การอ่านหนังสือเร็วถือว่า มีประโยชน์มากในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นวัยทำงานหรือวัยเรียน
ซึ่งผมจะนำเสนอเทคนิคการอ่านเร็ว ที่ได้ศึกษามาจากการอ่านหนังสือ
ซึ่งพิสูจน์แล้วว่า ใช้ได้ผลจริง ๆ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนนะครับ
1. สมาธิ
- เป็นสำคัญที่สุดก่อนจะเริ่มต้น เพื่อการทำงานที่ดีที่สุดของสมองเราและมี เทคนิคการมองภาพ Mandala
มองโดยไม่ต้องสนใจว่า รูปร่างเป็นอย่างไร
และให้มองที่จุดกึ่งกลางของภาพ เป็นเวลา 2-3 นาที
2. ตั้งเป้าหมายก่อนอ่าน
- เป็นการให้สมองรู้ว่าเค้าต้องใช้พลังงานมากแค่ไหน และรู้เวลาที่เหมาสม (ควรอยู่ในที่เงียบๆ และที่นั่งสบายๆ)
ต่อไปคือเทคนิคการอ่านเร็วที่ได้ผล(สำหรับผมและเพื่อนๆ)
3. มองภาพรวมของหนังสือ
- การอ่านหน้าปก อ่านปกหลัง และเปิดอ่านที่ละหน้า
โดยไม่ต้องใส่ใจเนื้อหามาก {Photo reading}
4. อ่านในใจ แต่ ห้ามอ่านออกเสียง
- คือการอ่านด้วยตา และสมอง ซึ่งจะทำให้เร็วขึ้นมากทีเดียว
5. การอ่านไปข้างหน้า
- เป็นวิธีอ่านแบบ ไม่มีการอ่านย้อนหลัง เพราะฉะนั้นต้องตั้งใจและจดจำ
(ไม่ควรส่ายหน้าระหว่างอ่าน ใช้สายตาอย่างเดียว)
6. การขยายความกว้างโฟกัส
มี 3 ระดับ
6.1 การอ่านเป็นกลุ่มคำ
6.2 การอ่านเป็นประโยค
6.3 การอ่านเป็นบรรทัด
ทั้งหมดอยู่ที่การฝึกฝน และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
7. ไม่จำเป็นต้องอ่านทุกคำ
- หมายความว่า ไม่ต้องพยายามอ่านจนจบประโยคนั้นๆ ถ้าเราเข้าใจความหมายประโยคนั้น ๆ แล้ว
คุณหนูดีแนะนำว่า ควรเปลี่ยนทัศนคติ เกี่ยวกับการอ่านเร็วด้วย
- การอ่านเร็วเป็นเรื่องง่ายแค่ฝึกทุก ๆ วัน
- การอ่านเร็ว ได้ข้อมูลเท่ากับการอ่านช้า
- อยากอ่านเร็วเป็นทักษะพิเศษ ควรฝึกต่อเนื่อง 21 วัน
ป.ล. ควรอ่านทุก 10-15 นาที แล้วพักสายตา
ไม่ควรอ่านเกิน 50 นาที
--------------------------------
เทคนิคการอ่านอย่างรวดเร็วจะช่วยให้คุณไม่เครียด และช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
หากเป็นหนังสือโรมานซ์ คุณก็คงนั่งอ่านนอนอ่านอย่างเพลิดเพลิน และเผลอๆ อาจฝันว่าตัวเองเป็นนางเอกของเรื่องก็เป็นได้
แต่เมื่อเจอกองเอกสารพะเนินเทินทึก
หรือหนังสือวิชาการต่างๆ ก็อาจทำให้คุณหัวหมุนได้ คุณจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิค "Speed Reading" เพราะมันจะช่วยให้คุณประหยัดเวลาในการอ่านได้ถึงครึ่งหนึ่งโดยไม่ทำความเข้าใจผิดพลาด
มีเทคนิค 5 ข้อให้คุณฝึกเป็นนักอ่านสมองไวค่ะ
1. วัดระดับความเร็วของตัวเอง
คุณอ่านหนังสือได้เร็วมั้ย ลองทดสอบตัวเองดูสิคะ โดยการอ่านบทความหนึ่ง 1 นาทีโดยใช้ความเร็วธรรมดา แล้วนับคำที่คุณอ่านได้จำนวนคำที่คุณอ่าน บอกได้ถึงความเร็วในการอ่านของคุณ และเพื่อการทำความเข้าใจกับบทความ ก็ให้คุณเขียนสิ่งที่คุณเข้าใจในการอ่านออกมา ถ้าคุณเขียนได้มากขึ้นก็จะยิ่งดีขึ้นเรื่อยๆ ลองฝึกฝนบ่อยๆ แล้วคุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
2. ผู้ช่วยตัวสำคัญ
บางครั้งตาของคุณก็ไม่ได้จดจ่อกับตัวหนังสือใช่มั้ยจึงต้องอ่านไปมาหลายรอบ และเพื่อป้องกันอาการที่ว่านี้ก็ต้องมีผู้ช่วยตัวสำคัญ นั่นก็คือ การใช้ดินสอลากตัวหนังสือที่กำลังอ่านไปเรื่อยๆ ไล่ไปทีละคำด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอจากซ้ายไปขวาและเมื่อจบบรรทัดก็ให้รีบเร่งบรรทัดใหม่ต่อไป
