วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กม.ล้มละลาย ย่อตัวบท ในภาพรวม

กม.ล้มละลาย ย่อตัวบท ในภาพรวม
สรุปหัวข้อสำคัญ มี 3 ส่วน
1. ก่อนล้มละลาย

การขอรับชำระหนี้
-มาตรา 91 เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน
-มาตรา 92 บุคคลได้รับความเสียหายเนื่องจากทรัพย์ถูกยึด 109(3) หรือการโอนทรัพย์สิน หรือ การกระทำที่ถูกเพิกถอนตาม ๑๑๕ จพท.ไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตาม ๑๒๒ มีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับราคาสิ่งของหรือหนี้เดิมค่าเสียหาย ภายในกำหนด ๙๑ แต่ให้นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ได้ ถ้าข้อเถียงเป็นคดีให้นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
-มาตรา 94 เจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่
๑.หนี้เกิดขึ้นโดยข้อห้ามตามกฏหมาย
๒.หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำ เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
-มาตรา 95 เจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อนพิทักษ์ทรัพย์ โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้
-มาตรา 100 ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้น ไม่ถือว่าเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้
-มาตรา 101 ถ้าลูกหนี้ร่วมบางคนถูกพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ร่วมคนอื่นอาจยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหลังได้ เว้นแต่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว ใช้ด้วยกับผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันร่วม บุคคลอื่นลักษณะเดียว
-มาตรา 102 ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าไม่มีวัตถุอย่างเดียว เงื่อนไข เงื่อนเวลา -- ก็อาจหักกลบลบหนี้กันได้ เว้นแต่เจ้าหนี้ได้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
-มาตรา 104 เมื่อพ้นกำหนดเวลา ๒ เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จพท.นัด ล/น จ/น มาพร้อมกันเพื่อตรวจคำขอรับชำระหนี้ โดยแจ้งความให้ทราบไม่น้อยว่า ๗ วัน
-ม.105 จพท.มีอำนาจเรียก จ/น ล/น คนใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สิน แล้วทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินทที่ขอรับชำระนั้นต่อศาล พร้อมทั้งรายงานว่ามีผู้โต้แย้งขอรับชำระหนี้หรือไม่
-ม.106 คำขอรับชำระหนี้ ที่มีผู้โต้แย้ง ศาลสั่ง ยกคำขอ / อนุญาตตามคำขอเต็ม / อนุญาตตามคำขอบางส่วน
-ม.107 คำขอที่ศาลสั่งโดยผิดหลง เมื่อ จพท.มีคำขอ ศาลมีอำนาจยกคำขอรับหรือลดจำนวนหนี้ที่ได้สั่งอนุญาตไปแล้ว
ทรัพย์สินซึ่งอาจเอามาชำระหนี้
ม.109 ทรัพย์ต่อไปนี้ ถือเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้
1)ทรัพย์ที่ลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเร่ิมต้นแห่งการล้มละลาย (วันที่สั่งพิทักษ์ฯ
2)ทรัพย์ที่ได้มาภายหลังเวลาเร่ิมต้นแห่งการล้มละลาย
3)สิ่งของที่อยู่ในครอบครองหรืออำนาจสั่งการหรือสั่งจำหน่ายของ ลูกหนี้ ในทางการค้าหรือธุรกิจของลูกหนี้ ด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้อันแท้จริง
ผลของการล้มละลายเกี่ยวกับกิจการที่กระทำไปแล้ว
ม.110 คำสั่งที่ให้ยึด/อายัด , หมายบังคับ ยันแก่ จพท. ไม่ได้ เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การบังคับคดีให้ถือว่าสำเร็จบริบูรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตาม วิแพ่ง บทบัญญัตินี้ ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์เป็นหลักประกัน , การที่ผู้ชำระเงินโดยสุุจริตแก่ศาล/จพค. หรือถึงความสมบูรณ์ในการซื้อโดยสุจริตจากการขายทอดตลาด
ม.111 จพค.จำหน่ายทรัพย์แล้วแต่ยังไม่จ่ายเงิน ได้รับแจ้งความได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อนที่การบังคับคดีสำเร็จ ให้ จพค. กักเงินไว้ ต่อมาพิทักษ์ฯเด็ดขาด ให้ จพค.คิดหักเงินค่าใช้จ่าย ,ธรรมเนียม เหลือให้ส่งเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลาย
ม.112 ระหว่างการบังคับคดียังไม่สำเร็จ จพค. ได้รับคำแจ้งความว่าลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ให้ จพค. แจ้งรายการทรัพย์ของลูกหนี้ที่อยู่ในอำนาจ/ยึดถือ แก่ จพท. และปฏิบัติตามคำขอของ จพท.
