วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิแพ่งภาค 4

วิแพ่งภาค 4

วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา
----จำเลยขอคุ้มครอง
----จำเลยขอให้โจทก์วางเงินประกันฯ ในชั้นอุทธรณ์หรือฏีกา
----1487/2529 "การที่ ปวิพ. 253 บัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยที่จะร้องขอให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ก็เพื่อคุ้มครองจำเลยให้มีหลักประกันที่จะบังคับเอาได้หากโจทก์แพ้คดีในที่สุด เนื่องจากโจทก์เป็นบุคคลอยู่นอกเขตอำนาจศาล ซึ่งจำเลยไม่อาจบังคับเอาได้ ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่จำเลยร้องขอแล้ว คำสั่งนั้นย่อมมีผลอยู่จนคดีถึงที่สุด"
----กรณีศาลยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 228(2)
----"โจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราว"
----คดีมโนสาเร่ โจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราวตาม 254 ไม่ได้
-คดีมโนสาเร่ คือประเภทคดีที่กำหนดไว้ตาม 189 ได้แก่
คดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท
คดีที่ฟ้องขับไล่บุคคลฯออกอสังฯอันมีค่าเช่าฯ ไม่เกินเดือนละ 30,000
---- หมายถึงโจทก์ผู้เร่ิมต้นคดี ไม่รวมถึงผู้ยื่นอุทธรณ์หรือฏีกา
---- เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่น เป็นบุคคลภายนอกคดีไม่มีสิทธิขอคุ้มครอง
---- เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาแล้ว จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลได้ทันทีตาม 228(2) แต่จะขอทุเลาการบังคับไม่ได้
---- การขอคุ้มครองชั่วคราวต้องขอในระหว่างพิจารณา การที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอฟังผลคดีอื่น เท่ากับเป็นการเลื่อนการพิจารณาคดีออกไป ถือว่าคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์จึงมีคำขอตาม 254 ได้
---- หากคดีถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาว่าด้วยวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาได้
---- ขอบเขตการขอคุ้มครองชั่วคราว
1.อยู่ในขอบเขตประเด็นแห่งคดี หรือการกระทำที่ถูกฟ้อง หรือคำขอท้ายฟ้อง
2.อยู่ในขอบเขตตามมาตรา 254(1)-(4)
---- ฟ้องขอให้จดแจ้งการโอนหุ้นลงในสมุดทะเบียนผูัถือหุ้นและเรียกค่าเสียหาย จะขอคุ้มครองโดยให้เข้าไปดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยต่อไปชั่วคราว เป็นนอกเหนือประเด็นคำฟ้อง ไม่ได้
---- ประเด็นข้อพิพาทว่า สมควรถอนผู้จัดการมรดกผู้ตายหรือไม่ ไม่มีประเด็นเรื่องแบ่งมรดก จะขอคุ้มครองให้แสดงบัญชีเงินได้จากการขายทรัพย์มรดกไม่ได้
---- ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนการรับมรดกที่ดิน ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง จะขอให้ห้ามมิให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทไม่ได้
---- ฟ้องโจทก์ขอให้ชำระหนี้ต่างๆซึ่งไม่เกี่ยวกับรายได้ของกิจการโรงแรมของจำเลย คำขอคุ้มครองของโจทก์ที่ขอให้ตรวจสอบบัญชีรายได้โรงแรมจำเลยที่ 1 จึงนอกเหนือไปจากคำขอท้ายฟ้องจะขอคุ้มครองไม่ได้ คดีนี้ ถ้าโจทก์ขอให้ยึดหรืออายัดเงินรายได้โรงแรมจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นคำขอที่อยู่ในขอบเขตคำขอท้ายฟ้องตาม 254(1)
---- ถ้าโจทก์มีคำขอให้ห้ามชั่วคราวในข้อที่ไม่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง และศาลได้มีคำสั่งอนุญาตไปแล้ว ดังนี้ แม้ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะ คำสั่งห้ามนั้นก็ยกเลิกไปในตัว (กรณีเช่นนี้..จะนำมาตรา 260(2) ซึ่งบัญญัติว่าถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะ คำสั่งกำหนดวิธีการชั่วคราวนั้นคงมีผลต่อไป......มาใช้บังคับไม่ได้)
---- การขอให้ยึดหรืออายัดชั่วคราว มาตรา 254(1) ----
---- กรณีที่โจทก์ขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องที่บุคคลภายนอกต้องชำระให้แก่จำเลยตามมาตรา 254(1) บัญญัติว่าต้องถึงกำหนดชำระด้วย
---- ครั้งแรก ขออายัดที่ดินของจำเลยไว้ชั่วคราว ครั้งที่สองเป็นการขออายัดเงินที่จำเลยจะได้จากการขายที่ดินแปลงเดียวกันเป็นคนละเหตุกัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
---- ในการยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษา ไม่ทำให้บุริมสิทธิของบุคคลภายนอกที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้นสิ้นไป จึงยังไม่มีสิทธิร้องให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นตาม ปวิพ.287 เพราะยังไม่ได้ดำเนินการบังคับชำระหนี้
---- ศาลมีคำสั่งให้อายัดเงินในบัญชีของจำเลย แต่ก่อนแจ้งคำสั่งอายัดไปธนาคาร จำเลยถอนเงินไปฝากอีกบัญชีหนึ่ง ศาลมีคำสั่งใหม่ให้อายัดเงินในบัญชีใหม่ได้ โดยไม่ต้องไต่สวน
---- การยึดหรืออายัดชั่วคราวไม่ต้องห้ามยึดซ้ำตาม 290
---- กรณีห้ามยึดหรืออายัดซ้ำตาม 290 ต้องเป็นการยึดหรืออายัดโดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน
---- โจทก์ขออายัดเงินบำเหน็จซึ่งจำเลยมีสิทธิได้รับจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยก่อนพิพากษา การสื่อสารส่งเงินที่อายัดมายัง ศ.ต้น เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.40 ต่อมาวันที่ 29 มกราคม 2542 ศ.ต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ต่อมาวันที่ 7 พ.ค.42 เจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ... ของศาลแพ่ง มีหนังสือถึง ศ.ชั้นต้น ขอให้อายัดเงินบำเหน็จดังกล่าวบางส่วน ดังนี้ จะเห็นได้ว่าแม้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่..... จะขออายัดภายหลังศาลมีคำพิพากษาคดีนี้แล้วก็ตาม ก็ยังถือว่าการอายัดในคดีนี้เป็นวิธีการชั่่วคราวก่อนพิพากษา ไม่ใช่การบังคับตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ...... จึงอายัดได้ไม่เป็นอายัดซ้ำ แต่ถ้า โจทก์ในคดีนี้ชนะคดีแล้ว โจทก์ได้ขอหมายบังคับคดีและขอโอนเงินเพื่อไปชำระหนี้ตามคำพิพากษา ถือว่าเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะขออายัดไม่ได้ เป็นอายัดซ้ำ
---- เมื่อมีการยึดหรืออายัดซ้ำโดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่น และภายหลังได้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปแล้ว หรือ บุคคลภายนอกได้ส่งเงินที่อายัดไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดี (กรณีอายัด) ย่อมทำให้การยึดหรืออายัดชั่วคราวยกเลิกหรือสิ้นผลไปโดยปริยาย โจทก์ในคดีอายัดชั่วคราวไม่มีสิทธิโต้แย้ง
