วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ไล่สายอาญา001

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยกม.อาญา

กรณีที่กฎหมายยกเว้นโทษ มีอยู่หลายกรณี ดังต่อไปนี้
          1. ม.65 กระทำผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือ สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือ จิตฟั่นเฟือน
          2. ม.66 กระทำผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือ ไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะของมึนเมาโดยไม่รู้ว่าสิ่งนั้นทำให้มึนเมา หรือ โดยถูกขืนใจให้เสพย์
          3. ม.67           กระทำผิดด้วยความจำเป็น
          4. ม.70 กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน แม้คำสั่งนั้นจะมิชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม
          5. ม.71 สามีภริยากระทำต่อกันในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
          6. ม.73 เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด
          7. ม.74 เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด
          8. ม.88 ผู้สนับสนุน เข้าขัดขวางทำให้ผู้กระทำ กระทำไปไม่ตลอด หรือ กระทำไปตลอดแล้ว แต่ไม่บรรลุผล
          9. ม.82 ผู้พยายามกระทำผิด ยับยั้งเสียเองไม่กระทำให้ตลอด หรือกลับใจแก้ไขให้การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ไม่ต้องรับโทษสำหรับความพยายามกระทำผิด......แต่ก็ยังคงรับผิดในความผิดที่เกิดขึ้นอื่นๆอยู่
          10. ม.105 ผู้ที่พยายามกระทำผิดลหุโทษ
          11. ม.106 ผู้สนับสนุนในความผิดลหุโทษ
          12. ม.304 ผู้ที่พยายามกระทำผิดฐานทำให้แท้งลูกตาม ม.302 วรรค 1 หรือ ตาม ม.301
          13. ม.330 พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง

กรณีที่กฎหมายยกเว้นความผิด
          1. ม.68 ผู้ที่กระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
          2. ม.305 การกระทำผิดฐานทำให้แท้งลูกโดยแพทย์ และเนื่องจากสุขภาพของหญิง หรือ มีครรภ์เนื่องจากโดยข่มขืนตาม ม.276-ม.277 , ม.282+ม.284
          3. ม.329 ผู้ที่แสดงความคิดเห็น หรือ ข้อความใดโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติตามหน้าที่...ติชมด้วยความเป็นธรรม
          4. ม.331 คู่ความ หรือ ทนายความ ที่แสดงความคิดเห็น หรือ ข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน
          5. หลักความยินยอม ความยินยอมอันบริสุทธิ์ที่ไม่ขัดต่อสำนึกในศีลธรรมอันดี มีอยู่ตลอดเวลาที่กระทำผิด
หลักความยินยอม จะต้องมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
          1. จะต้องเป็นความยินยอมอันบริสุทธิ์
          2. ความยินยอมนั้นจะต้องไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรมอันดี
          3. ความยินยอมนั้นจะต้องมีอยู่ตลอดเวลาที่กระทำความผิด
          4. และความยินยอมจะต้องเกิดขึ้นก่อนการกระทำความผิด......ถ้าความยินยอมเกิดขึ้นภายหลังการกระทำความผิดแล้ว จะไม่ใช่ความยินยอมตามหลักนี้
กรณีที่กฎหมายลดโทษให้
          1. ม.64 ถ้าศาลเชื่อว่าผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น
          2. ม.65 วรรค 2 ถ้าผู้กระทำยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือ ยังบังคับตนเองได้บ้าง
          3. ม.66 ส่วนท้าย ถ้าผู้นั้นยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือ ยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง
          4. ม.69 ทำเกินขอบเขตของป้องกัน+จำเป็น
          5. ม.71 วรรค 2 ถ้าเป็นการกระทำที่ผู้บุพการี กระทำต่อ ผู้สืบสันดาน ผู้สืบต่อบุพการี หรือ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน กระทำต่อกันในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
          6. ม.72 การกระทำโดยบันดาลโทสะ ท่านว่า ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ตาม



กรณีที่กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำโดยประมาทเป็นความผิด
          1. ม.205 วรรค 2 เจ้าพนักงานกระทำการให้ผู้ที่ถูกคุมขังหลุดพ้นจากการคุมขังโดยประมาท
          2. ม.225 กระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท
          3. ม.239 การกระทำในมาตรา 226 ถึงมาตรา 237 โดยประมาท
          4. ม.291 กระทำโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
          5. ม.300 กระทำโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
          6. ม.311 กระทำโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถูกหน่วงเหนี่ยว ถูกกักขัง หรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
          7. ม.391 กระทำโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

กรณีที่กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำโดยไม่มีเจตนาเป็นความผิด
          1. ม.104 การกระทำความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายนี้......แม้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด
          2. ม.290 ฆ่าผู้อื่นตายโดยไม่มีเจตนา
          3. ม.374 เห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิตซึ่งตนช่วยได้แต่มิได้ช่วยตามความจำเป็น (กระทำโดยละเว้น)

กรณีที่กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำในขั้นตระเตรียมเป็นความผิด
          1. ม.114 เตรียมการเพื่อเป็นกบฏ
          2. ม.128 ตระเตรียมกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร
          3. ม.219 ตระเตรียมวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น


กรณีที่ผู้สนับสนุนต้องรับโทษเช่นเดียวกับตัวการ
          1. ม. 111 ผู้สนับสนุนในการกระทำผิดต่อ พระเจ้าอยู่หัว
          2. ม. 129 ผู้สนับสนุนในการกระทำผิดต่อ ความมั่นคงของรัฐ ภายนอกราชอาณาจักร
          3. ม. 314 ผู้สนับสนุนในการกระทำผิดตาม ม.313

กรณีที่ไม่มีพยายามกระทำความผิด
          1. ม.290 ถ้าไม่ตาย ก็จะผิดตาม ม.297 หรือ ม.295 แล้วแต่กรณี
          2. ม.291 ถ้าไม่ตาย แต่บาดเจ็บสาหัส ก็จะผิดตาม ม.300 ถ้าไม่บาดเจ็บสาหัสก็จะรับผิดตาม ม.390
          3. ม.294 ถ้าไม่ตาย แต่บาดเจ็บสาหัส จะผิดตาม ม.299
          4. ม.297 ความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้รับอันตรายสาหัสก็ไม่มีการพยายามกระทำความผิด ทั้งนี้เพราะว่าความผิดตาม ม.297 จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้รับอันตรายสาหัสเท่านั้น ดังนั้นถ้าหากไม่ได้รับอันตรายสาหัสก็ต้องรับผิดตาม ม.295 คือความผิดฐานทำร้ายร่างกาย นั่นเอง

          5. ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ก็ไม่มีการพยายามกระทำความผิดเช่นกัน ทั้งนี้เพราะว่า การเป็นตัวการก็ดี การเป็นผู้ใช้ก็ดี การเป็นผู้สนับสนุนก็ดี มิใช่ตัวเนื้อหาของการกระทำความผิด ดังนั้นการพยายามเป็นตัวการก็ดี /หรือการพยายามเป็นผู้ใช้/หรือการพยายามเป็นผู้สนับสนุนก็ดี จึงไม่อาจมีได้นั่นเองครับ

