วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปย่อพยานหลักฐาน เตรียมสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา

สรุปย่อพยานหลักฐาน
เรื่องภาระการพิสูจน์ (กล่าวคือ มีเรื่องของการได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมาย)
ประเด็นในคดีละเมิด ซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้เป็นเรื่องที่น่าสังเกตุในเรื่องของลักษณะของการบังคับ
๑) หากจำเลยให้การปฏิเสธชัดแจ้งถึงเงื่อนไขแห่งข้อสันนิษฐาน โจทก์จะต้องพิสูจน์ให้เข้าเงื่อนไขนั้นเสียก่อน จึงจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐาน
๒) กรณีเป็นยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลทั้งสองฝ่าย จะนำข้อสันนิษฐานตาม ปพพ.มาตรา ๔๓๗ มาใช้บังคับไม่ได้ ต้องกลับไปใช้หลักที่ว่าฝ่ายใดกล่าวอ้าง ฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ (โจทก์มีภาระการพิสูจน์)
๓) กรณีที่จำเลยรับว่ากระทำละเมิดจริง แต่อ้างเหตุที่ไม่ต้องรับผิดหรือเหตุลดหย่อนค่าสินไหมทดแทน ถือว่าจำเลยยอมรับกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ จำเลยจึงเป็นฝ่ายที่มีภาระการพิสูจน์

ประเด็นในคดีทีพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สิน
๑) กรณีสังหาริมทรัพย์ -- มาตรา ๑๓๖๙ (ผู้ครอบครองสังหาริมทรัพย์ ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นเจ้าของทรัพย์นั้น
๒) กรณีอสังหาริมทรัพย์ -- บุคคลผู้มีชื่อในทะเบียน , โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ยังเป็นเอกสารมหาชนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ซึ่งใน ป.วิ.พ.มาตรา ๑๒๗ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องอีกด้วย / แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (สค.๑) เป็นหลักฐานที่รับฟังได้ว่าแต่เพียงขณะแจ้งการครอบครอง ผู้แจ้งอ้างว่าที่ดินเป็นของผู้แจ้งที่ดิน ตาม แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑)
๓) หากไม่ได้พิพาทกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองจะนำข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้ แต่เป็นไปตามหลักทั่วไปที่ว่า "ฝ่ายใดกล่าวอ้าง ฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์

--ภาระการพิสูจน์ในคดีอาญา--
๑) ประเด็นที่ว่า "จำเลยกระทำความผิดตามฟ้ืองหรือไม" โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำความผิด เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์จึงมีภารกิจการพิสูจน์ --- รวมถึง เรื่อง การกระทำโดยป้องกัน และ จำเลยไม่ให้การเลยถือว่าเป็นการปฏิเสธเช่นเดียวกัน
๒) ประเด็นเรื่อง เหตุยกเว้นโทษ หรือ เหตุลดโทษ แม้หากจำเลยไม่ให้การศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง หากจำเลยให้การต่อสู้เรื่องดังกล่าว เช่น เรื่องป้องกัน, อ้างเหตุบันดาลโทสะ จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์
๓) ประเด็นเรื่อง อายุความ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย (ศาลยกได้เอง อีกแล้วครับท่าน)
หากจำเลยให้การยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ ย่อมถือว่าจำเลยปฏิเสธอำนาจฟ้องของโจทก์ โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์
๔) ประเด็นเรื่อง อำนาจฟ้อง กรณีที่พนักงานอัยการเป็ฯโจทก์ จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ตามระเบียบ ย่อมถือว่าไม่มีประเด็ฯที่โจทก์จะต้องนำสืบ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีนั้นได้ , แต่ถ้าจำเลยให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าว ปกติต้องถือว่า โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๔/๑ ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา ๑๕
--บางกรณีที่ ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย--
๑. จำเลยให้การว่าสิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปแล้ว เพราะได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ด
ขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง ตาม ๓๙(๔) ย่อมถือว่า จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ ภาระการพิสูจน์
ตกแก่จำเลยจะต้องนำสำเนาคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดมาแสดง
๒. จำเลยส่งสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยต่อศาลในคดีความผิดต่อส่วนตัว
โดยจำเลยแถลงว่า สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปแล้ว เพราะเป็นการยอมความ โจทก์ร่วม
แถลงรับว่าทำสัญญานั้นจริง แต่ทำด้วยความสำคัญผิด ดังนี้ ถือว่า โจทก์ร่วมยอมรับ แล้วกล่าวอ้างข้อ
เท็จจริงขึ้นใหม่
๕) คดีร้องขอคืนของกลาง ผู้ร้องเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าทรัพย์ที่ศาลสั่งริบเป็นของผู้ร้อง และผู้ร้องไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องจึงมีภาระการพิสูจน์

---พยานหลักฐานที่รับฟังได้---



---การยื่นบัญชีระบุพยาน
-มาตรา ๘๘ วรรคหนึ่ง - การยื่นบัญชีระบุพยานในคดีแพ่ง
-มาตรา ๘๘ วรรคสอง - การยื่นบัญชีระบุพยานเพ่ิมเติม
ฏีกาที่ ๒๕๘๑/๑๕ บัญชีระบุพยานของจำเลยอ้างพินัยกรรมที่เจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้รักษา ซึ่งเป็นสำเนาพินัยกรรมที่จำเลยรับรองและยื่นไว้ โดยไม่ได้ระบุต้นฉบับพินัยกรรมที่มีอยู่ที่จำเลย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะส่งต้นฉบับพินัยกรรมเป็นพยานต่อศาล ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ , เมื่อต้นฉบับพินัยกรรมมีอยู่ สำเนาพินัยกรรมที่เรียกจากเจ้าพนักงานที่ดินย่อมรับฟังไม่ได้ ป.วิ.พ.มาตรา ๙๓ และจะรับฟังพยานบุคคลว่ามีการทำพินัยกรรมไม่ได้ เพราะเป็นกรณีที่ กฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง และไม่ใช่กรณีที่หาต้นฉบับเอกสารไม่ได้ ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา ๙๔
****ฏีกา ๒๒๙๕/๔๓ จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ ๒ ระบุ อ. เป็นพยานเพ่ิมเติม ซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความได้ แม้ต่อมา จำเลยจะแถลงต่อศาลว่า ติดใจสืบพยานอีกเพียง ๓ ปากซึ่งไม่รวมถึง อ. ด้วย อันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงไว้ก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้ และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพ่ิมเติมนั้น ไม่ใช่เป็ฯการอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพ่ิมเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ.ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้ การที่ จำเลยนำ อ. เข้าเบิกความจึงชอบแล้ว
-เมื่อยื่นบัญชีระบุพยานบุคคลโดยชอบแล้ว แม้ภายหลังพยานจะย้ายที่อยู่ใหม่ ก็ไม่ต้องแก้ไขบัญชีระบุพยานอีก / การเปลี่ยนตัวผู้รับมอบอำนาจในการดำเนินคดีใหม่ ถือเป็นสิทธิตามกฎหมายของคู่ความที่จะกระทำในเวลาใดก็ได้กรณีไม่จำต้องแก้ไขฟ้องหรือระบุอ้างหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่ในบัญชีระบุพยานอีก
การยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญา
การยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญา มี ๒ กรณี คือ
ก.หากคดีอาญานั้นศาลกำหนดให้มีวันนัดตรวจพยานหลักฐาน คู่ความทุกฝ่ายจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา ๑๗๓/๑
ข.หากคดีอาญานั้นศาลไม่ได้กำหนดให้มีวันนัดตรวจพยานหลักฐาน คู่ความทุกฝ่ายก็จะต้องยื่นบัญชีระบุพยานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๙/๑

(มาตรา ๑๗๓/๑ เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรมในคดีที่จำเลยไม่ให้การหรือให้การปฏิเสธ เมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอหรือศาลเห็นสมควร ศาลอาจกำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานก่อนกำหนดวันนัดสืบพยานก็ได้ โดยแจ้งให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๔ วัน
ก่อนวันตรวจพยานหลักฐานตามวรรคหนึ่งไม่น้อยกว่า ๗ วัน ให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลพร้อมสำเนาในจำนวนที่เพีิยงพอ เพื่อให้คู่ความฝ่ายอื่นรับไปจากเจ้าพนักงานศาลและถ้าคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงจะยื่นบัญชีระบุพยานเพ่ิมเติม ให้ยื่นต่อศาลก่อนการตรวจพยานหลักฐานเสร็จสิ้น
การยื่นบัญชีระบุพยานเพ่ิมเติมเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามวรรคหนึ่งจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อผู้ร้องขอแสดงเหตุอันสมควรว่าไม่สามารถทราบถึงพยานหลักฐานนั้นหรือเป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมหรือเพื่อให้โอกาสแก่จำเลยในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่
ถ้าพยานเอกสารหรือพยานวัตถุใดอยู่ในความครบอครองของบุคคลภายนอก ให้คู่ความที่ประสงค์จะอ้างอิงขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกพยานเอกสารหรือพยานวัตถุดังกล่าว มาจากผู้ครองครองโดยยื่นคำขอต่อศาลพร้อมกับการยื่นบัญชีระบุพยานเพื่อให้ได้พยานเอกสารหรือพยานวัตถุนั้นมาก่อนวันตรวจพยานหลักฐานหรือวันที่ศาลกำหนด)
(มาตรา ๒๒๙/๑ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๗๓/๑ ในการไต่สวนมูลฟ้องหรือการพิจารณาโจทก์ต้องยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐาน โดยแสดงถึงประเภทและลักษณะของวัตถุ สถานที่พอสังเขปหรือเอกสารเท่าที่จะบุได้ รวมทั้งรายชื่อ ที่อยู่ของบุคคลหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งโจทก์ประสงค์จะนำสืบ และขอให้ศาลไปตรวจหรือแต่งตั้งต่อศาลไม่น้อยกว่า ๑๕ วันก่อนวันไต่สวนมูลฟ้องหรือวันสืบพยาน พร้อมทั้งสำเนาบัญชีระบุพยานหลักฐานดังกล่าวในจำนวนที่เพียงพอเพื่อให้จำเลยรับไป ส่วนจำเลยให้ยื่นบัญขีระบุพยานหลักฐานพร้อมสำเนาก่อนวันสืบพยานจำเลย
ในการไต่สวนกรณีร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบหรือกรณีร้องขอให้ศาลริบทรัพย์ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานต่อศาลไม่น้อยกว่า ๗ วันก่อนวันไต่สวนมูลฟ้องพร้อมทั้งสำเนาบัญชีระบุพยานหลักฐานดังกล่าวในจำนวนที่เพียงพอเพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ถ้ามี รับไป
เมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้วแต่กรณี ได้สิ้นสุดลง ถ้าคู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งได้ยืนบัญชีระบุพยานหลักฐานไว้แล้ว มีเหตุอันสมควรแสดงได้ว่าตนไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานหลักฐานบางอย่างมาสืบ หรือไม่ทราบว่าพยานหลักฐานได้มีอยู่ หรือมีเหตุอันสมควรอื่นใด หรือถ้าคู่ความ