---- คำว่า ยึด ใช้กับทรัพย์สินของจำเลย ส่วน อายัด ใช้กับสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อบุคคลภายนอก คำสั่งศาลที่ใช้ไขว้เขวกัน ก็ไม่ทำให้คำสั่งนั้นเสียไป
---- การขอให้ห้ามชั่วคราว 254(2)
---- กรณีที่ขอให้ศาลห้ามชั่วคราว แม้ไม่เกี่ยวกับทรัพย์ก็ขอได้
---- คำสั่งศาลที่ห้ามจำเลยกระทำตาม 254(2) นี้ ต้องเป็นการห้ามจำเลย จะขอให้ห้ามบุคคลอื่นกระทำไม่ได้
---- แม้การขอคุ้มครองชั่วคราวจะเข้าตามหลักเกณฑ์ของ กม. ศาลก็อาจใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้ใช้วิธีการคุ้มครองก็ได้ เช่น โจทก์ยื่นคำขอล่วงเลยเวลาอันสมควร
---- ตัวอย่างของการห้ามจำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการผิดสัญญา ... โจทก์จำเลยเข้าหุ้นกันประกอบกิจการภัตตาคาร มีข้อตกลงให้โจทก์เก็บรายได้และจ่ายรายจ่ายจากการประกอบกิจการ ซึ่งปฏิบัติกันมา 6 เดือน การที่จำเลยห้ามโจทก์และพนักงานของโจทก์จัดเก็บรายได้ตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหาย เป็นเรื่องที่ถือได้ว่าจำเลยตั้งใจกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งเป็นการผิดสัญญา เป็นกรณีที่มีเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้บังคับ ทั้งเป็นกรณีที่มีเหตุผลเพียงพอที่จะสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาเพื่อบังคับตามคำพิพากษา ศาลจึงมีอำนาจสั่งและพิพากษาห้ามมิให้จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยจัดเก็บรายได้และจ่ายรายจ่ายเพียงฝ่ายเดียว โดยให้ร่วมกันจัดเก็บรายได้
---- การขอคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิในการดำเนินคดีอาญาไม่ได้
---- การขอให้ห้ามเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนชั่วคราว
---- การขอให้จับกุมหรือกักขังจำเลยไว้ชั่วคราวตาม 254(4)
---- ศาลที่มีอำนาจสั่งคำร้องตาม 254 วรรคท้าย
"ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษา หรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฏีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกา แล้วแต่กรณี คำขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น"
---- ถ้าศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้รับสำนวนลงสารบบความก็เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของศาลชั้นต้น .... หากศาลอุทธรณ์ไปสั่งเข้า แม้จะเป็นศาลสูงกว่าก็เป็นคำสั่งไม่ชอบ
---- ต่างจากกรณีของคุ้มครองตาม 264 ซึ่งมิได้นำบทบัญญัติมาตรา 254 วรรคท้ายไปใช้บังคับด้วย ดังนั้น หากมีการยื่นคำร้องขอคุ้มครองตามมาตรา 264 มาหลังจากศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์หรือฏีกาแล้ว แม้ยังไม่ได้ส่งอุทธรณ์หรือฏีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือฏีกา ศ.ต้นก็ไม่มีอำนาจสั่งคำร้องดังกล่าว แต่ต้องส่งให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกาพิจารณาสั่ง
---- เมื่อเปรียบเทียบกับ มาตรา 42 การขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ ก็ไม่มีบทบัญญัติทำนองเดียวกับ 254 วรรคท้าย เมื่อ ศ.ต้น สั่งรับอุทธรณ์หรือฏีกาแล้ว (ถือว่าเป็นการทำแทนศาลอุทธรณ์หรือฏีกา) ศ.ต้นย่อมไม่มีอำนาจสั่งให้ทายาทเข้าไปคู่ความแทนที่ได้
---- หากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวไว้แล้ว แต่ภายหลัง ศ.อุทธรณ์ หรือ ศ.ฏีกา มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับคดี ก็ถือว่าเป็นการถอนคำสั่งชั่วคราวไปในตัว
---- คำสั่งตามมาตรา 254 อุทธรณ์ฏีกาได้ทันที แต่แม้จะอุทธรณ์ฏีกาได้ก่อนพิพากษา แต่ถ้าศาลได้พิจารณาเนื้อหาแห่งคดีและทำคำพิพากษาเสร็จแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยคำสั่งขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวอีกต่อไป ศ.อุทธรณ์หรือศาลฏีกาต้องจำหน่ายคดี
---- คำขอคุ้มครองประโยชน์ ตาม 254 เป็นคำขอฝ่ายเดียว เว้นแต่ อนุ 1และอนุ 4 เป็นคำขอฝ่ายเดียวโดยเคร่งครัด ศาลจึงไม่ต้องส่งสำเนาคำขอหรือไม่ต้องฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อน แต่คำขอตาม อนุ 2 และ อนุ 3 ศาลมีอำนาจฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ก็ได้
---- การพิจารณาคำขอคุ้มครองชั่วคราว 255 ต้องให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า คำฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้บังคับได้
---- การที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอคุ้มครองชั่วคราว จึงต้องมีการไต่สวนให้ได้ตามความตามมาตรา 255 ก่อน --- แม้จะเป็นคำขอฝ่ายเดียวดังกล่าวข้างต้นก็ตาม
---- ถ้าตามคำฟ้อง คำให้การ คำร้อง และคำคัดค้านของโจทก์จำเลยรับกัน จนได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนตามมาตรา 24 ศ.อนุญาตให้ใช้วิธีคุ้มครองได้โดยไม่ต้องไต่สวนก็ได้
---- แต่ถ้าคำร้องไม่ปรากฏว่าไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะสั่งห้ามชั่วคราวได้ ศาลต้องทำการไต่สวนคำร้องตาม 255 ก่อน จะยกคำร้องเสียทีเดียวไม่ได้
---- โจทก์ขอให้ยึดทรัพย์ ต้องสืบให้ได้ความว่า จำเลยตั้งใจจะจำหน่ายทรัพย์ให้พ้นจากอำนาจศาลตามมาตรา 255 วรรคสอง ก. จะสืบเพียงว่ามีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินถือว่ายังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะสั่งยึดทรัพย์ชั่วคราว
---- แม้จำเลยไม่ตั้งใจยักย้ายทรัพย์สินของตนไปให้พ้นจากอำนาจของศาลตาม 255(1)(ก) แต่การที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และไม่มีทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทยพอที่โจทก์จะบังคับคดีได้ ถือเป็นเหตุจำเป็นอื่นอันเป็นการยุติธรรมและสมควรที่จะคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณาตาม 255(1)(ข) 178/51
---- คดีฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นทายาทเพื่อแบ่งปันแก่ทายาท โจทก์ขอให้อายัดบัญชีเงินฝากธนาคารซึ่งยังโต้แย้งอยู่ว่าเป้นทรัพย์มรดกหรือไม่ ได้ แม้จะมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากก็ตาม
---- คดีที่โจทก์จำเลยต่างฟ้องและฟ้องแย้งแย่งการครอบครองที่ดิน และห้ามอีกฝ่ายหนึ่งเข้าเกี่ยวข้องโจทก์จะขอห้ามจำเลยขัดขวางการครอบครองที่ดินของโจทก์ไม่ได้ แต่โจทก์มีคำขอห้ามมิให้จำเลยนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าได้