          6. การกระทำโดยประมาท ก็ไม่อาจมีการพยายามกระทำความผิด

          7. การกระทำโดยละเว้น ก็ไม่มีการพยายามกระทำความผิด ทั้งนี้ก็เพราะว่าทันทีที่มีการละเว้นเกิดขึ้นก็ต้องถือเป็นความผิดสำเร็จแล้ว โดยความผิดละเว้นนี้ไม่ต้องการผล

          8. ความผิดที่ไม่ต้องการผล ก็ย่อมไม่อาจมีการพยายามกระทำความผิดได้เช่นกัน ความผิดที่ไม่ต้องการผล ก็คือ ม.156 / ม.157 / ม.162(3) / ม.168 / ม.169 / ม.170 / ม.171 / ม.216 / ม.226 - ม.239 / และม.374

ความผิดใดที่ไม่ต้องการผล ความผิดนั้นก็ย่อมไม่อาจมีการพยายามกระทำความผิด

กรณีที่จะต้องใช้หลักผลธรรมดาตามม.63 หลังจากผ่านหลักผลโดยตรงมาแล้ว
          1. ม.224 วางเพลิงเผาทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
          2. ม.238 ต้นเหตุมาจาก ม.226 - ม.237
          3. ม.277 ทวิ ต้นเหตุมาจาก ม.276 วรรค 1 / วรรค 1 หรือ วรรค 2
          4. ม.277 ตรี ต้นเหตุมาจาก ม.276 วรรค 2 / วรรค 3
          5. ม.280 ต้นเหตุมาจาก ม.278 / ม.279
          6. ม.297 ต้นเหตุมาจาก ม.295
          7. ม.302 วรรค 2+วรรค 3 ต้นเหตุมาจาก วรรค 1
          8. ม.303 วรรค 2+วรรค 3 ต้นเหตุมาจาก วรรค 1
          9. ม.308 ต้นเหตุมาจาก ม.306 / ม.307
          10. ม.310 วรรค 2 ต้นเหตุมาจาก วรรค 1
          11. ม.313 วรรค 2+วรรค 3 ต้นเหตุมาจาก วรรค 1
          12. ม.336 วรรค 2 , วรรค 3 , วรรค 4 ต้นเหตุมาจาก วรรค 1
          13. ม.339 วรรค 3 , วรรค 4 , วรรค 5 ต้นเหตุมาจาก วรรค 1
          14. ม.339 ทวิ วรรค 3 - วรรค 5 ต้นเหตุมาจาก วรรค 1
          15. ม.340 วรรค 3 - วรรค 5 ต้นเหตุมาจาก วรรค 1
          16. ม.340 ทวิ วรรค 4 - วรรค 6 ต้นเหตุมาจาก วรรค 1

กรณีที่เด่นๆในความผิดลหุโทษสำหรับสนามที่สูงกว่าชั้นเนติบัณฑิต
          1. ม.368 ความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร
          2. ม.370 ความผิดฐานส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันสมควร
          3. ม.371 ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณ โดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร
          4. ม.374 ความผิดฐานไม่ช่วยผู้ที่ตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิตตามความจำเป็นซึ่งตนอาจช่วยได้
          5. ม.376 ความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุ ในเมือง ในหมู่บ้านหรือในที่ชุมนุมชน
          6. ม.386 ความผิดฐานละเลยไม่แสดงสัญญาณตามสมควร เพื่อป้องกันอุปัทวะเหตุจากการขุดหลุมหรือราง หรือจากการปลูกปักหรือจากการวางสิ่งของเกะกะไว้ในทางสาธารณะ
          7. ม.388 ความผิดฐานกระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัลด้วยการเปลือยกาย
          8. ม.390 ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
          9. ม.391 ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
          10. ม.392 ความผิดฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัว หรือเกิดความตกใจโดยการขู่เข็ญ
          11. ม.393 ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า/หรือดูหมิ่นด้วยการโฆษณา
          12. ม.398 ความผิดฐานกระทำการอันเป็นการทารุณต่อเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี คนป่วยเจ็บหรือคนชรา
          ในสนามที่สูงกว่าชั้นเนติบัณฑิต นักศึกษาจักต้องไล่ไปให้สุดสายที่ความผิดลหุโทษ
          13. ม.104 การกระทำความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายนี้......แม้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด.......เว้นแต่ตามบทบัญญัติความผิดนั้นจะมีความบัญญัติให้เห็นเป็นอย่างอื่น
          14. ม.105 ผู้ใดพยายามกระทำความผิดลหุโทษ ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
          15. ม.106 ผู้สนับสนุนในความผิดลหุโทษ ไม่ต้องรับโทษ


 


การกระทำโดยพลาดตามม.60 จะต้องมีหลักเกณฑ์เบื้องต้นดังต่อไปนี้
          1. ผู้ลงมือกระทำจะต้องมีเจตนากระทำต่อบุคคลหนึ่งเสมอ
          2. และผู้ลงมือกระทำจะต้องไม่มีเจตนากระทำต่ออีกบุคคลที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3......กล่าวคือ ไม่มีทั้งเจตนาประสงค์ต่อผลและไม่มีทั้งเจตนาเล็งเห็นผลต่ออีกบุคคลที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3......
         
3. แต่ผลของการกระทำจะต้องไปเกิดกับอีกบุคคลหนึ่งที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3และจะเกิดไปเรื่อยๆตราบเท่าที่ยังมีการพลาด
             (ถ้าไม่เกิดย่อมไม่เป็นการกระทำโดยพลาด ดังเช่น เกือบถูก/หรือไม่ถูกเลย......แต่ถ้าเกิดผลขึ้นมาแล้วถึงแม้ว่าจะเป็นผลที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย เช่น กระสุนเฉี่ยวถูกเลือดออกซิบๆก็ตาม ก็ต้องถือว่ามีผลเกิดขึ้นมาแล้ว ย่อมเป็นการกระทำโดยพลาด)
          4. วัตถุแห่งการกระทำจะต้องเป็นประเภทเดียวกัน......(ดังเช่น ครั้งแรกเป็นคน ครั้งหลังต้องเป็นคนด้วย /หรือครั้งแรกเป็นทรัพย์ ครั้งหลังต้องเป็นทรัพย์ด้วย)

         
5. เจตนาในการกระทำต่อบุคคลหนึ่งจะถูกโอนไปเป็นเจตนาในการกระทำโดยพลาดต่ออีกบุคคลที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3ด้วยและจะโอนต่อไปเรื่อยๆตราบเท่าที่ยังมีการพลาด
          (จะโอนไปเฉพาะเจตนาเท่านั้น และเจตนาแรกเป็นเจตนาเช่นใด เจตนาที่ถูกโอนก็จะเป็นเช่นนั้นด้วย ดังเช่นถ้าเจตนาในตอนแรกเป็นเจตนาโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เจตนาที่ถูกโอนไปย่อมต้องเป็นเจตนาโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเช่นเดียวกัน/หรือถ้าเจตนาในตอนแรกเป็นเจตนาทำร้าย เจตนาที่ถูกโอนไปย่อมต้องเป็นเจตนาทำร้ายเช่นเดียวกัน......ส่วนผลที่เกิดจากการกระทำต่อบุคคลหนึ่งไม่โอนไปด้วยนะครับ)


