แล้ว  วินิจฉัยชี้ขาด
เบื้องต้นในปัญหานั้น
 
- ถ้าปัญหาที่ศาลวินิจฉัยเป็นปัญหาข้อเท็จจริง  ก็ไม่ใช่เป็นการชี้ขาดตามมาตรานี้  และเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226
pastedGraphic_1.pdfคู่ความมรณะ
 
มาตรา 42  ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้าง
พิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี  ให้่ศาล
เลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการ
ทรัพย์มรดกของผู้มรณะ   หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์
มรดกไว้   จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ    โดยมีคำขอ
เข้ามาเอง  หรือโดยที่ศาลหมายเรียกให้เข้ามา   เนื่องจากคู่ความ
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว   คำขอเช่นว่านี้จะต้องยื่น
ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ
 
-เมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะ   ศาลจะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณาออกไป  [j-vp31%]
 
-การชี้สองสถาน  เป็นการนั่งพิจารณาอย่างหนึ่ง     - จำเลยตายระหว่างอุทธรณ์   คดีจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปก็ต่อเมื่อมีบุคคลเข้าแทนที่คู่ความมรณะ  และศาลจะต้องมีคำสั่งในการเข้ามาแทนที่ตาม ม.42 , 43 ก่อน   เมื่อศาลอุทธรณ์ทำคำพิพากษาแล้วส่งมาให้ ศ.ต้น อ่าน   โดยไม่ได้สั่งคำร้องของโจทก์ที่ให้เรียกทายาทจำเลยเข้ามาแทนที่คู่ความมรณะเสียก่อน    เป็นการไม่ปฏิบัติตาม 243(2) ประกอบ 247  ศ.ฏีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษา ศ.อุทธรณ์  แล้วให้ ศ.อุทธรณ์พิพากษาใหม่     (ข้อสังเกตุเป็นบทบังคับให้ศาลต้องเลื่อนการนั่งพิจารณาออกไป  จนกว่าจะมีคู่ความแทนที่ผู้มรณะแล้วจึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป)
 
- แสดงว่าต้องปรากฏต่อศาลที่พิจารณาคดีอยู่ว่าคู่ความมรณะ  ดังนั้น  แม้คู่ความได้มรณะระหว่างการพิจารณาของศาล   แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาล  ศาลจึงได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไป  โดยไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจนมีคำพิพากษาจถือว่าเป็นการดำเนินคดีที่ไม่ชอบไม่ได้
 
- จำเลยถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาของ ศ.อุทธรณ์   ศ.ต้นต้องส่งคำร้องขอให้หมายเรียกทายาทเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะไปยัง ศ.อุทธรณ์เพื่อสั่ง  
แต่ ศ.ต้นไม่ได้ส่งคำร้องไป ศ.อุทธรณ์   จนกระทั่ง ศ.อุทธรณ์ทำคำพิพากษาเสร็จแล้วมาให้ ศ.ต้นอ่าน  จึงถือไม่ได้ว่า ศาลอุทธรณ์ทราบเรื่องจำเลยมรณะ   อันจะทำให้กระบวนพิจารณาของ ศ.อุทธรณ์ไม่ชอบฯ  แต่การที่ ศ.ต้น อ่านคำพิพากษาของ ศ.อุทธรณ์ฯ โดยทราบอยู่แล้วว่าจำเลยมรณะและยังไม่ได้มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะนั้น  เป็นการไม่ชอบ    ศ.ฏีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษา ศ.อุทธรณ์   แล้วให้ ศ.ต้น ส่งสำนวนไปให้ ศ.อุทธรณ์ เพื่อดำเนินการ 42   - "ช่วงระยะเวลาอุทธรณ์หรือฏีกา" -  ช่วงเวลาตั้งแต่ ศ.ต้น อ่านคำพิพากษาของ ศ.ต้น  หรือ ศ.อุทธรณ์   จนถึงเวลายื่นอุทธรณ์หรือฏีกา  หรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด (ครบกำหนด 1 เดือนโดยไม่มีการอุทธรณ์ฏีกา)  ถือว่าเป็นกรณีที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลระหว่างอุทธรณ์หรือฏีกาเช่นกัน   ทายาทของคู่ความผู้มรณะจึงมีสิทธิขอเข้าไปคู่ความแทนที่เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฏีกาได้  
 
- ในชั้นบังคับคดี   ไม่ใช่กรณีที่เป็นคดีค้างพิจารณาอยู่ในศษล    เมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายในชั้นบังคับคดี   ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ มาตรา 42-44  จึงไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว   เช่น  ไม่ต้องขอเข้ารับมรดกความใน 1 ปี ตามมาตรา 42 แต่ถือว่าสิทธิในการบังคับคดีเป็นมรดกตกทอดตาม ปพพ.1599 1600
 
