ข้อความทั่วไป
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คือ กฎหมายที่เป็นขั้นตอนในการดำเนินคดีเพื่อให้บังคับตามสิทธิของตามกฎหมายสารบัญญัติ เช่น การบังคับให้ชำระหนี้เงิน บังคับขับไล่ ส่งมอบทรัพย์สิน หรือทำนิติกรรม หรือเป็นคดีเกี่ยวกับฐานะของบุคคล เช่น คดีหย่า คดีรับรองบุตร
เขตอำนาจศาล มาตรา 3-7 การเสนอคำฟ้อง มาตรา 4(1) คือ ฟ้องที่จำเลยมีภูมิลำเนาหรือมูลคดีเกิดขึ้น มูลคดีหมายถึงเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้เกิดอำนาจฟ้อง (ฎีกาที่ 2437/2540) สถานที่ที่บริษัทประกันจ่ายเงินให้ผู้เสียหายหาย ไม่ใช่สถานที่มูลคดีเกิดขึ้น ฟ้องละเมิดอ้างว่า คู่สมรสเอาสินรสรสไปขายให้บุคคลอื่น คือ สถานที่ขายทรัพย์สินสมรสในแต่ละรายการ ฟ้องให้รับผิดตามสัญญา คือ สถานที่ทำสัญญา รวมทั้งสถานที่ผิดสัญญา เช่น สถานที่ติดตั้งเครื่องจักร ฟ้องสถานที่ผิดสัญญา คือสถานที่ที่มีการจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกการหย่า ฟ้องขอหย่า คือ สถานที่ที่เหตุหย่าเกิดขึ้นไม่ใช่สถานที่จดทะเบียนหย่า ฟ้องเรียกค่าเสียจากจากการผิดสัญญาจะซื้อจะขาย สถานที่ตั้งของที่ดินไม่ใช่มูลคดีเกิด ยกเว้น ฟ้องบังคับให้โอนที่ดิน เป็นการฟ้องตามมาตรา 4 ทวิ ซึ่งทำได้ ฟ้องเฉพาะผู้ค้ำประกันให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ต้องฟ้องที่สถานที่ทำสัญญาค้ำประกัน จะฟ้องที่สถานที่มูลหนี้เกิดไม่ได้ ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาประกันชีวิต คือ สถานที่ยื่นคำขอให้ตัวแทนประกันชีวิต เพราะถือว่าได้เริ่มต้นทำสัญญาแล้ว ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาบัตรเครดิตต้องฟ้องสาขาที่ลูกค้าทำบัตรเครดิต จะฟ้องที่สาขาสำนักงานใหญ่ไม่ได้ เพราะการอนุมัติเป็นขั้นตอนภายในเท่านั้น แต่ถ้าทำสัญญาและรับบัตรเครดิตที่สำนักงานใหญ่ ถือว่าสำนักงานใหญ่ เป็นสถานที่มูลคดีเกิดขึ้น สถานที่รับสภาพหนี้ ก็เป็นสถานที่มูลคดีเกิดขึ้น สัญญาให้บริการวิทยุคมนาคม คือ สำนักงานใหญ่พิจารณาอนุมัติให้เปิดใช้ไม่ต้องมีขั้นตอนอื่นอีก ถือว่ามูลคดีเกิดที่สำนักงานใหญ่ด้วย หรือจะฟ้องที่ที่สาขาที่ลูกค้ามาติดต่อและยื่นขอรับบริการก็ได้ สัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อได้ลงชื่อก่อน และส่งให้ผู้ให้เช่าซื้อลงชื่อที่สำนักงานใหญ่ มูลคดีเกิดทั้งสองแห่งเนื่องจากสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือระหว่างกัน ฟ้องตามสัญญา สถานที่ส่งสินค้าและรับมอบสินค้าไม่ใช่มูลคดี สัญญาที่ต้องมีการสนองรับ สัญญาจะเกิดเมื่อบอกกล่าวคำสนองไปยังผู้เสนอ สัญญาสามฝ่ายก็อาจมีได้ เช่น การเปิดเครดิตระหว่างกัน ฟ้องให้รับผิดตามเช็ค จะฟ้องที่มูลหนี้เดิมหรือสถานที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ได้ การฟ้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดเป็นสิทธิของโจทก์ไม่ต้องขอศาลก่อนตามกฎหมาย การฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนา ศาลทราบได้หน้าคำฟ้องของโจทก์ ส่วนการฟ้องที่มูลคดีเกิด ศาลจะพิจารณาจากสภาพคำฟ้องของโจทก์ แต่ถ้าคำฟ้องไม่ชัดเจน ศาลก็ไม่รับฟ้อง ตามมาตรา 18 ข้อตกลงให้ฟ้องที่ศาลต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งขัดต่อมาตรา 4 ย่อมใช้บังคับไม่ได้ ฟ้องศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนา-กรณีเป็นบุคคลธรรมดา คือ สถานที่อยู่เป็นแห่ลงสำคัญ ตามปพพ. มาตรา 37 อาจมีหลายแห่งได้แม้ไม่ใช่สถานที่ปรากฏในทะเบียนบ้าน เช่น สถานที่ทำงาน การเปลี่ยนภูมิลำเนา คือ มีการย้ายที่อยู่และเจตนาปรากฏว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนา การแจ้งย้ายออก แต่ไม่ย้ายแจ้งย้ายชื่อเข้า ยังถือว่ามีภูมิลำเนาเดิม ส่วนผู้ถูกจำคุก ต้องมีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงจะถือว่า เรือนจำเป็นภูมิลำเนา ตามปพพ. มาตรา 47 กรณีเป็นนิติบุคคล คือ สำนักงานใหญ่ สาขา หรือภูมิลำเนาเฉพาะการ เช่น สถานที่ติดต่อซื้อขาย ลำพังการติดต่อขอค่าเสียหายหลังเกิดเหตุละเงิดแล้ว ยังไม่ถือเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้อง จำเลยไม่มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร ต้องฟ้องที่ตัวแทนประกอบการอยู่โดยถือว่าเป็นภูมิลำเนาของตัวการได้ เช่น ฟ้องผู้ขนส่ง โดยใช้ภูมิลำเนาของตัวแทนเรือได้ ตามมาตรา 3(2) คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์-คือ คำฟ้องที่บังคับอสังหาริมทรัพย์โดยตรง เช่น บังคับจำนอง หรือคดีขับไล่ แต่การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาจะซื้อจะขาย ไม่ใช่การฟ้องคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ฟ้องขอบังคับให้ถอนการคัดค้านการรับมรดกโอนที่ดิน ไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินโดยตรง การเสนอคดีเป็นคำร้องขอ - ต้องเสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น เช่น เหตุที่วิกลจริตเกิดขึ้น หรือผู้ร้องมีภูมิลำเนาในเขตศาล คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกให้เสนอที่ผู้ตายมิภูมิลำเนาขณะถึงแก่ความตาย จะยื่นคำร้องต่อศาลซึ่งทรัพย์มรดกตั้งอยู่ไม่ได้ คดีที่มีเขตอำนาจศาลหลายศาล - เนื่องจากมีจำเลยหลายคน มูลคดีเกิดหลายแห่ง ทรัพย์สินตั้งอยู่หลายแห่ง เช่น ที่ดินเป็นเจ้าของร่วมกัน หรือข้อหาหลายข้อและข้อหาเกี่ยวข้องกัน เช่น ฟ้องให้รับผิดตามสัญญากู้เงิน จำนองและค้ำประกัน -ข้อตกลงให้ฟ้องคดีนั้นได้ยกเลิกไปแล้ว ดังนั้น ถ้ามีข้อตกลงที่แตกต่างจากกฎหมายย่อมใช้บังคับมิได้ -การเสนอคำฟ้องขอที่เสนอต่อศาลที่เกี่ยวเนื่องกันต้องฟ้องต่อศาลที่คดีค้างพิจารณา คดีจะฟ้องแย้งเกินอำนาจศาลแขวงไม่ได้ แต่ถ้าเป็นชั้นบังคับคดี ก็ร้องขัดทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวงได้ คำร้องเกี่ยวเนื่องจากการบังคับคดี ต้องยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี-คดีให้ศาลอื่นบังคับคดีแทน ผู้เกี่ยวข้องย่อมยื่นคำร้องที่เกี่ยวเนื่องได้ เช่น คำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด แต่จะยื่นขอให้งดบังคับคดีไม่ได้ ฟ้องตามข้อตกลงที่เกี่ยวเนื่องจากสัญญายอมความที่ศาลได้พิพากษาตามยอม ต้องฟ้องต่อศาลที่ทำยอม เช่น ฟ้องเรียกค่าภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน การขอให้เพิกถอนการบังคับคดี จะฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้ ต้องร้องเป็นคดีเดิม เช่น อ้างว่า ยึดเกินกว่ามูลหนี้ แต่ถ้าขอเรียกค่าเสียหายมาด้วย ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ อ้างว่า อีกฝ่ายไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ต้องร้องในคดีเดิมเท่านั้น คดีทำสัญญายอม โจทก์ฟ้องขับไล่เป็นคดีใหม่โดยอ้างว่า ทำสัญญายอมโดยกรรมการซึ่งปลอมหนังสือรายการจดทะเบียนเข้ามาเป็นกรรมการ ย่อมฟ้องได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ คำร้องขอให้ถอดถอนการแต่งตั้งบุคคล- ย่อมร้องต่อศาลที่แต่งตั้งบุคคลนั้น เป็นการถอดถอนผู้จัดการมรดก จะร้องให้ตั้งผู้จัดการมรดกเป็นคดีใหม่ไม่ได้ ร้องขอครอบครองปรปักษ์ ศาลมีคำสั่งให้กรรมสิทธิ์เป็นของผู้ร้องแล้ว เจ้าของที่ดินจะร้องต่อศาลที่ออกคำสั่งไม่ได้ ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ เนื่องจากมิใช่คำสั่งที่แต่งตั้งบุคคลแต่อย่างใด
อำนาจศาลตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เช่น ศาลแพ่งมีดุลพินิจในการรับคดี ถ้าคดีสืบพยานแล้ว ก็ถือว่าใช้ดุลพินิจรับคดี แม้จำเลยไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาล แต่ศาลแพ่งให้พิจารณาคดีต่อไป ถือว่าใช้ดุลพินิจในการรับคดีแล้ว
การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลอื่น- จะยื่นต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาได้ ต้องอ้างเหตุสุดวิสัย เช่น เหตุที่ไม่สามารถเดินทางไปยื่นต่อศาลที่มีอำนาจเหนือคดีได้ ศาลที่รับคำร้องมีคำสั่งรับคำร้องถือว่ามีคำสั่งตามที่ผู้ร้องยื่นได้ เช่น ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าทนายความป่วย ศาลที่รับคำร้องอนุญาต ถือว่าคดีไม่ขาดนัดพิจารณา การที่ศาลคดีเดิม มีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณาย่อมไม่ชอบ ศาลสั่งเพิกถอนได้ ตามมาตรา 27 หรืออาจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาได้ โดยต้องอ้างเกตุสุดวิสัยเข้ามา การตรวจคำคู่ความ การตรวจคำคู่ความ มาตรา 18 คือ ตรวจรูปแบบซึ่งตรวจรายการเอกสารและตรวจเขตอำนาจศาลและมีคำสั่งให้รับฟ้องหรือไม่รับหรือให้คืนคำฟ้อง ส่วนการตรวจตามมาตรา 172 วรรคท้าย คือ ตรวจเนื้อหา จะสั่งยกฟ้องและสั่งค่าธรรมเนียมศาลไปได้ทีเดียว อำนาจในการตรวจนี้ไม่จำกัดเฉพาะเมื่อยื่นคำคู่ความเท่านั้น เมื่อตรวจพบว่า ไม่เสียค่าธรรมเนียมให้ถูกต้อง ก็สั่งให้เสียเพิ่มได้ เมื่อไม่เสียเพิ่ม ย่อมเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา 174(2) การตรวจตามมาตรา 18 ต้องสั่งให้คู่ความแก้ไขก่อน จะสั่งไม่รับทันทีไม่ได้ เช่น เสียค่าขึ้นศาลไม่ครบถ้วน ต้องสั่งให้เสียครบถ้วนก่อน จะสั่งไม่รับฟ้องทันทีไม่ได้ ต่างจากการวางค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตามมาตรา 229 เมื่อผู้อุทธรณ์ไม่ดำเนินการ ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที การที่โจทก์เสียค่าธรรมเนียมศาลไม่ถูกต้อง แม้ศาลไม่สั่งให้เสียเพิ่ม ถือว่าเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับศาล จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา คำคู่ความที่ไม่มีลายมือชื่อ ศาลสั่งให้แก้หรือทำมาใหม่ได้ คำให้การไม่มีลายมือชื่อทนายความ แม้จะลงลายมือชื่อในช่องหมายเหตุท้ายคำให้การแผ่นแรกก็ตาม ก็ไม่ใช่การลงลายมือชื่อในฐานะคำคู่ความ จึงเป็นการไม่ชอบ ผู้แต่งทนายความพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานเพียงคนเดียว ซึ่งไม่ถูกต้อง ศาลสั่งให้แก้หรือให้ทำมาใหม่ได้ เป็นทนายความ แต่ถูกถอนทนายหรือขาดต่อใบอนุญาต ศาลสั่งให้แก้ไขได้ เช่น ยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาใหม่ได้ ทนายไม่ลงชื่อในช่องผู้เรียงพิมพ์ ก็แก้ไขได้ คู่ความใช้แบบพิมพ์ศาลไม่ถูกต้อง ศาลมีหน้าที่ให้แก้ไข แต่ไม่ถึงขนาดทำให้คดีเสียไป ยื่นฟ้องคดีในอายุความ แม้ศาลสั่งให้แก้ทำมาใหม่ ก็ถือว่าฟ้องคดีในอายุความ - เอกสารที่กฎหมายต้องบังคับให้แนบ คือใบแต่งทนายความ, ใบอนุญาตให้ฟ้องคดีจากผู้แทนโดยชอบธรรม เอกสารอื่นไม่จำต้องแนบ สัญญากู้ สัญญาขายฝาก หนังสือมอบอำนาจ หลักฐานเกี่ยวกับค่าเสียหายไม่จำเป็นต้องแนบ คดีที่ศาลยกฟ้องในเนื้อหาตาม มาตรา 172 วรรคท้าย- ไม่มีเหตุคืนค่าขึ้นศาล และไม่จำเป็นต้องสั่งรับฟ้องก่อนด้วย คำสั่งตามมาตรา 18 คู่ความย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้ - แต่การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำให้การ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ คำสั่งให้คืนอุทธรณ์ไปทำมาใหม่ แต่ผู้อุทธรณ์ไม่ทำ ศาลจึงสั่งไม่รับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์สามารถอุทธรณ์คำสั่งที่ให้คืนไปทำมาใหม่ได้ภายในกำหนดเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันศาลมีคำสั่ง การสั่งไม่รับฟ้อง ผู้พิพากษานายเดียวสั่งได้ เพราะไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี โจทก์ฟ้องคดี จำเลยสู้ว่า ศาลไม่มีเขตอำนาจ ศาลพิพากษายกฟ้อง กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลได้ เพราะชั้นการตรวจคำคู่ความแล้ว การขยายหรือย่นระยะเวลา
ระยะเวลาตามกฎหมาย เช่น ระยะเวลาบังคับคดีตามมาตรา 271 ย่อมขยายได้ การขอขยายก่อนสิ้นระยะเวลา ต้องอ้างพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งดูเป็นรายกรณีไป เช่น เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาใกล้ครบกำหนดอุทธรณ์ เนื่องจากเป็นพฤติการณ์นอกเหนือการบังคับ จึงขอขยายได้ ถ้าเป็นเรื่องภายในหรือความผิดของคู่ความก็ขอขยายไม่ได้ การวางเงินค่าธรรมเนียม ต้องขวนขวายหามาแต่เนิ่นๆ จะอ้างเหตุว่าไม่มีเงินนำมาชำระไม่ได้ เป็นความบกพร่องเอง ขอยื่นคำให้การเนื่องจากครบกำหนดเวลายื่นคำให้การแล้ว อ้างว่า ไม่จงใจขาดนัดหรือคดีมีเหตุอันสมควร ซึ่งไม่ได้บรรยายถึงพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัย จะถือว่าเป็นการขยายกำหนดเวลายื่นคำให้การไม่ได้ ในวันครบกำหนดเป็นวันหยุด ก็สามารถยื่นในวันเปิดทำการได้ แต่การนับเวลาที่ขอขยายออกไป ย่อมนับต่อเนื่องแม้วันสุดท้ายที่นับต่อจะเป็นวันหยุดก็ตาม เมื่อสิ้นกำหนดเวลาแล้ว จะมาขอขยายต้องอ้างเหตุสุดวิสัย คือ เหตุที่ไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายได้ ข้ออ้างว่า ทนายป่วย ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้ทันในกำหนด แต่ศาลชั้นต้นก็อาจขยายระยะเวลาได้โดยใช้อำนาจทั่วไปของศาล เช่น ใช้ขยายระยะเวลามากกว่าที่ขอก็ได้ การชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้น
คือ ศาลดูจากคำคู่ความและต้องสั่งเป็นคุณกับผู้ขอ ถ้าดูจากการไต่สวนไม่ใช่การชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้น ถ้าเป็นการชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้น คู่ความสามารถอุทธรณ์ฎีกาได้โดยไม่ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ การขอให้ชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้น จะขอได้เฉพาะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นเท่านั้น การขอให้ชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้น หากศาลไม่วินิจฉัยให้ ก็ยื่นใหม่ได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ เช่น ขอให้วินิจฉัยว่า คดีขาดอายุความหรือฟ้องคดีเป็นฟ้องซ้ำ เมื่อขอแล้ว ศาลอาจวินิจฉัยโดยเหตุอื่นก็ได้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
กระบวนพิจารณาต้องผิดระเบียบด้วย คู่ความต้องเสียหายถึงขอได้ เช่น ศาลแจ้งส่งประเด็นไม่ชอบ แต่หลังจากนั้นได้มีการสืบพยานต่อไป คู่ความไม่เสียหาย คู่ความต้องขอเพิกถอนไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่ทราบเหตุ ถ้าทราบหลังพิพากษา ก็ขอเพิกถอนได้ เช่น ตัวความอ้างว่า มีการปลอมหนังสือแต่งตั้งทนายความเพื่อทำคำพิพากษาตามยอม กรณีที่ศาลเห็นสมควรเพิกถอนคำพิพากษาไม่มีกำหนดเวลาจำกัดไว้ ในชั้นบังคับคดี คู่ความต้องขอเพิกถอนในกำหนดด้วย การให้สัตยาบัน คู่ความก็ไม่สามารถขอเพิกถอนได้ เช่น ผู้เยาว์ยื่นคำให้การ ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ได้ยื่นคำร้องคัดค้าน กลับแต่งทนายมาซักค้านพยานโจทก์ถือว่าให้สัตยาบัน คำฟ้องไม่ลงลายมือชื่อโจทก์ ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งแก้ไข เมื่อจำเลยอุทธรณ์ โดยโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในคำแก้อุทธรณ์ ถือว่ายืนยันว่าฟ้องคดีจริง จึงเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องแล้ว ทนายลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจแก้ไขได้ รวมทั้งทนายความขาดต่อใบอนุญาต การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ไม่ใช่การเพิกถอนการพิพากษา บางกรณีก็มีผลให้คำพิพากษาตกไปได้ ศาลสั่งจำหน่ายคดีโดยมิชอบ ศาลเพิกถอนได้ แม้ศาลยกคำร้องครั้งหนึ่งแล้ว ก็ยื่นอีกได้ไม่เป็นดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ อ้างว่า ผู้ทำยอมไม่ใช่ตัวโจทก์ ต้องมาร้องขอเพิกถอนสัญญายอมในคดีเดิม จะฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้ ศาลที่บังคับคดีแทน ก็มีอำนาจเพิกถอนฯ หรือจะยื่นที่ศาลออกหมายบังคับคดีได้ คู่ความตกลงให้นำพยานที่เบิกความในคดีอื่นมาเป็นพยานในคดีนี้ก็ใช้ได้ไม่ผิดกฎหมาย เมื่อยื่นคำร้องเข้ามา ศาลมีดุลพินิจที่จะไต่สวน ศาลยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนได้ โต้แย้งว่า คำสั่งแจ้งวันสืบประเด็นกลับไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความโต้แย้งได้โดยไม่ต้องคัดค้าน คู่ความจำวันนัดผิด ไม่ใช่การพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลให้เลื่อนคดีเนื่องจากเชื่อว่า ทนายป่วย แม้ไม่ตรงความจริง ศาลก็ไม่สามารถเพิกถอนได้ ศาลรับฟ้องโดยผิดหลง เนื่องจากจำเลยไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาล ศาลสามารถเพิกถอนเป็นไม่รับฟ้องได้ การพิจารณาที่ผิดระเบียบถ้าสามารถแบ่งแยกได้ว่า เป็นระเบียบเฉพาะคู่ความใด ถ้าแก้ไขแล้ว ก็ใช้ได้ เช่น ตามกฎหมายเดิม ศาลต้องสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา เมื่อศาลไม่ได้สั่งจึงไม่ชอบ เมื่อเพิกถอนแล้ว ย่อมให้สืบพยานใหม่เฉพาะคู่ความที่ขาดนัดพิจารณาได้ไม่ต้องสืบพยานใหม่ทั้งคดี การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลต้องส่งคำร้องให้อีกฝ่ายคัดค้านก่อน จะส่งสำเนามาศาลฎีกาเลยไม่ได้ ศาลสั่งอายัดเงินชั่วคราว แต่จำเลยได้ปิดบัญชีและไปเปิดบัญชีใหม่ ศาลแก้ไขคำสั่งให้ตรงความเป็นจริงได้ ละเมิดอำนาจศาล
ในการดำเนินคดีต้องมีการออกข้อกำหนด แต่ถ้าประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ไม่ต้องมีข้อกำหนด ข้อกำหนดไม่ให้คนมาศาลในเวลาทำการ เป็นข้อกำหนดที่ออกเกินความจำเป็น การเขียนอุทธรณ์เสียดสีศาล เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในศาล เช่นเดียวกับการยื่นคำร้องขอคืนหลักประกันอันเป็นเท็จ แม้ถอนคำร้องก็ยังเป็นความผิดอยู่ การประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ไม่จำต้องออกข้อกำหนดก่อน การเปลี่ยนตัวผู้ต้องหา หรือการอ้างว่าเป็นตัวจำเลย ปลอมลายมือชื่อคำร้องขอประกันตัว ใช้รองเท้าตีกันในบริเวณศาล เรียกรับสินบนในบริเวณศาล นำหลักทรัพย์ไปประกันอ้างว่าไม่มีภาระผูกพัน เหล่านี้เป็นละเมิดอำนาจศาล การเรียกเอาเงินให้ผู้พิพากษาแม้ทำนอกศาลก็ผิด แต่ถ้าเรียกเพื่อให้เงินแก่ตำรวจ อัยการ ไม่ผิด ปลอมคำสั่งศาล เมื่อไม่ได้ทำในบริเวณศาล ไม่ผิด แต่เปลี่ยนตัวผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน เป็นผิดข้อนี้ การหลีกเลี่ยงไม่รับคำคู่ความ ก็เป็นความผิด แต่ถ้าพูดถ่วงเวลาเท่านั้น ไม่ใช่การหลีกเลี่ยงไม่รับหมาย ทนายยุยงไม่ให้รับหมาย ก็ผิดเป็นตัวการได้ ความผิดละเมิดอำนาจศาล ถ้าทำต่อหน้าศาล ศาลลงโทษได้ทันที แต่ถ้าไม่ทำต่อหน้าศาล ต้องไต่สวนก่อน แต่พยานที่ให้ปากคำ พยานต้องสาบานก่อนด้วย และการลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นอำนาจศาลโดยเฉพาะ ผู้อื่นหามีสิทธิฟ้องแทนไม่ ผู้เสียหายจึงฎีกาไม่ได้ ศาลชั้นต้นลงโทษละเมิดอำนาจศาล ศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้อง อัยการฎีกาได้ ตามพรบ.อัยการมาตรา 11(7) แต่ถ้าศาลอุทธรณ์ให้รอลงอาญา อัยการฎีกาไม่ได้เพราะไม่ใช่การยกฟ้อง ศาลงโทษละเมิดอำนาจศาล ผู้ถูกคำสั่ง ย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้ทันที ตาม 228(1) โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมศาล และไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย -การดำเนินกระบวนพิจารณาในต่างประเทศ ต้องเป็นกรณีที่ศาลรับฟ้องโดยชอบด้วย การนั่งพิจารณา
-ศาลมีอำนาจกำหนดสถานที่นั่งพิจารณาได้ รวมทั้งสถานที่สั่งรับคำฟ้องได้ด้วย -การขอเลื่อนคดี ต้องแสดงเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ และแสดงด้วยว่า จะเสียความยุติธรรมอย่างไรด้วย เช่น ทนายความป่วย ต้องแสดงด้วยว่า หากไม่ให้เลื่อนคดีจะเสียความยุติธรรมด้วย -การเลื่อนคดีด้วยความเจ็บป่วย อีกฝ่ายจะขอให้ศาลตั้งแพทย์ไปตรวจความเจ็บป่วยได้ แต่จะคัดค้านว่าที่ขอเลื่อนคดีเนื่องจากไม่ยื่นบัญชีระบุพยานไม่ได้ คู่ความรณะ คือ ตัวความรณะ ศาลต้องเลื่อนการนั่งพิจารณาคดี เช่น ต้องเลื่อนการชี้สอง สถานหรือเลื่อนการสืบพยานออกไป เพื่อให้ทายาทหรือหมายเรียกทายาทเข้ามาในคดีแทน แต่ถ้าข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ตัวความมรณะ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลก็ไม่เสียไป ตัวความตายก่อนศาลพิพากษา แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏ ศาลก็อ่านคำพิพากษาได้ คดีจำเลยตายอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่ทราบแต่ศาลชั้นต้นทราบ เมื่อศาลอุทธรณ์แจ้งนัดอ่านคำพิพากษา คำพิพากษาของศาลนั้นชอบด้วยกฎหมาย แต่การอ่านคำพิพากษาของศาลชั้นไม่ชอบ เนื่องจากศาลชั้นต้น ทราบการตายของตัวความแล้ว ต้องไต่สวนแล้ว ส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์สั่งการเข้าเป็นคู่ความแทนที่ เมื่อตัวความตาย ทนายความก็มีอำนาจในการยื่นอุทธรณ์ฎีกาได้ แต่ถ้าไม่เข้ามาในเวลาโดยไม่มีเหตุปรากฏ ศาลต้องจำหน่ายคดี
-คดีอยู่ในชั้นศาลใด ศาลนั้นเป็นผู้มีคำสั่ง คดีอยู่ในศาลสูง ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนแล้วส่งสำนวนให้ศาลสูงเป็นผู้สั่ง แต่ถ้าปรากฏระหว่างยื่นอุทธรณ์ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งได้ คดีร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา แม้ตัวความตาย เมื่อทายาทเข้ามาในคดี ศาลก็ไต่สวนคำร้องต่อไปได้ คู่ความมรณะระหว่างบังคับคดี ทายาทร้องขอบังคับคดีได้โดยไม่ต้องร้องขอตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่ถ้ายื่นคำร้องเข้ามาแล้ว ศาลก็สั่งอนุญาตได้แม้ยื่นคำร้องหลังคดีถึงที่สุดแล้ว หรือแม้ไม่ยื่นคำร้องเข้ามาก็ดำเนินบังคับคดีต่อไปได้ เช่น ขอบังคับขับไล่ คดีที่มีข้อโต้แย้งระหว่างบังคับคดี ก็ถือว่าคดีค้างพิจารณา ก็ร้องเข้ามาได้ -บุคคลที่จะขอเข้ามาเป็นคู่ความแทน คือ ทายาท ผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนที่ปกครองทรัพย์มรดก การเข้ามาของทายาทไม่ต้องคำนึงว่าจะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ แต่ถ้าไม่เป็นทายาทก็ไม่มีสิทธิเข้ามา ทายาทปฏิเสธไม่เข้ามาเป็นคู่ความ ศาลก็มีคำสั่งให้เป็นคู่ความแทนได้ ภรรยาฟ้องสามีเป็นจำเลย ต่อมาภริยาตาย บุตรของเข้ามาดำเนินคดีต่อไปไม่ได้ เป็นคดีอุทลุม ต้องให้อัยการเข้ามาดำเนินคดีแทน ตัวความได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว เมื่อทายาทขอให้ดำเนินคดีต่อไป แม้ทายาทมีทรัพย์สินก็ตาม การให้เข้ามาแทนที่ตัวความ ศาลจะสั่งให้ทายาทต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวไม่ได้ การให้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ เป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงความเหมาะสม ถ้าเป็นคู่ความปรปักษ์กัน ก็ไม่อนุญาตได้
