วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เทคนิคอ่านหนังสือสอบกฎหมาย

เทคนิคอ่านหนังสือสอบกฎหมาย

---------

1. ไม่ทรยศต่อความตั้งใจของตัวเอง แต่บางครั้งอาจยืดหยุ่นได้
2. ปรับแผนการอ่านหนังสือตลอด ต้องประเมินตัวเองเป็นประจำ วิชาไหนแข็งใช้เวลาอ่านน้อยได้ วิชาไหนอ่อนต้องเน้นมากเป็นพิเศษ อย่างเถรตรง พิชัยสงครามไม่ได้สอนให้คุณเก่ง แต่ประสบการณ์ กับการพลิกแพลงคำสอนต่างหากจะทำให้คุณเก่ง
3. ตัวบทท่องได้แม่นแค่ไหนก็ดีเท่านั้น ท่องให้มากที่สุด (แต่ผมใช้อ่านอย่างเดียวไม่ท่อง ผมอ่านก่อนสอบผู้ช่วย 3 รอบ รอบสุดท้ายอ่านวันสอบเลย อิอิ) แต่คุณต้องเข้าใจ และสามารถอธิบายหลักได้ในใจ นี่สำคัญกว่า
4. อย่าทิ้งข้อสอบเก่า เพราะจะทำให้คุณเห็นแนวทาง ผมจบเนติมาใหม่ ๆ แน่ใจว่าตัวเองเก่งแล้ว มาเจอข้อสอบผู้ช่วยเก่า ๆ น้ำตาตกเลย แต่หนังสือที่ช่วยให้ผมรู้จักคิดเป็นลำดับตามข้อสอบผู้ช่วยได้คือหนังสือ ของ อ. พิพัฒน์ จักรางกูร จะสอนให้คุณวินิจฉัยเป็นขั้นตอน (สอนวิธีคิดตอบข้อสอบ) แล้วคุณจะเริ่มมองว่าข้อสอบผู้ช่วยไม่ยากเกินไป
5. จงทำข้อสอบด้วยมือก่อนสอบสักวันละ 1 ข้อ เพื่อวอร์มมือ ให้เขียนตัวใหญ่ ๆ อ่านง่าย ๆ แต่ไม่ต้องบรรจงนะเพราะคุณจะเขียนไม่ทัน
6. ทำข้อสอบวันละ 9 ข้อ ด้วยจินตนาการของคุณ ตั้งแต่ อ่านข้อสอบ หาประเด็น ปูเรื่องที่จะเขียน และเขียนในหัวเราให้ลึกซึ้ง มันจะสอนให้คุณจินตนาการคำตอบเวลาทำข้อสอบ
7. ถ้าคุณเป็นทนายพยายามเขียนคำให้การให้มากที่สุดเพื่อฝึกสำนวนภาษา และการหาประเด็นอย่างรวดเร็ว
8. ใช้จินตนาการท่องตัวบทบ่อย ๆ
9. อ่านฎีกาฉบับเต็มอย่างน้อย 1 ปี เพื่อหาและจำถ้อยคำในการปรับบท และวิธีปรับบท เพราะคนตรวจข้อสอบคุณเขาเป็นผู้พิพากษา และเขาชินกับรูปแบบของภาษาในฎีกา คุณจะได้คะแนนดี
10. ภาษาอังกฤษ จงท่องศัพท์ให้มาก เล่นอินเตอร์เน็ทให้มาก มันจะซึมเข้าหัวเอง อย่าทิ้ง เพราะมันจะดึงคะแนนให้เรา (หรือฉุดเรา)
11. อ่านหนังสือให้เป็นนิสัย วันละ 50 หน้า (สปีดปกติของคนเรียนเนติ) แต่ทำทุกวัน อย่าหักโหมกว่านั้น เพราะมันเครียด (แต่ขึ้นกับคน ๆ นั้นด้วย) จำไว้ว่าต้องไม่ทรยศตัวเอง และคุณจะต้องทำทุกวันเป็นนิสัยแม้คุณสอบได้ ถ้าอยากเป็นผู้พิพากษาที่ดี เพราะจะมีคนมาลองภูมิคุณเป็นประจำ ตำรากฎหมายมีอาถรรพ์ ไม่อ่าน 7 วันหายเกือบหมด
12. สูตรในห้องสอบ 
- ไม่เครียดรีเล็กซ์ก่อนเข้าสอบ 10 นาทีไม่อ่านอะไรทั้งนั้นคิดเสียว่าอ่านไปก็ไม่ทำให้อะไรดีขึ้น 
- อ่านคำถามคร่าว ๆ เร็ว ๆ ทั้งหมดใน 5 นาที ดูว่ามีเรื่องอะไรบ้าง 
ไล่ทำตั้งแต่ข้อแรก อย่าอ่านข้อสอบทั้งหมดแล้วเลือกข้อง่ายก่อน เพราะกว่าจะอ่านหมดใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที คุณจะทำไม่ทัน ถ้าไล่ไปข้อไหนไม่ได้จริง ๆ หรือเห็นว่าต้องใช้เวลามาก ก็ข้ามไปข้อถัดไป
- เอานาฬิกาตั้งอยู่ตรงหน้า 
- จงเขียนจากประเด็นสำคัญที่สุดไปหาประเด็นที่เล็ก อย่าเริ่มประเด็นเล็กหาประเด็นใหญ่เพราะผลอาจผิดจากแนวทางที่ควรเป็น
ทำให้เร็วที่สุดอธิบายให้กระชับที่สุด ถ้าคุณทำเสร็จหมดแล้วเหลือเวลา 5-10 นาที แปลว่าคุณเข้าขั้นแล้ว