3. ฝึกความเร็วในการอ่าน
หากฝึกอ่านหนังสือด้วยความเร็วสูงจะช่วยฝึกความสามารถในการอ่านได้ดี แม้ว่าจะเข้าใจเพียงเล็กน้อยก็ตาม เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าสมองจะชินกับความเร็วที่อ่าน
ผลที่ได้ก็คือ การอ่านในระดับความเร็วธรรมดาที่อ่านแล้วจะทำให้เข้าใจเร็วขึ้น
ให้คุณลองฝึกอ่านบทความภายในเวลา 3 นาที และต่อมาก็ใช้เวลาให้น้อยลงเป็น 2 นาที กับบทความเดิม และลดลงเหลือ 1 นาที
และให้คุณฝึกบ่อยๆ จนกระทั่งคุณใช้เวลาสั้นๆ
โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจบทความอย่างเพอร์เฟ็กต์
4. ฝึกอ่านทำความเข้าใจ
การอ่านหนังสือเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องทั้งหมด
เป็นเรื่องที่คุณจำเป็นต้องฝึกฝนด้วยการมองหนังสือปราดเดียวก็เข้าใจให้คุณอ่านบทความในหนังสือพิมพ์และปิดหนังสือหนึ่งบรรทัดแล้วเปิดมือขึ้นเพื่อมองปราดเดียวแล้วพยายามเขียนถึงสิ่งที่คุณอ่านออกมา ให้ฝึกจนกระทั่ง
สายตาของคุณเข้าใจกับข้อความนั้นๆจากนั้นก็เริ่มบรรทัดต่อไป
5. ทำความเข้าใจกับบทความด้วยการมองผ่าน
คุณได้ฝึกการอ่านแบบมองปราดเดียวมาแล้ว ดังนั้น คุณก็พร้อมที่จะฝึกขั้นต่อไป
ให้คุณอ่านบทความโดยไม่มีผู้ช่วยด้วยการมองอ่านปราดเดียว ในการฝึกก็ให้คุณใช้ดินสอสีขีดบรรทัดในแนวดิ่ง ให้อ่านทั้งกลุ่มคำโดยไม่ต้องอ่านคำต่อคำ ด้วยสายตา ที่ตวัดบรรทัดต่อบรรทัด และให้ฝึกต่อโดยไม่ต้องใช้ดินสอสีขีดเส้นบรรทัดที่อ่านอีก แต่ให้ใช้ความจำ
•Tip อ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์•
การอ่านหนังสือหน้าจอคอมพิวเตอร์
มักทำให้สายตาเมื่อยล้า ดังนั้น หากเป็นบทความยาวๆก็ขยายตัวหนังสือให้ใหญ่ขึ้น
และใช้เมาส์ช่วยในการอ่าน เปิดจออินเตอร์เน็ตให้แคบลงเพื่อเลี่ยงแสงกะพริบจากโฆษณา ปิดเพลงและนั่งตัวตรงอ่านทำความเข้าใจ
ขอบคุณ "เทคนิคการอ่าน" จากพี่แป้งจี่ "KKU" ค่ะ
----
จะทำอย่างไรเมื่อเราต้องอ่านหนังสือครั้งละมากๆ ตัวเราเองแต่ก่อนอ่านช้ามากเมื่อมีความจำเป็นต้องอ่าน/ตรวจเอกสารมากๆ อ่านเร็วไม่รู้ตัวจริงๆแล้วเรามาสังเกตุตัวเองพบว่าเราได้เทคนิคบางอย่างเกิดขึ้นเมื่อเราได้อ่านเทคนิคอ่านเร็วของอัจฉริยะพบว่าเราใช้ก่อนอีกเอาละจะบอกเทคนิคดังนี้
ใช้เทคนิคการมองภาพรวมก่อน สมองชอบรู้ภาพรวมก่อนรายละเอียดเพราะสมองถูกสร้างมาให้ประเมินสภาพแวดล้อมก่อนเพื่อความปลอดภัยของร่างกายดังนั้นเราจะต้องอ่านเร็วและจำแม่นอย่ารีบพุ่งสู่ข้อมูลระเอียดแต่ให้ประเมินสภาพแวดล้อมโดยรวมของสิ่งที่เราจะอ่านก่อนเริ่มจากการพลิกหนังสือเร็วๆให้เห็นทีละหน้าหน้าละประมาณ 1วินาทีโดยไม่ต้องสนใจเนื้อหาไม่ต้องอ่านทำอย่างนั้นใหมดเล่มเลย แล้วคราวนี้ย้อนกลับมาดูหัวข้อเมื่ออ่านัวข้อครบแล้วค่อยมาดุว่าเราต้องอ่านลงรายละเอียดหัวข้อไหนที่สำคัญให้อ่านเอาองค์ความคิดอย่าอ่านเอาแค่คำพูด
---------
เรื่อง : เทคนิคการอ่านเร็ว
โดย : นายอานัฐ ตั้งใจเรียน
เทคนิคนี้ ฝึกใช้เองโดยอ่านหลักการของผู้รู้บ้าง จากหนังสือบ้าง แล้วมาประยุกต์ใช้กับตัวเอง ได้ผลมากๆ เพราะเดี๋ยวนี้หนังสือเล่มหนึ่งประมาณ100 กว่าหน้า อ่านจบประมาณ ไม่เกิน10 นาทีเท่านั้น จากเมื่อก่อน ครึ่งชม.ถึงหนึ่งชม.