สิทธิที่เป็นการเฉพาะตัว รับมรดกความไม่ได้-เช่น การร้องขอแต่งตั้งบุคคลต่างๆ สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิทธิในการบอกล้างทรัพย์ระหว่างสมรสตามปพพ. มาตรา 1469 เป็นสิทธิเฉพาะตัว คดีฟ้องเรียกค่าเสียหายมาด้วย ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว การรับมรดกความเป็นคดีอุทลุมได้ นิติบุคคลฟ้องคดี ผู้แทนนิติบุคคลตาย ไม่ใช่เรื่องคู่ความมรณะ โจทก์สามารถดำเนินคดีต่อไปได้ เมื่อคู่ความตาย ทนายความก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ฎีกาได้ ตามปพพ. มาตรา 828 แต่ถ้าตายเป็นเวลานานอาจถือว่าเป็นการล่วงพ้นระยะเวลาที่ทนายความมีอำนาจดำเนินคดีต่อไป การจำหน่ายคดีเป็นดุลพินิจของศาล แม้ทายาทยื่นเกินกำหนดเวลา ศาลก็สั่งไม่จำหน่ายคดีก็ได้ ตัวความมรณะระหว่างดำเนินคดีของศาลสูง ศาลนั้นย่อมเป็นผู้สั่ง เช่น ตัวความมรณะระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ต้องเป็นผู้สั่ง ยกเว้นสำนวนขึ้นมาศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาสั่งได้โดยๆไม่ต้องย้อนสำนวนอีก คดีปรากฏว่าตัวความตายซึ่งคดีอยู่ระหว่างการยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งได้เนื่องจากไม่มีคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลสูง แต่ถ้าศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้ว ต้องให้ศาลสูงเป็นผู้สั่งเท่านั้น ศาลชั้นต้นเป็นผู้สั่งไม่ชอบ และไม่ใช่คำสั่งของศาลชั้นต้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลสูง คู่ความจะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ คำสั่งอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนที่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่ถ้าไม่อนุญาตเป็นการไม่รับคำคู่ความ ย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้ทันที
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คือ กฎหมายที่เป็นขั้นตอนในการดำเนินคดีเพื่อให้บังคับตามสิทธิของตามกฎหมายสารบัญญัติ เช่น การบังคับให้ชำระหนี้เงิน บังคับขับไล่ ส่งมอบทรัพย์สิน หรือทำนิติกรรม หรือเป็นคดีเกี่ยวกับฐานะของบุคคล เช่น คดีหย่า คดีรับรองบุตร
เขตอำนาจศาล มาตรา 3-7 การเสนอคำฟ้อง มาตรา 4(1) คือ ฟ้องที่จำเลยมีภูมิลำเนาหรือมูลคดีเกิดขึ้น มูลคดีหมายถึงเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้เกิดอำนาจฟ้อง (ฎีกาที่ 2437/2540) สถานที่ที่บริษัทประกันจ่ายเงินให้ผู้เสียหายหาย ไม่ใช่สถานที่มูลคดีเกิดขึ้น ฟ้องละเมิดอ้างว่า คู่สมรสเอาสินรสรสไปขายให้บุคคลอื่น คือ สถานที่ขายทรัพย์สินสมรสในแต่ละรายการ ฟ้องให้รับผิดตามสัญญา คือ สถานที่ทำสัญญา รวมทั้งสถานที่ผิดสัญญา เช่น สถานที่ติดตั้งเครื่องจักร ฟ้องสถานที่ผิดสัญญา คือสถานที่ที่มีการจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกการหย่า ฟ้องขอหย่า คือ สถานที่ที่เหตุหย่าเกิดขึ้นไม่ใช่สถานที่จดทะเบียนหย่า ฟ้องเรียกค่าเสียจากจากการผิดสัญญาจะซื้อจะขาย สถานที่ตั้งของที่ดินไม่ใช่มูลคดีเกิด ยกเว้น ฟ้องบังคับให้โอนที่ดิน เป็นการฟ้องตามมาตรา 4 ทวิ ซึ่งทำได้ ฟ้องเฉพาะผู้ค้ำประกันให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ต้องฟ้องที่สถานที่ทำสัญญาค้ำประกัน จะฟ้องที่สถานที่มูลหนี้เกิดไม่ได้ ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาประกันชีวิต คือ สถานที่ยื่นคำขอให้ตัวแทนประกันชีวิต เพราะถือว่าได้เริ่มต้นทำสัญญาแล้ว ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาบัตรเครดิตต้องฟ้องสาขาที่ลูกค้าทำบัตรเครดิต จะฟ้องที่สาขาสำนักงานใหญ่ไม่ได้ เพราะการอนุมัติเป็นขั้นตอนภายในเท่านั้น แต่ถ้าทำสัญญาและรับบัตรเครดิตที่สำนักงานใหญ่ ถือว่าสำนักงานใหญ่ เป็นสถานที่มูลคดีเกิดขึ้น สถานที่รับสภาพหนี้ ก็เป็นสถานที่มูลคดีเกิดขึ้น สัญญาให้บริการวิทยุคมนาคม คือ สำนักงานใหญ่พิจารณาอนุมัติให้เปิดใช้ไม่ต้องมีขั้นตอนอื่นอีก ถือว่ามูลคดีเกิดที่สำนักงานใหญ่ด้วย หรือจะฟ้องที่ที่สาขาที่ลูกค้ามาติดต่อและยื่นขอรับบริการก็ได้ สัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อได้ลงชื่อก่อน และส่งให้ผู้ให้เช่าซื้อลงชื่อที่สำนักงานใหญ่ มูลคดีเกิดทั้งสองแห่งเนื่องจากสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือระหว่างกัน ฟ้องตามสัญญา สถานที่ส่งสินค้าและรับมอบสินค้าไม่ใช่มูลคดี สัญญาที่ต้องมีการสนองรับ สัญญาจะเกิดเมื่อบอกกล่าวคำสนองไปยังผู้เสนอ สัญญาสามฝ่ายก็อาจมีได้ เช่น การเปิดเครดิตระหว่างกัน ฟ้องให้รับผิดตามเช็ค จะฟ้องที่มูลหนี้เดิมหรือสถานที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ได้ การฟ้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดเป็นสิทธิของโจทก์ไม่ต้องขอศาลก่อนตามกฎหมาย การฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนา ศาลทราบได้หน้าคำฟ้องของโจทก์ ส่วนการฟ้องที่มูลคดีเกิด ศาลจะพิจารณาจากสภาพคำฟ้องของโจทก์ แต่ถ้าคำฟ้องไม่ชัดเจน ศาลก็ไม่รับฟ้อง ตามมาตรา 18 ข้อตกลงให้ฟ้องที่ศาลต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งขัดต่อมาตรา 4 ย่อมใช้บังคับไม่ได้ ฟ้องศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนา-กรณีเป็นบุคคลธรรมดา คือ สถานที่อยู่เป็นแห่ลงสำคัญ ตามปพพ. มาตรา 37 อาจมีหลายแห่งได้แม้ไม่ใช่สถานที่ปรากฏในทะเบียนบ้าน เช่น สถานที่ทำงาน การเปลี่ยนภูมิลำเนา คือ มีการย้ายที่อยู่และเจตนาปรากฏว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนา การแจ้งย้ายออก แต่ไม่ย้ายแจ้งย้ายชื่อเข้า ยังถือว่ามีภูมิลำเนาเดิม ส่วนผู้ถูกจำคุก ต้องมีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงจะถือว่า เรือนจำเป็นภูมิลำเนา ตามปพพ. มาตรา 47 กรณีเป็นนิติบุคคล คือ สำนักงานใหญ่ สาขา หรือภูมิลำเนาเฉพาะการ เช่น สถานที่ติดต่อซื้อขาย ลำพังการติดต่อขอค่าเสียหายหลังเกิดเหตุละเงิดแล้ว ยังไม่ถือเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้อง จำเลยไม่มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร ต้องฟ้องที่ตัวแทนประกอบการอยู่โดยถือว่าเป็นภูมิลำเนาของตัวการได้ เช่น ฟ้องผู้ขนส่ง โดยใช้ภูมิลำเนาของตัวแทนเรือได้ ตามมาตรา 3(2) คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์-คือ คำฟ้องที่บังคับอสังหาริมทรัพย์โดยตรง เช่น บังคับจำนอง หรือคดีขับไล่ แต่การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาจะซื้อจะขาย ไม่ใช่การฟ้องคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ฟ้องขอบังคับให้ถอนการคัดค้านการรับมรดกโอนที่ดิน ไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินโดยตรง การเสนอคดีเป็นคำร้องขอ - ต้องเสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น เช่น เหตุที่วิกลจริตเกิดขึ้น หรือผู้ร้องมีภูมิลำเนาในเขตศาล คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกให้เสนอที่ผู้ตายมิภูมิลำเนาขณะถึงแก่ความตาย จะยื่นคำร้องต่อศาลซึ่งทรัพย์มรดกตั้งอยู่ไม่ได้ คดีที่มีเขตอำนาจศาลหลายศาล - เนื่องจากมีจำเลยหลายคน มูลคดีเกิดหลายแห่ง ทรัพย์สินตั้งอยู่หลายแห่ง เช่น ที่ดินเป็นเจ้าของร่วมกัน หรือข้อหาหลายข้อและข้อหาเกี่ยวข้องกัน เช่น ฟ้องให้รับผิดตามสัญญากู้เงิน จำนองและค้ำประกัน -ข้อตกลงให้ฟ้องคดีนั้นได้ยกเลิกไปแล้ว ดังนั้น ถ้ามีข้อตกลงที่แตกต่างจากกฎหมายย่อมใช้บังคับมิได้ -การเสนอคำฟ้องขอที่เสนอต่อศาลที่เกี่ยวเนื่องกันต้องฟ้องต่อศาลที่คดีค้างพิจารณา คดีจะฟ้องแย้งเกินอำนาจศาลแขวงไม่ได้ แต่ถ้าเป็นชั้นบังคับคดี ก็ร้องขัดทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวงได้ คำร้องเกี่ยวเนื่องจากการบังคับคดี ต้องยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี-คดีให้ศาลอื่นบังคับคดีแทน ผู้เกี่ยวข้องย่อมยื่นคำร้องที่เกี่ยวเนื่องได้ เช่น คำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด แต่จะยื่นขอให้งดบังคับคดีไม่ได้ ฟ้องตามข้อตกลงที่เกี่ยวเนื่องจากสัญญายอมความที่ศาลได้พิพากษาตามยอม ต้องฟ้องต่อศาลที่ทำยอม เช่น ฟ้องเรียกค่าภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน การขอให้เพิกถอนการบังคับคดี จะฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้ ต้องร้องเป็นคดีเดิม เช่น อ้างว่า ยึดเกินกว่ามูลหนี้ แต่ถ้าขอเรียกค่าเสียหายมาด้วย ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ อ้างว่า อีกฝ่ายไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ต้องร้องในคดีเดิมเท่านั้น คดีทำสัญญายอม โจทก์ฟ้องขับไล่เป็นคดีใหม่โดยอ้างว่า ทำสัญญายอมโดยกรรมการซึ่งปลอมหนังสือรายการจดทะเบียนเข้ามาเป็นกรรมการ ย่อมฟ้องได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ คำร้องขอให้ถอดถอนการแต่งตั้งบุคคล- ย่อมร้องต่อศาลที่แต่งตั้งบุคคลนั้น เป็นการถอดถอนผู้จัดการมรดก จะร้องให้ตั้งผู้จัดการมรดกเป็นคดีใหม่ไม่ได้ ร้องขอครอบครองปรปักษ์ ศาลมีคำสั่งให้กรรมสิทธิ์เป็นของผู้ร้องแล้ว เจ้าของที่ดินจะร้องต่อศาลที่ออกคำสั่งไม่ได้ ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ เนื่องจากมิใช่คำสั่งที่แต่งตั้งบุคคลแต่อย่างใด
อำนาจศาลตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เช่น ศาลแพ่งมีดุลพินิจในการรับคดี ถ้าคดีสืบพยานแล้ว ก็ถือว่าใช้ดุลพินิจรับคดี แม้จำเลยไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาล แต่ศาลแพ่งให้พิจารณาคดีต่อไป ถือว่าใช้ดุลพินิจในการรับคดีแล้ว
การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลอื่น- จะยื่นต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาได้ ต้องอ้างเหตุสุดวิสัย เช่น เหตุที่ไม่สามารถเดินทางไปยื่นต่อศาลที่มีอำนาจเหนือคดีได้ ศาลที่รับคำร้องมีคำสั่งรับคำร้องถือว่ามีคำสั่งตามที่ผู้ร้องยื่นได้ เช่น ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าทนายความป่วย ศาลที่รับคำร้องอนุญาต ถือว่าคดีไม่ขาดนัดพิจารณา การที่ศาลคดีเดิม มีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณาย่อมไม่ชอบ ศาลสั่งเพิกถอนได้ ตามมาตรา 27 หรืออาจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาได้ โดยต้องอ้างเกตุสุดวิสัยเข้ามา การตรวจคำคู่ความ การตรวจคำคู่ความ มาตรา 18 คือ ตรวจรูปแบบซึ่งตรวจรายการเอกสารและตรวจเขตอำนาจศาลและมีคำสั่งให้รับฟ้องหรือไม่รับหรือให้คืนคำฟ้อง ส่วนการตรวจตามมาตรา 172 วรรคท้าย คือ ตรวจเนื้อหา จะสั่งยกฟ้องและสั่งค่าธรรมเนียมศาลไปได้ทีเดียว อำนาจในการตรวจนี้ไม่จำกัดเฉพาะเมื่อยื่นคำคู่ความเท่านั้น เมื่อตรวจพบว่า ไม่เสียค่าธรรมเนียมให้ถูกต้อง ก็สั่งให้เสียเพิ่มได้ เมื่อไม่เสียเพิ่ม ย่อมเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา 174(2) การตรวจตามมาตรา 18 ต้องสั่งให้คู่ความแก้ไขก่อน จะสั่งไม่รับทันทีไม่ได้ เช่น เสียค่าขึ้นศาลไม่ครบถ้วน ต้องสั่งให้เสียครบถ้วนก่อน จะสั่งไม่รับฟ้องทันทีไม่ได้ ต่างจากการวางค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตามมาตรา 229 เมื่อผู้อุทธรณ์ไม่ดำเนินการ ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที การที่โจทก์เสียค่าธรรมเนียมศาลไม่ถูกต้อง แม้ศาลไม่สั่งให้เสียเพิ่ม ถือว่าเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับศาล จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา คำคู่ความที่ไม่มีลายมือชื่อ ศาลสั่งให้แก้หรือทำมาใหม่ได้ คำให้การไม่มีลายมือชื่อทนายความ แม้จะลงลายมือชื่อในช่องหมายเหตุท้ายคำให้การแผ่นแรกก็ตาม ก็ไม่ใช่การลงลายมือชื่อในฐานะคำคู่ความ จึงเป็นการไม่ชอบ ผู้แต่งทนายความพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานเพียงคนเดียว ซึ่งไม่ถูกต้อง ศาลสั่งให้แก้หรือให้ทำมาใหม่ได้ เป็นทนายความ แต่ถูกถอนทนายหรือขาดต่อใบอนุญาต ศาลสั่งให้แก้ไขได้ เช่น ยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาใหม่ได้ ทนายไม่ลงชื่อในช่องผู้เรียงพิมพ์ ก็แก้ไขได้ คู่ความใช้แบบพิมพ์ศาลไม่ถูกต้อง ศาลมีหน้าที่ให้แก้ไข แต่ไม่ถึงขนาดทำให้คดีเสียไป ยื่นฟ้องคดีในอายุความ แม้ศาลสั่งให้แก้ทำมาใหม่ ก็ถือว่าฟ้องคดีในอายุความ - เอกสารที่กฎหมายต้องบังคับให้แนบ คือใบแต่งทนายความ, ใบอนุญาตให้ฟ้องคดีจากผู้แทนโดยชอบธรรม เอกสารอื่นไม่จำต้องแนบ สัญญากู้ สัญญาขายฝาก หนังสือมอบอำนาจ หลักฐานเกี่ยวกับค่าเสียหายไม่จำเป็นต้องแนบ คดีที่ศาลยกฟ้องในเนื้อหาตาม มาตรา 172 วรรคท้าย- ไม่มีเหตุคืนค่าขึ้นศาล และไม่จำเป็นต้องสั่งรับฟ้องก่อนด้วย คำสั่งตามมาตรา 18 คู่ความย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้ - แต่การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำให้การ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ คำสั่งให้คืนอุทธรณ์ไปทำมาใหม่ แต่ผู้อุทธรณ์ไม่ทำ ศาลจึงสั่งไม่รับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์สามารถอุทธรณ์คำสั่งที่ให้คืนไปทำมาใหม่ได้ภายในกำหนดเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันศาลมีคำสั่ง การสั่งไม่รับฟ้อง ผู้พิพากษานายเดียวสั่งได้ เพราะไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี โจทก์ฟ้องคดี จำเลยสู้ว่า ศาลไม่มีเขตอำนาจ ศาลพิพากษายกฟ้อง กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลได้ เพราะชั้นการตรวจคำคู่ความแล้ว การขยายหรือย่นระยะเวลา
ระยะเวลาตามกฎหมาย เช่น ระยะเวลาบังคับคดีตามมาตรา 271 ย่อมขยายได้ การขอขยายก่อนสิ้นระยะเวลา ต้องอ้างพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งดูเป็นรายกรณีไป เช่น เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาใกล้ครบกำหนดอุทธรณ์ เนื่องจากเป็นพฤติการณ์นอกเหนือการบังคับ จึงขอขยายได้ ถ้าเป็นเรื่องภายในหรือความผิดของคู่ความก็ขอขยายไม่ได้ การวางเงินค่าธรรมเนียม ต้องขวนขวายหามาแต่เนิ่นๆ จะอ้างเหตุว่าไม่มีเงินนำมาชำระไม่ได้ เป็นความบกพร่องเอง ขอยื่นคำให้การเนื่องจากครบกำหนดเวลายื่นคำให้การแล้ว อ้างว่า ไม่จงใจขาดนัดหรือคดีมีเหตุอันสมควร ซึ่งไม่ได้บรรยายถึงพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัย จะถือว่าเป็นการขยายกำหนดเวลายื่นคำให้การไม่ได้ ในวันครบกำหนดเป็นวันหยุด ก็สามารถยื่นในวันเปิดทำการได้ แต่การนับเวลาที่ขอขยายออกไป ย่อมนับต่อเนื่องแม้วันสุดท้ายที่นับต่อจะเป็นวันหยุดก็ตาม เมื่อสิ้นกำหนดเวลาแล้ว จะมาขอขยายต้องอ้างเหตุสุดวิสัย คือ เหตุที่ไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายได้ ข้ออ้างว่า ทนายป่วย ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้ทันในกำหนด แต่ศาลชั้นต้นก็อาจขยายระยะเวลาได้โดยใช้อำนาจทั่วไปของศาล เช่น ใช้ขยายระยะเวลามากกว่าที่ขอก็ได้ การชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้น
คือ ศาลดูจากคำคู่ความและต้องสั่งเป็นคุณกับผู้ขอ ถ้าดูจากการไต่สวนไม่ใช่การชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้น ถ้าเป็นการชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้น คู่ความสามารถอุทธรณ์ฎีกาได้โดยไม่ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ การขอให้ชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้น จะขอได้เฉพาะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นเท่านั้น การขอให้ชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้น หากศาลไม่วินิจฉัยให้ ก็ยื่นใหม่ได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ เช่น ขอให้วินิจฉัยว่า คดีขาดอายุความหรือฟ้องคดีเป็นฟ้องซ้ำ เมื่อขอแล้ว ศาลอาจวินิจฉัยโดยเหตุอื่นก็ได้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
กระบวนพิจารณาต้องผิดระเบียบด้วย คู่ความต้องเสียหายถึงขอได้ เช่น ศาลแจ้งส่งประเด็นไม่ชอบ แต่หลังจากนั้นได้มีการสืบพยานต่อไป คู่ความไม่เสียหาย คู่ความต้องขอเพิกถอนไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่ทราบเหตุ ถ้าทราบหลังพิพากษา ก็ขอเพิกถอนได้ เช่น ตัวความอ้างว่า มีการปลอมหนังสือแต่งตั้งทนายความเพื่อทำคำพิพากษาตามยอม กรณีที่ศาลเห็นสมควรเพิกถอนคำพิพากษาไม่มีกำหนดเวลาจำกัดไว้ ในชั้นบังคับคดี คู่ความต้องขอเพิกถอนในกำหนดด้วย การให้สัตยาบัน คู่ความก็ไม่สามารถขอเพิกถอนได้ เช่น ผู้เยาว์ยื่นคำให้การ ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ได้ยื่นคำร้องคัดค้าน กลับแต่งทนายมาซักค้านพยานโจทก์ถือว่าให้สัตยาบัน คำฟ้องไม่ลงลายมือชื่อโจทก์ ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งแก้ไข เมื่อจำเลยอุทธรณ์ โดยโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในคำแก้อุทธรณ์ ถือว่ายืนยันว่าฟ้องคดีจริง จึงเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องแล้ว ทนายลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจแก้ไขได้ รวมทั้งทนายความขาดต่อใบอนุญาต การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ไม่ใช่การเพิกถอนการพิพากษา บางกรณีก็มีผลให้คำพิพากษาตกไปได้ ศาลสั่งจำหน่ายคดีโดยมิชอบ ศาลเพิกถอนได้ แม้ศาลยกคำร้องครั้งหนึ่งแล้ว ก็ยื่นอีกได้ไม่เป็นดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ อ้างว่า ผู้ทำยอมไม่ใช่ตัวโจทก์ ต้องมาร้องขอเพิกถอนสัญญายอมในคดีเดิม จะฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้ ศาลที่บังคับคดีแทน ก็มีอำนาจเพิกถอนฯ หรือจะยื่นที่ศาลออกหมายบังคับคดีได้ คู่ความตกลงให้นำพยานที่เบิกความในคดีอื่นมาเป็นพยานในคดีนี้ก็ใช้ได้ไม่ผิดกฎหมาย เมื่อยื่นคำร้องเข้ามา ศาลมีดุลพินิจที่จะไต่สวน ศาลยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนได้ โต้แย้งว่า คำสั่งแจ้งวันสืบประเด็นกลับไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความโต้แย้งได้โดยไม่ต้องคัดค้าน คู่ความจำวันนัดผิด ไม่ใช่การพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลให้เลื่อนคดีเนื่องจากเชื่อว่า ทนายป่วย แม้ไม่ตรงความจริง ศาลก็ไม่สามารถเพิกถอนได้ ศาลรับฟ้องโดยผิดหลง เนื่องจากจำเลยไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาล ศาลสามารถเพิกถอนเป็นไม่รับฟ้องได้ การพิจารณาที่ผิดระเบียบถ้าสามารถแบ่งแยกได้ว่า เป็นระเบียบเฉพาะคู่ความใด ถ้าแก้ไขแล้ว ก็ใช้ได้ เช่น ตามกฎหมายเดิม ศาลต้องสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา เมื่อศาลไม่ได้สั่งจึงไม่ชอบ เมื่อเพิกถอนแล้ว ย่อมให้สืบพยานใหม่เฉพาะคู่ความที่ขาดนัดพิจารณาได้ไม่ต้องสืบพยานใหม่ทั้งคดี การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลต้องส่งคำร้องให้อีกฝ่ายคัดค้านก่อน จะส่งสำเนามาศาลฎีกาเลยไม่ได้ ศาลสั่งอายัดเงินชั่วคราว แต่จำเลยได้ปิดบัญชีและไปเปิดบัญชีใหม่ ศาลแก้ไขคำสั่งให้ตรงความเป็นจริงได้ ละเมิดอำนาจศาล
ในการดำเนินคดีต้องมีการออกข้อกำหนด แต่ถ้าประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ไม่ต้องมีข้อกำหนด ข้อกำหนดไม่ให้คนมาศาลในเวลาทำการ เป็นข้อกำหนดที่ออกเกินความจำเป็น การเขียนอุทธรณ์เสียดสีศาล เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในศาล เช่นเดียวกับการยื่นคำร้องขอคืนหลักประกันอันเป็นเท็จ แม้ถอนคำร้องก็ยังเป็นความผิดอยู่ การประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ไม่จำต้องออกข้อกำหนดก่อน การเปลี่ยนตัวผู้ต้องหา หรือการอ้างว่าเป็นตัวจำเลย ปลอมลายมือชื่อคำร้องขอประกันตัว ใช้รองเท้าตีกันในบริเวณศาล เรียกรับสินบนในบริเวณศาล นำหลักทรัพย์ไปประกันอ้างว่าไม่มีภาระผูกพัน เหล่านี้เป็นละเมิดอำนาจศาล การเรียกเอาเงินให้ผู้พิพากษาแม้ทำนอกศาลก็ผิด แต่ถ้าเรียกเพื่อให้เงินแก่ตำรวจ อัยการ ไม่ผิด ปลอมคำสั่งศาล เมื่อไม่ได้ทำในบริเวณศาล ไม่ผิด แต่เปลี่ยนตัวผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน เป็นผิดข้อนี้ การหลีกเลี่ยงไม่รับคำคู่ความ ก็เป็นความผิด แต่ถ้าพูดถ่วงเวลาเท่านั้น ไม่ใช่การหลีกเลี่ยงไม่รับหมาย ทนายยุยงไม่ให้รับหมาย ก็ผิดเป็นตัวการได้ ความผิดละเมิดอำนาจศาล ถ้าทำต่อหน้าศาล ศาลลงโทษได้ทันที แต่ถ้าไม่ทำต่อหน้าศาล ต้องไต่สวนก่อน แต่พยานที่ให้ปากคำ พยานต้องสาบานก่อนด้วย และการลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นอำนาจศาลโดยเฉพาะ ผู้อื่นหามีสิทธิฟ้องแทนไม่ ผู้เสียหายจึงฎีกาไม่ได้ ศาลชั้นต้นลงโทษละเมิดอำนาจศาล ศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้อง อัยการฎีกาได้ ตามพรบ.อัยการมาตรา 11(7) แต่ถ้าศาลอุทธรณ์ให้รอลงอาญา อัยการฎีกาไม่ได้เพราะไม่ใช่การยกฟ้อง ศาลงโทษละเมิดอำนาจศาล ผู้ถูกคำสั่ง ย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้ทันที ตาม 228(1) โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมศาล และไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย -การดำเนินกระบวนพิจารณาในต่างประเทศ ต้องเป็นกรณีที่ศาลรับฟ้องโดยชอบด้วย การนั่งพิจารณา
-ศาลมีอำนาจกำหนดสถานที่นั่งพิจารณาได้ รวมทั้งสถานที่สั่งรับคำฟ้องได้ด้วย -การขอเลื่อนคดี ต้องแสดงเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ และแสดงด้วยว่า จะเสียความยุติธรรมอย่างไรด้วย เช่น ทนายความป่วย ต้องแสดงด้วยว่า หากไม่ให้เลื่อนคดีจะเสียความยุติธรรมด้วย -การเลื่อนคดีด้วยความเจ็บป่วย อีกฝ่ายจะขอให้ศาลตั้งแพทย์ไปตรวจความเจ็บป่วยได้ แต่จะคัดค้านว่าที่ขอเลื่อนคดีเนื่องจากไม่ยื่นบัญชีระบุพยานไม่ได้ คู่ความรณะ คือ ตัวความรณะ ศาลต้องเลื่อนการนั่งพิจารณาคดี เช่น ต้องเลื่อนการชี้สอง สถานหรือเลื่อนการสืบพยานออกไป เพื่อให้ทายาทหรือหมายเรียกทายาทเข้ามาในคดีแทน แต่ถ้าข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ตัวความมรณะ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลก็ไม่เสียไป ตัวความตายก่อนศาลพิพากษา แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏ ศาลก็อ่านคำพิพากษาได้ คดีจำเลยตายอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่ทราบแต่ศาลชั้นต้นทราบ เมื่อศาลอุทธรณ์แจ้งนัดอ่านคำพิพากษา คำพิพากษาของศาลนั้นชอบด้วยกฎหมาย แต่การอ่านคำพิพากษาของศาลชั้นไม่ชอบ เนื่องจากศาลชั้นต้น ทราบการตายของตัวความแล้ว ต้องไต่สวนแล้ว ส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์สั่งการเข้าเป็นคู่ความแทนที่ เมื่อตัวความตาย ทนายความก็มีอำนาจในการยื่นอุทธรณ์ฎีกาได้ แต่ถ้าไม่เข้ามาในเวลาโดยไม่มีเหตุปรากฏ ศาลต้องจำหน่ายคดี