---- โจทก์ฟ้องว่าจำเลยก่อสร้างปิดทางเข้าออกซึ่งมีทางเดียว กรณีมีเหตุอันสมควรและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ได้[vpang 34%]
----
----
----
----
----
----
----
---- มาตรา 271 การบังคับคดีตามคำพิพากษา
---- ผู้ร้องเป็นเพียงผู้รับประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
---- ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดิน จำเลยยื่นคำขอแบ่งแยกที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินไม่สามารถดำเนินการให้ได้เพราะ โจทก์จำเลยต้องร่วมกันยื่นคำขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม จำเลยแจ้งโจทก์ดำเนินการ โจทก์เฉย จำเลยไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับให้โจทก์มายื่นคำร้องขอแบ่งที่ดิน
---- บุคคลภายนอกอาจเข้ามาสวมสิทธิการบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้โดยการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี แล้วจึงดำเนินการบังคับคดีแทนเจ้าหนี้ในฐานะผู้ร้องสอด เช่น มีการโอนสิทธิเรียกร้องถูกต้องตาม ปพพ.306 .... แต่ถ้ากฏเหล็ก 10 ปีก็หมดสิทธิบังคับคดีเพราะพ้นกำหนด ผู้ร้องที่ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องจะร้องสอดเข้ามาไม่ได้
---- มาตรา 309 ตรี ผู้ซื้ออสังหาฯ จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาล เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีอำนาจบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบริวารให้ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ที่พิพาทที่ซื้อมาได้
---- กรณีที่คำพิพากษาได้กำหนดให้ทั้งโจทก์และจำเลยต่างมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตอบแทนซึ่งกันและกัน เช่นนี้ โจทก์และจำเลยต่างมีสิทธิของให้บังคับแก่อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามคำพิพากษา เช่น กรณี ให้จำเลยโอนที่ดินแก่โจทก์ โจทก์ชำระค่าที่ดินแก่่จำเลย
จำเลยสามารถขอออกหมายบังคับคดีได้
---- คดีฟ้องขับไล่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว ต่อมาจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทอีก ถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ โจทก์จะขอให้บังคับคดีอีกไม่ได้ โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ แม้คำพิพากษาของศาลจะห้ามจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินด้วยก็ตาม
---- การบังคับคดีที่เสร็จสมบูรณ์ต้องปฏิบัติตามมาตรา 296 ตรี เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยมอบการครอบครองที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครองได้ต่อเมื่อไม่มีบุคคลใดอาศัยอยู่ แต่การที่จำเลยปลูกพืชผลไว้ แม้จำเลยจะไม่ได้มาเฝ้าดูแลตลอดเวลาก็ถือว่าจำเลยยังครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจจัดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครอง การบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้นลง โจทก์จึงยังขอให้บังคับคดีได้
---- คำขอบังคับที่ออกตามคำพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดิน ย่อมบังคับรวมถึงส่ิงปลูกสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ในระหว่างคดีที่จำเลยกระทำขึ้นหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำด้วย การที่จำเลยยอมรื้อสิ่งปลูกสร้างเดิมแต่ไม่รื้อสิ่งปลูกสร้างขึ้นใหม่ ถือว่ายังไม่ได้ปฏิบัติตามคำบังคับโดยครบถ้วน
---- ภายใน 10 ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษา ตามมาตรา 147
-คำพิพากษาที่อาจอุทธรณ์ฏีกา หรือมีคำขอพิจารณาใหม่ ถ้าไม่ได้อุทธรณ์ฏีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือเป็นที่สุดนับแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลง
-ถ้าได้มีการอุทธรณี ฏีกา หรือศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญํติไว้ในมาตรา 132 คำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นว่านั้นให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
---- ขั้นตอนในการบังคับคดี -- หลังจากที่ศาลออกคำบังคับแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องปฏิบัติดังนี้
1. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี
2. เจ้าหนี้ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าได้มีการออกหมายบังคับคดี
3. เจ้าหนี้ต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
---- พิเศษ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแถลงขอให้ จพค. ยึดทรัพย์ไว้หลายรายการ แต่ จพค. ยึดทรัพย์เฉพาะบางรายการออกขายทอดตลาด ได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์รายการที่เหลือนั้นได้อีก แม้จะพ้นกำหนด 10 ปี แล้วก็ตาม
---- โจทก์ได้ร้องขอบังคับคดีครบถ้วนภายในกำหนดเวลาแล้ว แม้จะมีการขอถอนการยึดที่ดินพิพาทและถอนการบังคับคดี แต่โจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ถอนการบังคับคดี โดยขอให้บังคับคดีต่อไปได้และศาลอนุญาตให้บังคับคดีต่อไปได้ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งฯ ภายในกำหนด 10 ปี โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทได้
---- ศาลพิพากษาตามยอมว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินให้โจทก์ และเมื่อโจทก์ชำระเงินมัดจำและราคาที่ดินแล้ว จำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ กรณีนี้ไม่ต้องมีการออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาด ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลว่าประสงค์จะบังคับคดี และนำเงินมัดจำและราคาที่ดินมาวางศาลภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาเพื่อให้จำเลยโอนที่ดินให้ ถือว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีโดยชอบด้วย กม.ด้วย
---- ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ถ้าสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาหรือคำสั่งยังไม่ถึงกำหนด เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงยังไม่อาจร้องขอให้ดำเนินการบังคับคดีได้ ดังนี้ จะเร่ิมนับระยะเวลาบังคับคดีนับแต่วันที่ีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งไม่ได้ ต้องเร่ิมนับแต่วันที่สิทธิเรียกร้องนั้นถึงกำหนดชำระและจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้
.....น่าแปลกที่ไม่ได้บังคับคดีนับแต่ คดีถึงที่สุด....
