วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กม.มรดก

กม.มรดกจากไทยจัสติส

รุปคำบรรยายวิชามรดก ( ค่ำ ) ครั้งที่ 5 -8

หากเอกสารสรุปคำบรรยายนี้ มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้า kankokub ขออภัยและน้อมรับแต่เพียงผู้เดียว หากจะมีประโยชน์อยู่บ้างขอมอบให้แก่ ท่านอาจารย์ รศ.พรชัย สุนทรพันธุ์ ผู้บรรยาย , บิดามารดาข้าพเจ้า ขอบคุณ. http://www.muansuen.com และคุณ admin ที่นำ flie เสียงครั้งที่ 5 – 6 . 28-06-53

วันนี้สองชั่วโมงรวดนะครับไม่เบรก เราก็มาดูเรื่องผู้มีสิทธิรับมรดก ถ้ามีคนตาย มรดกตกทอดแก่ ผู้รับมรดก

ถ้าทรัพย์นอกพินัยกรรมก็ตกแก่ทายาทโดยธรรม

ปรากฎอยู่ใน 1629 ในเรื่องนี้ปริญญาตรี ก็ออกอยู่แล้ว ในกรณี ข้อสอบผู้พิพากษาอัยการ หรือ เนฯ ก็ไม่หนีไปไหน ก็คือ ผู้สืบสันดาน ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา

เพราะฉะนั้น ตอนนี้ ยังไม่มีคู่สมรส หรือ ตายแล้ว หรือ หย่าแล้ว ก็ไปเกี่ยวกับ เรื่อง ทายาทผู้เป็นญาติ

ก็คือคงไม่ได้ให้เท่ากันหมด

ถามว่าถ้าคนตายมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันและคนตายมีปู่ย่า

มีคนมาถามอาจารย์ในฐานะที่สอนมรดก ว่า ไม่ยุติธรรม บอกว่า แม่เขา ต้องลี้ภัยมาอยู่กับคนยาย เพราะผู้หญิงคนหนึ่งมาแย่งสามีแม่ไป หนูก็อยู่กับยายตลอด พ่อก็มีลูกกับผู้หญิงอีกคนหนึ่ง แม่หนูก็ตายไปเพราะความตรอมใจ ถ้าหนูตายไป มรดกก็ตกแก่ลูกของแม่ใหม่ ไม่ยุติธรรมกับหนูกับยาย

ก็ผู้ร่างกฎหมาย ก็คงจะมองเรื่องสายโลหิต เป็นเรื่องสืบสายโลหิต เพราะฉะนั้นคนเรียนกฎหมาย ก็ต้องการให้มี ทำไมในหัวใจ ว่าทำไมกฎหมายร่างอย่างนั้น

คราวนี้ก็มีคนมาถามว่า อาจารย์บอกว่า ผู้บัญญัติกฎหมาย ไม่ว่าจะเรียนที่ไหน ก็มีหลักและมีข้อยกเว้น จะเห็นว่า 1630 วรรคสอง ถ้าไม่มีผู้สืบสันดาน ให้เป็นเสมือนทายาทชั้นบุตร

พ่อก็สำคัญแม่ก็สำคัญ เราก็มาดูหกลำดับที่ใครๆบอกว่าสำคัญ

ผู้สืบสันดานเป็นภาษากฎหมาย ก็ต้องมาขยายว่าคือใคร ก็มีสามพวก ก็คือบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว และก็บุตรบุญธรรม ก็เป็นลำดับที่หนึ่ง

ถ้าสามพวกนี้ตายลง เปิดมาตรา 1633 ก็ได้คนละส่วนเท่าๆกัน ตรงนี้เราก็พูดได้ เว้นแต่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เราก็มีแต่แม่ที่ชอบด้วยกฎหมาย ชีวิตเราไม่มีพ่อที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะพ่อไม่เคยทำอะไรให้เราเป็นลูกที่ชอบ เพราะฉะนั้นก็มีเยอะแยะ หรือ เรามาเรียนเนฯ ก็แวะดูฟุตบอลบ้าง มีความรัก เราก็ท้องเลย ก็บอกให้ไปทำแท้ง เราก็ไม่ทำ เด็กที่เกิดมาก็ไม่มีพ่อที่ชอบด้วยกฎหมาย เราก็ทำมาหากินเลี้ยงลูกของเราได้

แล้วมีเว้นแต่กฎหมายบัญญัติเป็นอย่างอื่น ก็คือ กฎหมายกำลังเข้าสภา เป็นเรื่องปัญหาชีวิต เรื่องอุ้มบุญไงครับ เรื่องที่ผู้หญิงอยากมีลูกแต่ท้องไม่ได้

การร่างกฎหมาย ถ้าอยู่ในกระบวนการมันไม่เร็ว คราวนี้บุตรชอบด้วยกฎหมายของพ่อ อุแว้มา ใช่เลย หรือภายหลังที่เด็กคนนี้เกิดมาห้าปีสิบปี มาตรา 1536 เด็กเกิดหญิงขณะแล้วแต่กรณีตรงนี้ ก็ง่ายนิดเดียว

ถ้าเราท้องแล้วมีลูกขึ้นมาก็ให้สันนิฐานว่าเป็นลูกของชายที่เป็นสามี

วรรคสองคือยกตัวอย่างง่ายๆว่าไปชายไปจดทะเบียนสมรสซ้อน ศรีแก้วก็ท้อง เพราะฉะนั้นคุณหญิง ก็ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าเป็นโมฆะ แต่ตรงนี้ปกป้องเด็ก ก็คือเด็กที่เกิดมา อย่างไรก็ชอบ เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่ว่า อุแว้มาก็ใช่เลย ตรงนี้เคยสงสัยหรือไม่ครับว่าทำไมต้องสามร้อบสิบวัน ก็เพราะเหตุผลว่าไม่แน่นะ

บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของพ่อ ก็ต้องเปิดไปเด็กชอบด้วยกฎหมาย ตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องโยงกับ 1557 ก็เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่เกิด พอศาลพิพากษาแล้วก็ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วกฎหมายตั้งแต่เกิด

พอจดแล้วก็เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่อาจไม่มีสายสัมพันธฺกับแม่โดยชอบด้วยกฎหมาย

ถ้าศาลพิพากษาแล้วก็ต้องมีการเรียกค่าเลี้ยงดูตามฐานานุรูปของคุณพ่อ เพราะฉะนั้นก็เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็เป็นเรื่องชีวิต เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เกิดประเด็น ว่า การจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็คือว่า ก็เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 1558 ไม่มีดอกจันทร์นะครับ มาตรา 1558 จะเห็นว่าการฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ก็แบ่งมรดกก็กระชากไปแบ่งในเรื่องลาภมิควรได้ ตรงนี้ก็เกิดประเด็นว่า บางท่านเขียนว่าการฟ้องคดี ต้องฟ้องเมื่อพ่อตายแล้วก็ต้องฟ้องภายในหนึ่งปี

ปรากฎว่า อาจารย์ก็มาเขียนในตำราของอาจารย์ว่า ถ้าผู้หญิงเอาเด็กมาฟ้องในขณะที่ยังไม่ตาย อ่านตาม 1558 การฟ้องคดี ให้เป็นบุตรของผู้ตาย ตรงนี้เพิ่งออกข้อสอบเมื่อคราวที่แล้วเอง พอเขียนว่า การที่กฎหมายครอบครัว ก็เพื่ออุดช่องว่างของกฎหมาย ซึ่งสามารถฟ้องได้ แต่ต้องฟ้องในอายุความมรดก

จะเห็นได้ว่าสาระสำคัญต้องฟ้องในอายุความมรดก กลับไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย อาจารย์เห็นว่า ก็ใช้ 1558 มาบังคับโดยอนุโลม

คือมาตรา 1558 ถ้าเกิดว่าขอให้ศาลพิพากษา แล้วศาลพิพากษา ให้ถือว่าเป็นคำถามเลย คือ ว่าพ่อตายแล้ว ก็ตาลีตาเหลือกมาฟ้อง เกินหนึ่งปีแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าไม่ฟ้องในหนึ่งปีก็ไม่มีสิทธิได้ เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงที่กระทรวงการคลัง ไม่รู้ทนายหรือหญิงนี้บ้านนอกหรืออย่างไรก็ไม่รู้ ไม่ไปศาล ศาลก็เลยจำหน่ายคดีเพราะขาดนัดไม่มาศาล ต่อมาเรื่องก็แดงขึ้นมา ขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรของข้าราชการผู้ตาย

บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว เพราะฉะนั้นตรงนี้ไม่มีกฎหมายเขียนรับรองอย่างไร ไม่ต้องอาศัยทะเบียนคนเกิดแต่อย่างใดทั้งสิ้น

เมื่อความรักหายไปแล้ว มรดกถ้าสมมุติว่าพ่อ ตายแล้ว จะไปฟ้องอะไรจากอาจารย์

ลูกเมียน้อยบอกว่าทุกคนรู้ว่าฉันเป็นลูกเสี่ยเล้ง เมียใหญ่ก็บอกว่าอยากฟ้องก็ฟ้อง ไม่ให้ ผัวก็ยังไม่แน่ใจเลยว่าเป็นลูกเขาจริงหรือไม่

อันนี้ก็เป็นเรื่องบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วก็ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน

ในเรื่องบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วถือว่าเป็นผู้สืบสันดานจะต้องรับรอง อย่างไร ส่งเสียเลี้ยงดูให้ใช้นามสกุล ทะเบียนบ้านหรือที่โรงเรียน จำเป็นหรือไม่ต้องฟ้องว่าเป็นบุตรนอกกฎหมาย จะเอามรดกอย่างเดียว ก็ไม่จำเป็นต้องฟ้องให้รับรองบุตรก็ได้

เราก็มาดูว่า บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน แต่มีคดีหนึ่งที่น่าออกข้อสอบเนฯมาก

ฏีกา 3048/2552 น่าออกมากๆ จิ๋มมีสามี ชื่อสมศักดิ์ ไม่ได้หย่ากัน แต่ไม่ค่อยถูกกัน ก็ถือว่าเป็นสามีภริยากัน จิ๋มก็ไปอยู่กับชายคนอื่น จิ๋มเก่งมาก ปรากฎว่า ต่อมา ก็ยังไม่หย่ากับสมศักดิ์ จิ๋มก็มีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับผู้ชายอีกคนจนตั้งครรภ์ ผู้ตายก็ชำระค่าใช้จ่ายในการคลอด และยอมให้เด็กคนนี้ใช้นามสกุล และยอมให้ไปบ้านญาติ เป็นการรับรองว่าเป็นบุตร และมีการรับรองท้าย การหย่า ว่ามีบุตรเพียงหนึ่งคน เพราะฉะนั้นผู้คัดค้านก็ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตาย

ถามว่าฏีกานี้มันน่าสนใจตรงไหน ก็ 1536 จิ๋มเป็นสามีภริยากับสมศักดิ์ให้สันนิฐานก่อนว่าเป็นลูกของชายที่เป็นสามี เพราะฉะนั้นไม่ใช่ข้อสันนิฐานที่เป็นเด็ดขาด