ข้อน่าสังเกตุเกี่ยวกับการยื่นบัญชีระบุพยาน
-หากคู่ความประสงค์จะยื่นบัญชีระบุพยานเพ่ิมเติม จะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๙/๑ วรรคสามเท่านั้น
-สำหรับโจทก์ หากเคยยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้วในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ย่อมถือได้ว่าเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานตลอดทั้งเรื่อง โดยถือเท่ากับเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรก ต่อมาศาลมีคำสั่งประทับรับฟ้องไว้พิจารณา โจทก์ไม่จำต้องยื่นบัญชีระบุพยานอีก ก็สามารถนำพยานหลักฐานที่เคยระบุไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง มาสืบในชั้นพิจารณาได้ (๒๘๐/๐๕(ป.)) - ถ้าโจทก์ประสงค์จะอ้างพยานหลักฐานเพ่ิมเติมอีกในชั้นพิจารณา มีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานได้ก่อนวันสืบพยานนไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๙/๑ วรรค ๑ โดยถือว่า เป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นนเอง โดยโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๙/๑ วรรคสามเลย .... แต่หากโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน กรณีจึงต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๙/๑ วรรค ๓ ที่กำหนดให้โจทก์ต้องยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาล ไม่ว่าเวลาใดๆก่อนเสร็จสิ้นการสืบพยานของฝ่ายโจทก์
-การไต่สวนคำร้อง คำขอปลีกย่อย เฉพาะแต่การไต่สวนคำร้องขอคืนของกลาง หรือคำสั่งขอให้ศาลริบทรัพย์เท่านั้น ที่จะต้องมีการยื่นบัญชีระบุพยานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๙/๑ วรรคสอง หากเป็นคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราว ไม่จำต้องมีการยื่นบัญชีระบุพยาน ก็สามารถนำพยานหลักฐานมาสืบในวันนัดไต่สวนได้
-ผู้เสียหายที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ ย่อมมีฐานะเป็นโจทก์ จึงเป็นคู่ความในคคดี มีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานได้ด้วย
-คดีที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ปฏิเสธเป็นคดีใหม่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๗๖ วรรคสอง โจทก์ต้องยื่นบัญชีระบุพพยานในสำนวนคดีใหม่ด้วย จะนำบัญชีระบุพยานยื่นไว้ในคดีเดิมมาใช้ไม่ได้
-สิ่งที่อยู่นอกขอบเขตของการยื่นบัญชีระบุพยาน
๑.สิ่งที่ไม่ใช่พยานหลักฐาน เช่น รายงานความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ , คำแปลเอกสารต่างประเทศไม่ใช่พยานหลักฐานโดยตรง
๒.การยื่นพยานเอกสารประกอบการถามค้าน ไม่ใช่เป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน แต่เป็นพยานหลักฐานที่ยื่นเพื่อทำลายน้ำหนัก พิสูจน์ต่อพยานของอีกฝ่ายหนึ่ง ตามป.วิ.พ.มาตรา ๘๙ และ ๑๒๐ จึงไม่อยู่ในบังคับ ป.วิ.พ.มาตรา ๘๘ และ ๙๐
๓.กรณีที่คู่ความได้แนบสำเนาเอกสารไปท้ายคำคู่ความแล้ว ถือว่า สำเนาเอกสารนั้นเป็นส่วนหนึ่งของคำคู่ความ ย่อมเห็นเจตนาของคู่ความได้ว่ามีความจำนงจะอ้างอิงพยานเอกสารนั้นสนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงในคำคู่ความของตนแล้ว จึงไม่จำต้องระบุอ้างไว้ในบัญชีพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๘๘ อีก รวมทั้งไม่จำเป็นต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา

องค์ประกอบของพยานเอกสารแยกพิจารณาดังต่อไปนี้
๑.ต้องมีสิ่งที่รองรับข้อความ
๒.ต้องมีตัวข้อความที่ทำให้ปรากฏความหมาย ตัวเลข ตัวอักษร ผังหรือแผนแบบอย่างอื่น ไม่ว่าโดยวิธีการพิมพ์ ถ่ายภาพหรือวิธีอื่นใด เป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น
๓.ต้องสามารถรับรู้ความหมายได้ โดยการเห็นหรือจักษุประสาท

วิธีการนำสืบพยานเอกสาร (ในคดีแพ่ง)
๑.ระบุไว้ในบัญชีพยาน มาตรา ๘๘
๒.ส่งสำเนาเอกสารล่วงหน้า มาตรา ๙๐
๓.




































































พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
ผบ.ร้อย ฝ่ายปกครอง ๑ (กองร้อยที่ ๔)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น