ม.113 การขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉล
ม.114 นิติกรรมที่ขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ๑๑๓
เกิดระยะเวลา 1 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มฯและภายหลังนั้น
การทำให้โดยเสน่หา,ล/น ได้รับค่าตอบแทนน้อยเกิดควร
ให้สันนิษฐานก่อนว่า เป็นการกระทำที่ลูกหนี้หรือผู้ที่ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้ จ/น ต้องเสียเปรียบ
ม.115 การโอนทรัพย์สิน ซึ่งลูกหนี้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ ๓ เดือนก่อนมีการขอให้ล้มฯ และภายหลังจากนั้น มุ่งหมายให้เจ้าหนี้รายใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้่อื่น ถ้า จพท.มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนการโอนหรือการกระทำนั้นไม่ได้
ม.116 บทบัญญัติในมาตรา ๑๑๕ ไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายหลังอันได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย
การรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สิน
ม.117 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ศาล/จพท.มีอำนาจออกหมายเรียกลูกหนี้คู่สมรสของลูกหนี้ หรือบุคคลใดที่ได้ความหรือสงสัยว่ามีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครอง
ม.118 เมื่อ จพท.มีคำขอ ศาลมีอำนาจบังคับให้บุคคลที่รับว่าเป็นหนี้ลูกหนี้หรือรับว่ามีทรัพย์สินของ ล/น อยู่ในครอบครอง ชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ จพท.
***** ม.119 เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลใดมาชำระเงิน / ส่งมอบทรัพย์สินแก่ลูกหนี้ ให้ จพท. แจ้งความเป็นหนังสือไปยังบุคคลนั้นให้ชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์ และให้แจ้งเป็นด้วยว่า ถ้าจะปฏิเสธให้แสดงเหตุผลประกอบข้อปฏิเสธเป็น นส. ยัง จพท.ภายใน ๑๔ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้
บุคคลได้รับแจ้งความปฏิเสธหนี้ต่อ จพท. ภายในเวลา ว.ก่อน ให้ จพท.สอบสวน เมื่อเห็นว่าบุคคลนั้นไม่ได้เป็นหนี้ ให้จำหน่ายชื่อจากบัญชีลูกหนี้และแจ้งให้บุคคลนั้น ถ้าเห็นว่าบุคคลนั้นเป็นหนี้เท่าใด แจ้งจำนวนเป็นหนังสือยืนยันไปยังบุคคลที่จะต้องรับผิดนั้น และแจ้งไปด้วยว่าจะคัดค้านประการใด ให้ร้องขอต่อศาลภายใน ๑๔ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความ
บุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันคัดค้านต่อศาล โดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดเวลาตาม ว.ก่อน ให้ศาลพิจารณา ถ้าพอใจว่าเป็นหนี้ ให้มีคำบังคับให้บุคคลนั้นมาชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ จพท. ถ้าเห็นว่าไม่เป็นหนี้ มีคำสั่งจำหน่ยจากบัญชีลูกหนี้
บุคคลที่ได้รับแจ้งความจาก จพท. ไม่ได้ปฏิเสธต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่ได้ร้องคัดค้านต่อศาลตามกำหนดเวลาดังกล่าว จพท. มีคำขอต่อศาลให้บังคับให้บุคคลนั้นชำระหนี้ภายในกำหนด
บุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ จพท. ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเสมือหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ม.121 ลูกหนี้เป็นข้าราชการ เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จพท. มีสิทธิได้รับเงินเดือน บำนาญ บำเหน็จ ของ ล/น เพื่อรวบรวมแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ได้ แต่ จพท.จะต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพลูกหนี้และครอบครัวตามฐานานุรูป
ม.122 ภายใน ๓ เดือน นับแต่วันที่ จพท. ทราบว่า ทรัพย์สินของ ล/น หรือสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ จพท. มีอำนาจไม่ยอมรับทรัพย์สิน
บุคคลได้รับความเสียหายโดยเหตุที่ จพท. ไม่ยอมรับดังกล่าว มีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายได้ (มาตรา ๙๒)
การแบ่งทรัพย์สิน