---- สัญญายอมที่กำหนดให้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน กำหนดเวลาบังคับคดี 10 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 6 เดือน แล้วไม่ชำระหนี้
---- โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมฯว่า โจทก์ยอมชำระเงิน แก่จำเลยภายในหนึ่งปีนับแต่วันทำสัญญาฯ​ และจำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินโจทก์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้ชำระเงิน แต่เมื่อถึงกำหนดโจทก์ไม่ได้ชำระราคา ดังนี้โจทก์จะอ้างมีสิทธิบังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ทำสัญญาประนีประนอมฯไมไ่ด้ เพราะกำหนดเวลาตามสัญญาประนีประนอมฯเป็นสาระสำคัญของสัญญาซึ่งคู่สัญญามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ไม่ได้ชำระราคาภายในกำหนด โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายผิดนัด จึงไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดีแก่จำเลยให้โอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ได้
---- การขอเฉลี่ยทรัพย์ เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่ง จึงต้องร้องขอเฉลี่ยภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาเช่นกัน
---- หลักประกันที่จำเลยนำมาวางศาลให้การขอทุเลาการบังคับคดีในระหว่างอุทธรณ์หรือฏีกา เมื่อโจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฏีกาและจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ก็ต้องร้องขอให้บังคับแก่หลักประกันนั้นภายใน 10 ปี ตาม ปวิพ.มาตรา 271 เช่นกัน หากโจทก์ไม่ร้องขอให้บังคับคดีแก่หลักประกันดังกล่าวจนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ต้องคืนหลักประกันแก่จำเลยผู้ขอทุเลาการบังคับ ........ แต่ถ้าหากว่ายังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันคดีถึงที่สุด​ ศาลจะคืนหลักประกันในการทุเลาการบังคับให้แก่ผู้ค้ำประกันไม่ได้
---- การที่จำเลยทำหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีแล้ว จึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความตาม ปพพ.มาตรา 193/24 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามหนังสือดังกล่าว
---- ระยะเวลาตาม 271 ศาลขยายหรือย่นตามมาตรา 23 ได้
---- โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมนั้น ก็เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันให้เสร็จสิ้นไป แม้สัญญาจะกำหนดให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ภายใน 6 เดือน โดยให้โจทก์ชำระเงินตอบแทน แต่โจทก์นำเงินมาวางศาลเกิน 6 เดือน ก็เรียกให้จำเลยโอนที่ดินตามสัญญาให้ได้
---- ศาลพิพากษาตามยอม แล้วจดแจ้งไว้ในตอนท้ายคำพิพากษาเพียงว่าบังคับคดีตามยอมเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 272 แล้ว เพราะที่่จะเป็นคำบังคับนั้น ศาลจะต้องระบุโดยชัดแจ้งซึ่งระยะเวลาและเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตามคำบังคับและจะต้องระบุโดยชัดแจ้งในคำบังคับว่าในกรณีที่ไม่ได้มีการปฏิบัติตามคำบังคับเช่นว่านั้นภายในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้จะต้องถูกยึดทรัพย์หรือถูกจับและจำขังตาม กม.ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 273
ภายหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ศ.ต้น มีคำสั่งว่าบังคับคดีภายใน 30 วัน ย่อมมีความหมายถึงว่าให้มีคำบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ใช่เป็นคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดี เพราะยังไม่ส่งคำบังคับให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ลงชื่อไว้เป็นสำคัญแล้ว และระยะเวลาที่ศาลได้กำหนดไว้เพื่อปฏิบัติตามคำบังคับนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้วด้วย ศ.ต้น กลับออกหมายบังคับคดี จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 276 วรรคหนึ่ง
---- การทุเลาการบังคับในชั้นอุทธรณ์โดยบุคคลภายนอกเข้าเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดหรือไม่เพียงใด ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
1.ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ผู้อุทธรณ์ต้องรับผิด หากผู้อุทธรณ์ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดแทน (เท่ากับบังคับคดีได้ทันที) แต่ถ้าต่อมา ศ.ฏีกา มีคำพิพากษาให้ไม่ต้องรับผิด ผู้ค้ำประกันก็เป็นอันหลุดพ้น เพราะหนี้ประกันเป็นอันระงับสิ้นไปแล้ว
2.ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้อุทธรณ์ชนะคดี ไม่ต้องรับผิดอีกต่อไป ผู้ค้ำประกันก็เป็นอันหลุดพ้นความรับผิดไป
---- หลักเกณฑ์การออกหมายบังคับคดีของศาล
1.ได้ส่งคำบังคับให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ลงชื่อไว้เป็นสำคัญแล้ว
2.ระยะเวลาที่ศาลกำหนดให้ปฏิบัติตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้ว
และ 3.คำขอนั้นมีข้อความครบถ้วน
---- แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนทางภาระจำยอมให้แก่โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยก็ตาม แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ แต่ห้ามจำเลยทำนิติกรรมใดๆเกี่ยวกับโฉนดที่ดินที่เป็นภาระจำนอมพิพาท ศ.ต้นแจ้งคำสั่งศาลใ้หเจ้าพนักงานที่ดินทราบและได้รับหนังสือตอบว่าจำเลยจดทะเบีียนโอนขายที่ดินพิพาทให้ ช. ซึ่ง ช. ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวให้แก่ ธนาคาร อ. และบริษัทเงินทุน ม. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไปแล้ว ทำให้จำเลยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินภารยทรัพย์อีกต่อไป และไม่อยู่ในฐานะที่จะไปจดทะเบีียนภาระจำยอมได้ การบังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาของศาลย่อมไม่อาจกระทำได้ เพราะสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องที่จะบังคับให้จำเลยทำเช่นนั้น
---- การถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ใช้เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ศาลจะพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาในคดีละเมิิดไม่ได้ หรือจะขอถือเอาคำพิพากษาแทนการบังคับชำระหนี้อย่างอื่นไม่ได้ เช่น ในกรณีส่งมอบโฉนดที่ดิน
---- การออกหมายบังคับคดี จะต้องออกตามคำพิพากษา จะอ้างว่าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ จึงให้ใช้ค่าเสียหายแทนโดยไม่ได้พิพากษาเช่นนั้นไม่ได้
---- การไต่สวนหาทรัพย์สินของลูกหนี้ มาตรา 277
---- โจทก์ทราบเกี่ยวกับทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องอยู่แล้ว เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องสืบเสาะหาราคาเองว่าทรัพย์สินที่จำนองไว้ราคาเท่าใด และจำนองไว้เท่าใด ทั้งคำร้องของโจทก์เองก็ไม่ได้เจาะจงระบุนามสกุลบุคคลที่ขอให้ศาลหมายเรียกมาเพื่อให้ศาลได้พิเคราะห์ถึงเหตุผลว่าบุคคลดังกล่าวจะสามารถให้ถ้อยคำที่เป็นประโยชน์หรือไม่ โจทก์ขอให้หมายเรียกเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ของจำเลย ผู้รับโอน และเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังมาให้ถ้อยคำไม่ได้
---- เจ้าพนักงานบังคับคดีอยู่ในฐานผู้แทนเจ้าหนี้ มาตรา 278
---- ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียึดและขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดและรับเงินจากการขายทอดตลาดไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่ขายทอดตลาดเท่านั้น
---- เงินมัดจำที่ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดวางไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ถือว่าเป็นเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีรับไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาและถูกริบเงิน เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องรวบรวมไว้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
---- การยึดและอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ มาตรา 282 - 284
---- เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยึดและอายัดทรัพย์สินตามที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ดังนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ชอบที่จะขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ยังโต้แย้งว่าจำเลยยังมีข้อพิพาทกับบุคคลภายนอกอยู่
---- ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินใดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและยืนยันให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องยึดทรัพย์สินนั้น โดยไม่ต้องให้โจทก์ไปฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลก่อน ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึด เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้ศาลสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์นั้นได้ตาม 283 วรรคสอง
---- ความรับผิดต่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือต่อบุคคลภายนอกเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการยึดและขายทรัพย์สินที่ไม่ชอบ หรือยึดทรัพย์สินเกินกว่าจำเป็นแก่การบังคับคดีนั้น ย่อมไม่ตกแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ตกอยู่แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เว้นแต่กรณีเจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำไปฝ่าฝืน ดังนี้ เมื่อมีการยึดทรัพย์ผิดโดยไปยึดที่ดินธรณีสงฆ์ออกขายทอดตลาดและนำเงินชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไปแล้ว ดังนี้ กายึดดังกล่าวเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้นำยึด จำเลยไม่เกี่ยวข้องด้วย และไม่ได้รับเงินค่าซื้อขายที่ดิน ไม่มีมูลหนี้ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องใช้คืนแก่ผู้ที่ประมูลซื้อที่ดินไป คดีไม่เข้าลักษณะลาภมิควรได้ ผู้ซื้อเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้
---- ทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องที่ไม่อยู่ในข่ายการบังคับคดี 285 , 286
---- 3020/2532 ทันทีที่จำเลยได้รับเงินบำเหน็จมาจากเจ้าหน้าที่การเงินโดยเงินบำเหน็จนั้นยังไม่ได้ปะปนกับเงินอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออก เช่นนี้ โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเงินบำเหน็จดังกล่าวจากจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้ไม่
---- ขอกันส่วน มาตรา 287
---- ต้องมีการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
---- กรณีโจทก์ฟ้องคดีเพื่อใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากผู้ที่ไม่มีสิทธิยึดไว้ มิใช่การบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา จะร้องขอให้คุ้มครองตาม 287 นี้ไม่ได้
---- การที่จะร้องขอกันส่วนตาม 287 จะต้องเป็นกรณีที่มีการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา และเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิของผู้อื่น คดีนี้โดยเนื้อแท้แห่งการบังคับเป็นเรื่องการบังคับให้จำเลยแบ่งแยกทรัพย์สินในระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยกันแล้วจัดการโอนให้แก่โจทก์เท่านั้น ไม่ได้มีการบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยตามความใน 287 แต่ประการใด ผู้ร้องจึงขอกันส่วนโดยอาศัยหลักกม.ดังกล่าวไม่ได้
---- สิทธิของธนาคารผู้ร้องที่จะนำเงินฝากในบัญชีของจำเลยที่ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยไปหักหนี้การเบิกเงินเกินบัญชีได้ก่อน ไม่ใช่สิทธิอื่นๆตาม 287 ที่จะร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม กม.