เมื่อก่อน
จะอ่านออกเสียงดัง อ่านทีละตัว อ่านก่อนแล้วค่อยมองตัวอักษรที่ตามมา แล้วอ่านต่อไป ต่อมาเปลี่ยนเป็นอ่านในใจก็ยังอ่านออกเสียงในใจอยู่ ยังอ่านช้าเหมือนเดิม เพราะ เสียงนั้นเดินทางเร็วก็แค่เท่าความเร็วเสียง แต่สายตาที่เรากวาดไปนั้นจะเร็วเท่าความเร็วแสง ส่วนสมองนั้นน่าจะเร็วกว่าแสงอีกหลายเท่า เพราะเห็นก็เก็บข้อมูล แปลความออกมาเลย
เดี๋ยวนี้
จะใช้สายตา กวาดไปที่ตัวหนังสือมองตั้งแต่บรรทัดแรก ไล่ไปจนถึงบรรทัดสุดท้ายอย่างเร็ว 1 รอบก่อน หลังจากนั้นจะกลับมาอ่านใหม่อีกครั้งเพื่อเก็บลายละเอียด ใช้ตามอง สมองเก็บลายละเอียดพยายามไม่ต้องอ่านนะ ไม่ว่าจะออกเสียง หรือในใจ เชื่อมั๊ย ฝึกบ่อยๆ เราสามารถอ่านได้อย่างเร็ว เข้าใจโดยอัตโนมัติ มองปราดเดียวไปที่ตัวหนังสือแต่ละหน้า ก็เก็บใจความอ่านได้หมดเลย แบบไม่น่าเชื่อ ลองไปทำกันดู แต่ต้องฝึกหัดบ่อยๆ นะ
อ้อ !! ถ้าเป็นพวกตำราเรียน ควรมีกระดาษแนบไว้ข้างๆ สักแผ่น คอยจดโน๊ตสำคัญๆ ไว้ด้วย เพราะเราจะจำเป็นภาพได้ดี
----
แนะนำวิธีอ่านหนังสือเร็ว
เนื่องจากในปัจจุบัน มีข้อมูลข่าวสารอยู่มากมาย ทั้งในโลกแห่งความจริง และในโลกออนไลน์ ผู้เขียนเพียรพยายามที่จะหาวิธีอ่านข้อมูลจำนวนมากเหล่านี้ ให้เร็วขึ้นและมีเงื่อนไขว่าต้องเข้าใจด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ หนังสือ เอกสาร วารสาร และแม้แต่ อี-บุ๊ค ในอินเตอร์เน็ต มีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน ได้คิดค้นเทคนิคและวิธีการอ่านหนังสือให้เร็ว ไว้จำนวนมากมายหลายวิธีการ
เมื่อวันที่ 7 พ.ย.2550 ผู้เขียนได้ไปร่วมประชุมทางวิชาการ เรื่อง ICT เพื่อการศึกษาไทย ที่ ม.เกษตรศาสตร์ ผู้เขียนได้ซื้อหนังสือที่สำนักพิมพ์บิสคิตมาวางจำหน่ายอยู่หน้าห้องประชุม ชื่อเรื่องว่า "Speed Reading in a week" (อ่านไวใน 7 วัน) ซึ่งเขียนโดย Tina Konstant แปลโดย โอฬาร สุนทรภูษิต จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2550 นี้เอง หลังจากผู้เขียนได้อ่านแล้ว คิดว่าน่าจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ทราบกัน เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องอ่านหนังสือจำนวนมาก ได้บ้างไม่มากก็น้อย
Konstant เธอได้แนะนำวิธีการอ่านหนังสือให้ไว ว่ามีเทคนิคการอ่านหลักๆ อยู่ 5 ขั้นตอน กล่าวคือ
1. Prepare (การเตรียมตัวอ่าน)
2. Preview (การอ่านแบบผ่าน)
3. Passive Reading (การอ่านแบบข้าม)
4. Active Reading (การอ่านแบบสรุป)
5. Selective Reading (การเลือกอ่าน)
Prepare (การเตรียมตัวอ่าน) ขั้นตอนแรกนี้ ผู้อ่านต้องพยายามถามคำถามที่สำคัญ 3 ข้อ คือ ทำไมต้องอ่านหนังสือเล่มนี้? อะไรบ้างที่ผู้อ่านรู้อยู่แล้วในหนังสือเล่มนี้? และอะไรบ้างที่ผู้อ่านต้องการจะรู้จากหนังสือเล่มนี้? เมื่อได้คำตอบแล้ว ผู้อ่านต้องตั้งปณิธานให้แนวแน่ ไม่อยากนั้นอาจจะหลงทาง ต่อจากนั้นดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้เลย
Preview (การอ่านแบบผ่าน) ขั้นตอนที่ 2 นี้ก็เพื่อทำความคุ้นเคยกับโครงสร้างของหนังสือที่อ่าน ซึ่งอาจใช้เวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้นเอง โดยหลักการอ่านแบบผ่านที่สำคัญ คือ
-สิ่งที่ต้องอ่าน : ปกหน้า ปกหลัง ปกด้านใน สารบัญ ดัชนี และบรรณานุกรม
-สังเกต : โครงสร้างของหนังสือ เช่น ชื่อบท หัวข้อหลัก หัวข้อรอง รูปภาพ กราฟ การ์ตูน และรูปถ่าย
-กำจัด : เนื้อหาในหนังสือที่ผู้อ่านมั่นใจ ว่าไม่ต้องอ่าน
-เน้น : เนื้อในหนังสือที่ผู้อ่านต้องการ
-ถามย้ำ : ถามตัวเองอีกครั้งว่า อะไรคือสิ่งที่ผู้อ่านต้องการจากหนังสือเล่มนี้
Passive Reading (การอ่านแบบข้าม) การอ่านแบบนี้ Konstant บอกว่าหนังสือหนา 300 หน้า จะใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 10 นาที เท่านั้นเอง โดยต้องพยายามสแกนแต่ละหน้าอย่างรวดเร็ว หาคำศัพท์ที่โดดเด่น สังเกตข้อความที่หนังสือ โดยเฉพาะข้อความที่เน้นตัวหนา ตัวเอียง พยายามทำความเข้าใจกับคำศัพท์ที่ใช้ในหนังสือ หากผู้อ่านยังไม่คุ้นเคย
Active Reading (การอ่านแบบสรุป) หมายถึง การอ่านย่อหน้าแรกของแต่ละบท อ่านประโยคแรกของทุกๆ ย่อหน้า (และประโยคท้ายสุด ถ้าย่อหน้านั้นมีความยาวมาก) ขณะที่อ่านให้ใช้ปากกาเน้นข้อความ ขีดเส้นใต้ วงกลมใจความสำคัญ หรือจดสรุปความเข้าใจ หรือเขียนเป็นแผนที่ความคิด (Mind map) ก็ได้
Selective Reading (การเลือกอ่าน) อ่านเฉพาะในสิ่งที่ผู้อ่านต้องการอ่าน อ่านเพื่อหาคำตอบที่ผู้อ่านค้นหา และหัวข้อต่างๆ ที่ผู้อ่านสนใจ (ตามปณิธานที่ผู้อ่านตั้งเอาไว้)
เทคนิคการอ่าน 5 ขั้นตอน นี้ หากจะทำให้การอ่านเร็วเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีเทคนิคต่างๆ ที่ผู้อ่านต้องฝึกเพื่อประกอบเพิ่มเติมด้วย เช่น เทคนิคการอ่านเร็ว เทคนิคการจำสิ่งที่อ่าน เทคนิคการใช้สายตาเพิ่มประสิทธิผลในการอ่าน เทคนิคการกำจัดสิ่งรบกวนในการอ่าน เทคนิคการอ่านหนังสือประเภทต่างๆ
Konstant ได้คิดเทคนิคประกอบดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ทำได้โดยไม่ยากเย็น แต่เราคิดไม่ถึง เช่น การใช้เครื่องมือช่วยในการอ่าน การอ่านแบบกวาด (Skimming) การอ่านแบบค้นหา (Scanning) เป็นต้น
การอ่านแบบ Skimming กับการอ่านแบบ Scanning หลายคนอาจสงสัยว่าแตกต่างกันอย่างไร อธิบายง่ายนิดเดียว อ่านแบบ Scanning คือ เมื่อเจอข้อมูลที่ต้องการก็เลิกอ่าน อ่านแบบ Skimming คือ เมื่อเจอข้อมูลแล้วจะยังไม่หยุดอ่าน จนกว่าผู้อ่านอยากจะหยุดอ่านเอง
ที่เขียนมานี้เป็นเพียงเรื่องราวบางส่วน ในหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบและเข้าใจเทคนิคการอ่านเร็วในเบื้องต้น แต่หากผู้อ่านท่านใดต้องการทราบในรายละเอียดเพื่อฝึกฝนตนเองก็คงต้องหาซื้อหนังสืออ่านเอง หรือถ้าไม่อยากซื้อหนังสือ ก็ลองอีเมล์ในสิ่งที่ท่านต้องการทราบเพิ่มเติมมาได้ที่ผู้เขียน s463368@hotmail.com แล้วผู้เขียนจะพยายามค้นหาคำตอบจากหนังสือเล่มดังกล่าวดู และตอบให้ท่านทราบต่อไป
You might like:
นิทานเรื่องที่ 9 Superman ตายไปหมดแล้ว
งานสีสันต์สงกรานต์ราชบุรี ครั้งที่ 1 - ททท.จะทำให้ราชบุรีเป็นอะไร
อาชีพนักการเมืองกับอาชีพรับราชการ
ปลาหมึกเปลี่ยนสียังดีกว่าจิ้งจก
จัดทำโดย สุชาต จันทรวงศ์ เวลา 16:38
ส่งอีเมลข้อมูลนี้
BlogThis!
แบ่งปันใน Twitter
แบ่งปันใน Facebook
แบ่งปันใน Google Buzz
-----
เทคนิคการอ่านเร็วขั้นเทพ 4 ขั้นตอน
Speed Read Faster Than Ever With These 4 Tips
Many people, particularly students, would love to be able to absorb information faster.
But before retaining information, they have to go through the first stage of learning, which is reading.
คนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียน ย่อมต้องการที่จะอ่านและดูดรับเอาข้อมูลให้ได้เร็ว
แต่ก่อนที่จะจดจำข้อมูล เราจะต้องผ่านด่านแรกไปให้ได้ก่อน ซึ่งนั่นก็คือการอ่าน
For many individuals who are pressed for time, speed reading has become a necessity.
However, it's not just the reading part that is important.
Equally essential is for the reader to fully understand the words coming out from the book or paper.
บางคนถูกจำกัดเวลาในการอ่าน การอ่านได้เร็วจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม ส่วนสำคัญไม่ได้อยู่ที่การอ่านแต่เพียงอย่างเดียว
แต่ความเข้าใจจากสิ่งที่ได้อ่านในหนังสือนั้น มีความสำคัญพอๆกัน
Speed reading can be learned from courses where you learn the techniques and how to train.
It is then important that you keep practicing your speed reading as well as reading comprehension.
การอ่านเร็วสามารถเรียนได้จากคอร์ส ที่เราเรียนเทคนิคในการฝึกอ่าน
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราจะต้องฝึก อ่านให้เร็วควบคู่กับการทำความเข้าใจในการอ่าน
Here are some great tips to read and comprehend faster.
นี่เป็นเคล็ดลับดีๆที่ทำให้เราอ่านเร็วและเข้าใจได้เร็วยิ่งขึ้น
1) Relax.
ผ่อนคลาย
If you're in the stressed mode, it is much more difficult to concentrate;
hence, it is a lot harder for the information to sink in.
ถ้าเรากำลังเกิดความตึงเครียด เป็นการยากที่จะมีสมาธิอยู่กับสิ่งที่เราอ่าน จึงเป็นการยากที่จะรับข้อมูลใหม่ๆ
2) Know what you want.
รู้ว่าเราต้องการอะไร
Focus on the areas that you really need to learn.
Some people read all parts of a book, when all they need to know is a specific chapter.
ให้ความสนใจต่อสิ่งที่เราต้องการเรียนรู้จริงๆ
คนบางคนอ่านทุกส่วนที่มีอยู่ในหนังสือ ทั้งๆที่สิ่งที่ต้องการจะรู้มีเพียงไม่กี่บทเท่านั้น
3) Prioritise
จัดลำดับ
If you need to find out about a certain subject, go to the Table of Contents and search for the heading
that best suits your requirements. If you need to learn more, then adjust accordingly.
The important thing is to weed out the stuff that you don't currently need.
ถ้าเราอยากจะค้นหาว่าวิชาที่แน่นอนเราควร ลองดูสารบัญและเลือกหัวข้อที่ตรงกับความต้องการของเราก่อน
ถ้าเราอยากจะเรียนรู้มากขึ้นอีก ดังนั้นจึงค่อยปรับเปลี่ยน สิ่งสำคัญคือการ ดึงเอาสิ่งที่เราไม่ต้องการออกไป
4) Get rid of the structure words.
ขจัดคำที่เป็นส่วนประกอบ
Did you know that around 60% of the words we read are structure words?
Examples are the words "the, or, and." They are essential in the structure of the sentences;
but when you ignore them, they basically mean the same thing.
They only serve to beautify, yet you can understand what you are reading even without them.
Try not to focus too much attention on structure words.
น้องๆรู้ไหมว่า 60%ของคำที่เราอ่านเป็นโครงสร้างของคำทั้งหมด
อย่างเช่นคำว่า the, or, and คำพวกนี้มีความสำคัญ ในโครงสร้างของประโยค เพื่อทำให้ประโยคดูไพเราะ สวยงาม
แต่ถ้าเราละเลยมันซะก็ เราก็ยังเข้าใจในสิ่งที่เราอ่าน เราจึงไม่ต้องสนใจโครงสร้างของคำมากนัก
5) Practise, practise, practise.
ฝึกมากๆๆๆ
When I started exercising with weights, I could only lift the lighter ones.
As the time went by, I slowly added more and more weights as my body adjusted
and became more comfortable lifting heavier ones.
เมื่อเราเริ่มต้นออกกำลังกาย อย่างเช่นการ ยกน้ำหนัก เป็นธรรมดาที่เราจะยกข้างที่เบากว่าได้
แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานวันพร้อมๆกับการฝึกฝน เราก็ค่อยๆ เพิ่มจำนวนน้ำหนักมากขึ้นเรื่อยๆ
ร่างกายของเราก็สามารปรับเและรับน้ำหนักได้มากขึ้น
The same concept goes for speed reading. Set a goal.
Figure out how fast you can read, then create a plan to increase your ability.การที่พัฒนาการอ่านได้ เราต้องตั้งเป้าหมาย ค้นหาว่าเราจะอ่านได้เร็วแค่ไหน
จากนั้นลองคิดหาทางเพิ่มความสามารถในการอ่านให้เร็วขึ้นเรื่อยๆ
If you can read 200 words per minute, set a goal to read 250 words a minute.
After accomplishing this feat, set a goal to read 300 words per minute,
and keep increasing the goal as your speed improves.
ถ้าน้องๆสามารถอ่านหนังสือได้ 200 คำต่อนาที ลองตั้งเป้าหมายอ่านให้ได้ 250 ต่อนาที
ถ้าทำได้สำเร็จ เพิ่มเป้าหมายเป็น 300คำ ต่อนาที โดยเพิ่มพัฒนาไปเรื่อยๆ
Vocabulary
adjust (v) ปรับตัว ,ปรับเปลี่ยน
accomplish (v) ทำสำเร็จ, บรรลุผล
weed out (PHRV) ถอนทิ้ง
feat (n.) โครงหลัก
Written by Kenth Nasstrom
Translated by Little P
ที่มา : http://www.engtest.net
---------------------------------
การเตรียมตัวก่อนถึงเวลาที่จะอ่าน
1. เตรียมข้อมูลอะไรให้พร้อม ให้ดี การอ่านเร็วปึ๊ด แปลว่าต้องเลือกข้อมูลที่ดีที่สุดมา 1-2 ข้อมูล อย่าเอาทุกข้อมูลมากอง จะทำให้เสียกำลังใจ และบั่นทอนกำลังของตัวเองเปล่าๆ ชีวิตต้องเลือก ข้อมูลที่ดีที่สุดก็คือ อันที่สมบูรณ์สุดๆ อาจจะเป็นเลคเชอร์เพื่อน หรือหนังสือพื้นฐานที่ต้องอ่านก็ว่ากันไป ....
2. กะเวลาให้ถูก ... ไม่ใช่หวังว่าอ่านหนังสือ 100 หน้า ภายใน 4 ชั่วโมงจะจบลงอย่างมีประสิทธิภาพได้ง่ายๆ ลองเทียบเคียงความสามารถของตัวเองควบคู่กับการกะเวลาด้วย โดยทั่วไปแบบจดจำได้ดีนั้น (และแบบเร็วปึ๊ดด้วย) หน้าภาษาไทยจะใช้เวลาไม่เกิน 2 นาที และภาษาอังกฤษไม่เกิน 3-5 นาที (depend on English skill)
3. สร้างบรรยากาศที่สดใสจิ๊ดจ๊าด ... อ่านโต้รุ่งก็คงไม่พ้นห้องนอน ถ้าเป็นห้องนอน ต้องทำให้ห้องมีอากาศถ่ายเทมากที่สุด ห้องใครติดหน้าต่างโชคดีไป เปิดหน้าต่างรับลมบ้างก็ดีนะจ๊ะ ถ้าห้องแอร์จะทำให้ความเชื่องช้าบังเกิดได้โดยง่าย อย่านอนอ่าน ไม่งั้นจบเห่
... อ่านแบบเร่งด่วนแต่ไม่โต้รุ่งนั้น ก็ตามสถานที่ที่เหมาะสม แต่ที่สำคัญต้องมีความเป็นส่วนตัวสูงมาก มีกั้นฉาก หรือนั่งโต๊ะแบบหันหลังจากผู้คน (ไม่เหมือนการอ่านทั่วไป ที่อาจจะอยู่ในที่ผู้คนพลุกพล่านได้) เพราะอ่านเร่งด่วน ต้องเล่นกับเวลา ถ้ากะเวลาไว้เรียบร้อยแล้ว เกิดมีอะไรมาสะดุด เดี๋ยวจะยุ่งกันพอดี !!
.....แต่บางคนก็สามารถอ่านโต้รุ่งในที่ public (ตอนนี้ฮิตกันที่แม็คโดนัลด์ มากๆ เพราะเปิด 24 ชั่วโมง) ถ้ามั่นใจว่าไม่วอกแวกได้ก็ทำไป อย่าไปอ่านเพราะตามเพื่อนเด็ดขาด ไม่งั้นจะอ่านไม่จบ เท่าที่รับฟังการอ่านโต้รุ่งในที่public มานั้น พบว่ามีปัญหาอ่านไม่จบเป็นเนืองนิจ มีแค่ 1 ใน 20 คนเองนะที่ทำได้จริงๆจังๆ
............แต่การโต้รุ่งแล้วก็มาสอบเลย ไม่แนะนำมากๆๆๆๆ ปรากฏน๊อคกลางอากาศขึ้นมาจะว่าไงลูก ถ้าโต้รุ่งแล้วยังมีพักหลับตา ลัลล้า ผ่อนคลายบ้างมันก็คงดี
4. วางแผนการพักผ่อน การตั้งเป้าเพื่อให้รางวัลตัวเองนั้นสำคัญมาก อย่าลืมพูดคุยกับตัวเองว่า จะพักก่อนอ่าน จะอ่านก่อนพัก หรือ จะพักระหว่างอ่าน ต้องมีพักบ้าง ไม่งั้นมึน สายตาเสีย กล้ามเนื้อหด เป็นตะคริว เมื่อยคอ แก่ตัวมาจะแย่นะ (เวิ่นจริงๆ จขบ.เนี่ย 555+) สรุปคือ อย่าดุ่มๆ อ่านลูกเดียว จำไว้ๆ ถ้าเกิดปวดตามาให้เอามือป้องลูกตาไว้จะดีขึ้น
5. ระวังอย่าให้ความเครียดมากดดันตัวเอง สำคัญมากที่สุดคือเรื่องอารมณ์ ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ ถ้าทำข้อ 1-4 ได้แล้ว ให้สบายใจได้ อย่าเครียดเด็ดขาด ไม่งั้นจะสมาธิหลุดและเกิดความท้อแท้ระหว่างทางได้ จขบ.เคยกดดันเมื่อครั้งมัธยม ถึงขั้นร้องไห้ ตัวสั่น มือสั่น อันนีจำเป็นมากกับเรื่องอารมณ์
...... ถ้าอารมณ์ขณะนั้นไม่ไหวแล้วจริงๆ อย่าฝืนอ่านเด็ดขาด มีแต่จะทำให้อารมณ์ดาวน์ลงเรื่อยๆ ให้หาอย่างอื่นที่ชอบทำ หรืออาจจะนอนพักสักเล้กน้อย จิบน้ำหวานให้สดชื่น หรือเข้าห้องน้ำไปอาบน้ำเลยก็ดี
...... ถ้าอกหักอยู่ นี่ก็หนัก จากประสบการณ์คือ ร้องไห้ไปให้หมดก่อน ร้องไปเลยเป็นชั่วโมงๆ และก็อ่านโต้รุ่ง คิดในใจซะว่า อย่าให้ใครหน้าไหนมาบั่นทอนชีวิตของชั้น ใครไม่แคร์ แคร์ตัวเองก็ได้ แต่ต้องร้องไห้ก่อนจริงๆ ไม่งั้นมันจะตัวโยนๆ ขณะอ่านหนังสือ เสียมู้ดหมด
.......ใครไม่สบาย นอนไปดีกว่านะ สุขภาพสำคัญที่สุด นอนก่อน ส่วนใครที่ไข้ขึ้นก็ไปหาหมอให้หมอฉีดยาที่ก้นซะ ถ้าไม่อยากจะลาสอบนะจ๊ะ แต่ต้องนอนจริงๆจังๆ
6. การกินข้าวและอาบน้ำนั้น ส่วนตัวว่ามันจำเป็นมาก อย่างที่เคยบอกคือ กินข้าวพอดีๆ อย่าอิ่มมาก หยิบของหวาน หรือน้ำหวานมาประกอบการอ่านด้วย เพราะสมองใช้งานหนัก อาจต้องการน้ำตาลเสริม และถ้าใครโต้รุ่งที่บ้าน ก็ควรจะอาบน้ำก่อนอ่าน เพื่อความสดชื่น ช่วยได้จริงๆนะจ๊ะ
** อย่าลืมว่า ต้องเก็งข้อสอบมาก่อนแล้ว ยิ่งมีเวลาไม่เยอะ การเก็งข้อสอบยิ่งจำเป็น **
เทคนิคการอ่านปื๊ดๆ
1. กวาดสายตาให้ดี สายตาต้องแม่นยำ ไม่พลาดบรรทัด อาจจะใช้นิ้วหรือปากกาช่วยไล่ตามตัวอักษร หรือ ไม้บรรทัด กรณีที่ตัวหนังสือมันเล็กหรือกระดาษมันเบี้ยวๆ ใช้สายตาในการไล่ดู อย่าใช้หัวหันตามไปมามาก เพราะถ้าความเมื่อยล้ามันเกิดขึ้นแล้ว จะเพลียง่ายมาก
2. การMark จุดสำคัญ ให้ใช้ปากกาด้ามเดียวพอ ใช้ปากกาเพียงสีเดียวในการขีดเขียน อาจจะจดโน้ตเอาไว้ข้างๆ เพื่อแปลหรือตีความ และวงKeywords หรือประโยคสำคัญไว้ โดยเลือกประโยคที่สำคัญจริงๆ เพราะถ้าขีดบ่อยจะเสียเวลามาก และอาจจะไม่ได้อ่านซ้ำที่ขีดไว้ก็ได้
3.วิธียกหนังสือ การอ่านแบบnon-stop นั้น ถ้าวางหนังสือหรือชีทแบบแบนราบจะนำมาซึ่งความอ่อนล้าได้โดยง่าย หนังสือนั้นควรจะยกเอียงขึ้นมาสัก 30 องศา กำลังเหมาะ ...... ถ้าเป็นชีทขอแนะนำให้หาแฟ้มแข็งๆ ที่เรียกว่า "แฟ้มสัน" แบบไม่ใช่ห่วง มาหนีบชีทและเปิดอ่านเสมือนหนังสือ และยังสามารถยกแฟ้มเอียงขึ้นมาได้ แต่ถ้าชีทนั้นดันซีร็อกซ์มาสองหน้าก็อาจจะอาศัยแฟ้มนี้ก็ได้ แต่ไม่ต้องหนีบ ก้พลิกเอาเอง แต่ถ้าชีทมีรูห่วง ก็อาศัยแฟ้มสันแบบห่วงก็สบายไป
4.อย่าลืมพื้นฐานการอ่านที่สำคัญ คือ "อย่าสักแต่อ่าน จงอ่านไปคิดไป" ไม่งั้นที่อ่านแบบปึ๊ดๆ จะไร้ความหมายจริงๆ แม้สายตากวาดแต่สมองต้องตามไปด้วย (ถ้าสมองเหนื่อยก็อาจจะกินจุกจิกหรือพักก่อนได้) บางทีถ้าอ่านไปคิดไป อาจจะอ่านโดยไม่ต้องมีรอบสอง ไม่ต้องขีดอะไรเลยก็ได้ ตามความสามารถเลยจ้า
5. อย่าเงยมองเวลาบ่อยๆ เงยบ่อยๆแล้วจะเสียอารมณ์ กดดันเปล่าๆ ให้ใช้วิธีตั้งเป้าเช่นกัน อย่างจบ section ใดก่อนแล้วค่อยเงยมอง แต่การมองเวลาก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ เพื่อที่จะประเมินความสามารถของความเร็วในการอ่าน และก็จะได้ดูว่าทันรึป่าว ถ้าเวลาพอก็พักบ้างก็ได้นะ
6. พึมพำตามไป กรณีที่กลัวไม่เข้าหัว ถ้าอยู่คนเดียว หรือปลีกตัวจากผู้คนอยู่ ก็พึมพำออกเสียงเบาๆ ตามที่อ่านบ้าง จะช่วยได้ พออ่านจบบทใดบทนึงให้ลองคุยกับตัวเอง ติวกับตัวเองดูว่าจำได้จริงๆ เข้าใจจริงๆ หรือป่าว
7. อ่านแต่ละรอบที่ไม่เหมือนกัน รอบแรก ปื๊ดๆไป อาจมีขีดเขียนบ้าง ถ้ามีเวลาก็ลองอ่านรอบสองแบบรีบเร่ง รีบเร่งระดับนี้ นี่มากจริงๆ แบบแค่สายตาผ่าน และต้องปิ๊งไอเดียออกมาให้ได้ว่าอะไรเชื่อมโยงกัน และต่อไปจะมีอะไรบ้าง ถ้าไอเดียไม่ปิ๊งออก ก็ทบทวนใหม่ ขอเน้นว่ารอบสองต้องแค่สายตาผ่านแล้วปิ๊งออกจริงจัง อย่าลืมเมื่ออ่านจบทั้งหมดแล้วต้องตั้งคำถามกับตัวเองดู หรือลองให้เพื่อนช่วยถาม
เทคนิคอื่นๆ ไว้ดัดแปลงได้
1. จดจำหน้ากระดาษ
ใช้สมองมากหน่อยแต่ช่วยในการจำระยะสั้นได้ดี ให้มองหนังสือหรือชีทเป็นรูปภาพ (ถ้าเป็นคอมฯ ก็โปรแกรม pdf นั่นแหละ จากปกติถ้าอ่านเราคงจำกันเหมือนโปรแกรม word) เหมาะสำหรับการไปตอบอัตนัยที่คำตอบเสมือนการลอกจากเลคเชอร์หรือหนังสือ จำเป็นภาพว่าเนื้อหาส่วนไหนอยู่ตำแหน่งตรงไหน อยุ่ใต้หัวข้ออะไร และหัวข้อใกล้เคียงมีอะไรบ้าง อันไหนมาก่อนหลัง (อันนี้ จขบ.ใช้บ่อย)
2. การพึ่งพาแบบฝึกหัด
สำหรับน้องมัธยม ข้อสอบปรนัยน่าจะพึ่งแบบฝึกหัดได้รวดเร็วกว่า ลองหยิบข้อสอบเก่าๆหรือแบบฝึกหัดเก่าๆ เท่าที่หาได้มาดู ถ้ามีเวลาบ้างให้ปิดเฉลยและลองตอบ ถ้าตอบได้ก็ผ่าน แสดงว่าใช้วิธีนี้ได้ ถ้าไม่ได้ก็อ่านดีกว่า ส่วนถ้าเวลาไม่ทันก็อ่านเฉลยไปเลย และจำดูรูปแบบคำถามคำตอบ ส่วนวิชาคณิตศาสตร์ เอาแบบฝึกหัดที่เคยทำมาดูให้หมดจะดีมากกว่าการอ่านทฤษฎี
3. ถามเพื่อน
อ่านไม่ทันก็ถามเพื่อน ให้เพื่อนช่วยเล่าเลย และประมวลความคิด ย้อนถามเพื่อนกลับไป โต้ไปมาบ้าง แต่ใช้วิธีนี้บ่อยๆไม่ดีนะ รบกวนคนอื่นมากไป เพื่อนจะหนีไปหมดซะก่อน
---------------------------------
Sent from my iPod
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น