          6. กรณีที่บุคคลที่ 2 /หรือบุคคลที่ 3 /หรือบุคคลที่ 4 มีฐานะระหว่างบุคคลกับผู้ลงมือกระทำ /หรือมีความสัมพันธ์พิเศษระหว่างบุคคลกับผู้ลงมือกระทำในอันที่จักทำให้ผู้ลงมือกระทำต้องได้รับโทษหนักขึ้นตามที่กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นนั้น......ท่านว่ามิให้นำกฎหมายเช่นนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้ลงมือกระทำให้หนักขึ้น
          (กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นเพราะฐานะระหว่างบุคคล ได้แก่เหตุฉกรรจ์ตามม.289(1) /หรือเพราะความสัมพันธ์พิเศษระหว่างบุคคล ได้แก่เหตุฉกรรจ์ตามม.289(2)   ซึ่งกฎหมาย ม.60 กำหนดไม่ให้นำเอามาใช้กับกรณีของการกระทำโดยพลาด)

จากหลักของการกระทำโดยพลาดดังกล่าวข้างต้นนี้ ถ้านำเอามาทำสายไล่หลักก็จะได้สายไล่ดังนี้
          1. นักศึกษาก็จะต้องดูเสียก่อนว่าผู้ลงมือกระทำมีเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่งหรือไม่”......ถ้าคำตอบหรือข้อเท็จจริงที่ให้มาปรากฏออกมาว่าไม่มีเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่งก็จบลง ณ หลักนี้สายนี้ กรณีที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นเรื่องการกระทำโดยพลาดอย่างแน่นอน.....แต่ให้นักศึกษาระมัดระวังเอาไว้ด้วยว่า
          ข้อเท็จจริงใดที่ปรากฏอยู่ในข้อสอบ ย่อมเข้าข้อสันนิษฐานเอาไว้ก่อนว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ออกข้อสอบต้องการให้ผู้เข้าสอบตอบในข้อเท็จจริงนั้นๆด้วยนั่นเองครับ
          จากหลักดังกล่าวข้างต้นนี้ ถ้าข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่มีเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่งนั้นปรากฏอยู่ในข้อสอบ นักศึกษาย่อมต้องสันนิษฐานเอาไว้ก่อนว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ออกข้อสอบต้องการให้นักศึกษาตอบในข้อเท็จจริงนั้นๆด้วยนั่นเองครับ
ดังนั้นถึงแม้ว่าจะไม่เป็นเรื่องของการกระทำโดยพลาดก็ตาม แต่นักศึกษาก็จักต้องตอบลงไปในกระดาษคำตอบด้วยว่าไม่เป็นเรื่องการกระทำโดยพลาดเพราะอะไรด้วยนะครับ”.....ข้อสอบในลักษณะเช่นนี้ จะเป็นข้อสอบในลักษณะที่ต้องการให้ผู้เข้าสอบตอบในเชิงปฏิเสธนั่นเอง......(และก็ขอให้นักศึกษาระมัดระวังเอาไว้ด้วยทุกครั้งที่เข้าสอบ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ในปัจจุบันนี้ข้อสอบที่ต้องการให้ตอบในเชิงปฏิเสธนี้ จะถูกนำเอามาทดสอบผู้เข้าสอบมากขึ้นทุกทีแล้วล่ะครับ และก็เป็นข้อสอบที่มีระดับของความยากเป็นระดับต้นๆเลยทีเดียวนะครับ”)
          ดังเช่น สามนั่งทำความสะอาดปืนโดยไม่ใช้ความระมัดระวัง นิ้วไปโดนไกปืน ปืนลั่นไปถูกหนึ่งบาดเจ็บ แล้วเลยไปถูกสองตาย
          กรณีตามตัวอย่างนี้แสดงให้นักศึกษาเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าสามมิได้มีเจตนาที่จะกระทำต่อหนึ่ง แต่เป็นเพราะความประมาทของสามจึงทำให้หนึ่งบาดเจ็บ”.....ดังนั้นถึงแม้ว่ากระสุนจะเลยไปถูกสองตายก็ตาม แต่กรณีที่เกิดกับสองก็ไม่ใช่เรื่องการกระทำโดยพลาดอย่างแน่นอน นักศึกษาจึงไม่สามารถนำเอาหลักในเรื่องการกระทำโดยพลาดไปจับได้......นักศึกษาจึงต้องย้อนกลับไปไล่ตามสายในกรณีของสองมาใหม่ทั้งหมด......ส่วนกรณีที่เกิดกับหนึ่งนั้น นักศึกษาก็ไล่สายเรื่องประมาทไปตามปกติ
          และถึงแม้ว่ากรณีที่เกิดกับสองจะไม่เป็นเรื่องการกระทำโดยพลาดก็ตาม แต่นักศึกษาก็จักต้องตอบลงไปในกระดาษคำตอบด้วยว่าไม่เป็นเรื่องการกระทำโดยพลาดเพราะอะไรด้วย.....ซึ่งหลักในการตอบข้อสอบเชิงปฏิเสธนี้ก็มิใช่เรื่องยากสักเท่าใดเลยครับ นักศึกษาก็ย้อนกลับไปนำเอาหลักข้างต้นที่ว่าผู้ลงมือกระทำมีเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่งเสมอมาใช้ในการตอบนั่นเองครับผม
          หลักในการตอบข้อสอบเชิงปฏิเสธ หลักกฎหมายในเรื่องของการกระทำโดยพลาดตามม.60 หลักหนึ่งมีอยู่ว่าผู้ลงมือกระทำจะต้องมีเจตนากระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลไปเกิดกับอีกบุคคลหนึ่ง จึงจะเป็นการกระทำโดยพลาด
          กรณีตามข้อเท็จจริงที่ให้มาการที่สามมิได้ใช้ความระมัดระวังในการทำความสะอาดปืนแล้วนิ้วมือไปถูกไกปืนลั่นไปถูกหนึ่งบาดเจ็บนั้น ย่อมถือว่าเป็นการที่สามไม่มีเจตนากระทำ แต่เป็นการที่สามมิได้ใช้ความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และสามหาได้ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอไม่ การกระทำของสามจึงเป็นการกระทำโดยประมาท
กรณีตามข้อเท็จจริงที่ให้มาไม่เป็นเรื่องการกระทำโดยพลาดตามม.60......“ทั้งนี้ก็เพราะว่าจะเป็นการกระทำโดยพลาดตามม.60ได้นั้น ผู้ลงมือกระทำคือสามจะต้องมีเจตนากระทำต่อบุคคลหนึ่งคือหนึ่ง แล้วผลของการกระทำไปเกิดกับอีกบุคคลหนึ่งคือสอง”......แต่เมื่อการกระทำต่อหนึ่งเป็นการกระทำโดยประมาท ถึงแม้ว่าผลของการกระทำจะไปเกิดกับสองก็ตาม แต่การกระทำของสามที่มีต่อสองก็ไม่เป็นเรื่องการกระทำโดยพลาด......(ข้อความในวงเล็บก็คือเหตุผลที่นักศึกษาจักต้องใช้ตอบว่าไม่เป็นเรื่องการกระทำโดยพลาดเพราะอะไรนั่นเองครับ)
          ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าแม้ไม่เข้าหลักในข้อที่หนึ่งนี้ก็ตาม แต่นักศึกษาก็จักต้องตอบในเชิงปฏิเสธลงในกระดาษคำตอบด้วยนะครับ
          แต่ถ้าคำตอบหรือข้อเท็จจริงที่ให้มาปรากฏออกมาว่ามีเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง”......นักศึกษาก็อย่าเพิ่งฟันธง นักศึกษาก็จักต้องไปไล่สายที่ 2 ต่อไป