---- กรณีอายัดสิทธิเรียกร้อง : การที่ผู้ร้องอ้างว่าตนเป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ศาลสั่งอายัดไว้ ไม่ใช่บุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นที่ผู้ร้องอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นตาม 287
---- ผู้ที่เป็นเจ้าของในทรัพย์สินที่ถูกยึดร่วมกับจำเลย จะร้องขัดทรัพย์ไม่ได้ เพราะจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย แต่เจ้าของรวมคนอื่นมีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนตาม 287
---- กรณีทรัพย์สินที่ถูกยึดเป็นสินสมรส ถือว่าคู่สมรสฝ่ายที่ไม่ได้ถูกฟ้องเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ จึงมีสิทธิร้องขอกันส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดสินสมรสนั้น แต่ทั้งนี้ต้องได้ความว่าหนี้ที่โจทก์ฟ้องบังคับนั้นไม่ใช่หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา
---- อย่างไรก็ตาม กรณีที่สามีภริยาร่วมกันกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น เป็นหนี้ร่วมธรรมดา แม้สามีภริยาต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วมก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่หนี้ร่วมตามนัยแห่ง ปพพ. 1490 ดังนั้น การที่ผู้เสียหายฟ้องสามีหรือภริยาเพียงคนเดียวและยึดสินสมรสออกขายทอดตลาด ภริยาหรือสามีที่ไม่ได้ถูกฟ้องมีสิทธิขอกันส่วนได้
---- ความหมายของกันส่วน มีความหมาย 2 ประการ คือ
1.การกันส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด
2.การกันส่วนจากตัวทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้
---- สำหรับกรณีการขอกันส่วนของเจ้าของรวม โดยปกติ ต้องกันส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินที่ยึดไว้ ไม่ใช่กันส่วนจากที่ดินที่ถูกยึดบังคับคดี
กรณีทรัพย์สินที่ยึดนั้นเป็นที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นที่ดินที่มีหนังสือสำคัญเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือที่ดินมือเปล่า หรือที่ดินที่มีหนังสือสำคัญเป็นโฉนดที่ดิน ถ้าผู้ร้องกับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินนั้นเป็นส่วนสัดแล้ว ผู้ร้องย่อมขอกันส่วนที่ดินส่วนที่ตนครอบครองออกก่อนออกขายทอดตลาดได้ ไม่ใช่กันส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดิน
---- ถ้าเพียงแต่ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรกันว่าจะแบ่งแยกการครอบครองที่ดินกันเท่านั้น แต่ไม่มีการแบ่งแยกการครอบครองอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน ถือว่าเจ้าของรวมนั้นครอบครองที่ดินร่วมกันทุกส่วน จึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนที่ดิน
---- ผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนได้อยู่ก่อนตาม ปพพ.มาตรา 1300 **** ถือว่าเป็นสิทธิอื่นๆซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตาม กม.ตามมาตรา 287
---- กรณีสิทธิของบุคคลภายนอกได้ที่ดินมาโดยคำพิพากษาของศาล แม้จะได้มาภายหลังเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินนั้นแล้ว ก็ถือว่าบุคคลนั้นอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ปพพ.มาตรา 1300 และมีสิทธิดีกว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่นำยึดนั้น มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการยึดได้ .... ข้อสังเกตุไม่ได้เป็นเรื่องขอการกันส่วนนะ เป็นเรื่องขอให้เพิกถอนการยึดทั้งหมดเลย .... นี้แหล่ะอำนาจของ1300
---- ผู้มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย ถ้าผู้จะซื้อได้ชำระราคาครบถ้วนและเข้าครอบครองทที่ดินที่จะซื้อแล้ว คงเหลือแต่การจดทะเบียนโอน ถือว่าผู้ที่จะซื้ออยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม 1300 แต่ถ้าเพียงแต่รับมอบที่ดินแล้ว ยังชำระราคาไม่ครบถ้วน ยังถือไม่ได้ว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ปวิพ.287
---- กรณีที่ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในทรัพย์ที่ถูกยึดด้วย เช่น ผู้ที่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ถูกยึดโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ปพพ.1382 ที่ดินนั้นไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว กรณีจึงเข้าเกณฑ์การร้องขัดทรัพย์ตามมาตรา 288 ผู้ที่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์จึงร้องขัดทรัพย์ได้ ตาม 288
กรณีที่ผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน แต่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยึด นั้นยังเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เช่น
-ผู้ครอบครองที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว
-ผู้ได้สิทธิในที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมแล้ว
-ผู้ที่ได้สิทธิในที่ดินตามคำพิพากษา
เหล่านี้กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ร้องขัดทรัพย์ตาม 288 ซึ่งต้องได้ความว่าทรัพย์ที่ยึดไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ถือว่าผู้ที่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน ในกรณีเหล่านี้เป็นผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินตาม 287 จึงร้องขอเข้ามาตาม 287 อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ความบุคคลนั้นอยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อน ศาลก็ต้องเพิกถอนการยึดทรัพย์เช่นเดียวกับการร้องขัดทรัพย์
กรณีเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินออกขายทอดตลาดเพื่อบังคับจำนอง ผู้ร้องจะอ้างว่าได้มีคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งให้โอนกรรมสิทธิที่ดินมาเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนมาขอให้เพิกถอนการบังคับคดีไม่ได้ เพราะสิทธิจำนองของโจทก์เหนือกว่า
---- ปกติถ้าผู้รับจำนองไม่ได้ขอรับชำระหนี้ก่อนตาม 289 การขายทอดตลาดก็ต้องมีภาระจำนองตกติดไปด้วย กม.จึงกำหนดให้ยื่นคำร้องก่อนนำทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาดเพื่อให้มีการขายทอดตลาดโดยปลอดจากภาระจำนองได้ แต่สำหรับเรื่องปรากฏว่ามีการขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยปลอดจำนองไปโดยไม่ปรากฏว่าผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองได้ขอรับชำระหนี้ก่อนขายทอดตลาดตาม 289 กรณีเช่นนี้อาจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายได้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม 287
---- การยื่นคำร้องตาม ปวิพ.287 ไม่ใช่เป็นการร้องขัดทรัพย์ตาม 288 ถือว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ และสำหรับสิทธิในการอุทธรณ์หรือฏีกา กรณียื่นคำร้องตาม ปวิพ.มาตรา 287 เป็นคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฏีกาในข้อเท็จจริง
---- การร้องขัดทรัพย์ มาตรา 288
---- ผู้ที่จะร้องขัดทรัพย์ได้ ต้องเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิเท่านั้น ผู้ที่ถูกโต้แย้งสิทธิอาจเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึดหรือผู้ที่มีส่วนได้เสียตาม กม.ในทรัพย์ที่ยึดก็ได้
---- ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขัดทรัพย์ได้ เช่น
1.ผู้เช่าซื้อ แม้จะยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียแล้ว จึงมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้
2.เจ้าหนี้ผู้ครอบครองที่ดินประกันหนี้ ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินนั้น
3.ผู้ที่ได้กรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครองปรปักษ์
---- ผู้ที่ไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์
1.เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษาในทรัพย์ที่ยึด เท่ากับจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย ร้องขัดทรัพย์ไม่ได้ ...... แต่ระวัง ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บ้านที่ถูกยึดเป็นของผู้ร้องซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมกับบุคคลอื่น โดยจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของรวมในบ้านด้วย ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีอำนาจร้องขัดทรัพย์ได้
2.ทรัพย์ที่ยึดเป็นสินสมรสของผู้ร้องกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา เท่ากับจำเลยเป็นเจ้าของอยู่ด้วย ร้องขัดทรัพย์ไม่ได้
3.ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญร้องขัดทรัพย์ที่เป็นของห้างฯไม่ได้ แม้โฉนดที่ดินจะเป็นชื่อของหุ้นส่วนผู้ร้องขัดทรัพย์ก็ตาม ทั้งนี้เพราะทรัพย์เป็นของห้าง ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่เข้าหลักเกณพ์ตาม 288
4.ผู้รับจำนำร้องขัดทรัพย์ในทรัพย์ที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามาจำนำไม่ได้ เพราะทรัพย์ที่จำนำเป็นของจำเลย ไม่เข้าหลักเกณพ์ตาม 288
5.ผู้มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สินจากจำเลย ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อจึงไม่่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ ,,,,,,,, แต่ถ้าเป็นการทำสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในที่ดินมือเปล่ากันเอง และผู้ซื้อได้เข้าครอบครองที่ดินแล้ว ดังนี้แม้สัญญาซื้อขายจะตกเป็นโมฆะ เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ถือว่าผู้ขายได้โอนสิทธิครอบครองที่ดินให้แก่ผู้ซื้อแล้วโดยการส่งมอบ ผู้ซื้อย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดิน มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้
6.ทรัพย์ที่ยึดไม่เป็นส่วนควบกับที่ดินของผู้ร้อง ร้องขัดทรัพย์ไม่ได้

---- 1701/24 (ประชุมใหญ่) จำเลยนำรถยนต์มาจ้างให้โจทก์ซ่อมและยังไม่ได้รับคืนไป โจทก์ฟ้องและศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่าซ่อม จำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงนำยึดรถยนต์คันนั้นเพื่อขายทอดตลาด ผู้ร้องร้องว่ารถยนต์เป็นของผู้ร้องขอให้ปล่อยการยึด เมื่อศาลวินิจฉัยว่าเป็นของผู้้ร้องซึ่งไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ โจทก์จะยึดทรัพย์ของผู้ร้องมาขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้เป็นการไม่ชอบ จึงนำเรื่องสิทธิยึดหน่วงมาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้ มีคำสั่งให้ถอนการยึด เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์คัดค้าน คดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยต้องคืนรถยนต์ให้ผู้ร้องผู้เป็นเจ้าของ ไม่มีสิทธิยึดหน่วงไว้อีกต่อไป
---- แม้จะได้ความว่าทรัพย์ที่ถูกยึดนั้นเป็นของผู้ร้องขัดทรัพย์จริง แต่ผู้ร้องขัดทรัพย์เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนออกนอกหน้าเป็นตัวการ นำทรัพย์ดังกล่าวไปจำนอง ผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์ให้เสื่อมสิทธิของผู้รับจำนองไม่ได้
---- ต้องมีการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ฯ ออกขายทอดตลาด --- กรณีที่จะร้องขัดทรัพย์ได้ ต้องมีการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อนำออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบทรัพย์ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองตาม 296 ตรี ไม่ใช่เป็นการยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาด จึงร้องขัดทรัพย์ไม่ได้
---- กรณีอายัดสิทธิเรียกร้อง การที่ผู้ร้องอ้างว่าตนเป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ศาลสั่งอายัดไว้ ไม่ใช่การยึดทรัพย์เพื่อนำออกขายทอดตลาด ไม่เป็นการร้องขัดทรัพย์ และไม่ใช่บุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นที่ผู้ร้องอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตาม 287
---- การร้องขอให้เพิกถอนหรือยกเลิกการขายทอดตลาด มีความมุ่งหมายหรือมีผลให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดแก่ผู้ร้อง กรณีเป็นเรื่องร้องขัดทรัพย์ตาม ปวิพ.มาตรา 288 ซึ่ง กม.บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ไม่ใช่กรณีร้องขอให้เพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีตาม ปวิพ.296 วรรคสองประกอบ 27 ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาด
---- ฏีกาคนแบกกุ้ง (ยังกะชื่อน้ำปลา) 2648/47 คำร้องของผู้ร้องที่กล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่ยึด มีผลเท่ากับขอให้ศาลปล่อยทรัพย์ที่ยึดซึ่งจะต้องยื่นก่อนเอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาดตาม 288 แต่ทรัพย์สินที่ยึดเป็นกุ้งกุลาดำซึ่งเป็นของสดของเสียได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงดำเนินการขายทอดตลาดในวันที่โจทก์นำยึดตามมาตรา 308 วรรคสอง ทำให้ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องได้ทันก่อนขายทอดตลาด แต่การที่ผู้ร้องอ้างว่ากุ้งกุลาดำเป็นของผู้ร้อง เป็นการอ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ใช่ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา การบังคับคดีจึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ปวิพ.ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ผู้ร้องในฐานะผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีนั้นได้ ก่อนการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบการฝ่าฝืนนั้นตาม 296 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องเกินกำหนดดังกล่าวเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ กรณีไม่ใช่การยื่นคำร้องตามมาตรา 288 ประกอบ 296 ตรี วรรคสองและวรรคสาม เพราะไม่ใช่การบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ให้ขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์
---- ตามมาตรา 288 ที่ว่า เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำร้องเช่นว่านี้ให้งดการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่พิพาทนั้นไว้ระหว่างรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล หมายถึงการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นเท่านั้น
---- ประเด็นในคำร้องขัดทรัพย์มีว่า ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เป็นของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ ดังนี้ โจทก์จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอน น.ส.3 ไม่ได้ หรือ ผู้ร้องขัดทรัพย์จะเรียกค่าเสียหายในการที่ถูกยึดทรัพย์มาในคำร้องขัดทรัพย์ด้วยไม่ได้ ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ ..... แต่ทางฝ่ายโจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าผู้ร้องได้ทรัพย์มาโดยไม่สุจริต เป็นการฉ้อฉล ตาม ปพพ.มาตรา 237 ได้ โดยไม่ต้องให้เจ้าหนี้ฯ ไปฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลเป็นคดีใหม่ เพราะเกี่ยวกับประเด็นที่ว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของจำเลยหรือไม่
---- การขอทุเลาการบังคับและขอคุ้มครองประโยชน์ในชั้นร้องขัดทรัพย์ ถ้าศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องขัดทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ไปได้ ผู้ร้องขัดทรัพย์จะขอทุเลาการบังคับไม่ได้ เพราะเมื่อศาลยกคำร้องขัดทรัพย์ (เท่ากับพิพากษายกฟ้อง)ก็ไม่มีอะไรที่ผู้ร้องต้องถูกบังคับคดีอีก หากผู้ร้องประสงค์จะให้งดการขายทอดตลาดไว้ก่อน ก็ต้องยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตาม 264 ไม่ใช่ขอทุเลาการบังคับตาม 231 แต่แม้จะยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับตาม 231 ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้คุ้มครองตาม 264 ได้
---- การขอรับชำระหนี้จำนอง มาตรา 289
---- "กรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์ หรือบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้ไปจดทะเบียนไว้นั้น ให้ยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด ส่วนในกรณีอื่นๆให้ยื่นคำร้องขอเสียก่อนส่งคำบอกกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 319" --- เจ้าหนี้จำนองต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ ก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด โดยถือว่าวันที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินได้แล้วเป็นเกณฑ์
---- การขอรับชำระหนี้จำนองก่อน ตาม 289 ไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนองตาม ปพพ.มาตรา 728
---- การขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290 ผู้ร้องต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าตนไม่สามารถเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยด้วย หลักเกณฑ์ของมาตรา 289 และ 290 จึงแตกต่างเป็นคนละกรณีกัน การที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 289 เมื่อไม่เข้าหลักเกณฑ์ ศ.จะอนุญาตให้เข้าเฉลี่ยทรัพย์ตาม 290 ไม่ได้ ...... แต่ถ้าเนื้อหาคำร้องเป็นเรื่องการขอรับชำระหนี้ตาม 289 แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นการขอกันส่วนตาม 287 เป็นคำร้องที่ชอบจะรับไว้พิจารณาได้
---- การขอเฉลี่ยทรัพย์ มาตรา 290
---- ห้ามยึดหรืออายัดซ้ำ -- การห้ามยึดหรืออายัดซ้ำนั้นต้องเป็นกรณียึดหรืออายัดระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน
---- ผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่น -จึงจะมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ได้ แต่ต้องไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีอำนาจเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ ดังนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่บังคับให้ลูกหนี้โอนสิทธิให้นั้นเป็นผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนได้อยู่ก่อนตาม ปพพ.1300 มีิสิทธิร้องขอให้ถอนการยึดตาม ปวิพ.287 อยู่แล้ว จึงไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตาม 290 อีก
---- เมื่อมีการยึดหรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นย่อมมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ฯดังกล่าวได้ทันที แม้คำพิพากษาของเจ้าหนี้ที่นำมาขอเฉลี่ยยังไม่ออกคำบังคับหรือหมายบังคับคดี หรือยังไม่ครบกำหนดเวลาในคำบังคับก็ตาม
---- เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอม แม้จำเลยยังไม่ได้ผิดนัดตามสัญญายอม ก็มีสิทธิของเฉลี่ยทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์นำยึดไว้ได้
---- กรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกันในคดีอาญา ถือว่าแผ่นดินเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นขอเฉลี่ยตาม 290 ได้
---- ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ยึดทรัพย์ไว้เป็นเจ้าหนี้จำนอง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะขอเฉลี่ยโดยตรงไม่ได้เพราะเจ้าหนี้จำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อน แต่ศาล
ฏีกาก็นำมาตรา 290 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้ผู้ขอเฉลี่ยมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่เหลือจากการชำระหนี้ให้เจ้าหนี้จำนองแล้ว
---- ต้องขอเฉลี่ยจากทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดไว้ด้วย หากเป็นเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ จะขอเฉลี่ยไม่ได้
---- การร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่ง จึงต้องร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาในคดีของเจ้าหนี้ที่ขอเฉลี่ยทรัพย์ตาม 271 เมื่อร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ภายใน 10 ปี แล้ว แม้การบังคับคดีไม่แล้วเสร็จจนเลย 10 ปี คำร้องขอเฉลี่ยก็ไม่สิ้นผล
---- หลักเกณฑ์การขอเฉลี่ยทรัพย์ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
1.ผู้ขอเฉลี่ยไม่สามารถเอาชำระจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
2.ต้องขอเฉลี่ยภายในกำหนดเวลา
3.เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องงดการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินจนกว่าศาลจะมีคำสั่ง
---- "ไม่ว่าในกรณีใดๆห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำขอเช่นว่ามานี้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าผู้ยื่นคำขอไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่นๆของลูกหนี้ตามคำพิพากษา"-- ข้อโต้แย้งตาม 290 วรรคสอง เป็นข้อโต้แย้งของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีสิทธิยกขึ้นโต้แย้งคัดค้าน
---- "เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตาม กม.ว่าด้วย ภาษีอากรในอันที่จะสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อชำระหนี้ภาษีอากรค้าง ให้มีสิทธิขอเฉลี่ยในทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานดังกล่าวได้ยึดหรืออายัดไว้ก่อนเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามความในวรรคหนึ่ง
แต่ถ้าเจ้าพนักงานไม่ได้ยึดหรืออายัดไว้ก่อน ให้ขอเฉลี่ยได้ภายในบังคับของบทบัญญัติวรรคสอง"
---- โจทก์มีสิทธิคัดค้านได้ว่าหนี้ที่ผู้ร้องนำมาขอเฉลี่ยนั้นเกิดจากการสมยอมกัน โดยโจทก์ไม่ต้องไปฟ้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลใหม่
---- กำหนดเวลาขอเฉลี่ย มาตรา 290 วรรคสี่ถึงวรรคหก
---- กรณีมีการร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด

----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----
----























































พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
ผบ.ร้อย ฝ่ายปกครอง ๑ (กองร้อยที่ ๔)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น