- ถ้าจำเลยตาย  โจทก์ก็ขอบังคับคดีให้แก่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของจำเลยได้โดยไม่ต้องเรียกทายาทหรือผู้จัดการมรดกของจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยก่อน
 
- ในชั้นบังคับคดี  กรณีโจทก์ตายแม้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่ได้ขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่   ก็มีสิทธิขอดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้
 
-  ประหลาด.....   แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดี    ถ้ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับการบังคับคดีและมีการพิจารณาข้อโต้แย้งดังกล่าว  ถือว่าเป็นกรณีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ    ดังนี้  ระหว่างพิจารณาข้อโต้แย้ง  ถ้าคู่ความฝ่ายใดตาย  ก็ถือว่าเป็นกรณีที่คู่ความมรณะในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล   จึงต้องมีการรับมรดกความ ตาม ปวิพ.42
 
- บุคคลที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทน  ได้แก่   ทายาทของผู้มรณะ ,  ผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ  ,  ผู้ปกครองทรัพย์มรดก
 
-  กรณีทายาทจะต้องเป็นทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้มรณะด้วย   แต่ไม่ต้องคำนึงว่าทายาทนั้นจะได้รับทรัพย์มรดกหรือมีทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทหรือไม่  เพราะทายาทไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวหรือรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน
 
- ถ้าคู่ความที่มรณะได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล   ถึงแม้ผู้ที่เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จะมีทรัพย์สิน  
ก็มีสิทธิได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลต่อไปได้
 
- กรณีศาลอนุญาตให้มีการเข้าแทนที่คู่ความแทนที่จำเลย  ศาลจะพิพากษาให้ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่นั้นชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ได้  ต้องพิพากษาให้จำเลยชำระ  แม้จำเลยจะตายไปแล้ว
 
- การอนุญาตให้บุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ   เป็นดุลพินิจของศาลจะอนุญาตหรือไม่ก็ได้
 
- คดีที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เฉพาะตัว   รับมรดกความไม่ได้  
คดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก   ,   การคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดก
ร้องขอตั้งผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์
เป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความผู้มรณะ  จึงไม่อาจขอรับมรดกความได้
 
-  โจทก์,จำเลยดำเนินคดีในฐานะผู้จัดการมรดก   เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้จัดการมรดก  จึงรับมรดกความไม่ได้
 
-  ผู้ถือหุ้นเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะกรรมการของบริษัทขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุมของบริษัท  ไม่มีลักษณะเป็นการเฉพาะตัวของโจทก์   เมื่อโจทก์มรณะ   ทายาทของโจทก์ย่อมมีสิทธิได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นและเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้
 
-  ความเหมือนกันระหว่าง   สิทธิในการบอกล้างระหว่างสมรส  กับ   สิทธิอาศัย  คือ  
 
ก.สิทธิในการบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส  เป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่สมรส   แต่เมื่อได้มีการบอกล้างสัญญาดังกล่าวแล้ว   ก็ไม่เป็นสิทธิเฉพาะตัวอีกต่อไป  และสิทธิย่อมตกแก่ทายาท  จึงรับมรดกความได้   ข.สิทธิอาศัยเช่นเดียวกัน  เป็นสิทธิเฉพาะตัว  เมื่อผู้ทรงสิทธิอาศัยถึงแก่ความตาย  สิทธิอาศัยย่อมระงับ  แต่ถ้าศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ทรงสิทธิอาศัยได้รับค่าเสียหายด้วย   ในส่วนของค่าเสียหายตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมีลักษณะเป็นทรัพย์สิน  ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวย่อมรับมรดกความกันได้   ---หลักคิดในเรื่องนี้คือ   มันเปลี่ยนสภาพจากสิทธิเฉพาะตัว  เป็นมูลหนี้ที่สามารถเรียกร้องได้แล้ว  ทายาทก็สามารถสวมสิทธิในการเรียกร้องกันได้---
 
- รับมรดกความมีผลเป็นคดีอุทลุม  ต้องห้าม ปพพ.มาตรา 1562  รับมรดกความไม่ได้
 
- ทนายความอยู่ในฐานะตัวแทนของคู่ความ  เมื่อคู่ความตาย  สัญญาตัวแทนระงับลง  แต่ทนายความยังคงมีอำนาจกระทำการอันสมควรเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของคู่ความจนกว่าทายาทหรือผู้จัดการมรดกจะเข้าเป็นคู่ความแทนที่ตาม ปพพ.828  ถ้าคู่ความตายในระหว่างเวลาที่ยื่นอุทธรณ์หรือฏีกา  ทนายความมีอำนาจยื่นอุทธรณ์หรือฏีกาได้   แต่เมื่อครบกำหนด 1 ปี  แล้วไม่มีการขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะ  ศาลต้องจำหน่ายคดี
 