          2. แม้ว่าเมื่อนักศึกษาไล่สายที่ 1 แล้วได้คำตอบออกมาว่ามีเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่งแล้วก็ตาม......แต่นักศึกษาก็ต้องยังคงทำการไล่สายที่ 2 ต่อไปว่า ผู้ลงมือกระทำไม่มีเจตนากระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3หรือไม่ต่อไป......ถ้าคำตอบหรือข้อเท็จจริงที่ให้มาปรากฏออกมาว่ามีเจตนาที่จะกระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งที่ 1/หรือต่ออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรือต่ออีกบุคคลหนึ่งที่ 3” ก็จบลง ณ หลักนี้สายนี้ กรณีที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นเรื่องการกระทำโดยพลาดอย่างแน่นอน.....แต่ให้นักศึกษาระมัดระวังเอาไว้ด้วยว่า
          ข้อเท็จจริงใดที่ปรากฏอยู่ในข้อสอบ ย่อมเข้าข้อสันนิษฐานเอาไว้ก่อนว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ออกข้อสอบต้องการให้ผู้เข้าสอบตอบในข้อเท็จจริงนั้นๆด้วยนั่นเองครับ
          จากหลักดังกล่าวข้างต้นนี้ ถ้าข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่มีเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่งนั้นปรากฏอยู่ในข้อสอบ นักศึกษาย่อมต้องสันนิษฐานเอาไว้ก่อนว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ออกข้อสอบต้องการให้นักศึกษาตอบในข้อเท็จจริงนั้นๆด้วยนั่นเองครับ
ดังนั้นถึงแม้ว่าจะไม่เป็นเรื่องของการกระทำโดยพลาดก็ตาม แต่นักศึกษาก็จักต้องตอบลงไปในกระดาษคำตอบด้วยว่าไม่เป็นเรื่องการกระทำโดยพลาดเพราะอะไรด้วยนะครับ”.....ข้อสอบในลักษณะเช่นนี้ จะเป็นข้อสอบในลักษณะที่ต้องการให้ผู้เข้าสอบตอบในเชิงปฏิเสธนั่นเอง......(และก็ขอให้นักศึกษาระมัดระวังเอาไว้ด้วยทุกครั้งที่เข้าสอบ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ในปัจจุบันนี้ข้อสอบที่ต้องการให้ตอบในเชิงปฏิเสธนี้ จะถูกนำเอามาทดสอบผู้เข้าสอบมากขึ้นทุกทีแล้วล่ะครับ และก็เป็นข้อสอบที่มีระดับของความยากเป็นระดับต้นๆเลยทีเดียวนะครับ”)
          ดังเช่น สามตั้งใจจะฆ่าหนึ่งกับสองอยู่แล้ว วันหนึ่งเห็นหนึ่งกับสองเดินเล่นอยู่ในสวนสาธารณะ จึงเล็งปืนลูกซองยิงไปที่หนึ่งก่อน กระสุนไม่ถูกหนึ่ง แต่ลูกกระสุนกระจายไปถูกสองตาย......กรณีตามตัวอย่างนี้ เป็นเจตนาประเภทประสงค์ต่อผล การกระทำต่อสองจึงไม่ใช่เรื่องการกระทำโดยพลาด ประเด็นนี้ยังไม่ยากสักเท่าใด
          ประเด็นที่ยากและมักถูกนำเอามาออกเป็นข้อสอบเสมอๆ ก็คือ เจตนาประเภทเล็งเห็นผลดังเช่น สามต้องการฆ่าหนึ่ง จึงใช้อาวุธปืนลูกซองเล็งยิงไปที่หนึ่งโดยมีสองนั่งอยู่ใกล้ๆ ลูกกระสุนปืนถูกหนึ่งตาย และกระสุนยังกระจายไปถูกสองบาดเจ็บสาหัส......กรณีตามตัวอย่างนี้ เป็นเจตนาประเภทเล็งเห็นผล ทั้งนี้ก็เพราะว่าการใช้ปืนลูกซองซึ่งเวลายิงแล้วลูกกระสุนจะกระจายไปยิงคน ย่อมต้องเล็งเห็นแล้วว่าจะกระจายไปถูกคนที่อยู่ใกล้ๆข้างเคียงอย่างแน่นอน การที่สามใช้ปืนลูกซองไปยิงหนึ่งย่อมเล็งเห็นแล้วว่าลูกกระสุนจะต้องกระจายไปถูกสองซึ่งนั่งอยู่ใกล้ๆหนึ่งอย่างแน่นอน ดังนั้นการกระทำของสามต่อสองจึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาเล็งเห็นผลนั่นเองครับผม......เมื่อสามมีเจตนาที่กระทำต่อสอง ผลของการกระทำที่เกิดกับสองจึงไม่ใช่เรื่องการกระทำโดยพลาดเช่นเดียวกัน......(ดังนั้นนักศึกษาจึงควรระมัดระวังประเด็นระหว่างเจตนาเล็งเห็นผลกับ การกระทำโดยพลาดให้จงดีนะครับ......จะใกล้เคียงกันมาก ถ้าวินิจฉัยไม่ดี หรือไม่แม่นหลักเล็งเห็นผล หรือไม่แม่นหลักการกระทำโดยพลาดแล้วล่ะก็ แย่แน่ๆเลยนะครับท่าน ข้อสอบถามประเด็นเล็งเห็นผล ดันไปตอบการกระทำโดยพลาด /หรือข้อสอบถามประเด็นการกระทำโดยพลาดดันไปตอบเล็งเห็นผล)

          ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าแม้ไม่เข้าหลักในข้อที่สองนี้ก็ตาม แต่นักศึกษาก็จักต้องตอบในเชิงปฏิเสธลงในกระดาษคำตอบด้วยนะครับ
          แต่ถ้าคำตอบหรือข้อเท็จจริงที่ให้มาปรากฏออกมาว่าผู้ลงมือกระทำไม่มีเจตนากระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3”......นักศึกษาก็อย่าเพิ่งฟันธง นักศึกษาก็จักต้องไปไล่สายที่ 3 ต่อไป

          3. แม้ว่าเมื่อนักศึกษาไล่สายที่ 1 แล้วได้คำตอบออกมาว่ามีเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่งแล้วก็ตาม......แม้ว่าเมื่อไล่สายที่ 2 แล้วจะได้คำตอบออกมาว่าผู้ลงมือกระทำจะต้องไม่มีเจตนากระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3”ก็ตาม......แต่นักศึกษาก็ต้องยังคงทำการไล่สายที่ 3 ต่อไปว่าผลของการกระทำไปเกิดกับอีกบุคคลหนึ่งที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3หรือไม่ต่อไป......ถ้าคำตอบหรือข้อเท็จจริงที่ให้มาปรากฏออกมาว่าผลของการกระทำไม่เกิดกับอีกบุคคลหนึ่งที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3” ก็จบลง ณ หลักนี้สายนี้ กรณีที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นเรื่องการกระทำโดยพลาดอย่างแน่นอน.....แต่ให้นักศึกษาระมัดระวังเอาไว้ด้วยว่า
          ข้อเท็จจริงใดที่ปรากฏอยู่ในข้อสอบ ย่อมเข้าข้อสันนิษฐานเอาไว้ก่อนว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ออกข้อสอบต้องการให้ผู้เข้าสอบตอบในข้อเท็จจริงนั้นๆด้วยนั่นเองครับ
          จากหลักดังกล่าวข้างต้นนี้ ถ้าข้อเท็จจริงที่ว่า ผลของการกระทำไม่เกิดกับอีกบุคคลหนึ่งที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3”ปรากฏอยู่ในข้อสอบ นักศึกษาย่อมต้องสันนิษฐานเอาไว้ก่อนว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ออกข้อสอบต้องการให้นักศึกษาตอบในข้อเท็จจริงนั้นๆด้วยนั่นเองครับ
          ดังนั้นถึงแม้ว่าจะไม่เป็นเรื่องของการกระทำโดยพลาดก็ตาม แต่นักศึกษาก็จักต้องตอบลงไปในกระดาษคำตอบด้วยว่าไม่เป็นเรื่องการกระทำโดยพลาดเพราะอะไรด้วยนะครับ”.....
          ดังเช่น สามตั้งใจจะฆ่าหนึ่ง วันหนึ่งเห็นหนึ่งเดินเล่นอยู่ในสวนสาธารณะ จึงเล็งปืนยิงไปที่หนึ่ง กระสุนไม่ถูกหนึ่ง ลูกกระสุนเลยไปเกือบถูกสอง และลูกกระสุนยังเลยไปเฉี่ยวถูกสี่เลือดออกซิบๆ......กรณีตามตัวอย่างนี้ ผลมิได้เกิดขึ้นกับอีกบุคคลหนึ่งที่ 1คือสอง การกระทำต่อสองจึงไม่ใช่เรื่องการกระทำโดยพลาด......แต่ผลไปเกิดขึ้นกับอีกบุคคลหนึ่งที่ 2คือสี่ การกระทำต่อสี่จึงเป็นเรื่องการกระทำโดยพลาด
          ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าแม้ไม่เข้าหลักในข้อที่สามนี้ก็ตาม แต่นักศึกษาก็จักต้องตอบในเชิงปฏิเสธลงในกระดาษคำตอบด้วยนะครับ
          แต่ถ้าคำตอบหรือข้อเท็จจริงที่ให้มาปรากฏออกมาว่าผลของการกระทำไปเกิดกับอีกบุคคลหนึ่งที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3”......นักศึกษาก็อย่าเพิ่งฟันธง นักศึกษาก็จักต้องไปไล่สายที่ 4 ต่อไป

 

          4. แม้ว่าเมื่อนักศึกษาไล่สายที่ 1 แล้วได้คำตอบออกมาว่ามีเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่งแล้วก็ตาม......แม้ว่าเมื่อไล่สายที่ 2 แล้วจะได้คำตอบออกมาว่าผู้ลงมือกระทำจะไม่มีเจตนากระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3”ก็ตาม......และแม้ว่าเมื่อไล่สายที่ 3 แล้วจะได้คำตอบออกมาว่าผลของการกระทำจะไปเกิดกับอีกบุคคลหนึ่งที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3”ก็ตาม......แต่นักศึกษาก็ต้องยังคงทำการไล่สายที่ 4 ต่อไปว่า วัตถุแห่งการกระทำเป็นประเภทเดียวกันหรือไม่ต่อไป......ถ้าคำตอบหรือข้อเท็จจริงที่ให้มาปรากฏออกมาว่าวัตถุแห่งการกระทำไม่ได้เป็นประเภทเดียวกันก็จบลง ณ หลักนี้สายนี้ กรณีที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นเรื่องการกระทำโดยพลาดอย่างแน่นอน.....แต่ให้นักศึกษาระมัดระวังเอาไว้ด้วยว่า
          ข้อเท็จจริงใดที่ปรากฏอยู่ในข้อสอบ ย่อมเข้าข้อสันนิษฐานเอาไว้ก่อนว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ออกข้อสอบต้องการให้ผู้เข้าสอบตอบในข้อเท็จจริงนั้นๆด้วยนั่นเองครับ
          จากหลักดังกล่าวข้างต้นนี้ ถ้าข้อเท็จจริงที่ว่าวัตถุแห่งการกระทำไม่ได้เป็นประเภทเดียวกันปรากฏอยู่ในข้อสอบ นักศึกษาย่อมต้องสันนิษฐานเอาไว้ก่อนว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ออกข้อสอบต้องการให้นักศึกษาตอบในข้อเท็จจริงนั้นๆด้วยนั่นเองครับ
          ดังนั้นถึงแม้ว่าจะไม่เป็นเรื่องของการกระทำโดยพลาดก็ตาม แต่นักศึกษาก็จักต้องตอบลงไปในกระดาษคำตอบด้วยว่าไม่เป็นเรื่องการกระทำโดยพลาดเพราะอะไรด้วยนะครับ”.....
          ดังเช่น สามตั้งใจจะฆ่าหนึ่ง วันหนึ่งเห็นหนึ่งเดินเล่นอยู่ในสวนสาธารณะ จึงเล็งปืนยิงไปที่หนึ่ง กระสุนไม่ถูกหนึ่ง ลูกกระสุนเลยไปถูกกระจกรถยนต์ของสองแตกเสียหาย และลูกกระสุนยังเลยไปเฉี่ยวถูกสี่ตาย......กรณีตามตัวอย่างนี้ ผลไปเกิดขึ้นกับทรัพย์ของสองคือกระจกรถยนต์ของสองเสียหาย การกระทำต่อทรัพย์ของสองเสียหาย ย่อมไม่ใช่เรื่องการกระทำโดยพลาด ทั้งนี้ก็เพราะว่ามีวัตถุแห่งการกระทำเป็นคนละประเภทกัน......แต่กรณีที่ผลไปเกิดขึ้นกับอีกบุคคลหนึ่งที่ 2คือสี่ การกระทำต่อสี่จึงเป็นเรื่องการกระทำโดยพลาด ทั้งนี้ก็เพราะว่ามีวัตถุแห่งการกระทำเป็นประเภทเดียวกันนั่นเองครับผม
          ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าแม้ไม่เข้าหลักในข้อที่สี่นี้ก็ตาม แต่นักศึกษาก็จักต้องตอบในเชิงปฏิเสธลงในกระดาษคำตอบด้วยนะครับ
แต่ถ้าคำตอบหรือข้อเท็จจริงที่ให้มาปรากฏออกมาว่าวัตถุแห่งการกระทำจะเป็นประเภทเดียวกัน”......นักศึกษาสามารถฟันธงในสายที่ 4 นี้ได้เลยนะครับว่า การกระทำของผู้ลงมือเป็นการกระทำโดยพลาดนักศึกษาก็จักต้องไปไล่สายที่ 5 ต่อไปเพื่อหาเจตนาโอน


         
5. แม้ว่าเมื่อนักศึกษาไล่สายที่ 1 แล้วได้คำตอบออกมาว่ามีเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่งแล้วก็ตาม......แม้ว่าเมื่อไล่สายที่ 2 แต่ แล้วจะได้คำตอบออกมาว่าผู้ลงมือกระทำจะไม่มีเจตนากระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3”ก็ตาม......และแม้ว่าเมื่อไล่สายที่ 3 แล้วจะได้คำตอบออกมาว่าผลของการกระทำจะไปเกิดกับอีกบุคคลหนึ่งที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3”ก็ตาม......และแม้ว่าเมื่อไล่สายที่ 4 แล้วจะได้คำตอบออกมาว่าวัตถุแห่งการกระทำจะเป็นประเภทเดียวกันก็ตาม......และแม้ว่านักศึกษาจะสามารถฟันธงได้ว่าการกระทำของผู้ลงมือเป็นการกระทำโดยพลาดแล้วก็ตาม......แต่นักศึกษาก็ต้องยังคงทำการไล่สายที่ 5 ต่อไปเพื่อหาเจตนาโอนว่าเจตนาในการกระทำต่อบุคคลหนึ่งที่จะถูกโอนไปเป็นเจตนาในการกระทำโดยพลาดต่ออีกบุคคลที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3นั้นจะต้องโอนไปให้ถูกต้องด้วย”.....กรณีตามสายที่ 5 นี้ไม่มีปัญหาอะไรมากมาย ทั้งนี้เพราะจริงๆแล้วเมื่อนักศึกษาไล่มาถึงสายที่ 4 นักศึกษาก็จะได้คำตอบออกมาชัดเจนแน่นอนแล้วว่าเป็นการกระทำโดยพลาดตามม.60แล้วล่ะครับ.....แต่นักศึกษาจำเป็นที่จักต้องวางสายที่ 5 ขึ้นมาเพื่อตรวจเช็คตรวจสอบให้แน่ใจว่านักศึกษาได้โอนเจตนาไปถูกต้องหรือไม่เท่านั้นแหละครับ (เพื่อความไม่ประมาทนั่นเองครับผม)......(ข้อสอบมักจะออกมาหลอกผู้เข้าสอบที่ไม่แม่นในหลักเจตนาโอนอยู่เสมอๆเลยนะครับ)

          การโอนนั้นจะโอนไปเฉพาะเจตนาเท่านั้น และเจตนาแรกเป็นเจตนาเช่นใด เจตนาที่ถูกโอนก็จะเป็นเช่นนั้นด้วย ดังเช่นถ้าเจตนาในตอนแรกเป็นเจตนาโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เจตนาที่ถูกโอนไปย่อมต้องเป็นเจตนาโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเช่นเดียวกัน/หรือถ้าเจตนาในตอนแรกเป็นเจตนาทำร้าย เจตนาที่ถูกโอนไปย่อมต้องเป็นเจตนาทำร้ายเช่นเดียวกัน /หรือถ้าเจตนาในตอนแรกเป็นเจตนาฆ่า เจตนาที่ถูกโอนไปย่อมต้องเป็นเจตนาฆ่าเช่นเดียวกัน......ส่วนผลที่เกิดจากการกระทำต่อบุคคลหนึ่งไม่โอนไปด้วยนะครับ
          ดังนั้นนักศึกษาจึงต้องหาเจตนาแรกให้ได้เสียก่อนว่าเป็นเจตนาเช่นใด......หลังจากเมื่อหาได้แล้วเจตนาที่จะถูกโอนก็จะเป็นเช่นเดียวกับเจตนาแรก.....แต่การโอนจะโอนไปเฉพาะเจตนาเท่านั้น ส่วนผลที่เกิดขึ้นจากเจตนาแรกจะไม่โอนไปด้วยนะครับ

          ดังเช่น ข้อสอบเนติฯสมัย51 นายสุขหยิบก้อนหินขว้างปานายใจ นายใจหลบทันแต่เซไปชนเรือได้รับอันตรายแก่กาย ปรากฏว่าก้อนหินไปถูกนายเมืองเป็นเหตุให้นายเมืองเสียหลักตกลงไปในน้ำ นายเมืองหมดสติและตายเพราะขาดอากาศหายใจจากการตกลงไปในน้ำ
          จากข้อเท็จจริง การที่นายสุขหยิบก้อนหินขว้างปานายใจ ย่อมแสดงว่านายสุขมีเจตนาแค่ทำร้ายนายใจเท่านั้น ดังนั้นเจตนาแรกของนายสุข จึงเป็นเจตนาทำร้าย
          การที่นายใจหลบทัน แต่เซไปชนเรือได้รับอันตรายแก่กาย ผลที่เกิดขึ้นก็ยังเป็นการเจตนาทำร้ายร่างกายนายใจ......ทั้งนี้ก็เพราะว่าการที่เซไปชนเรือแล้วได้รับอันตรายแก่กายนั้น ย่อมเป็นผลโดยตรงจากการกระทำการปาก้อนหินของนายสุข ดังนั้นนายสุขจึงต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นมานั้นด้วย นั่นก็คือความผิดฐานเจตนาทำร้ายร่างกายนายใจตามม.295 มิใช่พยายามทำร้ายร่างกายนายใจ”…..ดังนั้นเจตนาแรกของนายสุขคือเจตนาทำร้าย
          การที่ก้อนหินไปถูกนายเมืองเป็นเหตุให้นายเมืองเสียหลักตกลงไปในน้ำ นายเมืองหมดสติและตายเพราะขาดอากาศหายใจจากการตกลงไปในน้ำนั้น ย่อมเป็นกรณีของการกระทำโดยพลาด และย่อมเป็นผลโดยตรงจากการปาก้อนหินของนายสุข ดังนั้นนายสุขจึงต้องรับผิดในผลการตายของนายเมืองด้วย.....ส่วนจะรับผิดอย่างไร นักศึกษาจักต้องไปดูเจตนาที่โอนจากเจตนาแรกว่าเป็นเจตนาเช่นใด.....ซึ่งเจตนาแรกที่นักศึกษาหามาได้เป็นเจตนาทำร้าย ดังนั้นเจตนาที่โอนไปย่อมต้องเป็นเจตนาทำร้ายเช่นเดียวกัน (แต่จะโอนไปเฉพาะเจตนาเท่านั้น ส่วนผลที่เกิดขึ้นคือความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามม.295ไม่โอนไปด้วย).....เมื่อเจตนาที่โอนเป็นเจตนาทำร้าย แต่ผลคือความตาย จึงต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามม.290
          ดังเช่น ข้อสอบเนติฯสมัย54 นายเดชใช้อาวุธปืนลูกซองยิงขวดบนโต๊ะที่นายฤทธิ์นั่งอยู่ กระสุนถูกขวดแตก และยังกระจายไปถูกนายฤทธิ์บาดเจ็บสาหัส นอกจากนี้ยังกระจายไปถูกนายฉงนตาย
          จากข้อเท็จจริง การที่นายเดชใช้อาวุธปืนลูกซองยิงขวดบนโต๊ะที่นายฤทธิ์นั่งอยู่ กระสุนถูกขวดแตก และยังกระจายไปถูกนายฤทธิ์บาดเจ็บสาหัสนั้น แสดงให้เห็นว่านายเดชต้องเล็งเห็นแล้วว่าลูกกระสุนจะต้องกระจายไปถูกนายฤทธิ์ตายอย่างแน่นอน การกระทำของนายเดชย่อมเป็นเจตนาประเภทเล็งเห็นผล.....และเจตนาแรกของนายเดชก็ย่อมเป็นเจตนาฆ่า เมื่อไม่ตายจึงเป็นพยายามฆ่าตามม.288+80 มิใช่เจตนาทำร้ายจนเป็นเหตุได้รับอันตรายสาหัสตามม.297 นะครับ
          และเมื่อกระจายไปถูกนายฉงนตาย จึงเป็นการกระทำโดยพลาด เมื่อเจตนาแรกเป็นเจตนาฆ่า ดังนั้นเจตนาที่โอนไปจึงต้องเป็นเจตนาฆ่าเช่นเดียวกัน เมื่อนายฉงนตาย นายเดชจึงต้องรับผิดฐานฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนาตามม.288+ม.60 มิใช่รับผิดฐานคนตายโดยไม่เจตนาตามม.290 นะครับ
          ดังเช่น ข้อสอบเนติฯสมัย59 หนึ่งต้องการฆ่าสองจึงไปดักซุ่มยิงสอง หนึ่งใช้อาวุธปืนกำลังอ่อนยิงสอง นัดแรกยิงถูกสอง มีบาดแผลขนาด0.5ซ.ม. ไม่ลึก รักษา 7 วันหาย นัดที่สองเลยไปถูกสามบาดเจ็บสาหัส
          จากข้อเท็จจริง การที่หนึ่งต้องการฆ่าสองจึงไปดักซุ่มยิงสอง แสดงให้เห็นว่าเจตนาแรกของหนึ่งคือมีเจตนาฆ่าสองโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามม.289(4)”.......และใช้อาวุธปืนกำลังอ่อนยิงสอง นัดแรกยิงถูกสอง มีบาดแผลขนาด0.5ซ.ม. ไม่ลึก รักษา 7 วันหายนั้น แต่เนื่องจากใช้อาวุธปืนกำลังอ่อนยิง กรณีจึงเป็นพยายามที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ตามม.81 เมื่อไม่ตายตามที่ต้องการฆ่า กรณีจึงเป็นพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ ตามม.289(4)+ม.81
          การที่นัดที่สองเลยไปถูกสามบาดเจ็บสาหัส กรณีจึงเป็นการกระทำโดยพลาดตามม.60 เมื่อเป็นการกระทำโดยพลาด เจตนาจากการกระทำแรกต้องโอนไปยังการกระทำโดยพลาดด้วย......เมื่อเจตนาแรกเป็นเจตนาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ดังนั้นเจตนาที่จะโอนไปจึงต้องเป็นเจตนาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เช่นเดียวกัน.......เมื่อไม่ตายเพราะกระสุนจากอาวุธปืนกำลังอ่อน กรณีจึงเป็นพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ โดยพลาดตามม.289(4)+ม.60+ม.81

          ดังเช่น ข้อสอบเนติฯสมัย60 ขาวเข้าใจว่าแดงเป็นคนร้ายจะเข้ามาลักทรัพย์ในบ้านของตน จึงใช้ปืนยิงนายแดง 1 นัด กระสุนไม่ถูกแดง แต่ไปถูกดำตาย
          จากข้อเท็จจริง การที่ขาวเข้าใจว่าแดงเป็นคนร้ายจะเข้ามาลักทรัพย์ในบ้านของตน จึงใช้ปืนยิงนายแดง 1 นัด การใช้ปืนยิงแสดงให้เห็นว่าเจตนาแรกของขาวคือ มีเจตนาฆ่าแดง”...... เนื่องจากกระสุนไม่ถูกแดงกรณีจึงกลายเป็นพยายามฆ่าผู้อื่นตามม.288+ม.80......แต่เนื่องจากเข้าใจว่าแดงเป็นคนร้ายจะเข้ามาลักทรัพย์จึงใช้ปืนยิงกรณีจึงเป็นการป้องกันสิทธิของตนเองให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายอันใกล้จะถึง......และจากการใช้ปืนยิงกรณีจึงกลายเป็นการป้องกันที่เกินสมควรแก่เหตุตามม.69.......แต่เนื่องจากเข้าใจในข้อเท็จจริงว่าตนมีเหตุที่จะป้องกันซึ่งเกินสมควรแก่เหตุได้ กรณีจึงเป็นการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงที่จะทำให้การกระทำได้รับโทษน้อยลง ตามม.62 วรรคแรก (ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุโดยสำคัญผิด)
          การที่กระสุนไม่ถูกแดง แต่ไปถูกดำตาย กรณีจึงเป็นการกระทำโดยพลาดตามม.60 เมื่อเป็นการกระทำโดยพลาด เจตนาจากการกระทำแรกต้องโอนไปยังการกระทำโดยพลาดด้วย......เมื่อเจตนาแรกเป็นเจตนาฆ่าผู้อื่น ดังนั้นเจตนาที่จะโอนไปจึงต้องเป็นเจตนาฆ่าผู้อื่น เช่นเดียวกัน.......แต่เมื่อการกระทำของนายขาวต่อนายแดงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุโดยสำคัญผิดตามม.62 วรรคแรกและการที่พลาดไปถูกนายดำก็ย่อมอ้างว่าเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุต่อนายดำได้เช่นกันกรณีจึงเป็นฆ่าผู้อื่นโดยพลาดโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงตามม.288+ม.60+ม.62 วรรคแรก

          ดังเช่น ข้อสอบเนติฯสมัย62 ม่วงใช้ก้อนหินหนัก 1 ก.ก.และครึ่งก.ก.ทุ่มจากสะพานลงไปยังเรือซึ่งมีผู้โดยสารจำนวนมาก หินก้อนหนึ่งถูกฟ้าบาดเจ็บสาหัส อีกก้อนกระเด็นไปถูกเขียวที่นั่งในเรืออีกลำหนึ่งทำให้ตาบอด
          จากข้อเท็จจริง การที่ม่วงใช้ก้อนหินหนัก 1 ก.ก.และครึ่งก.ก.ทุ่มจากสะพานลงไปยังเรือซึ่งมีผู้โดยสารจำนวนมาก หินก้อนหนึ่งถูกฟ้าบาดเจ็บสาหัส การใช้ก้อนหินหนัก 1 ก.ก.และครึ่งก.ก.ทุ่มจากสะพานลงไปยังเรือซึ่งมีผู้โดยสารจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าเจตนาแรกของขาวคือ มีเจตนาฆ่าผู้อื่นประเภทเล็งเห็นผล”...... เนื่องจากหินก้อนหนึ่งถูกฟ้าบาดเจ็บสาหัส ฟ้าไม่ตายกรณีจึงกลายเป็นพยายามฆ่าผู้อื่นตามม.288+ม.80
          การที่ก้อนหินอีกก้อนหนึ่งกระเด็นไปถูกเขียวที่นั่งในเรืออีกลำหนึ่งทำให้ตาบอด กรณีจึงเป็นการกระทำโดยพลาดตามม.60 เมื่อเป็นการกระทำโดยพลาด เจตนาจากการกระทำแรกต้องโอนไปยังการกระทำโดยพลาดด้วย......เมื่อเจตนาแรกเป็นเจตนาฆ่าผู้อื่น ดังนั้นเจตนาที่จะโอนไปจึงต้องเป็นเจตนาฆ่าผู้อื่น เช่นเดียวกัน......กรณีจึงเป็นเจตนาฆ่าผู้อื่นโดยพลาดตามม.288+ม.60.....เมื่อเขียวเพียงแต่ตาบอด ไม่ตาย กรณีจึงกลายเป็นพยายามฆ่าผู้อื่นโดยพลาดตามม.288+ม.60+ม.80
……..

          แม้ว่านักศึกษาหาเจตนาโอนได้และหาได้ถูกต้องแล้วก็ตาม......แต่นักศึกษาก็ยังจักต้องไปไล่สายที่ 6 เพื่อหาว่าข้อสอบได้ถามถึงประเด็นฐานะ/หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้ายหรือไม่กันต่อไป เพื่อป้องกันการตกประเด็นและป้องกันการผิดพลาดนั่นเองครับผม......(และประเด็นนี้ก็มักถูกนำเอามาทดสอบผู้เข้าสองซะด้วยซิครับ)......(จะไล่สายทั้งทีก็ขอให้นักศึกษาไล่ไปจนสุดสายเลยนะครับ ซึ่งถ้าไล่จนสุดสายรับรองได้ว่าไม่มีทางตกประเด็นในเรื่องเกี่ยวกับการกระทำโดยพลาดอย่างแน่นอนครับผม)

          6. แม้ว่าเมื่อนักศึกษาไล่สายที่ 1 แล้วได้คำตอบออกมาว่ามีเจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่งแล้วก็ตาม......แม้ว่าเมื่อไล่สายที่ 2 แต่ แล้วจะได้คำตอบออกมาว่าผู้ลงมือกระทำจะไม่มีเจตนากระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3”ก็ตาม......และแม้ว่าเมื่อไล่สายที่ 3 แล้วจะได้คำตอบออกมาว่าผลของการกระทำจะไปเกิดกับอีกบุคคลหนึ่งที่ 1/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 2/หรืออีกบุคคลหนึ่งที่ 3”ก็ตาม......และแม้ว่าเมื่อไล่สายที่ 4 แล้วจะได้คำตอบออกมาว่าวัตถุแห่งการกระทำจะเป็นประเภทเดียวกันก็ตาม......และแม้ว่านักศึกษาจะสามารถฟันธงได้ว่าการกระทำของผู้ลงมือเป็นการกระทำโดยพลาดแล้วก็ตาม......และแม้ว่าเมื่อไล่สายที่ 5 แล้วหาเจตนาโอนได้แล้วก็ตาม......แต่นักศึกษาก็ต้องยังคงทำการไล่สายที่ 6 ต่อไปเพื่อหาว่าข้อสอบได้ถามถึงประเด็นฐานะ/หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้ายหรือไม่กันต่อไป เพื่อป้องกันการตกประเด็นและป้องกันการผิดพลาดนะครับ......
          สายที่หกนี้ไม่มีอะไรมากมายหรอกครับ เพียงแต่ให้นักศึกษาไล่ดูว่า ข้อสอบได้ถามถึงประเด็น ที่เกี่ยวกับฐานะระหว่างผู้ได้รับผลร้ายกับผู้ลงมือกระทำโดยพลาดหรือไม่ประเด็นหนึ่ง.....กับประเด็นที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์พิเศษระหว่างผู้ได้รับผลร้ายกับผู้ลงมือกระทำโดยพลาดหรือไม่อีกประเด็นหนึ่ง.....
          ทั้งนี้ก็เพราะม.60 ส่วนท้ายได้กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่ากรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้บุคคลต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะฐานะหรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้ลงมือกระทำกับผู้ที่ได้รับผลร้าย ท่านมิให้นำเอาบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับกับการกระทำโดยพลาด”......ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวก็คือบทบัญญัติตามม.289(1) ฆ่าบุพการี และม.289(2) ฆ่าเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่นั่นเองครับผม
          ดังนั้นในกรณีของการกระทำโดยพลาด จึงไม่นำเอาบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับกับการกระทำโดยพลาด
          ดังเช่น หนึ่งต้องการฆ่าสอง จึงใช้ปืนยิงไปที่สอง พอดีสามซึ่งเป็นบิดาของหนึ่งวิ่งถลันเข้าห้าม กระสุนไม่ถูกสอง แต่กลับไปถูกสามตาย
          จากข้อเท็จจริง การที่หนึ่งต้องการฆ่าสองจึงใช้ปืนยิงไปที่สอง การใช้ปืนยิงแสดงให้เห็นว่าเจตนาแรกของหนึ่งคือ มีเจตนาฆ่าสอง”...... เนื่องจากกระสุนไม่ถูกสองกรณีจึงกลายเป็นพยายามฆ่าผู้อื่นตามม.288+ม.80
          การที่กระสุนไม่ถูกสอง แต่ไปถูกสามซึ่งเป็นบิดาของหนึ่งตาย กรณีจึงเป็นการกระทำโดยพลาดตามม.60 เมื่อเป็นการกระทำโดยพลาด เจตนาจากการกระทำแรกต้องโอนไปยังการกระทำโดยพลาดด้วย......เมื่อเจตนาแรกเป็นเจตนาฆ่าผู้อื่น ดังนั้นเจตนาที่จะโอนไปจึงต้องเป็นเจตนาฆ่าผู้อื่น เช่นเดียวกัน.......กรณีจึงเป็นเจตนาฆ่าผู้อื่นโดยพลาดตามม.288+ม.60.....มิใช่เป็นเจตนาฆ่าบุพการีโดยพลาดตามม.289(1)+ม.60 ทั้งนี้ก็เพราะว่าม.60 ส่วนท้ายได้กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่ากรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้บุคคลต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ลงมือกระทำกับผู้ที่ได้รับผลร้าย ท่านมิให้นำเอาบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับกับการกระทำโดยพลาด”......กรณีดังกล่าวถึงแม้ว่าสามจะเป็นบิดาของหนึ่งก็ตาม เราก็ไม่อาจนำเอาม.289(1) มาปรับบทฐานฆ่าบุพการีตามม.289(1)ได้ ทั้งนี้เพราะว่าการกระทำโดยพลาดตามม.60 ส่วนท้าย มิให้นำเอาบทบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นเพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ลงมือกระทำกับผู้ที่ได้รับผลร้ายมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้ลงมือกระทำให้หนักขึ้น
          ข้อควรระวัง แต่ถ้าเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับฐานะระหว่างผู้ที่ได้รับผลร้ายกับผู้ที่ได้รับผลร้ายด้วยกันเองก็ดี /หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่ได้รับผลร้ายกับผู้ที่ได้รับผลร้ายด้วยกันเองก็ดี”.....กรณีเช่นนี้ไม่เข้าตามหลักม.60 ส่วนท้ายเพราะมิได้ทำให้ผู้ลงมือกระทำได้รับโทษหนักขึ้น.....ดังเช่น หนึ่งต้องการฆ่าสองซึ่งเป็นบิดา จึงใช้ปืนยิง แต่ไม่ถูกสองตายและ กระสุนยังเลยไปถูกสามซึ่งเป็นมารดาตาย ดังนั้นต่างก็เป็นความผิดฐานฆ่าบุพการีตามม.289(1) หนึ่งต้องรับผิดต่อสามตามม.289(1)+ม.60รับผิดต่อสองตามม.289(1)ฯลฯเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น