ม.130 การแบ่งทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ ให้ชำระค่าใช้จ่ายและหนี้สิน
1)ค่าใช้จ่ายในการจัดการมรดก ล/น
2)ค่าใช้จ่าย จพท. ในการจัดการทรัพย์
3)ค่าปลงศพลูกหนี้
4)ค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์ศิน
5)ค่าธรรมเนียมของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และค่าทนายความ
6)ค่าภาษีอาการถึงกำหนดชำระภายใน ๖​ เดือน
7)หนี้อื่น
ถ้ามีเงินไม่พอชำระเต็มจำนวนหนี้ในลำดับใดให้เจ้าหนี้ในลำดับนั้นได้รับเฉลี่ยตามส่วน
ม.130 ทวิ ถ้าหนี้ตาม 130(7) รายใดมีการกำหนดโดยกฎหมายหรือสัญญาให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ต่อเมื่อเจ้าหนี้อื่นได้
การปิดคดี
ม.133 เมื่อ จพท. แบ่งทรัพย์ลูกหนี้ หรือได้หยุดกระทำการตามข้อตกลงในการประนอมหนี้หรือเมื่อลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินจะแบ่ง จพท.ทำรายงานยื่นต่อศาลและขอให้ศาลสั่งปิดคดี
ม.134 คำสั่งผิดคดีมีผลเพียงให้ระงับการจัดการ แต่ไม่ทำให้คดีล้มละลายสิ้นสุด และไม่ทำให้ จพท. หลุดพ้นจากหน้าที่
1)หน้าที่ตาม ม.160
2)หน้าที่อนุมัติการใดๆที่ กม.บัญญัติไว้
3)หน้าที่ตรวจบัญชีรับจ่ายของบุคคลล้มละลาย
การยกเลิการล้มละลาย
***** ม.135 เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือ จพท. มีคำขอ ศาลอาจสั่งยกเลิกการล้มละลาย ปรากฏเหตุ
(ล/นไม่หลุดพ้น) 1)เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจดำเนินการให้ได้ผล เพราะ จ/น ผผู้เป็นโจทก์ ไม่ช่วยหรือยอมเสียค่าธรรมเนียม , ค่าใช้จ่าย , วางเงินประกัน ที่ จพท.เรียกร้อง และไม่มีเจ้าหนี้อื่นสามารถและเต็มใจกระทำการดังกล่าว ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่จ/นโจทก์ขัดขืน
(ล/นไม่หลุดพ้น) 2)ลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย
(ล/น หลุดพ้น) 3)หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว
(ล/น หลุดพ้น) 4)เมื่อ จพท. ได้แบ่งทรัพย์ครั้งที่สุด หรือ ไม่มีทรัพย์สินจะแบ่งให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ต่อแต่นั้นมาภายในกำหนดเวลา 10 ปี จพท. ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายได้อีก และไม่มีเจ้าหนี้มาขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดการรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้มลายอี

2. กรณีพิเศษ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (อำนาจหน้าที่)
ม.145 จพท.จะกระทำการดังต่อไปนี้ ต่อเมื่อได้รับความเห็นของกรรมการ
1) ถอนการยึดทรัพย์ในคดีล้ม
2) โอนทรัพย์สินนอกจากวิธีขายทอดตลาด
3) สละสิทธิ
4) ฟ้อง/ถอนฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มฯ ฟ้อง/ถอนคดีล้ม
5) ประนีประนอมยอมความหรือมอบคดีให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
***** ม.146 ถ้าบุคคลล้มละลาย จ/น บุคคลใดที่ได้รับความเสียหายโดยการกระทำ หรือ คำวินิจฉัยของ จพท. บุคคลอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลภายใน 14 วันนับแต่วันที่ทราบการกระทำหรือคำวินิจฉัยนั้น ศาลมีอำนาจสั่ง ยืน กลับ แก้ไข หรือสั่งประการใด


กม.ฟื้นฟูกิจการ
กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
1)คำนิยามศัพท์
ม.90/1
ม.90/3 เมื่อ ล/น มีหนี้สินล้นพ้นตัว และเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียว/หลายคน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคต ..ถ้ามีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ บุคคลตาม ม.90/4
ม.90/4 ภายใต้บังคับ ม.90/5 บุคคลมีสิทธิยื่นคำขอต่อศาลให้ฟื้นฟูกิจการ
1)เจ้าหนี้ซึ่งเป็นคนเดียวหลายคนมีจำนวนหนี้แน่นอน
2)ล/น มีลักษณะตาม 90/3
3)ธ.แห่งประเทศไทย
ม.90/6 คำร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ ต้องแสดงให้ขัดแจ้งถึง
1.ความมีหนี้สินล้นพ้นตัว
2.รายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้