-คดีอยู่ในชั้นศาลใด ศาลนั้นเป็นผู้มีคำสั่ง คดีอยู่ในศาลสูง ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนแล้วส่งสำนวนให้ศาลสูงเป็นผู้สั่ง แต่ถ้าปรากฏระหว่างยื่นอุทธรณ์ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งได้ คดีร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา แม้ตัวความตาย เมื่อทายาทเข้ามาในคดี ศาลก็ไต่สวนคำร้องต่อไปได้ คู่ความมรณะระหว่างบังคับคดี ทายาทร้องขอบังคับคดีได้โดยไม่ต้องร้องขอตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่ถ้ายื่นคำร้องเข้ามาแล้ว ศาลก็สั่งอนุญาตได้แม้ยื่นคำร้องหลังคดีถึงที่สุดแล้ว หรือแม้ไม่ยื่นคำร้องเข้ามาก็ดำเนินบังคับคดีต่อไปได้ เช่น ขอบังคับขับไล่ คดีที่มีข้อโต้แย้งระหว่างบังคับคดี ก็ถือว่าคดีค้างพิจารณา ก็ร้องเข้ามาได้ -บุคคลที่จะขอเข้ามาเป็นคู่ความแทน คือ ทายาท ผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนที่ปกครองทรัพย์มรดก การเข้ามาของทายาทไม่ต้องคำนึงว่าจะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ แต่ถ้าไม่เป็นทายาทก็ไม่มีสิทธิเข้ามา ทายาทปฏิเสธไม่เข้ามาเป็นคู่ความ ศาลก็มีคำสั่งให้เป็นคู่ความแทนได้ ภรรยาฟ้องสามีเป็นจำเลย ต่อมาภริยาตาย บุตรของเข้ามาดำเนินคดีต่อไปไม่ได้ เป็นคดีอุทลุม ต้องให้อัยการเข้ามาดำเนินคดีแทน ตัวความได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว เมื่อทายาทขอให้ดำเนินคดีต่อไป แม้ทายาทมีทรัพย์สินก็ตาม การให้เข้ามาแทนที่ตัวความ ศาลจะสั่งให้ทายาทต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวไม่ได้ การให้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ เป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงความเหมาะสม ถ้าเป็นคู่ความปรปักษ์กัน ก็ไม่อนุญาตได้
สิทธิที่เป็นการเฉพาะตัว รับมรดกความไม่ได้-เช่น การร้องขอแต่งตั้งบุคคลต่างๆ สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิทธิในการบอกล้างทรัพย์ระหว่างสมรสตามปพพ. มาตรา 1469 เป็นสิทธิเฉพาะตัว คดีฟ้องเรียกค่าเสียหายมาด้วย ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว การรับมรดกความเป็นคดีอุทลุมได้ นิติบุคคลฟ้องคดี ผู้แทนนิติบุคคลตาย ไม่ใช่เรื่องคู่ความมรณะ โจทก์สามารถดำเนินคดีต่อไปได้ เมื่อคู่ความตาย ทนายความก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ฎีกาได้ ตามปพพ. มาตรา 828 แต่ถ้าตายเป็นเวลานานอาจถือว่าเป็นการล่วงพ้นระยะเวลาที่ทนายความมีอำนาจดำเนินคดีต่อไป การจำหน่ายคดีเป็นดุลพินิจของศาล แม้ทายาทยื่นเกินกำหนดเวลา ศาลก็สั่งไม่จำหน่ายคดีก็ได้ ตัวความมรณะระหว่างดำเนินคดีของศาลสูง ศาลนั้นย่อมเป็นผู้สั่ง เช่น ตัวความมรณะระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ต้องเป็นผู้สั่ง ยกเว้นสำนวนขึ้นมาศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาสั่งได้โดยๆไม่ต้องย้อนสำนวนอีก คดีปรากฏว่าตัวความตายซึ่งคดีอยู่ระหว่างการยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งได้เนื่องจากไม่มีคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลสูง แต่ถ้าศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้ว ต้องให้ศาลสูงเป็นผู้สั่งเท่านั้น ศาลชั้นต้นเป็นผู้สั่งไม่ชอบ และไม่ใช่คำสั่งของศาลชั้นต้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลสูง คู่ความจะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ คำสั่งอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนที่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่ถ้าไม่อนุญาตเป็นการไม่รับคำคู่ความ ย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้ทันที
รายงานและสำนวนคดี
-เอกสารภาษาต่างประเทศ ศาลสั่งให้ทำคำแปลแนบมาด้วยได้ แต่ไม่ต้องแปลเสมอไปนอกจากศาลจะสั่ง เมื่อแปลมาแล้ว ก็ไม่ต้องนำผู้แปลมาสืบ การที่ส่งคำแปลหลังจากสืบพยานเสร็จแล้ว ก็ไม่ต้องห้ามรับฟัง เอกสารมีทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ แม้มิได้ทำคำแปล ศาลก็รับฟังในส่วนภาษาไทยได้ การแปลไม่ถูกต้องตามต้นฉบับภาษาอังกฤษ ศาลรับฟังตามต้นฉบับได้
ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา -สัญญายอมความ คู่ความต้องลงลายมือชื่อ จะนำเรื่องการจดแจ้งการลงลายมือชื่อไม่ได้ การที่ไม่ยอมลงลายมือชื่อ ก็ไม่ทำให้กระบวนพิจารณาเสียไป ในช่องหมายเหตุข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว แม้ผู้ร้องไม่ลงชื่อ ก็ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว -การขอตรวจและขอคัดเอกสารในสำนวน เมื่อศาลชั้นต้นให้คัดคำเบิกความพยานฝ่ายโจทก์ขณะที่โจทก์สืบไม่เสร็จสิ้น โดยไม่ปรากฏพฤติการณ์พิเศษย่อมไม่ชอบ แต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามรับฟังพยานที่นำสืบในภายหลังเป็นเด็ดขาดไว้ หากคำพยานภายหลังไม่เปลี่ยนแปลง ศาลย่อมรับฟังได้ อำนาจฟ้อง
-ถ้ามีข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่ง ให้ทำเป็นคำฟ้อง ส่วนคดีไม่มีข้อพิพาทให้ทำเป็นคำร้องขอ ซึ่งต้องมีกฎหมายสนับสนุนให้ดำเนินการได้ด้วย ถ้าไม่มีกฎหมายสนับสนุน ก็ไม่สามารถยื่นคำร้องได้ เช่น ยื่นขอครอบครองปรปักษ์ที่ดินไม่มีโฉนด แต่คดีร้องขอให้รับรองบุตร เมื่อบิดาได้เสียชีวิตไปแล้ว จึงไม่มีตัวความเป็นจำเลยและไม่แน่ว่าจะมีผู้คัดค้านหรือไม่ จึงทำเป็นคำร้องขอได้ คดีครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนดจะยื่นเป็นคำร้องขอหรือฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทก็ได้ โจทก์จะฟ้องให้ให้แสดง่าตนไม่เป็นหนี้ไม่ได้ -อำนาจฟ้องคดีมีข้อพิพาท กรณีทำละเมิดต่อสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เจ้าหน้าที่รัฐผู้ดูแลทรัพย์สิน ย่อมฟ้องผู้ทำละเมิดได้ ส่วนประชาชนทั่วไป ผู้ได้รับความเสียหายในกรณีพิเศษ ย่อมฟ้องได้ แต่ผู้ที่ไม่ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยเพียงแต่ยื่นคำร้องขอออก นส. 3 หรือออกที่ดินทับที่สาธารณะประโยชน์ ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยขัดขวางการใช้ประโยชน์ ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิ โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดิน ยังไม่ได้ครอบครอง จึงฟ้องขับไล่ไม่ได้ ผู้เช่ารถยนต์ ย่อมฟ้องผู้ทำละเมิดในส่วนค่าเสียหายจากการไม่สามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์ได้ คดีฟ้องขับไล่ เจ้าของที่ได้ฟ้องคดี ต่อมาได้โอนให้ผู้อื่นไป ก็ยังมีอำนาจฟ้องคดีอยู่ ผู้ไม่เป็นบุคคล เช่น รัฐบาล, กองมรดก เป็นคู่ความไม่ได้ แต่ถ้ามีฐานะหรือตำแหน่งตามกฎหมายย่อมฟ้องได้ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ อธิบดี พนักงานสอบสวน เป็นการฟ้องในนามตำแหน่งแม้จะไม่ใช่ผู้ที่ทำสัญญา สัญญากำหนดให้ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ก็ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน ถ้ามาฟ้องคดีอีกฝ่ายขอให้ศาลจำหน่ายคดีได้ตาม พรบ.อนุญาโตตุลาการ แต่ถ้าตกลงกันเองไม่ต้องตั้งอนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลต้องฟ้องผู้รับโอนมาด้วย เจ้าของรวมคนหนึ่งมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ทำละเมิดได้ เมื่อศาลพิพากษาคดีแล้ว ย่อมผูกพันเจ้าของรวมอื่น ทายาทที่ถูกฟ้องให้รับผิดในหนี้ของเจ้ามรดกจะสู้ว่าไม่มีทรัพย์มรดกไม่ได้ การดำเนินคดีของผู้ไร้ความสามารถ
ผู้ไร้ความสามารถ คือ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ ผู้พิทักษ์ฟ้องคดีแทนคนเสมือนไร้ความสามารถไม่ได้ สำหรับผู้เยาว์ ผู้แทนโดยชอบธรรมมีสิทธิฟ้องคดีแทนผู้เยาว์ได้ เมื่อผู้เยาว์ฟ้องคดี ศาลสั่งไม่รับฟ้องไม่ได้ แต่ต้องแก้ไขข้อบกพร่องก่อนพิพากษาแม้ภายหลังสืบพยานเสร็จแล้วหรือคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลสูง เช่น ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเข้ามาดำเนินคดีแทนหรือให้ความยินยอม ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ไม่ต้องแก้ไขข้อบกพร่องอีก บิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องคดี ต่อมาได้สมรสในภายหลังก็ไม่ต้องแก้ไขอีก คดีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่เข้ามาดำเนินคดีแทน ศาลจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีไม่ได้ เพราะการตั้งผู้แทนเฉพาะคดีต้องเป็น กรณีที่ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม ร้องสอด
การร้องสอดต้องยื่นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จะยื่นระหว่างอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ คดีเสร็จการพิจารณาแล้ว เช่น มีการยอมความแล้ว ศาลชั้นต้นยกฟ้องแล้ว หรือจำหน่ายคดีไปแล้ว ก็ไม่อาจร้องสอดได้เพราะไม่มีคู่ความ ถ้าศาลเห็นว่า การเข้ามาในคดีจะเป็นการยุ่งยาก ศาลมีดุลพินิจที่จะไม่ให้เข้ามาในคดีได้ เช่น โจทก์ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นการดำเนินคดีในนามกองมรดกและทำแทนทายาทอื่น การที่ผู้ร้องสอดร้องขอเข้ามาในคดี เป็นการมิก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ จึงไม่เห็นควรให้ร้องสอดเข้ามาในคดี ผู้ร้องสอดต้องเป็นบุคคลภายนอกคดี คู่ความจึงไม่อาจเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดได้ในอีกฐานะหนึ่ง ผู้ถือหุ้นของบริษัท ร้องสอดเข้ามาในคดีไม่ได้ ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องคดีแล้ว ก็เป็นบุคคลภายนอกคดี ร้องสอดเข้ามาได้ เมื่อได้ยื่นคำร้องเข้ามาแม้บรรยายไม่ถูกต้อง ศาลก็จะพิจารณาตามเนื้อหาคำร้องที่ถูกต้อง เช่น ร้องขอเข้าเป็นคู่ความร่วม ศาลสั่งให้เข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้
การร้องสอดตาม 51(1) มีสองกรณี คือ ร้องสอดคดีระหว่างพิจารณา กับร้องสอดระหว่างบังคับคดี ที่เรียกว่า เข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ร้องสอดเข้ามาอ้างว่า ทรัพย์เป็นของผู้ร้องสอด ต้องเป็นทรัพย์ที่พิพาทในคดีเดิม จะหยิบเอาทรัพย์อื่นเป็นข้อพิพาทไม่ได้ เช่น ฟ้องกันเฉพาะที่ดินแปลงหมายเลข 5 จะร้องสอดที่ดินแปลงอื่นไม่ได้ แม้นำชี้ที่ดินแปลงอื่นด้วยก็ตาม ผลของคดีไม่ทำให้ผู้ร้องสอดต้องกระทบ ก็ร้องสอดไม่ได้ เช่น คดีฟ้องขับไล่ จำเลยไม่ได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์และศาลยังไม่ได้ขับไล่ สิทธิของผู้ร้องมีอยู่อย่างไรก็มีอยู่เพียงนั้น จึงไม่เป็นการจำเป็นต้องร้องสอดเข้ามาในคดี คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา แสดงว่า ต้องยื่นคำร้องสอดมาก่อนศาลชั้นต้นตัดสินคดี เมื่อคดีศาลชั้นต้นเสร็จแล้ว จึงไม่อาจร้องสอดได้ เมื่อยื่นเข้ามาแล้ว การอนุญาตเป็นดุลพินิจศาล เช่น ยื่นเข้ามาหลังสืบพยานเสร็จแล้ว ศาลไม่อนุญาตได้ คดีศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว การให้ย้อนสำนวนต้องสืบพยานใหม่ จึงไม่เห็นสมควรให้ร้องสอดเข้ามาในคดี การ้องสอดเข้ามาตาม 57(1) อาจทำเป็นคำฟ้องหรือคำให้การก็ได้ กล่าวคือ อาจร้องเข้ามาในฐานะโจทก์หรือจำเลยก็ได้ แล้วแต่เนื้อหาคำร้องสอด ซึ่งถ้าสภาพเป็นคำฟ้อง ต้องมีคำขอบังคับ แต่ถ้าเป็นคำให้การ มีแค่คำขอให้ยกฟ้องคดีได้ เช่น เข้ามาในฐานะจำเลยขอให้ศาลยกฟ้องก็ได้ แต่ต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น เมื่อไม่ทำตามคำร้องสอดย่อมไม่ชอบ ถ้าร้องเข้ามามีสภาพอย่างคำฟ้อง ต้องมีคำขอบังคับมิฉะนั้นคำร้องสอดย่อมไม่ชอบ และศาลต้องสั่งให้โจทก์และจำเลยยื่นคำให้การแก้ร้องสอดด้วย และเมื่อถือว่าคำร้องสอดเป็นคำฟ้อง จึงมีกรณีฟ้องซ้อนได้ เช่น ได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยเข้ามาแล้ว การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องเข้มาอีกเป็นร้องซ้อน ร้องสอดในชั้นบังคดี เช่น ผู้ร้องสอดฟ้องขับไล่เป็นอีกคดีแล้ว ต่อมาผู้ร้องได้ยื่นคำร้องเข้ามาในคดีที่ร้องครอบครองปรปักษ์เป็นการดำเนินการในชั้นบังคับคดีย่อมเป็นการร้องซ้อน การปลอมหนังสือหนังสือมอบอำนาจเพื่อนำไปโอนที่ดินให้แก่กัน จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องสอดเข้ามาตรา 57(1) โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย ผู้ร้องสอดอ้างว่าเป็นเจ้าของไม่ใช่ที่ของโจทก์ ย่อมร้องสอดได้ ถ้าไม่ได้ร้องสอดเข้ามาในคดี ก็ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดีได้ เช่น อ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านที่ต้องรื้อถอน สามารถยื่นคำร้องได้โดยไม่ต้องรอให้บังคับคดีเสียก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่า ผู้ร้องสอดเป็นตัวแทนเชิดของจำเลย จำเลยให้การว่า ไม่ได้เชิดผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่า ได้ทำสัญญาในนามตนเอง โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ขอให้ศาลยกฟ้องได้ ฟ้องแบ่งมรดกระหว่างทายาท ทายาทอื่นเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิฟ้องคดีขอให้แบ่งส่วนของตนได้ แต่ถ้าเป้นคดีที่ผู้จัดการมรดกเรียกทรัพย์มรดกจากบุคคลภายนอก ถือว่าเป็นการฟ้องแทนทายาทอื่น ทายาทอื่นจะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามไม่ได้ เพราะเป็นการต่อสู้กับตัวแทนของตนเอง ที่ดินนำมาขอทุเลาการบังคับคดี เจ้าหนี้ภาษีก็สามารถยึดทรัพย์ได้ ผู้ซื้อทรัพย์จึงมาร้องสอดขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้ โจทก์จำเลยสมคบกันทำสัญญากู้กันโดยไม่เป็นหนี้ และนำหนี้มาบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลย ผู้ร้องได้สอดเข้ามาในคดีเพื่อไม่ให้จำเลยต้องโอนทรัพย์ให้โจทก์ได้ คดีที่จำเลยเป็นบริษัท ผู้ถือหุ้นของจำเลยไม่ต้องถูกบังคับคดี จึงไม่มีสิทธิเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามหรือคู่ความร่วม โจทก์เป็นบริษัทฟ้องเรียกเงินจากจำเลย ผู้ถือหุ้นร้องสอดไม่ได้ การร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดี ผู้ร้องสัญญายอมแบ่งที่ดินส่วนของตนให้ ค. ค. จึงเป็นผู้สืบสิทธิจากผู้ร้องสอด เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แบ่งที่ดินอันมีผลกระทบต่อ ค. ค. จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษา เช่น ซื้อสิทธิเรียกร้องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ย่อมมีสิทธิร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้ และไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพราะไม่ได้เรียกร้องสิ่งใดขึ้นใหม่ แต่ถ้าโจทก์ไม่ได้ร้องขอบังคับคดีในสิบปี ตามปวิพ. มาตรา 271 ย่อมหมดสิทธิบังคับคดี จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่อนุญาตให้ร้องสอดเข้ามาในคดี คดีโจทก์ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น ไม่ได้นำยึดทรัพย์ จึงไม่มีเหตุอันสมควรให้ร้องสอดเข้ามาในคดี ศาลชอบที่ยกคำร้องเสียได้เลย มิใช่มีคำสั่งเพียงไม่รับคำร้องขอเท่านั้น การร้องสอดเข้ามาในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ย่อมสามารถกระทำได้ เช่น ยื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินร้องสอดในชั้นบังคับคดีได้ แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนแล้ว ถือว่าบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่อาจยื่นคำร้องเข้ามาได้ ในคดีตั้งผู้จัดการมรดก มีประเด็นเพียงสมควรตั้งเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ส่วนทรัพย์มรดกมีสิ่งใดบ้าง ผู้ร้องสอดอ้างว่า ทรัพย์เป็นของตนไม่ได้ การร้องสอด ตามมาตรา 57(2) ต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี หมายถึงผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับคดีโดยตรงหรือผลของคดีกระทบไปถึงของตนด้วย ข้ออ้างที่ว่า ถ้าจำเลยแพ้คดีจะไล่เบี้ยต่อผู้ร้องก็ไม่ใช่เหตุตามมาตรา 57(2) แต่เป็นเหตุตามมาตรา 57(3) ซึ่งให้คู่ความหรือศาลหมายเรียกเข้า ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเองไม่ได้ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย ซึ่งผู้ร้องอาศัยอยู่ด้วยโดยอ้างว่า มีสิทธิเช่าที่ดินกับโจทก์ต่อมาสามีจำเลย จึงยื่นคำร้องเข้ามาด้วยได้ โจทก์ฟ้องคดีขับไล่ ต่อมาระหว่างดำเนินคดีโจทก์ได้โอนที่ดินให้ผู้อื่น ผู้รับโอนที่ดิน ร้องสอดเข้ามาในคดีได้ ส่วนเจ้าของเดิมยังคงมีอำนาจฟ้องบริบูรณ์อยู่ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด หรือผู้ถือหุ้นในบริษัท ร้องสอดเข้ามาในคดีที่นิติบุคคลเป็นคู่ความไม่ได้ คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเนื่องจากหากจำเลยแพ้คดีผู้มีหน้าที่ต้องไปดำเนินการคือกรรมการบริษัท หาใช่ผู้ถือหุ้นไม่ คดีฟ้องเกี่ยวสัญญาขายทรัพย์ ผู้ขายร้องสอดในคดีที่ผู้อื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ขายได้ ฟ้องแบ่งทรัพย์ระหว่างเจ้าของรวม ผู้มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อขาย ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย แต่คดีฟ้องขับไล่ จำเลยต่อสู้ว่า ผู้ร้องสอดได้ซื้อทรัพย์และได้รับมอบการครอบครองจากเจ้าของแล้ว ผู้ร้องย่อมร้องสอดได้ เพราะเป็นการอ้างสิทธิของผู้ร้องสอดนั่นเอง ข้ออ้างว่าเป็นภริยาของจำเลยหรือผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจากโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่า โจทก์แพ้คดีสัญญาเป็นอันยกเลิกไป พวกนี้ร้องสอดไม่ได้ การ้องเป็นการเข้ามาแทนที่คู่ความฝ่ายใดก็ได้ แต่คู่ความเดิมยังมีสิทธิและหน้าที่อยู่ คู่ความเดิมจึงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ กำหนดในการยื่นคำร้องสอด ต้องยื่นระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นเท่านั้น ฟ้องขับไล่ ผู้เช่ายังๆไม่ได้ครอบครองทรัพย์โดยลำพัง โจทก์จึงยื่นคำร้องให้เรียกผู้ให้เข่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม เป็นเรื่องมาตรา 57(3) มิใช่เรื่องที่เป็นโจทก์ร่วม ตามมาตรา 57(2) ร้องสอดโดยศาลหมายเรียกเข้ามาในคดี ตามมาตรา 57(3) - เป็นเรื่องที่หมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี โดยคู่ความยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกโดยแสดงว่า ตนอาจถูกฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน โดยต้องยื่นพร้อมคำคู่ความ คือ คำฟ้องหรือคำให้การ ถ้ายื่นภายหลังก็ต้องแสดงเหตุอันควรที่ไม่สามารถยื่นได้ก่อนหน้านั้น เช่น ทำสัญญาเช่าซื้อ โดยทำประกันภัยเมื่อรถหาย เมื่อรถหาย จำเลยจึงเรียกบริษัทประกันให้ต้องร่วมรับผิดได้ คนที่ร้องสอดเข้ามาในคดีต้องเป็นบุคคลภายนอก เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยอื่นจะเรียกให้จำเลยที่ขาดนัดเข้ามาเป็นคู่ความไม่ได้ แต่ถ้าศาลอนุญาตให้โจทก์ขอถอนฟ้องไป จำเลยก็ขอให้เรียกเป็นจำเลยร่วมได้ โจทก์ฟ้องคดีผิดตัว โจทก์จะเรียกให้เจ้าของที่ดินแท้จริงเป็นโจทก์ร่วมไม่ได้ เช่นเดียวกับ โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งได้ถึงแก่ความตายก่อนฟ้องคดีแล้ว โจทก์จะขอเรียกทายาทเข้ามาเป็นจำเลยไม่ได้ ตัวแทนถูกฟ้องคดี ตัวแทนขอให้เรียกตัวการเข้ามารับผิดได้ แต่ถ้าตัวการถูกฟ้อง จะขอให้เรียกตัวแทนเข้ามาในคดีไม่ได้ โจทก์ฟ้องขับไล่ จำเลยสู้ว่า ได้ทำสัญญาเช่าจากจำเลยร่วม จำเลยจึงขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีได้ จำเลยถูกฟ้องให้รับผิดฐานผู้สั่งจ่าย จะขอให้เรียกผุ้สลักหลังเข้ามาในคดีไม่ได้ เพราะผู้สลัดหลังไม่ต้องรับผิดต่อผู้สั่งจ่าย จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์ร่วมกับบุคคลภายนอกกระทำละเมิดต่อจำเลย จำเลยขอให้ศาลหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีเพื่อให้รับผิดตามฟ้องแย้งได้ แต่ถ้าศาลไม่รับฟ้องแย้ง จะขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมไม่ได้ กรณีศาลเห็นสมควรให้บุคคลภายนอกเข้ามาในคดี ต้องมีเป็นกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลใช้อำนาจของศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีได้ คดีที่ศาลใช้อำนาจเรียกเข้มาเป็นคู่ความไม่ถือว่าเป็นคดีอุทลุม เช่น ศาลหมายเรียกโฉนดที่ดินซึ่งอยู่กับบิดาได้ พิพาทว่าเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ ไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของที่ดิน บุคคลภายนอกจะอ้างว่า นำชี้ที่ดินรุกล้ำไปที่ดินของบุคคลภายนอกไม่ได้ ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี ศาลก็พิพากษาให้รับผิดได้ไม่เป็นการเกินคำขอ เช่น ให้ใช้ค่าเสียหาย ถ้าเรียกเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่อาจมีคำขอใดๆได้ ศาลย่อมพิพากษาให้รับผิดกับต่อโจทก์ร่วมได้ เช่น โจทก์ร่วมเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยหรือให้ขับไล่ผู้ร้องสอดได้ การขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามารับผิดต้องเรียกเข้ามาในอายุความด้วย เช่น เรียกให้เข้ามารับผิดตามสัญญาประกัน ย่อมเรียกในอายุความสองปี ตามปพพ. มาตรา 882 วรรคสอง หนังสือมอบอำนาจไม่ได้ระบุให้อำนาจเรียกบุคคลอื่นเข้ามาในคดี จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องให้หมายเรียกบุคคลอื่นเข้ามาในคดี คำร้องขอคู่ความที่ยื่นคำร้องหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี ไม่ใช่เป็นคำคู่ความ แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งต้องโต้แย้งถึงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ แต่ถ้าศาลมีคำสั่งเรียกเข้ามาในคดีแล้ว บุคคลภายนอก ยื่นคำให้การแก้คดี ย่อมเป็นคำให้การ หรือในคดีที่ร้องสอดเข้ามาในคดี ศาลไม่รับคำร้องสอด ก็อุทธรณ์ฎีกาได้ แต่ถ้าศาลไม่ได้งดการพิจารณา จนศาลได้ตัดสินคดีแล้ว แม้ภายหลังศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องสอด ศาลชั้นต้นก็ไม่สามารถรับคำร้องสอดได้ ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ สิทธิเข้ามาต่อสู้คดีของผู้ร้องสอด - ย่อมสามารถต่อสู้คดีใหม่ได้ มารดาผู้ตายร้องขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม โดยถือเอาหลักฐานต่างๆเป็นของผู้ร้อง แต่เมื่อฟังได้ว่า ผู้ร้องเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย คำร้องพอแปลความได้ว่า เป็นการร้องสอดตามมาตรา 57(1) คดีร้องสอด แม้โจทก์จะขอถอนฟ้องแล้ว ศาลก็สามารถดำเนินคดีในส่วนผู้ร้องสอดต่อไปได้ นอกจากนี้แม้จำเลยเดิมจะขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดก็มีสิทธิต่อสู้คดีใหม่และมีสิทธิยกข้อต่อสู้ใหม่ได้ เช่น สู้ว่าคดีโจทก์เคลือบคลุมได้ หรือยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ แต่การยื่นคำร้องสอดเป็นคู่ความร่วม ตามาตรา 57(2) ย่อมไม่สามารถต่อสู้คดีอย่างอื่นหรือดำเนินคดีในทางที่ขัดสิทธิต่อคู่ความเดิมได้ เพราะเป็นเรื่องฝ่ายเดียวกันการดำเนินการจะขัดหรือแย้งกันไม่ได้ เช่น จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดก็ไม่มีสิทธิยื่นคำให้การ การยื่นคำร้องสอดก็หาประโยชน์มิได้ จึงไม่รับคำร้องสอดยกเว้นได้ยื่นคำร้องสอด คดีจำเลยเดิมยื่นคำให้การไว้แล้ว จะยื่นคำให้การนอกจากที่ยื่นไว้ไม่ได้ เช่น ไม่ได้สู้ว่า โจทก์รับโอนที่ดินโดยไม่สุจริต ตามปพพ. มาตรา 1299 วรรคสองหรือจะยื่นขัดต่อคำให้การผู้ร้องสอดไม่ได้ ศาลต้องสั่งไม่รับคำให้การของผู้ร้องสอด โดยยังคงมีสิทธิสืบพยานตามคำให้การเดิมได้ แต่ขณะที่จำเลยยังไม่ขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดก็สามารถยื่นคำให้การได้ จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง ผู้ร้องสอดก็ฟ้องแย้งไม่ได้ คดีเดิมไม่มีอำนาจฟ้อง ผู้ร้องสอดจะยื่นคำร้องสอดไม่ได้ จำเลยเดิมไม่ได้ต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความ ผู้ร้องสอดจะยกว่าคดีขาดอายุความไม่ได้ แต่คู่ความเดิมยังเป็นคู่ความอยู่ จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ฎีกาได้ คดีที่มีผู้ร้องสอด ศาลต้องพิพากษาคดีรวมกัน จะแยกพิจารณาคดีไม่ได้ คู่ความร่วม
-คู่ความร่วม ต้องมีประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี หมายถึงมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดี เช่น ละเมิดครั้งเดียวมีผู้เสียหายหลายรายแม้ค่าเสียหายแต่ละคนจะแยกจากกันก็ตาม ฟ้องให้ผู้รับประกันภัยต้องร่วมรับผิดได้ โจทก์เป็นสมาชิกของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ เมื่อจำเลยไม่จ่ายเงินให้ โจทก์ร่วมกันฟ้องคดีได้ คดีของโจทก์บางคนมีทุนทรัพย์ไม่เกินอำนาจของศาลแขวง โจทก์ทุกคนก็ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดได้ ที่ดินอยู่ติดกันและถูกเวนคืนโดยกฎหมายฉบับเดียวกัน เจ้าของที่ดินฟ้องคดีรวมกันได้ ผู้ร้องขัดทรัพย์หลายราย ร้องขัดทรัพย์ที่ถูกยึดคนละอย่างกัน ไม่สามารถยื่นคำร้องในฉบับเดียวกันได้ บุกรุกที่ดินครั้งเดียวต่อเจ้าของหลายคน แม้มีหนังสือรับองคนละฉบับก็ตาม ก็สามารถร้องในคดีเดียวกันได้ -คดีที่โจทก์แต่ละราย ฟ้องคดีร่วมกันมา ถ้าเป็นการชำระหนี้แบ่งแยกกันได้ ก็ไม่ถือว่าดำเนินคดีแทนกัน เช่น ฟ้องเรียกค่าชาดไร้อุปการะเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นเรื่องเฉพาะตัวแต่ละคน แต่ถ้ามูลคดีแบ่งแยกไม่ได้ เช่น ฟ้องให้นายจ้างร่วมรับผิดจากการกระทำละเมิดของลูกจ้าง ก็ถือว่าดำเนินคดีแทนกัน การเลื่อนคดีก็ถือว่าทำแทนกันตามกฎหมาย คดีที่จำเลยต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความ ต้องถือว่าเป็นการต่อสู้แทนจำเลยร่วมด้วย ยกเว้นอายุความคนละมูลกัน เช่น ฟ้องตามมูลละเมิด และเรียกให้ผู้รับประกันภัยรับผิดตามสัญญา เป็นคนละมูลกัน ผู้รับประกันสู้ว่าคดีขาดอายุความก็ไม่ถือว่าคดีแทนผู้ทำละเมิดด้วย โจทก์ถอนฟ้องคดีสำหรับจำเลยที่ต่อสู้คดีขาดอายุความก็ถือว่าลบล้างผลการสู้คดี เท่ากับไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลสั่งให้รับผิดได้ ยกเว้นการดำเนินคดีที่เสื่อมเสียสิทธิ เช่น คำท้า หรือการรับข้อเท็จจริงในคดี จำเลยอื่นขาดนัดพิจารณา โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้ได้ตามฟ้อง เช่น ผู้เช่าซื้อขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ค้ำประกันยื่นคำให้การ คำรับของผู้ประกันไม่ถือว่ารับแทนผู้เช่าซื้อ โจทก์ยังมีหน้าที่สืบพยานอยู่อีก คดีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การเป็นเรื่องเฉาพะจำเลยที่ไม่จงใจหรือคดีมีเหตุอันสมควรเท่านั้น ที่จะขอยื่นคำให้การหรือขอพิจารณาคดีใหม่ได้ การอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาให้คู่ความฟังเป็นเรื่องเฉพาะตัวคู่ความแต่ละราย หากการอ่านให้คู่ความทรายใดไม่ชอบ ก็มีผลเฉพาะคู่ความนั้นๆ ไม่มีผลถึงคู่ความอื่นด้วย การมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ตามมาตรา 60 -ผู้รับมอบอำนาจอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ถ้านิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ในการนั้น ผู้รับมอบอำนาจจะว่าความอย่างทนายความไม่ได้ แต่แต่งตั้งทนายความเข้าว่าคดีๆได้ และแต่งตั้งผู้รับมอบอำนาจเองเข้าเป็นทนายความได้ ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจเรียงหรืแต่งคำคู่ความได้ หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่ต้องติดไปกับฟ้องคดี ฟ้องคดีไม่ๆได้รับมอบอำนาจมาแต่แรก แม้ต่อมาภายหลังจะยื่นใบมอบอำนาจเข้ามา ก็ไม่มีอำนาจฟ้องขึ้นมาได้ แต่คดีมีการมอบอำนาจโดยชอบแล้ว แม้ไม่ส่งหนังสือมอบอำนาจ ก็นำสืบได้ แต่ถ้าโจทก์เป็นนิติบุคคล ศาลสั่งให้แก้ไขให้บริบูรณ์ได้ เช่น หนังสือมอบอำนาจไม่ประทับตราบริษัท ต่อมาบริษัทได้ยื่นใบมอบอำนาจใหม่ได้ เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องตามมาตรา 66 ระหว่างดำเนินคดีได้แต่งตั้งผู้รับมอบอำนาจให้แทนผู้รับมอบอำนาจคนเดิม การมอบอำนาจเดิมก็ไม่เสียไป และไม่ต้องอ้างหนังสือมอบอำนาจใหม่ หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่จำต้องระบุชื่อผู้ถูกฟ้องโดยเฉพาะว่าฟ้องผุ้ใดและไม่จำเป็นต้องระบ่วาฟ้องที่ศาลไหนด้วย เพราะเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ มอบอำนาจให้ดำเนินคดี ย่อมมีอำนาจฟ้องแย้งได้ ไม่ต้องทำใบมอบอำนาจใหม่ ตัวความถึงแก่ความตาย ทนายความก็มีอำนาจยื่นอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้ ตามปพพ. มาตรา 828 อำนาจทนายความ มาตรา 62
-อำนาจของทนายความต้องดำเนินการในศาล ถ้าเป็นการดำเนินการนอกศาล โดยตัวความมิรู้เห็นด้วย ไม่มีผลผูกพันตัวความ ทนายความถูกถอนจากการเป็นทนายความแล้ว ยังคงลงชื่อยื่นอุทธรณ์ ศาลสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องได้ ใบแต่งทนายความระบุให้มีอำนาจถอนฟ้องได้ ทนายความก็ถอนฟ้องได้ แต่ถ้าไม่ได้ระบุไว้ย่อมไม่มีอำนาจ เช่น ถอนฟ้องหรือขอให้พิจารณาคดีใหม่ -มอบฉันทะให้ทนายความรับเงิน แต่ถ้าทำยอมในศาลและจ่ายเงินในศาลถือโดยปริยายว่า มอบหมายให้โจทก์รับเงินมาแต่แรกแล้ว -มอบฉันทะ เช่น มอบให้ทนายความมาเลื่อนคดี ต้องถือว่าตัวความทราบในส่วนที่เกี่ยวกับการเลื่อนคดี การที่ศาลสั่งให้เสียค่าธรรมเนียมศาลเพิ่มขึ้น จะถือว่าตัวความทราบไม่ได้ ทนายความตั้งผู้รับมอบฉันทะมายื่นฟ้องได้ โดยต้องแนบใบมอบฉันทะมาด้วย มอบฉันทะให้มาฟังคำพิพากษา ถือว่าลงชื่อทราบคำพิพากษาและคำบังคับด้วย การขอเลื่อนคดีด้วยวาจา ทนายความเท่านั้นที่ขอแถลงได้ ผู้รับมอบฉันทะ จะแถลงขอเลื่อนคดีด้วยวาจาไม่ได้ -ทนายความขอถอนตน การให้ถอนทนายความเป็นดุลพินิจของศาลเช่น ถอนเพื่อประวิงคดีศาลไม่อนุญาตได้ และเมื่อไม่อนุญาต ก็จะขอเลื่อนคดีเพื่อหาทนายความใหม่ไม่ได้ ศาลยังไม่ได้ถอนทนายความ ทนายความก็มีอำนาจทำสัญญายอมได้ ศาลจะให้ถอนทนายความ ศาลต้องแจ้งให้ตัวความทราบก่อนด้วย ส่วนที่มีคำอธิบายว่า การแสดงเจตนาถอนทนายความมีผลทันทีศาลเป็นเพียงรับทราบเท่านั้น ก็ต้องเข้าใจว่า เป็นไปโดยศาลรับรู้ด้วย -ผู้แทนดำเนินคดีบกพร่อง โจทก์ฟ้องคดียื่นใบมอบอำนาจสลับคดี โจทก์ขอแก้ไขได้ ตำเลยยื่นคำให้การโดยไม่ยื่นใบมอบอำนาจให้ถูกต้อง ระหว่างดำเนินคดียื่นใบมอบอำนาจให้ถูกต้องถือว่าแก้ไขข้อบกพร่องแล้ว การยื่นและการส่งคำคู่ความและเอกสาร -คำให้การต้องใช้แบบพิมพ์ศาล และคำให้การจะยื่นต่อพัสดีเรือนจำไม่ได้ พนักงานเดินหมายเดินหมายนอกเวลาราชการได้ ศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์นำส่ง จะถือว่าโจทก์ทราบผลหมายไม่ได้ ศาลสั่งให้นำส่ง ถ้าส่งไม่ได้ให้แถลง เมื่อไม่ดำเนินการเป็นทิ้งฟ้องได้ กรณีส่งหมายข้ามเขต คือ ให้ศาลอื่นส่งแทน เมื่อส่งไม่ได้และศาลไม่ได้แจ้งให้ทราบ จะถือว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นคำแถลงไม่ได้ คู่ความแต่งตั้งทนายความหลายคน ศาลส่งให้แก่ทนายความคนใดก็ได้ การส่งคำคู่ความทางไปรษณีย์ มีผลเสมือนพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง เช่น บุคคลในบ้านเรือนที่มีอายุเกินกว่ายี่สิบปีรับคำคู่ความ จึงเป็นการส่งโดยชอบตามมาตรา 76 มีผลทันทีและการส่งโดยไปรษรีย์ไม่ใช่การส่งโดยวิธีอื่นตามมาตรา 79 ไม่พบคู่ความ คือ ไม่สามารถส่งให้ผู้อยู่ในบ้านเรือนหรือส่งตามคำสั่งศาล เมื่อส่งวิธีปกติไม่ได้ การส่งข้อความตามคำสั่งศาลตามมาตรา 76 ไม่ใช่การส่งตามวิธีอื่นตามมาตรา 79 และเป็นการส่งโดยชอบ ไม่เป็นการข้ามขั้นตอนของกฎหมาย จึงมีผลทันที ส่วนการส่งหมายตามมาตรา 79 คือ การส่งโดยวิธีอื่น คือ ไม่สามารถส่งโดยวิธีปกติได้ คู่ความยังมีภูมิลำเนา จะส่งโดยปิดประกาศหน้าศาลไม่ได้ เมื่อส่งวิธีธรรมดาไม่ได้ ก็ส่งโดยวิธีอื่นได้ เช่น ปิดประกาศกำหนดสืบพยานหน้าศาลได้ แม้การส่งคำคู่ความไม่ชอบ แต่ปรากฏว่าได้แต่งทนายความเดข้ามาสู้คดี จำเลยจะมาอ้างว่า การส่งหมายไม่ชอบไม่ได้ เพราะจำเลยไม่ได้รับความเสียหาย การส่งหมายนัดให้ทนายความตามที่อยู่ปรากฎในสำนวน เมื่อทนายความย้ายสำนักงานไปแล้ว การปิดหมายก็ไม่ชอบ ภูมิลำเนาถือตามที่อยู่ของสำนักงานใหญ่ สาขา หรือภูมิลำเนาเฉพาะการ ฟ้องหุ้นส่วนผู้จัดการถือว่ามีภูมลำเนาตามห้ามฯ ด้วย แต่เมื่อสถานที่ห้างฯ ได้รื้อไปแล้ว ก็ขอประกาศส่งทางหนังสือพิมพ์ได้ สำนักงานใหญ่นิติบุคคลถูกไฟไหม้ แต่โครงหลังคาของสำนักงานแห่งใหญ่ยังมีภูมิลำเนาอยู่ หมายนัดฟังคำพิพากษาระบุชื่อโจทก์ร่วม สามีโจทก์ร่วมลงชื่อแทนไม่ได้แม้ทำในศาล การวางหมายตามมาตรา 78 ต้องมีพนักงาฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป้นพยานด้วย มิฉะนั้นไม่ชอบ แต่การปิดหมายตามมาตรา 79 ไม่ต้องมีบุคคลดังกล่าว การวางหมายตามมาตรา 78 ต้องเป็นการวางหมาย ณ ภูมิลำเนาของผู้รับด้วย เจ้าพนักงานปิดหมายโดยศาลไม่ได้สั่งให้ปิด ถือว่าจำเลยไม่ได้รับหมายโดยชอบ การปิดคำคู่ความต้องปิดในที่แลเห็นง่าย แต่ถ้าส่งให้คนในบ้านไม่ถือว่าปิดโดยชอบ การปิดคำคู่ความหรือเอกสารจะต้องทำให้แน่นหนา ไม่หลุดออกง่าย การเสียบไว้ที่เหล็กซึ่งอาจปลิวหลุดง่าย จึงเป็นการปิดหมายโดยมิชอบ แต่การนำลวดมาผูกคำคู่ความหรือเอกสาร เป็นการผิดโดยชอบ คำพิพากษาและคำสั่ง มาตารา 131-18
-ประเด็นแห่งคดีศาลต้องทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งหรือคำสั่งจำหน่ายคดี ในชั้นตรวจฟ้อง ศาลยกฟ้องได้และสั่งค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับได้ แต่ต้องทำโดยผู้พิพากษาครบอง๕คณะ ผู้พิพากษานายเดียวสั่งไม่ได้ คดีร้องขัดทรัพย์ เมื่อศาลยกคำฟ้อง จึงมีสิทธิอุทธรณ์และเสียค่าขึ้นศาลด้วย การสั่งจำหน่ายคดี ไม่เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ถ้าคดีที่วินิจฉัยในเนื้อหาต้องทำในรูคำพิพากษา จะสั่งสั่งจำหน่ายคดีไม่ได้ เช่น ศาลเห็นว่า โจทก์ฟ้องซ้ำ ศาลต้องยกฟ้อง และการสั่งจำหน่ายคดีเป็นดุลพินิจของศาล ศาลอาจไม้สั่งจำหน่ายคดีก็ได้ คดีเสร็จการพิจารณา ศาลพิพากษาและวันนั้นได้ทันที คำพิพากษาตามยอม มาตรา 138
-เมื่อศาลรับฟ้องแล้ว จึงทำยอมได้ โจทก์ยื่นฟ้องและยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ระหว่างการไต่สวนคำร้อง จำเลยจะทำสัญญายอมกับโจทก์ไม่ได้ ศาลยังไม่ได้สั่งรับฟ้อง สัญญายอมที่ทำในศาล อาจทำยอมในข้อนอกคำขอท้ายฟ้องได้ แต่ต้องอยู่ในขอบเขตประเด็นแห่งคดี เช่น ให้ดอกเบี้ยเกินร้อยละ 7.5ต่อไปตามคำขอท้ายฟ้องได้ การทำยอมในหนี้ทรายอื่นที่ไม่ได้ฟ้องคดีและนอกคำให้การจำเลย ไม่มีผลผูกพันโจทก์ คดีขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก คู่ความทำยอมกันให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ศาลก็ไม่อาจพิพากษาตามยอมได้เพรายังต้องพิจารณาถึงสิทธิและคุณสมบัติของผู้ร้องเสียก่อน คดีหย่าเมื่อศาลตัดสินกันแล้ว จะทำยอมขอให้จดทะเบียนสมรสกันใหม่ไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะตัว คดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นหรือศาลสูงหรือระหว่างบังคับคดีก็ทำยอมได้ คดีศาลฎีกาให้แบ่งทรัพย์มรดกแล้ว และโจทก์จำเลยได้ทำยอมกันอีกคดีหนึ่ง ก็สามารถทำได้เป็นผลให้คำพิพากษาศาลฎีกาสิ้นผลไป ข้อตกลงที่คู่ความทำเองโดยไม่ผ่านศาลและคู่ความอีกฝ่ายไม่รับรอง ก็ใช้บังคับในคดีไม่ได้ ต้องฟ้องเป็นเรื่องต่างหาก ส่วนข้อตกลงในศาลไม่มีข้อตกลงให้ยกเลิกสัญญายอม เมื่อไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่ ก็ต้องผูกพันตามคำพิพากษาที่ทำยอมไว้เดิม หรือข้อตกลงผ่อนชำระหนี้ไม่มีผลให้สัญญายอมระงับ เมื่อยอมความในศาลสูง คำพิพากษาศาลล่างเป็นอันระงับ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าฤชาธรรมเนียมที่คู่ความอีกฝ่ายได้วางต่อศาลตามมาตรา 229 คู่ความไม่ลงชื่อในสัญญายอม ศาลจะจดแจ้งเหตุไม่ลงชื่อแล้วพิพากษาตามยอมไม่ได้ เพราะการทำยอมเป็นสิทธิของคู่ความ คดีจำเลยหลายคนเฉพาะคนที่ทำยอมเท่านั้น จึงจะผูกพัน - การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมต้องเข้า 3 กรณี ตามกฎหมายจะอ้างเหตุอื่นไม่ได้ จำเลยอุทธรณ์ว่า ทนายโจทก์ได้ทำการฉ้อฉล อย่างนี้อุทธรณ์ได้ ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนเหตุแล้วส่งให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีได้ ข้ออ้างว่าข่มขู่หรือสำคัญผิดอ้างไม่ได้ ข้อที่ว่าสัญญายอมละเมิดต่อกฎหมาย เช่น อุทธรณ์ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน คู่ความตกลงให้จ่ายอัตราดอกเบี้ย เกินกว่าคำขอท้ายฟ้องหรือตกลงจ่ายค่าทนายความเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ไม่ขัดต่อกฎหมายเพราะค่าทนายความมิใช่เรื่องที่ศาลกำหนดให้ ปัจจุบันมีหลักเรื่องค่าทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแล้ว สัญญายอมให้โอนทรัพย์ให้บุคคลภายนอกได้ เมื่อบุคคลภายนอกเข้าถือสิทธิตามสัญญาแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลที่มีส่วนได้เสียร้องขอบังคับคดีได้ แต่ผู้รับประโยชน์ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอบังคับคดีไม่ได้ สัญญาคนเดียวลงชื่อถูกต้องตามข้องบังคับบริษัท สัญญายอมจึงใช้ไม่ได้ เป็นการละเมิดต่อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องเพิกถอนสัญญายอม การขอให้ศาลตีความสัญญาหรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบังคับคดี ย่อมยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ฎีกาได้ไม่ต้องจำกัดในสามกรณี เพราะมิใช่การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอม คู่ความที่เห็นว่า สัญญายอมไม่ถูกต้อง ก็ต้องยื่นอุทธรณ์ในกำหนดเวลาเพียงประการเดียว คู่ความจะอ้างเหตุขอให้เพิกถอนสัญญายอมหลังครบกำหนดเวลาไม่ได้ แม้เพิ่งทราบเหตุหลังครบกำหนดเวลาอุทธรณ์ ก็จะยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนไม่ได้ และคู่ความจะฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้ ต้องอุทธรณ์เข้ามาในคดีเดิมเท่านั้น จะอ้างว่า ทนายความทำนอกขอบอำนาจไม่ได้ ในชั้นบังคับคดี ศาลตีความและให้บังคับตามเจตนาที่แท้จริงได้ ในสัญญายอมระบุให้โอนที่ดิน แต่หากโอนไม่ได้ ไม่ได้ระบุให้ต้องใช้ราคา ดังนั้น จึงบังคับให้ใช้ราคาไม่ได้ ต้องฟ้องเป้นคดีใหม่ คดีทำยอมให้เช่าที่ดิน จะมาฟ้องเป็นคดีใหม่ อ้างว่า สัญญาเช่าไม่ผูกพันเนื่องจากผู้ลงนามไม่มีอำนาจโดยเหตุปลอมหนังสือรายการจดทะเบียน ดังนี้จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอกาทรัพย์คืน จะฟ้องเข้ามาในคดีเดิมหรือฟ้องเป็นคดีใหม่ได้ คำพิพากษาไม่เกินคำขอ -ศาลมีดุลพินิจในการตัดสิน หากวินิจฉัยในประเด็นใดแล้วจะทำให้คดีเสร็จไป ก็ตัดสินคดีไปได้ ไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นอื่น คดีโจทก์ฟ้องหย่า ระหว่างพิจารณาคดีคู่ความได้หย่ากันเอง ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดเรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ได้ เพราะเป็นการอาศัยอำนาจตามปพพ. มาตรา 1520 เช่นเดียวกับการกำหนดค่าเสียหายในมูลหนี้ตามปพพ. มาตรา 222,223 ละเมิด มาตรา 438 หรือการเลิกสัญญา มาตรา 391 วรรคท้าย คำฟ้องเป็นการกะประมาณเนื้อที่ เมื่อทำแผนที่กันแล้ว ก็พิพากษาตามแผนที่ได้แม้จำนวนเนื้อที่มากกว่าในคำฟ้อง ฟ้องให้จดทะเบียนโอนที่ดินเนื่องจากโฉนดที่ดินออกทับที่ แต่จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องไม่จดทะเบียน ศาลมีอำนาจเพิกถอนโฉนดที่ดินได้ เพราะเป็นการใช้อำนาจตามป.ที่ดิน มาตรา 61 ฟ้องว่า ได้สิทธิโดยการครองครองปรปักษ์ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนให้โจทก์ คือ โจทก์นำคำสั่งศาลในคดีถึงที่สุดไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินได้ ฟ้องว่าที่เป็นของโจทก์ ศาลจะพิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ ทำนองเดียวกับจำเลยสู้ว่า ที่เป็นของจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง ศาลหยิบมาพิพากษาก็เป็นนอกประเด็น ถ้าฟ้องว่า ได้ที่ดินโดยการครองปรปักษ์ ศาลจะพิพากษาว่าได้ที่ดินโดยเหตุอื่นไม่ได้ และการสู้ครอบครองปรปักษ์ ในคำให้การต้องอ้างให้ครบว่า เป็นครอบครองที่ดินอย่างปรปักษ์ต่อเนื่องเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว จนได้กรรมสิทธิ์ ฟ้องแบ่งทรัพย์มรดก ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยไม่ใช่ทายาท ศาลก็สั่งให้จำเลยส่งมอบทรัพย์ได้ ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม ศาลพิพากษาว่าเป็นทางจำเป็นไม่ได้ ยกเว้นในคำฟ้องได้บรรยายมาด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นภาระจำยอม ศาลอุทธรณ์ว่าเป็นทางจำเป็น ก็พิพากษาได้ เนื่องจากโจทก์มีคำขอมาแต่ต้นแล้ว ฟ้องว่าเป็นทางสาธารณะ แต่บรรยายว่าเป็นทางภารจำยอมมาด้วย ศาลก็สั่งเปิดทางได้ ฟ้องว่าเป็นทางภาระจำยอม ได้ความว่าเป็นทางสาธารณะ ก็พิพากษาได้ เพราะทางสาธารณะทุกคนมีสิทธิให้ บุคคลใดก็ไม่อาจห้ามให้คนอื่นใช้ ฟ้องขอให้ขับไล่ออกจากสิ่งปลูกสร้าง ศาลมีคำสั่งขับไล่ออกไปจากที่ดินที่ปลูกสร้างได้ด้วย ฟ้องให้รับผิดตามสัญญา จะสืบว่าจำเลยทำสัญญาเองหรือเชิดให้บุคคลอื่นเข้ามาทำสัญญาแทนก็สืบได้ เพราะเป็นการสืบว่า จำเลยต้องรับผิดตามสัญญา ข้อยกเว้นที่พิพากษาเกินคำขอได้ คือ คำฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์เช่นเดียวกับคดีขับไล่ มาตรา 142(1) ศาลต้องสั่งนำพิพากษาไว้ด้วย แม้มีผู้ร้องสอดเข้ามาก็ขับไล่ผู้ร้องสอดได้ด้วย และบังคับให้ถึงญาติและบริวารด้วย คดีร้องขอครอบครองปรปักษ์และมีผู้คัดค้าน ศาลก็พิพากษาขับไล่ได้ แต่คดีเดินรถทับเส้นทางสัมปทานไม่ใช่คำฟ้องเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ ฟ้องผิดสัญญาซื้อขายแล้วทำยอมให้โอนที่ดิน โจทก์จะอาศัยสัญญายอมมาบงัคับริวารไม่ได้ เพราะบริวารมิใช่คู่สัญญายอม แต่ในชั้นบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศให้บริวารแสดงอำนาจพิเศษแล้ว ถ้าผุ้นั้นไม่แสดงอำนาจพิเศษก็ถือว่าเป็นบริวารตามมาตรา 296 จัตวา การฟ้องเรียกทรัพย์เมื่อได้ความว่ามีสิทธิแบ่ง ศาลพิพากษาให้ได้รับส่วนแบ่งได้ ตามมาตรา 142(2) คดีปัญหาเกี่ยวกับความสงบฯ ตามมาตรา 142(5) ศาลมีอำนาจยกวินิจฉัยได้หรือไม่ยกวินิจฉัยให้ก็ได้ จำเลยออกโฉนดโดยมิชอบ แม้โจทก์ไม่ได้มีคำขอให้เพิกถอน ศาลก็ยกวินิจฉัยได้ ปัญหาอำนาจฟ้อง เช่น ฟ้องซ้ำ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบฯ แต่หนี้ถึงกำหนดชำระหนี้ไม่ใช่ ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบฯ เพราะกำหนดระยะเวลา ผู้ได้ประโยชน์สามารถสละได้ ตามปพพ. มาตรา 192 ฟ้องเคลือบคลุมไม่ใช่เช่นกัน ยกเว้นฟ้องขาดสาระสำคัญ เช่น ไม่ได้บรรยายฐานะให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน ศาลก็ยกเองได้ ในคดีอาญาเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบฯ ข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบฯ ต้องได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ คือ มาจากคำคู่ความที่คู่ความต้องนำสืบ เช่น คำฟ้องต้องแสดงข้อเท็จจริงว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจศาลด้วย แต่ถ้าเป็นเรื่องการพิจารณาจำเลยต้องสู้คดีไว้ ถ้าไม่สู้คดีย่อมไม่มีประเด็น เช่น ไม่ได้สู้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้ออกจากที่ดินก่อนฟ้องคดีหรือไม่ แม้มีพยานบางปากเบิกความก็เข้าสู่สำนวนโดยมิชอบ โจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป ศาลจะสั่งให้ใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องไม่ได้ คดีที่ศาลให้ดอกเบี้ยเกินร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามมาตรา 142(6) ต้องปรากฏด้วยว่า จำเลยสู้คดีโดยไม่สุจริตโจทก์มีส่วนประมาทอยู่ด้วย เป็นการสู้คดีตามปกติไม่ใช่ไม่สุจริตอย่างใด ศาลสั่งให้เสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีไม่ได้ การแก้ไขคำพิพากษา
-คำพิพากษาแก้ไขไม่ได้ คู่ความฝ่ายใดไม่พอใจต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกา และจะทำเป็นคำแก้อุทธรณ์ฎีกาก็ไม่ได้ ยกเว้นเป็นการแก้เล็กน้อย คือ ต้องไม่เพิ่มความรับผิดให้จำเลย แต่แก้ให้ถูกต้องได้ สัญญายอมมีข้อผิดเล็กน้อยก็แก้ได้ เมื่อระบุเลขโฉนดถูกต้องจะขอแก้เนื้อที่โฉนดให้ถูกต้องเป็นแก้ไขเล็กน้อย แต่การขอเพิ่มเติมโฉนดอีก 1 แปลง จะแก้ไม่ได้ แม้พิมพ์ผิดเกี่ยวกับเลขโฉนด มิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อย แต่เมื่อไม่มีกรณีที่ต้องบังคับกับโฉนดดังกล่าว ก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป จะขอแก้ไม่ได้ ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามจำนวนเงินตามคำขอท้ายฟ้องแม้น้อยกว่าจำนวนเงินตามที่บรรยายฟ้อง โจทก์จะขอแก้ไม่ได้ ขอแก้สัญญาให้รับผิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นไม่ได้ ข้อที่ไม่เล็กน้อยแม้อีกฝ่ายไม่คัดค้านการแก้ไข ศาลก็สั่งให้แก้ไขไม่ได้ ในชั้นบังคับคดี ศาลแก้ไขให้ถูกต้องได้ เช่น ออกคำบังคับให้ถูกต้องได้ ฟ้องให้โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 195 ศาลพิมพ์เป็นเลขที่ 105 ในชั้นบังคับคดีก็บังคับคดีตามที่ถูกต้องได้ สัญญายอมระบุให้ถ้าไม่ชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 5 จะขอแก้ให้ยึดทรัพย์ของจำเลยทั้งห้าไม่ได้ ที่ดินได้แบ่งแยกโฉนดออกแล้ว ศาลบังคับคดีกับโฉนดซึ่งถูกแบ่งแยกออกได้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ มาตรา 144 -การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเป็นคดีเดียวกันหรือต่างคดีก็ได้ เช่น โจทก์ฟ้องจำเลย ต่อมาจำเลยได้ฟ้องโจทก์เมื่อคดีหนึ่งตัดสิน อีกคดีหนึ่งก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำแม้ได้ฟ้องคดีไว้ก่อนก็ตาม คดีศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องว่า คดีขาดอายุความ แต่ศาลสูงว่า คดีไม่ขาดอายุความ จึงให้ย้อนสำนวน ดังนี้ จะสู้ว่า คดีขาดอายุความไม่ได้ เป็นดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ การวินิจฉัยของศาลต้องเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ศาลสั่งจำหน่ายคดีก็ยื่นฟ้องใหม่ได้ ยกเว้นอีกฝ่ายได้ยื่นอุทธรณ์ก่อนคดีถึงที่สุด ก็จะเป็นฟ้องซ้อนได้ ขอยื่นขยายระยะเวลาหรือคำร้องขอแก้คำฟ้อง ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีจึงยื่นแก้ได้อีก จำเลยขอขยายเวลายื่นคำให้การ ศาลยกคำร้อง จำเลยยื่นคำร้องขอให้รับคำให้การว่า จำเลยไม่จงใจขาดนัดหรือคดีมีเหตุอันสมควรที่ศาลรับคำให้การได้ บางกรณีที่ศาลเห็นว่า ศาลได้วินิจฉัยแล้ว การยื่นคำร้องโดยให้เหตุผลอย่างเดียวกันอีกเป็นการดำเนินกระบงวนพิจารณาซ้ำ เช่น ศาลสูงไม่ให้จำเลยขยายระยะเวลามาแล้ว จำเลยจะมายื่นคำร้องโดยอาศัยเหตุเดียวกันไม่ได้ จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ ศาลสูงยกคำร้อง จำเลยจะมายื่นด้วยเหตุเดียวกันอีกไม่ได้ ศาลยกคำร้องที่จำเลยขอยกเว้นค่าธรรมเนียมโดยไม่มีพยานเข้ามาสืบ จำเลยจะมายื่นคำร้องด้วยเหตุเดิมอีกไม่ได้ แต่คดีจำเลยยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่โดยอ้างเหตุไม่ครบถ้วน ศาลยกคำร้อง จำเลยยื่นคำร้องใหม่โดยอ้างเหตุให้ครบถ้วนได้ เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยในเนื้อหา จำเลยยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้น ศาลไม่ได้วินิจฉัยตามที่ขอ จำเลยยื่นคำร้องใหม่ได้ คดีฟ้องขับไล่ โจทก์ยื่นคำร้องว่า ไม่ใช่บริวาร ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จดทะเบียนสิทธิการเช่า คนละประเด็นกัน คดีแพ่งกับคดีอาญาเป็นคนละประเด็นกัน เช่น ศาลยกฟ้องตามพรบ.เช็ค โจทก์ฟ้องมูลหนี้เดิมได้ แต่คดีที่โจทก์ฟ้องให้ทายาทชำระหนี้ เมื่อศาลยกฟ้องแล้ว ก็จะฟ้องอีกไม่ได้ ศาลพิพากษาขับไล่ จำเลยซึ่งไม่ใช่คู่ความยื่นคำร้องว่า ไม่ใช่บริวาร ศาลสั่งว่า เป็นบริวาร คดียังไม่ถึงที่สุด การที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยได้ เพราะจำเลยไม่ได้เป็นคู่ความในชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวและไต่สวนฉุกเฉิน ศาลสั่งยกคำร้อง โจทก์ยื่นคำร้องของคุ้มครองชั่วคราวได้ ตามมาตรา 267 วรรคสาม หลังจากนั้นจะมาบยื่นคำร้องไต่สวนฉุกเฉินอีกไม่ได้ ศาลจึงต้องไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวได้ การยื่นคำขอรับมรดกความเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ ศาลยกคำร้องเนื่องจากคดีเป็นเรื่องเฉพาะตัว ในคดีนี้ พ. ในฐานะทายาทโดยธรรม จึงยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่เหมาะสมตั้งผู้จัดการมรดกได้ เพราะยื่นคนละฐานะกัน ศาลสูงไม่ให้รับคำให้การแล้ว จำเลยจะฎีกาของให้รับคำให้การอีกไม่ได้ คำพิพากษาผูกพันคู่ความ ตามมาตรา 145 -คำพิพากษาผูกพันคู่ความ ต้องเป็นประเด็นเดียวกัน คดีตั้งผู้จัดการมรดกไม่มีประเด็นว่า ทรัพย์มรดกเป็นของผู้ใด ผู้ที่ผูกพัน คือ คู่ความแม้เป็นฝ่ายเดียวกันก็ตาม คือ จำเลยอาจมาฟ้องไล่เบี้ยกันได้ และคำพิพากษาผูกพันผู้สืบสิทธิด้วย เช่น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เจ้าของรวมฟ้องเรียกทรัพย์จากบุคคลภายนอกเป็นการฟ้องแทนผู้อื่นตามปพพ. มาตรา 1359 เจ้าของรวมอื่นที่ไม่ได้เข้ามาสู้คดีด้วย ก็ต้องผูกพันในคดี ยกเว้นทายาทไปทำสัญญายอมรับว่าทรัพย์เป็นของบุคคลภายนอก คำพิพากษาไม่ผูกพันทายาทอื่น บุตรฟ้องบิดามารดาไม่ได้ ต้องให้อัยการฟ้องคดีแทน เมื่อศาลตัดสินแล้ว ก็ต้องผูกพัน คำพิพากษายอมให้เช่าที่ดินไม่อยู่ในบังคับต้องจดทะเบียนตามปพพ. มาตรา 538 คำพิพากษาสองฉบับในชั้นศาลเท่ากัน เมื่อฟ้องเป็นคดีที่สามต้องสืบพยานต่อไป แต่ถ้าเป็นคำพิพากษาของชั้นที่สูงกว่า ต้องถือตามคำพิพากษาของศาลชั้นที่สูงกว่า ตามมาตรา 146 เช่น ศาลฎีกาว่า เป็นมรดกที่แบ่งแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งอีก จะฟังว่า เป็นการครอบครองแทนเพื่อขอแบ่งทรัพย์มรดกอีกไม่ได้ -คำพิพากษาไม่ผูกพันบุคคลภายนอก ยกเว้น คำขอท้ายฟ้องห้ามเจ้าพนักงานที่ดินห้ามออกโฉนดโดยไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินด้วย จึงไม่ชอบ ไม่อาจบังคับได้ ฟ้องเฉพาะเจ้าพนักงานที่ดินให้เพิกถอนการโอนทรัพย์มรดก เมื่อไม่ได้ทายาทเข้ามาด้วย จึงฟ้องไม่ได้ แต่คำพิพากษาให้เพิกถอนโฉนด มิบังคับบุคคลภายนอก ศาลพิพากษาให้เพิกถอนได้ คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ มีผลไปถึงบุคคลภายนอก เช่น คดีร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดิน ผูกพันคนภายนอก แต่บุคคลภายนอกก็มีสิทธิพิสูจน์สิทธิดีกว่าได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ คำพิพากษาตามยอมหรือเพิกถอนการให้ ไม่ใช่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ ศาลจำหน่ายคดีหรือให้ถอนฟ้องคดี ถือว่าเป็นบุคคลภายนอก เช่น จำหน่ายคดีผู้ให้เช่าหรือผู้รับโอน จะฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลไม่ได้ จำเลยที่ถอนฟ้องไปแล้ว จะมาทำสัญญายอมไม่ได้ คำพิพากษามีผลผูกพัน ศาลเคยนำมาใช้ว่า ผูกพันในคดีอาญาที่มาฟ้องภายหลังด้วย เช่น คดีฟังว่า รั้วไม่ได้บุกรุกเข้ามาในที่ดินของโจทก์ แต่โดยแล้ว ต้องถือว่า คดีอาญาไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงคดีแพ่ง เช่น ฟ้องว่า จำเลยเบิกความเท็จ ถ้าฟังตามคดีแพ่งก็อาจฟ้องคดีอาญาไม่ได้ ฟ้องซ้ำ
-คือ ต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุด คดีจะถึงที่สุด เมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้หรือพ้นกำหนดอุทธรณ์ฎีกา ฟ้องระหว่างอุทธรณ์ฎีกา ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ศาลชั้นต้นสั่งรอคดีให้ถึงที่สุดก่อนได้ คดีสัญญายอมมีเงื่อนไขและไม่อาจปฏิบัติตามสัญญายอมได้ โจทก์ฟ้องเป็นคดีใหม่โดยฟ้องฐานผิดสัญญายอมได้ คำว่า คู่ความเดียวกัน คือ อาจสลับกันเป็นโจทก์หรือจำเลยก็ได้ แตกต่างจากซ้อนซ้อนที่ห้ามโจทก์ฟ้องคดีเรื่องเดียวกันอีก แต่ถ้ำเป็นจำเลยด้วยกันมาฟ้องไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่เป็นคำพิพากษาผูกพันคู่ความ นอกจากนี้ยังขยายไปถึง ผู้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับคู่ความ เช่น ทายาท เจ้าของรวม ผู้รับโอนที่ดิน ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง สามีหรือภริยา ยินยอมให้อีกฝ่ายฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสแทน ครองครองที่ดินร่วมกันมาถือว่าคู่ความเดียวกัน โจทก์เป็นบุคคลเดียว แต่จำเลยเป็นคนละคนไม่เป็นฟ้องซ้ำ คดีก่อนเข้าไปค้านฐานะผู้จัดการมรดก คดีนี้เข้าไปในฐานะทายาท เป็นคู่ความเดียวกัน แต่ถ้าเข้ามาคนละฐานะไม่เป็นฟ้องซ้ำ เช่น คดีก่อนฟ้องห้ามฯ แต่คดีนี้ฟ้องหุ้นส่วน ผู้จัดการ คดีก่อนขอรับชำระหนี้จำนองตามมาตรา 289 คดีนี้มาฟ้องบังคับจำนองเป็นฟ้องซ้ำ แต่ถ้าฟ้องอย่างเจ้าหนี้สามัญก็ฟ้องได้ อัยการร้องขอให้ใช้ราคาทรัพย์แทนผู้เสียหาย ตามปวิอ. มาตรา 43 ผู้เสียหายมาฟ้องเป็นฟ้องซ้อน แต่ดอกเบี้ยฟ้องได้ เพราะอัยการไม่มีอำนาจเรียกแทนได้ คดีก่อนโจทก์ไม่ได้ถูกฟ้องแม้โจทก์จะอยู่ที่ที่ดินที่ถูกฟ้องขับไล่ก็ตาม โจทก์ฟ้องคดีใหม่ได้ -ต้องเป็นการวินิจฉัยในเหตุเดียวกัน คดีอัยการร้องขอให้คืนทรัพย์ ตามปวิอ.มาตรา 43 โจทก์ฟ้องมูลละเมิดไม่ได้ แต่ถ้าฟ้องมูลสัญญาก็ฟ้องได้ เช่น สัญญาจ้างแรงงาน, สัญญาซื้อขายกระแสไฟฟ้า คดีอาญาไม่ได้วินิจฉัยชี้ชาดคดี เช่น ยกฟ้องเพราะคดีมีเหตุอันควรสงสัย โจทก์ฟ้องคดีแพ่งได้ ผู้รับประกันภัยฟ้องในฐานะรับช่วงสิทธิมูลละเมิดเนื่องจากมูลละเมิดระงับด้วยสัญญายอมแล้ว บริษัทประกันภัยอ้างรับช่วงสิทธิตามสัญญายอมได้ ศาลพิพากษาแล้ว จำเลยทำรับสภาพหนี้ โจทก์จะเอาหนังสือรับสภาพหนี้มาฟ้องไม่ได้ เคยร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว จะมายื่นคำร้องในที่ดินส่วนที่เหลือของที่ดินแปลงเดียวกันไม่ได้ คดีก่อนโจทก์ขาดนัดพิจารณา ศาลยกฟ้องตามคำแถลงของจำเลยเนื่องจากโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ โจทก์ฟ้องใหม่ไม่ได้ ศาลพิพากษาให้ชำระเงินกู้ จำเลยจะมาฟ้องกลับมาว่า สัญญากู้ปลอมไม่ได้ คดีทำสัญญายอมแล้ว ถือว่าสละสิทธิในคดีเดิมแล้ว จึงนำหนี้เดิมมาฟ้องไม่ได้ ยกเว้นหากมีการโต้แย้งสิทธิตามสัญญายอม เช่น สัญญาไม่มีข้อตกลงว่า เมื่อผิดสัญญายอมแล้วต้องชำระเงิน คู่ความท้ากัน ศาลวินิจฉัยคดีแล้ว ฟ้องใหม่ไม่ได้ ฟ้องแบ่งมรดกหรือแบ่งสินสมรสแล้ว จะฟ้องขอแบ่งใหม่ไม่ได้แม้ทรัพย์คนละชิ้นกัน ต้องขอในตอนห้องคดีขอให้ไม่ตัดสิทธิฟ้องคดีใหม่ แต่ถ้าฟ้องเรียกทรัพย์จากบุคคลภายนอกเป็นทรัพย์ชิ้นอื่น ย่อมฟ้องได้ ฟ้องขับไล่ ศาลยกฟ้องโจทก์บอกเลิกสัญญา แลฟ้องเรียกเงินคืนได้ คดีแรกฟ้องขับเรียกค่าเสียหายจากความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ คดีหลังฟ้องขับไล่ได้ โดยใช้อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ คดีศาลจำหน่ายคดีหรือศาลยกฟ้องเนื่องจากฟ้องผิดศาลหรือฟ้องโดยไม่ได้รับมอบอำนาจหรือฟ้องเคลือบคลุมหรือจำเลยยังไม่ผิดสัญญา เมื่อเลิกสัญญาแล้ว ก็ฟ้องใหม่ได้ แต่ถ้าศาลยกฟ้องเพราะไม่มีพยานมาสืบ เช่น ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ปิดอากรแสตมป์หรือศาลงดสืบพยานเพราะไม่มีพยานมาสืบ เป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาแล้ว ฟ้องใหม่ไม่ได้ แต่ถ้ายกฟ้องเพราะไม่ยื่นบัญชีระบุพยานเกี่ยวกับใบมอบอำนาจ ก็ฟ้องใหม่ได้ ศาลยกฟ้องเพราะฟ้องโจทก์บกพร่องฟ้องใหม่ได้ เช่น ศาลไม่อาจพิพากษาให้คืนที่ดินได้ โจทก์มาฟ้องขอให้จำเลยร่วมกันใช้ราคาที่ดินได้ คดีก่อนศาลยกฟ้องเนื่องจากสืบไม่ได้ว่า จำเลยเป็นทายาทโดยธรรม จะมาฟ้องในฐานะทายาทโดยธรรมอีกไม่ได้ คดีก่อน ศาลมิได้วินิจฉัยให้เนื่องจากเป็นเรื่องนอกประเด็นหรือนอกคำขอท้ายฟ้อง จึงถือไม่ได้ว่า ได้วินิจฉัยแล้ว เช่น ในชั้นชี้สองสถานได้สละประเด็นฟ้องในเรื่องเหตุหย่าที่สมัครใจแยกกันอยู่ คดีก่อนไม่ได้ฟ้องว่า ผิดสัญญาข้อ 2. ก็ฟ้องใหม่ได้ คดีก่อนฟ้องทางจำเป็น แต่ศาลไม่ได้กำหนดประเด็นไว้ ถือว่าคู่ความสละประเด็นแล้ว ฟ้องมใหม่ได้ สิทธิเรียกร้องหรือค่าเสียหายที่สามารถเรียกร้องได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว นำมาฟ้องใหม่ไม่ได้ เช่น ฟ้องเกี่ยวกับที่ดินไม่ได้เรียกค่าเสียหายมา, ฟ้องผิดสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้เรียกค่าภาษีมาซึ่งโจทก์สามารถตรวจสอบได้ในขณะฟ้อง, ฟ้องเรียกค่าชาดประโยชน์จากการขาดสมาชิกภาพทั้งที่ควรเรียกเข้ามาในคดีก่อน ฟ้องให้คืนรถ เมื่อจำเลยได้โอนให้ผู้อื่นไปแล้ว จึงฟ้องขอให้ใช้ราคา พวกนี้ต้องขอเข้ามาในคดีเดิม แต่ถ้ามูลคดีเกิดขึ้นหลังจากศาลพิพากษาก็ฟ้องใหม่ได้ เช่น ระหว่างบังคับคดี จำเลยได้ขุดหน้าที่ดินไปขายหรือสิ่งก่อสร้างที่จำเลยกระทำหลังศาลพิพากษา หรือฟ้องให้จำเลยคืนทรัพย์ เมื่อจำเลยคืนทรัพย์ที่มีสภาพชำรุด โจทก์ฟ่องเรียกค่าติดตามยึดและค่าเสื่อมราคา เพราะเป็นคำขอที่ไม่อาจเรียกเข้ามาในคดีก่อนได้ เนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบว่า เสียหายจริงเท่าใด ฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงให้โจทก์ทำยอม จึงเป็นมูลคดีใหม่ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ศาลพิพากษาตามยอมฟ้องคดีใหม่ได้ (ฎีกาที่ 5301/2549) คดีที่โจทก์สามารถบังคับในคดีเดิมได้ ถ้ามาฟ้องคดีใหม่ เป็นฟ้องซ้ำ เช่น ศาลให้ขับไล่จำเลย ก่อนที่สงมอบการครอบครองให้โจทก์จำเลยกลับแผ้วถางต้นไม้อีก ถือเป็นการกระทำที่ต่อเนื่อง โจทก์มีสิทธิบังคับในคดีเดิมได้ คดีก่อนศาลเพียงแต่แสดงสิทธิของคู่ความเท่านั้น โจทก์จึงฟ้องบังคับตามสิทธิของโจทก์ตามคำพิพากษาได้ เช่น คดีก่อนศาลฟังว่า รถเป้นของผู้ร้องสอด จึงให้ยกฟ้อง ผู้ร้องสอดฟ้องให้จำเลยคืนรถได้ คดีก่อนศาลพิพากษาให้ขับไล่โจทก์ จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดนับแต่เวลาที่ศาลพิพากษาให้ขับไล่โจทก์จนถึงวันที่ขนย้ายทรัพย์ออกได้ คดีโจทก์บังคับขับไล่แต่โจทก์ไม่บังคับคดีจนพ้นกำหนดเวลา โจทก์มาฟ้องขับไล่อีกได้ แต่มีหมายเหตุท้ายฎีกาว่าไม่มีข้อยกเว้นให้ไม่ต้องบังคับคดีในกำหนดเวลา คดีก่อนศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่ได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบ เมื่อบอกเลิกสัญญาแล้ว ก็ฟ้องใหม่ได้ ถือเป็นการอ้างเหตุใหม่หลังจากฟ้องคดี แต่ถ้าประเด็นหลังเป็นประเด็นเดียวกัน เช่น การเป็นบุตรโดยชอยด้วยกฎหมาย จะอ้างผลตรวจเลือดซึ่งเป็นพยานใหม่ไม่ได้ คดีก่อนอ้างสัญญาปลอม คดีหลังอ้างว่า สัญญาปลอมบางส่วน เป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม ศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่ใช่พินัยกรรม โจทก์ฟ้องแบ่งทรัพย์?ตามสัญญายอมได้ คดีก่อนฟ้องขับไล่ ศาลยกฟ้องเนื่องจากจำเลยครอบครองปรปักษ์แล้ว จำเลยร้องขอให้เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ทั้งแปลงแม้นอกที่ดินที่พิพาทในคดีก่อน ฟ้องให้รื้อถอนโรงเรือน จำเลยฟ้องแย้งว่า ปลูกโดยสุจริต ขอให้จดทะเบียนภาระจำยอม เป็นฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม คดีก่อนฟ้องให้รื้อถอนบ้าน ศาลยกฟ้องเนื่องจากบ้านเป็นของโจทก์ โจทก์มาฟ้องคดีใหม่ว่า จำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในบ้านและเรียกค่าเสียกายได้ เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ฟ้องขับไล่ ศาลยกฟ้องเนื่องจากฟ้องเกินหนึ่งปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครอง คดีฟ้องขับไล่ตามสัญญายอมเป็นคนละเหตุกัน -ข้อยกเว้นไม่ถือว่าฟ้องซ้ำ เช่น คดีในชั้นบังคับคดี โจทก์ยื่นคำร้องให้ถอนการบังคับคดี ศาลชั้นต้นยกคำร้อง โดยไม่ไต่สวน โจทก์ยื่นคำร้องขอให้การบังคับคดีได้ คดีก่อนให้เพิกถอน น.ส. 3 ศาลยกฟ้อง คดีนี้ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องได้ คดีก่อนผู้เช่ายังไม่ได้ครอบครองทรัพย์ที่เช่า ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์มาฟ้องขับไล่อีกได้ ฟ้องบังคับจำนอง เมื่อโจทก์ไม่บังคับคดีจนพ้นกำหนดเวลาบังคับคดี จำเลยจึงฟ้องให้จดทะเบียนไถ้ถอนจำนองได้ เพราะการบังคับคดีได้ล่วงไปแล้ว คดีก่อนโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง โจทก์จะมาตั้งเรื่องใหม่ว่า มอบที่ดินให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยไม่ได้ เป็นเหตุอย่างเดียวกัน ค่าฤชาธรรมเนียม
-ได้ยกเลิกกฎหมายเดิมและมีการร่างกฎหมายใหม่แล้วโดยใช้บังคับในเดือนพฤษภาคมนี้ ในส่วนที่ไม่เปลี่ยนแปลง ข้อที่เปลี่ยนจากกฏกฏหมายหมายเดิม เช่น การสั่งจำหน่ายคดีของศาล เช่น การทิ้งฟ้อง ศาลสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมได้ตามที่เห็นสมควร เรื่องอนาถา เปลี่ยนเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล คือ ตัดขึ้นตอนลงและให้ง่ายขึ้น กล่าวคือ ไม่มีทรัพย์สิน หรือเดือดร้อนเกินสมควรเมื่อพิจารณาฐานะของผู้ร้องและคดีมีมูลด้วย เมื่อศาลสั่งอนุญาตก็เป็นที่สุด แต่ถ้าไม่อนุญาตให้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ในเจ็ดวันเท่านั้น ไม่มีเรื่องขอพิจารณาคดีใหม่แล้ว ส่วนค่าขึ้นศาล มีเรื่องค่าขึ้นศาลที่เกินห้าสิบล้านบาทต้องเสียค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกินร้อยละ 0.1 ของทุนทรัพย์ที่เกินจำนวนดังกล่าว ค่าคำร้อง คำขอ ค่าใบแต่งทนายความ ค่าอ้างเอกสาร ไม่ต้องเสียแล้ว คงเสียค่าคำรับรองคำพิพากษา หนังสือรับรองว่าคดีถึงที่สุดและคำร้องขอสืบพยานก่อนฟ้องคดี ส่วนการสืบพยานล่วงหน้า ค่าพยาน ค่าพาหนะ ค่าทำแผนที่ได้ปรับอัตราขึ้นโดยค่าพยานเป็นวันละสี่ร้อยบาท ส่วนการทำแผนที่วันละสองร้อยบาท ค่าทนายความได้กำหนดในศาลชั้นต้นๆไม่เกินร้อยละ 5 ศาลสูงไม่เกินร้อยละ 3 แต่ไม่ต่ำกว่าคดีละสามพันบาท คดีไม่มีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นคดีละ 30,000 บาท ส่วนศาลสูงคดีละ 20,000 บาท นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีโดยเสียร้อยละหนึ่งของทุนทรัพย์ -ในส่วนของเดิมที่ยังพอเป็นแนวได้ ค่าธรรมเนียม ต้องนำมายื่นพร้อมฟ้อง หรือุทธรณ์ฎีกา หากไม่ยื่นต้องไม่รับฟ้อง ถ้ามีคำร้องขอขยายเวลา ศาลจะสั่งฟ้องไม่ได้ คดี มีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ คดีเรียกโฉนดที่ดิน ไม่ใช่ฟ้องเรียกที่ดินแม้จำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ ก็ไม่มีทุนทรัพย์ คดีหมายข้อหาคิดเป็นรายข้อหา แต่ถ้าพอรวมพิจารณาคดีเดียวกันได้ ก็ได้รับประโยชน์ให้เสียค่าขึ้นศาลในคดีเดียวกัน เช่น มีจำนองเป็นการประกันหนี้รายเดียวกัน คดีไม่มีความเกี่ยวข้องกันต้องเสียรายข้อหา ศาลสั่งให้เสียค่าขึ้นศาลรายข้อหาได้ หรือสั่งให้จำหน่ายคดีแยกฟ้องเป้นคดีหใม่ได้ ครอบครองที่ดินโดยไม่แยกการครอบครองเป็นส่วนสัด เป็นเจ้าของร่วมในทุกส่วน ต้องคิดค่าขึ้นศาลรวมกัน คดีศาลยกฟ้องในเนื้อหา ไม่ต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียม แม้ยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องก็ตาม ศาลสั่งจำหน่ายคดีไม่ใช่ในเนื้อหา เช่น คดีโจทก์ไมยื่นคำขอให้ชนะคดี หรือคดีที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาหรือที่โจทก์ทิ้งฟ้อง ศาลสั่งคืนตามที่เห็นสมควรได้ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ คดีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้จำหน่ายคดีตามพรบ.ล้มละลาย ศาลสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลได้ - เมื่อศาลตัดสินคดีแล้ว ศาลก็มีคำสั่งในค่าฤชาธรรมเนียมได้ ศาลต้องสั่งทุกคดีแม้คู่ความไม่ขอ จะสั่งให้เป็นพับก็ได้ ในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ผู้แพ้คดีก็ต้องรับผิดด้วย ค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย ศาลฎีกาตีความว่า ราคาทรัพย์ที่ถอนการยึดต้องไม่เกินจำนวนหนี้ด้วย คู่ความจะอุทธรณ์เกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมอย่างเดียวไม่ได้ คืออุทธรณ์ในส่วนดุลพินิจศาล เว้นแต่คิดไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบฯ อุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
-ยื่นฟ้องและยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ศาลยังไม่สั่งรับฟ้องและทำยอมกันไม่ได้ ผู้ขอยกเว้น มีทรัพย์แต่ถูกยึดไว้หมดแล้ว ถือว่ายากจน เมื่อยื่นคำร้องขอยกเว้นแล้ว ก็ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด คำร้องขอผลัดสาบานยังคงต้องเสีย แต่ปัจจุบันไม่เสียค่าคำร้องแล้ว ค่าธรรมเนียมในการส่งหมายไม่ใช่ค่าธรรมเนียมศาลไม่ได้รับยกเว้น การไม่วางก็เป็นการทิ้งคำร้องได้ การยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ได้รับยกเว้นค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนอีกฝ่าย ตามมาตรา 229 แต่ไม่รวมเงินที่ต้องวางตามคำพิพากษาตามมาตรา 234 ในชั้นพิพากษา ผู้ขอยกเว้นแพ้คดี ศาลก็สั่งให้ต้องรับผิดแทนอีกฝ่ายได้ แต่ถ้าผู้ร้องได้รับยกเว้น เป็นผู้ชนะ ศาลสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชำระต่อศาลในนามผู้ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมได้ เมื่อยื่นแล้วศาลไต่สวนคำร้อง คดีของผู้ร้องไม่มีมูล ศาลยกคำร้องได้โดยไม่ต้องไต่สวน เช่น คดีร้องขัดทรัพย์อ้างสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย ก็ต้องแพ้คดี ศาลตรวจดูได้จากฟ้องหรืออุทธรณ์ฎีการวมทั้งเดอกสารที่แนบมา คดีที่ได้รับยกเว้นในศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อยื่นอุทธรณ์ฎีกายังถือว่ายากจนอยู่ ศาลให้ยกเว้นๆได้โดยไม่ต้องไต่สวน เมื่อได้รับยกเว้นแล้ว ต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องก็ไม่ต้องไต่สวนคำร้องอีกเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกัน เมื่อยื่นคำร้องแล้ว ศาลก็ให้สาบาน ศาลสั่งให้เสียค่าธรรมเนียม คู่ความก็ยื่นคำร้องขอยกเว้นได้ เพราะเพิ่งยากจนหลังยื่นฟ้อง การสาบานตัวเป็นสิ่งจำเป็นขาดไม่ได้ การไม่ได้สาบาน ศาลต้องย้อนสำนวนเพราะไม่ใช่ความผิดของผู้ร้อง แต่ถ้าสาบานโดยผู้ไม่ใช่ตัวความ หรือยื่นคำร้องขอผลัดสาบานแต่ศาลไม่อนุญาต ศาลยกคำร้องได้ การสาบานเป็นเรื่องเฉพาะตัวมอบอำนาจไม่ได้ นิติบุคคลผู้ที่สาบานได้ต้องเป็นกรรมการบริษัท คดีที่ศาลยกคำร้องแล้ว ต่อมายื่นคำร้องอ้างว่ายากจนภายหลัง ก็ต้องสาบานใหม่ ตอนนี้มีความเห็นว่า กฎหมายใหม่ไม่ต้องสาบานด้วย เมื่อไต่สวนแล้วศาลจะมีคำสั่ง โดยคำสั่งอนุญาตเป็นที่สุด ส่วนการไม่อนุญาต ศาลจะกำหนดเวลาให้วางเงินในกำหนดเวลา ถ้าศาลไม่กำหนดให้เป็นการไม่ชอบ เมื่อไม่วางเงินในกำหนดเวลา ถึงจะสั่งคำฟ้องหรือสั่งอุทธรณ์ฎีกาได้ ไม่ชอบที่จะก้าวล่วงไม่สั่งคำฟ้องทันที ในกรณีที่ศาลไม่ได้กำหนดเวลาให้ต้องวางเงิน ผู้ร้องอาจยื่นคำร้องให้ศาลกำหนดเวลาได้ ศาลสั่งให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเพียงบางส่วน โจทก์ยื่นคำร้องขอลดทุนทรัพย์เท่ากับที่ได้รับยกเว้นได้ ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมดไม่ได้ ผู้ร้องไม่มาศาลถือว่าไม่นำพยานมาสืบ ศาลสั่งยกคำร้อง และกำหนดเวลาให้วางเงินได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ร้องทราบอีก คดีไม่มูล ศาลยกคำร้องได้ทันที แต่ในระหว่างนั้น โจทก์อาจขอแก้ไขให้คดีขึ้นมามีมูลได้ เพราะคำฟ้องของโจทก์ยังมีอยู่ ศาลต้องไต่สวนคำร้องต่อไป กำหนดเวลาให้วางเงินเป็นระยะเวลาเป็นอำนาจทั่วไปของศาล ผู้ร้องยื่นคำร้องขอขยายได้ ตามมาตรา 23 โดยอ้างพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัย ศาลมีคำสั่งยกคำร้องไม่ว่าเรื่องยากจนหรือคดีมีมูล จะต้องอุทธรณ์อย่างเดียว ไม่มีกรรีขอพิจารณาคดีใหม่แล้ว และต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ในเจ็ดวันเท่านั้น จะยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาไม่ได้แล้ว การสั่งเป็นที่สุดของศาลอุทธรณ์ คือ เรื่องสั่งในเนื้อหาคำร้อง คือ ในเรื่องยากจนและคดีมีมูล การไม่ได้สาบาน ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งก็เป็นที่สุดด้วย ส่วนคำสั่งอื่น เช่น ขอเลื่อนคดี ไม่ใช่ในเนื้อหา จึงยื่นอุทธรณ์ฯได้ในหนึ่งเดือน เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้อง และศาลอุทธรณ์ยืน และกำหนดเวลาให้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาล ผู้ร้องยื่นคำร้องขอขยายเวลา ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ได้ แต่ยื่นฎีกาไม่ได้ เพราะถือเป็นคำส่งที่เกี่ยวเนื่องกับคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่เป็นที่สุดแล้ว คดีที่จำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ศาลชั้นต้นให้แต่บางส่วนและสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ยืนเนื่องจากยื่นเกินกำหนด คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ตามมาตรา 236 วรรคท้าย ยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ศาลสั่งจำหน่ายคำร้องเนื่องจากไม่นำคำร้อง ไม่อยู่ในบังคับต้องอุทธรณ์ในเจ็ดวัน แต่ยื่นอุทธรณ์ได้ในหนึ่งเดือน ผู้ร้องไม่มาศาล ศาลยกคำร้อง ถือว่าวินิจฉัยในเนื้อหาแล้ว ศาลอุทธรณ์ยืนจึงเป็นที่สุด ตามมาตรา 156/1 วรรคท้าย ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องเพราะไม่ได้สาบานก็เป็นที่สุดเช่นกันเป็นการกลับแนวเดิม เมื่อศาลอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลแล้ว ผู้ร้องเป็นผู้ชนะคดี ก็ต้องให้อีกฝ่ายชำระต่อศาลในนามผู้ร้องเพราะผู้ร้องไม่ได้ชำระเงินต่อศาล แต่ถ้าผู้ร้องแพ้คดี ก็ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมให้แทนคู่ความอีกฝ่าย ถ้าอนุญาตทั้งที่ผู้ร้องมีทรัพย์สินพอชำระค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่เดือดร้อนเกินฐานะ เมื่อศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้ได้รับยกเว้นแล้ว ก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งในเจ็ดวันด้วย ฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้ชนะย่อมมีทรัพย์สิน ศาลสั่งให้คู่ความทั้งสองฝ่ายชำระค่าธรรมเนียมได้ เป็นการสั่งตามที่ศาลเห็นสมควร
-ถ้ามีข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่ง ให้ทำเป็นคำฟ้อง ส่วนคดีไม่มีข้อพิพาทให้ทำเป็นคำร้องขอ ซึ่งต้องมีกฎหมายสนับสนุนให้ดำเนินการได้ด้วย ถ้าไม่มีกฎหมายสนับสนุน ก็ไม่สามารถยื่นคำร้องได้ เช่น ยื่นขอครอบครองปรปักษ์ที่ดินไม่มีโฉนด แต่คดีร้องขอให้รับรองบุตร เมื่อบิดาได้เสียชีวิตไปแล้ว จึงไม่มีตัวความเป็นจำเลยและไม่แน่ว่าจะมีผู้คัดค้านหรือไม่ จึงทำเป็นคำร้องขอได้ คดีครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนดจะยื่นเป็นคำร้องขอหรือฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทก็ได้ โจทก์จะฟ้องให้ให้แสดง่าตนไม่เป็นหนี้ไม่ได้ -อำนาจฟ้องคดีมีข้อพิพาท กรณีทำละเมิดต่อสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เจ้าหน้าที่รัฐผู้ดูแลทรัพย์สิน ย่อมฟ้องผู้ทำละเมิดได้ ส่วนประชาชนทั่วไป ผู้ได้รับความเสียหายในกรณีพิเศษ ย่อมฟ้องได้ แต่ผู้ที่ไม่ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยเพียงแต่ยื่นคำร้องขอออก นส. 3 หรือออกที่ดินทับที่สาธารณะประโยชน์ ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยขัดขวางการใช้ประโยชน์ ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิ โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดิน ยังไม่ได้ครอบครอง จึงฟ้องขับไล่ไม่ได้ ผู้เช่ารถยนต์ ย่อมฟ้องผู้ทำละเมิดในส่วนค่าเสียหายจากการไม่สามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์ได้ คดีฟ้องขับไล่ เจ้าของที่ได้ฟ้องคดี ต่อมาได้โอนให้ผู้อื่นไป ก็ยังมีอำนาจฟ้องคดีอยู่ ผู้ไม่เป็นบุคคล เช่น รัฐบาล, กองมรดก เป็นคู่ความไม่ได้ แต่ถ้ามีฐานะหรือตำแหน่งตามกฎหมายย่อมฟ้องได้ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ อธิบดี พนักงานสอบสวน เป็นการฟ้องในนามตำแหน่งแม้จะไม่ใช่ผู้ที่ทำสัญญา สัญญากำหนดให้ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ก็ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน ถ้ามาฟ้องคดีอีกฝ่ายขอให้ศาลจำหน่ายคดีได้ตาม พรบ.อนุญาโตตุลาการ แต่ถ้าตกลงกันเองไม่ต้องตั้งอนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลต้องฟ้องผู้รับโอนมาด้วย เจ้าของรวมคนหนึ่งมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ทำละเมิดได้ เมื่อศาลพิพากษาคดีแล้ว ย่อมผูกพันเจ้าของรวมอื่น ทายาทที่ถูกฟ้องให้รับผิดในหนี้ของเจ้ามรดกจะสู้ว่าไม่มีทรัพย์มรดกไม่ได้ การดำเนินคดีของผู้ไร้ความสามารถ
ผู้ไร้ความสามารถ คือ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ ผู้พิทักษ์ฟ้องคดีแทนคนเสมือนไร้ความสามารถไม่ได้ สำหรับผู้เยาว์ ผู้แทนโดยชอบธรรมมีสิทธิฟ้องคดีแทนผู้เยาว์ได้ เมื่อผู้เยาว์ฟ้องคดี ศาลสั่งไม่รับฟ้องไม่ได้ แต่ต้องแก้ไขข้อบกพร่องก่อนพิพากษาแม้ภายหลังสืบพยานเสร็จแล้วหรือคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลสูง เช่น ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเข้ามาดำเนินคดีแทนหรือให้ความยินยอม ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ไม่ต้องแก้ไขข้อบกพร่องอีก บิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องคดี ต่อมาได้สมรสในภายหลังก็ไม่ต้องแก้ไขอีก คดีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่เข้ามาดำเนินคดีแทน ศาลจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีไม่ได้ เพราะการตั้งผู้แทนเฉพาะคดีต้องเป็น กรณีที่ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม ร้องสอด
การร้องสอดต้องยื่นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จะยื่นระหว่างอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ คดีเสร็จการพิจารณาแล้ว เช่น มีการยอมความแล้ว ศาลชั้นต้นยกฟ้องแล้ว หรือจำหน่ายคดีไปแล้ว ก็ไม่อาจร้องสอดได้เพราะไม่มีคู่ความ ถ้าศาลเห็นว่า การเข้ามาในคดีจะเป็นการยุ่งยาก ศาลมีดุลพินิจที่จะไม่ให้เข้ามาในคดีได้ เช่น โจทก์ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นการดำเนินคดีในนามกองมรดกและทำแทนทายาทอื่น การที่ผู้ร้องสอดร้องขอเข้ามาในคดี เป็นการมิก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ จึงไม่เห็นควรให้ร้องสอดเข้ามาในคดี ผู้ร้องสอดต้องเป็นบุคคลภายนอกคดี คู่ความจึงไม่อาจเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดได้ในอีกฐานะหนึ่ง ผู้ถือหุ้นของบริษัท ร้องสอดเข้ามาในคดีไม่ได้ ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องคดีแล้ว ก็เป็นบุคคลภายนอกคดี ร้องสอดเข้ามาได้ เมื่อได้ยื่นคำร้องเข้ามาแม้บรรยายไม่ถูกต้อง ศาลก็จะพิจารณาตามเนื้อหาคำร้องที่ถูกต้อง เช่น ร้องขอเข้าเป็นคู่ความร่วม ศาลสั่งให้เข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้
การร้องสอดตาม 51(1) มีสองกรณี คือ ร้องสอดคดีระหว่างพิจารณา กับร้องสอดระหว่างบังคับคดี ที่เรียกว่า เข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ร้องสอดเข้ามาอ้างว่า ทรัพย์เป็นของผู้ร้องสอด ต้องเป็นทรัพย์ที่พิพาทในคดีเดิม จะหยิบเอาทรัพย์อื่นเป็นข้อพิพาทไม่ได้ เช่น ฟ้องกันเฉพาะที่ดินแปลงหมายเลข 5 จะร้องสอดที่ดินแปลงอื่นไม่ได้ แม้นำชี้ที่ดินแปลงอื่นด้วยก็ตาม ผลของคดีไม่ทำให้ผู้ร้องสอดต้องกระทบ ก็ร้องสอดไม่ได้ เช่น คดีฟ้องขับไล่ จำเลยไม่ได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์และศาลยังไม่ได้ขับไล่ สิทธิของผู้ร้องมีอยู่อย่างไรก็มีอยู่เพียงนั้น จึงไม่เป็นการจำเป็นต้องร้องสอดเข้ามาในคดี คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา แสดงว่า ต้องยื่นคำร้องสอดมาก่อนศาลชั้นต้นตัดสินคดี เมื่อคดีศาลชั้นต้นเสร็จแล้ว จึงไม่อาจร้องสอดได้ เมื่อยื่นเข้ามาแล้ว การอนุญาตเป็นดุลพินิจศาล เช่น ยื่นเข้ามาหลังสืบพยานเสร็จแล้ว ศาลไม่อนุญาตได้ คดีศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว การให้ย้อนสำนวนต้องสืบพยานใหม่ จึงไม่เห็นสมควรให้ร้องสอดเข้ามาในคดี การ้องสอดเข้ามาตาม 57(1) อาจทำเป็นคำฟ้องหรือคำให้การก็ได้ กล่าวคือ อาจร้องเข้ามาในฐานะโจทก์หรือจำเลยก็ได้ แล้วแต่เนื้อหาคำร้องสอด ซึ่งถ้าสภาพเป็นคำฟ้อง ต้องมีคำขอบังคับ แต่ถ้าเป็นคำให้การ มีแค่คำขอให้ยกฟ้องคดีได้ เช่น เข้ามาในฐานะจำเลยขอให้ศาลยกฟ้องก็ได้ แต่ต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น เมื่อไม่ทำตามคำร้องสอดย่อมไม่ชอบ ถ้าร้องเข้ามามีสภาพอย่างคำฟ้อง ต้องมีคำขอบังคับมิฉะนั้นคำร้องสอดย่อมไม่ชอบ และศาลต้องสั่งให้โจทก์และจำเลยยื่นคำให้การแก้ร้องสอดด้วย และเมื่อถือว่าคำร้องสอดเป็นคำฟ้อง จึงมีกรณีฟ้องซ้อนได้ เช่น ได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยเข้ามาแล้ว การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องเข้มาอีกเป็นร้องซ้อน ร้องสอดในชั้นบังคดี เช่น ผู้ร้องสอดฟ้องขับไล่เป็นอีกคดีแล้ว ต่อมาผู้ร้องได้ยื่นคำร้องเข้ามาในคดีที่ร้องครอบครองปรปักษ์เป็นการดำเนินการในชั้นบังคับคดีย่อมเป็นการร้องซ้อน การปลอมหนังสือหนังสือมอบอำนาจเพื่อนำไปโอนที่ดินให้แก่กัน จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องสอดเข้ามาตรา 57(1) โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย ผู้ร้องสอดอ้างว่าเป็นเจ้าของไม่ใช่ที่ของโจทก์ ย่อมร้องสอดได้ ถ้าไม่ได้ร้องสอดเข้ามาในคดี ก็ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดีได้ เช่น อ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านที่ต้องรื้อถอน สามารถยื่นคำร้องได้โดยไม่ต้องรอให้บังคับคดีเสียก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่า ผู้ร้องสอดเป็นตัวแทนเชิดของจำเลย จำเลยให้การว่า ไม่ได้เชิดผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่า ได้ทำสัญญาในนามตนเอง โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ขอให้ศาลยกฟ้องได้ ฟ้องแบ่งมรดกระหว่างทายาท ทายาทอื่นเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิฟ้องคดีขอให้แบ่งส่วนของตนได้ แต่ถ้าเป้นคดีที่ผู้จัดการมรดกเรียกทรัพย์มรดกจากบุคคลภายนอก ถือว่าเป็นการฟ้องแทนทายาทอื่น ทายาทอื่นจะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามไม่ได้ เพราะเป็นการต่อสู้กับตัวแทนของตนเอง ที่ดินนำมาขอทุเลาการบังคับคดี เจ้าหนี้ภาษีก็สามารถยึดทรัพย์ได้ ผู้ซื้อทรัพย์จึงมาร้องสอดขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้ โจทก์จำเลยสมคบกันทำสัญญากู้กันโดยไม่เป็นหนี้ และนำหนี้มาบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลย ผู้ร้องได้สอดเข้ามาในคดีเพื่อไม่ให้จำเลยต้องโอนทรัพย์ให้โจทก์ได้ คดีที่จำเลยเป็นบริษัท ผู้ถือหุ้นของจำเลยไม่ต้องถูกบังคับคดี จึงไม่มีสิทธิเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามหรือคู่ความร่วม โจทก์เป็นบริษัทฟ้องเรียกเงินจากจำเลย ผู้ถือหุ้นร้องสอดไม่ได้ การร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดี ผู้ร้องสัญญายอมแบ่งที่ดินส่วนของตนให้ ค. ค. จึงเป็นผู้สืบสิทธิจากผู้ร้องสอด เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แบ่งที่ดินอันมีผลกระทบต่อ ค. ค. จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษา เช่น ซื้อสิทธิเรียกร้องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ย่อมมีสิทธิร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้ และไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพราะไม่ได้เรียกร้องสิ่งใดขึ้นใหม่ แต่ถ้าโจทก์ไม่ได้ร้องขอบังคับคดีในสิบปี ตามปวิพ. มาตรา 271 ย่อมหมดสิทธิบังคับคดี จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่อนุญาตให้ร้องสอดเข้ามาในคดี คดีโจทก์ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น ไม่ได้นำยึดทรัพย์ จึงไม่มีเหตุอันสมควรให้ร้องสอดเข้ามาในคดี ศาลชอบที่ยกคำร้องเสียได้เลย มิใช่มีคำสั่งเพียงไม่รับคำร้องขอเท่านั้น การร้องสอดเข้ามาในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ย่อมสามารถกระทำได้ เช่น ยื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินร้องสอดในชั้นบังคับคดีได้ แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนแล้ว ถือว่าบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่อาจยื่นคำร้องเข้ามาได้ ในคดีตั้งผู้จัดการมรดก มีประเด็นเพียงสมควรตั้งเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ส่วนทรัพย์มรดกมีสิ่งใดบ้าง ผู้ร้องสอดอ้างว่า ทรัพย์เป็นของตนไม่ได้ การร้องสอด ตามมาตรา 57(2) ต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี หมายถึงผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับคดีโดยตรงหรือผลของคดีกระทบไปถึงของตนด้วย ข้ออ้างที่ว่า ถ้าจำเลยแพ้คดีจะไล่เบี้ยต่อผู้ร้องก็ไม่ใช่เหตุตามมาตรา 57(2) แต่เป็นเหตุตามมาตรา 57(3) ซึ่งให้คู่ความหรือศาลหมายเรียกเข้า ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเองไม่ได้ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย ซึ่งผู้ร้องอาศัยอยู่ด้วยโดยอ้างว่า มีสิทธิเช่าที่ดินกับโจทก์ต่อมาสามีจำเลย จึงยื่นคำร้องเข้ามาด้วยได้ โจทก์ฟ้องคดีขับไล่ ต่อมาระหว่างดำเนินคดีโจทก์ได้โอนที่ดินให้ผู้อื่น ผู้รับโอนที่ดิน ร้องสอดเข้ามาในคดีได้ ส่วนเจ้าของเดิมยังคงมีอำนาจฟ้องบริบูรณ์อยู่ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด หรือผู้ถือหุ้นในบริษัท ร้องสอดเข้ามาในคดีที่นิติบุคคลเป็นคู่ความไม่ได้ คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเนื่องจากหากจำเลยแพ้คดีผู้มีหน้าที่ต้องไปดำเนินการคือกรรมการบริษัท หาใช่ผู้ถือหุ้นไม่ คดีฟ้องเกี่ยวสัญญาขายทรัพย์ ผู้ขายร้องสอดในคดีที่ผู้อื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ขายได้ ฟ้องแบ่งทรัพย์ระหว่างเจ้าของรวม ผู้มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อขาย ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย แต่คดีฟ้องขับไล่ จำเลยต่อสู้ว่า ผู้ร้องสอดได้ซื้อทรัพย์และได้รับมอบการครอบครองจากเจ้าของแล้ว ผู้ร้องย่อมร้องสอดได้ เพราะเป็นการอ้างสิทธิของผู้ร้องสอดนั่นเอง ข้ออ้างว่าเป็นภริยาของจำเลยหรือผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจากโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่า โจทก์แพ้คดีสัญญาเป็นอันยกเลิกไป พวกนี้ร้องสอดไม่ได้ การ้องเป็นการเข้ามาแทนที่คู่ความฝ่ายใดก็ได้ แต่คู่ความเดิมยังมีสิทธิและหน้าที่อยู่ คู่ความเดิมจึงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ กำหนดในการยื่นคำร้องสอด ต้องยื่นระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นเท่านั้น ฟ้องขับไล่ ผู้เช่ายังๆไม่ได้ครอบครองทรัพย์โดยลำพัง โจทก์จึงยื่นคำร้องให้เรียกผู้ให้เข่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม เป็นเรื่องมาตรา 57(3) มิใช่เรื่องที่เป็นโจทก์ร่วม ตามมาตรา 57(2) ร้องสอดโดยศาลหมายเรียกเข้ามาในคดี ตามมาตรา 57(3) - เป็นเรื่องที่หมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี โดยคู่ความยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกโดยแสดงว่า ตนอาจถูกฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน โดยต้องยื่นพร้อมคำคู่ความ คือ คำฟ้องหรือคำให้การ ถ้ายื่นภายหลังก็ต้องแสดงเหตุอันควรที่ไม่สามารถยื่นได้ก่อนหน้านั้น เช่น ทำสัญญาเช่าซื้อ โดยทำประกันภัยเมื่อรถหาย เมื่อรถหาย จำเลยจึงเรียกบริษัทประกันให้ต้องร่วมรับผิดได้ คนที่ร้องสอดเข้ามาในคดีต้องเป็นบุคคลภายนอก เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยอื่นจะเรียกให้จำเลยที่ขาดนัดเข้ามาเป็นคู่ความไม่ได้ แต่ถ้าศาลอนุญาตให้โจทก์ขอถอนฟ้องไป จำเลยก็ขอให้เรียกเป็นจำเลยร่วมได้ โจทก์ฟ้องคดีผิดตัว โจทก์จะเรียกให้เจ้าของที่ดินแท้จริงเป็นโจทก์ร่วมไม่ได้ เช่นเดียวกับ โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งได้ถึงแก่ความตายก่อนฟ้องคดีแล้ว โจทก์จะขอเรียกทายาทเข้ามาเป็นจำเลยไม่ได้ ตัวแทนถูกฟ้องคดี ตัวแทนขอให้เรียกตัวการเข้ามารับผิดได้ แต่ถ้าตัวการถูกฟ้อง จะขอให้เรียกตัวแทนเข้ามาในคดีไม่ได้ โจทก์ฟ้องขับไล่ จำเลยสู้ว่า ได้ทำสัญญาเช่าจากจำเลยร่วม จำเลยจึงขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีได้ จำเลยถูกฟ้องให้รับผิดฐานผู้สั่งจ่าย จะขอให้เรียกผุ้สลักหลังเข้ามาในคดีไม่ได้ เพราะผู้สลัดหลังไม่ต้องรับผิดต่อผู้สั่งจ่าย จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์ร่วมกับบุคคลภายนอกกระทำละเมิดต่อจำเลย จำเลยขอให้ศาลหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีเพื่อให้รับผิดตามฟ้องแย้งได้ แต่ถ้าศาลไม่รับฟ้องแย้ง จะขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมไม่ได้ กรณีศาลเห็นสมควรให้บุคคลภายนอกเข้ามาในคดี ต้องมีเป็นกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลใช้อำนาจของศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีได้ คดีที่ศาลใช้อำนาจเรียกเข้มาเป็นคู่ความไม่ถือว่าเป็นคดีอุทลุม เช่น ศาลหมายเรียกโฉนดที่ดินซึ่งอยู่กับบิดาได้ พิพาทว่าเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ ไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของที่ดิน บุคคลภายนอกจะอ้างว่า นำชี้ที่ดินรุกล้ำไปที่ดินของบุคคลภายนอกไม่ได้ ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี ศาลก็พิพากษาให้รับผิดได้ไม่เป็นการเกินคำขอ เช่น ให้ใช้ค่าเสียหาย ถ้าเรียกเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่อาจมีคำขอใดๆได้ ศาลย่อมพิพากษาให้รับผิดกับต่อโจทก์ร่วมได้ เช่น โจทก์ร่วมเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยหรือให้ขับไล่ผู้ร้องสอดได้ การขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามารับผิดต้องเรียกเข้ามาในอายุความด้วย เช่น เรียกให้เข้ามารับผิดตามสัญญาประกัน ย่อมเรียกในอายุความสองปี ตามปพพ. มาตรา 882 วรรคสอง หนังสือมอบอำนาจไม่ได้ระบุให้อำนาจเรียกบุคคลอื่นเข้ามาในคดี จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องให้หมายเรียกบุคคลอื่นเข้ามาในคดี คำร้องขอคู่ความที่ยื่นคำร้องหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี ไม่ใช่เป็นคำคู่ความ แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งต้องโต้แย้งถึงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ แต่ถ้าศาลมีคำสั่งเรียกเข้ามาในคดีแล้ว บุคคลภายนอก ยื่นคำให้การแก้คดี ย่อมเป็นคำให้การ หรือในคดีที่ร้องสอดเข้ามาในคดี ศาลไม่รับคำร้องสอด ก็อุทธรณ์ฎีกาได้ แต่ถ้าศาลไม่ได้งดการพิจารณา จนศาลได้ตัดสินคดีแล้ว แม้ภายหลังศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องสอด ศาลชั้นต้นก็ไม่สามารถรับคำร้องสอดได้ ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ สิทธิเข้ามาต่อสู้คดีของผู้ร้องสอด - ย่อมสามารถต่อสู้คดีใหม่ได้ มารดาผู้ตายร้องขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม โดยถือเอาหลักฐานต่างๆเป็นของผู้ร้อง แต่เมื่อฟังได้ว่า ผู้ร้องเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย คำร้องพอแปลความได้ว่า เป็นการร้องสอดตามมาตรา 57(1) คดีร้องสอด แม้โจทก์จะขอถอนฟ้องแล้ว ศาลก็สามารถดำเนินคดีในส่วนผู้ร้องสอดต่อไปได้ นอกจากนี้แม้จำเลยเดิมจะขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดก็มีสิทธิต่อสู้คดีใหม่และมีสิทธิยกข้อต่อสู้ใหม่ได้ เช่น สู้ว่าคดีโจทก์เคลือบคลุมได้ หรือยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ แต่การยื่นคำร้องสอดเป็นคู่ความร่วม ตามาตรา 57(2) ย่อมไม่สามารถต่อสู้คดีอย่างอื่นหรือดำเนินคดีในทางที่ขัดสิทธิต่อคู่ความเดิมได้ เพราะเป็นเรื่องฝ่ายเดียวกันการดำเนินการจะขัดหรือแย้งกันไม่ได้ เช่น จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดก็ไม่มีสิทธิยื่นคำให้การ การยื่นคำร้องสอดก็หาประโยชน์มิได้ จึงไม่รับคำร้องสอดยกเว้นได้ยื่นคำร้องสอด คดีจำเลยเดิมยื่นคำให้การไว้แล้ว จะยื่นคำให้การนอกจากที่ยื่นไว้ไม่ได้ เช่น ไม่ได้สู้ว่า โจทก์รับโอนที่ดินโดยไม่สุจริต ตามปพพ. มาตรา 1299 วรรคสองหรือจะยื่นขัดต่อคำให้การผู้ร้องสอดไม่ได้ ศาลต้องสั่งไม่รับคำให้การของผู้ร้องสอด โดยยังคงมีสิทธิสืบพยานตามคำให้การเดิมได้ แต่ขณะที่จำเลยยังไม่ขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดก็สามารถยื่นคำให้การได้ จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง ผู้ร้องสอดก็ฟ้องแย้งไม่ได้ คดีเดิมไม่มีอำนาจฟ้อง ผู้ร้องสอดจะยื่นคำร้องสอดไม่ได้ จำเลยเดิมไม่ได้ต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความ ผู้ร้องสอดจะยกว่าคดีขาดอายุความไม่ได้ แต่คู่ความเดิมยังเป็นคู่ความอยู่ จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ฎีกาได้ คดีที่มีผู้ร้องสอด ศาลต้องพิพากษาคดีรวมกัน จะแยกพิจารณาคดีไม่ได้ คู่ความร่วม
-คู่ความร่วม ต้องมีประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี หมายถึงมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดี เช่น ละเมิดครั้งเดียวมีผู้เสียหายหลายรายแม้ค่าเสียหายแต่ละคนจะแยกจากกันก็ตาม ฟ้องให้ผู้รับประกันภัยต้องร่วมรับผิดได้ โจทก์เป็นสมาชิกของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ เมื่อจำเลยไม่จ่ายเงินให้ โจทก์ร่วมกันฟ้องคดีได้ คดีของโจทก์บางคนมีทุนทรัพย์ไม่เกินอำนาจของศาลแขวง โจทก์ทุกคนก็ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดได้ ที่ดินอยู่ติดกันและถูกเวนคืนโดยกฎหมายฉบับเดียวกัน เจ้าของที่ดินฟ้องคดีรวมกันได้ ผู้ร้องขัดทรัพย์หลายราย ร้องขัดทรัพย์ที่ถูกยึดคนละอย่างกัน ไม่สามารถยื่นคำร้องในฉบับเดียวกันได้ บุกรุกที่ดินครั้งเดียวต่อเจ้าของหลายคน แม้มีหนังสือรับองคนละฉบับก็ตาม ก็สามารถร้องในคดีเดียวกันได้ -คดีที่โจทก์แต่ละราย ฟ้องคดีร่วมกันมา ถ้าเป็นการชำระหนี้แบ่งแยกกันได้ ก็ไม่ถือว่าดำเนินคดีแทนกัน เช่น ฟ้องเรียกค่าชาดไร้อุปการะเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นเรื่องเฉพาะตัวแต่ละคน แต่ถ้ามูลคดีแบ่งแยกไม่ได้ เช่น ฟ้องให้นายจ้างร่วมรับผิดจากการกระทำละเมิดของลูกจ้าง ก็ถือว่าดำเนินคดีแทนกัน การเลื่อนคดีก็ถือว่าทำแทนกันตามกฎหมาย คดีที่จำเลยต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความ ต้องถือว่าเป็นการต่อสู้แทนจำเลยร่วมด้วย ยกเว้นอายุความคนละมูลกัน เช่น ฟ้องตามมูลละเมิด และเรียกให้ผู้รับประกันภัยรับผิดตามสัญญา เป็นคนละมูลกัน ผู้รับประกันสู้ว่าคดีขาดอายุความก็ไม่ถือว่าคดีแทนผู้ทำละเมิดด้วย โจทก์ถอนฟ้องคดีสำหรับจำเลยที่ต่อสู้คดีขาดอายุความก็ถือว่าลบล้างผลการสู้คดี เท่ากับไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลสั่งให้รับผิดได้ ยกเว้นการดำเนินคดีที่เสื่อมเสียสิทธิ เช่น คำท้า หรือการรับข้อเท็จจริงในคดี จำเลยอื่นขาดนัดพิจารณา โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้ได้ตามฟ้อง เช่น ผู้เช่าซื้อขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ค้ำประกันยื่นคำให้การ คำรับของผู้ประกันไม่ถือว่ารับแทนผู้เช่าซื้อ โจทก์ยังมีหน้าที่สืบพยานอยู่อีก คดีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การเป็นเรื่องเฉาพะจำเลยที่ไม่จงใจหรือคดีมีเหตุอันสมควรเท่านั้น ที่จะขอยื่นคำให้การหรือขอพิจารณาคดีใหม่ได้ การอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาให้คู่ความฟังเป็นเรื่องเฉพาะตัวคู่ความแต่ละราย หากการอ่านให้คู่ความทรายใดไม่ชอบ ก็มีผลเฉพาะคู่ความนั้นๆ ไม่มีผลถึงคู่ความอื่นด้วย การมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ตามมาตรา 60 -ผู้รับมอบอำนาจอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ถ้านิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ในการนั้น ผู้รับมอบอำนาจจะว่าความอย่างทนายความไม่ได้ แต่แต่งตั้งทนายความเข้าว่าคดีๆได้ และแต่งตั้งผู้รับมอบอำนาจเองเข้าเป็นทนายความได้ ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจเรียงหรืแต่งคำคู่ความได้ หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่ต้องติดไปกับฟ้องคดี ฟ้องคดีไม่ๆได้รับมอบอำนาจมาแต่แรก แม้ต่อมาภายหลังจะยื่นใบมอบอำนาจเข้ามา ก็ไม่มีอำนาจฟ้องขึ้นมาได้ แต่คดีมีการมอบอำนาจโดยชอบแล้ว แม้ไม่ส่งหนังสือมอบอำนาจ ก็นำสืบได้ แต่ถ้าโจทก์เป็นนิติบุคคล ศาลสั่งให้แก้ไขให้บริบูรณ์ได้ เช่น หนังสือมอบอำนาจไม่ประทับตราบริษัท ต่อมาบริษัทได้ยื่นใบมอบอำนาจใหม่ได้ เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องตามมาตรา 66 ระหว่างดำเนินคดีได้แต่งตั้งผู้รับมอบอำนาจให้แทนผู้รับมอบอำนาจคนเดิม การมอบอำนาจเดิมก็ไม่เสียไป และไม่ต้องอ้างหนังสือมอบอำนาจใหม่ หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่จำต้องระบุชื่อผู้ถูกฟ้องโดยเฉพาะว่าฟ้องผุ้ใดและไม่จำเป็นต้องระบ่วาฟ้องที่ศาลไหนด้วย เพราะเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ มอบอำนาจให้ดำเนินคดี ย่อมมีอำนาจฟ้องแย้งได้ ไม่ต้องทำใบมอบอำนาจใหม่ ตัวความถึงแก่ความตาย ทนายความก็มีอำนาจยื่นอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้ ตามปพพ. มาตรา 828 อำนาจทนายความ มาตรา 62
-อำนาจของทนายความต้องดำเนินการในศาล ถ้าเป็นการดำเนินการนอกศาล โดยตัวความมิรู้เห็นด้วย ไม่มีผลผูกพันตัวความ ทนายความถูกถอนจากการเป็นทนายความแล้ว ยังคงลงชื่อยื่นอุทธรณ์ ศาลสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องได้ ใบแต่งทนายความระบุให้มีอำนาจถอนฟ้องได้ ทนายความก็ถอนฟ้องได้ แต่ถ้าไม่ได้ระบุไว้ย่อมไม่มีอำนาจ เช่น ถอนฟ้องหรือขอให้พิจารณาคดีใหม่ -มอบฉันทะให้ทนายความรับเงิน แต่ถ้าทำยอมในศาลและจ่ายเงินในศาลถือโดยปริยายว่า มอบหมายให้โจทก์รับเงินมาแต่แรกแล้ว -มอบฉันทะ เช่น มอบให้ทนายความมาเลื่อนคดี ต้องถือว่าตัวความทราบในส่วนที่เกี่ยวกับการเลื่อนคดี การที่ศาลสั่งให้เสียค่าธรรมเนียมศาลเพิ่มขึ้น จะถือว่าตัวความทราบไม่ได้ ทนายความตั้งผู้รับมอบฉันทะมายื่นฟ้องได้ โดยต้องแนบใบมอบฉันทะมาด้วย มอบฉันทะให้มาฟังคำพิพากษา ถือว่าลงชื่อทราบคำพิพากษาและคำบังคับด้วย การขอเลื่อนคดีด้วยวาจา ทนายความเท่านั้นที่ขอแถลงได้ ผู้รับมอบฉันทะ จะแถลงขอเลื่อนคดีด้วยวาจาไม่ได้ -ทนายความขอถอนตน การให้ถอนทนายความเป็นดุลพินิจของศาลเช่น ถอนเพื่อประวิงคดีศาลไม่อนุญาตได้ และเมื่อไม่อนุญาต ก็จะขอเลื่อนคดีเพื่อหาทนายความใหม่ไม่ได้ ศาลยังไม่ได้ถอนทนายความ ทนายความก็มีอำนาจทำสัญญายอมได้ ศาลจะให้ถอนทนายความ ศาลต้องแจ้งให้ตัวความทราบก่อนด้วย ส่วนที่มีคำอธิบายว่า การแสดงเจตนาถอนทนายความมีผลทันทีศาลเป็นเพียงรับทราบเท่านั้น ก็ต้องเข้าใจว่า เป็นไปโดยศาลรับรู้ด้วย -ผู้แทนดำเนินคดีบกพร่อง โจทก์ฟ้องคดียื่นใบมอบอำนาจสลับคดี โจทก์ขอแก้ไขได้ ตำเลยยื่นคำให้การโดยไม่ยื่นใบมอบอำนาจให้ถูกต้อง ระหว่างดำเนินคดียื่นใบมอบอำนาจให้ถูกต้องถือว่าแก้ไขข้อบกพร่องแล้ว การยื่นและการส่งคำคู่ความและเอกสาร -คำให้การต้องใช้แบบพิมพ์ศาล และคำให้การจะยื่นต่อพัสดีเรือนจำไม่ได้ พนักงานเดินหมายเดินหมายนอกเวลาราชการได้ ศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์นำส่ง จะถือว่าโจทก์ทราบผลหมายไม่ได้ ศาลสั่งให้นำส่ง ถ้าส่งไม่ได้ให้แถลง เมื่อไม่ดำเนินการเป็นทิ้งฟ้องได้ กรณีส่งหมายข้ามเขต คือ ให้ศาลอื่นส่งแทน เมื่อส่งไม่ได้และศาลไม่ได้แจ้งให้ทราบ จะถือว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นคำแถลงไม่ได้ คู่ความแต่งตั้งทนายความหลายคน ศาลส่งให้แก่ทนายความคนใดก็ได้ การส่งคำคู่ความทางไปรษณีย์ มีผลเสมือนพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง เช่น บุคคลในบ้านเรือนที่มีอายุเกินกว่ายี่สิบปีรับคำคู่ความ จึงเป็นการส่งโดยชอบตามมาตรา 76 มีผลทันทีและการส่งโดยไปรษรีย์ไม่ใช่การส่งโดยวิธีอื่นตามมาตรา 79 ไม่พบคู่ความ คือ ไม่สามารถส่งให้ผู้อยู่ในบ้านเรือนหรือส่งตามคำสั่งศาล เมื่อส่งวิธีปกติไม่ได้ การส่งข้อความตามคำสั่งศาลตามมาตรา 76 ไม่ใช่การส่งตามวิธีอื่นตามมาตรา 79 และเป็นการส่งโดยชอบ ไม่เป็นการข้ามขั้นตอนของกฎหมาย จึงมีผลทันที ส่วนการส่งหมายตามมาตรา 79 คือ การส่งโดยวิธีอื่น คือ ไม่สามารถส่งโดยวิธีปกติได้ คู่ความยังมีภูมิลำเนา จะส่งโดยปิดประกาศหน้าศาลไม่ได้ เมื่อส่งวิธีธรรมดาไม่ได้ ก็ส่งโดยวิธีอื่นได้ เช่น ปิดประกาศกำหนดสืบพยานหน้าศาลได้ แม้การส่งคำคู่ความไม่ชอบ แต่ปรากฏว่าได้แต่งทนายความเดข้ามาสู้คดี จำเลยจะมาอ้างว่า การส่งหมายไม่ชอบไม่ได้ เพราะจำเลยไม่ได้รับความเสียหาย การส่งหมายนัดให้ทนายความตามที่อยู่ปรากฎในสำนวน เมื่อทนายความย้ายสำนักงานไปแล้ว การปิดหมายก็ไม่ชอบ ภูมิลำเนาถือตามที่อยู่ของสำนักงานใหญ่ สาขา หรือภูมิลำเนาเฉพาะการ ฟ้องหุ้นส่วนผู้จัดการถือว่ามีภูมลำเนาตามห้ามฯ ด้วย แต่เมื่อสถานที่ห้างฯ ได้รื้อไปแล้ว ก็ขอประกาศส่งทางหนังสือพิมพ์ได้ สำนักงานใหญ่นิติบุคคลถูกไฟไหม้ แต่โครงหลังคาของสำนักงานแห่งใหญ่ยังมีภูมิลำเนาอยู่ หมายนัดฟังคำพิพากษาระบุชื่อโจทก์ร่วม สามีโจทก์ร่วมลงชื่อแทนไม่ได้แม้ทำในศาล การวางหมายตามมาตรา 78 ต้องมีพนักงาฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป้นพยานด้วย มิฉะนั้นไม่ชอบ แต่การปิดหมายตามมาตรา 79 ไม่ต้องมีบุคคลดังกล่าว การวางหมายตามมาตรา 78 ต้องเป็นการวางหมาย ณ ภูมิลำเนาของผู้รับด้วย เจ้าพนักงานปิดหมายโดยศาลไม่ได้สั่งให้ปิด ถือว่าจำเลยไม่ได้รับหมายโดยชอบ การปิดคำคู่ความต้องปิดในที่แลเห็นง่าย แต่ถ้าส่งให้คนในบ้านไม่ถือว่าปิดโดยชอบ การปิดคำคู่ความหรือเอกสารจะต้องทำให้แน่นหนา ไม่หลุดออกง่าย การเสียบไว้ที่เหล็กซึ่งอาจปลิวหลุดง่าย จึงเป็นการปิดหมายโดยมิชอบ แต่การนำลวดมาผูกคำคู่ความหรือเอกสาร เป็นการผิดโดยชอบ คำพิพากษาและคำสั่ง มาตารา 131-18
-ประเด็นแห่งคดีศาลต้องทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งหรือคำสั่งจำหน่ายคดี ในชั้นตรวจฟ้อง ศาลยกฟ้องได้และสั่งค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับได้ แต่ต้องทำโดยผู้พิพากษาครบอง๕คณะ ผู้พิพากษานายเดียวสั่งไม่ได้ คดีร้องขัดทรัพย์ เมื่อศาลยกคำฟ้อง จึงมีสิทธิอุทธรณ์และเสียค่าขึ้นศาลด้วย การสั่งจำหน่ายคดี ไม่เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ถ้าคดีที่วินิจฉัยในเนื้อหาต้องทำในรูคำพิพากษา จะสั่งสั่งจำหน่ายคดีไม่ได้ เช่น ศาลเห็นว่า โจทก์ฟ้องซ้ำ ศาลต้องยกฟ้อง และการสั่งจำหน่ายคดีเป็นดุลพินิจของศาล ศาลอาจไม้สั่งจำหน่ายคดีก็ได้ คดีเสร็จการพิจารณา ศาลพิพากษาและวันนั้นได้ทันที คำพิพากษาตามยอม มาตรา 138
-เมื่อศาลรับฟ้องแล้ว จึงทำยอมได้ โจทก์ยื่นฟ้องและยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ระหว่างการไต่สวนคำร้อง จำเลยจะทำสัญญายอมกับโจทก์ไม่ได้ ศาลยังไม่ได้สั่งรับฟ้อง สัญญายอมที่ทำในศาล อาจทำยอมในข้อนอกคำขอท้ายฟ้องได้ แต่ต้องอยู่ในขอบเขตประเด็นแห่งคดี เช่น ให้ดอกเบี้ยเกินร้อยละ 7.5ต่อไปตามคำขอท้ายฟ้องได้ การทำยอมในหนี้ทรายอื่นที่ไม่ได้ฟ้องคดีและนอกคำให้การจำเลย ไม่มีผลผูกพันโจทก์ คดีขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก คู่ความทำยอมกันให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ศาลก็ไม่อาจพิพากษาตามยอมได้เพรายังต้องพิจารณาถึงสิทธิและคุณสมบัติของผู้ร้องเสียก่อน คดีหย่าเมื่อศาลตัดสินกันแล้ว จะทำยอมขอให้จดทะเบียนสมรสกันใหม่ไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะตัว คดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นหรือศาลสูงหรือระหว่างบังคับคดีก็ทำยอมได้ คดีศาลฎีกาให้แบ่งทรัพย์มรดกแล้ว และโจทก์จำเลยได้ทำยอมกันอีกคดีหนึ่ง ก็สามารถทำได้เป็นผลให้คำพิพากษาศาลฎีกาสิ้นผลไป ข้อตกลงที่คู่ความทำเองโดยไม่ผ่านศาลและคู่ความอีกฝ่ายไม่รับรอง ก็ใช้บังคับในคดีไม่ได้ ต้องฟ้องเป็นเรื่องต่างหาก ส่วนข้อตกลงในศาลไม่มีข้อตกลงให้ยกเลิกสัญญายอม เมื่อไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่ ก็ต้องผูกพันตามคำพิพากษาที่ทำยอมไว้เดิม หรือข้อตกลงผ่อนชำระหนี้ไม่มีผลให้สัญญายอมระงับ เมื่อยอมความในศาลสูง คำพิพากษาศาลล่างเป็นอันระงับ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าฤชาธรรมเนียมที่คู่ความอีกฝ่ายได้วางต่อศาลตามมาตรา 229 คู่ความไม่ลงชื่อในสัญญายอม ศาลจะจดแจ้งเหตุไม่ลงชื่อแล้วพิพากษาตามยอมไม่ได้ เพราะการทำยอมเป็นสิทธิของคู่ความ คดีจำเลยหลายคนเฉพาะคนที่ทำยอมเท่านั้น จึงจะผูกพัน - การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมต้องเข้า 3 กรณี ตามกฎหมายจะอ้างเหตุอื่นไม่ได้ จำเลยอุทธรณ์ว่า ทนายโจทก์ได้ทำการฉ้อฉล อย่างนี้อุทธรณ์ได้ ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนเหตุแล้วส่งให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีได้ ข้ออ้างว่าข่มขู่หรือสำคัญผิดอ้างไม่ได้ ข้อที่ว่าสัญญายอมละเมิดต่อกฎหมาย เช่น อุทธรณ์ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน คู่ความตกลงให้จ่ายอัตราดอกเบี้ย เกินกว่าคำขอท้ายฟ้องหรือตกลงจ่ายค่าทนายความเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ไม่ขัดต่อกฎหมายเพราะค่าทนายความมิใช่เรื่องที่ศาลกำหนดให้ ปัจจุบันมีหลักเรื่องค่าทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแล้ว สัญญายอมให้โอนทรัพย์ให้บุคคลภายนอกได้ เมื่อบุคคลภายนอกเข้าถือสิทธิตามสัญญาแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลที่มีส่วนได้เสียร้องขอบังคับคดีได้ แต่ผู้รับประโยชน์ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอบังคับคดีไม่ได้ สัญญาคนเดียวลงชื่อถูกต้องตามข้องบังคับบริษัท สัญญายอมจึงใช้ไม่ได้ เป็นการละเมิดต่อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องเพิกถอนสัญญายอม การขอให้ศาลตีความสัญญาหรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบังคับคดี ย่อมยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ฎีกาได้ไม่ต้องจำกัดในสามกรณี เพราะมิใช่การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอม คู่ความที่เห็นว่า สัญญายอมไม่ถูกต้อง ก็ต้องยื่นอุทธรณ์ในกำหนดเวลาเพียงประการเดียว คู่ความจะอ้างเหตุขอให้เพิกถอนสัญญายอมหลังครบกำหนดเวลาไม่ได้ แม้เพิ่งทราบเหตุหลังครบกำหนดเวลาอุทธรณ์ ก็จะยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนไม่ได้ และคู่ความจะฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้ ต้องอุทธรณ์เข้ามาในคดีเดิมเท่านั้น จะอ้างว่า ทนายความทำนอกขอบอำนาจไม่ได้ ในชั้นบังคับคดี ศาลตีความและให้บังคับตามเจตนาที่แท้จริงได้ ในสัญญายอมระบุให้โอนที่ดิน แต่หากโอนไม่ได้ ไม่ได้ระบุให้ต้องใช้ราคา ดังนั้น จึงบังคับให้ใช้ราคาไม่ได้ ต้องฟ้องเป้นคดีใหม่ คดีทำยอมให้เช่าที่ดิน จะมาฟ้องเป็นคดีใหม่ อ้างว่า สัญญาเช่าไม่ผูกพันเนื่องจากผู้ลงนามไม่มีอำนาจโดยเหตุปลอมหนังสือรายการจดทะเบียน ดังนี้จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอกาทรัพย์คืน จะฟ้องเข้ามาในคดีเดิมหรือฟ้องเป็นคดีใหม่ได้ คำพิพากษาไม่เกินคำขอ -ศาลมีดุลพินิจในการตัดสิน หากวินิจฉัยในประเด็นใดแล้วจะทำให้คดีเสร็จไป ก็ตัดสินคดีไปได้ ไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นอื่น คดีโจทก์ฟ้องหย่า ระหว่างพิจารณาคดีคู่ความได้หย่ากันเอง ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดเรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ได้ เพราะเป็นการอาศัยอำนาจตามปพพ. มาตรา 1520 เช่นเดียวกับการกำหนดค่าเสียหายในมูลหนี้ตามปพพ. มาตรา 222,223 ละเมิด มาตรา 438 หรือการเลิกสัญญา มาตรา 391 วรรคท้าย คำฟ้องเป็นการกะประมาณเนื้อที่ เมื่อทำแผนที่กันแล้ว ก็พิพากษาตามแผนที่ได้แม้จำนวนเนื้อที่มากกว่าในคำฟ้อง ฟ้องให้จดทะเบียนโอนที่ดินเนื่องจากโฉนดที่ดินออกทับที่ แต่จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องไม่จดทะเบียน ศาลมีอำนาจเพิกถอนโฉนดที่ดินได้ เพราะเป็นการใช้อำนาจตามป.ที่ดิน มาตรา 61 ฟ้องว่า ได้สิทธิโดยการครองครองปรปักษ์ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนให้โจทก์ คือ โจทก์นำคำสั่งศาลในคดีถึงที่สุดไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินได้ ฟ้องว่าที่เป็นของโจทก์ ศาลจะพิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ ทำนองเดียวกับจำเลยสู้ว่า ที่เป็นของจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง ศาลหยิบมาพิพากษาก็เป็นนอกประเด็น ถ้าฟ้องว่า ได้ที่ดินโดยการครองปรปักษ์ ศาลจะพิพากษาว่าได้ที่ดินโดยเหตุอื่นไม่ได้ และการสู้ครอบครองปรปักษ์ ในคำให้การต้องอ้างให้ครบว่า เป็นครอบครองที่ดินอย่างปรปักษ์ต่อเนื่องเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว จนได้กรรมสิทธิ์ ฟ้องแบ่งทรัพย์มรดก ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยไม่ใช่ทายาท ศาลก็สั่งให้จำเลยส่งมอบทรัพย์ได้ ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม ศาลพิพากษาว่าเป็นทางจำเป็นไม่ได้ ยกเว้นในคำฟ้องได้บรรยายมาด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นภาระจำยอม ศาลอุทธรณ์ว่าเป็นทางจำเป็น ก็พิพากษาได้ เนื่องจากโจทก์มีคำขอมาแต่ต้นแล้ว ฟ้องว่าเป็นทางสาธารณะ แต่บรรยายว่าเป็นทางภารจำยอมมาด้วย ศาลก็สั่งเปิดทางได้ ฟ้องว่าเป็นทางภาระจำยอม ได้ความว่าเป็นทางสาธารณะ ก็พิพากษาได้ เพราะทางสาธารณะทุกคนมีสิทธิให้ บุคคลใดก็ไม่อาจห้ามให้คนอื่นใช้ ฟ้องขอให้ขับไล่ออกจากสิ่งปลูกสร้าง ศาลมีคำสั่งขับไล่ออกไปจากที่ดินที่ปลูกสร้างได้ด้วย ฟ้องให้รับผิดตามสัญญา จะสืบว่าจำเลยทำสัญญาเองหรือเชิดให้บุคคลอื่นเข้ามาทำสัญญาแทนก็สืบได้ เพราะเป็นการสืบว่า จำเลยต้องรับผิดตามสัญญา ข้อยกเว้นที่พิพากษาเกินคำขอได้ คือ คำฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์เช่นเดียวกับคดีขับไล่ มาตรา 142(1) ศาลต้องสั่งนำพิพากษาไว้ด้วย แม้มีผู้ร้องสอดเข้ามาก็ขับไล่ผู้ร้องสอดได้ด้วย และบังคับให้ถึงญาติและบริวารด้วย คดีร้องขอครอบครองปรปักษ์และมีผู้คัดค้าน ศาลก็พิพากษาขับไล่ได้ แต่คดีเดินรถทับเส้นทางสัมปทานไม่ใช่คำฟ้องเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ ฟ้องผิดสัญญาซื้อขายแล้วทำยอมให้โอนที่ดิน โจทก์จะอาศัยสัญญายอมมาบงัคับริวารไม่ได้ เพราะบริวารมิใช่คู่สัญญายอม แต่ในชั้นบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศให้บริวารแสดงอำนาจพิเศษแล้ว ถ้าผุ้นั้นไม่แสดงอำนาจพิเศษก็ถือว่าเป็นบริวารตามมาตรา 296 จัตวา การฟ้องเรียกทรัพย์เมื่อได้ความว่ามีสิทธิแบ่ง ศาลพิพากษาให้ได้รับส่วนแบ่งได้ ตามมาตรา 142(2) คดีปัญหาเกี่ยวกับความสงบฯ ตามมาตรา 142(5) ศาลมีอำนาจยกวินิจฉัยได้หรือไม่ยกวินิจฉัยให้ก็ได้ จำเลยออกโฉนดโดยมิชอบ แม้โจทก์ไม่ได้มีคำขอให้เพิกถอน ศาลก็ยกวินิจฉัยได้ ปัญหาอำนาจฟ้อง เช่น ฟ้องซ้ำ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบฯ แต่หนี้ถึงกำหนดชำระหนี้ไม่ใช่ ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบฯ เพราะกำหนดระยะเวลา ผู้ได้ประโยชน์สามารถสละได้ ตามปพพ. มาตรา 192 ฟ้องเคลือบคลุมไม่ใช่เช่นกัน ยกเว้นฟ้องขาดสาระสำคัญ เช่น ไม่ได้บรรยายฐานะให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน ศาลก็ยกเองได้ ในคดีอาญาเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบฯ ข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบฯ ต้องได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ คือ มาจากคำคู่ความที่คู่ความต้องนำสืบ เช่น คำฟ้องต้องแสดงข้อเท็จจริงว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจศาลด้วย แต่ถ้าเป็นเรื่องการพิจารณาจำเลยต้องสู้คดีไว้ ถ้าไม่สู้คดีย่อมไม่มีประเด็น เช่น ไม่ได้สู้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้ออกจากที่ดินก่อนฟ้องคดีหรือไม่ แม้มีพยานบางปากเบิกความก็เข้าสู่สำนวนโดยมิชอบ โจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป ศาลจะสั่งให้ใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องไม่ได้ คดีที่ศาลให้ดอกเบี้ยเกินร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามมาตรา 142(6) ต้องปรากฏด้วยว่า จำเลยสู้คดีโดยไม่สุจริตโจทก์มีส่วนประมาทอยู่ด้วย เป็นการสู้คดีตามปกติไม่ใช่ไม่สุจริตอย่างใด ศาลสั่งให้เสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีไม่ได้ การแก้ไขคำพิพากษา
-คำพิพากษาแก้ไขไม่ได้ คู่ความฝ่ายใดไม่พอใจต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกา และจะทำเป็นคำแก้อุทธรณ์ฎีกาก็ไม่ได้ ยกเว้นเป็นการแก้เล็กน้อย คือ ต้องไม่เพิ่มความรับผิดให้จำเลย แต่แก้ให้ถูกต้องได้ สัญญายอมมีข้อผิดเล็กน้อยก็แก้ได้ เมื่อระบุเลขโฉนดถูกต้องจะขอแก้เนื้อที่โฉนดให้ถูกต้องเป็นแก้ไขเล็กน้อย แต่การขอเพิ่มเติมโฉนดอีก 1 แปลง จะแก้ไม่ได้ แม้พิมพ์ผิดเกี่ยวกับเลขโฉนด มิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อย แต่เมื่อไม่มีกรณีที่ต้องบังคับกับโฉนดดังกล่าว ก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป จะขอแก้ไม่ได้ ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามจำนวนเงินตามคำขอท้ายฟ้องแม้น้อยกว่าจำนวนเงินตามที่บรรยายฟ้อง โจทก์จะขอแก้ไม่ได้ ขอแก้สัญญาให้รับผิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นไม่ได้ ข้อที่ไม่เล็กน้อยแม้อีกฝ่ายไม่คัดค้านการแก้ไข ศาลก็สั่งให้แก้ไขไม่ได้ ในชั้นบังคับคดี ศาลแก้ไขให้ถูกต้องได้ เช่น ออกคำบังคับให้ถูกต้องได้ ฟ้องให้โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 195 ศาลพิมพ์เป็นเลขที่ 105 ในชั้นบังคับคดีก็บังคับคดีตามที่ถูกต้องได้ สัญญายอมระบุให้ถ้าไม่ชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 5 จะขอแก้ให้ยึดทรัพย์ของจำเลยทั้งห้าไม่ได้ ที่ดินได้แบ่งแยกโฉนดออกแล้ว ศาลบังคับคดีกับโฉนดซึ่งถูกแบ่งแยกออกได้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ มาตรา 144 -การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเป็นคดีเดียวกันหรือต่างคดีก็ได้ เช่น โจทก์ฟ้องจำเลย ต่อมาจำเลยได้ฟ้องโจทก์เมื่อคดีหนึ่งตัดสิน อีกคดีหนึ่งก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำแม้ได้ฟ้องคดีไว้ก่อนก็ตาม คดีศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องว่า คดีขาดอายุความ แต่ศาลสูงว่า คดีไม่ขาดอายุความ จึงให้ย้อนสำนวน ดังนี้ จะสู้ว่า คดีขาดอายุความไม่ได้ เป็นดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ การวินิจฉัยของศาลต้องเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ศาลสั่งจำหน่ายคดีก็ยื่นฟ้องใหม่ได้ ยกเว้นอีกฝ่ายได้ยื่นอุทธรณ์ก่อนคดีถึงที่สุด ก็จะเป็นฟ้องซ้อนได้ ขอยื่นขยายระยะเวลาหรือคำร้องขอแก้คำฟ้อง ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีจึงยื่นแก้ได้อีก จำเลยขอขยายเวลายื่นคำให้การ ศาลยกคำร้อง จำเลยยื่นคำร้องขอให้รับคำให้การว่า จำเลยไม่จงใจขาดนัดหรือคดีมีเหตุอันสมควรที่ศาลรับคำให้การได้ บางกรณีที่ศาลเห็นว่า ศาลได้วินิจฉัยแล้ว การยื่นคำร้องโดยให้เหตุผลอย่างเดียวกันอีกเป็นการดำเนินกระบงวนพิจารณาซ้ำ เช่น ศาลสูงไม่ให้จำเลยขยายระยะเวลามาแล้ว จำเลยจะมายื่นคำร้องโดยอาศัยเหตุเดียวกันไม่ได้ จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ ศาลสูงยกคำร้อง จำเลยจะมายื่นด้วยเหตุเดียวกันอีกไม่ได้ ศาลยกคำร้องที่จำเลยขอยกเว้นค่าธรรมเนียมโดยไม่มีพยานเข้ามาสืบ จำเลยจะมายื่นคำร้องด้วยเหตุเดิมอีกไม่ได้ แต่คดีจำเลยยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่โดยอ้างเหตุไม่ครบถ้วน ศาลยกคำร้อง จำเลยยื่นคำร้องใหม่โดยอ้างเหตุให้ครบถ้วนได้ เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยในเนื้อหา จำเลยยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้น ศาลไม่ได้วินิจฉัยตามที่ขอ จำเลยยื่นคำร้องใหม่ได้ คดีฟ้องขับไล่ โจทก์ยื่นคำร้องว่า ไม่ใช่บริวาร ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จดทะเบียนสิทธิการเช่า คนละประเด็นกัน คดีแพ่งกับคดีอาญาเป็นคนละประเด็นกัน เช่น ศาลยกฟ้องตามพรบ.