คือจิ๋มมีผัวและมีชู้ ตรงนี้ก็เห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าออกข้อสอบเพราะไปโยงกฎหมายครอบครัวและเป็น เรื่องบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วโดยพฤตินัย คราวนี้บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว รับรองเด็กในท้องได้หรือไม่ ง่ายมากเรียนตั้งแต่ปีหนึ่ง สอนว่าสภาพบุคคลเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก

รับรองแล้วตั้งแต่อยู่ในท้องได้หรือไม่ เมื่อเป็นผู้สืบสันดานรับรองตั้งแต่เกิดได้แน่นอน ตรงนี้ต้องมีแววที่คนให้พูดกันคือฏีกาเก่า ตัดสินว่าเด็กเกิดตั้งแต่บิดาตายแล้ว ไม่มีสิทธิเป็นทายาทเจ้ามรดกอันนั้นคือฏ๊กาเก่าแล้ว ก็เกิดคดี ก็คือฏีกาปี 02 คือเรื่องนายพิณ กับนายพุดทอง

แล้วก็รักกันแต่งงานกันที่โรงเรียน มีท่านนายอำเภอมางานเลี้ยงแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ต่อมาครูพุดทองก็ท้อง ก็รู้ว่าเป็นเด็กผู้ชายก็มีงานเลี้ยงฉลองกันอย่างใหญ่โต นายพิณก็กล่าวว่าดีใจได้ลูกชาย

แล้วนายพิณถูกรถชนตาย

ก็ต้องขอขอบคุณทนายความคดีนี้ ที่สู้ว่า บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วนี้ รวมถึงรับรองตั้งแต่ยังไม่เกิดก็ได้

ก็มีการฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดู ก็คงไม่ลืมเรื่องกฎหมายละเมิด 443 วรรคสาม ถ้าเหตุที่ทำให้ตายลง ทำให้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย เน้น ตามกฎหมาย พ่อที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีหน้าที่ ต้องไปอุปการะ ตามกฎหมาย

ตัวอย่างเช่น สามีย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดไปจดทะเบียนสมรสซ้อนกับศรีแก้ว ไปอาลาวาดจนการสมรสเป็นโมฆะ ต่อมานายอำเภอตาย ถามว่าลูกศรีแก้วได้รับมรดกนายอำเภอหรือไม่ ตอบว่าได้รับ เด็กสองคนนี้ได้มรดกท่านนายอำเภอเพราะเป็นบุตรที่ชอบคะแนนวินิจฉัยไปเลย ได้เพราะเป็นบุตรที่ชอบ

ต่อไปถึงบุตรบุญธรรมเป็นเรื่องเรียนกฎหมายครอบครัวแล้ว ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ไปรับลูกชาวบ้านมาเลย ตรงนี้นี้ขอเล่านวนิยายเรื่องลูกเขมร ก็ไม่รู้ว่าใครจะมาออกข้อสอบหรือไม่

พอมีลูกก็ให้มาอ้อนวอนให้พี่ชายเราแจ้งว่าเป็นลูกของแก่หน่อยเพราะมีปัญหา เรื่องสัญชาติ พี่ชายก็ไปแจ้งว่าเด็กนี้เกิด อันนี้ก็เช่นเดียวกัน ต่อมา ใครตายไป พี่สะใภ้ก็ตาย ปรากฎว่าไอ้บ้านี้จะเอามรดกพี่ชายเรา เราก็บอกว่าจะบ้าเหรอบอกกี่ครั้งกี่หนแล้วว่า เธอลูกเขมร การแจ้งเกิดเป็นการแจ้งเท็จ เราก็ต้องเถียงว่าอันนั้นเรื่องไม่จริง เพราะพี่ชายฉันไม่ได้ทำให้แกเกิด ศาลฏีกาก็ตัดสินว่า เด็กคนนี้ไม่ใช่คนที่มีสิทธิได้รับมรดกของพี่เรา

4791/2542

อันนี้ประเทศไทยก็น่าจะมีเยอะ ในเรื่อง การไปแจ้งเกิดว่า เป็นลูกตน

บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วต้องเป็นลูกที่สายเลือดของเขาจริงๆ

บุตรบุญธรรมขบวนการ ภาคปฏิบัติ ก็มีการเข้มงวด

สามีจะรับหลานเขาเป็นบุตรบุญธรรม ดูมาตรา 1598/25 เราก็เห็นว่าต้องให้ความยินยอมเสียก่อน ถ้าไม่ให้ต้องร้องขอต่อศาลก่อน คือถ้าไม่ได้รับความยินยอม การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเป็นนิติกรรม เราก็ต้องดูพื้นฐานว่าถ้าขัดต่อความสงบ การจดทะเบียนรับเด็ดเป็นบุตรนิติกรรมเป็นโมฆะ

เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับว่าการรับบุตรบุญธรรม ความยินยอมจะทำอย่างไร ไม่เป็นไร ก็ไปนั่งเฉยๆให้เขาบันทึก ศาลฏีกาตัดสินว่าใช้ได้เพราะถือว่าให้ความยินยอมแล้ว คือให้ความยินยอมไปโดยไม่ได้เซ็นต์อะไร คราวนี้มีฏีกาที่น่าสนใจมากๆคือมาตรา 1598/26 คือผู้เยาว์จะเป็นบุตรบุญธรรมซ้อนไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสนั้น

เช่นอาจารย์มีเลขาชื่อสุนีย์ แล้วมีลูก อาจารย์ไปรับมาเป็นบุตรบุญธรรมอำนาจปกครองมันจะเคลื่อนแล้วนะ อาจารย์เดชาจะมาจดทะเบียนรับเด็กคนนี้อีกไม่ได้นะ เพราะไม่เช่นนั้น อำนาจปกครองจะตีกันตายเลย เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม เพราะว่า เด็กคนนั้นไม่เป็นบุตรบุญธรรมของเราโดยอัตโนมัตินะ

บุตรบุญธรรมที่จดนั้นเป็นโมฆะ จะจดได้อย่างไร อยู่กินฉันท์สามีภริยาเท่านั้น 2621-2622/2531

ครั้งที่ 7 . 05-07-53

คือไม่ได้ไปลงนามที่อำเภอต่อมาสามีตาย ก็อาลาวาดว่าการรับบุตรบุญธรรมใช้ไม่ได้หรือเป็นโมฆะนั่นเอง 2359/2531

เรื่อง ยาย จ ก็มีสามี อยู่แล้วก็แยกกันอยู่ แล้วมีนาย ป ก็ท้อง ออกลูกที่พญาไทยสอง ป ก็แสดงออกอย่างพ่อที่มีต่อลูกเปิดเผย ต่อมา เธอก็หย่ากับสามี หลังจากที่เด็กเกิดได้สอง ปี ก็ไปทำบันทึกในการหย่าว่ามีลูกหนึ่งคนไม่รวมคนนี้ นาย ป ตาย ญาติของนาย ป ก็ต้องพยายามพิสูจน์ว่าเด็กคนนี้ไม่ใช่ลูกของ นาย ป ศาลฏีกาบอกว่าข้อสันนิฐานตาม 1536 ไม่ใช่ข้อสันนิฐานเด็ดขาด

เพราะฉะนั้นอันนี้ก็ 3048/2552 นะครับ คราวนี้เรามาดูในเรื่องบิดามารดา ธรรมดาอาจดูอนุมาตรา 2 ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่ก็มีในชีวิตประจำวันได้ เช่น โดยเฉพาะคนที่เป็นเมียน้อย พอไม่ได้หย่าเสร็จพอท้องขึ้นมาก็พูดได้คำเดียวว่าทำแท้งๆ เราก็ไม่ยอมเพราะว่าความรักลูกหรือเราท้องแล้วกลัวตายก็เอาไว้แล้วก็เลี้ยง ดูลูกอย่างฝืดเคือง ก็ พวกนายดาบไปก็ร้องเรียนต่อผู้กำกับ ก็บอกว่าไอ้จ่ามิ่ง จนป่านนี้แล้ว ก็ขอค่าเลี้ยงดูเดือนละห้าร้อยแค่นั้นก็ให้ไปเหอะ

ต่อมาจ่ามิ่งก็ยอม บันทึกไว้ ความยากจนมันเห็นดูก็ตลกไม่ออก จ่ามิ่งเดินขึ้นโรงพัก รับเงินเดือนแล้วก็หนี ต่อมาลูกเป็นนักร้องลูกทุ่ง เป็นผึ้งสอง

จ่ามิ่งก็มาไถ่ลูกประจำ ยายฝนก็ด่าว่าไม่ต้องไปให้มัน ปรากฏบอกว่าพอกันที ถ้าให้อีกเกิดเรื่อง ปรากฏว่าต่อมาลูกสาวที่เป็นนักร้อง ก็ตาย อาจมีเงินสดในธนาคารสักล้านนึง

ก็ฟ้องแบ่งมรดก จ่ามิ่งก็ด่าสิ ทำไม ถ้าฉันตาย อีผึ้งได้รับมรดกฉันไหม ตอบว่าได้ ก็ผึ้งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่รับรองแล้ว คนเขาก็รู้กันหมด เห็นไหม เพราะฉะนั้นก็เถียงกันประเด็นนี้จนจะสิ้นลม ฏีกามาตลอดเลย

ก็บอกไว้เลยนะครับ ว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งบัญญัติว่า บิดามารดาซึ่งกันและกันบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตร ถามว่าแล้วทำไม 1627 จึงไปช่วยเด็กหล่ะ ก็ช่วยเด็กที่เกิดเพราะฝีมือคุณ เขาคุ้มครองเด็กไม่ได้คุ้มครองผู้ใหญ่ ก็ต้องเป็นบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นนะครับ

คราวนี้พ่อบุญธรรมบ้างหล่ะ ดูประหนึ่งว่าต้องเป็นผู้เสียสละเพราะไปขอเด็กมาเป็นบุตรบุญธรรม

ถ้าเราเป็นพ่อบุญธรรมเราตาย เด็กก็ได้

แต่ถ้าเด็กตาย เราไม่มีสิทธิตาม 1598/29 แล้วมรดกไปไหนในเมื่อเราไม่ได้รับ

เปิด 1598/28 การไปเป็นบุตรบุญธรรมชาวบ้านไม่เสียสิทธิหน้าที่ที่เกิดมา ก็คือพ่อแม่ที่แท้จริงเขาจะกลับมา

เราเป็นพ่อบุญธรรมที่แสนดี เลี้ยงก็รัก เพราะฉะนั้น บุตรบุญธรรมโตขึ้นมาเรียนคอมฯเก่งเราก็ให้ทุนไปสร้างตึก เป็นโรงเรียนตึกก็ให้ ที่ดินก็โอนให้ ก็ทำโรงเรียนคอมฯเจริญ

ก็ประมาณ 20 ล้าน บุตรบุญธรรมตาย ถามว่าฉันไม่ได้รับมรดกหลอกฉันรู้แต่ฉันอยากขอที่ดินขอตึกแถวคืนได้หรือไม่

ตรงนี้ 1598/30 บัญญัติไว้เลยครับ ขีดเส้นใต้ในประมวลของเราเลย ไม่มีคู่สมรส หรือ ผู้สืบสันดาน ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้รับบุตรบุญธรรมก็คงไม่มีสิทธิเรียกคืนที่ให้ ตายก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม เรียกคืนได้เพียงเท่าที่ทรัพย์สินเหลืออยู่ภายหลังชำระหนี้กองมรดกเสร็จแล้ว

ต้องไม่มีทั้งสองอย่าง เรามีสิทธิเรียกคืน ตรงนี้ต้องระวังนะครับ ระวังวรรคสองด้วย ไม่ใช่อายุความมรดก

เราแพ้เพราะวรรคสองนี่แหละครับ เพราะฉะนั้นอย่าทะเลาะกันนาน ไม่เช่นนั้นจะขาดอายุความตามมาตรานี้

ท่านอาจารย์หยุด ท่านกล่าวว่ามีโอกาสแก้ได้ต้องแก้กฎหมาย ท่านอาจารย์หยุดบอกว่า มันจะไม่ดีตรงที่ว่า ถ้ามันขายหมดเลยโรงเรียน เพราะมันเห็นพ่อแม่มัน ไม่ห่วงพ่อบุญญรรมที่ดี ไปซื้อทองคำแท่ง ต้องแก้ให้พ่อบุญธรรมที่แสนดี ได้ทรัพย์สินเขาคืน

เพราะฉะนั้นจึงแก้ จากคงรูปเดิมอยู่เป็นทรัพย์สินที่เหลือเดิมอยู่

ต่อไปพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส อาจเพราะเป็นเรื่องความเชื่อ

อย่างนี้พอ นายหนึ่งตาย สอง จะเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือ พี่น้องร่วมแต่มารดา

ประเด็นจะเกิดเพราะว่าถ้านายหนึ่งตายแล้วมีคู่สมรส กับพี่น้องร่วมบิดามารดา คู่สมรสได้กึ่งหนึ่ง แต่ถ้ามีพี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดา คู่สมรสจะได้ สองในสามทันที

ศาลฏีกาก็ตัดสิน 4828/2539 พี่น้องร่วมบิดามารดาให้ดูตามข้อเท็จจริง คราวนี้พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ก็คงไม่มีปัญหาอะไรมาก แต่เท่าที่ดูคือก็ไม่จดทะเบียนสมรส ผู้ชายนี้ก็ไปได้กับนายสอง

2742/2545

ศาลก็ตัดสินว่าพี่น้องร่วมบิดามารดาดูตามข้อเท็จจริง เพราะว่าพี่น้องร่วมบิดามารดา สองคนนี้มันก็ทำเองไม่ได้ ต้องขึ้นอยู่กับพ่อที่จะต้องทำด้วย ไม่ใช่ความผิดของเขาเลย

ตอนนี้ก็ไปครอบครัวปนมรดก ก็ทำไมในเก้าปีออกข้อสอบสี่หน ถ้าเป็นสามีภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็คือไม่จดทะเบียนสมรส ก็เป็นกรรมสิทธิรวม ก็ไม่มีอะไรเลย ก็อยู่กันไปอย่างนั้น ชีวิตของแต่ละคน ก็มีเรื่องทรัพย์สินที่ได้มาก็เรียกกรรมสิทธิรวม เราก็ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของเขา

ครั้งที่ 8 . 12-07-53

สวัสดีครับเมื่อคราวที่แล้วเราก็พอจะให้คำจำกัดความ ว่าทายาทโดยธรรม คู่สมรสไม่ตัดทายาทที่เป็นทายาทโดยธรรม คราวนี้ราดู 16299 ตรงนี้ต้องเข้าใจนะครับ ว่า

ถ้ามีทายาทคู่สมรส กับ ผู้สืบสันดาน ก็ได้ เสมือนหนึ่งทายาทชั้นบุตรนะครับ

ถ้ามีลูกสี่ คู่สมรสหนึ่งก็หารห้าไป

คู่สมรสที่มีชีวิตอยู่ได้กึ่งหนึ่ง ก็มีการถามว่าทำไมไม่แยกอนุมาตรา ก็คืออารมณ์ของมาตรนี้คือพูดว่าได้เท่าไหร่ คือ จะมาพร้อมกันไม่ได้ สอง สาม มาพร้อมกันไม่ได้ เพราะฉะนั้นอารมณ์คือสำคัญ คือ คู่สมรสได้กึ่งหนึ่ง ถ้าไม่มีหนึ่ง สองสาม ไม่ได้อีก เพราะอนุสอง ไม่มีการรับมรดกแทนที่ อันนี้ต้องอ่านประกอบกับ 1639 ในการรับมรดกแทนที่ จะมีในมาตรา 1639 จะไม่มีการรับมรดกแทนที่ เพราะอย่างนั้นเลยต้องแยก ทำไมไม่มี ก็ง่ายนิดเดียว ถ้าอาจารย์ตายมีมรดกสองร้อยล้าน พ่อเกิดตายก่อน แล้ว อาจารย์ตาย แม่จะเอาหมดสองร้อยล้าน น้องบอกว่า จะวิ่งเข้ารับมรดกแทนที่ คุณเป็นแม่ไม่มึนเหรอครับแม่ก็คงต้องหามายัน เพราะถ้ามีก็จะเสียสูญของกฎหมายที่ว่ามีลำดับสองกับสาม คราวนี้ถ้ามีทายาทในลำดับที่สาม ตรงนี้ก็เช่นเดียวกันเพราะ 1639 บอกว่ามีการรับมรดกแทนที่ แล้วแต่กรณี เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าเก้าล้านคู่สมรสก็ต้องได้สองในสาม

อย่างที่เหลือก็โยนไป สี่ หรือ ห้า หรือ หก ตรงนี้ก็แล้วแต่ข้อสอบ

ถ้าไม่มีทายาท 1629 ตรงนี้ เขาก็บอกว่าคนตายมีคู่สมรสและพ่อที่รักลูกนี้มากแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ แม่เขา พ่อที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ทายาทของลูก ก็เป็นบ่อสักนิด อย่างนี้แล้วพ่อบุญธรรมให้ตึกแถวแล้วคนนี้ตาย ตึกแถวเอยตกแก่ใครก็คู่สมรสหมดแหละครับ

เพราะพ่อบุญธรรมไม่เป็นทายาท แล้วถ้าเราตอบลึกๆ เพราะมีความรู้มากจะขอตึกแถวที่ดินคืนได้หรือไม่ จะได้อย่างไรก็บุตรบุญธรรมมีคู่สมรสแล้ว

เราก็ตอบ 1598/30 /29 และ 1635 อนุสี่

ก็เป็นบ่อเล็กๆน้อยๆไปเรื่อยๆ คราวนี้ บอกเลยว่าข้อสอบ 1635 นิยมออกมากๆ ถ้าเป็นระดับปริญญาตรีก็คือหัดเขียนได้แล้ว ถ้าเวลาออกสอบ ออกอนุมาตราไหนก็เขียนเฉพาะอนุมาตรานั้น

ถ้ามีหนึ่งกับมีสอง ดูประหนึ่งเป็นช่องว่าง แต่กฎหมายไม่ได้เขียนไว้คงต้องใช้แบบ เสมือนหนึ่งทายาทชั้นบุตร

มันก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับว่า มันมีปัญหาและออกสอบได้สบายมาก ก็คือเรื่องการจดทะเบียนสมรสซ้อนของผู้ชาย

เพราะผู้ชายเป็น นายตลอด จะไปรู้ได้อย่างไร ว่าจดทะเบียนสมรสกับสมศรีแล้ว

มาเจอกัน ก็ฟื้นฟอยความรักครั้งเก่า ทำงานจากกรุงเทพกลับมาขอนแก่น ก็ไม่รู้จริงๆ บัตรประชาชนก็เป็นนายเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นก็เป็นอย่างนี้แหละ เราก็ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร

เราก็จดทะเบียนปั้งไปแล้วสามีเราก็เกิดอุบัติเหตุ ตาย หนังสือพิมพ์ลงทุกฉบับ

ศพตั้งอยู่ขอนแก่น ศาลาสี่ มีผู้หญิงมาที่ศาลา เรารับแขก ก็เลยรู้ว่า นี่คือ ภริยาของสามีเรา

ก็เอามาชนกันว่าจดก่อนจดหลังก็เลย ทำให้เราช็อกไปเลย

สมสวยค้นแล้วเจอจดหมายรัก ฉันขอสารภาพว่า ฉันโกหกเธอ จริงๆฉันจดทะเบียนสมรสแล้ว ฉันจบนิติศาสตร์ ไปเปิดตู้จะเจอพินัยกรรมของฉัน ยกให้เธอแต่ผู้เดียว

ถามว่านวนิยายเรื่องนี้สอนอะไรบ้าง

เปิด 1499 วรรคสอง จะพบสิ่งมหัศจรรย์ว่า มาตรานี้ มีดอกจันทร์แก้เมื่อปี 33 คือการสมรสที่เป็นโมฆะ ด้วยการจดทะเบียนสมรสซ้อน ไม่ทำให้ชายหรือหญิงเสื่อมเสียสิทธิก่อนได้รู้ว่าการสมรสเป็นโมฆะ

แต่ไม่ก่อให้เกิดสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง

เพราะฉะนั้นสมสวยไม่ได้ นะครับ ไม่ว่าสุจริตอย่างไร เมียน้อยก็ไม่ได้นะครับ

ตรงนี้ก็ไม่ได้ ในเรื่องเกี่ยวกับเป็นทายาทนะครับ

แต่ถ้าเป็นเรื่องค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดู อย่างนี้ยังมีสิทธินะครับ

แต่เรื่องนี้ยังดีอยู่ตรงที่ว่า เธอยังได้ในฐานะทายาทผู้รับพินัยกรรมนะครับ ตรงนี้ก็ออกได้เพราะครอบครัวปนมรดก

เราจะไป 3898/2548 ออกข้อสอบชุลมุนวุ้นวายเกี่ยวกับ 1458 ก็คือว่าไปจดทะเบียนสมรส ไม่แท้จริงไปหลอกทางอำเภอ ให้จดให้ฉัน เพราะฉันไม่ต้องการย้ายไปต่างจังหวัด ความจริงไม่จริง มันก็ไปฝ่าฝืนมาตรา 1458

แต่ตลกนะครับ มาตรา 1496 คำพิพากษาเท่านั้น ที่ทำให้เป็นโมฆะ พี่น้องจะมาบอกว่าเธอไม่ใช่คู่สมรสของพี่ชายฉัน อ้างไม่ได้ เพราะ โยงกันไปมา ต้องคำพิพากษาเท่านั้นที่แสดงว่าเป็นโมฆะ ปรากฎว่า ผู้ชายนี้ตายแล้วผู้หญิงคนนี้ก็เก่งนะครับ ฏีกานี้ ผู้หญิง ชื่อ จ หรือ สมมติว่า จิ๋ม ถ้าเราเป็นน้องชายผู้ตายเราจะยอมเหรอ ก็เกิดเรื่องมา เราเป็นน้องเราแพ้ครับ เพราะ 1496 วรรคสอง ปรากฎว่า อาจารย์เป็นน้องจะร้องได้อย่างไร ก็แพ้ จะร้องได้ต้องหาอัยการให้เป็นผู้ร้องให้ ปรากฎว่า ศาลยกเลยว่าอาจารย์ไม่มีสิทธิร้อง ก็ให้คนนี้เป็นผู้จัดการมรดก เพราะคำพิพากษาเท่านั้นที่แสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ ถามว่ามองลึกๆ ยัยนี่ก็มีสิทธิรับมรดกพี่รับสิ แน่นอน

แต่ถ้าเราสร้างเรื่องต่อไปว่า ถ้าเราร้องขอให้การสมรสเป็นโมฆะ เราเป็นน้องก็ร้องได้ ไม่เป็นการร้องซ้ำ ฟ้องซ้ำ แต่ตอนนี้ถ้าเราทำจนมีสิทธิร้อง ก็ไม่ได้พิจารณาว่าสั่งได้เราก็ดู 1499 วรรคแรก

การสมรสที่เป็นโมฆะ ที่ฝ่าฝืน 1458 ไม่ทำให้ชายเสื่อมสิทธิ แต่ผู้หญิงคนนี้ไม่สุจริต ข้อเท็จจริงป้อนไปแล้วว่าไม่สุจริตนิ แต่เมื่อไม่สุจริตจะมีสิทธิได้อย่างไร เพราะฉะนั้นแล้วแต่โยกการออกสอบได้ เห็นไหม ถ้าเป็น 1452 อาจจะง่ายไปนิด แต่ถ้าเอาฏีกานี้มาประกอบ ว่าเป็นพ่อมาร้อง ก็ร้องได้ ก็ดูว่ามรดกตกแก่ใคร ถ้าข้อเท็จจริงว่าไม่สุจริต

คราวนี้เราก็พูดในเรื่องคู่สมรสเพียงเท่านี้ ต่อไปก็เรื่องการรับมรดกแทนที่ 1639 ทั้งหมวดเลย ปริญญาตรีโอกาสออกสอบมากที่เดียว

อาจารย์ขอยืนยันว่า ข้อสอบเนฯ ห้าหกปีย้อนหลังไม่ออกซ้ำ แต่อารมณ์ข้อสอบคล้ายๆกัน แต่ก็ดูไว้ก็ดีนะครับ เพื่อฝึกการตอบ

เราดูเรื่องการรับมรดกแทนที่ 1639 เราจะพบใน ในเรื่องการรับมรดกแทนที่มากมายก่ายกอง มาตรา 1631 การรับมรดกแทนที่ในเรื่องคู่สมรส เพราะฉะนั้นมันก็ต้องมีความสำคัญในตัวของมัน ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตายหรือถูกจำกัด ก็ให้แบ่งจนหมดสาย

อาจารย์ก็มาเขียนชาร์ต ให้ดาว ยังไม่ต้องมีมะลิ ก็มีหนึ่ง สอง สาม หนึ่งตาย มี เอ บี และ แดงเป็นคู่สมรส ถามว่า หนึ่ง สอง สาม คือ ใคร ก็ดู 1639 บอกว่าเป็นใคร คือ หนึ่ง สาม สี่ หก ถึงแก่ความตาย หนึ่งตายก่อน อาจตายโดยธรรมดาหรือ ผลกฎหมายก็ได้

1640 บอก เพราะฉะนั้นก็เห็นว่า หนึ่งเป็นคนสาปสูญหรือตายก่อนก็ได้ และในเรื่องเกี่ยวกับ มีสองหรือมีห้า ก็บอกว่า ถ้าวงเล็บสอง หรือ ห้า ไม่มีการรับมรดกแทนที่ แล้วมีผู้สืบสันดาน เพราะฉะนั้นก็เห็นว่า หนึ่งสองสาม สร้างอะไรก็ได้ ครับ เหมือนกันไม่งั้นตัดกัน เพราะฉะนั้นให้ไปเหมือนกัน หนึ่งเป็นอาหนึ่ง ต่อมา ดาวตาย เราแบ่งมรดกดาว เก้าล้าน หนึ่งตายก่อน สูตรสำเร็จ เป็นคนใด ที่เป็น 1629 อนุหก ก็รับมรดกแทนที่ในส่วนของเขาไป เมื่อสักครู่บวกมะลิไป เพราะ ฉะนั้นต้องเอา 1635 มาถามด้วย ถ้าสมมุติ มี อา หนึ่ง สอง สาม มะลิได้หกล้าน

แล้วก็เข้าอิหร็อบเรื่องรับมรดกแทนที่ แล้ว นางแดงเป็นอะไรกับดาว เป็นสะใภ้ ไม่ใช่ทายาทของผู้ตาย แดงไม่ใช่เป็นผู้สื่บสันดานกับหนึ่ง มรดกของใคร มรดกของดาว เราไม่ได้ให้แบ่งมรดกของหนึ่ง ก็ช่างมัน ตรงนี้ก็บวกอารมณ์ 1635 มาใช้ด้วย คราวนี้ในการรับมรดกแทนที่ มาตรา 1642 ให้ใช้บังคับทายาทโดยธรรมก็เขียนไว้เลยนะครับ ว่าทายาทโดยธรรมตรงนี้เฉพาะ 1629 เท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าเมียมีลูกติดมา แล้วรับมรดกแทนที่ได้หรือไม่ ตอบว่าไม่ได้ เพราะฉะนั้นการรับมรดกแทนที่ใช้ได้แต่เฉพาะทายาทโดยธรรมแล้วก็ ปู่ ย่า ก็ใช้สิ เดียวเราก็เข้าใจผิดว่า คู่สมรสตายแล้วมีลูกติดจะมารับ ไม่ใช่แน่

ทายาทผู้รับพินัยกรรมไม่มีเขียนไว้ครับ อย่างอาจารย์มีเลขา ชื่อป้อม แล้วทำพินัยกรรมให้ป้อมหนึ่งล้าน ไม่เคยคิดให้ลูกป้อม เวลาอาจารย์ตายก็ต้องไปอย่างนั้น แต่ถ้าป้อมเกิดตายก่อนอาจารย์แล้วต่อมาอาจารย์ถึงพึงตาย อย่างนี้ควรแล้วหรือที่ให้ลูกป้อมได้รับมรดก ถ้าชอบลูกป้อมก็ทำให้ไปแล้วสิ ถ้าป้อมตายก็จบ ไม่ควรมีการรับมรดกแทนที่ แต่ส่วนของป้อมอยู่ในบทพินัยกรรมเสียข้อกำหนด เพราะ เนฯ สบาย เพราะถือว่าทุกคนเรียนมาแล้ว ก็ดู 1698 ได้เลย

มีหลายข้อ ข้อกำหนดในพินัยกรรมเสียมีอะไรบ้าง เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม นั่นเป็นบทเบ็ดเสร็จทั่วไป อยู่ตรงไหน ต้องดูเรื่องพินัยกรรม

1620 ถ้าอาจารย์ตายก็ไม่ตกกับทายาทโดยธรรม วรรคสองบอกว่าอาจารย์ทำพินัยกรรมไว้บางส่วน เสียอย่างไร ก็ไม่ได้บอก ก็ต้องดูท้ายพินัยกรรมสิว่าเสียบางส่วนเพราะอะไร ผู้รับพินัยกรรมเสียไป อันนั้นตกไปไหน ก็ต้องตกแก่ทายาทโดยธรรมหรือแก่แผ่นดิน เพราะฉะนั้นมองเห็นว่า ถ้าอาจารย์ รักหนึ่ง มากเลย แล้วหนึ่งเป็นน้อง ก็ยกให้หนึ่งเลยต่อมาอาจารย์ตาย ก็จะไปรับไม่ได้ เพราะหัวโขนของหนึ่งที่ได้เก้าล้านคือ ทายาทผู้รับพินัยกรรม ก็ชะงักก่อน แล้ว ตกมากองมรดกใหม่ แล้ว ค่อยมาแบ่งกันใหม่

ถ้าอาจารย์ทำพินัยกรรมยกให้หนึ่งแล้วเกิดตายก่อน เก้าล้านก็กระเด็นไป จะรับมรดกแทนที่ไม่ได้นะครับ สองสามได้หมด เพราะเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา แต่หนึ่งเป็นพี่น้องร่วมมารดาอย่างเดียว

สิทธิรับมรดกแทนที่เฉพาะผู้สืบสันดานโดยตรง บุพการีไม่มีสิทธิ ตรงนี้อาจารย์จำได้ดี ท่านศาสตราจารย์โชค สอนรวมกันทั้งปี ท่านอธิบายว่าผู้สืบสันดานในประมวลบรรพหกมีเยอะ แต่ผู้สืบสันดานโดนตรงมีสองมาตรา คือ มาตรานี้กับ 1606 เพราะฉะนั้นผู้สืบสันดานเฉยๆ กับผู้สืบสันดานโดยตรงต้องไม่เหมือนกัน เพราะผู้สืบสันดานโดยตรงต้องเป็นผู้สืบสายโลหิตด้วย

มรดกของดาวไม่ใช่ของหนึ่ง หนึ่งไปรับบุตรบุญธรรมชื่อ เอ ฉันเกลียดมาก ดาวมีมรดกสามพันล้าน เอ พูดกับอาสอง อาสามว่า มรดกของพ่อต้องตกแก่ผู้สืบสันดานคนละพันล้านครับ อันนี้มั่วแล้วนะครับ

เพราะสองกับสาม อ้างได้เลยครับ เพราะฉะนั้นนี่คือ why หรือ ทำไมกฎหมายบัญญัติเป็นอย่างนี้

อีกฏีกาหนึ่งของพี่สาวนายพลรับบุตรบุญธรรม แล้วพ่อแม่ตายแล้ว จะมารับมรดกแทนที่ท่านนายพล ก็เลยสู้กับมัน ตรงนี้ก็ออกสอบกันหมด ก็พยายามอธิบายว่าทำไมๆ

ก็มีฏีกาเรื่องหนึ่ง เป็นบุตรบุญธรรมของอาจารย์ หนูเป็นน้องสาว น้องสาวอดอยู่แล้ว แต่พอบุตรบุญธรรมจะแต่งงาน ก็เลี้ยงดูมาตลอด ต่อมาอาจารย์ตายมีมรดกพันล้าน หนูก็อดอยู่ดี การเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงให้ดูช่วง ว่าเป็นผู้สืบสันดานหรือไม่เท่านั้น

เพราะฉะนั้นคำพิพากษาฏีกาออกสอบมาหลายสมัยแล้ว ก็ไม่ได้ดูว่าตรงหรือไม่ ไม่ต้องไปดูนังแดงอย่างไรก็ไม่ได้อยู่แล้ว นี่เป็นฏีกาเลยนะครับ ที่ออกสอบทั่วมุมเมือง แต่คำว่าบุตรบุญธรรมก็มีฏีกาถึงปี 45 46 เพราะมรดกเป็นเรื่องหอมหวล ถึงไม่ได้ก็ขอยื้อไว้ก่อนเถอะ ตรงนี้ก็มาถึง 1643 เวลาหมดแล้วครับอาทิตย์หน้าพบกันนะครับ สวัสดีครับ

มาลงแบ่งปันให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย


---------------------------


สรุป มรดก ปิดคอร์ส ภาคปกติ 

กฎหมายลักษณะมรดก (ปกติ) อ.ม.ล.เฉลิมชัย เกษมสันต์. W 8 วันจันทร์ที่ ๑๒ ก.ค. ๕๓ 

กำจัดไม่ให้รับมรดก

การกำจัดมิให้รับมรดกเกิดหลังจากเจ้ามรดกตาย เมื่อเกิดหลังเจ้ามรดกตาย ไม่มีบทบัญญัติเรื่องนี้ไว้ศาลฎีกาจึงมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2539 ให้ใช้มาตรา 1607 แก้ปัญหา มาตรา 1607 ใช้คำว่า สืบมรดก และใช้คำว่าผู้สืบสันดานเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง 


ส่วนมาตรา 1606 มีทั้งก่อนและหลังเจ้ามรดกตาย หรือ ถูกจำกัด ถ้าก่อนใช้ มาตรา 1639 ถ้าหลังใช้มาตรา 1607 ที่มีปัญหาคือ 1606 วงเล็บ 1 จะถือว่าก่อนหรือหลังตามวงเล็บ หนึ่ง ฎีกา 8023/2538 ให้ถือเอาคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นจุดวัดว่าก่อนหรือหลัง


478/2539

โจทก์เป็นบุคคลภายนอกไม่ใช่คู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่154/2527 ของศาลชั้นต้น ดังนั้นโจทก์สามารถพิสูจน์ได้ว่าที่ดินส่วนของ บ.ในโฉนดเลขที่ 2505 ดังกล่าวเป็นมรดกของ บ. จำเลยมิได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (2) 

ที่ดินพิพาทเป็นมรดกของ บ. โดย บ.มีบุตร 4 คน คือโจทก์ทั้งสองจำเลย และ จ. แต่ จ.ถึงแก่ความตายก่อน บ. โดย จ.มีบุตร 3 คน บ.ถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงมีสิทธิได้ส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ บ.เพียงหนึ่งในสี่ส่วนเท่านั้น เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ บ.ทั้งหมดโดยการครอบครอง ทั้ง ๆ ที่จำเลยมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาถึง 10 ปีก่อนจำเลยยื่นคำร้องขอเช่นนั้น แล้วจำเลยนำพยานหลักฐานมาไต่สวนในคดีดังกล่าวจนศาลชั้นต้นหลงเชื่อและมีคำสั่งว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของบ.ในโฉนดเลขที่ 2505 โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แล้วจำเลยนำคำสั่งศาลชั้นต้นนั้นไปจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จึงถือได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้ โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น จำเลยจึงต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกเลยตามมาตรา 1605 วรรคหนึ่ง 

ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 เบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 154/2527 ของศาลชั้นต้น ยืนยันว่าจำเลยครอบครองที่ดินของ บ.โดยสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีโดยเจตนาให้หลานและทายาทอื่นของ บ.ไม่ได้รับมรดกด้วย โจทก์ที่ 1ย่อมต้องได้รับผลในลักษณะคดีในฐานพยานเท็จ ไม่ได้รับมรดกที่ดินในกรณีพิพาทนี้ด้วยนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามไม่ให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย 

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความตั้งเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ ที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่งเช่นกัน 

แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1639 บัญญัติให้ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก รับมรดกแทนที่ทายาทนั้นได้ ในกรณีที่ทายาทนั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้นก็ตาม แต่มาตรา 1607 บัญญัติว่า การถูกกำจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัว ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดสืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว โดยมิได้บัญญัติว่า ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก สืบมรดกต่อไปได้เฉพาะในกรณีที่ทายาทนั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้น ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกของ บ. เจ้ามรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้และต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของ บ.เลย อันเป็นการถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกหลังเจ้ามรดกตายก็ตาม บุตรของจำเลยซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของจำเลยทายาทผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกของนายบุญช่วยย่อมสืบมรดกของ บ.ต่อไปได้เหมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้วตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 1607 และบทบัญญัติมาตรา 1607 หาได้อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 1639 ไม่


1606(1)

มาตรา ๑๖๐๖ บุคคลดั่งต่อไปนี้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ 

(๑) ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทำ หรือพยายามกระทำให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย



8023/2538

ผู้ร้องถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกล่าวหาว่า ผู้ร้องเป็นผู้ยิงเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ต่อมาผู้ร้องถูกส่งฟ้องต่อศาลในข้อหาดังกล่าวซึ่งผู้ร้องให้การปฏิเสธ คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ดังนั้น ถ้าหากต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ร้องได้เจตนากระทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องก็เป็นบุคคลที่ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606 (1) ซึ่งเป็นการถูกกำจัดมิให้รับมรดกภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639 ที่ผู้สืบสันดานของผู้ร้องจะมีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้ร้อง 

ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมเพียงคนเดียวของเจ้ามรดกและมรดกของผู้ตายก็มีเฉพาะที่ดินแปลงเดียว ทั้งการที่ผู้ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ความประสงค์ก็เพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกแปลงเดียวดังกล่าวมาเป็นของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย อาจถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ที่ผู้ร้องขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นคือผู้สืบสันดานของผู้ร้องซึ่งอาจเป็นผู้ที่เสียประโยชน์จากการเป็นผู้รับมรดกแทนที่ผู้ร้องอันมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรตั้งผู้สืบสันดานของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ประกอบกับไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ นอกจากเพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกของผู้ตายแก่ผู้ร้องแล้ว จำเป็นต้องมีการกระทำการอย่างใด ๆ แก่ที่ดินมรดกดังกล่าวอีกจึงไม่มีความจำเป็นรีบด่วนในการตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามที่ผู้ร้องขอ

ถ้ามีการกำจัดหลังเจ้ามรดกตาย ใช้มาตรา 1607 ไม่จำเป็นต้องใช้ มาตรา 1615 วรรคสอง เพราะเป็นเรื่องสละมรดก


กองมรดกคืออะไร 1600 เป็นของเจ้ามรดกและมีอยู่ในเวลาตาย

มาตรา ๑๖๐๐ ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

1366/2516 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตาม ม. 374 วรรค2 บุคคลภายนอกได้เข้าขอรับประโยชน์แล้ว

1366/2516

สัญญาเช่าซื้อก็คือสัญญาเช่าทรัพย์บวกด้วยคำมั่นจะขายทรัพย์สินนั้นสัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวผู้เช่า คำมั่นจะขายทรัพย์สินที่ให้เช่าเป็นสิทธิในทรัพย์สินซึ่งอาจตกเป็นมรดกของคู่สัญญาที่ถึงแก่กรรมได้ 

คู่สัญญาทำสัญญาเช่าซื้อโดยมีข้อสัญญาระบุว่า ให้ผู้เช่าซื้อระบุตัวทายาทผู้รับสิทธิในการเช่าซื้อแทนได้เมื่อผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรมและผู้เช่าซื้อได้ระบุตัวทายาทผู้รับสิทธิในการเช่าซื้อไว้แล้วข้อสัญญาดังกล่าวนี้เป็นข้อสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ฉะนั้นเมื่อผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรม และทายาทผู้รับสิทธิดังกล่าวได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานี้ต่อผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 374 วรรค 2 แล้วสิทธิในการเช่าซื้อจึงตกเป็นของทายาทผู้รับสิทธิดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ตกเป็นมรดกของผู้ตายต่อไป


2401/2515 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ไม่ได้แสดงเจตนารับเหมือน 1366/2516 

แต่เป็นสิทธิได้มาหลังเจ้ามรดกตาย จึงไม่ใช่ทรัพย์ของกองมรดก


วิธีตอบ ปัญหาต้องวินิจฉัยว่าสิทธินี้เป็นกองมรดกของข้าราชการผู้นั้นหรือไม่ เห็นว่าหลักมาตรา 1600

สิทธินี้ได้มาหลังจากข้าราชการผู้นั้นตายแล้ว จึงไม่ใช่กองมรดก

ปัญหาต้องวินิจฉัยว่าสิทธิได้รับเงินดังกล่าวเป็นของข้าราชการหรือบุคคลภายนอก เห็นว่ามาตรา 374 วรรคสอง ผู้รับโอนยังไม่ได้แสดงเจตนารับ สิทธินั้นจึงยังไม่โอนไป

เมื่อไม่ใช่กองมรดก จะตกแก่ผู้ใด แม้ไม่ใช่กองมรดกก็เสมือนกองมรดก เมื่อปรากฏว่ามีบุตร มีภริยา ก้อรับมรดกได้ ใช้มาตรา 4 วรรคสอง

****2401/2515

ผู้ตายเป็นสมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขระบุชื่อ ส. บิดาเป็นผู้รับประโยชน์เงินสังขารานุเคราะห์ไว้ ตามข้อบังคับ ย่อมมีผลว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข โดยองค์การดังกล่าวได้ทำสัญญาว่าจะชำระหนี้แก่ ส. บุคคลภายนอกสิทธิของ ส. จะเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น เมื่อ ส. ตายเสียก่อนโดยมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาสิทธิของ ส. ในเงินสังขารานุเคราะห์จึงยังไม่เกิดขึ้นและไม่อาจตกทอดเป็นทรัพย์มรดกไปยังทายาทของ ส. 

เงินสังขารานุเคราะห์เป็นเงินที่ผู้รับประโยชน์จะได้รับหลังจากที่สมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขถึงแก่ความตายแล้ว มิใช่ทรัพย์สินที่สมาชิกผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตาย 

(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 132/2507) 

ตามข้อบังคับกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อสมาชิกตาย ให้จ่าย เงินสังขารานุเคราะห์แก่ผู้รับประโยชน์ซึ่งสมาชิกผู้ตายได้ระบุชื่อไว้แต่เมื่อผู้รับประโยชน์นั้นตายก่อนสมาชิก ย่อมไม่มีตัวผู้รับประโยชน์ที่จะรับเงินสังขารานุเคราะห์ได้ตามข้อบังคับ แม้เงินสังขารานุเคราะห์จะมิใช่ทรัพย์มรดกของสมาชิกผู้ถึงแก่ความตายแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับเงินสังขารานุเคราะห์ดังกล่าวจึงควรจ่ายให้แก่ทายาทโดยธรรมของสมาชิกผู้ตาย เสมือนหนึ่งทรัพย์มรดก 

กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยให้การว่า ได้จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ให้แก่ทายาทของผู้รับประโยชน์เป็นการถูกต้องตามข้อบังคับแล้วเท่ากับรับว่าองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลข จะมายกข้อโต้แย้งขึ้นในชั้นฎีกาว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข ไม่ ต้องรับผิดจ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ หาได้ไม่ 

(วรรคหนึ่งถึงสามวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่23/2515)


4714/2542 เรื่องเงินประกันชีวิต ไม่ใช่มรดก เมื่อได้มาหลังเจ้ามรดกตายก็ไม่ใช่มรดก ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม

4714/2542 

ป.พ.พ.มาตรา 1470 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วยสินส่วนตัวและสินสมรสนั้น หมายถึงทรัพย์สินที่สามีภริยามีอยู่ในขณะที่เป็นสามีภริยากัน เมื่อ ณ.ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่าง ณ.และโจทก์ย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 1501 

เงินชดเชยที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ. และได้รับมาหลังจาก ณ.ถึงแก่ความตายไปแล้ว ไม่เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยา ทั้งสิทธิที่จะได้เงินค่าชดเชยนี้ มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ.ได้มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรม จึงมิใช่เป็นทรัพย์มรดกของ ณ. เมื่อระเบียบของจำเลยที่ 2ผู้เป็นนายจ้างกำหนดให้ต้องนำเงินชดเชยมาหักหนี้สินที่ ณ.สามีโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีต่อจำเลยที่ 2 ก่อน จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะหักหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน 

ป.พ.พ.มาตรา 1625 เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อแยกเป็นมรดกของผู้ตายกับทรัพย์สินของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วนำมรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาทเท่านั้นหาใช่เป็นการกำหนดให้ต้องมีการนำมรดกของผู้ตายมาชดใช้สินสมรสของคู่สมรสของผู้ตายไม่ 

สิทธิในการได้รับเงินเพื่อนช่วยเพื่อนเกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ.มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่ความตาย แม้วิธีการที่จะได้รับเงินจำนวนนี้มาผู้ตายจะต้องเคยชำระเงินในอัตรา 10 บาท ต่อผู้เสียชีวิต 1 ราย ร่วมกับพนักงานของจำเลยที่ 2 คนอื่น ๆ เพื่อรวบรวมนำส่งให้แก่ทายาทของพนักงานผู้ถึงแก่ความตายรายก่อน ๆ ก็ตาม ก็มิใช่เป็นมรดกของ ณ. ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสของ ณ.จึงไม่มีสิทธิมาขอแบ่ง 

เงินประกันชีวิตเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่าง ณ.กับบุคคลภายนอกและจำเลยที่ 2 เพื่อให้ใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์ คือ จำเลยที่ 1 สืบเนื่องจากความมรณะของ ณ.อันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต สิทธิตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกของ ณ.ที่มีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย 

แม้สัญญาประกันชีวิตที่ ณ.ระบุให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 897 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วนั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัยจำนวนดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องเพื่อเรียกเงินประกันชีวิตว่าโจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ ณ.ที่จะตกแก่ทายาท ดังนี้ฎีกาของโจทก์ในส่วนเบี้ยประกันภัย จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง




ดอกผลของทรัพย์มรดก มิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดก ต้องแบ่งแบบกรรมสิทธิ์รวม ถ้าทายาทยักย้ายปิดบัง ก็ไม่ถูกกำจัด ไม่เข้ามาตรา 1605

370/2506

ลูกสุกรเกิดจากสุกรพ่อและสุกรแม่ซึ่งเลี้ยงไว้ในระหว่างเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ แต่เกิดเมื่อเจ้ามรดกตายแล้ว ลูกสุกรและเงินที่ขายลูกสุกรได้ก็เป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับภรรยา ส่วนของเจ้ามรดกตกเป็นมรดก ทายาทมีส่วนแบ่งในสุกรพ่อและสุกรแม่อย่างไร ก็มีส่วนแบ่งในลูกสุกรหรือเงินที่ขายได้อย่างนั้น 

แม้จะขายลูกสุกรเหล่านี้ไปหลังจากเจ้ามรดกตาย 2 ปีเศษ ทายาทก็มีสิทธิขอแบ่งมรดกตามราคาที่ขายได้ (ไม่ใช่ตามราคาของลูกสุกรเมื่อแรกเกิด) ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสุกรจนกระทั่งขายไปนั้น ทายาทผู้เป็นเข้าของรวมต้องช่วยกันออกตามส่วนของตน ในเวลาแบ่งเจ้าของรวมผู้เป็นเจ้าหนี้จะเรียกให้เอาส่วนซึ่งจะได้แก่าลูกหนี้ชำระหนี้เสียก่อนก็ได้ ทายาทที่อ้างว่าตนออกค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสุกรคนเดียว เมื่อถูกทายาทอื่นฟ้องขอแบ่งมรดกเงินค่าขายสุกร ชอบที่จะขอหักค่าใช้จ่ายนี้มาในคำให้การ


678-680/2535

ผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสร่วมกันทำกิจการโรงแรมมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เงินที่ใช้เป็นทุนปลูกสร้างโรงแรมจะเกิดจากฝ่ายใดหามาไม่สำคัญ ต้องถือว่าโรงแรมเป็นทรัพย์สินร่วมกันระหว่างผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินยินยอมให้ใช้ที่ดินดังกล่าวปลูกสร้างโรงแรมเพื่อทำกิจการค้าร่วมกันกับโจทก์ที่ 1 โรงแรมจึงไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน 

จำเลยที่ 5 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แม้จำเลยที่ 5 จะเลิกร้างกับผู้ตายไปนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนหย่ากันทรัพย์ที่ผู้ตายได้มาระหว่างที่เป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 5 ย่อมเป็นสินสมรส 

เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะมิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่เป็นดอกผลของโรงแรมตกได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงแรมตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของโรงแรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 111 และมาตรา1360 และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่มรดกของผู้ตาย แม้จำเลยที่ 4 ปิดบังหรือยักย้ายเงินส่วนนี้ ก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก

***8485/2544

รายได้จากการกรีดยางของสวนยางมรดกที่ได้มาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม มิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกแต่เป็นดอกผลของที่ดินทรัพย์มรดก ตกได้แก่เจ้าของที่ดินตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 และ 1360 โจทก์ทราบดีว่าจำเลยได้นำน้ำยางไปจำหน่ายหารายได้ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีก่อน โจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบรายได้ดังกล่าวแก่โจทก์เสียในคราวเดียวกัน แต่กลับมาฟ้องเรียกร้องเป็นคดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148


มรดกที่เปลี่ยนสภาพก็เป็นมรดกอยู่เช่นเดิม ในคำบรรยายไม่มี

7996/2542 โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิรับมรดกของ ส. หนึ่งในสามส่วนของที่ดินมรดก 13 ไร่เศษ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินมรดกดังกล่าวเป็นมรดกตกทอดมายังโจทก์หนึ่งในสามส่วน และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนแบ่งแยกให้แก่โจทก์โดยมิได้ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินหรือชดใช้ราคาแทนที่ดิน ข้อเท็จจริงในการพิจารณาได้ความเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินมรดกบางส่วนให้จำเลยที่ 3 ไปแล้วและจำเลยที่ 3 รับโอนโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ดังนี้กรณีจึงไม่อาจเพิกถอนการโอนได้ แต่เงินที่จำเลยที่ 1 รับมาจากการขายที่ดินมรดกเป็นเงินเข้าแทนที่ที่ดินมรดก ถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นมรดกในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 วรรคสองโดยมีส่วนที่โจทก์มีสิทธิได้รับรวมอยู่ด้วย ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษา ให้จำเลยที่ 1ใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์จึงไม่นอกเหนือหรือเกินไปจากคำขอ

การทำพินัยกรรม มาตรา 1620 1618 1699

***1620 

มาตรา ๑๖๒๐ ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้แต่ไม่มีผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย

ถ้าผู้ใดตายโดยได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจำหน่ายทรัพย์หรือมีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย


1618 

มาตรา ๑๖๑๘ ถ้าทายาทโดยธรรมผู้ที่ได้สละมรดก ไม่มีผู้สืบสันดานที่จะรับมรดกได้ หรือผู้รับพินัยกรรมได้สละมรดก ให้ปันส่วนแบ่งของผู้ที่ได้สละมรดกนั้นๆ แก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดกต่อไป


มาตรา ๑๖๑๙ ผู้ใดจะสละหรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยประการใด ซึ่งสิทธิอันหากจะมีในภายหน้าในการสืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้


1699

มาตรา ๑๖๙๙ ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกำหนดในพินัยกรรม เกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผลด้วยประการใดๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี

ไร้ผลเพราะ 1698(1)

มาตรา ๑๖๙๘ ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป

(๑) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม


จัดการศพ 1646

มาตรา ๑๖๔๖ บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้





1174/2508 ทำพินัยกรรมยกศพได้ มาตรา 1646 เป็นการต่างๆ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 นอกจากผู้ตายจะแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินแล้ว ยังแสดงเจตนาในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้ คำว่าการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัตินั้น ก็สุดแต่ผู้ตายจะได้แสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในการต่าง ๆ ไว้ หากชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้จะไม่เกี่ยวกับทรัพย์สิน ก็มีผลบังคับได้ตามพินัยกรรมเมื่อตนตายแล้ว และการต่าง ๆ นั้นมิใช่จะต้องมีกฎหมายระบุไว้ว่าเป็นการใดบ้าง 

ผู้ตายได้แสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับศพของผู้ตายโดยอุทิศศพของผู้ตายให้แก่กรมมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ โดยทำถูกต้องตามแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 พินัยกรรมของผู้ตายนั้นย่อมสมบูรณ์


มาตรา ๑๖๐๐ ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

ภายใต้บังคับ เช่น มาตรา ๑๔๘๑ สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรส ( 1474 ) ที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้

1481 +1646 + ความเป็นโมฆะของพินัยกรรม

มาตรา ๑๔๘๑ สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้ ( แม้อีกฝ่ายยินยอมก็ตาม )

มาตรา ๑๖๔๖ บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้

ไม่เป็นโมฆะ เพราะไม่เข้า 1702-1706


1533 เป็นการแบ่งสินสมรส เมื่อมีการหย่า เพิกถอนการสมรส

1625 วงเล็บ 1 แบ่งสินสมรสเมื่อตาย

บุตรบุญธรรม 1598/29 /30 

1623 ข้อสอบสมัย 61 

ข้อสังเกต มรดกตกทอดเมื่อไร 

5513/2552 ล. ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญมีผลเท่ากับ ล.ถึงแก่ความตาย และเมื่อ ล.เป็นสมาชิกของจำเลย ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ เพื่อจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัว โดยโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ล. เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ดังกล่าว ข้ออ้างของจำเลยว่า หากไร้ซึ่งศพที่จะต้องจัดการแล้ว จำเลยไม่อาจจ่ายเงินค่าจัดการศพได้นั้น รับฟังไม่ได้ ดังนั้น การเป็นคนสาบสูญตามคำสั่งศาล เป็นเหตุให้จำเลยต้องจ่ายเงินฌาปนกิจสงเคราะห์

1599ว1 

1602 ตายโดยศาลสั่งสาบสูญ 61-64 (เน้น 63) ภูมิลำเนา 37-47

มรดกตกทอดแก่ผู้ใด 1603 1607 ***1615ว 2** 1629 1635 1639

ผู้สืบสันดาน ดูว่าบิดามารดาสมรสกันหรือไม่ ถ้าสมรสกัน เข้า 1457

โยง 1536-1538 บทสันนิษฐาน ไม่ยอมรับได้ ม 1541

ระวังสมรสซ้อนเป็นโมฆะ 1495-1499

ข้อสอบสมัย 54***มาตรา ๑๔๙๙ วรรคสอง การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา ๑๔๕๒ ไม่ทำให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มา เพราะการสมรสก่อนที่ชายหรือหญิงนั้นรู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ แต่การสมรสที่เป็นโมฆะดังกล่าว ไม่ทำให้คู่สมรสเกิดสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง (รับมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรมได้)



ใช้ 1560 ได้หรือไม่ บุตรที่เกิดขึ้นจากการสมรสที่ถูกเพิกถอนเพราะความเป็นโมฆียะ ไม่ใช่บทสันนิษฐาน

กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส 1547 +1557 + 1627

มาตรา ๑๕๔๗ เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

มาตรา ๑๕๕๗ การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๑๕๔๗ ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้

มาตรา ๑๖๒๗ บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

ละเมิด 1649 + 443 

ละเมิดเป็นมรดกได้ ถ้าผู้ถูกละเมิดมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนระหว่างที่ผู้ถูกละเมิดยังมีชีวิตอยู่ 

แต่สิทธิที่ได้หลังตาย เช่น สิทธิในการจัดหารงานศพ หรือ ความจำเป็นอื่นๆตาม 433 ไม่ใช่มรดก แต่มีสิทธิได้ตาม 1649


**1580/2494

บุตรที่เกิดในระหว่างที่บิดมารดาสมรสอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภริยาและจดทะเบียนการสมรสกันแล้ว จนกระทั่งบิดาถึงแก่กรรมแล้วจึงมีคำพิพากษาของศาลชี้ขาด ว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างบิดากับมารดานั้น ไม่ชอบด้วย ก.ม.เพราะขณะนั้นบิดายังมีภริยาเดิมอยู่มิได้หย่าขาดกัน ดังนี้ ก็ต้องถือว่าบุตรนั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วย ก.ม.ของบิดามารดาตลอดมา และมีสิทธิได้รับมรดกของบิดา




677/2538

ผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือว่า เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกในลำดับที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 หาจำต้องไปฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรหรือต้องมีคำสั่งศาลว่าผู้ร้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนไม่ ผู้คัดค้านเป็นเพียงพี่ชายร่วมบิดามารดากับผู้ตาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกหรือร่วมกับผู้อื่นเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายตามมาตรา 1713 

1854/2551

ผู้คัดค้านอยู่กินฉันสามีภริยากับมารดาของผู้ตายภายหลังจากที่มีการบังคับใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกัน ดังนั้น แม้ผู้คัดค้านจะอุปการะเลี้ยงดูผู้ตายตลอดมาซึ่งทำให้ผู้ตายเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้คัดค้านรับรองแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 ก็ตาม แต่ผลของบทบัญญัติดังกล่าวก็เพียงแต่ให้ถือว่าบุตรนั้นเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิรับมรดกของบิดาเท่านั้น หาได้มีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 ด้วยไม่ ผู้คัดค้านจึงมิใช่ทายาทของผู้ตายหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายที่จะมีสิทธิคัดค้านการขอจัดการมรดกหรือร้องขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

341/2502

บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองตาม ม. 1627 นั้นย่อมหมายตลอดถึงทารกซึ่งยังอยู่ในครรภ์มารดาในขณะที่บิดาตาย มีสิทธิเป็นทายาทได้ ถ้าหากภายหลังได้เกิดและรอดอยู่ด้วย

4791/2542

บทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1541 หมายถึงชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีจะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรา 1539 ซึ่งเป็นกรณีที่สันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีตามมาตรา 1536 และ 1537 หรือมาตรา 1538 โจทก์เป็นบุตรของ ร.และ อ. ซึ่งมีตัวตนแน่นอน ส.และ ค. ไม่ใช่บิดามารดาผู้ให้กำเนิดโจทก์โดยแท้จริง การที่ ส.ไปแจ้งการเกิดลงในสูติบัตรของโจทก์ว่า บิดาโจทก์เป็นคนไทย มารดาเป็นคนกัมพูชาเมื่อมีบุตรขึ้นมาก็แจ้งเกิดไม่ได้ ส. จึงรับสมอ้างไปแจ้งเกิดแทน โดยระบุว่าเป็นบิดาดังนี้ เป็นคนละเรื่องกับกรณีการแจ้งเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1541 เมื่อโจทก์ไม่ใช่บุตรที่แท้จริงของ ส. จึงไม่ใช่บุตรนอกกฎหมายตามความเป็นจริงที่บิดาได้รับรองแล้ว ทั้งไม่ใช่ ผู้สืบสันดานและไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 และ 1629(1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของส. ผู้ตาย และไม่มีอำนาจฟ้อง


3208/2538

สิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคแรก เป็นสิทธิของผู้ที่เป็นทายาทจะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิดทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายภายใต้บังคับมาตรา 1649 ส่วนสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแก่ทรัพย์สินของเจ้ามรดกเนื่องมาจากการกระทำละเมิดก็เป็นสิทธิของเจ้ามรดกที่จะตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599 และ 1600 เมื่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกซึ่งเป็นบิดารับรองแล้ว จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ตามมาตรา 1627 และย่อมมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1629 (1) จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าปลงศพของเจ้ามรดกและค่าที่รถจักรยานยนต์ของเจ้ามรดกเสียหายได้


1629(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ถือตามความเป็นจริง

2742/2545 การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (4) นั้น ต้องถือความเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตามความเป็นจริง ผู้ร้องเป็นบุตรนาง น. ผู้ตายเป็นบุตรนาง ท. โดยมีนาย ท. เป็นบิดาเดียวกัน แม้ผู้ร้องและผู้ตายเป็นบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายของนาย ท. ก็ถือว่าผู้ร้องและผู้ตายเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ผู้ร้องจึงเป็นทายาทโดยธรรม 


เสียสิทธิในการรับมรดกมาตรา 1599 วรรคสอง 

1 กำจัด 1605 2 ตัด 3 สละ 4 อายุความ



กำจัด 1605 ต้องปิดบัง ยักย้าย ทรัพย์มรดก ถ้าไม่ใช่มรดกไม่เข้าตัวบท

ถ้ามีการปิดบังทายาท ไม่เข้าตัวบท

478/2539 ทายาทโดยธรรมคนนี้มีสิทธิรับมรดก ไปยื่นคำขอต่อศาลขอครอบครองปรปักษ์แล้ว เอาตัวไปเกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกแล้ว ศาลสั่งว่ากรณีต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก เพราะเป็นการยักย้ายทรัพย์มรดก และเกิดขึ้นหลังจากเจ้ามรดกตาย ใช้ 1605 ใช้หลักสืบสิทธิตาม 1607

478/2539

โจทก์เป็นบุคคลภายนอกไม่ใช่คู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่154/2527 ของศาลชั้นต้น ดังนั้นโจทก์สามารถพิสูจน์ได้ว่าที่ดินส่วนของ บ.ในโฉนดเลขที่ 2505 ดังกล่าวเป็นมรดกของ บ. จำเลยมิได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (2) 

ที่ดินพิพาทเป็นมรดกของ บ. โดย บ.มีบุตร 4 คน คือโจทก์ทั้งสองจำเลย และ จ. แต่ จ.ถึงแก่ความตายก่อน บ. โดย จ.มีบุตร 3 คน บ.ถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงมีสิทธิได้ส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ บ.เพียงหนึ่งในสี่ส่วนเท่านั้น เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ บ.ทั้งหมดโดยการครอบครอง ทั้ง ๆ ที่จำเลยมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาถึง 10 ปีก่อนจำเลยยื่นคำร้องขอเช่นนั้น แล้วจำเลยนำพยานหลักฐานมาไต่สวนในคดีดังกล่าวจนศาลชั้นต้นหลงเชื่อและมีคำสั่งว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของบ.ในโฉนดเลขที่ 2505 โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แล้วจำเลยนำคำสั่งศาลชั้นต้นนั้นไปจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จึงถือได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น จำเลยจึงต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกเลยตามมาตรา 1605 วรรคหนึ่ง 

ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 เบิกความเป็นพยานในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 154/2527 ของศาลชั้นต้น ยืนยันว่าจำเลยครอบครองที่ดินของบ.โดยสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีโดยเจตนาให้หลานและทายาทอื่นของ บ.ไม่ได้รับมรดกด้วย โจทก์ที่ 1ย่อมต้องได้รับผลในลักษณะคดีในฐานพยานเท็จ ไม่ได้รับมรดกที่ดินในกรณีพิพาทนี้ด้วยนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามไม่ให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย 

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความตั้งเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ ที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่งเช่นกัน 

แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1639 บัญญัติให้ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกรับมรดกแทนที่ทายาทนั้นได้ในกรณีที่ทายาทนั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้นก็ตาม แต่มาตรา 1607 บัญญัติว่า การถูกกำจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัว ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดสืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว โดยมิได้บัญญัติว่า ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกสืบมรดกต่อไปได้เฉพาะในกรณีที่ทายาทนั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายเท่านั้น ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกของ บ.เจ้ามรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้และต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของ บ.เลย อันเป็นการถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกหลังเจ้ามรดกตายก็ตาม บุตรของจำเลยซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของจำเลยทายาทผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกของนายบุญช่วยย่อมสืบมรดกของ บ.ต่อไปได้เหมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้วตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 1607 และบทบัญญัติมาตรา 1607 หาได้อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 1639 ไม่


1651 เอามา + 1605 

ดูข้อแตกต่าง 1605 1606

1607 1639 ***1643

ตัดไม่ให้รับมรดก 1608 1609 ไม่เคยออกข้อสอบ เพราะง่าย ระวัง คล้าย 1612 

การตัดมิให้รับมรดกไม่มีการสืบมรดก ไม่มีการรับมรดกแทนที่

178/2520

การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทั่วไปนั้นถ้าไม่มีกฎหมายบังคับไว้โดยตรงหรือโดยปริยายว่าให้ต้องทำ ในสถานที่ราชการเท่านั้นแล้ว พนักงานผู้มีหน้าที่ก็ย่อมจะออกไปปฏิบัติราชการตามหน้าที่นอกสถานที่ได้ และการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติราชการเป็นการบริการให้แก่ประชาชนในวันหยุดราชการ เมื่อไม่มีกฎหมายห้ามไว้และไม่เป็นการขัดต่อระเบียบแบบแผน ก็ย่อมจะต้องถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการโดยชอบ ข้าราชการผู้ปฏิบัติราชการเช่นนี้ย่อมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย การที่ปลัดอำเภอได้ออกไปจากอำเภอไปทำหนังสือตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือตัดมรดกที่ได้ทำต่อหน้าเจ้าพนักงานโดยชอบ มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย 

ท.มารดาจำเลยถูกตัดไม่ให้รับมรดกตั้งแต่ก่อน ท.ตาย ท.จึงไม่ได้เป็นทายาทตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 อีกต่อไป ท.จึงไม่มีที่ (ความเป็นทายาท) ที่จำเลยจะเข้ารับมรดกแทนได้และไม่มีบทกฎหมายมาตราใดบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้สืบสันดานที่จะเข้าแทนที่การรับมรดกของทายาทโดยธรรมที่ถูกตัดมรดก หนังสือตัดไม่ให้รับมรดกเป็นการแสดงเจตนาโดยเด็ดขาดปราศจากเงื่อนไขใดๆ ของเจ้ามรดก จึงมีผลทันทีเมื่อได้ทำขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย หาใช่จะมีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกตายไม่ เพราะหนังสือตัดทายาทโดยธรรมไม่ใช่พินัยกรรม ส่วนการที่การแสดงเจตนาตามหนังสือตัดการรับมรดกจะเกิดผลขึ้นเมื่อใดเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก


สละมรดก 1610-1619 เน้น 1612 1613 1615 

อายุความไปดูเอง

ครอบครัว

การสิ้นสุดแห่งการสมรส 1514 1515 1531

หมั้น + สินสอด 

1852/2506

จำเลยขอหมั้นน้องสาวโจทก์เพื่อให้แต่งงานกับบุตรจำเลย แต่จำเลยไม่มีเงินจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ยึดถือไว้ และโจทก์จำเลยตกลงกันว่าถ้าจำเลยปลูกเรือนหอ โจทก์จะลดเงินกู้ให้บ้างตามราคาของเรือนหอ ต่อมาจำเลยไม่ปลูกเรือนหอและบุตรจำเลยไม่ยอมแต่งงานกับน้องสาวโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ สัญญากู้ดังกล่าวนี้เป็นเพียงสัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้นกันในวันข้างหน้า ยังไม่ได้มีการมอบทรัพย์สินให้แก่กันอย่างแท้จริง เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาก็มิได้มุ่งต่อการให้สัญญากู้ตกเป็นของอีกฝ่ายหนึ่งในสภาพของหมั้น และไม่มีความประสงค์ให้ตกเป็นสิทธิแก่หญิงเมื่อสมรสแล้ว ในกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่ามีการให้ของหมั้นกันตามกฎหมาย โจทก์จะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้หาได้ไม่ เพราะสัญญากู้รายนี้ไม่มีมูลหนี้เดิมอันจะมีผลทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาได้

**878/2518 สินสอดทำสัญญากู้ได้ ให้ทีหลังก็ได้

อันสินสอดนั้นตามกฎหมายเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส และเมื่อมีข้อตกลงจะให้สินสอดแก่กันแล้ว การให้สินสอดภายหลังการสมรสย่อมทำได้เพราะไม่มีอะไรห้ามซึ่งต่างกับของหมั้นอันจะต้องให้กันในเวลาทำสัญญาหมั้นคือก่อนสมรส 

บิดามารดาโจทก์จัดให้โจทก์และ ว.ทำพิธีแต่งงานกัน และโจทก์เต็มใจยอมสมรสมารดาโจทก์ได้เตือนให้โจทก์ได้เตือนให้โจทก์และ ว.ไปจดทะเบียนสมรส แต่ทั้งสองคนละเลยไม่ดำเนินการจดทะเบียน โดยว่าจะไปจดวันหลังก็ได้ครั้นอยู่ด้วยกัน 3 เดือนก็มีเหตุต้องเลิกร้างกันไปโดยไม่ได้จดทะเบียน ดังนี้ จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวย่อมไม่ได้ ชายเรียกสินสอดคืนไม่ได้ 

จำเลยและ ว.บุตรชายตกลงหมั้นโจทก์และตกลงจะให้เงินจำนวนหนึ่งเป็นสินสอดแก่บิดามารดาโจทก์ในวันสมรสถึงกำหนด จำเลยขอผัดให้เงินสินสอดภายหลัง มารดาโจทก์ยินยอมให้โจทก์แต่งงานกับ ว.เพื่อมิให้เสียพิธีแต่มิได้มีการจดทะเบียนสมรสกัน หลังจากสมรสแล้วจำเลยขอทำสัญญากู้ให้มารดาโจทก์แทนเงินสินสอดที่ตกลงจะให้ มารดาโจทก์ต้องการเอาเงินนั้นให้โจทก์ จึงให้โจทก์ลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ในสัญญากู้ ดังนี้ แม้โจทก์กับ ว.จะมิได้จดทะเบียนสมรสกันแต่เมื่อการที่มิได้จดทะเบียนสมรสนั้น จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวไม่ได้แล้ว ชายย่อมเรียกสินสอดคืนไม่ได้ สัญญากู้จึงมีมูลหนี้เนื่องมาจากเงินสินสอดอันเป็นมูลหนี้ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดามารดาโจทก์ตกลงยกให้โจทก์ และจำเลยยินยอมทำสัญญากับโจทก์เพราะมูลหนี้นี้แล้ว จำเลยย่อมต้องถูกผูกพันให้รับผิดตามสัญญากู้ที่แปลงหนี้มานี้


1053/2537

โจทก์บรรยายฟ้องโดยระบุว่าโจทก์จำเลยได้ร่วมกันซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเมื่อวันที่อะไร ประจำงวดใด และได้ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลขณะที่โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย และอ้างเหตุจำเป็นในการที่โจทก์ขอเป็นผู้จัดการเงินรางวัลที่จำเลยถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลแต่ผู้เดียวเอาไว้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ส่วนการที่โจทก์จำเลยจะซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ไหนจากใคร เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และจำเลยเองก็เข้าใจข้อหาโจทก์ดี สามารถต่อสู้คดีโจทก์ได้ถูกต้องฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม  

แม้ภรรยาเดิมของจำเลยจะฟ้องเพิกถอนการหย่า และศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้เพิกถอนการจดทะเบียนหย่าแล้วก็ตาม แต่เป็นการทำภายหลังจากที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 1496 ประกอบด้วยมาตรา 1452 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น 

จำเลยใช้เงินของจำเลยซื้อสลากกินแบ่งฯก่อนสมรสกับโจทก์สลากกินแบ่งฯออกรางวัลหลังจากที่โจทก์จำเลยสมรสกันแล้ว และถูกรางวัล เงินรางวัลที่จำเลยได้รับมาจากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลระหว่างสมรสถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 1474 (1) 

ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1485บัญญัติว่าสามีหรือภริยาอาจร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสโดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเข้าร่วมจัดการในการนั้นได้ ถ้าการที่จะทำเช่นนั้นจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า เป็นข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาก่อนสมรสกันไว้ เงินรางวัลที่เหลือฝากในธนาคารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสินสมรส โจทก์จำเลยย่อมเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันอยู่แล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุจำเป็นใด ๆ ที่โจทก์จะเป็นผู้จัดการเงินรางวัลดังกล่าวเพียงผู้เดียวแต่อย่างใด

1494-1500 ความเป็นโมฆะของการสมรส 

พินัยกรรม 1652 1653


1083/2540 ยกสินสมรสเกินส่วน

โจทก์และ ช.ซึ่งสมรสกันก่อนปี 2476 ต่างตกลงยินยอมให้แต่ละฝ่ายทำพินัยกรรมยกที่ดินสินสมรสส่วนของตนให้บุคคลอื่น ในการทำพินัยกรรมที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์และ ช.นี้ ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1481 แม้โจทก์ตกลงยินยอมให้ ช.ทำพินัยกรรมดังกล่าว ข้อตกลงยินยอมนั้นย่อมฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้น และยังขัดต่อความมุ่งหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 1646 ที่กำหนดให้บุคคลใด ๆ มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้น เหตุนี้ ข้อตกลงยินยอมดังกล่าว จึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่ ช.จัดทำมีผลผูกพันไปถึงที่ดินสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ด้วยโจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ได้ 

ที่ดินโฉนดเลขที่ 4837 ในส่วนที่ พ.ยกให้ ช.ตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดดังกล่าว พ.ยกที่ดินส่วนนี้ให้ ช.เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2476ก่อนที่ ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้ จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับ ซึ่งในกฎหมายดังกล่าว บทที่ 72 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมีย บัญญัติว่า "ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันมีแขก (วันแต่งงาน) ให้เป็นสินเดิม ถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส" ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลย พ.ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้ ช.ภายหลังการแต่งงาน ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่าง ช.กับโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่า ช.และโจทก์มีสินเดิม การแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 คือชายหาบ หญิงคอน ช.จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ 2 ส่วน และโจทก์มี 1 ส่วน


177/2528

พินัยกรรมทำขึ้นในขณะเจ้ามรดกมีสติดี สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมได้ แม้จะเป็นบุคคลผู้เสมือนไร้ความสามารถก็เพียงไม่สามารถจัดการงานบางประการของตนเองได้เท่านั้น การทำพินัยกรรมเป็นกิจการเฉพาะตัวที่จะต้องแสดงเจตนาด้วยตนเองและผู้พิทักษ์ก็ได้ให้ความยินยอมแล้ว พินัยกรรมจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย

**5404/2533

พยานในพินัยกรรมซึ่งจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653วรรคหนึ่ง หมายถึงพยานซึ่งต้องลงลายมือชื่อในแบบพินัยกรรมที่ทำขึ้นนั้น ส่วนการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั่งอยู่ด้วยในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมทำพินัยกรรม แต่มิได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม หาเป็นพยานในพินัยกรรมตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ พินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นโมฆะ.


3675/2547

พินัยกรรมที่ทำขึ้นขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายที่จะทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1705 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่ามีกรณีใดบ้างที่เป็นโมฆะ แต่มิได้บัญญัติให้พินัยกรรมที่ไม่ลงลายมือชื่อผู้เขียน (หรือผู้พิมพ์) ในกรณีที่ผู้เขียนมิใช่ผู้ทำพินัยกรรม กล่าวคือทำไม่ถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1671 ตกเป็นโมฆะ ฉะนั้นเมื่อขณะทำพินัยกรรมในคดีนี้มีพยานในพินัยกรรมทั้งสี่คนอยู่พร้อมกันและผู้ตายลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยาน 2 คน พินัยกรรมดังกล่าวจึงถูกต้องตามแบบที่ ป.พ.พ. มาตรา 1656 กำหนดไว้ และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น