3.เหตุอันสมควรและช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ
4.ชื่อและคุณสมบัติของผู้ทำแผน
5.หนังสือยินยอมของผู้ทำแผน
ม.90/9 เมื่อศาลรับคำร้องขอแล้ว ให้ดำเนินการไต่สวนเป็นการด่วนและให้ศาลประกาศคำสั่งรับคำร้องขอ และวันเวลาไต่สวนในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อย 1 ฉบับไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ห่างกันไม่เกิน 7 วัน
วรรคท้าย มีหลัก
-ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคำคัดค้าน ก่อนวันไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่า 3 วัน
-ถ้าเป็นการคัดค้านผู้ทำแผน ล/น จ/น จะเสนอชื่อผู้อื่นเป็นผู้ทำแผนหรือไม่ได้
-การเสนอชื่อต้องมีหนังสือยินยอม
ม.90/10 การไต่สวนคำร้องขอ ศาลต้องไต่สวนเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/
***** ม.90/12 Automatic Stay ภายใต้บังคับ 90/13 - 90/14
นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้พิจารณา
ถึง "วันครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผน"
ถึง "วันที่ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผน"
ถึง "วันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอ"
ถึง "วันที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี"
ถึง "วันที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ"
ถึง "วันที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ"
ถึง "วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด" (พิทักษ์เท่ากับfreeze)
-อนุ 4 -ห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน/เสนออนุญาโต
ถ้ามูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่ง "เห็นชอบด้วยแผน"
และ -ห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย กรณีมีฟ้อง/ยื่นอนุญาโตฯ
ให้งดการพิจารณาไว้ เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
-อนุ 5 -ห้าม จ/น ตามคำพิพากษาบังคับคดีแก่ทรัพย์สินลูกหนี้
ถ้ามูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่ง "เห็นชอบด้วยแผน"
กรณีได้ดำเนินการบังคับคดีไว้ก่อน ให้ศาลงดการบังคับคดี
เว้นแต่ การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ก่อนวันที่เจ้าพนักงาน
บังคับคดีจะทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอ
ถ้าขอที่ยึดเป็นของเสียง่าย ให้ จพค.ขายทอดตลาด แล้วกักเงิน
-อนุ 6 -ห้ามเจ้าหนี้มีประกันบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล
-อนุ 7 -ห้ามมิให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้ได้เองตาม กม. ยึดทรัพย์/ขาย
-อนุ 8 -ห้ามมิให้เจ้าหนี้ที่เป็นสาระสำคัญในการดำเนินกิจการลูกหนี้
ตาม สัญญาเช่าซื้อ , ซื้อขายมีเงื่อนไขโอน , สัญญาเช่า
ติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สิน รวมตลอดฟ้องร้องคดี
ถ้ามีการฟ้องให้งดการพิจารณาคดีนั้นไว้
เว้นแต่ ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
เว้นแต่ หลังจากวันที่ศาลมีคำสั่ง "ให้ฟื้นฟูกิจการ" ล/น จพท.
ผู้บริหารชั่วคราว ผู้ทำแผน ผู้บริหารแผน (/ชั่วคราว) นั้น
ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ราคาตอบแทนใช้ทรัพย์ ค่าเช่า
2 คราวติดกัน หรือ กระทำผิดสัญญาข้อที่เป็นสาระสำคัญ
-อนุ 9 -ห้ามมิให้ลูกหนี้จำหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า ชำระหนี้ ก่อนหนี้ หรือ
กระทำการใดๆที่ก่อนให้เกิดภาระในทรัพย์สิน
นอกจากจำเป็นเพื่อการดำเนินการค้าตามปกติของลุกหนี้
สามารถดำเนินต่อไปได้
(ใช้กับ ผู้บริหารชั่วคราว , ผู้ทำแผน (90/25)-การฟ้องกรรม
การของลูกหนี้รับผิดในการกล่าวอ้างว่าก่อนมีการฟื้นฟูกิจการ
กรรมการลูกหนี้นำทรัพย์สินไปใช้ส่วนตัว)
-อนุ 11 -ห้ามผู้ประกอบการสาธารณูปโภค งดให้บริการแก่ลูกหนี้
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอ
หรือ หลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จพท.