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอ ๑ การให้คะแนนคาถามเกี่ยวกับปัญหาเชิงปฏิบัติ ให้พิจารณาคาตอบและเหตุผลที่ให้
    ประกอบกันเป็นรายขอไป ดังนี้
    (๑) ตอบไม่ถูกธงคำตอบ และเหตุผลใช้ไม่ได้ ให้คะแนน ๐
    (๒) ตอบไม่ถูกธงคำตอบ แต่เหตุผลพอฟังได้ ให้คะแนน ๑ – ๒
    (๓) ตอบไม่ถูกธงคำตอบ แต่เหตุผลดี ให้คะแนน ๒ – ๔
    (๔) ตอบถูกธงคำตอบ แต่เหตุผลใช้ไม่ได้ ให้คะแนน ๐ – ๑
    (๕) ตอบถูกธงคำตอบ และเหตุผลพอฟังได้บ้าง ให้คะแนน ๒ – ๕
    (๖) ตอบถูกธงคำตอบ และเหตุผลพอใช้ได้ ให้คะแนน ๕ – ๖
    (๗) ตอบถูกธงคำตอบ และเหตุผลดี ให้คะแนน ๗ – ๘
    (๘) ตอบถูกธงคำตอบ และเหตุผลดีมาก ให้คะแนน ๙ – ๑๐
    ขอ ๒ การให้คะแนนคาถามเกี่ยวกับแนวความคดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย หรอ
    ปัญหาเชิงทฤษฎี ให้พิจารณาคาตอบและเหตุผลที่ให้ประกอบกันเป็นรายข้อไป ดังนี้
    (๑) ตอบแนวความคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย หรือปัญหาเชิงทฤษฎีไม่ดีและ
    เหตุผล หรอการวิเคราะห์ใชไม่ได้ ให้คะแนน ๐
    (๒) ตอบแนวความคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย หรือปัญหาเชิงทฤษฎีไม่ดีแต่
    เหตุผล หรือการวิเคราะห์พอฟังได ให้คะแนน ๑ – ๒
    (๓) ตอบแนวความคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย หรือปัญหาเชิงทฤษฎีไม่ดีแต่
    เหตุผล หรือการวิเคราะห์ดี ให้คะแนน ๒ – ๔
    (๔) ตอบแนวความคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย หรือปัญหาเชิงทฤษฎีด แต่
    เหตุผล หรอการวิเคราะห์ใช้ไม่ได้ ให้คะแนน ๐ – ๑
    (๕) ตอบแนวความคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย หรือปัญหาเชิงทฤษฎีดี และ
    เหตุผล หรอการวิเคราะห์พอฟังได้บ้าง ให้คะแนน ๒ – ๕
    (๖) ตอบแนวความคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย หรอปัญหาเชิงทฤษฎีดี และ
    เหตุผล หรอการวิเคราะห์พอใช้ได้ ให้คะแนน ๕ – ๖
    (๗) ตอบแนวความคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย หรอปัญหาเชิงทฤษฎีดี และ
    เหตุผล หรอการวิเคราะห์ดี ให้คะแนน ๗ – ๘
    (๘) ตอบแนวความคิดทางกฎหมาย หลักกฎหมาย หรอปัญหาเชิงทฤษฎีดี และ
    เหตุผล หรอการวิเคราะห์ดีมาก ให้คะแนน ๙ – ๑๐
    ข้อ ๓ สำหรับผู้ที่ไม่ตอบให้กรรมการทดสอบความรู้ผู้ตรวจคำตอบกรอกในช่องคะแนน
    วา “ไม่ตอบ”

    ตอบลบ