วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลักธรรมวันนี้

หลักธรรมวันนี้
---------------
-การสร้างจินตนาการกับความฝันเป็นของคู่กัน ความฝันคือ ภาพแห่งความสำเร็จที่ยังไม่เป็นจริง เช่น ฝันอยากเป็นนักบิน อยากเป็นแอร์โฮสเตส ฯลฯ ถ้าไม่ละทิ้งความฝัน เมื่อถึงเวลาที่เหตุและปัจจัยที่เหมาะสม สมองส่วนสั่งการจะเหนี่ยวนำไปยังเส้นทางสู่ความสำเร็จได้โดยอัตโนมัติ ขอเเพียงแต่ว่า ในขณะที่กำลังฝันต้องพยายามขวนขวายหาความรู้ในเรื่องนั้นเพื่อป้อนเข้าสู่สมองส่วนรับให้มากที่สุด เพราะถ้าปราศจากข้อมูลในสมองส่วนรับ สมองส่วนสั่งการก็ไม่สามารถทำงาน (หนังสือ "คู่มือแสวงพรสวรรค์" ทันตแพทย์สม สุจีรา)
-การลองผิดลองถูกเป็นประสบการณ์ที่สำคัญ การรู้ตัวว่าก้าวผิดจะทำให้ครั้งต่อไปก้าวถูก ดังนั้นประสบการณ์ความล้มเหลวต่างๆก็คือต้นทุนอย่างหนึ่งของชีวิตที่หาซืิ้อไม่ได้ นอกจากจะทดลองด้วยตนเอง "อย่ามัวแต่คิด จงลงมือทำทันที" เพราะการลงมือทำจะทำให้เห็นโอกาสก่อนคนอื่น และผลงานที่ออกมาแม้ไม่สำเร็จจะป้อนเข้าสู่สมองส่วนรับอีกครั้ง เพื่อวิเคราะห์แก้ไขปรับปรุงข้อผิดพลาดแล้วส่งไปยังสมองส่วนสั่งการรอบที่สองต่อไป หากมัวแต่คิด การทำงานของสมองจะไม่ครบวงจร. (หนังสือ "คู่มือแสวงพรสวรรค์" ทันตแพทย์สม สุจีรา)
-สมองที่แปลผลผัสสะกับสมองที่แปลผลเป็นเวทนา ตัณหา หรืออุปาทาน เป็นสมองที่มีพื้นที่อยู่ในเนื้อสมองคนละส่วนกัน ดังนั้นการสกัดผัสสะไม่เกิดเป็นเวทนา เช่น ได้กล่ินก็สักแต่ว่าได้กลิ่นไม่รู้สึกหอม เป็นสิ่งที่ทำได้จริง ในคนที่ฝึกสติมาเป็นอย่างดีจะสามารถตัดการส่งสัญญาณประสาทระหว่างสมองส่วนผัสสะกับสมองส่วนสร้างเวทนา แต่ในคนทั่วไป แค่ได้กล่ินก็รู้สึกหอมแล้ว ส่ิงที่ต้องระวังก็คือ อย่าให้สุขเวทนานั้นส่งต่อคลื่นประสาทไปให้สมองส่วนตัณหาสร้างความอยากขึ้นมา เพราะเมื่อเกิดความอยาก ฮอร์โมนจะพลุ่งพลาน ความรู้สึกตัวกูของกูจะพุ่งพรวดจนยากต่อการสกัด (หนังสือ "คู่มือแสวงพรสวรรค์" ทันตแพทย์สม สุจีรา)
-พุทธปริศนา : ไม่ไหลแต่ก็ไม่นิ่ง
-สติปัฎฐาน 4
"กายานุปัสสนา"-กำหนดสติเกาะไว้ที่กาย กำหนดรู้กายตามสภาวะเป็นจริง เช่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก
"เวทนานุปัสสนา"-เอาสติไปเกาะที่ความรู้สึก พิจารณาสุข ทุกข์ เวทนา มีสติ รู้เท่าทันตัวที่เสวยอารมณ์
"จิตตานุปัสสนา"-การกำหนดสติพิจารณาจิตมีสติพิจารณาความเป็นไปของจิตว่า ขณะนี้จิตของเรามีราคะ โทสะ โมหะ หรือมีความฟุ้งซ่านมีความนึกคิดต่างๆกำหนดรู้อย่างนี้ มีสติตั้งมั่น
"ธรรมานุปัสสนา"-การใช้สติพิจารณาธรรม การมีสติกำหนดเกี่ยวเนื่องกับการเกิด-ดับ
-จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกจะทำงานแยกส่วนกัน แม้ภายหลังจิตสำนึกจะรู้ว่าสิ่งนั้นมีความทุกข์ ไม่ใช่สุข แต่ตราบใดที่พลังในจิตใต้สำนึกยังไม่หมด มันก็จะส่งผลต่อไปเรื่อยๆ เช่น คนที่ติดการพนัน ติดสุรา นารี แม้จิตสำนึกจะรู้ว่าไม่ใช่เรื่องดีแต่ก็ไม่สามารถหักห้ามใจได้



















Sent from my iPod

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น