ผู้บริหารชว. ทำแผน บริหาร แผน ไม่ชำระ 2 ครา
ม.90/13 จ/น บุคคลถูกจำกัดสิทธิตาม 90/12 ยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่ง
แก้ไขเปลี่ยนแปลง ยกเลิกสิทธิ หากการจำกัดสิทธิของผู้ร้องนั้น 1)ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ
2)ไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้มีประกัน
ม.90/14 การดำเนินการต่อไปนี้ถือว่ามีการคุ้มครองแก่เจ้าหนี้มีประกัน
1)มีการชำระหนี้แก่ จ/นเท่ามูลมูลค่าที่ลดทรัพย์หลักประกันใต้อนุ 6
2)ให้หลักประกันแก่เจ้าหนี้มีประกันเพื่อชดเชยหลักประกันดิม
3)มีการดำเนินการอื่นที่เจ้าหนี้ยินยอม

การตั้งผู้ทำแผน
ม.90/17 การพิจารณาตั้งผู้ทำแผน ถ้าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้คัดค้านไม่เสนอบุคคล เมื่อศาลสั่งฟื้นฟู ศาลจะมีคำสั่งตั้งบุคคลที่ผู้ร้องเสนอเป็นผู้ทำแผนก็ได้ ถ้า -ศาลเห็นว่าบุคคลที่ร้องขอเสนอไม่ควรเป็นผู้ทำแผน -เจ้าหนี้
ผู้คัดค้านเสนอบุคคลอื่นเป็นผู้ทำแผน
-ให้ศาลมีคำสั่งให้ จพท. เรียกประชุมเจ้าหนี้โดยเร็วเพื่อพิจารณาว่า
บุคคลใดสมควรเป็นผู้ทำแผน
ม.90/20 กรณีศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แต่ยังไม่มีการตั้งผู้ทำแผน
ให้อำนาจหน้าที่จัดการกิจการ ของผู้บริหารของลูกหนี้สิ้นสุดลง
ให้ศาลตั้งบุคคลใดหรือผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้บริหารชั่วคราวภายใต้
(ต่อ)การกำกับดูแลของ จพท. จนกว่าจะมีการตั้งผู้ทำแผน
ให้ศาลแจ้งคำสั่งฟื้นฟูกิจการ , คำสั่งตั้งหรือให้ผู้บริหารชั่วคราวพ้น
จากอำนาจหน้าที่ให้ จพท.ทราบ จพท.โฆษณาคำสั่งให้ราชกิจจาฯ และแจ้งไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ม.90/21 ภายใต้บังคับ 90/42 กรณีที่ศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการแต่ไม่มีตั้งผู้ทำแผน
ให้บรรดาสิทธิตาม กม.ผู้ถือหุ้นระงับ เว้นแต่สิทธิได้รับเงินปันผล และ
สิทธิดังกล่าวตกแก่ ผู้บริหารชว. จพท. จนกว่ามีการตั้งผู้ทำแผน
นำ 90/12อนุ9 มาใช้แก่ ผู้บริหารชั่วคราว จพท.โดยอนุโล
ม.90/23 การประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคัดเลือก "ผู้ทำแผน"
ให้ จพท.

ม.90/
ม.90/

การขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
ม.90/26 ขอชำระหนี้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน และจพท.ส่งสำเนาคำขอรับชำระหนี้แก่ ผู้ทำแผนโดยไม่ชักช้า
ม.90/27 เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกกิจการ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไข เว้นแต่หนี้ฝ่าฝืน กม./ศีลธรรม
ผู้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตาม 101 อาจยื่นคำขอรับชำระหนีในการฟื้นฟูกิจการสำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ เว้นแต่รับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว
หนี้ที่ จพท. , ผู้บริหารชั่วคราว ก่อนให้เกิดขึ้นเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดตามม 90/12(8)











พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
ผบ.ร้อย ฝ่ายปกครอง ๑ (กองร้อยที่ ๔)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น