เช็ค โจทก์ฟ้องมูลหนี้เดิมได้ แต่คดีที่โจทก์ฟ้องให้ทายาทชำระหนี้ เมื่อศาลยกฟ้องแล้ว ก็จะฟ้องอีกไม่ได้ ศาลพิพากษาขับไล่ จำเลยซึ่งไม่ใช่คู่ความยื่นคำร้องว่า ไม่ใช่บริวาร ศาลสั่งว่า เป็นบริวาร คดียังไม่ถึงที่สุด การที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยได้ เพราะจำเลยไม่ได้เป็นคู่ความในชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวและไต่สวนฉุกเฉิน ศาลสั่งยกคำร้อง โจทก์ยื่นคำร้องของคุ้มครองชั่วคราวได้ ตามมาตรา 267 วรรคสาม หลังจากนั้นจะมาบยื่นคำร้องไต่สวนฉุกเฉินอีกไม่ได้ ศาลจึงต้องไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวได้ การยื่นคำขอรับมรดกความเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ ศาลยกคำร้องเนื่องจากคดีเป็นเรื่องเฉพาะตัว ในคดีนี้ พ. ในฐานะทายาทโดยธรรม จึงยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่เหมาะสมตั้งผู้จัดการมรดกได้ เพราะยื่นคนละฐานะกัน ศาลสูงไม่ให้รับคำให้การแล้ว จำเลยจะฎีกาของให้รับคำให้การอีกไม่ได้ คำพิพากษาผูกพันคู่ความ ตามมาตรา 145 -คำพิพากษาผูกพันคู่ความ ต้องเป็นประเด็นเดียวกัน คดีตั้งผู้จัดการมรดกไม่มีประเด็นว่า ทรัพย์มรดกเป็นของผู้ใด ผู้ที่ผูกพัน คือ คู่ความแม้เป็นฝ่ายเดียวกันก็ตาม คือ จำเลยอาจมาฟ้องไล่เบี้ยกันได้ และคำพิพากษาผูกพันผู้สืบสิทธิด้วย เช่น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เจ้าของรวมฟ้องเรียกทรัพย์จากบุคคลภายนอกเป็นการฟ้องแทนผู้อื่นตามปพพ. มาตรา 1359 เจ้าของรวมอื่นที่ไม่ได้เข้ามาสู้คดีด้วย ก็ต้องผูกพันในคดี ยกเว้นทายาทไปทำสัญญายอมรับว่าทรัพย์เป็นของบุคคลภายนอก คำพิพากษาไม่ผูกพันทายาทอื่น บุตรฟ้องบิดามารดาไม่ได้ ต้องให้อัยการฟ้องคดีแทน เมื่อศาลตัดสินแล้ว ก็ต้องผูกพัน คำพิพากษายอมให้เช่าที่ดินไม่อยู่ในบังคับต้องจดทะเบียนตามปพพ. มาตรา 538 คำพิพากษาสองฉบับในชั้นศาลเท่ากัน เมื่อฟ้องเป็นคดีที่สามต้องสืบพยานต่อไป แต่ถ้าเป็นคำพิพากษาของชั้นที่สูงกว่า ต้องถือตามคำพิพากษาของศาลชั้นที่สูงกว่า ตามมาตรา 146 เช่น ศาลฎีกาว่า เป็นมรดกที่แบ่งแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งอีก จะฟังว่า เป็นการครอบครองแทนเพื่อขอแบ่งทรัพย์มรดกอีกไม่ได้ -คำพิพากษาไม่ผูกพันบุคคลภายนอก ยกเว้น คำขอท้ายฟ้องห้ามเจ้าพนักงานที่ดินห้ามออกโฉนดโดยไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินด้วย จึงไม่ชอบ ไม่อาจบังคับได้ ฟ้องเฉพาะเจ้าพนักงานที่ดินให้เพิกถอนการโอนทรัพย์มรดก เมื่อไม่ได้ทายาทเข้ามาด้วย จึงฟ้องไม่ได้ แต่คำพิพากษาให้เพิกถอนโฉนด มิบังคับบุคคลภายนอก ศาลพิพากษาให้เพิกถอนได้ คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ มีผลไปถึงบุคคลภายนอก เช่น คดีร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดิน ผูกพันคนภายนอก แต่บุคคลภายนอกก็มีสิทธิพิสูจน์สิทธิดีกว่าได้ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ คำพิพากษาตามยอมหรือเพิกถอนการให้ ไม่ใช่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ ศาลจำหน่ายคดีหรือให้ถอนฟ้องคดี ถือว่าเป็นบุคคลภายนอก เช่น จำหน่ายคดีผู้ให้เช่าหรือผู้รับโอน จะฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลไม่ได้ จำเลยที่ถอนฟ้องไปแล้ว จะมาทำสัญญายอมไม่ได้ คำพิพากษามีผลผูกพัน ศาลเคยนำมาใช้ว่า ผูกพันในคดีอาญาที่มาฟ้องภายหลังด้วย เช่น คดีฟังว่า รั้วไม่ได้บุกรุกเข้ามาในที่ดินของโจทก์ แต่โดยแล้ว ต้องถือว่า คดีอาญาไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงคดีแพ่ง เช่น ฟ้องว่า จำเลยเบิกความเท็จ ถ้าฟังตามคดีแพ่งก็อาจฟ้องคดีอาญาไม่ได้ ฟ้องซ้ำ
-คือ ต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุด คดีจะถึงที่สุด เมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้หรือพ้นกำหนดอุทธรณ์ฎีกา ฟ้องระหว่างอุทธรณ์ฎีกา ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ศาลชั้นต้นสั่งรอคดีให้ถึงที่สุดก่อนได้ คดีสัญญายอมมีเงื่อนไขและไม่อาจปฏิบัติตามสัญญายอมได้ โจทก์ฟ้องเป็นคดีใหม่โดยฟ้องฐานผิดสัญญายอมได้ คำว่า คู่ความเดียวกัน คือ อาจสลับกันเป็นโจทก์หรือจำเลยก็ได้ แตกต่างจากซ้อนซ้อนที่ห้ามโจทก์ฟ้องคดีเรื่องเดียวกันอีก แต่ถ้ำเป็นจำเลยด้วยกันมาฟ้องไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่เป็นคำพิพากษาผูกพันคู่ความ นอกจากนี้ยังขยายไปถึง ผู้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับคู่ความ เช่น ทายาท เจ้าของรวม ผู้รับโอนที่ดิน ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง สามีหรือภริยา ยินยอมให้อีกฝ่ายฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสแทน ครองครองที่ดินร่วมกันมาถือว่าคู่ความเดียวกัน โจทก์เป็นบุคคลเดียว แต่จำเลยเป็นคนละคนไม่เป็นฟ้องซ้ำ คดีก่อนเข้าไปค้านฐานะผู้จัดการมรดก คดีนี้เข้าไปในฐานะทายาท เป็นคู่ความเดียวกัน แต่ถ้าเข้ามาคนละฐานะไม่เป็นฟ้องซ้ำ เช่น คดีก่อนฟ้องห้ามฯ แต่คดีนี้ฟ้องหุ้นส่วน ผู้จัดการ คดีก่อนขอรับชำระหนี้จำนองตามมาตรา 289 คดีนี้มาฟ้องบังคับจำนองเป็นฟ้องซ้ำ แต่ถ้าฟ้องอย่างเจ้าหนี้สามัญก็ฟ้องได้ อัยการร้องขอให้ใช้ราคาทรัพย์แทนผู้เสียหาย ตามปวิอ. มาตรา 43 ผู้เสียหายมาฟ้องเป็นฟ้องซ้อน แต่ดอกเบี้ยฟ้องได้ เพราะอัยการไม่มีอำนาจเรียกแทนได้ คดีก่อนโจทก์ไม่ได้ถูกฟ้องแม้โจทก์จะอยู่ที่ที่ดินที่ถูกฟ้องขับไล่ก็ตาม โจทก์ฟ้องคดีใหม่ได้ -ต้องเป็นการวินิจฉัยในเหตุเดียวกัน คดีอัยการร้องขอให้คืนทรัพย์ ตามปวิอ.มาตรา 43 โจทก์ฟ้องมูลละเมิดไม่ได้ แต่ถ้าฟ้องมูลสัญญาก็ฟ้องได้ เช่น สัญญาจ้างแรงงาน, สัญญาซื้อขายกระแสไฟฟ้า คดีอาญาไม่ได้วินิจฉัยชี้ชาดคดี เช่น ยกฟ้องเพราะคดีมีเหตุอันควรสงสัย โจทก์ฟ้องคดีแพ่งได้ ผู้รับประกันภัยฟ้องในฐานะรับช่วงสิทธิมูลละเมิดเนื่องจากมูลละเมิดระงับด้วยสัญญายอมแล้ว บริษัทประกันภัยอ้างรับช่วงสิทธิตามสัญญายอมได้ ศาลพิพากษาแล้ว จำเลยทำรับสภาพหนี้ โจทก์จะเอาหนังสือรับสภาพหนี้มาฟ้องไม่ได้ เคยร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว จะมายื่นคำร้องในที่ดินส่วนที่เหลือของที่ดินแปลงเดียวกันไม่ได้ คดีก่อนโจทก์ขาดนัดพิจารณา ศาลยกฟ้องตามคำแถลงของจำเลยเนื่องจากโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ โจทก์ฟ้องใหม่ไม่ได้ ศาลพิพากษาให้ชำระเงินกู้ จำเลยจะมาฟ้องกลับมาว่า สัญญากู้ปลอมไม่ได้ คดีทำสัญญายอมแล้ว ถือว่าสละสิทธิในคดีเดิมแล้ว จึงนำหนี้เดิมมาฟ้องไม่ได้ ยกเว้นหากมีการโต้แย้งสิทธิตามสัญญายอม เช่น สัญญาไม่มีข้อตกลงว่า เมื่อผิดสัญญายอมแล้วต้องชำระเงิน คู่ความท้ากัน ศาลวินิจฉัยคดีแล้ว ฟ้องใหม่ไม่ได้ ฟ้องแบ่งมรดกหรือแบ่งสินสมรสแล้ว จะฟ้องขอแบ่งใหม่ไม่ได้แม้ทรัพย์คนละชิ้นกัน ต้องขอในตอนห้องคดีขอให้ไม่ตัดสิทธิฟ้องคดีใหม่ แต่ถ้าฟ้องเรียกทรัพย์จากบุคคลภายนอกเป็นทรัพย์ชิ้นอื่น ย่อมฟ้องได้ ฟ้องขับไล่ ศาลยกฟ้องโจทก์บอกเลิกสัญญา แลฟ้องเรียกเงินคืนได้ คดีแรกฟ้องขับเรียกค่าเสียหายจากความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ คดีหลังฟ้องขับไล่ได้ โดยใช้อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ คดีศาลจำหน่ายคดีหรือศาลยกฟ้องเนื่องจากฟ้องผิดศาลหรือฟ้องโดยไม่ได้รับมอบอำนาจหรือฟ้องเคลือบคลุมหรือจำเลยยังไม่ผิดสัญญา เมื่อเลิกสัญญาแล้ว ก็ฟ้องใหม่ได้ แต่ถ้าศาลยกฟ้องเพราะไม่มีพยานมาสืบ เช่น ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ปิดอากรแสตมป์หรือศาลงดสืบพยานเพราะไม่มีพยานมาสืบ เป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาแล้ว ฟ้องใหม่ไม่ได้ แต่ถ้ายกฟ้องเพราะไม่ยื่นบัญชีระบุพยานเกี่ยวกับใบมอบอำนาจ ก็ฟ้องใหม่ได้ ศาลยกฟ้องเพราะฟ้องโจทก์บกพร่องฟ้องใหม่ได้ เช่น ศาลไม่อาจพิพากษาให้คืนที่ดินได้ โจทก์มาฟ้องขอให้จำเลยร่วมกันใช้ราคาที่ดินได้ คดีก่อนศาลยกฟ้องเนื่องจากสืบไม่ได้ว่า จำเลยเป็นทายาทโดยธรรม จะมาฟ้องในฐานะทายาทโดยธรรมอีกไม่ได้ คดีก่อน ศาลมิได้วินิจฉัยให้เนื่องจากเป็นเรื่องนอกประเด็นหรือนอกคำขอท้ายฟ้อง จึงถือไม่ได้ว่า ได้วินิจฉัยแล้ว เช่น ในชั้นชี้สองสถานได้สละประเด็นฟ้องในเรื่องเหตุหย่าที่สมัครใจแยกกันอยู่ คดีก่อนไม่ได้ฟ้องว่า ผิดสัญญาข้อ 2. ก็ฟ้องใหม่ได้ คดีก่อนฟ้องทางจำเป็น แต่ศาลไม่ได้กำหนดประเด็นไว้ ถือว่าคู่ความสละประเด็นแล้ว ฟ้องมใหม่ได้ สิทธิเรียกร้องหรือค่าเสียหายที่สามารถเรียกร้องได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว นำมาฟ้องใหม่ไม่ได้ เช่น ฟ้องเกี่ยวกับที่ดินไม่ได้เรียกค่าเสียหายมา, ฟ้องผิดสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้เรียกค่าภาษีมาซึ่งโจทก์สามารถตรวจสอบได้ในขณะฟ้อง, ฟ้องเรียกค่าชาดประโยชน์จากการขาดสมาชิกภาพทั้งที่ควรเรียกเข้ามาในคดีก่อน ฟ้องให้คืนรถ เมื่อจำเลยได้โอนให้ผู้อื่นไปแล้ว จึงฟ้องขอให้ใช้ราคา พวกนี้ต้องขอเข้ามาในคดีเดิม แต่ถ้ามูลคดีเกิดขึ้นหลังจากศาลพิพากษาก็ฟ้องใหม่ได้ เช่น ระหว่างบังคับคดี จำเลยได้ขุดหน้าที่ดินไปขายหรือสิ่งก่อสร้างที่จำเลยกระทำหลังศาลพิพากษา หรือฟ้องให้จำเลยคืนทรัพย์ เมื่อจำเลยคืนทรัพย์ที่มีสภาพชำรุด โจทก์ฟ่องเรียกค่าติดตามยึดและค่าเสื่อมราคา เพราะเป็นคำขอที่ไม่อาจเรียกเข้ามาในคดีก่อนได้ เนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบว่า เสียหายจริงเท่าใด ฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงให้โจทก์ทำยอม จึงเป็นมูลคดีใหม่ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ศาลพิพากษาตามยอมฟ้องคดีใหม่ได้ (ฎีกาที่ 5301/2549) คดีที่โจทก์สามารถบังคับในคดีเดิมได้ ถ้ามาฟ้องคดีใหม่ เป็นฟ้องซ้ำ เช่น ศาลให้ขับไล่จำเลย ก่อนที่สงมอบการครอบครองให้โจทก์จำเลยกลับแผ้วถางต้นไม้อีก ถือเป็นการกระทำที่ต่อเนื่อง โจทก์มีสิทธิบังคับในคดีเดิมได้ คดีก่อนศาลเพียงแต่แสดงสิทธิของคู่ความเท่านั้น โจทก์จึงฟ้องบังคับตามสิทธิของโจทก์ตามคำพิพากษาได้ เช่น คดีก่อนศาลฟังว่า รถเป้นของผู้ร้องสอด จึงให้ยกฟ้อง ผู้ร้องสอดฟ้องให้จำเลยคืนรถได้ คดีก่อนศาลพิพากษาให้ขับไล่โจทก์ จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดนับแต่เวลาที่ศาลพิพากษาให้ขับไล่โจทก์จนถึงวันที่ขนย้ายทรัพย์ออกได้ คดีโจทก์บังคับขับไล่แต่โจทก์ไม่บังคับคดีจนพ้นกำหนดเวลา โจทก์มาฟ้องขับไล่อีกได้ แต่มีหมายเหตุท้ายฎีกาว่าไม่มีข้อยกเว้นให้ไม่ต้องบังคับคดีในกำหนดเวลา คดีก่อนศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่ได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบ เมื่อบอกเลิกสัญญาแล้ว ก็ฟ้องใหม่ได้ ถือเป็นการอ้างเหตุใหม่หลังจากฟ้องคดี แต่ถ้าประเด็นหลังเป็นประเด็นเดียวกัน เช่น การเป็นบุตรโดยชอยด้วยกฎหมาย จะอ้างผลตรวจเลือดซึ่งเป็นพยานใหม่ไม่ได้ คดีก่อนอ้างสัญญาปลอม คดีหลังอ้างว่า สัญญาปลอมบางส่วน เป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม ศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่ใช่พินัยกรรม โจทก์ฟ้องแบ่งทรัพย์?ตามสัญญายอมได้ คดีก่อนฟ้องขับไล่ ศาลยกฟ้องเนื่องจากจำเลยครอบครองปรปักษ์แล้ว จำเลยร้องขอให้เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ทั้งแปลงแม้นอกที่ดินที่พิพาทในคดีก่อน ฟ้องให้รื้อถอนโรงเรือน จำเลยฟ้องแย้งว่า ปลูกโดยสุจริต ขอให้จดทะเบียนภาระจำยอม เป็นฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม คดีก่อนฟ้องให้รื้อถอนบ้าน ศาลยกฟ้องเนื่องจากบ้านเป็นของโจทก์ โจทก์มาฟ้องคดีใหม่ว่า จำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในบ้านและเรียกค่าเสียกายได้ เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ฟ้องขับไล่ ศาลยกฟ้องเนื่องจากฟ้องเกินหนึ่งปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครอง คดีฟ้องขับไล่ตามสัญญายอมเป็นคนละเหตุกัน -ข้อยกเว้นไม่ถือว่าฟ้องซ้ำ เช่น คดีในชั้นบังคับคดี โจทก์ยื่นคำร้องให้ถอนการบังคับคดี ศาลชั้นต้นยกคำร้อง โดยไม่ไต่สวน โจทก์ยื่นคำร้องขอให้การบังคับคดีได้ คดีก่อนให้เพิกถอน น.ส. 3 ศาลยกฟ้อง คดีนี้ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องได้ คดีก่อนผู้เช่ายังไม่ได้ครอบครองทรัพย์ที่เช่า ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์มาฟ้องขับไล่อีกได้ ฟ้องบังคับจำนอง เมื่อโจทก์ไม่บังคับคดีจนพ้นกำหนดเวลาบังคับคดี จำเลยจึงฟ้องให้จดทะเบียนไถ้ถอนจำนองได้ เพราะการบังคับคดีได้ล่วงไปแล้ว คดีก่อนโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง โจทก์จะมาตั้งเรื่องใหม่ว่า มอบที่ดินให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยไม่ได้ เป็นเหตุอย่างเดียวกัน ค่าฤชาธรรมเนียม
-ได้ยกเลิกกฎหมายเดิมและมีการร่างกฎหมายใหม่แล้วโดยใช้บังคับในเดือนพฤษภาคมนี้ ในส่วนที่ไม่เปลี่ยนแปลง ข้อที่เปลี่ยนจากกฏกฏหมายหมายเดิม เช่น การสั่งจำหน่ายคดีของศาล เช่น การทิ้งฟ้อง ศาลสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมได้ตามที่เห็นสมควร เรื่องอนาถา เปลี่ยนเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล คือ ตัดขึ้นตอนลงและให้ง่ายขึ้น กล่าวคือ ไม่มีทรัพย์สิน หรือเดือดร้อนเกินสมควรเมื่อพิจารณาฐานะของผู้ร้องและคดีมีมูลด้วย เมื่อศาลสั่งอนุญาตก็เป็นที่สุด แต่ถ้าไม่อนุญาตให้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ในเจ็ดวันเท่านั้น ไม่มีเรื่องขอพิจารณาคดีใหม่แล้ว ส่วนค่าขึ้นศาล มีเรื่องค่าขึ้นศาลที่เกินห้าสิบล้านบาทต้องเสียค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกินร้อยละ 0.1 ของทุนทรัพย์ที่เกินจำนวนดังกล่าว ค่าคำร้อง คำขอ ค่าใบแต่งทนายความ ค่าอ้างเอกสาร ไม่ต้องเสียแล้ว คงเสียค่าคำรับรองคำพิพากษา หนังสือรับรองว่าคดีถึงที่สุดและคำร้องขอสืบพยานก่อนฟ้องคดี ส่วนการสืบพยานล่วงหน้า ค่าพยาน ค่าพาหนะ ค่าทำแผนที่ได้ปรับอัตราขึ้นโดยค่าพยานเป็นวันละสี่ร้อยบาท ส่วนการทำแผนที่วันละสองร้อยบาท ค่าทนายความได้กำหนดในศาลชั้นต้นๆไม่เกินร้อยละ 5 ศาลสูงไม่เกินร้อยละ 3 แต่ไม่ต่ำกว่าคดีละสามพันบาท คดีไม่มีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นคดีละ 30,000 บาท ส่วนศาลสูงคดีละ 20,000 บาท นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีโดยเสียร้อยละหนึ่งของทุนทรัพย์ -ในส่วนของเดิมที่ยังพอเป็นแนวได้ ค่าธรรมเนียม ต้องนำมายื่นพร้อมฟ้อง หรือุทธรณ์ฎีกา หากไม่ยื่นต้องไม่รับฟ้อง ถ้ามีคำร้องขอขยายเวลา ศาลจะสั่งฟ้องไม่ได้ คดี มีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ คดีเรียกโฉนดที่ดิน ไม่ใช่ฟ้องเรียกที่ดินแม้จำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ ก็ไม่มีทุนทรัพย์ คดีหมายข้อหาคิดเป็นรายข้อหา แต่ถ้าพอรวมพิจารณาคดีเดียวกันได้ ก็ได้รับประโยชน์ให้เสียค่าขึ้นศาลในคดีเดียวกัน เช่น มีจำนองเป็นการประกันหนี้รายเดียวกัน คดีไม่มีความเกี่ยวข้องกันต้องเสียรายข้อหา ศาลสั่งให้เสียค่าขึ้นศาลรายข้อหาได้ หรือสั่งให้จำหน่ายคดีแยกฟ้องเป้นคดีหใม่ได้ ครอบครองที่ดินโดยไม่แยกการครอบครองเป็นส่วนสัด เป็นเจ้าของร่วมในทุกส่วน ต้องคิดค่าขึ้นศาลรวมกัน คดีศาลยกฟ้องในเนื้อหา ไม่ต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียม แม้ยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องก็ตาม ศาลสั่งจำหน่ายคดีไม่ใช่ในเนื้อหา เช่น คดีโจทก์ไมยื่นคำขอให้ชนะคดี หรือคดีที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาหรือที่โจทก์ทิ้งฟ้อง ศาลสั่งคืนตามที่เห็นสมควรได้ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ คดีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้จำหน่ายคดีตามพรบ.ล้มละลาย ศาลสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลได้ - เมื่อศาลตัดสินคดีแล้ว ศาลก็มีคำสั่งในค่าฤชาธรรมเนียมได้ ศาลต้องสั่งทุกคดีแม้คู่ความไม่ขอ จะสั่งให้เป็นพับก็ได้ ในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ผู้แพ้คดีก็ต้องรับผิดด้วย ค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย ศาลฎีกาตีความว่า ราคาทรัพย์ที่ถอนการยึดต้องไม่เกินจำนวนหนี้ด้วย คู่ความจะอุทธรณ์เกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมอย่างเดียวไม่ได้ คืออุทธรณ์ในส่วนดุลพินิจศาล เว้นแต่คิดไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบฯ อุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
-ยื่นฟ้องและยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ศาลยังไม่สั่งรับฟ้องและทำยอมกันไม่ได้ ผู้ขอยกเว้น มีทรัพย์แต่ถูกยึดไว้หมดแล้ว ถือว่ายากจน เมื่อยื่นคำร้องขอยกเว้นแล้ว ก็ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด คำร้องขอผลัดสาบานยังคงต้องเสีย แต่ปัจจุบันไม่เสียค่าคำร้องแล้ว ค่าธรรมเนียมในการส่งหมายไม่ใช่ค่าธรรมเนียมศาลไม่ได้รับยกเว้น การไม่วางก็เป็นการทิ้งคำร้องได้ การยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ได้รับยกเว้นค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนอีกฝ่าย ตามมาตรา 229 แต่ไม่รวมเงินที่ต้องวางตามคำพิพากษาตามมาตรา 234 ในชั้นพิพากษา ผู้ขอยกเว้นแพ้คดี ศาลก็สั่งให้ต้องรับผิดแทนอีกฝ่ายได้ แต่ถ้าผู้ร้องได้รับยกเว้น เป็นผู้ชนะ ศาลสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชำระต่อศาลในนามผู้ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมได้ เมื่อยื่นแล้วศาลไต่สวนคำร้อง คดีของผู้ร้องไม่มีมูล ศาลยกคำร้องได้โดยไม่ต้องไต่สวน เช่น คดีร้องขัดทรัพย์อ้างสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย ก็ต้องแพ้คดี ศาลตรวจดูได้จากฟ้องหรืออุทธรณ์ฎีการวมทั้งเดอกสารที่แนบมา คดีที่ได้รับยกเว้นในศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อยื่นอุทธรณ์ฎีกายังถือว่ายากจนอยู่ ศาลให้ยกเว้นๆได้โดยไม่ต้องไต่สวน เมื่อได้รับยกเว้นแล้ว ต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องก็ไม่ต้องไต่สวนคำร้องอีกเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกัน เมื่อยื่นคำร้องแล้ว ศาลก็ให้สาบาน ศาลสั่งให้เสียค่าธรรมเนียม คู่ความก็ยื่นคำร้องขอยกเว้นได้ เพราะเพิ่งยากจนหลังยื่นฟ้อง การสาบานตัวเป็นสิ่งจำเป็นขาดไม่ได้ การไม่ได้สาบาน ศาลต้องย้อนสำนวนเพราะไม่ใช่ความผิดของผู้ร้อง แต่ถ้าสาบานโดยผู้ไม่ใช่ตัวความ หรือยื่นคำร้องขอผลัดสาบานแต่ศาลไม่อนุญาต ศาลยกคำร้องได้ การสาบานเป็นเรื่องเฉพาะตัวมอบอำนาจไม่ได้ นิติบุคคลผู้ที่สาบานได้ต้องเป็นกรรมการบริษัท คดีที่ศาลยกคำร้องแล้ว ต่อมายื่นคำร้องอ้างว่ายากจนภายหลัง ก็ต้องสาบานใหม่ ตอนนี้มีความเห็นว่า กฎหมายใหม่ไม่ต้องสาบานด้วย เมื่อไต่สวนแล้วศาลจะมีคำสั่ง โดยคำสั่งอนุญาตเป็นที่สุด ส่วนการไม่อนุญาต ศาลจะกำหนดเวลาให้วางเงินในกำหนดเวลา ถ้าศาลไม่กำหนดให้เป็นการไม่ชอบ เมื่อไม่วางเงินในกำหนดเวลา ถึงจะสั่งคำฟ้องหรือสั่งอุทธรณ์ฎีกาได้ ไม่ชอบที่จะก้าวล่วงไม่สั่งคำฟ้องทันที ในกรณีที่ศาลไม่ได้กำหนดเวลาให้ต้องวางเงิน ผู้ร้องอาจยื่นคำร้องให้ศาลกำหนดเวลาได้ ศาลสั่งให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเพียงบางส่วน โจทก์ยื่นคำร้องขอลดทุนทรัพย์เท่ากับที่ได้รับยกเว้นได้ ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมดไม่ได้ ผู้ร้องไม่มาศาลถือว่าไม่นำพยานมาสืบ ศาลสั่งยกคำร้อง และกำหนดเวลาให้วางเงินได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ร้องทราบอีก คดีไม่มูล ศาลยกคำร้องได้ทันที แต่ในระหว่างนั้น โจทก์อาจขอแก้ไขให้คดีขึ้นมามีมูลได้ เพราะคำฟ้องของโจทก์ยังมีอยู่ ศาลต้องไต่สวนคำร้องต่อไป กำหนดเวลาให้วางเงินเป็นระยะเวลาเป็นอำนาจทั่วไปของศาล ผู้ร้องยื่นคำร้องขอขยายได้ ตามมาตรา 23 โดยอ้างพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัย ศาลมีคำสั่งยกคำร้องไม่ว่าเรื่องยากจนหรือคดีมีมูล จะต้องอุทธรณ์อย่างเดียว ไม่มีกรรีขอพิจารณาคดีใหม่แล้ว และต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ในเจ็ดวันเท่านั้น จะยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาไม่ได้แล้ว การสั่งเป็นที่สุดของศาลอุทธรณ์ คือ เรื่องสั่งในเนื้อหาคำร้อง คือ ในเรื่องยากจนและคดีมีมูล การไม่ได้สาบาน ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งก็เป็นที่สุดด้วย ส่วนคำสั่งอื่น เช่น ขอเลื่อนคดี ไม่ใช่ในเนื้อหา จึงยื่นอุทธรณ์ฯได้ในหนึ่งเดือน เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้อง และศาลอุทธรณ์ยืน และกำหนดเวลาให้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาล ผู้ร้องยื่นคำร้องขอขยายเวลา ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ได้ แต่ยื่นฎีกาไม่ได้ เพราะถือเป็นคำส่งที่เกี่ยวเนื่องกับคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่เป็นที่สุดแล้ว คดีที่จำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ศาลชั้นต้นให้แต่บางส่วนและสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ยืนเนื่องจากยื่นเกินกำหนด คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ตามมาตรา 236 วรรคท้าย ยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ศาลสั่งจำหน่ายคำร้องเนื่องจากไม่นำคำร้อง ไม่อยู่ในบังคับต้องอุทธรณ์ในเจ็ดวัน แต่ยื่นอุทธรณ์ได้ในหนึ่งเดือน ผู้ร้องไม่มาศาล ศาลยกคำร้อง ถือว่าวินิจฉัยในเนื้อหาแล้ว ศาลอุทธรณ์ยืนจึงเป็นที่สุด ตามมาตรา 156/1 วรรคท้าย ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องเพราะไม่ได้สาบานก็เป็นที่สุดเช่นกันเป็นการกลับแนวเดิม เมื่อศาลอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลแล้ว ผู้ร้องเป็นผู้ชนะคดี ก็ต้องให้อีกฝ่ายชำระต่อศาลในนามผู้ร้องเพราะผู้ร้องไม่ได้ชำระเงินต่อศาล แต่ถ้าผู้ร้องแพ้คดี ก็ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมให้แทนคู่ความอีกฝ่าย ถ้าอนุญาตทั้งที่ผู้ร้องมีทรัพย์สินพอชำระค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่เดือดร้อนเกินฐานะ เมื่อศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้ได้รับยกเว้นแล้ว ก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งในเจ็ดวันด้วย ฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้ชนะย่อมมีทรัพย์สิน ศาลสั่งให้คู่ความทั้งสองฝ่ายชำระค่าธรรมเนียมได้ เป็นการสั่งตามที่ศาลเห็นสมควร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น