- 2071/2550  ผู้ร้องถึงแก่กรรมขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์  ทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกไม่ได้ร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้ร้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องถึงแก่กรรม  ตาม ปวิพ.42  จนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดีและศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความแล้ว  จึงถือว่าได้ล่วงพ้นระยะเวลาที่ตัวแทนหรือทนายผู้ร้องจะจัดการตาม ปพพ.มาตรา 825 ทนายผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องต่อไป
 
- แม้จะเกิน 1 ปี ก็อยู่ในดุลพินิจที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้........
 
pastedGraphic_3.pdfศาลที่มีอำนาจสั่งในเรื่องการรับมรดกความ
 
ก.คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลใดศาลหนึ่ง
 
-
โดยหลักต้องเป็นศาลที่มีอำนาจสั่ง   -5051/2543โจทก์ถึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค1ต้องถือว่าโจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค1  แต่ระวังมีฏีกาซ้อนเล็กน้อย -  --  จำเลยถึงแก่กรรมขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนที่  เมื่อ บ. ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลย   ศ.ต้นจะต้องทำการไต่สวนให้ได้ความว่าผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วย กม.หรือไม่   แล้วส่งคำร้องดังกล่าวไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพื่อพิจารณาสั่ง   การที่ ศ.ต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จึงไม่ชอบ  ให้ยกคำร้องของศาลชั้นต้น  แต่........เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฏีกาแล้ว  ศาลฏีกามีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 สั่ง
 
ข.กรณีคู่ความมรณะระหว่างกำหนดเวลาอุทธรณ์หรือฏีกา  แบ่งออกเป็น 2 กรณี
 
1.ก่อนศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์หรือฏีกา ---  สำหรับในระหว่างกำหนดเวลาอุทธรณ์หรือฏีกา  นับแต่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น , คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์  ไปจนถึงเวลาก่อนที่ ศ.ต้น รับอุทธรณ์หรือฏีกา  ยังคงอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งเรื่องการรับมรดกความ  เพราะยังไม่มีคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือฏีกา
 
2.กรณีศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์หรือฏีกาแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งสำนวนไปศาลสูง
 
---ก็ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของอุทธรณ์หรือศาลฏีกาแล้ว ศ.ต้นไม่มีอำนาจสั่งคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน  ไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนที่  แต่เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกาแล้วแต่กรณี   ***ข้อสังเกตุ  กรณีคู่ความมรณะระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกา  ซึ่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกาที่จะพิจารณามีคำสั่ง  ดังนั้น  ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะจึงเป็นการทำแทนศาลฏีกา   คู่ความจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณานั้น
 
-คำสั่งอนุญาตให้เข้าแทนที่คู่ความมรณะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา   แต่ถ้าเป็นคำสั่งไม่อนุญาต ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
pastedGraphic_1.pdfรายงานและสำนวนความ  มาตรา 46-54
 
- ต้นฉบับเอกสารทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ  ไม่จำต้องทำคำแปลเสมอไป  นอกจากศาลจะสั่ง  , เมื่อได้ทำคำแปลภาษาต่างประเทศแล้วก็ไม่ต้องนำผู้แปลมาสืบ
pastedGraphic_1.pdfการลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา
 
- มาตรา 50(2) ถ้าคู่ความหรือบุคคลที่จะต้องลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าว  ลงลายมือชื่อไม่ได้หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อ  ให้ศาลทำรายงานจดแจ้งเหตุที่ไม่มีลายมือชื่อนั้นไว้แทนการลงลายมือชื่อ    แต่มีฏีกา 195/2521  วางหลักว่า
 
ก.จะนำ ม.50(2) มาเป็นข้อยกเว้นเรื่องสัญญาประนีประนอมยอมความ  ซึ่งต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ปพพ.มาตรา 851 ไม่ได้
 
ข.คำพิพากษาตามยอมดังกล่าว ขัดต่อ กม.ที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน  อุทธรณ์ฏีกาได้   ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 138(2)
 
ค.ขั้นตอนการมีคำสั่ง
 
1.ให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ
 
2.ยกคำพิพากษาตามยอม
 
3.ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
pastedGraphic_3.pdfการขอตรวจและขอคัดเอกสารในสำนวน   มาตรา 54
 
- มาตรา 54(2) ห้ามมิให้อนุญาตให้คู่ความคัดถ้อยคำพยานฝ่ายตนจนกว่าจะได้สืบ

1 ความคิดเห็น: